ปริมาณฝน



การกระจายตัวของฝน ปี 2561
และความผิดปกติของฝนเมื่อเทียบกับข้อมูลสถิติย้อนหลังในอดีต

ปี 2561 ประเทศไทยมีปริมาณฝนฉลี่ยทั้งประเทศประมาณ 1,456 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 11 มิลลิเมตร หรือประมาณ 0.75% โดยมีฝนตกมากกระจุกตัวบริเวณขอบๆ ของประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ในบางพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน และแม่ฮ่องสอน ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในบางพื้นที่ของจังหวัดบึงกาฬ นครพนม

มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ภาคกลางตอนล่างบริเวณจังหวัดลพบุรี สระบุรี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียง ตอนบนของภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีจนถึงจังหวัดชุมพร และบริเวณ 3 จังหวัดชายแดนใต้ บริเวณจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

และจะเห็นได้ว่าปีนี้มีฝนตกน้อยกว่าปกติครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างในทุกภาค (พื้นที่สีแดง) โดยเฉพาะบริเวณภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และทางด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติค่อนข้างมาก ซึ่งจากภาพแผนที่ฝนจะเห็นว่ามีพื้นที่สีเหลืองครอบคลุมเป็นบริเวณกว้าง








หมายเหตุ :
ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา




ปริมาณฝนทั้งประเทศ
เปรียบเทียบข้อมูลสถิติฝนรายปีย้อนหลังในรอบ 38 ปี

ปี 2561 มีปริมาณฝนลดลงจากปี 2560 ค่อนข้างมาก โดยน้อยกว่าถึง 373 มิลลิเมตร หรือคิดเป็น 20% และหากเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 38 ปี พบว่ามีปีที่มีปริมาณฝนมากกว่าปกติอยู่ทั้งสิ้น 10 ปี ได้แก่ ปี 2531 2537 2539 2542 2543 2544 2549 2554 2556 และ ปี 2560 ปีที่ปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ 13 ปี ได้แก่ ปี 2525 2530 2532 2534 2535 2536 2540 2541 2546 2547 2548 2557 และ ปี 2558 และปีที่มีปริมาณฝนใกล้เคียงปกติ 13 ปี ได้แก่ ปี 2526 2527 2528 2529

2533 2538 2545 2550 2552 2553 2555 2559และในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมานี้ ปริมาณฝนของประเทศไทยมีความแปรปรวนค่อนข้างสูง โดยในช่วงปี 2552 - 2553 มีฝนตกทั้งประเทศน้อยกว่าปกติ ส่งผลทำให้เกิดภัยแล้งรุนแรงในหลายพื้นที่ ตรงกันข้ามกับปีต่อมาที่มีฝนตกเกินค่าปกติไปค่อนข้างมาก ส่งผลทำให้เกิดมหาอุทกภัยในปี 2554 อย่างที่ทุกคนทราบกัน หลังจากนั้นอีก 2 ปี สถานการณ์ฝนตกน้อยผิดปกติ ได้เกิดขึ้นต่อเนื่องในปี 2557-2558 ส่งผลทำให้เกิดภัยแล้งรุนแรงขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะปี

2558 ที่มีฝนตกน้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์ Super Elnino แต่หลังจากนั้นอีกเพียงปีเดียวกลับเกิดสถานการณ์ฝนตกมาก ที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในปี 2560 โดยที่ปริมาณฝนใกล้เคียงปี 2554 แต่มาในปี 2561 นี้ กลับเกิดสถานการณ์ฝนตกน้อยกว่าปกติขึ้นอีกครั้ง จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าความถี่ของการเกิดฝนตกน้อยกว่าปกติและฝนตกมากกว่าปกติมีเพิ่มมากขึ้น








หมายเหตุ :
ประมาณค่าฝนด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา






ปริมาณฝนรายภาค

ปี 2561 ปริมาณฝนในแต่ละภาคต่างจากค่าเฉลี่ยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยภาคเหนือและภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าปกติประมาณ 2% ภาคใต้

ฝั่งตะวันตกมีฝนมากกว่าปกติ 1% ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางมีฝนน้อยกว่าปกติ 3% ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนน้อยกว่าปกติ 2% ซึ่งหาก

เทียบกับข้อมูลของปีก่อนหน้า จะเห็นได้ว่าปริมาณฝนน้อยกว่าค่อนข้างมากในทุกภาค

ปริมาณฝนรายภาคระหว่างปี 2552-2561





ปริมาณฝนรายเดือน

หากพิจารณาปริมาณฝนเป็นรายเดือน จะเห็นได้ว่า มีเดือนที่มีปริมาณฝนตกมากกว่าปกติ 5 เดือนได้แก่ มกราคม กุมภาพันธ์ เมษายน กรกฎาคม และธันวาคม โดยเดือนเมษายนมีฝนตกมากกว่าปกติมากที่สุด 47% แต่ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่เป็นสถานการณ์ฝนมากกว่าปกติที่เกิดในช่วงหน้าแล้ง ทำให้ไม่ค่อยมีนัยสำคัญมากนักเนื่องจากมีปริมาณฝน

ค่อนข้างน้อย ยกเว้นเดือนกรกฎาคมที่มีฝนตกหนัก ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมหลายพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและบริเวณภาคใต้ตอนบน สำหรับอีก 7 เดือนที่เหลือ มีฝนตกน้อยกว่าปกติค่อนข้างมาก โดยเดือนพฤศจิกายนที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติมากที่สุดถึง 61% ซึ่งเกิดสถานการณ์ฝนตกน้อยกว่าปกติค่อนข้างมากเป็นบริเวณกว้างใน

พื้นที่ภาคใต้ ทั้งนี้สถานการณ์ฝนตกน้อยกว่าปกติได้เกิดขึ้นต่อเนื่อง 4 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ทำให้ในปี 2561 ประเทศไทยมีปริมาณฝนเฉลี่ยรวมทั้งประเทศประมาณ 1,456 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 0.75% และน้อยกว่าปีที่แล้วถึง 20%









การกระจายตัวของฝนเดือน มกราคม

แผนภาพแสดงการกระจายตัวของฝนเดือนมกราคม ปี 2552-2561 เทียบกับค่าเฉลี่ย 30 ปี



               เดือนมกราคม 2561 ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมประมาณ 41 มิลลิเมตร ซึ่งมากกว่าปกติ 28 มิลลิเมตร โดยพื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณฝนมากกว่าปกติ โดยเฉพาะด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านตะวันออกของภาคกลาง บริเวณภาตะวันออก และภาคใต้ตอนล่าง หากเทียบกับปี 2560 พบว่าประเทศไทยมีปริมาณฝนลดลงในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนบริเวณภาคตะวันออกมีปริมาณฝนมากกว่าปี 2560

การกระจายตัวของฝนเดือน กุมภาพันธ์

แผนภาพแสดงการกระจายตัวของฝนเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2552-2561 เทียบกับค่าเฉลี่ย 30 ปี



               เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2561 ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมประมาณ 26 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 7 มิลลิเมตร โดยมีฝนตกมากบริเวณตอนกลางของประเทศไทยรวมถึงบริเวณภาคใต้ตอนบน ส่วนบริเวณขอบประเทศมีปริมาณฝนน้อยกว่าปกติเพียงเล็กน้อย และเมื่อเทียบกับปริมาณฝนปี 2560 พบว่าบริเวณประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบนมีปริมาณฝนมากกว่าปี 2560 ส่วนบริเวณภาคใต้ตอนล่างมีปริมาณฝนน้อยกว่าปี 2560 ในหลายพื้นที่

การกระจายตัวของฝนเดือน มีนาคม

แผนภาพแสดงการกระจายตัวของฝนเดือนมีนาคม ปี 2552-2561 เทียบกับค่าเฉลี่ย 30 ปี



               เดือนมีนาคม ปี 2561 มีปริมาณฝนสะสม 43 มิลลิเมตร ซึ่งน้อยกว่าปกติเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยมีปริมาณฝนน้อยกว่าปกติบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ส่วนบริเวณภาคตะวันออกมีปริมาณฝนมากกว่าปกติ

การกระจายตัวของฝนเดือน เมษายน

แผนภาพแสดงการกระจายตัวของฝนเดือนเมษายน ปี 2552-2561 เทียบกับค่าเฉลี่ย 30 ปี



               เดือนเมษายน ปี 2561 มีปริมาณฝน 125 มิลลิเมตร ซึ่งมากกว่าค่าฝนปกติ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก บางพื้นที่ของภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน

การกระจายตัวของฝนเดือน พฤษภาคม

แผนภาพแสดงการกระจายตัวของฝนเดือนพฤษภาคม ปี 2552-2561 เทียบกับค่าเฉลี่ย 30 ปี



               เดือนพฤษภาคม ปี 2561 ประเทศไทยมีปริมาณฝน 197 มิลลิเมตร น้อยกว่าค่าฝนปกติ เนื่องจากบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ แต่ปริมาณฝนปี 2561 ยังคงน้อยกว่าปริมาณฝนเมื่อปี 2560 ที่มีปริมาณฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย

การกระจายตัวของฝนเดือน มิถุนายน

แผนภาพแสดงการกระจายตัวของฝนเดือนมิถุนายน ปี 2552-2561 เทียบกับค่าเฉลี่ย 30 ปี



               เดือนมิถุนายน ปี 2561 มีปริมาณฝน 177 มิลลิเมตร เท่ากับค่าปกติ แต่มีการกระจายตัวที่ต่างจากปกติ โดยในปี 2561 ประเทศไทยมีฝนตกหนักกระจายตัวบริเวณขอบประเทศ ส่วนบริเวณตอนกลางองประเทศมีปริมาณฝนน้อย

การกระจายตัวของฝนเดือน กรกฏาคม

แผนภาพแสดงการกระจายตัวของฝนเดือนกรกฏาคม ปี 2552-2561 เทียบกับค่าเฉลี่ย 30 ปี



               เดือนกรกฏาคม ปี 2561 ประเทศไทยมีปริมาณฝน 228 มิลลิเมตร มากกว่าค่าปกติประมาณ 39 มิลลิเมตร และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 2556-2562) ประเทศไทยมีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ และมีฝนตกหนักบริเวณด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ปี 2561 มีปริมาณฝนน้อยบริเวณตอนกลางของประเทศ และภาคใต้ตอนล่าง

การกระจายตัวของฝนเดือน สิงหาคม

แผนภาพแสดงการกระจายตัวของฝนเดือนสิงหาคม ปี 2552-2561 เทียบกับค่าเฉลี่ย 30 ปี



               เดือนสิงหาคม ปี 2561 ประเทศไทยมีปริมาณฝน 193 มิลลิเมตร น้อยกว่าปีที่ผานมา และน้อยกว่าค่าปกติประมาณ 38 มิลลิเมตร โดยปี 2561มีลักษณะการกระจายตัวคล้ายกับปกติ แต่มีปริมาณฝนที่น้อยกว่าในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาตะวันออก และภาคใต้ตอนล่าง

การกระจายตัวของฝนเดือน กันยายน

แผนภาพแสดงการกระจายตัวของฝนเดือนกันยายน ปี 2552-2561 เทียบกับค่าเฉลี่ย 30 ปี



               เดือนกันยายน ปี 2561 ประเทศไทยมีปริมาณฝน 195 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติ 47 มิลลิเมตร และเป็นปริมาณฝนน้อยที่สุดเมื่อเมื่อเทียบกับข้อมูลสถิติย้อนหลังในช่วง 10 ปี โดยประเทศไทยมีปริมาณฝนน้อยกว่าปกติเกือบทั่วประเทศ ยกเว้นบริเวณด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้บริเวณจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ทีมีปริมาณฝนมากกว่าปกติเล็กน้อย

การกระจายตัวของฝนเดือน ตุลาคม

แผนภาพแสดงการกระจายตัวของฝนเดือนตุลาคม ปี 2552-2561 เทียบกับค่าเฉลี่ย 30 ปี



               เดือนตุลาคม ปี 2561 มีปริมาณฝนสะสมประมาณ 136 มิลลิเมตร น้อยกว่าค่าปกติประมาณ 27 มิลลิเมตร และน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลสถิติย้อนหลัง 10 ปี โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันออกของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนล่าง โดยมีปริมาณฝนสะสมน้อยกว่าปกติค่อนข้างมาก

การกระจายตัวของฝนเดือน พฤศจิกายน

แผนภาพแสดงการกระจายตัวของฝนเดือนพฤศจิกายน ปี 2552-2561 เทียบกับค่าเฉลี่ย 30 ปี



               เดือนพฤศจิกายน ปี 2561 มีปริมาณฝนสะสมประมาณ 31 มิลลิเมตร ซึ่งน้อยกว่าปกติถึง 61% โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ตอนล่างที่มีปริมาณฝนน้อยกว่าปกติอย่างเห็นได้ชัด ต่างกับบริเวณภาคใต้ตอนบนที่มีปริมาณฝนสะสมมากกว่าปกติเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

การกระจายตัวของฝนเดือน ธันวาคม

แผนภาพแสดงการกระจายตัวของฝนเดือนธันวาคม ปี 2552-2561 เทียบกับค่าเฉลี่ย 30 ปี



               เดือนธันวาคม ปี 2561 ปริมาณฝนสะสมประมาณ 63 มิลลิเมตร ซึ่งมากกว่าปกติประมาณ 23 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณฝนสะสมมากกว่าปกติเกือบทั่วประเทศ โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกที่มีปริมาณฝนมากกว่าปกติประมาณ 160 มิลลิเมตร ส่วนบริเวณด้านตะวันออกของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางพื้นที่มีปริมาณฝนน้อยกว่าปกติเล็กน้อย

ปริมาณฝนรายฤดูกาล
เปรียบเทียบสถานการณ์ฝนในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง

ช่วงฤดูฝนปี 2561 มีฝนตกเฉลี่ยทั้งฤดูประมาณ 1,127 มิลลิเมตร น้อยกว่าปกติประมาณ 5% พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกค่อนข้างน้อย โดยในภาคเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่มีฝนตกน้อย และถึงแม้ตอนบนของภาคจะมีฝนมากกว่าค่าเฉลี่ย แต่ฝนที่ตกก็จะไหลลงสู่แม่น้ำโขงทำให้กักเก็บน้ำไว้ไม่ได้และหากเทียบกับปีก่อนหน้าจะพบว่าฝนน้อยกว่ามาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่มีฝนตกน้อยกว่าปกติเช่นกัน โดยมีฝนตกมากเพียงบางจังหวัดทางฝั่งตะวันออกภาคที่ติดริมฝั่งแม่น้ำโขงเท่านั้น และหากเทียบกับปี 2560 ปริมาณฝนปีนี้น้อยกว่ามาก ภาคกลางและภาคตะวันออกมีฝนน้อยกว่าปกติเกือบทุกพื้นที่รวมทั้งน้อยกว่าปี 2560 ค่อนข้างมาก ส่วนภาคใต้ฝนใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยแต่น้อยกว่าปีที่

แล้วค่อนข้างมากเช่นกัน สำหรับช่วงฤดูแล้งมีฝนตกเฉลี่ยทั้งฤดูประมาณ 339 มิลลิเมตร มากกว่าปกติถึง 22% โดยเฉพาะพื้นที่ตอนบนของประเทศที่มีฝนกระจุกตัวเพิ่มขึ้นจากปกติค่อนข้างมาก ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก แต่ถึงแม้ฝนจะตกมากกว่าปกติแต่กลับตกน้อยกว่าปีที่แล้วถึง 20%

ฤดูฝน (พ.ค.-ต.ค.)

ฤดูแล้ง (พ.ย.-เม.ย.)

หมายเหตุ: ค่าปกติ คือ ค่าเฉลี่ย 30 ปี ตั้งแต่ปี 2524-2553