ปริมาณฝนทั้งประเทศ
เปรียบเทียบข้อมูลสถิติฝนรายปีย้อนหลังในรอบ 39 ปี

ปี 2562 มีปริมาณฝนลดลงจากปี 2561 ค่อนข้างมาก โดยน้อยกว่าถึง 245 มิลลิเมตร หรือคิดเป็น 17% และหากเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 39 ปี พบว่ามีปีที่ปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ 14 ปี ได้แก่ ปี 2525 2530 2532 2534 2535 2536 2540 2541 2546 2547 2548 2557 2558 และ ปี 2562 และมีปีที่มีปริมาณฝนใกล้เคียงปกติ 14 ปี ได้แก่ ปี 2524 2526 2527 2528 2529 2533 2538 2545 2550 2552 2553 2555 2559 และ 2561 และมีปีที่มีปริมาณฝนมากกว่าปกติอยู่ทั้งสิ้น 11 ปี ได้แก่ ปี 2531 2537 2539 2542 2543 2544 2549 2551 2554 2556 และ ปี 2560 นอกจากนี้

จะเห็นได้ว่าในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ปริมาณฝนของประเทศไทยมีความแปรปรวนค่อนข้างสูง โดยในช่วงปี 2552 - 2553 มีฝนตกน้อย ส่งผลทำให้เกิดภัยแล้งรุนแรงในหลายพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งตรงกันข้ามกับปีต่อมาที่มีฝนตกเกินค่าปกติไปค่อนข้างมาก ส่งผลทำให้เกิดมหาอุทกภัยในปี 2554 น้ำท่วมในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคกลาง หลังจากนั้นอีก 2 ปี เกิดสถานการณ์ฝนตกน้อยผิดปกติต่อเนื่องในปี 2557-2558 ส่งผลทำให้เกิดภัยแล้งรุนแรงขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะปี 2558 ที่มีฝนตกน้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก

ปรากฎการณ์เอลนิโนกำลังแรงมาก (Very Strong Elnino/Super Elnino) แต่หลังจากนั้นอีกเพียงปีเดียวกลับเกิดสถานการณ์ฝนตกมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในปี 2560 โดยที่ปริมาณฝนใกล้เคียงปี 2554 แต่ต่อมาในปี 2561 ปริมาณฝนกลับลดลงอย่างมาก และลดลงต่อเนื่องมาถึงปี 2562 ที่ฝนตกน้อยที่สุดทำลายสถิติปี 2558 โดยปี 2562 มีฝนตกน้อยกว่าปกติถึง 17% ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการได้รับอิทธิพล จากปรากฏการณ์เอลนีโนกำลังอ่อน (Weak Elnino) ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าความถี่ของการเกิดฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดสลับกันกับฝนตกมากกว่าปกติมีเพิ่มมากขึ้น





หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


กราฟแสดงการเกิดปรากฎการณ์เอลนิโนและลานินาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน










ปริมาณฝนรายภาค
เปรียบเทียบข้อมูลสถิติฝนรายปีย้อนหลัง

จากการเปรียบเทียบข้อมูลปริมาณฝนรายภาคของปี 2562 กับค่าปกติและค่าฝนรายปีย้อนหลังในรอบ 39 ปี จะเห็นได้ว่าปี 2562 นี้ทุกภาคของประเทศมีปริมาณฝนต่ำกว่าปกติในทุกภาค และเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังพบว่าภาคเหนือมีปริมาณฝนลดลงจากปีที่แล้วค่อนข้างมาก โดยฝนตกน้อยกว่าปกติ 20% ซึ่งน้อยเป็นอันดับที่ 2 รองจากปี 2536 รวมถึงน้อยกว่าปี 2553 และ 2558 ที่เกิดภัยแล้งรุนแรงในพื้นที่ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือปริมาณฝนลดลงจากปีที่แล้วค่อนข้างมากเช่นกัน โดยฝนตกน้อยกว่าปกติ

13% ซึ่งน้อยเป็นอันดับที่ 5 รองจากปี 2536 2558 2541 และ 2548 แต่มากกว่าปี 2558 ที่เกิดภัยแล้งรุนแรงในพื้นที่ สำหรับภาคกลาง ปีนี้ปริมาณฝนลดลงจากปีที่แล้วมาก รวมถึงเป็นปริมาณฝนที่น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลในรอบ 39 ปี โดยฝนตกน้อยกว่าปกติถึง 26% และจะเห็นได้ว่าหลังจากปี 2554 เป็นต้นมา มีเพียงปี 2560 เพียงปีเดียวเท่านั้นที่มีฝนตกมาก ส่วนภาคตะวันออกปริมาณฝนลดลงจากปีที่แล้วค่อนข้างมากเช่นกัน โดยฝนตกต่ำกว่าปกติ 15% น้อยที่สุดเป็นอันดับที่ 3 รองจากปี 2535 และ 2540

รวมถึงปริมาณฝนน้อยกว่าปี 2547 และ 2548 ที่ภาคตะวันออกประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรง สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันออก ปีนี้ปริมาณฝนตกต่ำกว่าปกติถึง 18% น้อยเป็นอันดับ 2 รองจากปี 2533 และจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา ภาคใต้ฝั่งตะวันออกไม่เคยเกิดสถานการณ์ฝนตกน้อยกว่าปกติเลย จนมาถึงปี 2562 ที่เกิดสถานการณ์ขึ้นอีกครั้ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกน้อยกว่าปกติ 16% ลดลงจากปีที่แล้วมาก ซึ่งหากเทียบกับปี 2558 จะพบว่าปีนี้มีฝนตกมากกว่าค่อนข้างมาก



























หมายเหตุ : ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา