สัดส่วนน้ำไหลเข้ารวมทั้งปีต่อน้ำระบายรวมทั้งปี

ตลอดปี 2562 มีน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่งทั่วประเทศ ประมาณ 29,354 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีการระบายไป 34,874 ล้านลูกบาศก์เมตร หากเปรียบปริมาณน้ำไหลเข้ามากกว่าน้ำระบายคือการได้กำไร และปริมาณน้ำระบายมากกว่าน้ำไหลเข้าคือการขาดทุนเท่ากับว่า ปี 2562 ขาดทุนถึง 19% หรือมีการนำน้ำต้นทุนที่กักเก็บไว้เมื่อปี 2561 ออกมา

ใช้ถึง 5,520 ล้านลูกบาศก์เมตร และเมื่อพิจารณาเป็นรายภาค จะเห็นได้ว่ามีการระบายน้ำแบบขาดทุนเกือบทุกภาค โดยเฉพาะภาคเหนือที่ขาดทุนมากที่สุดถึง 68% ส่วนภาคกลางขาดทุนน้อยที่สุดเพียง 2% มีเพียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพียงภาคเดียวที่ได้กำไร 29% แต่ในความเป็นจริงมีเพียงเขื่อนลำปาวและเขื่อนสิรินธรเท่านั้นที่ได้กำไรอย่างแท้จริง

เนื่องจากมีน้ำไหลเข้าเขื่อนมากจากผลกระทบของพายุโซนร้อนโพดุลและพายุโซนร้อนคาจิกิ ส่วนเขื่อนอื่นที่ได้กำไรเกิดจากการมีน้ำต้นทุนอยู่น้อย ประกอบกับมีน้ำไหลเข้าก็น้อย ทำให้มีความจำเป็นต้องระบายน้ำน้อยตามไปด้วย





ข้อมูลสถิติย้อนหลัง 10 ปี (2553-2562) แสดงให้เห็นว่าปีที่มีน้ำไหลลงเขื่อนรวมทั้งปีมากกว่าน้ำระบายรวมทั้งปี ได้แก่ ปี 2553 2554 2556 2559 2560 2561 และปี 2562 ส่วนปีที่มีน้ำไหลลงเขื่อนรวมทั้งปีน้อยกว่าน้ำระบายรวมทั้งปี ได้แก่ ปี 2555 2557 2558 และ 2562 ซึ่งจะพบว่าตั้งแต่เกิดภัยแล้งรุนแรงในปี 2558 ยังไม่เคยมีสถานการณ์น้ำระบาย

มากกว่าน้ำไหลเข้าเลยจนกระทั่งปี 2562 ที่เกิดสถานการณ์ขึ้นอีกครั้ง หากแจกแจงเป็นรายภาค พบว่าเขื่อนในภาคเหนือมีน้ำไหลเข้ามากกว่าน้ำระบายอยู่ 5 ปี คือ ปี 2553 2554 2556 2559 และ 2560 ส่วนปีที่เหลือมีน้ำไหลลงเขื่อนรวมทั้งปีน้อยกว่าน้ำระบายรวมทั้งปี สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีน้ำไหลลงเขื่อนน้อยกว่าน้ำระบายเพียง 2 ปี คือปี

2555 และปี 2561 ภาคกลางมีเพียงปี 2553 2557 และปี 2562 ที่มีน้ำไหลลงเขื่อนน้อยกว่าน้ำระบาย สำหรับภาคตะวันออก ปีนี้เป็นปีแรกในรอบ 10 ปี ที่น้ำไหลลงเขื่อนน้อยกว่าน้ำระบาย สำหรับภาคใต้มีน้ำไหลลงเขื่อนมากกว่าน้ำระบาย อยู่ 6 ปี ได้แก่ ปี 2554 2556 2557 2559 2560 และปี 2561 ส่วนปีที่เหลือมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนน้อยกว่าน้ำระบาย





เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลเขื่อนขนาดใหญ่ย้อนหลัง 10 ปี (2553-2562) จะเห็นได้ว่าในปี 2562 นี้ มีหลายเขื่อนที่มีตัวเลขทำลายสถิติข้อมูลปริมาณน้ำไหลเข้าและปริมาณน้ำระบาย โดยเขื่อนที่การระบายน้ำมากกว่าปริมาณน้ำไหลเข้ามากที่สุดในรอบ 10 ปี หรือเรียกได้ว่า ขาดทุนมากที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งหมายถึง การนำน้ำของปีก่อนหน้าออกมาใช้มากที่สุดในรอบ 10 ปี มีทั้งหมด 8 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนคลองสียัด เขื่อน

จุฬาภรณ์ เขื่อนนฤบดินทรจินดา เขื่อนบางพระ เขื่อนประแสร์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนแม่งัด และเขื่อนรัชชประภา ซึ่งเป็นเขื่อนที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกถึง 4 เขื่อน โดยเฉพาะเขื่อนประแสร์ที่ปีนี้เกิดการขาดทุนเป็นครั้งแรกจากที่เคยได้กำไรมาโดยตลอด สำหรับเขื่อนที่ได้กำไรมากที่สุดในรอบ 10 ปี มีเพียงเขื่อนเดียว คือ เขื่อนสิรินธร หลังจากปีที่แล้วได้กำไรน้อยที่สุด และเป็นเพียงเขื่อนเดียวที่ยังไม่เคยระบายน้ำ

แบบขาดทุน ซึ่งปีนี้เขื่อนสิรินธรมีปริมาณน้ำไหลเข้าค่อนข้างมากเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อนโพดุลและพายุโซนร้อนคาจิกิ ที่ส่งผลกระทบกับบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน โดยมีปริมาณน้ำไหลเข้ารายวันสูงสุดถึง 151 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นอันดับที่ 5 รองจากสถานการณ์น้ำไหลเข้าสูงสุดรายวันของปี 2524 2550 2542 และ 2556



หมายเหตุ : ข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


นอกจากนี้ยังมีเขื่อนที่มีปริมาณน้ำไหลเข้าน้อยที่สุดในรอบ 10 ปี ได้แก่ เขื่อนกระเสียว เขื่อนคลองสียัด เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนทับเสลา เขื่อนนฤบดินทรจินดา

เขื่อนบางพระ เขื่อนประแสร์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนแม่มอก เขื่อนลำแซะ เขื่อนลำพระเพลิง และเขื่อนอุบลรัตน์ โดยเฉพาะเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนจุฬาภรณ์ ที่มีปริมาณน้ำไหลเข้าน้อยที่สุดนับตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนมา





หมายเหตุ : ข้อมูลจากกรมชลประทาน