การวิเคราะห์ความรุนแรงของสภาวะฝนแล้ง
ด้วยดัชนีฝนมาตรฐาน (Standardized Precipitation Index : SPI)

จากการวิเคราะห์ความรุนแรงของสภาวะฝนแล้งด้วยดัชนีฝนมาตรฐาน (SPI) โดย USDA จะเห็นได้ว่าในปี 2019 ประเทศไทยประสบสภาวะฝนแล้งรุนแรงมากในหลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคกลางและภาคตะวันออกที่ครอบคลุมในทุกพื้นที่ ส่วนภาคอื่น ๆ เกิดสถานการณ์ในบางพื้นที่ เช่น บริเวณจังหวัดเชียงราย พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ซึ่งเมื่อแยกวิเคราะห์เป็น 2 ช่วง จะพบว่าช่วงครึ่งปีแรกเกิดสภาวะฝนแล้งรุนแรงมากในบางพื้นที่ของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น เช่น บริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา

มุกดาหาร กาฬสินธุ์ แต่ในช่วงครึ่งปีหลังกลับมีสภาวะฝนแล้งรุนแรงเพิ่มขึ้นมากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ ที่เกิดสภาวะฝนแล้งรุนแรงมากเพิ่มขึ้นเกือบทุกพื้นที่ ตรงกันข้ามกับบริเวณภาคเหนือที่สภาวะฝนแล้งลดลงในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของพายุวิภาในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม แต่ยังคงมีสภาวะฝนแล้งรุนแรงมากบริเวณจังหวัดเชียงรายและบริเวณตอนล่างของภาคต่อเนื่องจากช่วงต้นปีโดยเฉพาะบริเวณตอนล่างของภาคที่เกิดสภาวะฝนแล้งรุนแรงมาก ส่วนภาคตะวันออกเฉียง

เหนือมีสภาวะฝนแล้งลดลงทางด้านตะวันออกของภาคเนื่องจากได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของพายุโพดุลและคาจิกิในช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ส่วนทางด้านตะวันตกของภาคมีสภาวะฝนแล้งรุนแรงเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดนครราชสีมาที่เกิดสภาวะฝนแล้งรุนแรงมาก สำหรับภาคตะวันออกสภาวะฝนแล้งรุนแรงกว่าช่วงต้นปี สภาวะฝนแล้งอยู่ในเกณฑ์ฝนแล้งรุนแรงมากเกือบทุกพื้นที่ ส่วนภาคใต้สภาวะฝนแล้งเพิ่มขึ้นเกือบทุกพื้นที่เช่นกัน โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เกิดสภาวะฝนแล้งอยู่ในเกณฑ์ฝนแล้งปานกลางถึงฝนแล้งรุนแรง





ที่มา: United States Department of Agriculture : USDA (https://ipad.fas.usda.gov/cropexplorer/Default.aspx)