บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุ "ซินลากู" (SINLAKU)
สิงหาคม 2563



อิทธิพลของพายุโซนร้อน “ซินลากู” (SINLAKU) เริ่มส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2563 ซึ่งในขณะนั้นพายุยังคงเคลื่อนตัวอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ แต่ต่อมาพายุดังกล่าวได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนาม แล้วลดกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันในระหว่างเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณ อ.ปัว จ.น่าน ในช่วงเช้าวันที่ 3 สิงหาคม เวลาประมาณ 04.00 น. ซึ่งพายุดังกล่าวได้สลายตัวไปอย่างรวดเร็วในเวลา 07.00 น. ซึ่งหย่อมความ

กดอากาศต่ำที่สลายตัวจากพายุได้เคลื่อนแผ่ปกคลุมในหลายพื้นที่ของภาคเหนือทำให้เกิดฝนตกหนักในช่วงวันที่ 3-5 สิงหาคม 2563 โดยเฉพาะในวันที่ 3 สิงหาคม 2563 ที่มีฝนตกหนักมากในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แต่ทั้งนี้ปริมาณฝนในพื้นที่ได้ลดลงอย่างรวดเร็วในวันที่ 4-5 สิงหาคม 2563 นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงที่พายุเคลื่อนเข้าใกล้ประเทศไทย ยังส่งผลทำให้ด้านตะวันตกของประเทศรวมถึงภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกเพิ่มขึ้น เนื่องจากอิทธิพลของพายุส่งผลทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้นด้วย ทั้งนี้จังหวัดที่มีฝน

ตกหนักมาก ตรวจวัดปริมาณฝนได้เกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน ในช่วงวันที่ 2 – 7 สิงหาคม 2563 ประกอบด้วย ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา พิษณุโลก แพร่ ลำปางและอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม บึงกาฬ มหาสารคาม ยโสธร เลยและหนองบัวลำภู ภาคกลาง บริเวณจังหวัดกาญจนบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดสระแก้วและตราด ภาคใต้บริเวณจังหวัดระนอง พังงาและชุมพร





Tropical Storm “SINLAKU” had begun to influence heavy rainfall over a wide area in the upper Northeast since August 2, 2020, while it was still moving in the South China Sea. Later the storm made landfall in Vietnam and reduced to a tropical depression during the movement through Laos into Thailand at Pua District, Nan province in the early morning of August 3 at about 4:00 a.m. The storm quickly dissipated at 7:00 a.m. The low-pressure cell that had decayed from the storm spread over many areas

causing of the northern region, heavy rains during August 3-5, 2020, especially on August 3, 2020, but the amount of rainfall dropped sharply on August 4-5, 2020. During SINLAKU approaching Thailand, the influence of the storm made the southwest monsoon stronger. This resulted in more rainfall in the west of the country including the west side of the South. Many provinces had very heavy rain with rainfall volume higher than 90 millimeters per day during August 2 – 7, 2020. These included provinces in the

northern region such as Chiang Rai, Chiang Mai, Tak, Nan, Phayao, Phitsanulok, Phrae, Lampang and Uttaradit, provinces in the northeastern region such as Kalasin, Nakhon Phanom, Bueng Kan, Mahasarakham, Yasothon, Loei and Nong Bua Lamphu, provinces in the central region such as Kanchanaburi and Prachuap Khiri Khan, provinces in the eastern region such as Sa Kaeo and Trat, and provinces in the southern region such as Ranong, Phang Nga and Chumphon.



ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2563 เวลา 18.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานความเสียหายจากอิทธิพลพายุ "ซินลากู" (SINLAKU) ซึ่งมีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำไหลป่าหลากทั้งหมด 13 จังหวัด รวม 46 อำเภอ 133 ตำบล 609 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ

22,809 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ที่ จ.หนองบัวลำภู จ.พิษณุโลก และ จ.อุดรธานี มีผู้บาดเจ็บ 1 ราย ที่ จ.พิษณุโลก นอกจากนี้ยังมีจังหวัดได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดินสไลด์ 3 จังหวัด รวม 4 อำเภอ 6 ตำบล 6 หมู่บ้าน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต อีกทั้งยังเกิดวาตภัย ในพื้นที่ 15 จังหวัด

รวม 63 อำเภอ 272 ตำบล 1,075 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 3,897 หลัง โรงเรียน 1 แห่ง เสียชีวิต 4 ราย ที่ จ.นครศรีธรรมราช 1 ราย จ.ภูเก็ต 1 ราย จ.สุราษฎร์ธานี 2 ราย สูญหาย 3 ราย ที่ จ.สุราษฎร์ธานี





Department of Disaster Prevention and Mitigation reported on August 6, 2020 at 6:00 p.m. about the damage from the influence of the tropical storm SINLAKU. A total of 13 provinces were affected by flash flood events including 46 districts, 133 sub-districts, and 609 villages. The damage and loss occurred to 22,809

households, with 3 deaths in Nong Bua Lamphu, Phitsanulok and Udon Thani provinces, and 1 person injured in Phitsanulok Province. Three provinces had landslide events including 4 districts, 6 sub-districts, and 6 villages. No injuries and deaths were found. Furthermore, the windstorm disaster affected 15

provinces, which included 63 districts, 272 sub-districts, 1,075 villages. One school and 3,897 houses were damaged. There were 4 deaths, 1 case in Nakhon Si Thammarat, 1 case in Phuket and 2 cases in Surat Thani, and 3 people in Surat Thani Province were missing.




นอกจากนี้ เหตุการณ์ฝนตกหนักที่เกิดขึ้น ทำให้น้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยในช่วงวันที่ 2-8 สิงหาคม 2563 เขื่อนที่มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมมากกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร มีทั้งหมด 5 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำไหลเข้ามากที่สุด 527.58 ล้านลูกบาศก์เมตร รองลงมาคือเขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี 252.65 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนภูมิพล จ.ตาก 195.69 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี 115.71 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี 115.01 ล้านลูกบาศก์เมตร และถึงแม้จะมี

ฝนตกเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและกลับพบว่าปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่มีค่อนข้างน้อย อีกทั้งฝนที่ตกหนักบริเวณจังหวัดเลย ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของต้นน้ำป่าสัก แต่พบว่าปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี กลับมีน้อยมาก ถึงแม้พายุ “ซินลากู” จะทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณน้ำที่ใช้การได้จริงของแต่ละเขื่อนกลับยังคงมีน้อยมาก โดยจากรายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนวันที่ 9 สิงหาคม 2563 มีอยู่ 19 เขื่อน ที่สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤต ประกอบด้วย 1) เขื่อนภูมิพล จ.ตาก 2) เขื่อนแควน้อย จ.พิษณุโลก 3) เขื่อนแม่มอก

จ.ลำปาง 4) เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ 5) เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา 6) เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา 7) เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น 8) เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี 9) เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ 10) เขื่อนมูลบน จ.นครราชสีมา 11) เขื่อนน้ำพุง จ.สกลนคร 12) เขื่อนลำแซะ จ.นครราชสีมา 13) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี 14) เขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี 15) เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี 16) เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี 17) เขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา 18) เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก 19) เขื่อนประแสร์ จ.ระยอง







The heavy rain incident increased the inflow volume of large reservoirs in the affected areas. During August 2-8, 2020, there were 5 reservoirs with accumulated inflow more than 100 million cubic meters (mcm), namely Sirikit Dam in Uttaradit Province, with the highest water inflow of 527.58 mcm, followed by the Vajiralongkorn Dam in Kanchanaburi Province, 252.65 mcm, Bhumibol Dam in Tak Province, 195.69 mcm, Rajjaprabha Dam in Surat Thani Province, 115.71 mcm, and Srinagarind Dam in Kanchanaburi Province, 115.01 mcm. Contrarily, there was more rain in the Northeast, but the amount of water flowing into large reservoirs in the area was relatively

small. Heavy rain in the area of Loei Province, which is part of the Pasak Watershed, did not increase inflow volume of Pasak Jolasid Dam in Lopburi Province. Therefore, even though the tropical storm SINLAKU increased inflow volume in many dams, the actual water available in each dam was still quite low. According to the Royal Irrigation Department's water situation report of large reservoirs in entire country on August 9, 2020, there were 19 dams with a critically low water situation consisting of 1) Bhumibol dam in Tak Province, 2) Khwae Noi Dam in Phitsanulok Province, 3) Mae Mok Dam in Lampang Province, 4) Lampao Dam in Kalasin Province, 5) Lam Takhong Dam in Nakhon

Ratchasima Province, 6) Lam Phra Phloeng Dam in Nakhon Ratchasima Province, 7) Ubol Ratana Dam in Khon Kaen Province, 8) Huai Luang Dam in Udon Thani Province, 9) Lam Nang Rong Dam in Burirum Province, 10) Mun Bon Dam in Nakhon Ratchasima Province, 11) Nam Pung Dam in Sakon Nakhon Province, 12) Lam Sae in Nakhon Ratchasima Province, 13) Pasak Dam in Lopburi Province, 14) Krasiao Dam in Suphan Buri Province, 15) Thap Salao Dam in Uthai Thani Province, 16) Bang Pra Dam in Chonburi Province, 17) Klong Si Yat Dam in Chachoengsao Province, 18) Khun Dan Prakan Chon Dam in Nakhon Nayok Province, and 19) Prasae Dam in Rayong Province.