พายุที่ส่งผลต่อประเทศไทย

ปี 2562 มีพายุเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยจำนวน 3 ลูก ประกอบด้วย พายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) ซึ่งเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในขณะที่มีกำลังแรงอยู่ในระดับพายุโซนร้อน ส่งผลทำให้เกิดฝนตกในหลาย

พื้นที่ของภาคใต้ในช่วงเดือนมกราคม ส่วนพายุอีก 2 ลูก เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในขณะที่มีกำลังแรงอยู่ในระดับพายุดีเปรสชัน ได้แก่ พายุโซนร้อน “วิภา” (WIPHA) และพายุโซนร้อน “โพดุล” (PODUL)

ที่ส่งผลกระทบทำให้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้นบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในช่วงเดือนสิงหาคม รายละเอียดเพิ่มดังแผนที่ ตาราง และแผนภูมิพายุุ ด้านล่าง







พายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK)
พายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2561 และเคลื่อนตัวมาทางทิศตะวันตกมุ่งเข้าสู่อ่าวไทยตอนล่าง โดยอิทธิพลของพายุเริ่มส่งผลทำให้เกิดฝนตกเพิ่มขึ้นบริเวณภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2562 หลังจากนั้นพายุดังกล่าวได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ในช่วงเที่ยงของวันที่ 4 มกราคม 2562 ในขณะที่ความแรงของพายุอยู่ในระดับพายุโซนร้อน ซึ่งต่อมาได้เคลื่อนตัวเข้าปกคลุมบริเวณจังหวัดพังงาพร้อมกับลดกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงเช้าของวันที่ 5 มกราคม 2562 ก่อนที่จะเคลื่อนตัวลงทะเลอันดามันไปในวันเดียวกัน อิทธิพลจากพายุโซนร้อน "ปาบึก" เริ่มส่งผลทำให้ภาคใต้ตอนล่าง บริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส มีฝนเพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2562 โดยแนวฝนมีการเคลื่อนตัวจากภาคใต้ตอนล่างขึ้นสู่ตอนบนของภาคตามการเคลื่อนตัวของพายุ โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 3-4 มกราคม 2562 ที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พังงา และจังหวัดใกล้เคียง ต่อมาในวันที่ 5 มกราคม 2562 ปริมาณฝนโดยรวมลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากทางตอนบนของภาคโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดชุมพรและประจวบคีรีขันธ์ ทั้งนี้กลุ่มฝนได้สลายตัวไปในวันที่ 6 มกราคม 2562 สำหรับจังหวัดที่มีฝนตกหนักมาก ปริมาณฝนเกิน 90

มิลลิเมตรต่อวัน ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร ตรัง กระบี่ พังงา ประจวบคีรีขันธ์ และระนอง หากเปรียบเทียบปริมาณฝนที่เกิดจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน "ปาบึก" กับช่วงที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ในอดีต ปี 2553 2554 2559 2560 พบว่าอิทธิพลจากพายุปาบึกทำให้เกิดฝนในพื้นที่ภาคใต้เป็นระยะเวลาค่อนข้างสั้นรวมทั้งปริมาณฝนโดยรวมน้อยกว่าเหตุการณ์อื่น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม พายุลูกนี้ถือเป็นพายุลูกประวัติศาสตร์ลูกหนึ่งเนื่องด้วยเหตุผล ดังนี้ 1) เป็นพายุเพียงลูกเดียวที่เคลื่อนตัวเข้าภาคใต้ในช่วงเดือนมกราคมตั้งแต่ประเทศไทยมีการบันทึกข้อมูลพายุ 2) เป็นพายุที่เคลื่อนขึ้นฝั่งภาคใต้ต่อจากพายุ “ลินดา” (LINDA) ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2540 ซึ่งทิ้งระยะยาวนานถึง 22 ปี

พายุโซนร้อน “วิภา” (WIPHA)
พายุ “วิภา” ก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2562 แล้วทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกผ่านเกาะไหหลำ เข้าสู่บริเวณตอนใต้ของมลฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ในวันที่ 1 สิงหาคม 2562 แล้วเคลื่อนตัวผ่านอ่าวตังเกี๋ยขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2562 แล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันในวันเดียวกัน หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณ อ.แม่จริม จ.น่าน ในขณะที่มีกำลังแรงในระดับพายุดีเปรสชัน จากนั้นได้

เคลื่อนตัวเข้าสู่จังหวัดแพร่แล้วอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณจังหวัดลำปาง ในวันที่ 4 สิงหาคม 2562 ซึ่งอิทธิพลของพายุส่งผลทำให้เกิดฝนตกเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ รวมถึงทำให้เกิดดินสไลด์บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน

พายุโซนร้อน “โพดุล” (PODUL)
พายุโซนร้อน “โพดุล” (PODUL) ได้เริ่มก่อตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2562 หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในขณะที่ยังเคลื่อนตัวอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออกของเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2562 และได้ทวีกำลังแรงต่อเนื่องเป็นพายุโซนร้อน “โพดุล” (PODUL) เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 พร้อมกับเคลื่อนตัวผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงทะเลจีนใต้ ในวันเดียวกัน ต่อมาในวันที่ 29 สิงหาคม 2562 พายุดังกล่าวได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองดองฮอย ประเทศเวียดนาม ผ่านประเทศลาว และเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณ อ.เมือง จ.นครพนม ในวันที่ 30 สิงหาคม 2562 พร้อมลดกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและได้ลดกำลังลงต่อเนื่องเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในวันเดียวกัน โดยหย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวได้แผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือเป็นบริเวณกว้าง ส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่


Tropical Storm "PABUK"
Tropical Storm "WIPHA"
Tropical Storm "PODUL"
Tropical Storm Pabuk making landfall over southern Thailand at peak intensity on January 4, 2019
Tropical Storm Wipha in the Gulf of Tonkin on August 2, 2019"
Tropical Storm Podul on August 29, 2019





นอกจากพายุทั้ง 3 ลูกที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ประเทศไทยยังได้รับอิทธิพลจากพายุอีก 5 ลูก ที่ถึงแม้จะไม่ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย แต่พายุดังกล่าวได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำก่อนเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณประเทศไทยหรืออ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเพื่อนบ้าน

ซึ่งส่งผลทำให้ประเทศไทยมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้น โดยพายุทั้ง 5 ลูก ประกอบด้วย
1) พายุโซนร้อน "มูน" (MUN) ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม
2) พายุโซนร้อน "คาจิกิ" (KAJIKI) ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในช่วงต้นเดือนกันยายน

3) พายุโซนร้อน "แมตโม" (MATMO) ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในช่วงปลายเดือนตุลาคม
4) พายุโซนร้อน "นากรี" (NAKRI) ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน
5) พายุไต้ฝุ่น "ฟานทอง" (PHANFONE) ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในช่วงปลายเดือนธันวาคม


Tropical Storm "MUN"
Tropical Storm "KAJIKI"
Tropical Storm "MATMO"
Tropical Storm "NAKRI"
Typhoon "PHANFONE"







นอกจากนี้ ยังมีพายุลูกอื่น ๆ ที่เคลื่อนเข้ามาสู่บริเวณทะเลจีนใต้ ซึ่งส่งผลต่อสภาพอากาศบริเวณที่พายุเคลื่อนตัวผ่าน แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ

ประเทศไทย ประกอบด้วย 1) พายุโซนร้อน “ไป่ลู่” (BAILU) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2) พายุโซนร้อน “คัลแมกี” (KALMAEGI) ซึ่งเกิดขึ้นใน

ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 3) พายุโซนร้อน “คัมมูริ” (KAMMURI) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงต้นเดือนธันวาคม


Tropical Storm "BAILU"
Tropical Storm "KALMAEGI"
Tropical Storm "KAMMURI"


แผนภาพแสดงช่วงเวลาที่เกิดพายุแต่ละลูกในปี 2562





หากเปรียบเทียบจำนวนพายุในปี 2562 กับสถิติพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในรอบ 69 ปี (2494-2561) จะเห็นได้ว่า ปี 2562 มีพายุเคลื่อนเข้ามาในประเทศไทย 3 ลูก เท่ากับค่าเฉลี่ย นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2540 พายุที่เคลื่อนตัวเข้ามายังประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

ทั้งสิ้น โดยมีปีที่จำนวนพายุเท่ากับค่าเฉลี่ยเพียง 5 ปี เท่านั้น และหากพิจารณาข้อมูลเป็นรายเดือน พบว่า เดือนที่มีพายุเคลื่อนเข้ามาในประเทศไทยมากที่สุดคือ เดือนตุลาคม ซึ่งมีพายุที่เคลื่อนเข้ามาทั้งหมด 55 ลูก รองลงมาคือ เดือนกันยายนและเดือนพฤศจิกายน โดยมีจำนวนพายุที่เคลื่อนเข้ามาทั้งหมด 51 และ 31

ลูก ตามลำดับ ทั้งนี้พายุที่เคลื่อนตัวเข้ามาในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับดีเปรสชัน รองลงมาคือ พายุโซนร้อนและมีพายุไต้ฝุ่น โดยเคลื่อนเข้ามาในประเทศไทยเพียงลูกเดียวเท่านั้น ได้แก่ พายุไต้ฝุ่น “เกย์” ในปี 2532