บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา(ภาคเหนือและภาคกลาง) ช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556


ภาพเส้นทางพายุ โดย  University College London




ภาพเส้นทางพายุ โดย UNISYS Weather


รายละเอียดเพิ่มเติม : http://weather.unisys.com/hurricane/index.php


เดือนกันยายน มีพายุหมุนเขตร้อนจำนวน 8 ลูก เกิดขึ้นในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้ ประกอบด้วย
1.พายุโซนร้อน "โทราจิ" (Tropical Storm TORAJI) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 4 ก.ย. 56
2.พายุโซนร้อน "มานหยี่" (Tropical Storm MAN-YI)ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 16 ก.ย. 56
3.พายุไต้ฝุ่น "อุซางิ" (Super Typhoon-5 USAGI) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 22 ก.ย. 56
4.พายุดีเปรสชั่น (Tropical Depression Eighteen) ก่อตัวและสลายตัวในวันเดียวกันคือ วันที่ 18 ก.ย. 56
5.พายุไต้ฝุ่น "ปาบึก" (Typhoon-2 PABUK) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 21 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 26 ก.ย. 56
6.พายุไต้ฝุ่น "หวู่ติ๊บ" (Typhoon-2 WUTIP) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 30 ก.ย. 56
7.พายุโซนร้อน "เซอปัต" (Tropical Storm SEPAT) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 2 ต.ค. 56
8.พายุไต้ฝุ่น "ฟิโทว์ (Typhoon-2 FITOW) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 6 ต.ค. 56

ในจำนวนพายุทั้ง 8 ลูกนี้ มี 3 ลูก ที่เคลื่อนเข้ามาในบริเวณที่อาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ((พื้นที่ครอบคลุมละติจูด 0 – 25 องศาเหนือ ลองจิจูด 90 - 120 องศาตะวันออก) ประกอบด้วย

1.พายุดีเปรสชั่น Eighteen
เริ่มก่อตัวบริเวณทะเลจีนใต้ประมาณวันที่ 17 ก.ย. 56 และได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในคืนวันที่ 19 ก.ย. 56 หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ในเช้าวันที่ 19 ก.ย. 56 และได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณจังหวัดสุรินทร์ เมื่อเวลา 16.00 น. โดยหย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวยังคงเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเข้าสู่จังหวัดมหาสารคาม และนครราชสีมาในคืนวันที่ 19 ก.ย. 56 และสลายตัวที่บริเวณภาคกลางในวันที่ 20 ก.ย. 56 ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดร้อยเอ็ด สุรินทร์ บุรีรัมย์ มหาสารคาม นครราชสีมา ชัยภูมิ ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ในช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. 56 

2.พายุใต้ฝุ่นอุซางิ (Usagi) เริ่มก่อตัวประมาณวันที่ 16 ก.ย. 56 ทางด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ และสลายตัวบริเวณมณฑลกวางสี ประเทศจีนประมาณวันที่ 22 ก.ย. 56 พายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง

3.พายุไต้ฝุ่น "หวู่ติ๊บ" (WUTIP) เริ่มก่อตัวประมาณวันที่ 26 ก.ย. 56 บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง และได้เคลื่อนขึ้นฝั่งเหนือเมืองเว้ ประเทศเวียดนามเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 56 จากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน และพายุดีเปรสชั่นตามลำดับ และเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดนครพนมในวันที่ 1 ต.ค. 56 หลังจากนั้นได้อ่อนกำลังลงอีกเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณรอยต่อของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ด้านตะวันออกและตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งภาคเหนือด้านตะวันออกมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งกับมีลมแรง บริเวณจังหวัดนครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

เดือนตุลาคม มีพายุหมุนเขตร้อนจ้านวน 6 ลูก เกิดขึ้นในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วย
1.พายุไต้ฝุ่น "ดานัส" (Super Typhoon DANAS) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 3 ต.ค. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 8 ต.ค. 56
2.พายุไต้ฝุ่น "นารี" (Typhoon-3 NARI) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 9 ต.ค. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 15 ต.ค. 56
3.พายุไต้ฝุ่น "วิภา" (Typhoon-4 WIPHA) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 15 ต.ค. 56
4.พายุไต้ฝุ่น "ฟรานซิสโก" (Super Typhoon-5 FRANCISCO) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 25 ต.ค. 56
5.พายุไต้ฝุ่น "เลกิมา" (Super Typhoon-5 LEKIMA) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 26 ต.ค. 56
6.พายุไต้ฝุ่น "กรอซา" (Typhoon-5 KROSA) ก่อตัวเป็นพายุเมื่อวันที่ 29 ต.ค. 56 และสลายตัวประมาณวันที่ 4 พ.ย. 56

รวมทั้งยังคงมีพายุที่ก่อตัวขึ้นเมื่อปลายเดือนกันยายน และยังคงไม่สลายตัวจนถึงต้นเดือนตุลาคม อีก 2 ลูก คือ 1.พายุโซนร้อน "เซอปัต" (Tropical Storm SEPAT) และ พายุไต้ฝุ่น "ฟิโทว์" (Typhoon-2 FITOW) อย่างไรก็ตาม พายุ 2 ลูกนี้ ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ส่วนพายุที่ส่งผลกับประเทศไทยในเดือนตุลาคม 2556 มีทั้งหมด 2 ลูก คือ

1.หย่อมความกดอากาศต่ำที่สลายตัวจากพายุไต้ฝุ่น "หวู่ติ๊บ" (WUTIP)
ในวันที่ 1 ต.ค. 56 บริเวณจังหวัดนครพนม และส่งผลกระทบกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

2.พายุไต้ฝุ่น "นารี" (NARI)
ก่อตัวบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก  และได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณชายฝั่งเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ในวันที่ 15 ต.ค. 56 หลังจากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนและเป็นพายุดีเปรสชันในวันเดียวกัน ขณะเคลื่อนตัวผ่านตอนล่างของประเทศลาว จากนั้นได้อ่อนกาลังลงอีกเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกาลังแรงก่อนเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศไทยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างบริเวณจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และมหาสารคาม ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางและตอนล่าง รวมถึงภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ในช่วงวันที่ 15-17 ต.ค. 56 หลังจากนั้นหย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกและเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ส่งผลให้มีฝนเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนบริเวณจังหวัด แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี ในช่วงวันที่ 17-18 ต.ค. 56

สรุป จากรายงานสถานการณ์พายุในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม จะเห็นได้ว่าพายุที่ส่งผลกระทบกับพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง มีทั้งหมด 3 ลูก คือ
1) ดีเปรสชั่น Eighteen ที่สลายตัวบริเวณภาคกลางในวันที่ 20 ก.ย. 56
2) หย่อมความกดอากาศต่ำที่สลายตัวจากพายุ "หวู่ติ๊บ" (WUTIP) ในช่วงต้นเดือนตุลาคม แต่พายุลูกนี้สงผลกระทบต่อภาคเหนือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากได้เคลื่อนตัวผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและสลายตัวก่อนเข้าสู่บริเวณภาคเหนือ
3) พายุ "นารี" (NARI) ที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างในช่วงกลางเดือนตุลาคม


ภาพถ่ายดาวเทียม MTSAT-2 โดย มหาวิทยาลัยโคชิ

5/9/2556[11GMT]

6/9/2556[11GMT]

7/9/2556[11GMT]

10/9/2556[11GMT]

11/9/2556[11GMT]

12/9/2556[11GMT]

13/9/2556[11GMT]

14/09/2556[11GMT]

19/09/2556[07GMT]

20/09/2556[05GMT]

15/10/2556[11GMT]

16/10/2556[04GMT]

17/10/2556[07GMT]

18/10/2556[11GMT]

19/10/2556[08GMT]


ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงการเคลื่อนตัวของกลุ่มเมฆช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556



หมายเหตุ :
เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/Goes9.php

จากภาพถ่ายดาวเทียม MT-SAT แสดงการเคลื่อนตัวของกลุ่มเมฆ ของมหาวิทยาโคชิ พบว่าในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556 มีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ประเทศไทยค่อนข้างหนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมด 4 ช่วง คือ

1. ช่วงต้นเดือนกันยายน ประมาณวันที่ 5-8 ก.ย. 56 เป็นกลุ่มเมฆที่กระจายตัวครอบคลุมในหลายพื้นที่ของประเทศโดยเฉพาะตอนบนของประเทศ ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของร่องมรสุมกำลังแรงเลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน และได้พาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีคลื่นกระแสลมตะวันออกได้เคลื่อนเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 7-8 ก.ย. 56
2. ช่วงวันที่ 10-14 ก.ย. 56 เป็นกลุ่มเมฆที่เกิดจากร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านประเทศไทยตอนบน จากนั้นได้ทวีกำลังแรงขึ้นและพาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในทะเลจีนใต้ตอนกลาง ซึ่งต่อมาหย่อมความกดอากาศต่ำนี้ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน Eighteen
3. ช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. 56 เป็นกลุ่มเมฆค่อนข้างหนาบริเวณภาคกลางที่เกิดจากการสลายตัวของพายุดีเปรสชั่น Eighteen
4. ช่วงกลางเดือนตุลาคม ประมาณวันที่ 15-19 ต.ค. 56 เป็นกลุ่มเมฆที่เคลื่อนตัวมาจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือผ่านภาคตะวันออกและภาคกลางและเคลื่อนตัวสู่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ตามการเคลื่อนตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำที่สลายตัวจากพายุ "นารี" (NARI)



แผนที่อากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา


5/9/2556

6/9/2556

7/9/2556

10/9/2556

11/9/2556

12/9/2556

13/9/2556

14/9/2556

19/09/2556

20/09/2556

15/10/2556

16/10/2556

17/10/2556

18/10/2556

19/10/2556

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/prewc1.php

1. ช่วงต้นเดือนกันยายน ประมาณวันที่ 5-8 ก.ย. 56 ร่องมรสุมกำลังแรงเลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน และได้พาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้คลื่นกระแสลมตะวันออกได้เคลื่อนเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 7-8 ก.ย. 56 ให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักบางพื้นที่ จากนั้นมีปริมาณและการกระจายของฝนเพิ่มขึ้นครอบคลุมถึงภาคกลาง ปริมาณฝนมากที่สุดบริเวณประเทศไทยตอนบน 150.6 มิลลิเมตร ที่นิคมสร้างตนเองกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 56 และมีรายงานน้ำป่าไหลหลากบริเวณจังหวัดน่าน เชียงรายและพะเยาเมื่อวันที่ 5,6 และ 8 ก.ย. 56
2. ช่วงวันที่ 10-14 ก.ย. 56 ร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านประเทศไทยตอนบน จากนั้นได้ทวีกำลังแรงขึ้นและพาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในทะเลจีนใต้ตอนกลาง ส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ตาก สุโขทัย นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี อ่างทอง กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี เป็นต้น ซึ่งต่อมาหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงดังกล่าวได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน Eighteen
3. ช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. 56 พายุดีเปรสชั่น Eighteen ได้สลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณภาคกลาง ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคกลางรวมถึงภาคเหนือตอนล่าง บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท ตาก พิจิตร พิษณุโลก ปทุมธานี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
4. ช่วงกลางเดือนตุลาคม ประมาณวันที่ 15-19 ต.ค. 56 เป็นกลุ่มเมฆที่เคลื่อนตัวมาจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือผ่านภาคตะวันออกและภาคกลางและเคลื่อนตัวสู่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ตามการเคลื่อนตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำที่สลายตัวจากพายุ "นารี" (NARI)



แผนภาพฝนรายเดือน โดย กรมอุตุนิยมวิทยา

จากแผนภาพฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ยและแผนภาพปริมาณฝนรวมสูง-ต่ำกว่าค่าปกติ ของกรมอุตุนิยมวิทยา เปรียบเทียบช่วงเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม 2556 หากพิจารณาเฉพาะภาคเหนือและภาคกลาง จะเห็นได้ว่า
เดือนกรกฎาคม
ภาคเหนือมีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ย 224 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าปกติ 27% ภาคกลางมีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ย 166 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าปกติ 7%
เดือนสิงหาคม ภาคเหนือมีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ย 248 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าปกติ 11% ภาคกลางมีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ย 149 มิลลิเมตร ต่ำกว่าค่าปกติ 18%
เดือนกันยายน ภาคเหนือมีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ย 277 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าปกติ 27% ภาคกลางมีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ย 350 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าปกติ 36%
เดือนตุลาคม ภาคเหนือมีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ย 115 มิลลิเมตร ต่ำกว่าค่าปกติ 7% ภาคกลางมีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ย 214 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าปกติ 15%

สรุป

ภาคเหนือ มีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ยมากที่สุดในเดือนกันยายน รองลงมาคือ เดือนสิงหาคม กรกฎาคม และตุลาคม ตามลำดับ โดยถึงแม้เดือนกันยายนจะมีปริมาณฝนสะสมสูงที่สุด แต่มีการกระจุกตัวของฝนอยู่ทางด้านตะวันตกของภาค ส่วนด้านตะวันออกของภาคมีฝนตกค่อนข้างน้อย ต่างจากเดือนสิงหาคมที่มีการกระจายตัวของฝนครอบคลุมในทุกพื้นที่ของภาค
ภาคกลาง มีปริมาณฝนสะสมรายเดือนเฉลี่ยมากที่สุดในเดือนกันยายน รองลงมาคือ เดือนตุลาคม กรกฎาคม และสิงหาคม ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าเดือนกันยายนมีปริมาณฝนสูงกว่าเดือนอื่น ๆ ค่อนข้างมาก เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง คือ อิทธิพลจากร่องมรสุมกำลังแรงที่ส่งผลกระทบลงมาถึงภาคกลางตอนบน อิทธิพลจากคลื่นกระแสลมตะวันออกที่เข้าพัดปกคลุมในช่วงต้นเดือน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรง รวมทั้งได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น Eighteen ที่สลายตัวบริเวณภาคกลาง


ข้อมูลเพิ่มเติม : รายงานสภาวะอากาศรายเดือน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม



แผนที่ความกดอากาศและความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 ก.ม. เหนือระดับน้ำทะเล ช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556
โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)




ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา

เรดาร์พิษณุโลก รัศมี 240 กิโลเมตร

5/9/2556 [10:25GMT]

6/9/2556 [10:25GMT]

7/9/2556 [15:25GMT]

10/9/2556 [20:25GMT]

11/9/2556 [16:25GMT]

DBZ

12/9/2556 [14:25GMT]

13/9/2556 [12:25GMT]

14/9/2556 [14:25GMT]

19/9/2556 [12:25GMT]

20/9/2556 [14:25GMT]

16/10/2556 [09:25GMT]

17/10/2556 [11:25GMT]

18/10/2556 [20:25GMT]

19/10/2556 [05:25GMT]

20/10/2556 [09:25GMT]


ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย กรมฝนหลวงและการบินเกษตร


เรดาร์ตาคลี รัศมี 240 กิโลเมตร

5/9/2556 [17:00 Local Time]

6/9/2556 [20:00 Local Time]

7/9/2556 [17:00 Local Time]

10/9/2556 [19:00 Local Time]

11/9/2556 [20:00 Local Time]

DBZ

12/9/2556 [15:00 Local Time]

13/9/2556 [20:00 Local Time]

14/9/2556 [16:00 Local Time]

19/9/2556 [16:00 Local Time]

20/9/2556 [11:00 Local Time]

14/10/2556 [10:00 Local Time]

15/10/2556 [16:00 Local Time]

16/10/2556 [11:00 Local Time]

17/10/2556 [10:00 Local Time]

18/10/2556 [15:00 Local Time]

หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เรดาร์พิษณุโลก : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_phkradar.php
เรดาร์ตาคลี : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_rm_tkhradar.php


จากเครือข่ายภาพเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์พิษณุโลก และเครือข่ายภาพเรดาร์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เรดาร์ตาคลี พบว่าช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม พื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางมีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันมาก ทั้งหมด 4 ช่วง ประกอบด้วย

1. ช่วงต้นเดือนกันยายน ประมาณวันที่ 5-8 ก.ย. 56 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เช่น บริเวณจังหวัดน่าน เพชรบูรณ์ ตาก เชียงราย กำแพงเพชร พะเยา แพร่ หลังจากนั้นมีปริมาณและการกระจายของฝนเพิ่มขึ้นครอบคลุมถึงภาคกลาง บริเวณจังหวัดกาญจบุรี สุพรรณบุรี เป็นต้น
2. ช่วงวันที่ 10-14 ก.ย. 56 เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ พะเยา ตาก สุโขทัย นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น
3. ช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. 56 เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคกลางรวมถึงภาคเหนือตอนล่าง บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท ตาก พิจิตร พิษณุโลก ปทุมธานี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
4. ช่วงกลางเดือนตุลาคม ประมาณวันที่ 15-19 ต.ค. 56 พื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางเกิดฝนตกหนัก ประกอบด้วย จังหวัดลำปาง แพร่ เชียงราย สุโขทัย เพชรบูรณ์ ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น



แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน สังเคราะห์จากข้อมูลปริมาณฝนรายชั่วโมงของ GSMaP
จัดทำโดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
(องค์การมหาชน)


5/9/2556

6/9/2556

7/9/2556

10/9/2556

11/9/2556

12/9/2556

13/10/2556

14/9/2556

19/9/2556

20/9/2556

15/10/2556

16/10/2556

17/10/2556

18/10/2556

19/10/2556


แผนภาพแสดงการเคลื่อนตัวของกลุ่มฝนช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556

จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน ของ GSMaP ในเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม 2556 พบว่าพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางมีกลุ่มฝนกระจุกตัวมากใน 4 ช่วงเวลา คือ 1)ช่วงต้นเดือนกันยายน 2)ช่่วงกลางเดือนกันยายน 3)ช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. 56 4)ช่วงกลางเดือนตุลาคม



แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน โดย NASA


5/9/2556[00Z]

6/9/2556[00Z]

7/9/2556[00Z]

10/9/2556[00Z]

11/9/2556[00Z]

12/9/2556[00Z]

13/9/2556[00Z]

14/9/2556[00Z]

19/9/2556[00Z]

20/9/2556[00Z]

15/10/2556[00Z]

16/10/2556[00Z]

17/10/2556[00Z]

18/10/2556[00Z]

19/10/2556[00Z]
mm.

แผนภาพแสดงการเคลื่อนตัวของกลุ่มฝนช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556


แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายเดือน
โดย NASA

กรกฎาคม 2556

สิงหาคม 2556

กันยายน 2556

ตุลาคม 2556

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://disc2.nascom.nasa.gov/Giovanni/tovas/realtime.3B42RT.2.shtml

จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันของ NASA พบว่าในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางมีฝนกระจุกตัวกันมากใน 4 ช่วงเวลา ประกอบด้วย ช่้วงต้นเดือนกันยายน ช่วงกลางเดือนกันยายน ช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. 56 และช่วงกลางเดือนตุลาคม เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น
และหากพิจารณาดูข้อมูลเป็นรายเดือนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม เห็นได้ว่า
ภาคเหนือ ในเดือนกรกฎาคมมีฝนตกมากบริเวณตอนบนของภาค ต่อมาเดือนสิงหาคมมีฝนตกหนักกระจายตัวเป็นหย่อม ๆ ส่วนเดือนกันยายนมีฝนสะสมมากที่สุดแต่กลุ่มฝนกระจุกตัวมากบริเวณตอนล่างของภาคส่วนตอนบนของภาคฝนค่อนข้างน้อย และเดือนตุลาคมปริมาณฝนลดลงมาก
ภาคกลาง เดือนกรกฎาคมตอนกลางของภาคมีฝนค่อนข้างน้อย ปริมาณฝนส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ทางด้านตะวันตกของภาค ต่อมาเดือนสิงหาคมมีฝนตกกระจายตัวทั้งภาคโดยกลุ่มฝนส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ทางด้านตะวันตกตอนบนของภาค เดือนกันยายนปริมาณฝนสะสมสูงกว่าเดือนอื่น ๆ ค่อนข้างมาก โดยมีฝนตกหนักกระจายตัวในหลายพื้นที่ และต่อมาในเดือนตุลาคม ปริมาณฝนลดลงมากแต่ยังคงมีกลุ่มฝนกระจุกตัวอยู่บริเวณตอนล่างของภาค




ปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา

         รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556
บริเวณภาคเหนือและภาคกลาง พบว่าสถานีที่มีฝนตกเกิน 50 มิลลิเมตรต่อวัน
แสดงดังตารางด้านล่าง และสถานีที่ตรวจวัด
ปริมาณฝน ได้เกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน อยู่ในพื้นที่จังหวัดน่าน เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ กรุงเทพมหานคร และเพชรบุรี
ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคเหนือ
วันที่
สถานี
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) 
1/9/2013 สุโขทัย ราวต้นจันทร์ ศรีสำโรง สุโขทัย                                 55.4
6/9/2013 น่าน ป่าแลวหลวง สันติสุข น่าน                                112.7
เชียงราย แม่ข้าวต้ม เมืองเชียงราย เชียงราย                                 96.0
เชียงราย (1) โป่งแพร่ แม่ลาว เชียงราย                                 55.4
7/9/2013 เพชรบูรณ์ สะเดียง เมืองเพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์                                105.4
8/9/2013 เขื่อนภูมิพล สามเงา สามเงา ตาก                                 54.8
กำแพงเพชร ท่าไม้ พรานกระต่าย กำแพงเพชร                                 52.6
10/9/2013 กำแพงเพชร ท่าไม้ พรานกระต่าย กำแพงเพชร                                 76.0
เขื่อนภูมิพล สามเงา สามเงา ตาก                                 58.5
11/9/2013 บัวชุม (2) ท่าโรง วิเชียรบุรี เพชรบูรณ์                                 51.2
12/9/2013 ดอยมูเซอ (1) แม่กาษา แม่สอด ตาก                                 51.3
13/9/2013 สุโขทัย ราวต้นจันทร์ ศรีสำโรง สุโขทัย                                 62.3
14/9/2013 สุโขทัย ราวต้นจันทร์ ศรีสำโรง สุโขทัย                                 95.9
15/9/2013 สุโขทัย ราวต้นจันทร์ ศรีสำโรง สุโขทัย                                 96.5
อุ้มผาง พะวอ แม่สอด ตาก                                 80.8
ดอยมูเซอ (1) แม่กาษา แม่สอด ตาก                                 77.3
ท่าวังผา (2) แสนทอง ท่าวังผา น่าน                                 75.9
แม่ฮ่องสอน ห้วยผา เมืองแม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน                                 69.0
20/9/2013 บัวชุม (2) ท่าโรง วิเชียรบุรี เพชรบูรณ์                                112.0
21/9/2013 ตากฟ้า เขากะลา พยุหะคีรี นครสวรรค์                                117.2
อุ้มผาง พะวอ แม่สอด ตาก                                 81.0
บัวชุม (2) ท่าโรง วิเชียรบุรี เพชรบูรณ์                                 80.0
22/9/2013 พิจิตร ท่าหลวง เมืองพิจิตร พิจิตร                                 83.4
เพชรบูรณ์ สะเดียง เมืองเพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์                                 67.4
กำแพงเพชร ท่าไม้ พรานกระต่าย กำแพงเพชร                                 56.3
27/9/2013 เชียงใหม่ บ่อแก้ว สะเมิง เชียงใหม่                                 58.0
เชียงราย (1) โป่งแพร่ แม่ลาว เชียงราย                                 55.8
พิษณุโลก หนองกะท้าว นครไทย พิษณุโลก                                 55.1
ลำปาง บ้านหวด งาว ลำปาง                                 52.0
28/9/2013 ตากฟ้า เขากะลา พยุหะคีรี นครสวรรค์                                 59.1
อุตรดิตถ์ ขุนฝาง เมืองอุตรดิตถ์ อุตรดิตถ์                                 51.9
30/9/2013 เขื่อนภูมิพล สามเงา สามเงา ตาก                                 51.5
นครสวรรค์ มหาโพธิ เก้าเลี้ยว นครสวรรค์                                 51.0
3/10/2013 บัวชุม (2) ท่าโรง วิเชียรบุรี เพชรบูรณ์                                130.0
ท่าวังผา (2) แสนทอง ท่าวังผา น่าน                                 72.9
ลำปาง บ้านหวด งาว ลำปาง                                 53.8
18/10/2013 ลำปาง บ้านหวด งาว ลำปาง                                 96.6
บัวชุม (2) ท่าโรง วิเชียรบุรี เพชรบูรณ์                                 52.2
19/10/2013 ลำปาง (1) บ้านเสด็จ เมืองลำปาง ลำปาง                                 50.5
22/10/2013 เชียงราย แม่ข้าวต้ม เมืองเชียงราย เชียงราย                                 59.3
24/10/2013 เชียงราย (1) โป่งแพร่ แม่ลาว เชียงราย                                 67.4
25/10/2013 ตาก ตากออก บ้านตาก ตาก                                 96.1
26/10/2013 พิษณุโลก หนองกะท้าว นครไทย พิษณุโลก                                 72.4

ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคกลาง
วันที่
สถานี
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) 
9/9/2013 ทองผาภูมิ ปีล็อก ทองผาภูมิ กาญจนบุรี                                 57.3
12/9/2013 ศูนย์สิริกิตต์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร                                103.7
ท่าเรือกรุงเทพฯ แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร                                 80.0
ลพบุรี เพนียด โคกสำโรง ลพบุรี                                 74.4
บางนา (1) แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร                                 64.4
13/9/2013 ท่าเรือกรุงเทพฯ แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร                                 73.8
สนามบินกรุงเทพฯ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร                                 71.3
ประจวบคีรีขันธ์ อ่าวน้อย เมืองประจวบคีรีขั ประจวบคีรีขันธ์                                 58.0
15/9/2013 ลพบุรี เพนียด โคกสำโรง ลพบุรี                                 52.3
16/9/2013 ปทุมธานี (1) คลองหก คลองหลวง ปทุมธานี                                 63.8
20/9/2013 ลพบุรี เพนียด โคกสำโรง ลพบุรี                                 71.7
สนามบินกรุงเทพฯ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร                                 59.9
ปทุมธานี (1) คลองหก คลองหลวง ปทุมธานี                                 58.4
บางนา (1) แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร                                 53.8
ท่าเรือกรุงเทพฯ แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร                                 53.6
ศูนย์สิริกิตต์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร                                 53.4
อู่ทอง (1) นาสวน ศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี                                 52.2
สุพรรณบุรี วังหว้า ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี                                 51.1
21/9/2013 กาญจนบุรี ท่ากระดาน ศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี                                 50.7
28/9/2013 ลพบุรี เพนียด โคกสำโรง ลพบุรี                                 60.3
30/9/2013 ปทุมธานี (1) คลองหก คลองหลวง ปทุมธานี                                 99.0
ชัยนาท ท่าชัย เมืองชัยนาท ชัยนาท                                 58.2
4/10/2013 ปทุมธานี (1) คลองหก คลองหลวง ปทุมธานี                                 74.8
7/10/2013 ศูนย์สิริกิตต์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร                                 68.8
ท่าเรือกรุงเทพฯ แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร                                 54.9
บางนา (1) แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร                                 54.1
9/10/2013 กาญจนบุรี ท่ากระดาน ศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี                                 50.7
16/10/2013 สนามบินกรุงเทพฯ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร                                 59.5
17/10/2013 กรมอุตุนิยมวิทยา แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร                                123.6
ศูนย์สิริกิตต์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร                                 56.4
สนามบินกรุงเทพฯ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร                                 55.5
ชัยนาท ท่าชัย เมืองชัยนาท ชัยนาท                                 55.0
บางนา (1) แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร                                 55.0
18/10/2013 ศูนย์สิริกิตต์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร                                 88.1
ทองผาภูมิ ปีล็อก ทองผาภูมิ กาญจนบุรี                                 84.0
19/10/2013 กำแพงแสน (1) สระสี่มุม กำแพงแสน นครปฐม                                 67.3
26/10/2013 เพชรบุรี ช่องสะแก เมืองเพชรบุรี เพชรบุรี                                102.2

หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 50 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร



ปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีโทรมาตร โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหารชน)

            รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีโทรมาตร ช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556 บริเวณภาคเหนือและภาคกลาง
พบว่าสถานีที่มีฝนตกเกิน 50 มิลลิเมตรต่อวัน แสดงดังตารางด้านล่าง และสถานีที่ตรวจวัดปริมาณน้ำฝนได้เกิน 100 มิลลิเมตรต่อวัน
อยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สระบุรี ลพบุรี และราชบุรี

ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคเหนือ
วันที่
สถานี
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) 
2013-09-01 น้ำหนาว น้ำหนาว น้ำหนาว เพชรบูรณ์                                 51.0
2013-09-05 เชียงของ เวียง เชียงของ เชียงราย                                100.6
เวียงชัย เวียงชัย เวียงชัย เชียงราย                                 86.8
หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำน้ำงิม ผาช้างน้อย ปง พะเยา                                 86.6
หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำน้ำเงิน ผาช้างน้อย ปง พะเยา                                 66.4
สะพานน้ำงิม งิม ปง พะเยา                                 64.6
ยางฮอม ยางฮอม ขุนตาล เชียงราย                                 63.6
ป่าแดด ป่าแดด ป่าแดด เชียงราย                                 63.6
อบต.บ่อ บ่อ เมืองน่าน น่าน                                 56.6
แม่จัน แม่จัน แม่จัน เชียงราย                                 56.4
พญาเม็งราย แม่เปา พญาเม็งราย เชียงราย                                 51.0
สันติสุข ดู่พงษ์ สันติสุข น่าน                                 50.4
ห้วยส้านยาว ดงมะดะ แม่ลาว เชียงราย                                 50.2
2013-09-07 ชุมชนหนองปิ้งไก่ นาบ่อคำ เมืองกำแพงเพชร กำแพงเพชร                                 73.4
เขื่อนภูมิพล สามเงา สามเงา ตาก                                 62.4
2013-09-08 เวียงชัย เวียงชัย เวียงชัย เชียงราย                                 82.2
สะพานน้ำแม่สิน นาพูน วังชิ้น แพร่                                 57.8
บ้านตาก ตากออก บ้านตาก ตาก                                 52.6
2013-09-12 ลี้ ลี้ ลี้ ลำพูน                                 58.4
เมืองเถิน ล้อมแรด เถิน ลำปาง                                 53.6
บ้านธิ บ้านธิ บ้านธิ ลำพูน                                 53.2
2013-09-13 หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำแม่หล่าย สวนเขื่อน เมืองแพร่ แพร่                                 57.6
ชุมชนหนองปิ้งไก่ นาบ่อคำ เมืองกำแพงเพชร กำแพงเพชร                                 50.4
2013-09-14 หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำดอยกาด ผาช้างน้อย ปง พะเยา                                 87.8
ชุมชนหนองปิ้งไก่ นาบ่อคำ เมืองกำแพงเพชร กำแพงเพชร                                 65.8
หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำน้ำสิน บ้านแก่ง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย                                 59.6
ดอยกองมู จองคำ เมืองแม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน                                 58.4
อนามัยจอมพระ จอมพระ ท่าวังผา น่าน                                 58.2
แม่ระมาด แม่ระมาด แม่ระมาด ตาก                                 54.4
ลับแล ศรีพนมมาศ ลับแล อุตรดิตถ์                                 54.4
บ้านด่านลานหอย ลานหอย บ้านด่านลานหอย สุโขทัย                                 54.0
น้ำตกแม่กลาง บ้านหลวง จอมทอง เชียงใหม่                                 50.4
2013-09-17 วังทรายพูน วังทรายพูน วังทรายพูน พิจิตร                                 54.8
2013-09-19 คลองขลุง คลองขลุง คลองขลุง กำแพงเพชร                                 63.4
2013-09-20 สันทราย สันทรายหลวง สันทราย เชียงใหม่                                103.4
ศรีเทพ โคกสะอาด ศรีเทพ เพชรบูรณ์                                 67.6
บึงสามพัน ซับสมอทอด บึงสามพัน เพชรบูรณ์                                 51.0
2013-09-21 วังโป่ง วังโป่ง วังโป่ง เพชรบูรณ์                                116.0
ชนแดน พุทธบาท ชนแดน เพชรบูรณ์                                 86.2
เนินมะปราง เนินมะปราง เนินมะปราง พิษณุโลก                                 65.8
โพธิ์ประทับช้าง โพธิ์ประทับช้าง โพธิ์ประทับช้าง พิจิตร                                 62.0
บ้านด่านลานหอย ลานหอย บ้านด่านลานหอย สุโขทัย                                 55.6
วังทรายพูน วังทรายพูน วังทรายพูน พิจิตร                                 55.2
ทับคล้อ ทับคล้อ ทับคล้อ พิจิตร                                 53.0
นครป่าหมาก นครป่าหมาก บางกระทุ่ม พิษณุโลก                                 50.2
2013-09-26 เสริมงาม ทุ่งงาม เสริมงาม ลำปาง                                 66.6
สะพานแม่คำมี ไผ่โทน ร้องกวาง แพร่                                 62.6
โพธิ์ประทับช้าง โพธิ์ประทับช้าง โพธิ์ประทับช้าง พิจิตร                                 56.4
เมืองเกาะคา ท่าผา เกาะคา ลำปาง                                 56.0
เนินมะปราง เนินมะปราง เนินมะปราง พิษณุโลก                                 55.2
แม่ใจ แม่ใจ แม่ใจ พะเยา                                 54.2
ป่าสักงาม ลวงเหนือ ดอยสะเก็ด เชียงใหม่                                 53.6
ชนแดน พุทธบาท ชนแดน เพชรบูรณ์                                 52.6
อบต.ยั้งเมิน ยั้งเมิน สะเมิง เชียงใหม่                                 51.4
2013-09-27 วังโป่ง วังโป่ง วังโป่ง เพชรบูรณ์                                 93.4
ทับคล้อ ทับคล้อ ทับคล้อ พิจิตร                                 92.8
ชนแดน พุทธบาท ชนแดน เพชรบูรณ์                                 86.6
อบต.แม่นาจร แม่นาจร แม่แจ่ม เชียงใหม่                                 79.6
อบต.ยั้งเมิน ยั้งเมิน สะเมิง เชียงใหม่                                 70.4
สวนบัวรีสอร์ท บ้านปง หางดง เชียงใหม่                                 57.6
เขาค้อ ทุ่งสมอ เขาค้อ เพชรบูรณ์                                 52.8
2013-09-28 ชุมแสงสงคราม ชุมแสงสงคราม บางระกำ พิษณุโลก                                 79.0
เวียงชัย เวียงชัย เวียงชัย เชียงราย                                 54.8
2013-10-02 เขาค้อ ทุ่งสมอ เขาค้อ เพชรบูรณ์                                 65.4
ดอกคำใต้ ดอนศรีชุม ดอกคำใต้ พะเยา                                 56.4
2013-10-05 ป่าแดด ป่าแดด ป่าแดด เชียงราย                                 67.0
สะพานน้ำม่าว ปง ปง พะเยา                                 54.2
2013-10-17 บ้านอ้วน ป่าตัน แม่ทะ ลำปาง                                 98.2
เมืองเกาะคา ท่าผา เกาะคา ลำปาง                                 79.6
ชุมชนห้วยไร่ ห้วยไร่ เด่นชัย แพร่                                 70.2
ชุมชนแม่ลาว แม่เจดีย์ใหม่ เวียงป่าเป้า เชียงราย                                 64.6
หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำน้ำสิน บ้านแก่ง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย                                 63.0
เมืองห้างฉัตร ห้างฉัตร ห้างฉัตร ลำปาง                                 58.8
แจ้ห่ม แจ้ห่ม แจ้ห่ม ลำปาง                                 56.4
ทุ่งเสลี่ยม ทุ่งเสลี่ยม ทุ่งเสลี่ยม สุโขทัย                                 53.6
หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำห้วยท่าแพ บ้านแก่ง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย                                 53.6
เมืองเด่นชัย เด่นชัย เด่นชัย แพร่                                 51.0
หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำแม่ตีบ จางเหนือ แม่เมาะ ลำปาง                                 50.4
บ้านห้วยมุ่น ห้วยมุ่น น้ำปาด อุตรดิตถ์                                 50.2
2013-10-21 ศูนย์พัฒนาเกษตรฯ ดอยอมพาย ท่าผา แม่แจ่ม เชียงใหม่                                 51.8
2013-10-23 อบต.แม่สาคร แม่สาคร เวียงสา น่าน                                 71.2
เวียงชัย เวียงชัย เวียงชัย เชียงราย                                 52.4
2013-10-24 หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำห้วยท่าแพ บ้านแก่ง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย                                 52.2
2013-10-25 ชุมชนหนองปิ้งไก่ นาบ่อคำ เมืองกำแพงเพชร กำแพงเพชร                                 79.0
เนินมะปราง เนินมะปราง เนินมะปราง พิษณุโลก                                 78.4

ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคกลาง
วันที่
สถานี
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) 
2013-09-07 หนองผักนาก หนองผักนาก สามชุก สุพรรณบุรี                                 85.0
บางกระเจ้า ชัยมงคล เมืองสมุทรสาคร สมุทรสาคร                                 54.2
2013-09-08 ปลายโพงพาง ยี่สาร อัมพวา สมุทรสงคราม                                 52.0
2013-09-10 หนองมะค่า หนองมะค่า โคกเจริญ ลพบุรี                                 66.0
บ่อพลอย บ่อพลอย บ่อพลอย กาญจนบุรี                                 58.4
2013-09-11 แสวงหา แสวงหา แสวงหา อ่างทอง                                 60.2
ร.ร.นวมิทรฯเบญจราชาลัย สามวาตะวันตก คลองสามวา กรุงเทพมหานคร                                 59.0
ตาคลี ตาคลี ตาคลี นครสวรรค์                                 58.2
โพธิ์ชัย โพธิ์ชัย อินทร์บุรี สิงห์บุรี                                 51.8
หนองผักนาก หนองผักนาก สามชุก สุพรรณบุรี                                 51.4
2013-09-13 บ้านเขาดิน ย่านมัทรี พยุหะคีรี นครสวรรค์                                101.8
2013-09-14 หันคา หันคา หันคา ชัยนาท                                 56.6
2013-09-15 รังสิตคลอง7 คลองเจ็ด คลองหลวง ปทุมธานี                                 67.0
2013-09-16 ด่านเจดีย์สามองค์ หนองลู สังขละบุรี กาญจนบุรี                                 61.8
2013-09-18 แสวงหา แสวงหา แสวงหา อ่างทอง                                 62.8
หันคา หันคา หันคา ชัยนาท                                 51.4
หนองผักนาก หนองผักนาก สามชุก สุพรรณบุรี                                 50.2
2013-09-19 โรงปูนซีเมนต์ไทยแก่งคอย ทับกวาง แก่งคอย สระบุรี                                104.2
หนองผักนาก หนองผักนาก สามชุก สุพรรณบุรี                                 93.6
แสวงหา แสวงหา แสวงหา อ่างทอง                                 89.6
สระโบสถ์ ชอนสารเดช หนองม่วง ลพบุรี                                 80.0
บ้านวังยาง ซับสนุ่น มวกเหล็ก สระบุรี                                 75.6
ห้วยคต ห้วยคต ห้วยคต อุทัยธานี                                 67.8
เขื่อนเจ้าพระยา บ้านกล้วย เมืองชัยนาท ชัยนาท                                 67.6
ห้วยกรด สรรพยา สรรพยา ชัยนาท                                 67.4
หันคา หันคา หันคา ชัยนาท                                 66.0
ลำนารายณ์ ท่ามะนาว ชัยบาดาล ลพบุรี                                 62.0
โพธิ์ชัย โพธิ์ชัย อินทร์บุรี สิงห์บุรี                                 61.0
หนองอำเภอจีน ทุ่งกระบ่ำ เลาขวัญ กาญจนบุรี                                 60.4
ศูนย์อุทกวิทยาและบริหารน้ำภาคกลาง บางหลวง สรรพยา ชัยนาท                                 59.6
วัดสามัคคีพัฒนาราม โคกตูม เมืองลพบุรี ลพบุรี                                 59.2
2013-09-20 หนองมะค่า หนองมะค่า โคกเจริญ ลพบุรี                                130.2
ไพศาลี ไพศาลี ไพศาลี นครสวรรค์                                128.4
สระโบสถ์ ชอนสารเดช หนองม่วง ลพบุรี                                114.2
ท่าตะโก ท่าตะโก ท่าตะโก นครสวรรค์                                104.6
ด่านเจดีย์สามองค์ หนองลู สังขละบุรี กาญจนบุรี                                 89.8
ตากฟ้า สุขสำราญ ตากฟ้า นครสวรรค์                                 72.8
บ้านวังยาง ซับสนุ่น มวกเหล็ก สระบุรี                                 66.8
ลำนารายณ์ ท่ามะนาว ชัยบาดาล ลพบุรี                                 61.8
เกาะสำโรง เกาะสำโรง เมืองกาญจนบุรี กาญจนบุรี                                 52.0
2013-09-21 หนองขนาก หนองขนาก ท่าเรือ พระนครศรีอยุธยา                                 68.0
2013-09-27 ตากฟ้า สุขสำราญ ตากฟ้า นครสวรรค์                                 52.8
2013-09-29 บ้านเขาดิน ย่านมัทรี พยุหะคีรี นครสวรรค์                                 84.0
รังสิตคลอง7 คลองเจ็ด คลองหลวง ปทุมธานี                                 53.6
ห้วยกรด สรรพยา สรรพยา ชัยนาท                                 52.8
หนองมะค่า หนองมะค่า โคกเจริญ ลพบุรี                                 52.6
2013-10-01 น้ำตกเก้าชั้น สวนผึ้ง สวนผึ้ง ราชบุรี                                 88.4
2013-10-02 ลำนารายณ์ ท่ามะนาว ชัยบาดาล ลพบุรี                                 97.8
อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ ถนนพญาไท ราชเทวี กรุงเทพมหานคร                                 51.4
2013-10-03 ชุมชนศาลาดิน มหาสวัสดิ์ พุทธมณฑล นครปฐม                                 80.0
2013-10-06 น้ำตกเก้าชั้น สวนผึ้ง สวนผึ้ง ราชบุรี                                134.6
2013-10-16 บางไทร1 สนามชัย บางไทร พระนครศรีอยุธยา                                 71.6
สถานีน้ำตก ท่าเสา ไทรโยค กาญจนบุรี                                 69.0
หนองผักนาก หนองผักนาก สามชุก สุพรรณบุรี                                 65.8
บ้านวังยาง ซับสนุ่น มวกเหล็ก สระบุรี                                 51.2
โพธิ์ชัย โพธิ์ชัย อินทร์บุรี สิงห์บุรี                                 51.2
ฟิวเจอร์ฯรังสิต รังสิต ธัญบุรี ปทุมธานี                                 50.4
2013-10-17 ท่าแพ ท่าขนุน ทองผาภูมิ กาญจนบุรี                                 82.2
2013-10-18 รังสิตคลอง7 คลองเจ็ด คลองหลวง ปทุมธานี                                 75.4
ชุมชนศาลาดิน มหาสวัสดิ์ พุทธมณฑล นครปฐม                                 71.6
ลานสัก ลานสัก ลานสัก อุทัยธานี                                 54.2
2013-10-24 แม่วงก์ แม่วงก์ แม่วงก์ นครสวรรค์                                 50.8

หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 50 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/Interpolated/ShowImg.php


รายงานการเตือนภัยปริมาณฝนผ่าน sms โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร

จากเหตุการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง ช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2556 มีการเตือนภัยปริมาณฝนในระดับเฝ้าระวังสูงสุดและระดับวิกฤต รายละเอียดดังตารางด้านล่าง

วันที่เตือนภัย
เวลาเตือนภัย
ช่วงเวลาฝนสะสม
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสม(มม.) 
ระดับการเตือนภัย
4/9/2013 18:00:00 ฝน17-18น. ต.สักงาม อ.คลองลาน จ. กำแพงเพชร        32.0
เฝ้าระวังสูงสุด
5/9/2013 20:00:00 ฝน18-19น. ต.สนามชัย อ.บางไทร จ. พระนครศรีอยุธยา        40.4
วิกฤต
19:00:00 ฝน18-19น. ต.สนามชัย อ.บางไทร จ. พระนครศรีอยุธยา        39.2
เฝ้าระวังสูงสุด
18:00:00 ฝน17-18น. ต.บ้านกุ่ม อ.เมืองเพชรบุรี จ. เพชรบุรี        42.4
วิกฤต
6:00:00 ฝน05/07-06/06น. ต.เวียงชัย อ.เวียงชัย จ. เชียงราย        85.6
เฝ้าระวังสูงสุด
4:00:00 ฝน03-04น. ต.บ่อ อ.เมืองน่าน จ. น่าน        25.6
เฝ้าระวังสูงสุด
4:00:00 ฝน05/07-06/04น. ต.เวียง อ.เชียงของ จ. เชียงราย        85.8
เฝ้าระวังสูงสุด
6/9/2013 17:00:00 ฝน17-18น. ต.หนองหญ้าปล้อง อ.หนองหญ้าปล้อง จ. เพชรบุรี        36.8
เฝ้าระวังสูงสุด
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีน่าน อ.เมืองน่าน จ. น่าน      112.7
วิกฤต
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีเชียงราย อ.เมืองเชียงราย จ. เชียงราย        96.0
เฝ้าระวังสูงสุด
7/9/2013 20:00:00 ฝน19-20น. ต.หนองผักนาก อ.สามชุก จ. สุพรรณบุรี        40.2
วิกฤต
19:00:00 ฝน18-19น. ต.หนองผักนาก อ.สามชุก จ. สุพรรณบุรี        35.6
เฝ้าระวังสูงสุด
16:00:00 ฝน15-16น. ต.สามเงา อ.สามเงา จ. ตาก        34.0
เฝ้าระวังสูงสุด
13:00:00 ฝน12-13น. ต.บางขุนกอง อ.บางกรวย จ. นนทบุรี        35.6
เฝ้าระวังสูงสุด
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีเพชรบูรณ์ อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ. เพชรบูรณ์      105.4
เฝ้าระวังสูงสุด
8/9/2013 22:00:00 ฝน21-22น. ต.สว่างอารมณ์ อ.สว่างอารมณ์ จ. อุทัยธานี        37.8
เฝ้าระวังสูงสุด
3:00:00 ฝน02-03น. ต.ตากออก อ.บ้านตาก จ. ตาก        36.8
วิกฤต
2:00:00 ฝน01-02น. ต.เวียงชัย อ.เวียงชัย จ. เชียงราย        42.2
วิกฤต
2:00:00 ฝน01-02น. ต.เวียงชัย อ.เวียงชัย จ. เชียงราย        35.6
เฝ้าระวังสูงสุด
11/9/2013 20:00:00 ฝน19-20น. ต.สามวาตะวันตก อ.คลองสามวา จ. กรุงเทพมหานคร        47.2
วิกฤต
10:00:00 ฝน09-10น. ต.สามเงา อ.สามเงา จ. ตาก        33.0
เฝ้าระวังสูงสุด
12/9/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีศูนย์สิริกิตต์ กรุงเทพมหานคร จ. กรุงเทพมหานคร      103.7
เฝ้าระวังสูงสุด
13/9/2013 5:00:00 ฝน13/07-14/05น. ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ. นครสวรรค์        95.6
เฝ้าระวังสูงสุด
14/9/2013 22:00:00 ฝน21-22น. ต.ลานหอย อ.บ้านด่านลานหอย จ. สุโขทัย        35.6
วิกฤต
22:00:00 ฝน20-21น. ต.ลานหอย อ.บ้านด่านลานหอย จ. สุโขทัย        31.4
เฝ้าระวังสูงสุด
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีสุโขทัย อ.เมืองสุโขทัย จ. สุโขทัย        95.9
เฝ้าระวังสูงสุด
8:00:00 ฝน07-08น. ต.บ้านกาด อ.แม่วาง จ. เชียงใหม่        36.8
เฝ้าระวังสูงสุด
15/9/2013 20:00:00 ฝน18-19น. ต.สนามชัย อ.บางไทร จ. พระนครศรีอยุธยา        36.6
เฝ้าระวังสูงสุด
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีท่าวังผา 2 อ.ท่าวังผา จ. น่าน        75.9
เฝ้าระวังสูงสุด
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีสุโขทัย อ.เมืองสุโขทัย จ. สุโขทัย        96.5
เฝ้าระวังสูงสุด
17/9/2013 23:00:00 ฝน21-22น. ต.วังทรายพูน อ.วังทรายพูน จ. พิจิตร        43.6
วิกฤต
22:00:00 ฝน21-22น. ต.วังทรายพูน อ.วังทรายพูน จ. พิจิตร        37.6
เฝ้าระวังสูงสุด
16:00:00 ฝน07-16น. ต.สวนแตง อ.เมืองสุพรรณบุรี จ. สุพรรณบุรี      103.8
เฝ้าระวังสูงสุด
16:00:00 ฝน15-16น. ต.สวนแตง อ.เมืองสุพรรณบุรี จ. สุพรรณบุรี      103.0
วิกฤต
1:00:00 ฝน00-01น. ต.หนองแดง อ.แม่จริม จ. น่าน        26.6
เฝ้าระวังสูงสุด
18/9/2013 21:00:00 EIGHTEEN Tropical Depression is 367 km. toward Thailand
เฝ้าระวังสูงสุด
20:00:00 ฝน19-20น. ต.หันคา อ.หันคา จ. ชัยนาท        40.8
วิกฤต
19:00:00 ฝน18-19น. ต.หันคา อ.หันคา จ. ชัยนาท        37.8
เฝ้าระวังสูงสุด
19/9/2013 20:00:00 ฝน19-20น. ต.แสวงหา อ.แสวงหา จ. อ่างทอง        38.6
เฝ้าระวังสูงสุด
3:00:00 ฝน01-02น. ต.คลองขลุง อ.คลองขลุง จ. กำแพงเพชร        38.4
วิกฤต
2:00:00 ฝน01-02น. ต.คลองขลุง อ.คลองขลุง จ. กำแพงเพชร        30.2
เฝ้าระวังสูงสุด
20/9/2013 23:00:00 ฝน07-23น. ต.ชอนสารเดช อ.หนองม่วง จ. ลพบุรี        96.6
เฝ้าระวังสูงสุด
18:00:00 ฝน17-18น. ต.หนองมะค่า อ.โคกเจริญ จ. ลพบุรี        38.2
เฝ้าระวังสูงสุด
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีบัวชุม 2 อ.บัวชุม จ. เพชรบูรณ์      112.0
เฝ้าระวังสูงสุด
5:00:00 ฝน20/07-21/05น. ต.สันทรายหลวง อ.สันทราย จ. เชียงใหม่        86.8
เฝ้าระวังสูงสุด
3:00:00 ฝน20/07-21/04น. ต.ท่าตะโก อ.ท่าตะโก จ. นครสวรรค์        95.2
เฝ้าระวังสูงสุด
1:00:00 ฝน20/07-21/01น. ต.หนองมะค่า อ.โคกเจริญ จ. ลพบุรี      120.6
วิกฤต
1:00:00 ฝน20/07-21/01น. ต.ไพศาลี อ.ไพศาลี จ. นครสวรรค์      120.2
วิกฤต
21/9/2013 21:00:00 ฝน20-21น. ต.ลานหอย อ.บ้านด่านลานหอย จ. สุโขทัย        35.6
วิกฤต
21:00:00 ฝน20-21น. ต.ลานหอย อ.บ้านด่านลานหอย จ. สุโขทัย        33.6
เฝ้าระวังสูงสุด
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีตากฟ้า อ.ตากฟ้า จ. นครสวรรค์      117.2
เฝ้าระวังสูงสุด
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีบัวชุม อ.บัวชุม จ. เพชรบูรณ์        80.0
เฝ้าระวังสูงสุด
2:00:00 ฝน21/07-22/02น. ต.พุทธบาท อ.ชนแดน จ. เพชรบูรณ์        70.2
เฝ้าระวังสูงสุด
1:00:00 ฝน21/07-22/00น. ต.วังโป่ง อ.วังโป่ง จ. เพชรบูรณ์        73.8
เฝ้าระวังสูงสุด
22/9/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีพิจิตร อ.เมืองพิจิตร จ. พิจิตร        83.4
เฝ้าระวังสูงสุด
23/9/2013 3:00:00 ฝน02-03น. ต.ในเวียง อ.เมืองแพร่ จ. แพร่        77.4
วิกฤต
3:00:00 ฝน23/07-24/03น. ต.ในเวียง อ.เมืองแพร่ จ. แพร่      200.8
วิกฤต
25/9/2013 4:00:00 ฝน03-04น. ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ. น่าน        26.8
เฝ้าระวังสูงสุด
26/9/2013 14:00:00 ฝน13-14น. ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ. พิษณุโลก        37.2
เฝ้าระวังสูงสุด
14:00:00 ฝน13-14น. ต.โพธิ์ประทับช้าง อ.โพธิ์ประทับช้าง จ. พิจิตร        37.2
วิกฤต
27/9/2013 22:00:00 ฝน07-22น. ต.ทับคล้อ อ.ทับคล้อ จ. พิจิตร        70.6
เฝ้าระวังสูงสุด
21:00:00 ฝน20-21น. ต.ทับคล้อ อ.ทับคล้อ จ. พิจิตร        43.2
วิกฤต
21:00:00 ฝน20-21น. ต.ทับคล้อ อ.ทับคล้อ จ. พิจิตร        37.8
เฝ้าระวังสูงสุด
2:00:00 ฝน27/07-28/02น. ต.พุทธบาท อ.ชนแดน จ. เพชรบูรณ์        71.2
เฝ้าระวังสูงสุด
1:00:00 ฝน27/07-28/00น. ต.วังโป่ง อ.วังโป่ง จ. เพชรบูรณ์        84.0
เฝ้าระวังสูงสุด
28/9/2013 15:00:00 ฝน14-15น. ต.เวียงชัย อ.เวียงชัย จ. เชียงราย        41.8
วิกฤต
5:00:00 ฝน04-05น. ต.แม่ใจ อ.แม่ใจ จ. พะเยา        35.4
เฝ้าระวังสูงสุด
29/9/2013 23:00:00 ฝน22-23น. ต.หนองมะค่า อ.โคกเจริญ จ. ลพบุรี        36.0
เฝ้าระวังสูงสุด
10:00:00 ฝน09-10น. ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ. นครสวรรค์        43.6
วิกฤต
30/9/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีปทุมธานี อ.เมืองปทุมธานี จ. ปทุมธานี        99.0
เฝ้าระวังสูงสุด
8:00:00 WUTIP Typhoon Cat 1 is 270 km. toward Thailand
เฝ้าระวังสูงสุด
1/10/2013 16:00:00 ฝน15-16น. ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง จ. ราชบุรี        42.2
วิกฤต
2/10/2013 18:00:00 ฝน17-18น. ต.ทุ่งสมอ อ.เขาค้อ จ. เพชรบูรณ์        38.6
เฝ้าระวังสูงสุด
7:00:00 ฝน02/07-03/06น. ต.ท่ามะนาว อ.ชัยบาดาล จ. ลพบุรี        96.8
เฝ้าระวังสูงสุด
3/10/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีท่าวังผา 2 อ.ท่าวังผา จ. น่าน        72.9
เฝ้าระวังสูงสุด
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีบัวชุม อ.บัวชุม จ. เพชรบูรณ์      130.0
วิกฤต
4:00:00 ฝน03-04น. ต.ราษฎร์นิยม อ.ไทรน้อย จ. นนทบุรี        36.2
เฝ้าระวังสูงสุด
6/10/2013 22:00:00 ฝน07-22น. ต.ไร่ใหม่พัฒนา อ.ชะอำ จ. เพชรบุรี        97.2
เฝ้าระวังสูงสุด
4:00:00 ฝน03-04น. ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง จ. ราชบุรี        38.6
เฝ้าระวังสูงสุด
4:00:00 ฝน06/07-07/04น. ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง จ. ราชบุรี      111.2
เฝ้าระวังสูงสุด
1:00:00 ฝน06/07-07/00น. ต.เกาะหลัก อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ จ. ประจวบคีรีขันธ์      101.2
เฝ้าระวังสูงสุด
7/10/2013 17:00:00 ฝน07-17น. ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง จ. ราชบุรี      150.2
วิกฤต
16:00:00 ฝน07-16น. ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง จ. ราชบุรี      139.6
เฝ้าระวังสูงสุด
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีประจวบคีรีขันธ์ อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ จ. ประจวบคีรีขันธ์      129.7
เฝ้าระวังสูงสุด
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีหนองพลับ 1 อ.หนองพลับ จ. เพชรบุรี      119.8
เฝ้าระวังสูงสุด
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีหัวหิน อ.หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์      153.4
วิกฤต
15/10/2013 9:00:00 NARI Typhoon Cat 1 si 238 km. toward Thailand
เฝ้าระวังสูงสุด
16/10/2013 14:00:00 ฝน13-14น. ต.ท่าเสา อ.ไทรโยค จ. กาญจนบุรี        42.6
วิกฤต
7:00:00 ฝน05-06น. ต.บางขุนกอง อ.บางกรวย จ. นนทบุรี        46.8
วิกฤต
6:00:00 ฝน04-05น. ต.หนองผักนาก อ.สามชุก จ. สุพรรณบุรี        43.2
วิกฤต
5:00:00 ฝน04-05น. ต.หนองผักนาก อ.สามชุก จ. สุพรรณบุรี        37.6
เฝ้าระวังสูงสุด
17/10/2013 18:00:00 ฝน17-18น. ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ. กาญจนบุรี        52.6
วิกฤต
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีกรมอุตุนิยมวิทยา เขตบางนา จ. กรุงเทพมหานคร      123.6
วิกฤต
6:00:00 ฝน17/07-18/06น. ต.ป่าตัน อ.แม่ทะ จ. ลำปาง        86.0
เฝ้าระวังสูงสุด
18/10/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีลำปาง อ.เมืองลำปาง จ. ลำปาง        96.6
เฝ้าระวังสูงสุด
21/10/2013 8:00:00 ฝน07-08น. ต.ท่าผา อ.เกาะคา จ. ลำปาง        35.2
เฝ้าระวังสูงสุด
23/10/2013 20:00:00 ฝน19-20น. ต.แม่สาคร อ.เวียงสา จ. น่าน        34.0
วิกฤต
4:00:00 ฝน23/07-24/04น. ต.แม่สาคร อ.เวียงสา จ. น่าน        65.8
เฝ้าระวังสูงสุด
24/10/2013 20:00:00 ฝน19-20น. ต.ป่าซาง อ.ป่าซาง จ. ลำพูน        48.6
วิกฤต
25/10/2013 14:00:00 ฝน07-14น. ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ. พิษณุโลก        71.2
เฝ้าระวังสูงสุด
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีตาก อ.เมืองตาก จ. ตาก        96.1
เฝ้าระวังสูงสุด
26/10/2013 9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีพิษณุโลก อ.เมืองพิษณุโลก จ. พิษณุโลก        72.4
เฝ้าระวังสูงสุด
9:00:00 ฝนวานนี้ สถานีเพชรบุรี อ.เมืองเพชรบุรี จ. เพชรบุรี      102.2
เฝ้าระวังสูงสุด
30/10/2013 18:00:00 ฝน17-18น. ต.แม่เปา อ.พญาเม็งราย จ. เชียงราย        38.8
เฝ้าระวังสูงสุด
18:00:00 ฝน17-18น. ต.แม่เปา อ.พญาเม็งราย จ. เชียงราย        43.2
วิกฤต





แผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนรายวันล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร
จากแบบจำลองสภาพอากาศ(WRF Model)



คาดการณ์เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 56

5/9/56 19.00 น. - 6/9/56 19.00 น.

6/9/56 19.00 น. - 7/9/56 19.00 น.

7/9/56 19.00 น. - 8/9/56 19.00 น.

8/9/56 19.00 น. - 9/9/56 19.00 น.

9/9/56 19.00 น. - 10/9/56 19.00 น.

10/9/56 19.00 น. - 11/9/56 19.00 น.

11/9/56 19.00 น. - 12/9/56 19.00 น.


คาดการณ์เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 56

10/9/56 19.00 น. - 11/9/56 19.00 น.

11/9/56 19.00 น. - 12/9/56 19.00 น.

12/9/56 19.00 น. - 13/9/56 19.00 น.

13/9/56 19.00 น. - 14/9/56 19.00 น.

14/9/56 19.00 น. - 15/9/56 19.00 น.

15/9/56 19.00 น. - 16/9/56 19.00 น.

16/9/56 19.00 น. - 17/9/56 19.00 น.


คาดการณ์เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 56

18/9/56 19.00 น. - 19/9/56 19.00 น.

19/9/56 19.00 น. - 20/9/56 19.00 น.

20/9/56 19.00 น. - 21/9/56 19.00 น.

21/9/56 19.00 น. - 22/9/56 19.00 น.

22/9/56 19.00 น. - 23/9/56 19.00 น.

23/9/56 19.00 น. - 24/9/56 19.00 น.

24/9/56 19.00 น. - 25/9/56 19.00 น.


คาดการณ์เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 56


15/9/56 19.00 น. - 16/9/56 19.00 น.

16/9/56 19.00 น. - 17/9/56 19.00 น.

17/9/56 19.00 น. - 18/9/56 19.00 น.

18/9/56 19.00 น. - 19/9/56 19.00 น.

19/9/56 19.00 น. - 20/9/56 19.00 น.

20/9/56 19.00 น. - 21/9/56 19.00 น.

21/9/56 19.00 น. - 22/9/56 19.00 น.




     จากแผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนสะสมรายวันล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร จากแบบจำลองสภาพอากาศ WRF
ผลการคาดการณ์ใน 4 วัน คือ วันที่ 5 ก.ย. 56 วันที่ 10 ก.ย. 56 วันที่ 18 ก.ย. 56 และวันที่ 15 ต.ค. 56 มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคกลางใน 4 ช่วงเวลา คือ ช่วงต้นเดือนกันยายน
ช่วงกลางเดือนกันยายน ช่วงวันที่ 19-20 กันยายน และช่วงกลางเดือนตุลาคม
   โดยผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองมีความสอดคล้องใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เมื่อเทียบกับแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของ GSMap แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของ NASA
เรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา การตรวจวัดปริมาณฝนจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา และสถานีโทรมาตรสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร  



สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดย กรมชลประทาน,การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนภูมิพล

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนภูมิพล

ปริมาณน้ำระบายเขื่อนภูมิพล

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำระบายเขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนแควน้อย

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนแควน้อย

ปริมาณน้ำระบายเขื่อนแควน้อย

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนป่าสัก

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนป่าสัก

ปริมาณน้ำระบายเขื่อนป่าสัก

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนศรีนครินทร์

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนศรีนครินทร์

ปริมาณน้ำระบายเขื่อนศรีนครินทร์

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนวชิราลงกรณ

ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนวชิราลงกรณ

ปริมาณน้ำระบายเขื่อนวชิราลงกรณ

จากเหตุการณ์ฝนตกหนักช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม 2556 ในภาคเหนือและภาคกลาง ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนเกินระดับกักเก็บปกติ ประกอบด้วย เขื่อนกิ่วคอหมา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
และเขื่อนกระเสียว รายละเอียดเพิ่มเติมตามตารางด้านล่าง และที่ : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html
                                                                                                                                                                                                    


ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำสะสมรายเดือน ปี 2556 พื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง

                                                                                        หน่วย : ล้าน ลบ.ม.
เขื่อน
กรกฎาคม
สิงหาคม
กันยายน
ตุลาคม
ภาคเหนือ
ภูมิพล              136         790       1,196       1,201
สิริกิติ์              496       1,456       1,093         442
แม่งัด                15           53           87           61
กิ่วลม                36           56           82         142
แม่กวง                13           36           45           35
กิ่วคอหมา                  2           37           58           67
แควน้อย              133         288         411         277
รวมภาคเหนือ              831       2,716       2,972       2,226
ภาคกลาง
ป่าสักฯ                23         115         775       1,321
กระเสียว                31           29         100           72
ทับเสลา                  9           13           66           48
รวมภาคกลาง                62         158         941       1,442
ภาคตะวันตก
ศรีนครินทร์              591       1,374       1,640       1,042
วชิราลงกรณ            1,484       1,678       1,539         678
รวมภาคตะวันตก            2,075       3,053       3,180       1,719


จากเหตุการณ์ฝนตกหนักในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม 2556 ทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในภาคเหนือและภาคกลางค่อนข้างมาก
โดยภาคเหนือและภาคตะวันตกมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างมากที่สุดในเดือนกันยายน ปริมาณน้ำ 2,972 และ 3,180 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับ ส่วนภาคกลางมีปริมาณน้ำ
ไหลลงอ่างมากที่สุดในเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำ 1,442 ล้าน ลบ.ม. โดยเฉพาะเขื่อนป่าสักฯ ที่มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายนเกือบหนึ่งเท่าตัว
ส่วนเขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ลดลงจากเดือนกันยายนค่อนข้างมาก เขื่อนภูมิพลปริมาณน้ำไหลลงอ่างเดือนตุลาคมใกล้เคียง
กับเดือนกันยายน ส่วนเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเดือนตุลาคมลดลงจากเดือนกันยายนเกือบเท่าตัวและลดลงจากเดือนสิงหาคมถึงสองเท่าตัว


ระดับน้ำท่าในแม่น้ำเจ้าพระยา โดย กรมชลประทาน

สถานี P.17 แม่น้ำปิง ที่บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นช่วงกลางเดือนกันยายนและปลายเดือนตุลาคม โดยปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดเพียง 995 ลบ.ม./วินาที ในวันที่ 27 ต.ค. 56 ซึ่งถือว่าน้อยมากหากเทียบกับปีอื่น ๆ
สถานี N.67 แม่น้ำน่าน ที่สะพานเกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นมากช่วงกลางเดือนกันยายนจนถึงเดือนตุลาคม โดยปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดอยู่ที่ 1,226 ลบ.ม./วินาที ในวันที่ 3 ต.ค. 56 ซึ่งมากกว่าปี 2555 แต่น้อยกว่าปีอื่น ๆ
สถานี C.2 แม่น้ำเจ้าพระยา ที่ค่ายจิรประวัติ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ปริมาณน้ำเพิ่มตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายนและเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดเพียง 1,807 ลบ.ม./วินาที ในวันที่ 3 ต.ค. 56 ซึ่งถือว่าน้อยมากหากเทียบกับปีอื่น ๆ
สถานี C.13 แม่น้ำเจ้าพระยา ที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ปริมาณน้ำเริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกันยายนและเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 2,195 ลบ.ม./วิ สูงกว่าปี 2555 เล็กน้อย
แต่ยังถือว่าต่ำมากหากเทียบกับปีที่เกิดอุทกภัย 2538 และ 2554
สถานี C.29A แม่น้ำเจ้าพระยา อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำเริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกันยายนและเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 2,276 ลบ.ม./วินาที สูงกว่าปี 2555 เล็กน้อย แต่น้อยกว่าปี 2554 ค่อนข้างมาก

รายละเอียดเพิ่มเติม แสดงดังกราฟด้านล่าง














ระดับน้ำท่าในแม่น้ำป่าสัก
โดย กรมชลประทาน

แม่น้ำป่าสัก ที่เขื่อนพระรามหก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำเริ่มเพิ่มขึ้นใ่นช่วงกลางเดือนกันยายนและเริ่มลดลง
ช่วงต้นเดือนตุลาคม โดยปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดมีเพียง 841 ลบ.ม./วินาที สูงกว่าปี 2555 และน้อยกว่าปี 2554 ค่อนข้างมาก




ระดับน้ำจากระบบโทรมาตร โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

รายงานการตรวจวัดระดับน้ำจากสถานีโทรมาตร พบว่าจากเหตุการณ์ฝนตกหนักช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม 2556 ทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งในแม่น้ำปิง ยม น่าน แควน้อย สะแกกรัง เจ้าพระยา ลพบุรี ป่าสัก ท่าจีน รายละเอียดตามกราฟดังต่อไปนี้


  • สถานี PIN006-เมืองกำแพงเพชร (P.7A)
    ต. นครชุม อ. เมืองกำแพงเพชร จ. กำแพงเพชร

    น้ำเกือบล้นตลิ่งวันที่ 16 ก.ย. 56 และ 26 ต.ค. 56
    ระดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 78.68 ม.รทก.

    สถานี YOM009- โพธิ์ประทับช้าง
    ต. โพธิ์ประทับช้าง อ. โพธิ์ประทับช้าง จ. พิจิตร
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 3-15 ต.ค. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 33.18 ม.รทก. วันที่ 8 ต.ค. 56

    สถานี KWN001-นครไทย
    ต. นครไทย อ. นครไทย จ. พิษณุโลก
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 15-17 ก.ย. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 201.84 ม.รทก. วันที่ 16 ก.ย. 56

    สถานี NAN005- แม่น้ำเข็ก (ว้งทอง)
    ต. วังนกแอ่น อ. วังทอง จ. พิษณุโลก
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 13 ก.ย.- 4 ต.ค. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 137.81 ม.รทก. วันที่ 28 ก.ย. 56

    สถานี NAN008-ชุมแสง
    ต. เกยไชย อ. ชุมแสง จ. นครสวรรค์
    เกิดน้ำล้นตลิ่งธรรมชาติช่วงวันที่ 24 ก.ย.-12 ต.ค. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 26.48 ม.รทก. วันที่ 3 ต.ค. 56

    สถานี NAN009- เวียงสา
    ต. ส้าน อ. เวียงสา จ. น่าน
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 7 ก.ย. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 184.11 ม.รทก. วันที่ 7 ต.ค. 56

    สถานี SKG001-สว่างอารมณ์
    ต. สว่างอารมณ์ อ. สว่างอารมณ์ จ. อุทัยธานี
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 22-28 ก.ย.56 , 6 ต.ค. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 37.09 ม.รทก. วันที่ 24 ก.ย. 56

    สถานี LBI002-เมืองลพบุรี
    ต. โพธิ์เก้าต้น อ. เมืองลพบุรี จ. ลพบุรี
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 20-24 ต.ค. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 5.10 ม.รทก. วันที่ 22 ต.ค. 56

    สถานี CPY007-พรหมบุรี
    ต. พรหมบุรี อ. พรหมบุรี จ. สิงห์บุรี
    น้ำไม่ล้นตลิ่งแต่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 9.21 ม.รทก. วันที่ 3 ต.ค. 56

    สถานี CPY009-คลองโผงเผง
    ต. บางหลวงโดด อ. บางบาล จ. พระนครศรีอยุธยา
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 18 ก.ย.- 30 ต.ค. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 6.01 ม.รทก. วันที่ 3 ต.ค. 56

    สถานี CPY010-คลองบางบาล
    ต. ไทรน้อย อ. บางบาล จ. พระนครศรีอยุธยา
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 19 ก.ย.- 27 ต.ค. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 6.19 ม.รทก. วันที่ 3 ต.ค. 56

    สถานี CPY011-เจ้าพระยา11
    ต. ภูเขาทอง อ. พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 25 ก.ย.- 12 ต.ค. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 4.86 ม.รทก. วันที่ 7 ต.ค. 56

    สถานี PAS001-หล่มสัก
    ต. หล่มสัก อ. หล่มสัก จ. เพชรบูรณ์
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 11 ,15-17, 28-29 ก.ย. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 145.44 ม.รทก. วันที่ 16 ก.ย. 56

    สถานี PAS002-เมืองเพชรบูรณ์
    ต. สะเดียง อ. เมืองเพชรบูรณ์ จ. เพชรบูรณ์
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 16-25 ก.ย., 18 ก.ย. - 7 ต.ค. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 117.81 ม.รทก. วันที่ 4 ต.ค. 56

    สถานี PAS003-หนองไผ่
    ต. นาเฉลียง อ. หนองไผ่ จ. เพชรบูรณ์
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 9 ก.ย.- 11 ต.ค. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 94.77 ม.รทก. วันที่ 23 ก.ย. 56

    สถานี PAS004-วิเชียรบุรี
    ต. ท่าโรง อ. วิเชียรบุรี จ. เพชรบูรณ์
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 23 ก.ย.- 11 ต.ค. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 67.98 ม.รทก. วันที่ 30 ก.ย. 56

    สถานี PAS005-ชัยบาดาล
    ต. นิคมลำนารายณ์ อ. ชัยบาดาล จ. ลพบุรี
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 20 ก.ย.- 26 ต.ค. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 48.43 ม.รทก. วันที่ 5 ต.ค. 56

    สถานี PAS006-วังม่วง
    ต. แสลงพัน อ. วังม่วง จ. สระบุรี
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 3-17 ต.ค. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 24.25 ม.รทก. วันที่ 5 ต.ค. 56

    สถานี PAS007-เมืองสระบุรี
    ต. ปากเพรียว อ. เมืองสระบุรี จ. สระบุรี
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 4-17 ต.ค. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 12.81 ม.รทก. วันที่ 6 ต.ค. 56

    สถานี PAS008-ท่าเรือ
    ต. ท่าเรือ อ. ท่าเรือ จ. พระนครศรีอยุธยา
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 22 ก.ย., 4-18 ต.ค. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 8.38 ม.รทก. วันที่ 6 ต.ค. 56

    สถานี THA004-สามชุก
    ต. สามชุก อ. สามชุก จ. สุพรรณบุรี
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 21-26 ก.ย. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 7.57 ม.รทก. วันที่ 24 ก.ย. 56

    สถานี THA005-เมืองสุพรรณบุรี
    ต. ท่าพี่เลี้ยง อ. เมืองสุพรรณบุรี จ. สุพรรณบุรี
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 21-27 ก.ย. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 4.91 ม.รทก. วันที่ 24 ก.ย. 56

    สถานี THA007-บางเลน
    ต. บางเลน อ. บางเลน จ. นครปฐม
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 19-27 ต.ค. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 2.55 ม.รทก. วันที่ 24 ต.ค. 56

    สถานี THA008-สามพราน
    ต. หอมเกร็ด อ. สามพราน จ. นครปฐม
    เกิดน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 22-31 ต.ค. 56
    ระัดับน้ำสูงสุดที่วัดได้ 1.91 ม.รทก. วันที่ 24 ต.ค. 56

    รายละเอียดเพิ่มเติม
    ระดับน้ำในลำน้ำสำคัญ : http://www.thaiwater.net/wl_summary.php
    ผังน้ำเจ้าพระยา : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/chart/chaopraya/2013/chaopraya.php

    แผนที่น้ำท่วมรายเดือนบริเวณภาคเหนือและภาคกลาง โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน)

    รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 และ RADARSAT-2
    เปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมรายเดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม ปี 2554 2555 และ 2556 พบว่า

    เดือนสิงหาคม
    ภาคเหนือมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม ทั้งสิ้น 731,486 ไร่ น้อยกว่าปี 2555 และน้อยกว่าปี 2554 ค่อนข้างมาก ส่วนภาคกลางไม่มีพื้นที่น้ำท่วม

    เดือนกันยายน ภาคเหนือมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม ทั้งสิ้น 901,999 ไร่ น้อยกว่าปี 2555 และน้อยกว่าปี 2554 ค่อนข้างมาก ส่วนภาคกลางมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 2,125,571 ไร่
    ทั้ง ๆ ที่เดือนสิงหาคมไม่มีพื้นที่ใดถูกน้ำท่วมเลย โดยท่วมมากกว่าปี 2555 แต่น้อยกว่าปี 2554 ค่อนข้างมาก

    เดือนตุลาคม ภาคเหนือมีพื้นที่น้ำท่วม ทั้งสิ้น 1,078,649 ไร่ เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายนประมาณ 176,650 ไร่ โดยท่วมมากกว่าปี 2555 เกือบเท่าตัว แต่น้อยกว่าปี 2554
    ค่อนข้างมาก ส่วนภาคกลาง มีพื้นที่น้ำท่วม 2,405,120 ไร่ มากกว่าปี 2555 แต่น้อยกว่าปี 2554 ค่อนข้างมาก

    รายละเอียดเพิ่มเติมดังตารางด้านล่าง

    จังหวัด
    สิงหาคม
    กันยายน
    ตุลาคม
    ปี 2554
    ปี 2555
    ปี 2556
    ปี 2554
    ปี 2555
    ปี 2556
    ปี 2554
    ปี 2555
    ปี 2556
    ภาคเหนือ
    กำแพงเพชร
    624
    1,814
    338
    517,350
    48,031
    55,356
    736,972
    32,307
    3,052
    เชียงราย
    353,528
    0
    184,014
    73,935
    4,587
    5,170
    0
    0
    0
    เชียงใหม่
    192,579
    0
    10,425
    840
    183
    0
    0
    0
    0
    แม่ฮ่องสอน
    9,255
    0
    0
    0
    0
    0
    0
    0
    0
    แพร่
    55,495
    0
    0
    0
    0
    0
    0
    0
    0
    น่าน
    21,824
    0
    0
    0
    0
    0
    0
    0
    0
    ตาก
    31,353
    0
    1,053
    20,755
    6,636
    398
    0
    54,646
    0
    พะเยา
    147,530
    0
    9,119
    26,570
    3,345
    0
    0
    0
    0
    พิจิตร
    487,072
    14,349
    47,973
    1,224,860
    298,385
    340,636
    1,114,652
    211,131
    585,759
    พิษณุโลก
    474,114
    29,436
    69,671
    1,065,411
    281,643
    208,110
    934,519
    118,211
    322,766
    เพชรบูรณ์
    73,203
    121
    0
    361,550
    92,796
    0
    248,640
    9,909
    0
    ลำปาง
    215,373
    0
    31,491
    952
    0
    0
    20,495
    0
    0
    ลำพูน
    32,481
    0
    898
    0
    0
    0
    4,781
    0
    0
    สุโขทัย
    503,341
    40,926
    138,946
    734,144
    347,557
    261,134
    647,845
    148,983
    126,256
    อุตรดิตถ์
    246,220
    35,927
    237,557
    206,238
    92,030
    31,195
    141,023
    13,844
    40,817
    รวมพื้นที่น้ำท่วมภาคเหนือ
    2,843,992
    122,573
    731,486
    4,232,604
    1,175,193
    901,999
    3,848,927
    589,031
    1,078,649
    ภาคกลาง
    กรุงเทพมหานคร
    0
    0
    0
    73,609
    26,783
    260,813
    11,904
    72,368
    กาญจนบุรี
    0
    0
    0
    118,388
    14,806
    0
    7,054
    2,293
    7,992
    ชัยนาท
    11,727
    0
    0
    365,061
    97,569
    119,026
    616,646
    45,533
    260,136
    นครปฐม
    0
    0
    0
    218,072
    127,747
    77,797
    642,772
    162,632
    330,325
    นครสวรรค์
    297,950
    0
    0
    1,488,954
    299,878
    527,246
    1,614,469
    228,262
    206,800
    นนทบุรี
    0
    0
    0
    28,101
    13,964
    7,088
    256,296
    15,652
    357,406
    ปทุมธานี
    0
    0
    0
    179,418
    54,435
    71,055
    752,198
    38,867
    42,010
    พระนครศรีอยุธยา
    0
    0
    0
    768,056
    478,273
    391,317
    1,443,246
    384,424
    566,652
    ราชบุรี
    0
    0
    0
    75,709
    744
    0
    41,503
    12,371
    26,158
    ลพบุรี
    11,277
    0
    0
    377,881
    82,938
    194,540
    499,810
    82,635
    18,672
    สมุทรปราการ
    0
    0
    0
    52,733
    0
    1,893
    138,231
    5,594
    42,076
    สมุทรสาคร
    0
    0
    0
    268
    0
    0
    390
    0
    31,769
    สมุทรสงคราม
    0
    0
    0
    1,598
    0
    0
    0
    0
    0
    สระบุรี
    0
    0
    0
    160,532
    65,353
    102,316
    296,883
    30,968
    29,250
    สิงห์บุรี
    6,525
    0
    0
    186,710
    45,494
    45,110
    405,606
    36,132
    83,933
    สุพรรณบุรี
    19,887
    0
    0
    649,549
    375,372
    432,087
    1,381,337
    511,927
    271,949
    อ่างทอง
    0
    0
    0
    220,490
    87,089
    97,422
    477,707
    61,614
    13,097
    อุทัยธานี
    0
    0
    0
    175,677
    14,440
    31,894
    236,379
    4,559
    44,527
    รวมพื้นที่น้ำท่วมภาคกลาง 
    347,367
    0
    0
    5,140,809
    1,758,102
    2,125,571
    9,071,342
    1,635,365
    2,405,120
    รวมภาคเหนือ+ภาคกลาง
    3,191,359
    122,573
    731,486
    9,373,413
    2,933,296
    3,027,570
    12,920,268
    2,224,396
    3,483,769



    สิงหาคม 2554
    ภาคเหนือ 2,843,992 ไร่
    ภาคกลาง 347,367 ไร่

    สิงหาคม 2555
    ภาคเหนือ 122,573 ไร่
    ภาคกลาง 0 ไร่ื

    สิงหาคม 2556
    ภาคเหนือ 731,486 ไร่
    ภาคกลาง 0 ไร่ื

    กันยายน 2554
    ภาคเหนือ 4,232,604 ไร่
    ภาคกลาง 5,140,809 ไร่ื

    กันยายน 2555
    ภาคเหนือ 1,175,193 ไร่
    ภาคกลาง 1,758,102 ไร่ื

    กันยายน 2556
    ภาคเหนือ 901,999 ไร่
    ภาคกลาง 2,125,571 ไร่ื

    ตุลาคม 2554
    ภาคเหนือ 3,848,927 ไร่
    ภาคกลาง 9,071,342 ไร่ื

    ตุลาคม 2555
    ภาคเหนือ 589,031 ไร่
    ภาคกลาง 1,635,365 ไร่ื

    ตุลาคม 2556
    ภาคเหนือ 1,078,649 ไร่
    ภาคกลาง 2,405,120 ไร่ื



    ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วม
    โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)

    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 13 กันยายน 2556 เวลา 18.22 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุโขทัย พิจิตร นครนายก สุพรรณบุรี ลพบุรี พิษณุโลก สระบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา และนครสวรรค์

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4
    บันทึกภาพวันที่ 16 กันยายน 2556 เวลา 06.11 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธนา ลพบุรี สระบุรี และอ่างทอง

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 16 กันยายน 2556 เวลา 18.35 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุโขทัย สุพรรณบุรี พิษณุโลก พิจิตร พระนครศรีอยุธยา
    สระบุรี นครปฐม นครนายก ลพบุรี ปทุมธานี อ่างทอง ชัยนาท อุตรดิตถ์ สิงห์บุรี
    นครสวรรค์ และนนทบุรี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 22 กันยายน 2556 เวลา 06.15 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุพรรณบุรี นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา พิจิตร สุโขทัย ลพบุรี เพชรบูรณ์ ชัยนาท พิษณุโลก สระบุรี อ่างทอง นครนายก นครปฐม ก้าแพงเพชร ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา อุทัยธานี เชียงราย นนทบุรี อุตรดิตถ์ และตาก

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4
    บันทึกภาพวันที่ 27 กันยายน 2556 เวลา 06.21 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ ลพบุรี นครนายก พิจิตร อ่างทอง ฉะเชิงเทรา ชัยนาท สระบุรี ปราจีนบุรี สิงห์บุรี กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี อุทัยธานี ก้าแพงเพชร และนครปฐม

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-1
    บันทึกภาพวันที่ 28 กันยายน 2556 เวลา 06.15 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี อ่างทอง ลพบุรี นครปฐม
    สระบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 29 กันยายน 2556 เวลา 06.11 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร สุโขทัย พิษณุโลก ชัยนาท ลพบุรี ก้าแพงเพชร สิงห์บุรี อุทัยธานี เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ และสุพรรณบุรี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 30 กันยายน 2556 เวลา 18.26 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดสุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ชัยนาท ลพบุรี
    สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก ปทุมธานี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2
    บันทึกภาพวันที่ 2 ตุลาคม 2556 เวลา 05.51 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดก้าแพงเพชร ชัยนาท นครนายก นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร พิษณุโลก ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี อ่างทอง อุทัยธานี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 6 ตุลาคม 2556 เวลา 06.07 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี พิจิตร ฉะเชิงเทรา พิษณุโลก สุโขทัย นครนายก เพชรบูรณ์ ลพบุรี อ่างทอง นครปฐม ชัยนาท สระบุรี ชัยภูมิ สิงห์บุรี ชลบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร ราชบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี อุตรดิตถ์ นครราชสีมา กาญจนบุรี อุทัยธานี และก้าแพงเพชร

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 7 ตุลาคม 2556 เวลา 18.21 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดนครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี พิจิตร ฉะเชิงเทรา พิษณุโลก สุโขทัย นครนายก ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ ลพบุรี นครราชสีมา อ่างทอง ชัยนาท นครปฐม สระบุรี ปทุมธานี ชลบุรี สิงห์บุรี ขอนแก่น กรุงเทพมหานคร สระแก้ว นนทบุรี บุรีรัมย์ อุตรดิตถ์ ก้าแพงเพชร ระยอง อุทัยธานี และจันทบุรี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2
    บันทึกภาพวันที่ 8 ตุลาคม 2556 เวลา 18.04 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก อ่างทอง นนทบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ปทุมธานี นครปฐม สระบุรี ลพบุรี ชลบุรี และกรุงเทพมหานคร

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-2
    บันทึกภาพวันที่ 9 ตุลาคม 2556 เวลา 06.21 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย นครนายก ลพบุรี นครปฐม อ่างทอง ชัยนาท ปทุมธานี สระบุรี สิงห์บุรี นนทบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี อุทัยธานี กรุงเทพมหานคร

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 10 ตุลาคม 2556 เวลา 18.32 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี พิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก สุโขทัย นครปฐม ลพบุรี นครนายก อ่างทอง ฉะเชิงเทรา ชัยนาท สระบุรี ปทุมธานี สิงห์บุรี ชลบุรี กรุงเทพมหานคร ราชบุรี นนทบุรี สมุทรปราการ ก้าแพงเพชร อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-4
    บันทึกภาพวันที่ 12 ตุลาคม 2556 เวลา 18.04 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดกรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 16 ตุลาคม 2556 เวลา 06.15 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครสวรรค์ พิจิตร สุโขทัย พิษณุโลก
    นครปฐม อ่างทอง ชัยนาท ลพบุรี ปทุมธานี นครนายก สระบุรี สิงห์บุรี ฉะเชิงเทรา
    กรุงเทพมหานคร นนทบุรี อุทัยธานี และก้าแพงเพชร

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม COSMO-SkyMed-1
    บันทึกภาพวันที่ 22 ตุลาคม 2556 เวลา 06.15 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก สุพรรณบุรี อ่างทอง ปทุมธานี ชลบุรี สระบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี และนครปฐม

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 24 ตุลาคม 2556 เวลา 18.28 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา นครสวรรค์ ปราจีนบุรี พิจิตร นครปฐม นครนายก อ่างทอง สุโขทัย ชัยนาท ลพบุรี พิษณุโลก สิงห์บุรี สระบุรี ปทุมธานี ชลบุรี กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี และก้าแพงเพชร

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSATRADARSATRADARSATRADARSATRADARSATRADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 30 ตุลาคม 2556 เวลา 06.09 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก สุพรรณบุรี นครราชสีมา ลพบุรี อ่างทอง นครปฐม ขอนแก่น สระบุรี บุรีรัมย์ ชลบุรี ปทุมธานี ชัยภูมิ สิงห์บุรี กรุงเทพมหานคร สุรินทร์ นนทบุรี สมุทรปราการ นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]
    รายงานการติดตามพื้นที่น้้าท่วม ปี 2556 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSATRADARSATRADARSATRADARSATRADARSATRADARSAT-2
    บันทึกภาพวันที่ 31 ตุลาคม 2556 เวลา 18.21 น.
    บริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา นครสวรรค์ ปราจีนบุรี พิจิตร นครปฐม นครนายก อ่างทอง สุโขทัย ชัยนาท ลพบุรี พิษณุโลก สิงห์บุรี สระบุรี ปทุมธานี ชลบุรี กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี และก้าแพงเพชร

    [ รายละเอียดเพิ่มเติม ]



    ข้อมูลด้านความเสียหาย โดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    สรุปสถานการณ์อุทกภัย วันที่ 30 กันยายน 2556

    จากอิทธิพลพายุดีเปรสชั่น บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ  เคลื่อนตัวเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้เกิดอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขังระบายไม่ทัน และน้ำล้นตลิ่ง ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2556 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2556 มีรายละเอียดดังนี้

  • พื้นที่ประสบภัย รวมทั้งสิ้น 32 จังหวัด 233 อำเภอ 1,384 ตำบล 11,033 หมู่บ้าน 809,646 ครัวเรือน 2,789,398 คน
  • ผู้เสียชีวิต รวม 22 ราย(จ.สุรินทร์ 9 ราย/จ.ศรีสะเกษ 6 ราย/จ.นครนายก 2 ราย/จ.ยโสธร 2 ราย/จ.ปราจีนบุรี 2 ราย /จ.สระแก้ว 1 ราย)
  • ยังคงมีสถานการณ์ 25 จังหวัด 224 อำเภอ 1,321 ตำบล 10,704 หมู่บ้าน 793,208 ครัวเรือน 2,734,925 คน อพยพ 4,416 ครัวเรือน 15,254 คน (จ.อุบลฯ/จ.ศรีสะเกษ)
  • คลี่คลายแล้ว 7 จังหวัด ประกอบด้วย กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร กาฬสินธุ์ นครราชสีมา พะเยา และแม่ฮ่องสอน

  • พื้นที่ประสบภัยทั้งหมด แยกเป็นลักษณะการเกิดอุทกภัยจาก 2 กรณี ดังนี้

    อุทกภัยจากน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง น้ำระบายไม่ทัน จำนวน 28 จังหวัด 212 อำเภอ ประกอบด้วย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด ภาคเหนือ 6 จังหวัด ภาคกลาง 3 จังหวัด ภาคตะวันออก 4 จังหวัด
    คลี่คลายแล้ว 7 จังหวัด 9 อำเภอ ประกอบด้วย กาญจนบุรี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ กาฬสินธ์ นครราชสีมา พะเยา และแม่ฮ่องสอน ยังคงมีสถานการณ์ 21 จังหวัด 203 อำเภอ ดังนี้

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด
    1) จังหวัดสุรินทร์ พื้นที่ประสบภัย 17 อำเภอ (เมือง สังขะ ศรีณรงค์ จอมพระ เขวาสินรินทร์ ศีขรภูมิ  ท่าตูม รัตนบุรี สำโรงทาบ ลำดวน บัวเชด กาบเชิง สนม ปราสาท โนนนารายณ์ ชุมพลบุรี พนมดงรัก) 137 ตำบล 1,454 หมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิต 9 ราย (อ.ปราสาท 3 ราย/อ.สังขะ 3 ราย/อ.ศรีณรงค์ 1 ราย/อ.ห้วยทับทัน 1 ราย/อ.กาบเชิง 1 ราย) ประชาชนได้รับผลกระทบ 250,989 ครัวเรือน 771,729 คน บ้านเรือนถูกน้ำท่วม 3,137 หลังคาเรือน ถนน 448 สาย สะพาน 55 แห่ง วัด 11 แห่ง โรงเรียน 83 แห่ง สถานที่ราชการ 25 แห่ง คันดิน 74 แห่ง ท่อระบายน้ำ 97 แห่ง และพื้นที่การเกษตร 493,443 ไร่ บ่อปลา-กุ้ง 200 แห่ง ปศุสัตว์ (เป็ด/ไก่/หมู/วัว/) 856,964 ตัว บ่อน้ำ 604 บ่อ ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วม 4 อำเภอ (ชุมพลบุรี ท่าตูม รัตนบุรี โนนนารายณ์) ปัจจุบันระดับเพิ่มสูงขึ้น
    2) จังหวัดศรีสะเกษ พื้นที่ประสบภัย 22 อำเภอ (ขุนหาญ ภูสิงห์ ปรางค์กู่ อุทุมพรพิสัย วังหิน ไพรบึง ห้วยทับทัน โนนคูณ ขุขันธ์ เบญจลักษ์ ศรีรัตนะ พยุห์ เมือง น้ำเกลี้ยง ราษีไศล โพธิ์ศรีสุวรรณ เมืองจันทร์ กันทรลักษ์ ศิลาลาด ยางชุมน้อย กันทรารมย์ บึงบูรพ์) 162 ตำบล 1,584 หมู่บ้าน 15 ชุมชน มีผู้เสียชีวิต 6 ราย (อ.ไพรบึง 2 ราย/อ.ขุขันธ์ 1 ราย/อ.พยุห์ 1 ราย/อ.อุทุมพรพิสัย 1 ราย/อ.ห้วยทับทัน 1 ราย) ประชาชนได้รับผลกระทบ 107,589 ครัวเรือน 515,346 คน  อพยพ 1,784 ครัวเรือน 5,634 คน บ้านพักอาศัย 196 หลัง ถนน 510 สาย สะพาน 15 แห่ง ทำนบ 23 แห่ง  ท่อระบายน้ำ 210 แห่ง วัด 16 แห่ง โรงเรียน 7 แห่ง สถานที่ราชการ 12 แห่ง โรงพยาบาล 1 แห่ง และพื้นที่การเกษตร 572,696 ไร่ บ่อปลา 510 บ่อ คอกสัตว์ 4 แห่ง  ปัจจุบันระดับน้ำลดลงได้ช้า เนืองจากระดับน้ำในแม่น้ำมูลสูง
    3) จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ประสบภัย 23 อำเภอ (เมือง ดอนมดแดง ตระการพืชผล สำโรง น้ำยืน ตาลสุม บุณฑริก สิรินธร พิบูลมังสาหาร เดชอุดม ศรีเมืองใหม่ นาเยีย วารินชำราบ นาจะหลวย เหล่าเสือโก้ก โขงเจียม สว่างวีระวงศ์ ม่วงสามสิบ เขื่องใน โพธิ์ไทร นาตาล ทุ่งศรีอุดม น้ำขุ่น) 114 ตำบล 3 เทศบาล 1,131 หมู่บ้าน/ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 92,243 ครัวเรือน 402,810 คน ประชาชนอพยพ 2,632 ครัวเรือน 9,820 คน ถนน 109 สาย สะพาน 17 แห่ง  ท่อระบายน้ำ 12 แห่ง วัด 6 แห่ง โรงเรียน 3 แห่ง พื้นที่การเกษตร 281,390 ไร่ บ่อปลา 2,049 บ่อ มวลน้ำจาก จ.ศรีสะเกษ ไหลลงสู่แม่น้ำมูล ส่งผลให้ระดับน้ำที่ อ.วารินชำราบ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
    4) จังหวัดอำนาจเจริญ พื้นที่ประสบภัย 6 อำเภอ (เมือง ชานุมาน พนา เสนางคนิคม ลืออำนาจ หัวตะพาน) 1 เทศบาล 28 ตำบล 213 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,269 ครัวเรือน ถนน 65 สาย สะพาน 5 แห่ง พนังกั้นน้ำ 1 แห่ง พื้นที่การเกษตร ประมาณ 37,947 ไร่ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขัง 3 อำเภอ (พนา ลืออำนาจ หัวตะพาน) ระดับน้ำทรงตัว
    จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่ประสบภัย 12 อำเภอ (เฉลิมพระเกียรติ ปะคำ บ้านกรวด ละหานทราย โนนดินแดง ประโคนชัย พลับพลาชัย กระสัง นางรอง หนองกี่ ชำนิ สตึก) 65 ตำบล 618 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 37,454 ครัวเรือน 188,600 คน พื้นที่การเกษตร 61,305 ไร่ ถนน 77 สาย ฝาย 5 แห่ง มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ มอบสิ่งของ พระราชทาน จำนวน 1,250 ชุด ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขัง 3 อำเภอ (กระสัง พลับพลาชัย นางรอง) ระดับน้ำลดลง
    จังหวัดยโสธร พื้นที่ประสบภัย 9 อำเภอ (เมือง ป่าติ้ว ไทยเจริญ คำเขื่อนแก้ว ทรายมูล เลิงนกทา มหาชนะชัย กุดชุม ค้อวัง) 66 ตำบล 468 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 40,314 ครัวเรือน 175,626 คน มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (อ.กุดชุม 2 ราย) ซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตรริมแม่น้ำชี ลำเซบาย และลำน้ำยัง ยังคงมีน้ำท่วมขัง อำเภอป่าติ้ว ปัจจุบันระดับทรงตัว
    จังหวัดชัยภูมิ น้ำจากแม่น้ำชีเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ 13 อำเภอ (เกษตรสมบูรณ์ บำเหน็จณรงค์ เทพสถิต หนองบัวระเหว คอนสาร ภักดีชุมพล บ้านเขว้า ภูเขียว บ้านแท่น จัตตุรัส ซับใหญ่ เมือง เนินสง่า) 75 ตำบล 730 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 61,249 ครัวเรือน 174,230 คน วัด/โรงเรียน 4 แห่ง ถนน 815 สาย ฝ่าย 48 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 15 แห่ง ท่อระบายน้ำ 8 แห่ง บ่อปลา 1,766 บ่อ พื้นที่การเกษตร 231,314 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น (รับน้ำจากที่อื่น)
    จังหวัดมุกดาหาร พื้นที่ประสบภัย 7 อำเภอ (ดงหลวง คำชะอี หนองสูง นิคมคำสร้อย หว้านใหญ่ เมือง ดอนตาล) 42 ตำบล 281 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 35,626 ครัวเรือน 106,678 คน ถนน 248 สาย สะพาน 5 แห่ง ท่อระบายน้ำ 8 แห่ง ฝาย 7 แห่ง ทำนบดิน 5 แห่ง พื้นที่การเกษตร 6,950 ไร่ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขัง 2 อำเภอ (เมือง นิคมคำสร้อย) ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง

    ภาคเหนือ 6 จังหวัด

    1) จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่ประสบภัย 8 อำเภอ (นครไทย วังทอง ชาติตระการ บางกระทุ่ม เมือง บางระกำ  เนินมะปราง วัดโบสถ์)  35 ตำบล 121 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,814 ครัวเรือน 6,272 คน ถนน 7 สาย สะพาน 2 แห่ง ฝาย 2 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง บ่อปลา 10 บ่อ พื้นที่การเกษตร 12,383 ไร่ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร
    2) จังหวัดพิจิตร พื้นที่ประสบภัย 11 อำเภอ (ทับคล้อ ดงเจริญ เมือง สากเหล็ก บึงนาราง วังทรายพูน สามง่าม ตะพานหิน วชิรบารมี โพธิ์ประทับช้าง บางมูลนาก) 39 ตำบล 290 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,111 ครัวเรือน 23,826 คน โรงเรียน 12 แห่ง วัด 2 แห่ง พื้นที่การเกษตร 19,166 ไร่ ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง
    3) จังหวัดกำแพงเพชร พื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอ (เมือง ไทรงาม ทรายทองวัฒนา) 17 ตำบล 89 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,060 ครัวเรือน 24,973 คน พื้นที่เกษตร 4,045 ไร่ บ่อปลา 65 บ่อ ถนน 32 สาย ปัจจุบันสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำบางพื้นที่
    4) จังหวัดเพชรบูรณ์ พื้นที่ประสบภัย 6 อำเภอ (วังโป่ง ชนแดน หนองไผ่ วิเชียรบุรี ศรีเทพ เมือง) 32 ตำบล 186 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,347 ครัวเรือน 3,810 คน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมและเพิ่มสูงขึ้น
    5) จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ประสบภัย 12 อำเภอ (ลาดยาว แม่เปิน แม่วงก์ หนองบัว โกรกพระ พยุหคีรี ไพศาลี ท่าตะโก ชุมตาบง เมือง ตาคลี บรรพตพิสัย) 43 ตำบล 303 หมู่บ้าน 2 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 17,665 ครัวเรือน 58,269 คน พื้นที่ทางการเกษตร 74,758 ไร่ บ่อปลา/กบ17 บ่อ ท่อระบายน้ำ 31 แห่ง คอสะพาน 5 แห่ง ฝาย 3 แห่ง คันคลอง /คันเหมือง 27 จุด ยังคงมีสถานการณ์อยู่ 5 อำเภอ (บรรพตพิสัย เมือง พยุหคีรี โกรกพระลาดยาว) ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
    6) จังหวัดอุทัยธานี พื้นที่ประสบภัย 8 อำเภอ (เมือง สว่างอารมณ์ หนองขาหย่าง ทัพทัน หนองฉาง ลานสัก ห้วยคต บ้านไร่) 64 ตำบล 435 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 13,514 ครัวเรือน 32,372 คน บ้านพักอาศัย 1,607 หลัง พื้นที่ทางการเกษตร 11,793 ไร่ ถนน 205 สาย โรงเรียน 1 แห่ง ยุ้งข้าว 10 หลัง วัด 2 แห่ง ยังคงมีสถานการณ์อยู่ 1 อำเภอ (ทัพทัน) ระดับน้ำลดลง

    ภาคกลาง 3 จังหวัด
    1) จังหวัดสระบุรี พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 9 อำเภอ (เมือง แก่งคอย มวกเหล็ก เฉลิมพระเกียรติ วิหารแดง บ้านหมอ เสาไห้ หนองแซง หนองแค) 53 ตำบล 1 เขตเทศบาล 285 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 7,069 ครัวเรือน 20,963 คน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
    2) จังหวัดลพบุรี พื้นที่ประสบภัย 9 อำเภอ (เมือง ชัยบาดาล โคกสำโรง สระโบสถ์ ท่าหลวง หนองม่วง โคกเจริญ ลำสนธิ บ้านหมี่) 56 ตำบล 439 หมู่บ้าน 19 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 27,976 ครัวเรือน 78,151 คน      ยานพาหนะ 12 คัน ปศุสัตว์ 935 ตัว พื้นที่การเกษตร 76,596 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 568 บ่อ ถนน 306 สาย สะพาน 21 แห่ง      วัด 18 แห่ง โรงเรียน 16 แห่ง สถานที่ราชการ 4 แห่ง ทำนบ 13 แห่ง ยังคงมีน้ำท่วมขัง 2 อำเภอ (บ้านหมี่ และโคกสำโรง) ระดับน้ำทรงตัว
                       *** เมื่อวันที่ 29 ก.ย.56 ปริมาณน้ำอ่างป่าสักชลสิทธิ์ 801 ล้าน ลบ.ม. (102%)  เกินความจุของอ่างฯ
    3) จังหวัดชัยนาท พื้นที่ประสบภัย 4 อำเภอ (วัดสิงห์ หันคา หนองมะโมง เนินขาม) 19 ตำบล 192 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 14,620 ครัวเรือน 37,812 คน บ้านเรือนเสียหาย 399 หลัง พื้นที่ทางการเกษตร 24,742 ไร่ ถนน 231 สาย บ่อปลา 20 บ่อ ปศุสัตว์ 120 ตัว ฝาย/คลองระบายน้ำ 4 แห่ง ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

    ภาคตะวันออก 4 จังหวัด
    1) จังหวัดนครนายก พื้นที่ประสบภัย 4 อำเภอ (บ้านนา เมือง ปากพลี องครักษ์) 34 ตำบล 3 เทศบาลตำบล 267 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 15,295 ครัวเรือน 41,907 คน พื้นที่การเกษตร 58,237 ไร่ มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (อ.องค์รักษ์ 2 ราย) วัด 5 แห่ง โรงเรียน 8 แห่ง ถนน 376 สาย สะพาน 7 แห่ง วัด 2 แห่ง สถานีอนามัย 1 แห่ง ท่อระบายน้ำ 6 ท่อ บ่อปลา 170 บ่อ พื้นที่การเกษตร 20,696 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
                       ***เมื่อวันที่ 29 ก.ย.56 ปริมาณน้ำในอ่างขุนด่านปราการชล 210 ล้าน ลบ.ม. (94%) รับได้อีก 14 ล้าน ลบ.ม.
    2) จังหวัดฉะเชิงเทรา พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 2 อำเภอ (พนมสารคาม บ้านโพธิ์) 7 ตำบล 43 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,545 ครัวเรือน 4,635 คน พื้นที่การเกษตร 1,560 ไร่ บ่อปลา 3 ไร่ ถนน 2 สาย สถานการณ์ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
    3) จังหวัดปราจีนบุรี พื้นที่ประสบภัย 7 อำเภอ (กบินทร์บุรี ศรีมหาโพธิ์ เมือง นาดี ประจันตคาม บ้านสร้าง ศรีมโหสถ) 58 ตำบล 503 หมู่บ้าน 3 เทศบาลตำบล 37 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,775 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 102,786 ไร่ บ่อปลา 784 ไร่ สัตว์เลี้ยง 77,979 ตัว  ถนน 445 สาย สะพาน 6 แห่ง วัด 51 แห่ง โรงเรียน 57 แห่ง มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (อ.บ้านสร้าง 1 ราย /อ.ศรีมหาโพธิ 1 ราย) ยังคงมีน้ำท่วม 2 อำเภอ (น้ำจาก อ.กบินทร์บุรี และ อ.ศรีมหาโพธิ) ปัจจุบันระดับน้ำอ.กบินทร์บุรี และอ.ศรีมหาโพธิ มีแนวโน้มลดลง มวลน้ำไหลเข้าสู่ อ.ประจันตคาม
    4) จังหวัดสระแก้ว พื้นที่ประสบภัย 9 อำเภอ (วัฒนานคร โคกสูง ตาพระยา วังน้ำเย็น เมือง  เขาฉกรรจ์ อรัญประเทศ คลองหาด วังสมบูรณ์) 56 ตำบล 478 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,934 ครัวเรือน โรงเรียน 8 แห่ง โรงพยาบาล 1 แห่ง ถนน 417 สาย สะพาน 7 แห่ง ฝาย 10 แห่ง วัด 3 แห่ง ท่อระบายน้ำ 10 แห่ง บ่อปลา 206 บ่อ พื้นที่การเกษตร 34,666 ไร่ มีผู้เสียชีวิต 1 ราย (อ.ตาพระยา) น้ำไหลไปอำเภอกบินทร์บุรี ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
          
    อุทกภัยจากน้ำล้นตลิ่ง
    จำนวน 4 จังหวัด 21 อำเภอ
    1) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นที่ประสบภัย 8 อำเภอ (เสนา บางบาล ผักไห่ พระนครศรีอยุธยา บางไทร บางปะอิน ท่าเรือ นครหลวง) 96 ตำบล 2 เทศบาลเมือง 550 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 25,923 ครัวเรือน 83,410 คน พื้นที่การเกษตร 3,955 ไร่ สัตว์ปีก 400 ตัว ถนน 3 สาย สะพาน 7 แห่ง วัด 34 แห่ง โรงเรียน 27 แห่ง สถานที่ราชการ 4 แห่ง จังหวัดยังไม่ได้ประกาศเขตพื้นที่ภัยพิบัติแต่อย่างใด ยังคงมีสถานการณ์อยู่ 6 อำเภอ (เสนา บางบาล ผักไห่ พระนครศรีอยุธยา บางไทร บางปะอิน) ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
    2) จังหวัดอ่างทอง พื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอ (เมือง ป่าโมก โพธิ์ทอง) 27 ตำบล 128 หมู่บ้าน 1 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,204 ครัวเรือน 4,061 คน เกษตรกร 344 คน พื้นที่การเกษตร 2,835 ไร่ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น       
    3) จังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่ประสบภัย 4 อำเภอ (เมือง อู่ทอง บางปลาม้า สองพี่น้อง) 26 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,283 ครัวเรือน 29,776 คน จังหวัดแจ้งเตือนให้ประชาชนริมแม่น้ำท่าจีนให้ขนของขึ้นที่สูง ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
    4) จังหวัดสิงห์บุรี พื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอ (อินทร์บุรี เมือง พรหมบุรี) 19 ตำบล 97 หมู่บ้าน 6 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 805 ครัวเรือน 2,761 คน ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น

    สรุปสถานการณ์อุทกภัย ข้อมูล ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2556

    จากรายงานการเกิดอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขังระบายไม่ทัน และน้ำล้นตลิ่ง ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2556 จนถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2556 รายละเอียดดังนี้

  • พื้นที่ประสบภัย รวมทั้งสิ้น 47 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ ยโสธร ชัยภูมิ ขอนแก่น มุกดาหาร กาฬสินธุ์ นครราชสีมา พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แม่ฮ่องสอน พะเยา นครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ชลบุรี ระยอง ชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ราชบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นนทบุรี และจังหวัดนครปฐม รวม 360 อำเภอ 2,350 ตำบล 19,941 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,212,643 ครัวเรือน 4,088,516 คน
  • ผู้เสียชีวิต รวม 80 ราย ประกอบด้วย จังหวัดปราจีนบุรี 16 ราย สุรินทร์ 16 ราย ศรีสะเกษ 11 ราย ฉะเชิงเทรา 7 ราย ขอนแก่น 5 ราย นครราชสีมา 4 ราย ชัยภูมิ 4 ราย ยโสธร 4 ราย สระบุรี 3 ราย นครนายก 2 ราย สระแก้ว 2 ราย จันทบุรี 1 ราย นครสวรรค์ 1 ราย ลพบุรี 1 ราย อุบลราชธานี 1 ราย สมุทรปราการ 1 ราย และจังหวัดระยอง 1 ราย
  • ความเสียหาย พื้นที่การเกษตร 3,644,986 ไร่ ถนน 6,086 สาย สะพาน 299 แห่ง ท่อระบายน้ำ 521 แห่ง ฝาย/ทำนบ 565 แห่ง บ้านเรือนถูกน้ำท่วม 47,811 หลัง โรงเรียน 342 แห่ง วัด 528 แห่ง สถานที่ราชการ 81 แห่ง บ่อปลา/กุ้ง 51,002 บ่อ ปศุสัตว์ 4,234,387 ตัว ฯลฯ
  • ยังคงมีสถานการณ์ ทั้งสิ้น 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา นครราชสีมา บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี อุบลราชธานี พระนครศรีอยุธยา ศรีสะเกษ นครนายก สมุทรปราการ สุพรรณบุรี นครปฐม และจังหวัดลพบุรี รวม 48 อำเภอ 346 ตำบล 2,747 หมู่บ้าน 140,287 ครัวเรือน 438,165 คน โดยแยกเป็นจังหวัดที่มีสถานการณ์รุนแรง 1 จังหวัด ปานกลาง 3 จังหวัด และเล็กน้อย 8 จังหวัด ดังนี้



    ที่

    จังหวัด

    จำนวนพื้นที่ประสบภัย

    จำนวนผู้ประสบภัย

    พื้นที่การเกษตร

    แนวโน้มสถานการณ์

    อำเภอ

    ตำบล

    หมู่บ้าน

    ครัวเรือน

    คน

    อพยพ(คน)

    รุนแรง

    1

    ฉะเชิงเทรา

    5

    13

    105

    5,197

    15,591

    -

    12,870

    ระดับน้ำลดลง

    ปานกลาง

    2

    นครราชสีมา

    7

    37

    387

    4,314

    14,413

    -

    29,327

    ระดับน้ำลดลง

    3

    บุรีรัมย์

    7

    43

    361

    20,955

    80,316

    -

    129,599

    ระดับน้ำลดลง

    4

    ปราจีนบุรี

    6

    58

    543

    40,869

    102,119

    -

    218,649

    ระดับน้ำลดลง

    เล็กน้อย

    5

    อุบลราชธานี

    2

    24

    245

    1,379

    5,168

    4,336

    445,831

    ระดับน้ำลดลง

    6

    พระนครศรีอยุธยา

    6

    84

    535

    28,872

    96,344

    -

    3,955

    ระดับน้ำลดลง

    7

    ศรีสะเกษ

    5

    26

    187

    6,067

    20,277

    325

    572,695

    ระดับน้ำลดลง

    8

    นครนายก

    2

    10

    112

    5,132

    13,864

    -

    58,237

    ระดับน้ำลดลง

    9

    สมุทรปราการ

    1

    3

    25

    265

    1,070

    -

    788

    ระดับน้ำลดลง

    10

    สุพรรณบุรี

    4

    38

    206

    21,845

    75,640

    -

    570

    ระดับน้ำลดลง

    11

    นครปฐม

    2

    4

    4

    2,285

    4,760

    -

    75

    ระดับน้ำลดลง

    12

    ลพบุรี

    1

    6

    37

    3,107

    8,603

    -

    76,596

    ท่วม พท.การเกษตร

    รวม 12 จังหวัด

    48

    346

    2,747

    140,287

    438,165

    4,661

    1,603,345

     



    ข่าวจากหนังสือพิมพ์

    ------------------------------------------------------------------------------------

    น้ำท่วมอ่างทองขยายวงกว้าง “โผงเผง” เริ่มอ่วม [ ผู้จัดการออนไลน์ : 20 ก.ย. 56 ]


    อ่างทอง - น้ำท่วมอ่างทองเริ่มใขยายวงกว้างหลังฝนตกหนัก นายก อบต.โผงเผง ประกาศแจ้งชาวบ้านให้รีบเก็บสิ่งของขึ้นที่สูง และระวังตลิ่งริมแม่น้ำพังเพิ่ม ขณะที่ระดับน้ำสูงขึ้นต่อนื่อง ขณะที่ปลากระชังเกิดการน็อกน้ำตายจำนวนมาก ชาวบ้านผู้เลี้ยงปลาต้องรีบจับขายหวั่นขาดทุน

     วันนี้ (20 ก.ย.) นางกุลฟารีย์ เทพารักษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เปิดเผยว่า หลังจากที่ฝนได้ตกลงมาอย่างหนักตลอดคืนที่ผ่านมา (19 ก.ย.) ทำให้น้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทาง อบต.โผงเผง จึงได้ประกาศเตือนให้ประชาชนเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งเพิ่ม และเร่งย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง โดยขณะนี้ ชาวบ้านต้องใช้เรือพายในการเข้าออกจากบ้านแล้ว และมีบ้านบางหลังต้องใช้สะพานทอดผ่านบ้านในการเดินทางเข้าออกจากบ้านสู่ถนน
           
           “ขณะนี้ชาวบ้านในโผงเผงกำลังได้รับความเดือดร้อนเป็นวงกว้าง และวันนี้ทางกองพันทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์ จังหวัดลพบุรี ได้นำกำลังทหารมาช่วยชาวบ้านกรอกทรายป้องกันน้ำล้นตลิ่ง ส่วนฝนตอนนี้ก็ยังคงตกลงมาอย่างต่อเนื่อง” นางกุลฟารีย์ กล่าว
           
           ขณะที่ชาวบ้านหมู่ที่ 5 ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ต้องเร่งเก็บปลาทับทิมที่ตายในกระชังเลี้ยงที่อยู่ในคลองโผงเผง คลองสาขาแม่น้ำเจ้าพระยา หลังระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ปลาในกระชังเกิดน็อกน้ำที่ไหลแรงตายลงเป็นจำนวนมาก ทำให้ชาวบ้านหลายคนต้องเร่งเรียกพ่อค้ามาจับปลาเพื่อนำไปขาย เพราะหากปล่อยปลาจะน็อกน้ำตาย ทำให้ขาดทุน และกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวรุนแรงอาจจะกระทบแพปลากระชังทำให้เสียหาย จึงต้องเร่งจับปลาก่อนเสียหายเพิ่มขึ้น
           
           นายปราโมทย์ ไพโรจน์ อายุ 46 ปี คนเลี้ยงปลากระชังหมู่ 5 ต.โผงเผง อ.ป่าโมก เปิดเผยว่า หลังจากน้ำได้เพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็วเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา ทำให้ปลาตายเป็นจำนวนมาก ทำให้ชาวบ้านต้องเร่งจับปลาขาย แม้บางตัวยังไม่ได้ขนาดตามที่ต้องการก็ตาม และต้องคอยดูแลกระชังปลาหลังกระแสน้ำที่ขึ้นอย่างรวดเร็ว และไหลแรงอาจทำให้กระชังปลาขาดเสียหายได้
           
           วันเดียวกัน นายชัย สุวพันธุ์ นายกเทศมนตรีเมืองอ่างทอง ได้เรียกประชุมคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล ประธานชุมชนทั้ง 22 ชุมชน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนการงาน เพื่อหารือวางแผนรับมือมือสถานการณ์น้ำท่วมหลังฝนตกหนักติดต่อกันมาหลายวัน ทำให้น้ำท่วมขังตามแหล่งชุมชนต่างๆ และการระบายได้อย่างล่าช้า เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น พร้อมส่งเจ้าหน้าที่งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลเมืองอ่างทองออกสูบ น้ำช่วยเหลือประชาชนในบริเวณที่น้ำฝนท่วมขังเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน
           
           พร้อมนำเจ้าหน้าที่ พนักงาน ลูกจ้างออกกรอกกระสอบทรายเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์หลังน้ำเพิ่มสูงขึ้น ตลอดเวลา และออกประกาศเตือนภัย หลังจากกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศเตือนพายุดีเปรสชั่นและร่องมรสุมตะวันตกเตรียมถล่มไทยหลายจังหวัด ตลอดจนนำรถประชาสัมพันธ์ออกกระจายเสียงไปตามชุมชนต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมตัวป้องกันและรับสถานการณ์ด้วย
           
           สำหรับสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง ล่าสุด เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังคงเพิ่มสูงต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำที่สถานีชลมาตร C7A หน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทองอยู่ที่ 7.03 เมตร/รทก. จากระดับตลิ่ง 9.32 เมตร น้ำไหลผ่าน 1,740 ลบ.เมตร/วินาที และมีทีท่าจะเพิ่มสูงต่อเนื่อง โดยมีพื้นที่ใน ต.โผงเผง อ.ป่าโมกและ ต.จำปาหล่อ อ.เมือง จ.อ่างทอง ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างแล้ว



    ------------------------------------------------------------------------------------

    น้ำท่วมหนองบัว จ.นครสวรรค์ ทั้งบ้านเรือน-ทุ่งนา [ ผู้จัดการออนไลน์ : 22 ก.ย. 56 ]

    นครสวรรค์ - น้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ และเขาพระที่หลากท่วมเขตเศรษฐกิจ อ.หนองบัว เริ่มลดลง หลังเทศบาล และชลประทานจังหวัดติดตั้งเครื่องสูบน้ำรอบย่านเศรษฐกิจ พร้อมขุดลอกเปิดทางน้ำ ส่งผลน้ำหลากลงคลองสาขา เอ่อล้นเข้าท่วมทุ่งนา และบ้านเรือนนอกเขตเทศบาล

           
           วันนี้ (22 ก.ย.) รายงานข่าวจาก จ.นครสวรรค์ แจ้งว่า จากเหตุน้ำป่าไหลหลากท่วมย่านเศรษฐกิจ เขตเทศบาลตำบลหนองบัว อ.หนองบัว กลางดึกวันที่ 20 กันยาย ล่าสุด เทศบาลตำบลหนองบัว และชลประทานจังหวัด ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่รอบพื้นที่เศรษฐกิจ และเร่งสูบน้ำออกจากท่อระบายน้ำตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมนำรถแบ็กโฮขุดเปิดเส้นทางน้ำจนระดับน้ำในตลาดสดลดลง
           
           แต่น้ำที่สูบออกมาไหลไปลงคลองสาขา จนเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือน และนาข้าวกว่า 1,000 ไร่ที่อยู่นอกเขตเทศบาล และกำลังไหลหลากต่อไปยัง อ.ท่าตะโก และ อ.ชุมแสง ก่อนจะลงสู่งบึงบอระเพ็ด
           
           นายเกลี้ยง อินทรชิด อยู่บ้านเลขที่ 8/3 หมู่ 7 ต.หนองบัว อ.หนองบัว กล่าวว่า ตนเก็บข้าวของเครื่องใช้ไม่ทันเนื่องจากน้ำเข้าท่วมบ้านช่วงกลางดึก และสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้าวของเครื่องใช้บางส่วนต้องปล่อยให้จมน้ำ โดยเฉพาะรถอีแต๊กต้องจอดไว้ใต้ถุนบ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่สูงกว่าบริเวณรอบบ้านที่ต่ำกว่ามาก และมีบ้านท่วมสูง 50-80 เซนติเมตร
           
           สำหรับเ้หตุการณ์น้ำท่วมพื้นที่ อ.หนองบัว ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก เนื่องจากเป็นที่สูง ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะประสบกับปัญหาภัยแล้ง โดยก่อนน้ำท่วมเพียง 1 เดือน ชาวบ้านต้องหาน้ำมาใส่นาข้าวเพื่อไม่ให้ข้าวตายแล้ง แต่หลังฝนตกติดต่อกัน ประกอบกับน้ำที่ไหลมาจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ เขต อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ และน้ำจากเขาพระ อ.หนองบัว จึงหลากท่วมย่านเศรษฐกิจซึ่งต่ำกว่าถนน แต่เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของ อ.หนองบัว เป็นที่สูง น้ำจึงไหลบ่าลงสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็ว ซึ่งเพียง 2-3 วัน เขตเทศบาลก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติหากไม่มีฝนตกลงมาอีก



    ------------------------------------------------------------------------------------

    อยุธยาน้ำท่วมแล้ว 8 อำเภอ [ โพสต์ทูเดย์ : 22 ก.ย. 56 ]

    ปภ.อยุธยาเผยมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมแล้ว 8 อำเภอ ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 12,000 หลังคาเรือน ระดับน้ำในแม่น้ำยังเพิ่มต่อเนื่อง

    เมื่อวันที่ 22 ก.ย. นายอุดมศักดิ์ ขาวหนูนา หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า  ล่าสุดระดับน้ำได้ล้นตลิ่ง   ท่วมชุมชนใน 4 ลุ่มแม่น้ำ  ที่ไหลผ่านพื้นแล้ว ได้แก่แม่น้ำเจ้าพระยา ท่วมสูงสุด 150 เซนติเมตร เพิ่มขึ้นวันละ 30 เซนติเมตร  ,  แม่น้ำน้อย  ท่วมสูงสุด 170 เซนติเมตร เพิ่มขึ้นวันละ 20 เซนติเมตร  , แม่น้ำป่าสัก ท่วมสูงสุด 50 เซนติเมตร เพิ่มขึ้นวันละ 20 เซนติเมตร  และแม่น้ำลพบุรี ท่วมสูงสุด 50 เซนติเมตร เพิ่มขึ้นวันละ 20 เซนติเมตร

    ทั้งนี้พบว่า มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมแล้ว 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางบาล อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอบางไทร อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะอิน อำเภอท่าเรือ และอำเภอนครหลวง รวมพื้นที่ 80 ตำบล 405 หมู่บ้าน บ้านเรือนริมน้ำถูกน้ำท่วม 12,000 หลังคาเรือน วัด 7 แห่ง และยังมีอีก 2 อำเภอ ที่เริ่มได้รับผลกระทบ จากภาวะน้ำล้นตลิ่งแล้ว  คือ อำเภอบางปะหันและอำเภอมหาราช ซึ่งอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย

    ------------------------------------------------------------------------------------

    อยุธยาน้ำล้นตลิ่ง อีสานอ่วม-จระเข้หลุด! [ ผู้จัดการออนไลน์ : 22 ก.ย. 56 ]


    น้ำท่วมยังน่าห่วง จ.ศรีสะเกษ ถนนถูกตัดขาดหลายสาย รถไฟหยุดวิ่ง เหตุน้ำท่วมราง อ.อุทุมพรพิสัย-อ.ห้วยทับทัน ชาวบ้านผวาจระเข้หลุดจากฟาร์ม 30 ตัว จับได้แค่ 4 บุรีรัมย์ระทึก! น้ำท่วมล้อมฟาร์มจระเข้กว่า 500 ตัวสูงเกือบ 1 เมตร หวั่นต้านไม่อยู่ เล็งย้ายไปที่ปลอดภัย ด้านชาวโผงเผง จ.อ่างทอง ทุกข์หนักกบหายตามน้ำนับหมื่นตัว สธ.สั่งสถานพยาบาลลพบุรี-อยุธยา ย้ายเครื่องมือแพทย์-เวชภัณฑ์ไว้ที่ปลอดภัย
           
           วานนี้ (22 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในอ.วังหิน จ.ศรีสะเกษ ว่ากำลังทวีความรุนแรง เนื่องจากน้ำที่ล้นจากอ่างเก็บน้ำห้วยติ๊กชู และอ่างเก็บน้ำห้วยศาลา ทะลักลงท่วมบ้านเรือนประมาณ 300 หลัง ถนนถูกน้ำท่วมตัดขาดจากโลกภายนอก เช่น ถนนบ้านหนองทุ่ม บ้านป่าชาด บ้านตีกา บ้านโนนดู่ และบ้านหนองตาเชียง ต.โพนยาง ขณะเดียวกันที่บ้านหนองตาเชียง ต.โพนยาง น้ำได้ท่วมเข้าไปในบ้านเรือน ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย มีปลาเข้าไปแหวกว่ายอยู่ในห้องนอน ชาวบ้านบางส่วนพากันหาปลาไว้เป็นอาหารประทังชีวิต ซึ่งสามารถจับปลาได้จำนวนมาก ส่วนที่โรงเรียนประถมศึกษาในเขตต.โพนยาง และต.ศรีสำราญ อ.วังหิน ต้องปิดเรียนไม่มีกำหนด ขณะเดียวกันสถานีรถไฟอ.อุทุมพรพิสัย ประกาศหยุดเดินรถไฟ เนื่องจากน้ำได้ท่วมรางรระหว่างอ.อุทุมพรพิสัย ไปอ.ห้วยทับทัน และอ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์
           
           ส่วนจระเข้ที่หลุดออกจากฟาร์ม ต.ตูม อ.ปรางค์กู่ 30 ตัว ตามจับคืนได้แค่ 4 ตัว อีก 26 ตัวยังจับไม่ได้ ซึ่งผู้นำหมู่บ้านได้เตือนประชาชนให้ระมัดระวังอันตรายแล้ว
           
           นายประทีป กีรติเรขา ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า ขณะนี้เหลือเพียงอ.ขุขันธ์ อ.ไพรบึง อ.ปรางค์กู่ อ.วังหิน อ.พยุห์ และอ.อุทุมพรพิสัย ที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 916 หมู่บ้าน ส่วนอ.เมือง คาดว่าน้ำจะท่วมช่วงเย็นวันที่ 23 กันยายน ซึ่งได้ร่วมกับประชาชนเตรียมการป้องกันไว้แล้ว คาดว่าจะสามารถรับมือได้
           
           จ.บุรีรัมย์ น้ำป่าจากเทือกเขาพนมดงรัก ทะลักเข้าท่วมวัด บ้านเรือน และพื้นที่การเกษตร 6 หมู่บ้านต.หินลาด อ.บ้านกรวด ล่าสุดยังท่วมพื้นที่โดยรอบฟาร์มจระเข้ "เกสรฟาร์ม" ของนางคำนาง ศรีจำปา เลขที่ 24 หมู่ 7 บ้านหนองม่วง เนื่องจากเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ
           นางคำนาง กล่าวว่า เลี้ยงจระเข้เพื่อส่งขายโรงฟอกหนังที่จ.ชลบุรี ทั้งหมดอายุ 2 ปีครึ่ง รวม 500 ตัว ที่ผ่านมาน้ำท่วมเพียงเล็กน้อย แต่ในปีนี้น้ำหลากแรงมาก ท่วมพื้นที่นาล้อมรอบฟาร์มสูงกว่า 1 เมตร ขณะที่กำแพงปูนบ่อเลี้ยงสูงประมาณ 2 เมตรครึ่ง เกรงว่าหากน้ำท่วมสูงขึ้นเรื่อยๆ จะขนย้ายไม่ทัน
           
           ขณะที่เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หินลาด พร้อมด้วยทหาร และเจ้าของฟาร์ม เข้าตรวจสอบความแข็งแรงของบ่อเลี้ยง และจำนวนว่าอยู่ครบหรือไม่ ทั้งกำชับให้เจ้าของฟาร์มเฝ้าระวังระดับน้ำ หากไม่น่าไว้วางใจ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบเพื่อขนย้ายไปยังจุดที่น้ำท่วมไม่ถึง
           
           เวลา 11.00 น. นายพร อุดมพงษ์ รองประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ และคณะนำถุงยังชีพพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบให้แก่ราษฎรที่หอประชุมอำเภอบ้านกรวด อ.ละหานทราย และอ.ปะคำ รวม 1,250 ครัวเรือน เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจ และบรรเทาความเดือดร้อน
           ทั้งนี้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) บุรีรัมย์ รายงานพื้นที่ถูกน้ำท่วม 6 อำเภอ 9 ตำบล 155 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อนกว่า 8,000 ครัวเรือน นาข้าวเสียหายกว่า 3,700 ไร่ บ่อปลา 10 ไร่ ถนนเสียหาย 62 สาย ฝายชำรุด 5 แห่ง
           นายคำรบ เครือณรงค์ นายอำเภอนาเยีย จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 3 ตำบล 35 หมู่บ้าน ประชาชนกว่า 1,800 ครอบครัว สวนยางพาราและนาข้าวถูกน้ำท่วมกว่า 5,000 ไร่ โดยพื้นที่ประสบภัยหนักที่สุด คือ ต.นาเรือง เพราะตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มของลำโดมใหญ่ ที่น้ำล้นตลิ่ง
           
           ที่ จ.นครสวรรค์ น้ำป่าจากผืนป่าตะวันตก เขตอ.แม่วงก์ และอ.แม่เปิ่น ไหลหลากมาตามคลองขุนราษฎร์ บริบาล เข้าท่วมเขตเทศบาลตำบลลาดยาว อ.ลาดยาว เป็นระลอกที่ 2 เนื่องจากคลองไหลผ่านกลางย่านเศรษฐกิจ โดยชาวบ้านเล่าว่า น้ำล้นคลองเข้าท่วมตั้งแต่ช่วงเช้ามืด โดยเทศบาลได้นำกระสอบทรายมาบล็อกบริเวณสะพานข้ามคลองขุนราษฎร์ บริบาล พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำออก แต่ระดับน้ำในคลองที่สูงกว่าพื้นถนน 10-15 เซนติเมตร ยังทะลักคันกั้นน้ำเข้าท่วมถนนสูง 15-20 เซนติเมตร ต้องเร่งเก็บของหนีน้ำ เพราะหวั่นว่าน้ำจะมามากกว่าครั้งก่อน
           
           จ.อุทัยธานี น้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ไหลลงสู่แม่น้ำตากแดด เหนือเขื่อนวังร่มเกล้า จนต้องเร่งระบายน้ำ เพื่อไม่ให้พื้นที่เหนือเขื่อนในต.หนองยายดา และต.โคกหม้อ อ.ทัพทัน ถูกน้ำท่วมหนัก แต่น้ำป่าได้ทะลักเข้าท่วมนาข้าวต.หนองยายดา และต.โคกหม้อ เสียหายเป็นบริเวณกว้างแล้ว นอกจากนี้ยังท่วมบ้านเรือนหมู่ 1-3 ต.โคกหม้อ กว่า 150 หลัง นาข้าวที่อยู่ในช่วงตั้งท้องถูกน้ำท่วมจนต้องเร่งเกี่ยวหนีน้ำ ขายได้เพียงเกวียนละ 5,000-7,000 บาทเท่านั้น
           
           ขณะที่ ต.หนองไผ่แบน ต.เนินแจง อ.เมือง คันดินริมแม่น้ำตากแดดพังลง ส่งผลให้น้ำท่วมนาข้าวเสียหายสิ้นเชิงนับหมื่นไร่ และระดับน้ำยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังระบายน้ำออกจากจากเขื่อนวังร่มเกล้า
           
           จ.อ่างทอง ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาล้นตลิ่งหมู่ 5 ต.โผงเผง อ.ป่าโมก ชาวบ้านที่มีอาชีพเลี้ยงกบ ต้องเร่งจับกบออกขาย หลังกบจำนวนมากหนีออกจากบ่อเลี้ยง หายไปกับน้ำนับหมื่นตัว โดยนายจำเริญ พลอยเปล่ง อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 10/4 หมู่ 5 ต.โผงเผง กล่าวว่า เลี้ยงกบไว้ 3 บ่อ บ่อละ 3,000 ตัว จับขายไม่ทัน ขาดทุนไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท
           
           ด้านนายสมศักดิ์ ผ่องเสนา อายุ 53 ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ต.โผงเผง กล่าวว่า ชาวบ้านหมู่ 5 ที่ขนย้ายทรัพย์สินขนาดใหญ่ขึ้นเก็บบนบ้านไม่ได้ ต้องนำมาไว้ที่ริมถนน ได้ประสานอบต.โผงเผง ขอเต๊นท์มาติดตั้งเพื่อเฝ้าระวังทรัพย์สินจากมิจฉาชีพ ส่วนรายที่ได้รับผลกระทบเรื่องที่อยู่อาศัยก็ต้องอพยพมาอาศัยอยู่ริมถนนเช่น กัน ซึ่งขณะนี้ชาวบ้านได้ตั้งเต๊น์อยู่ริมถนนป่าโมก-บางบาล ล่าสุดได้รับความเดือดร้อน 323 ครัวเรือน 967 คน
           
           จ.พระนครศรีอยุธยา เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ระบายน้ำ 1,912 ลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)ต่อวินาที เพิ่มขึ้น 56 ลบ.ม. ส่งผลให้น้ำท้ายเขื่อนสูงขึ้น 10-20 เซนติเมตร(ซม.) จนอ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางบาล อ.บางปะอิน อ.บางไทร คลองบางหลวง คลองโผงเผง และคลองบางบาล ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 20-30 ซม. พื้นที่ซึ่งได้รับความเสียหาย 8 อำเภอ ได้แก่ อ.เสนาอ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางไทร อ.บางประอิน อ.ท่าเรือ และอ.นครหลวง รวม80 ตำบล 405 หมู่บ้าน 11,908 ครัวเรือน
           
           ส่วนที่เขื่อนพระราม 6 ระบายน้ำ 550.60 ลบ.ม.ต่อวินาที เพิ่มขึ้น 19.15 ลบ.ม. อาจส่งผลให้แม่น้ำป่าสัก ตั้งแต่อ.ท่าเรือ อ.นครหลวง อ.พระนครศรีอยุธยา ทรงตัวหรือขึ้นบ้างเล็กน้อย โดยที่เหนือเขื่อนพระราม 6 มีผักตบชวาและเศษวัชพืชสะสมจนสามารถลงไปเดินได้
           
           ที่หน้าวัดไชยวัฒนาราม ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรเร่งทำแนวคันดินสูงกว่า 3 เมตรล้อมรอบ ป้องกันน้ำทะลักเข้าท่วมซ้ำรอยปี 2554 ขณะที่ อ.เสนา ระดับน้ำในแม่น้ำน้อยล้นตลิ่งเข้าท่วมตลาดบ้านแพน ตั้งแต่เวลา 04.00 น. พ่อค้าแม่ค้าต้องเร่งเก็บข้าวของหนีน้ำ ช่วยกันทำสะพานไม้เป็นทางเดินเข้าตลาด บางส่วนสร้างกำแพงปูนปิดหน้าร้านกันอย่างวุ่นวาย ขณะที่แม่ค้าตลาดสดต้องเก็บของกลับบ้าน เพราะไม่มีประชาชนมาจับจ่ายสินค้า
           
           นายชูชาติ ศุภวรรธนางกูร ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ระดับน้ำอยู่ที่ 2.25 เมตร ต่ำกว่าแนวเขื่อนที่สูง 3.35 เมตร ถือว่าไม่น่าเป็นห่วง แต่เพื่อป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจ จะเร่งระบายน้ำให้อยู่ที่ 1.60 เมตร เพื่อเตรียมรับน้ำจากอ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
           
           นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัด พระนครศรีอยุธยา รายงานว่าแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางบาล อ.บางปะอิน อ.บางไทร คลองบางหลวง คลองโผงเผง และคลองบางบาล ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 20-30 ซม. แม่น้ำน้อย อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.บางบาล อ.บางไทร เพิ่มขึ้น 10-20 ซม. แม่น้ำลพบุรี อ.บ้านแพรก อ.มหาราช อ.บางปะหัน อ.พระนครศรีอยุธยา เพิ่มขึ้น 10-20 ซม. เฉลี่ยแล้วมีน้ำล้นตลิ่ง 20-150 ซม. โดยเฉพาะที่อ.บางบาล เนื่องจากเป็นที่ลุ่มรับน้ำอยู่แล้ว ส่วนตัวเมืองโดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจหรือชุมชน ได้ทำผนังกันน้ำไว้สูง 2.30 เมตร สรุปแล้วมีพื้นที่น้ำล้นตลิ่ง 8 อำเภอ 80 ตำบล 1 เทศบาลเมือง รวม 405 หมู่บ้าน 11,908 ครัวเรือน วัด 7 แห่ง ซึ่งทางจังหวัดได้ดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบแล้ว
           นายวิศวะ ศะศิสมิต ผู้ว่าราชการจังหวัด รายงานว่า ต.โผงเผง อ.ป่าโมก น้ำท่วม 8 หมู่บ้านจาก 10 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 350 ครัวเรือน ทั้งนี้คลองโผงเผง ตลิ่งจะสูง 4 เมตร แต่ขณะนี้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงถึง 6 เมตร ส่งผลกระทบกับประชาชนที่อยู่ริมน้ำ เพราะยังมีคันกั้นน้ำที่เป็นแนวถนน ระดับน้ำก็ห่างจากแนวถนน 2-3 เมตร ปริมาณน้ำเป็นเพียง 1 ใน 10 ของปี 2554 นอกจากนี้อ.เมือง มีความสุ่มเสี่ยงจากคันดินที่ทรุดตัว ทำให้ระดับน้ำปริ่มตลิ่ง
           
           ที่กระทรวงกลาโหม พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงว่า อิทธิพลของพายุดีเปรสชัน ที่ขึ้นฝั่งประเทศเวียดนาม ส่งผลให้มีฝนตกต่อเนื่อง หลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ได้รับผลกระทบตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน รวม 15 จังหวัด คือ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี กาญจนบุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร และปราจีนบุรี
           
           พ.อ.ธนาธิป กล่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม มีความห่วงใยประชาชนเป็นอย่างยิ่ง จึงสั่งการให้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบัญชาการกองทัพไทย โดยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และศูนย์บรรเทาสาธารณภัยเหล่าทัพ ร่วมกับสำนักงานปภ.จังหวัดทั้ง 15 จังหวัด ช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มขีดความสามารถ ลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินให้ได้มากที่สุด และให้รายงานตามสายบังคับบัญชาอย่างต่อเนื่อง
           ทั้งนี้ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม และศูนย์บรรเทาสาธารณภัย หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม จัดกำลังพล 1,500 นาย รถบรรทุก 35 คัน รถโกยตัก 5 คัน รถลากจูง 3 คัน เรือท้องแบน 29 ลำ เข้าช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ขนย้ายสิ่งของ สนับสนุนการสัญจร ซ่อมแซมคอสะพาน เปิดเส้นทางสัญจรที่ถูกดินโคลนถล่ม สนับสนุนจังหวัดจัดตั้งศูนย์พักพิง รวมทั้งติดตั้งพนังกั้นน้ำ
           
           พ.อ.ธนาธิป กล่าวว่า ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพเรือ ได้เตรียมพร้อมเรือหลวงตาปี และเรือหลวงสีชัง เฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ หมู่เรือเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางทะเล และส่งเรือผลักดันน้ำ 16 ลำ เข้าประจำพื้นที่เสี่ยงในคลองบางเขน คลองทวีวัฒนา และคลองพระยาราชมนตรี เพื่อสนับสนุนการระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างความมั่นใจแก่คนกรุงเทพฯว่า น้ำจะไม่ท่วมเหมือนปี 2554 แน่นอน
           
           ***สธ.สั่งสถานพยาบาลย้ายเครื่องมือ
           
           นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานบริการในสังกัดได้รับผลกระทบ 5 แห่งใน 2 จังหวัด ได้แก่ จ.สุรินทร์ 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลสุรินทร์ น้ำท่วมห้องฉุกเฉิน และรอบโรงพยาบาล ขณะนี้น้ำลดแล้ว สามารถให้บริการได้ตามปกติ ส่วนรพ.ศรีขรภูมิ และรพ.สำโรงทาบ น้ำท่วมทางเข้า แต่ยังเปิดให้บริการได้ คาดว่าภายใน 2-3 วันจะกลับสู่ภาวะปกติ
           นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า อีกแห่ง คือ จ.สระแก้ว เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ถูกน้ำท่วม 2 แห่ง คือ รพ.สต.โนนหมากมุ่น อ.โคกสูง และรพ.สต.คลองตะเคียน อ.วัฒนานคร รสูง 50-70 ซม. ปิดให้บริการชั่วคราว ย้ายไปให้บริการที่รพ.สต.ใกล้เคียงแทน
           
           "ผมได้ให้สถานพยาบาลที่อยู่ในจ.ลพบุรี และจ.พระนครศรีอยุธยา ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยได้ขนย้ายเวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ไว้ในที่ปลอดภัย เตรียมระบบสำรองไฟฟ้า นอกจากนี้ให้สำรวจกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่นอนพักที่บ้าน ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้พิการ โดยวางแผนให้การช่วยเหลือร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉิน แจ้งขอความช่วยเหลือได้ที่ 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง.

    ------------------------------------------------------------------------------------
    น้ำเหนือถล่ม อยุธยา-ลพบุรี-สระบุรี ท่วมหนัก [ ไทยรัฐ : 23 ก.ย. 56 ]

    จ.พระนครศรีอยุธยา ยังหนักน้ำเหนือไหลท่วมหลายจุด ส่วนที่ จ.ลพบุรี 9 อำเภอ จมน้ำ เตรียมประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ ขณะที่ จ.สระบุรี มีรายงาน 400 หลังคาเรือน จมบาดาลแล้ว

    กรมศิลปากร เร่งป้องกัน โบราณสถานอยุธยา

    วัน ที่ 23 ก.ย.56 สถานการณ์น้ำท่วม ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำจากทางเหนือหลายจังหวัดและเขื่อนต่างๆ เร่งระบายทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก ลพบุรี และแม่น้ำน้อยที่ไหลผ่านอยุธยา มีระดับน้ำเพิ่มขึ้น 20-30 ซม. ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน วัด และโบราณสถาน ที่หนักสุดอำเภอบางบาล แม่น้ำน้อยเป็นคลองสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้าท่วมบ้าน วัดและโรงเรียน ที่วัดอัมพวา หมู่ 1 ต.บางหัก อ.บางบาล น้ำท่วมบริเวณวัดและพระอุโบสถสูงกว่า 1 เมตร ต้องขนของหนีน้ำ และที่วัดกอไผ่ หมู่ 3 ต.บางหลวงโดด อ.บางบาล พระและเณรเดือดร้อนต้องเดินลุยน้ำออกบิณฑบาต

    นาย สหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ ผอ.สำนักกรมศิลปากร ที่ 3 พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่าโบราณสถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ วัดไชยวัฒนาราม โบราณสถานป้อมเพชร หมู่บ้านโปรตุเกส และวัดธรรมาราม สถานการณ์น้ำขณะนี้ ยังไม่น่าเป็นห่วงและทางกรมศิลปากรได้ทำบังเกอร์ป้องกันน้ำท่วมไว้รับมือ แล้วส่วนเมื่อคืนที่ผ่านมา น้ำได้ทะลักเข้าวัดธรรมาราม ต.บ้านป้อม คาดว่าเจ้าหน้าที่เร่งนำกระสอบทราย มาเรียงกันไม่แน่น น้ำจึงลอดเข้าข้างในเจ้าหน้าที่ได้ซ่อมและสูบน้ำออกจนหมดแล้ว ส่วนโบราณสถานที่สำคัญรอบในเกาะเมืองมีปริมาณน้ำฝนตกมามากและขัง ได้เตรียมเครื่องสูบน้ำไว้แล้วทุกแห่งนักท่องเที่ยวมาชมโบราณสถานได้ตามปกติ

    9 อำเภอ จ.ลพบุรี จมบาดาล เตรียมประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ


    นาย พิเชฐษ์ ไพบูลย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เปิดเผยว่า เนื่องจากได้มีฝนตกมาตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2556 จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังลง จากพายุดีเปรสชันปกคลุมอยู่ บริเวณตอนกลางของประเทศไทยลักษณะเช่นนี้ ยังคงทำให้บริเวณจังหวัดลพบุรีมีฝน ตกหนัก ซึ่งในขณะนี้ มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 9 อำเภอ 49 ตำบล 297 หมู่บ้าน 34 ชุมชน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 18,766 ครัวเรือน 58,864 คนประชาชนได้รับความเดือดร้อน 22,068 ครัวเรือน 60, 221 คน อพยพ 221 คน เสียชีวิต 1 คน

    ทางด้านทรัพย์สิน ที่ได้รับความเสียหายบ้านจำนวน 643 หลัง พื้นที่การเกษตรจำนวน 76,596 ไร่ ถนน สาธารณประโยชน์ จำนวน 306 สาย สะพาน/(คอ) 18 แห่ง วัด 18 แห่งโรงเรียน 16 แห่ง สถานที่ราชการ 4 แห่ง ทั้งนี้ ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตรับผิดชอบ ได้ออกให้การช่วยเหลือ เป็นการเบื้องต้น ร่วมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทางจังหวัดลพบุรี ได้เตรียมประกาศเป็นเขตภัยพิบัติต่อไป

    สระบุรี หนัก 400 หลังคาเรือนจมน้ำ


    ส่วน ที่ จ.สระบุรี ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักติดต่อกันหลายวัน ส่งผลให้ น้ำได้ล้นทะลักจากอ่างเก็บน้ำเขาแก้ว และอ่างเก็บน้ำซับปากั้ง หมู่ที่ 1 ต.เจริญธรรม อ.วิหารแดง จ.สระบุรี ส่งผลน้ำไหลเข้าท่ามบ้านเรือนประชาชนชาว อ.วิหารแดง พร้อมวัดและโรงเรียน ได้รับความเสียหาย กระทั่งทางโรงเรียนวัดหนองโพธิ ได้ปิดการเรียน 3 วัน หลังน้ำท่วม

    สถานการณ์ ล่าสุด กระแสน้ำดังกล่าวได้ไหลลงมาท่วมบ้านเรือนประชาชน ในเขตเทศบาลหนองหมู ร่วมทั้ง ในเขต อบต.หนองหมู ทำให้ชาวบ้าน หมู่ที่ 1 3 6 7และ 8 ต.หนองหมู อ.วิหารแดง สระบุรี รวมทั้ง เขตชุมชนในเทศบาล ทั้งสิ้น ร่วม 400 หลังคาเรือน ผลกระทบน้ำท่วมขัง บางพื้นที่น้ำสูง เกือบ 2 เมตร ส่วนที่นาข้าวเสียหาย 3,000 ไร่และสวนกล้วย เสียหาย 1000 ไร่ การช่วยเหลือ ด้าน นายอนันต์ชัย เกียรติสมาน นายก อบต.หนองหมู ได้นำเจ้าหน้าที่ อปพร. เข้าทำการช่วยเหลือเพื่อขนของขึ้นที่สูงแล้ว


    ------------------------------------------------------------------------------------
    น้ำท่วมกรุงเก่าขยายวงกว้าง [ ผู้จัดการออนไลน์ : 23 ก.ย. 56 ]

    พระนครศรีอยุธยา - น้ำท่วมขยายวงกว้าง พระเณรต้องลุยน้ำบิณฑบาต กรมศิลปากรบอกโบราณสถานยังเอาอยู่

    วันนี้ (23 ก.ย.) สถานการณ์น้ำที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำจากทางเหนือหลายจังหวัด และเขื่อนต่างๆ เร่งระบายทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก ลพบุรี และแม่น้ำน้อย ที่ไหลผ่านอยุธยามีระดับน้ำเพิ่มขึ้น 20-30 ซม. ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน วัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 23 วัด และโบราณสถาน ที่หนักสุด อำเภอบางบาล แม่น้ำน้อย เป็นคลองสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้าท่วมบ้าน วัด และโรงเรียน ที่วัดอัมพวา หมู่ 1 ต.บางหัก อ.บางบาล น้ำท่วมบริเวณวัด และพระอุโบสถสูงกว่า 1 เมตร ต้องขนของหนีน้ำ และที่วัดกอไผ่ หมู่ 3 ต.บางหลวงโดด อ.บางบาล พระและเณรเดือดร้อนต้องเดินลุยน้ำออกบิณฑบาต

    นางสำราญ ด้วงวิเศษ อายุ 61 ปีอยู่บ้านเลขที่ 41 ม.1 ต.บางหลวงโดด อ.บางบาล กล่าวว่า ตนมีอาชีพขายก๋วยเตี๋ยวพอน้ำท่วมใต้ถุนบ้านไม้ 2 ชั้นยกพื้นสูงต้องพายเรือออกมาจากบ้านเพื่อมาขายของริมถนนแทน ตอนนี้ชาวบ้านต้องยกของมาไว้ริมถนน และขึ้นไว้ชั้นบนกันแล้ว

    นายสหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ ผอ.สำนักงานกรมศิลปากร ที่ 3 พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า โบราณสถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น วัดไชยวัฒนาราม โบราณสถานป้อมเพชร หมู่บ้านโปรตุเกส และวัดธรรมาราม สถานการณ์น้ำขณะนี้ยังไม่น่าเป็นห่วง และทางกรมศิลปากรได้ทำบังเกอร์ป้องกันน้ำท่วมไว้รับมือแล้ว ส่วนเมื่อคืนที่ผ่านมาน้ำได้ทะลักเข้าวัดธรรมาราม ต.บ้านป้อม คาดว่าเจ้าหน้าที่เร่งนำกระสอบทรายมาเรียงกันไม่แน่นน้ำจึงลอดเข้าข้างใน เจ้าหน้าที่ได้ซ่อม และสูบน้ำออกจนหมดแล้ว ส่วนโบราณสถานที่สำคัญรอบในเกาะเมืองมีปริมาณน้ำฝนตกมามาก และขังได้เตรียมเครื่องสูบน้ำไว้แล้วทุกแห่งนักท่องเที่ยวมาชมโบราณสถานได้ ตามปกติ

    นายอุดมศักดิ์ ขาวหนูนา หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานสถานการณ์น้ำวันนี้ (23 ก.ย.) ว่า ในพื้นที่อำเภอบางบาล  ผักไห่ เสนา พระนครศรีอยุธยา บางปะอิน และบางไทร ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น 10-15 เซนติเมตร  สาเหตุเนื่องจากน้ำผ่านเขื่อนนครสวรรค์ 1,564 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้น 108 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ผ่านสิงห์บุรี 2,044 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้น 84 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  ผ่านอ่างทอง 2,028 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  คลองบางบาล 183  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้น 13 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  จึงมีผลทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีกจากเมื่อวานนี้

    “เที่ยงนี้ริมคลองบางหลวง บางบาล แม่น้ำน้อย และแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตบางบาล พระนครศรีอยุธยา เสนา ผักไห่  บางไทร บางปะอิน  จะเพิ่มต่อเนื่องเกือบทุกวัน เพราะน้ำจากนครสวรรค์ค่อนข้างเยอะพอสมควร แต่หากชลประทานควบคุมการระบายน้ำให้อยู่ไม่เกิน 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ก็จะทำให้ระดับน้ำในจังหวัดฯ เพิ่มขึ้นไม่มากคือ ประมาณวันละ 15-20 เซนติเมตร อย่างไรก็ตาม คาดว่าจากนี้ไปอีก 4-5 วันน้ำจะเพิ่มขึ้นอีก 50 เซนติเมตร”



    ------------------------------------------------------------------------------------

    น้ำป่าจากเพชรบูรณ์ทะลักท่วมทับคล้อ-ตลาด นาข้าว บ้านเรือนจม [ ผู้จัดการออนไลน์ : 23 ก.ย. 56 ]
    พิจิตร - ฝนตกต่อเนื่อง น้ำป่าเพชรบูรณ์ไหลทะลักท่วมตลาดทับคล้อ รวมถึงบ้านเรือนชาวบ้าน 4,350 หลังคาเรือน นาข้าวอีกกว่า 2 หมื่นไร่
           
           วันนี้ (23 ก.ย.) นายอำนวย พานทอง นายอำเภอทับคล้อ จ.พิจิตร เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมของอำเภอทับคล้อว่า ตลอด 2 วัน 2 คืนที่ผ่านมาได้เกิดฝนตกหนักในเขตพิจิตร-เพชรบูรณ์ ส่งผลให้น้ำจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ไหลเข้าท่วมในเขตอำเภอทับคล้อเข้ามาทางคลอง บ้านวังแดง ไหลข้ามถนน และท้องนาเข้าท่วมพื้นที่ 4 ตำบล คือ ตำบลเขาเจ็ดลูก ตำบลเขาทราย ตำบลทับคล้อ ตำบลท้ายทุ่ง รวม 46 หมู่บ้าน 4,350 หลังคาเรือน บางจุดถูกน้ำท่วมสูงร่วม 1 เมตร
           
           โดยเฉพาะในเขตตลาดทับคล้อ ซึ่งเป็นย่านชุมชน ร้านค้า และเขตเศรษฐกิจต่างก็ถูกน้ำท่วมเข้าไปในอาคารร้านค้าแบบตั้งตัวไม่ทัน ชาวบ้านต้องเร่งอพยพขนย้ายสิ่งของและสัตว์เลี้ยงกันจ้าละหวั่นตลอดทั้งคืน ขณะที่นาข้าวที่อายุใกล้ถึงวันเก็บเกี่ยวจำนวน 21,950 ไร่ต้องถูกน้ำท่วม
           
           นอกจากนี้ นายพงษ์ชัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 2 ก็แจ้งว่า ขณะนี้มีน้ำเข้าท่วมโรงเรียนหลายแห่ง แต่ที่หนักที่สุดคือ โรงเรียนบ้านวังแดง ต.เขาทราย อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ตั้งอยู่ติดกับลำคลองที่รับน้ำจาก อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ จึงทำให้น้ำเอ่อล้นลำคลองท่วมโรงเรียน และบ้านเรือนของเด็กนักเรียน จึงได้สั่งปิดโรงเรียนในวันนี้ 1 วันก่อนเพื่อดูสถานการณ์ ถ้าน้ำยังไม่ลดก็ให้ ผอ.โรงเรียนตัดสินใจสั่งหยุดเรียนได้เลย
           
           นอกจากนี้ยังให้ครูกำชับเด็ดขาดว่า ห้ามเด็กๆ ลงเล่นน้ำเนื่องจากเกรงจะตกน้ำตายและอาจได้รับเชื้อโรคที่ไหลปะปนมากับน้ำ โดยเฉพาะสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นนาข้าว
           
           ล่าสุดหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้พยายามเร่งระบายน้ำลงสู่คูคลอง เพื่อจะระบายน้ำลงสู่แม่น้ำน่านให้เร็วที่สุด แม้ว่าระดับน้ำในแม่น้ำน่านจะสูงขึ้น แต่ก็ยังต่ำกว่าตลิ่งกว่า 3 เมตร



    ------------------------------------------------------------------------------------

    น้ำท่วมอยุธยา ทะลักเข้าโบสถ์วัดอัมพวา อ.บางบาล ระดับน้ำสูง 1.50 ม. [ ครอบครัวข่าว 3 : 23 ก.ย. 56 ]

    น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมโบสถ์วัดอัมพวา ต.บางหัก อ.บางบาล จ.อุยธยา ระดับน้ำสูงกว่า 1.50 เมตร ขณะที่วัดธรรมาราม โบราณสถาน ใน ต.บ้านป้อม ติดตั้งแนวกระสอบทรายสำเร็จ จนสามารถป้องกันน้ำท่วมไว้ได้

              วันนี้ (23 กันยายน 2556) มีรายงานข่าวว่า แม่น้ำเจ้าพระยาได้ล้นเข้าคลองบางหลวงทะลักเข้าท่วมวัดโบสถ์ ทำให้พระสงฆ์เดือดร้อน เพราะไม่สามารถออกบิณฑบาตได้ ขณะที่พระพุทธรูปจมน้ำลึกกว่า 1.50 เมตร ส่วนโบราณสถานวัดธรรมาราม ริมเจ้าพระยาสามารถกู้พนังกั้นน้ำได้สำเร็จ

              ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวสืบเนื่องมาจาก เจ้าหน้าที่ได้เร่งระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยามายังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1,990 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะเดียวกันเขื่อนพระราม 6 ได้ระบายลงมาสมทบอีก 459 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้มีปริมาณน้ำเหนือไหลผ่าน จ.พระนครศรีอยุธยา มากถึง 2,449 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ยังไม่รวมฝนที่ตกลงมา ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลเข้าคลองบาง หลวง เอ่อทะลักคันดินแนวป้องกันน้ำของวัดอัมพวา ต.บางหัก อ.บางบาล เข้าท่วมบริเวณวัดจนเต็มพื้นที่

              นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า ในเวลาเพียงคืนเดียว โบสถ์เก่าแก่ที่อยู่ระดับต่ำก็ถูกน้ำท่วมสูงถึง 1.50 เมตร ซ้ำระดับน้ำยังไหลทะลักเข้าท่วมภายในโบสถ์สูงกว่า 80 เซนติเมตร ดังนั้น พระสงฆ์และพระลูกวัดจึงต้องช่วยกันเคลื่อนย้ายโต๊ะหมู่บูชา รวมถึงเครื่องใช้ในกิจกรรมของสงฆ์ ไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัยก่อนได้รับความเสียหาย โดยใช้เรือเครื่องหรือเรือพายเป็นพาหนะ ซึ่งภายในวัดดังกล่าว มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่เพียง 7 รูป ส่วนใหญ่เป็นพระชรา จึงไม่สามารถช่วยเหลือดูแลวัดได้มากนัก

              อย่างไรก็ตาม สำหรับวัดธรรมาราม ซึ่งเป็นโบราณสถานริมแม่น้ำเจ้าพระยาใน ต.บ้านป้อม ที่พนังกั้นน้ำยังติดตั้งไม่เสร็จนั้น พบว่า ในช่วงแรกได้มีน้ำไหลทะลักเข้าสู่ชั้นในแล้ว แต่นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าฯ อยุธยา เข้าสั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งกู้สถานการณ์ จนขณะนี้สามารถติดตั้งวางแนวกระสอบทรายได้สำเร็จ และสามารถป้องกันน้ำไว้ได้





    --------------------------------------------------------------------------------------

    สุพรรณบุรีอ่วม! น้ำไหลท่วม อ.หนองหญ้าไซ ถนนขาด [ ครอบครัวข่าว 3 : 29 ก.ย. 56 ]
    น้ำป่าจากกาญจนบุรี ไหลเข้าท่วมบ้านหนองขาม จ.สุพรรณบุรี จนน้ำท่วมท้องนา ทั้ง ๆ ที่ใกล้ถึงฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว ด้าน นายกฯ อบต. หนองขาม เผย ยังไม่มีบ้านเรือนได้รับความเสียหาย
     
              วันนี้ (30 กันยายน) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ฝนตกอย่างหนักในค่ำคืนวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา ทำ ให้เกิดเหตุน้ำท่วมขังที่บ้านหนองขาม อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี นอกจากนี้ บ้านหนองขาม ยังถูกน้ำป่าที่ไหลมาจาก อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี และ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ไหลเข้าท่วมซ้ำ เนื่องจากเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ส่งผลให้คอสะพานในหมู่บ้านชำรุด ถนนหลายสายไม่สามารถสัญจรได้ และพื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหายไปด้วย

              ด้านนายบุญยัง วังเปรม นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หนองขาม เปิดเผยว่า หมู่บ้านทั้ง 11 หมู่บ้านใน ต.หนองขาม ได้รับความเสียหายทั้งหมดต่างรูปแบบกันไป โดย ในหมู่ที่ 9 คอสะพานชำรุดด้วยกัน 2 จุด รถเล็กก็ยังสามารถเดินทางข้ามสะพาน ขณะที่หมู่ที่ 6 น้ำไหลเข้าท่วมจนทำให้ถนนขาด ส่วนพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด คือ หมู่ที่ 8 กับ หมู่ที่ 10 ซึ่งเป็นพื้นที่ทางการเกษตรซึ่งขณะนี้ข้าวกำลังตั้งท้อง และใกล้ถึงเวลาเก็บเกี่ยวแล้ว คาดว่าหากฝนไม่ตกลงมาเพิ่ม สถานการณ์ก็จะเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว


    --------------------------------------------------------------------------------------

    น้ำท่วมชัยนาท น้ำป่าหลากจม 100 หลังคา หลังฝนถล่ม [ ไอเอ็นเอ็นนิวส์ : 30 ก.ย. 56 ]

    ฝนกระหน่ำชัยนาท น้ำป่าจากยอดเขาพลอง หลากท่วมบ้านเรือนประชาชนกว่า 100 หลัง


                 วันที่ 30 กันยายน 2556 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากมีฝนตกกระหน่ำอย่างหนักในพื้นที่ จ.ชัยนาททำให้น้ำป่าจากยอดเขาพลอง ไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ม.4 และ ม.5 ต.เขาท่าพระ อ.เมืองชัยนาท มีบ้านเรือนประชาชนถูกน้ำท่วมขังกว่า 100 หลังคาเรือน โดยเฉพาะบ้านที่ปลูกแบบชั้นเดียว ติดกับพื้น ต้องขอแรงเพื่อนบ้านช่วยยกของ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องนอน ขึ้นวางบนที่สูง ตั้งแต่กลางดึกที่ผ่านมา เนื่องจากน้ำขึ้นสูง 40 ซม. ในบางจุดสูงถึง 80-100 ซม. ด้าน อบต.เขาท่าพระ กำลังส่งเจ้าหน้าที่ลงสำรวจความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนต่อไป



    --------------------------------------------------------------------------------------
    “โบราณสถานป้อมเพชร” กรุงเก่าโดนน้ำท่วมแล้ว [ ผู้จัดการออนไลน์ : 3 ต.ค. 56 ]
    พระนครศรีอยุธยา - น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก สูงขึ้นไหลทะลักเข้าท่วมโบราณสถานป้อมเพชร เมืองกรุงเก่าแล้ว
           
           วันนี้ (3 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณโบราณสถานป้อมเพชร ตำบลหอรัตนไชย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โบราณสถานเก่าแก่ ป้อมปราการป้อมเดียวที่ยังเหลืออยู่จากเดิมที่มีอยู่ 29 ป้อม รูปทรงป้อมแบบหกเหลี่ยม ผนังก่อด้วยอิฐสลับด้วยศิลาแลง สร้างเพื่อป้องกันข้าศึกที่จะมาทางน้ำ เป็นที่บรรจบระหว่างแม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นท่าเรือสินค้าที่สำคัญในอดีต รวมทั้งเป็นย่านที่พักอาศัยของพ่อค้าชาวจีน ฮอลันดา และฝรั่งเศส ตั้งอยู่ตำบลหอรัตนไชย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรงข้ามกับวัดพนัญเชิง
           
           พบว่าวันนี้ระดับน้ำสูงขึ้น และไหลแรงจนล้นแนวกระสอบทราย และไหลเข้าท่วมโบราณสถานแล้ว โดยระดับน้ำมีความสูงประมาณ 5-10 ซม. บางจุดลึกถึง 20-30 ซม. รวมทั้งขณะที่เรือบรรทุกสินค้า เรือนักท่องเที่ยวที่วิ่งได้ส่งผลให้คลื่นกระทบเข้าตัวโบราณสถานอยู่ตลอด เวลาด้วย ทำให้หลายฝ่ายเกิดความหวั่นวิตกว่า โบราณสถานจะได้รับความเสียหายเนื่องจากน้ำที่ท่วมสูงขึ้นยังไม่มีการสร้าง แนวป้องกันคลื่นแต่อย่างไร
           
           นายอเนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตนได้รับรายงานเบื้องต้นเกี่ยวกับน้ำไหลเข้าท่วมที่ฐานของป้อมเพชรสูงประมาณ 30-50 ซม.แล้ว และได้สั่งการให้สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เร่งดำเนินการยกระดับกระสอบทรายให้สูงขึ้น พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำออก เพราะหากน้ำท่วมขังไว้เป็นเวลานานอาจจะส่งผลกระทบต่อพื้นของตัวป้อมเพชร แต่โครงสร้างที่ดำเนินการบูรณะไปเมื่อหลังน้ำท่วมปี 2554 จะไม่มีผลกระทบในระบบโครงสร้าง และจะขอความร่วมมือไปยังกรมเจ้าท่าให้เรือที่วิ่งผ่านบริเวณป้อมเพชร ให้ช่วยชะลอความเร็วเพื่อลดความรุนแรงของคลื่นที่จะกระทบตัวโบราณสถานเสีย หาย
           
           ด้านสถานการณ์น้ำพบว่า ขณะนี้ฝนตกหนักทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำให้มีการระบายน้ำเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีฝนตกใต้เขื่อน และตกในพื้นที่จึงทำให้ปริมาณน้ำในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีพื้นที่ของอำเภอต่างๆ ได้รับผลกระทบน้ำล้นตลิ่งทั้งหมด 8 อําเภอ 106 ตําบล 2 เทศบาลเมือง 637 หมู่บ้าน 38,153 ครัวเรือน ประชากร 125,202 คน วัด 34 แห่งโรงเรียน 27 แห่ง มัสยิด 1 แห่งถนน 4 สายสะพาน 7 แห่งสถานที่ราชการ 4 แห่ง




    --------------------------------------------------------------------------------------

    “อ.บ้านหมอ” สระบุรีอ่วมน้ำทะลักท่วม [ ผู้จัดการออนไลน์ : 3 ต.ค. 56 ]

    สระบุรี - คันดินกั้นน้ำ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี พังน้ำทะลักฉับพลันท่วมบ้านเรือนขนของหนีน้ำโกลาหลผู้เฒ่าวัย 84 จมน้ำดับอนาถ นาเผือก กว่าพันไร่จมใต้บาดาล ผู้ว่าราชการจังหวัดเร่งเยียวยาจนได้ฉายาผู้ว่าฯ 24 ช.ม.
           
            เมื่อวันนี้ (3 ต.ค.) เวลา 15.00 น.นายถาวร พรหมมีชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ได้บูรณาการให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมอย่างเร่งด่วน โดยมอบหมายให้ นายธวัชชัย สุระบาล ปลัดจังหวัดสระบุรี เข้าตรวจสอบพื้นที่น้ำที่เอ่อท่วมมาจากแม่น้ำลพบุรีทาง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี ทำให้คันดินกั้นน้ำพังทลาย ทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่ ต.หรเทพ, ต.โคกใหญ่ อ.บ้านหมอ แบบฉับพลัน บ้านเรือนจมมิดหลังคา นาเผือก และนาข้าว จมน้ำหายในพริบตา นายธวัชชัยฯ จึงได้นำเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้ามอบถุงยังชีพเงินเยียวยาแก่ญาติผู้เสียชีวิตอย่างเร่งด่วน
           
            จากการตรวจสอบทราบว่า เมื่อคันกั้นน้ำ พังลงทำให้มวลน้ำจำนวนมากไหลเข้าท่วมพื้นที่ชาวบ้านต้องช่วยกันขนของหนีกันจ้าละหวั่น จนทำให้ นายหลอ บุญเปลี่ยน อายุ 84 ปี บ้านเลขที่ 1 หมู่ 8 ต.หรเทพ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี เดินลุย น้ำที่เชี่ยวกรากออกมา ในขณะที่บุตรหลานกำลังขนของหนีน้ำไม่อาจช่วยไว้ได้จนต้องจมน้ำเสียชีวิต
           
            ส่วนพื้นที่ ต.ท่าลาน หลังจากได้ทำคันกั้นน้ำกระสอบทรายสูงกว่า 2 เมตร ป้องกันน้ำเอ่อล้นตลิ่งจากแม่น้ำป่าสักและมวลน้ำจากจังหวัดลพบุรีทำให้น้ำไหลเข้าท่วมตำบลต่างๆ ใน อ.บ้านหมอ เหลือเพียง ชุมชนตลาดใหม่ หมู่ 8 ต.ท่าลาน ที่เป็นแหล่งเศรษฐกิจ นั้นขณะนี้มวลน้ำจำนวนมากได้ไหลทะลักเข้าพื้นที่ไม่อาจป้องกันได้จึงเข้าท่วมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยังประเมินค่าเสียหายไม่ได้



    --------------------------------------------------------------------------------------

    น้ำท่วมพิษณุโลก 2556 แม่น้ำวังทองซัดถนนขาดอีกสาย-นาข้าวจม [ ไอเอ็นเอ็นนิวส์ : 4 ต.ค. 56 ]

    กระแสน้ำจากแม่น้ำวังทอง จ.พิษณุโลก ซัดถนนขาดเพิ่มอีกเส้นทาง ทำน้ำทะลักท่วมนาข้าว ขณะที่ทหารเร่งซ่อมพนังกั้นน้ำที่แตก

              วันนี้ (4 ตุลาคม 2556) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วม จ.พิษณุโลก ว่า ยังคงได้รับผลกระทบหนักใน 2 อำเภอ ได้แก่พื้นที่ ต.เนินกุ่ม อ.บางกระทุ่ม ที่คันกั้นน้ำแตกหลายจุด และที่ ต.วังพิกุล อ.วังทอง ที่พนังกั้นแม่น้ำวังทอง บริเวณบ้านทางลัด ม.5 ต.วังพิกุล อ.วังทอง แตกเป็นทางกว้าง 20 เมตร ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา และยังไม่สามารถดำเนินการซ่อมได้ ล่าสุด วันนี้ บริเวณถนนบ้านทางลัด ใกล้กับจุดที่ชาวบ้านทางลัด ตั้งเต็นท์อาศัยอยู่บนถนนชั่วคราว ห่างจากจุดที่พนังกั้นน้ำแตกประมาณ 100 เมตร ความแรงของน้ำ ได้กัดเซาะถนนจนขาด เป็นทางกว้าง 10 เมตร น้ำจากแม่น้ำวังทองได้ไหลเข้าท่วมพื้นที่นาอย่างรวดเร็ว โดยได้มีการระดมกำลังทหารจากกองพลพัฒนาที่ 3 ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นำกำลังพล เรือท้องแบน พร้อมเครื่องจักร มาช่วยเหลือชาวบ้านซ่อมพนังกั้นน้ำที่บ้านทางลัด ม.5 ต.วังพิกุล

               โดยวันนี้ มีการระดมชาวบ้านจากตำบลวังพิกุล ตำบลแม่ระกา อำเภอวังทอง และตำบลท่าตาล อำเภอบางกระทุ่ม มาช่วยกันซ่อมพนังกั้นน้ำเป็นการเร่งด่วน เนื่องจากหากไม่สามารถดำเนินการชะลอน้ำได้ จะส่งผลกระทบกับนาข้าว ที่กำลังรอการเก็บเกี่ยวจำนวนหลายพันไร่





    --------------------------------------------------------------------------------------
    ชาวป่าโมกผวาพนังกั้นน้ำรั่วนับสิบจุดหวั่นต้านแรงดันน้ำไม่ไหวพังลงมา [ ผู้จัดการออนไลน์ : 6 ต.ค. 56 ]

    อ่างทอง - ชาวบ้านป่าโมก เมืองอ่างทอง ผวาพนังกั้นน้ำเจ้าพระยารั่วนับสิบจุด หวั่นต้านแรงดันน้ำไม่ไหวหลังระดับน้ำเจ้าพระยาสูงกว่า 1 เมตร จนพังลงมาเหมือนปี 54 ขณะที่เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอด 24 ชม. ศภช.เตือนน้ำป่าดินถล่มระนอง ประจวบฯ ชุมพร จันท์ ตราด

           
           วันนี้ (6 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรางานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง ว่า แม่น้ำเจ้าพระยา ลดลงเล็กน้อยแต่รอยรั่วบริเวณพนังกั้นน้ำหน้าที่ว่าการอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง หลังเก่าหลายจุดมีน้ำไหลทะลักเข้ามาเป็นช่วงๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวเกิดความไม่สบายใจต้องเดินมาตรวจ สอบกันบ่อยครั้ง บางรายถึงกับนอนไม่หลับ เนื่องจากเกรงว่าพนังกั้นน้ำดังกล่าวจะทานแรงดันน้ำไม่ไหว และอาจจะทำให้น้ำทะลุกำแพงคอนกรีตทั้งด้านล่าง และด้านบนออกมา เหมือนกับเมื่อปี 2554 จนทำให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร บ้านพักข้าราชการ ตำรวจ และสถานที่ราชการในบริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหาย
           
           ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่าบางจุดนอกจากจะมีน้ำไหลทะลุพนังคอนกรีตแล้ว บริเวณพื้นด้านล่างยังมีน้ำผุดใต้ดินออกมาอีกเป็นจำนวนมาก ขณะนี้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาด้านนอกสูงกว่าแนวตลิ่งถึง 1.5 เมตร ซึ่งจากการสอบถามไปยังเทศบาลตำบลป่าโมก เจ้าของพื้นที่พบว่า ได้ลงไปตรวจสอบแล้ว แต่ต้องปล่อยให้น้ำไหลเช่นนั้น และใช้วิธีตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่สูบน้ำออกแทนเพราะหากไปปิดไว้จะทำให้ พนัง และพื้นคอนกรีตอาจจะระเบิดได้ นอกจากนี้ ยังจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าดูแลตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย
           
           ขณะที่เขื่อนเจ้าพระยา ที่จังหวัดชัยนาท ระบายน้ำลงสู่ท้ายเขื่อนที่ 2,044 ลบ.เมตร/วินาที ทำให้สถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังอยู่ในสภาวะวิกฤต ซึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเขื่อนป่าสัก จะระบายน้ำลงสู่ท้ายเขื่อนเพิ่ม และเมื่อมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ก็จะทำให้น้ำไหลช้าลงและยกตัวเพิ่มขึ้น โดยระดับน้ำที่สถานีชลมาตร C7A หน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทองอยู่ที่ 7.92 เมตรลดลงเล็กน้อย น้ำไหลผ่าน 2,100 ลบ.เมตร/วินาที จึงขอให้ผู้ที่อยู่อาศัยริม 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด
           
           ด้านศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ แจ้งว่า ในวันที่ 6-9 ต.ค.56 อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ในพื้นที่จังหวัดระนอง ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร จันทบุรี และตราด ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวระมัดระวัง หากมีข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะแจ้งให้ทราบเป็นระยะต่อไป




    --------------------------------------------------------------------------------------

    เหยื่อน้ำป่าลำปางวอนรัฐช่วยด่วน เจอท่วมฉับพลันแต่เช้า [ ผู้จัดการออนไลน์ : 6 ต.ค. 56 ]

    ลำปาง - เหยื่อน้ำป่าจากอุทยานแม่ต๋ำ-ดอยผาหลวง วอนหน่วยงานรัฐช่วยด่วน หลังเจอท่วมฉับพลันตั้งแต่เช้าจนหุงหาอาหารกินไม่ได้ ขณะที่ชุมชนท้ายน้ำเริ่มเจอผลกระทบเป็นวงกว้างด้วย
           
           รายงานข่าวจากจังหวัดลำปาง แจ้งว่า หลังเกิดฝนตกหนักคืนที่ผ่านมา ทำให้น้ำป่าจากยอดเขาเขตอุทยานแห่งชาติแม่ต๋ำ-ดอยผาหลวง ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้านหมู่ 7 ต.บ้านเอม อ.เมือง จ.ลำปาง กว่า 150 หลังคาเรือน ตั้งแต่ช่วงเช้าวันนี้ (6 ต.ค.) ระดับน้ำสูง 1-2 เมตร ก่อนที่จะลดระดับลงในเวลาต่อมา
           
           อย่างไรก็ตาม มวลน้ำป่าที่ท่วม ต.บ้านเอื้อม ได้ไหลลงไปตามลำน้ำแม่ตุ๋ย จนเอ่อเข้าท่วมอีก 50 หมู่บ้านใน ต.บ้านเป้า อ.เมือง ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่ท้ายน้ำห่างจาก ต.บ้านเอื้อม ประมาณ 5 กิโลเมตร
           
           โดยล่าสุด ช่วงบ่ายน้ำได้ท่วมที่บ้านแค่ หมู่ 1 ต.บ้านเป้า มีบ้านเรือนประสบภัยหนักที่สุด คือ ท่วมสูงกว่า 1 เมตร ซึ่งทางทหารจากมณฑลทหารบกที่ 32 ค่ายสุรศักดิ์มนตรี จ.ลำปาง ได้ระดมกำลังเข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบภัย และช่วยยกสิ่งของมีค่าขึ้นไว้บนที่สูงแล้ว
           
           ขณะเดียวกัน ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนได้ขอความช่วยเหลือผ่านไปยังหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เนื่องจากขณะนี้ขาดแคลนอาหารอย่างมาก เพราะตั้งแต่เกิดน้ำท่วมฉับพลันในช่วงเช้า จนถึงขณะนี้ชาวบ้านไม่สามารถหุงหาอาหารได้ ประกอบกับข้าวสาร และอาหารแห้งถูกน้ำท่วมเสียหายเกือบหมด จึงอยากให้นำอาหารกล่องเข้ามาช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด



    --------------------------------------------------------------------------------------

    “ตลาดท่าเรือ” กรุงเก่าวุ่นตลาดสดถูกน้ำท่วมจมมิด [ ผู้จัดการออนไลน์ : 7 ต.ค. 56 ]

    พระนครศรีอยุธยา - ตลาดท่าเรือ พระนครศรีอยุธยา จมมิด ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนหนัก
           
           วันนี้ (7 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาว่า ในพื้นที่ อ.ท่าเรือ ขณะนี้ปริมาณน้ำท่วมเกือบจะถึงสะพานแขวนข้ามแม่น้ำป่าสัก ระหว่างวัดไก่จ้น และวัดสะตือแล้ว ส่วนที่บริเวณตลาดท่าเรือ น้ำได้ท่วมเกือบมิดหลังคาแล้วเช่นกัน ส่งผลให้บ้านเรือนที่พักอาศัยอยู่บริเวณตลาดสดได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก
           
           ขณะที่ นางศศิธร ปิ่นนิกร นายกกิ่งกาชาดอำเภอท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ได้ตั้งเต็นท์ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยจัดทำข้าวกล่อง น้ำดื่มไว้ให้แก่ผู้ประสบภัย โดยใช้งบส่วนตัวและเงินบริจาคจากผู้ที่มีจิตศรัทธาที่จะช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยน้ำท่วม
           
           ส่วนในพื้นที่ อ.บางปะอิน น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนของชาวบ้าน และวัดบ้านเลนสระกระจับ ต.บ้านโพ อ.บางปะอินแล้วเช่นกัน โดยวัดบ้านเลนสระกระจับ น้ำได้ท่วมในบริเวณวัด 100 เปอร์เซ็นต์ จนไม่สามารถประกอบพิธีทางศาสนาได้
           
           สำหรับการระบายน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยาวันนี้ ระบายน้ำอยู่ที่ 2,044 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้มวลน้ำลงมาที่เขื่อนพระราม 6 จึงต้องระบายน้ำอยู่ที่ 840.55 ลบ.ม./วินาที ทำให้แม่น้ำป่าสักตั้งแต่ อ.ท่าเรือ อ.นครหลวง อ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำยังคงเพิ่มขึ้นประมาณ 20-40 ซม. แม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ อ.บางบาล อ.บางปะอิน อ.บางไทร คลองบางหลวง คลองโผงเผง คลองบางบาล ระดับน้ำลดลงประมาณ 5-10 ซม. อ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำเพิ่มขึ้นประมาณ 5-10 ซม. แม่น้ำลพบุรี ตั้งแต่ อ.บ้านแพรก อ.มหาราช อ.บางปะหัน อ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำเพิ่มขึ้นประมาณ 10-20 ซม. รวมพื้นที่น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมทั้งหมด 8 อําเภอ 106 ตําบล 2 เทศบาลเมือง 678 หมู่บ้าน 42,593 ครัวเรือน ประชากร 140,980 คน วัด 42 แห่ง โรงเรียน 27 แห่ง มัสยิด 1 แห่ง ถนน 4 สาย สถานที่ราชการ 16 แห่ง



    --------------------------------------------------------------------------------------

    น้ำอ่างทองลด แต่ ปชช.ยังเดือดร้อนหนัก -ชาวกรุงเก่าครวญน้ำเน่าเหม็น [ ผู้จัดการออนไลน์ : 10 ต.ค. 56 ]


    อ่างทอง/พระนครศรีอยุธยา - ระดับน้ำอ่างทองลดลงต่อเนื่อง หลังเขื่อนเจ้าพระยาลดการระบาย แต่ยังคงมีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก ส่วนชาวบ้านในพระนครศรีอยุธยา โอดครวญน้ำท่วมเน่าเหม็นรุนแรง วอนหน่วยงานเกี่ยวข้องจัดหาลูกบอลจุลินทรีย์ปรับสภาพน้ำ ปภ.เผย 29 จังหวัดยังถูกน้ำท่วม เสียชีวิต 37 ราย สั่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างใกล้ชิด

           
           วันนี้ (10 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการน้ำเจ้าพระยาในพื้นที่จังหวัดอ่างทองว่า หลายพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมระดับน้ำได้ลดลงอย่างต่อเนื่องแล้ว หลังจากทางเขื่อนเจ้าพระยา ได้มีการลดการระบายน้ำลง แต่ยังคงมีประชาชนได้รับผลกระทบอีกจำนวนมาก กว่า 1,400 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรพืชสวนไร่นากว่า 22,000 ไร่
           
           ด้านสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ลุ่ม จ.พระนครศรีอยุธยายังคงทรงตัว แต่พบว่าชาวบ้านในหลายตำบลของ อ.พระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ต.หันตรา ต.ไผ่ลิง ต.คลองคะเคียน ต.สวนพริก และ ต.ลุมพลี เดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากน้ำท่วมขังในระดับกว่า 1 เมตร เริ่มเน่าเหม็นส่งกลิ่นรุนแรง
           
           ชาวบ้าน ต.หันตรา รายหนึ่งร้องเรียนว่า ได้รับผลกระทบจากน้ำจากแม่น้ำป่าสักไหลเข้าคลองหันตราท่วมสูง ประกอบกับประตูน้ำข้าวเม่าที่อยู่ติดกัน ได้สูบน้ำฝนจำนวนมาก ออกจากคลองข้าวเม่าด้านใน ซึ่งเป็นชุมชนเมืองรอบนิคมอุตสาหกรรม และทางน้ำไหลจากอำเภออุทัย ออกมาที่ปากคลองติดชุมชนตำบลหันตรา ทำให้น้ำเน่าเหม็นอย่างรุนแรงและมีสีดำ
           
           เช่นเดียวกับชาวบ้าน ต.สวนพริก ติดน้ำลพบุรี พบปัญหาน้ำท่วมมีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง อีกทั้งยังพบปัญหาหนักอีกชุมชนเช่นกันคือ ชาวบ้านในชุมชน ต.คลองสระบัว ซึ่งได้รับผลกระทบจากกระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลเข้าท่วมขังในพื้นที่สูง 1.20 เมตร มาเป็นสัปดาห์ที่ 2 แล้ว แต่ด้วยความเป็นชุนชนขนาดใหญ่ รวมถึงแออัดจึงทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเหม็น
           
           นายบุญทัน ศรีรุ้ง ชาวบ้าน ต.สวนพริกอีกคน กล่าวว่า ระดับน้ำเริ่มทรงตัวแล้ว แต่น้ำท่วมขัง มีกลิ่นเน่าเหม็น และเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค รวมถึงเพาะลูกน้ำยุงลาย ที่มาของโรคไข้เลือดออก โรคตาแดง โรคน้ำกัดเท้า จึงต้องการให้ทางอำเภอ รวมถึง อบต.คลองสระบัว จัดหาลูกบอลจุลินทรีย์ หรือน้ำหมักชีวะภาพ มาปรับสภาพน้ำท่วมขัง ให้ลดความเน่าเหม็นลงกว่านี้
           
            ทางด้านนายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2556 จนถึงปัจจุบัน มีพื้นที่ประสบภัยรวมทั้งสิ้น 41 เพิ่ม 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี และสมุทรปราการ 302 อำเภอ 1,849 ตำบล 14,700 หมู่บ้าน 1,027,348 ครัวเรือน 3,496,630 คน มีผู้เสียชีวิตรวม 37 ราย คลี่คลายแล้ว 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง กำแพงเพชร อุทัยธานี นครราชสีมา กาฬสินธุ์ มุกดาหาร อำนาจเจริญ ชุมพร และประจวบคีรีขันธ์ ทั้งนี้ ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ 29 จังหวัด 166 อำเภอ 1,033 ตำบล 7,760 หมู่บ้าน 499,761 ครัวเรือน 1,792,519 คน อพยพ 3,686 ครัวเรือน 10,868 คน
           
           ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทั้ง 18 ศูนย์เขต เตรียมพร้อมด้านเครื่องมือ เครื่องจักรกลกู้ภัย รถขุดไฮโดรลิก รถผลิตน้ำดื่ม เรือท้องแบน เครื่องสูบน้ำ ฯลฯ พร้อมเจ้าหน้าที่ สนับสนุนพื้นที่ ที่อาจมีสถานการณ์รุนแรง ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมสั่งการให้ ผู้อำนวยการศูนย์ ปภ.เขต และ ปภ.จังหวัด รายงานสถานการณ์อุทกภัย การให้ความช่วยเหลือ และการประเมินสถานการณ์ทั้งภาพและเสียงใน 3 ช่วงเวลา คือ 07.00 น. / 11.00 น. / 16.00 น. ทุกวันในห้วงที่มีสถานการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ หากมีเหตุเร่งด่วนให้รายงานด้วยระบบโทรศัพท์หรือระบบไลน์ เพื่อรายงานต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูง



    --------------------------------------------------------------------------------------
    กทม.อ่วม เจอ "นารี" ร่ำไห้แต่เช้า คาดสิ้นฤทธิ์คืนนี้ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 17 ต.ค. 56 ]

    กทม.อ่วม เจอฤทธิ์ "นารี" ครวญร่ำไห้แต่เช้า กว่า 80% ของพื้นที่ฉ่ำน้ำเป็นระลอก พบคลองเตยตกหนักสุด ปริมาณฝนสะสมถึง 52.5 มม. เตือนหลักสี่ ดอนเมือง สายไหม เหตุฝนเตรียมเคลื่อนตัวขึ้นทางเหนือกรุงเทพฯ คาดสิ้นฤทธิ์คืนนี้ ด้านระดับน้ำเจ้าพระยาอาจสูงถึง 2 เมตรช่วง 15.15 น. กทม.เร่งเฝ้าสถานการณ์ ระบุเร่งระบายน้ำในคลองกรุงเทพฯฝั่งตะวันออกแล้ว

           
           วันนี้ (17 ต.ค.) นายอดิศักดิ์ ขันตี ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่า จากอิทธิพลของพายุนารีทำให้พื้นที่กรุงเทพฯในวันนี้จะมีฝนตกกระจายประมาณ 80% ของพื้นที่ โดยตกหนักที่สุดในเขตคลองเตย มีปริมาณฝนสะสมสูงถึง 52.5 มิลลิเมตร และคาดว่าฝนมีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวไปยังทิศเหนือของกรุงเทพฯ ในพื้นที่เขตหลักสี่ ดอนเมือง สายไหม
           
           นายอดิศักดิ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ พื้นที่ฝั่งตะวันออก น้ำในคลองต่างๆ มีระดับเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับควบคุมได้ โดยจะมีการระบายน้ำบางส่วนไปตามคลอง 13 คลองเนื่องเขต และคลองสามวา เพื่อระบายน้ำไปยัง จ.สมุทรปราการ อย่างไรก็ตาม ยังมีความจำเป็นที่ กทม.ต้องระบายน้ำบางส่วนเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพชั้นในด้วย โดยระบายผ่านทางคลองแสนแสบ ซึ่งขณะนี้มีระดับน้ำ -0.14 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) ด้าน จ.ฉะเชิงเทรา ขณะนี้ทางกรมชลประทานได้ผันน้ำออกไปทางคลองด่าน คลองร้อยคิว คลองบางปลาร้า คลองบางปลา เพื่อเร่งระบายน้ำไปยังฝั่งตะวันออกโดยเร็วที่สุด ซึ่งจะช่วยให้พื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯได้รับผลกระทบน้อยลง อีกทั้ง กทม.ได้ประสานงานกับทางกรมชลประทานเพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่อ่าวไทย ทางสถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิ โดยการเปิดเครื่องสูบน้ำเต็มกำลังจำนวนทั้งหมด 4 เครื่อง
           
           นายอดิศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับระดับแม่น้ำเจ้าพระยาในวันนี้วัดเมื่อเวลา 05.00 น. มีความสูงอยู่ที่ 1.49 ม.รทก. แต่คาดว่าในเวลา 15.15 น. น้ำทะเลจะหนุนสูงมากขึ้นโดยคาดว่าอาจสูงถึง 2 เมตร จึงต้องมีการเฝ้าตอดตามสถานการณ์น้ำตลอดทั้งวัน
           
           ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานสถานการณ์ปริมาณฝนในพื้นที่ว่า ตั้งแต่ เวลา 05.00น. พื้นที่กรุงเทพฯ มีฝนกำลังปานกลางปกคลุม 80%ของพื้นที่ ซึ่งเป็นอิทธิพลของพายุนารี คาดว่าภายในคืนนี้จะเริ่มหมดไป โดยฝนได้กระจายในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ฝั่งพระนครในพื้นที่ชั้นใน อาทิ เขตทวีวัฒนา ตลิ่งชัน หนองแขม บางบอน บางขุนเทียน บางแค ดุสิต บางพลัด ภาษีเจริญ หลักสี่ จตุจักร เป็นต้น และกำลังเคลื่อนที่ไปพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก ขณะนี้ปริมาณฝนสะสมสูงสุดวัดได้ที่เขตทวีวัฒนา 90.5 มิลลิเมตร (มม.) เป็นผลให้เช้าวันนี้ได้รับรายงานจุดน้ำท่วมรอการระบายหลายแห่ง ได้แก่ บริเวณหน้าอู่สง่า ถนนฉิมพลี เขตตลิ่งชัน หน้าวัดโพธิ์ ถนนสนามไชยถึงถนนมหาราช ถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งเหนือซอย 8 ประมาณ 500 เมตร หน้าตลาดพรานนก ถนนอิสรภาพ บริเวณรพ.พญาไท3ถึงคลองประดู่ ถนนเพชรเกษม แยกกาญจนาถึงซอยสวนผัก50 เป็นต้น ขณะที่ปริมาณแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีน้ำเหนือไหลผ่านเข้าพื้นที่วัดที่อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 1,776 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)ต่อวินาที




    --------------------------------------------------------------------------------------

    ข้อมูลอ้างอิง

  • ไทยรัฐ http://www.thairath.co.th
  • เดลินิวส์ http://www.dailynews.com
  • ผู้จัดการออนไลน์ http://www.manager.co.th
  •