การกระจายตัวของฝน ปี 2562
และความผิดปกติของฝนเมื่อเทียบกับข้อมูลสถิติย้อนหลังในอดีต

ปี 2562 ประเทศไทยมีปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศประมาณ 1,211 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 256 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่าปกติประมาณ 17% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าปกติ มีเพียงบางพื้นที่ที่มีฝนตกมากกว่าปกติ โดยฝนที่ตกมากกว่า

ปกติกระจุกตัวอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวได้รับอิทธิพลจากพายุโพดุลและพายุ

คาจิกิ ที่ส่งผลกระทบในช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน นอกจากนี้ยังมีฝนตกมากในบางพื้นที่ของจังหวัดน่าน ลำปาง ตาก นครนายก ตราด จันทบุรี และยะลา



หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


เมื่อวิเคราะห์ปริมาณฝนเป็นรายภาค พบว่าปริมาณฝนต่ำกว่าปกติในทุกภาค โดยเฉพาะภาคกลางที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติมากที่สุดถึง 26% รองลงมาคือภาคเหนือที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติ 20% นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากแผนที่ฝนจะเห็นได้ว่าภาคกลางและภาค

ใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกือบทุกพื้นที่ของภาค และแม้ว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะได้รับผลกระทบจากพายุจากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่เป็นเพียงพื้นที่ส่วนน้อยของภาค โดยภาพรวมแล้วปริมาณฝนยังคงต่ำกว่าปกติถึง 13% และหาก

วิเคราะห์ปริมาณฝนเป็นรายจังหวัดจะพบว่ามีเพียง จังหวัดที่มีปริมาณฝนตกมากกว่าปกติ ประกอบด้วย จังหวัดตราด ยโสธร อำนาจเจริญ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และมุกดาหาร



ปี 2562 ประเทศไทยมีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าปกติ 17%
ภาค
ฝนปกติ
ฝนปี 2562
ปริมาณฝนที่ต่างจากปกติ
มิลลิเมตร
เปอร์เซ็นต์
 ภาคเหนือ
1,232
983
-249 
-20
 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1,384
1,207
-177
-13
 ภาคกลาง
1,218
901
-317
-26
 ภาคตะวันออก
1,848
1,572
-275
-15
 ภาคใต้ฝั่งตะวันออก
1,972
1,614
-358
-18
 ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
2,535
2,142
-393
-15
 ทั้งประเทศ
1,467
1,211
-256
-17



รหัส
จังหวัด
ต่างจากปกติ (%)
รหัส
จังหวัด
ต่างจากปกติ (%)
1
กรุงเทพมหานคร
-35
40
ลำปาง
-16
2
สมุทรปราการ
-34
41
อุตรดิตถ์
-28
3
นนทบุรี
-32
42
แพร่
-15
4
ปทุมธานี
-36
43
น่าน
-6
5
พระนครศรีอยุธยา
-40
44
พะเยา
-24
6
อ่างทอง
-38
45
เชียงราย
-39
7
ลพบุรี
-21
46
แม่ฮ่องสอน
-16
8
สิงห์บุรี
-30
47
นครสวรรค์
-19
9
ชัยนาท
-27
48
อุทัยธานี
-24
10
สระบุรี
-29
49
กำแพงเพชร
-20
11
ชลบุรี
-26
50
ตาก
-12
12
ระยอง
-21
51
สุโขทัย
-30
13
จันทบุรี
-7
52
พิษณุโลก
-32
14
ตราด
4
53
พิจิตร
-28
15
ฉะเชิงเทรา
-31
54
เพชรบูรณ์
-19
16
ปราจีนบุรี
-19
55
ราชบุรี
-22
17
นครนายก
-21
56
กาญจนบุรี
-24
18
สระแก้ว
-17
57
สุพรรณบุรี
-36
19
นครราชสีมา
-27
58
นครปฐม
-32
20
บุรีรัมย์
-19
59
สมุทรสาคร
-32
21
สุรินทร์
-12
60
สมุทรสงคราม
-27
22
ศรีสะเกษ
-11
61
เพชรบุรี
-22
23
อุบลราชธานี
-1
62
ประจวบคีรีขันธ์
-18
24
ยโสธร
1
63
นครศรีธรรมราช
-22
25
ชัยภูมิ
-24
64
กระบี่
-30
26
หนองบัวลำภู
-23
65
พังงา
-12
27
อำนาจเจริญ
2
66
ภูเก็ต
-13
28
ขอนแก่น
-15
67
สุราษฎร์ธานี
-23
29
อุดรธานี
-14
68
ระนอง
-9
30
เลย
-37
69
ชุมพร
-10
31
หนองคาย
-11
70
สงขลา
-21
32
มหาสารคาม
2
71
สตูล
-17
33
ร้อยเอ็ด
5
72
ตรัง
-9
34
กาฬสินธุ์
-5
73
พัทลุง
-16
35
สกลนคร
-15
74
ปัตตานี
-13
36
นครพนม
-7
75
ยะลา
-9
37
มุกดาหาร
0
76
นราธิวาส
-15
38
เชียงใหม่
-16
77
บึงกาฬ
-9
39
ลำพูน
-15


เมื่อเปรียบเทียบปริมาณฝนของปี 2562 กับปริมาณฝนปีอื่นย้อนหลัง 10 ปี ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่า ปี 2562 มีปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศน้อยที่สุด และใกล้เคียงกับปี 2558 ที่ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรง โดยปริมาณฝนมากกว่าเพียง

40 มิลลิเมตร หรือประมาณ 3% อีกทั้งการกระจายตัวของฝนมีลักษณะใกล้เคียงกัน โดยมีฝนมากบริเวณภาคใต้ ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดตราด จันทบุรี ส่วนบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้

ตอนบน และด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะพื้นที่ตอนกลางของประเทศที่มีฝนตกน้อยต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2561 ลักษณะใกล้เคียงกับปี 2558 ที่บริเวณตอนกลางของประเทศมีฝนตกน้อยต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2557



หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา