ปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่
ที่มา : กรมชลประทาน / การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย



อิทธิพลจากพายุโซนร้อน "ซินลากู" (SINLAKU) ที่ส่งผลกระทบโดยตรงทำให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ รวมทั้งยังส่งผลโดยอ้อมทำให้มีฝนตกเพิ่มขึ้นตลอดแนวทางด้านตะวันตกของประเทศตั้งแต่ภาคเหนือจนถึงภาคใต้ เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้น้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นเกือบทุกเขื่อน โดยในช่วงวันที่ 2-8 สิงหาคม 2563 เขื่อนที่มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมมากกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร มีทั้งหมดเพียง 5 เขื่อน เท่านั้น จากทั้งหมด 35 เขื่อน โดยเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำไหลเข้ามากที่สุด 527.58 ล้านลูกบาศก์เมตร รองลงมาคือเขื่อนวชิราลงกรณ

จ.กาญจนบุรี 252.65 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนภูมิพล จ.ตาก 195.69 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี 115.71 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี 115.01 ล้านลูกบาศก์เมตร และถึงแม้จะมีฝนตกเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและกลับพบว่าปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่มีค่อนข้างน้อย อีกทั้งฝนที่ตกหนักบริเวณจังหวัดเลย ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของต้นน้ำป่าสัก แต่พบว่าปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี กลับมีน้อยมาก ถึงแม้พายุ “ซินลากู” จะทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณน้ำที่ใช้การได้จริงของแต่ละเขื่อนกลับยังคงมีน้อยมาก โดยจากรายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนวันที่ 9 สิงหาคม 2563 มีอยู่

19 เขื่อน ที่สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤต ประกอบด้วย 1) เขื่อนภูมิพล จ.ตาก 2) เขื่อนแควน้อย จ.พิษณุโลก 3) เขื่อนแม่มอก จ.ลำปาง 4) เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ 5) เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา 6) เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา 7) เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น 8) เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี 9) เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ 10) เขื่อนมูลบน จ.นครราชสีมา 11) เขื่อนน้ำพุง จ.สกลนคร 12) เขื่อนลำแซะ จ.นครราชสีมา 13) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี 14) เขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี 15) เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี 16) เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี 17) เขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา 18) เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก 19) เขื่อนประแสร์ จ.ระยอง




เขื่อน ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสม
ช่วงวันที่ 2-8 ส.ค. 63
น้ำใช้การได้จริง ณ วันที่ 9 ส.ค. 63
(% เทียบความจุอ่าง)
ภาคเหนือ
เขื่อนภูมิพล      195.69 2
เขื่อนสิริกิติ์      527.58 9
เขื่อนแม่งัด      32.87 29
เขื่อนกิ่วลม      22.59 39
เขื่อนแม่กวง      28.45 31
เขื่อนกิ่วคอหมา      40.19 37
เขื่อนแควน้อย      46.45 14
เขื่อนแม่มอก      0.14 7
รวมภาคเหนือ      893.96 6
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขื่อนลำปาว      33.99 24
เขื่อนลำตะคอง      0.58 23
เขื่อนลำพระเพลิง      5.48 27
เขื่อนน้ำอูน      12.85 30
เขื่อนอุบลรัตน์      31.89 -10
เขื่อนสิรินธร      34.32 14
เขื่อนจุฬาภรณ์      6.55 12
เขื่อนห้วยหลวง      5.8 17
เขื่อนลำนางรอง      2.3 14
เขื่อนมูลบน      0.72 13
เขื่อนน้ำพุง      3.65 14
เขื่อนลำแซะ      3.25 13
รวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ      141.38 14
ภาคกลาง  
เขื่อนป่าสักฯ      0.44 8
เขื่อนกระเสียว      0.19 6
เขื่อนทับเสลา      0 9
รวมภาคกลาง      0.63 8
ภาคตะวันตก  
เขื่อนศรีนครินทร์      115.01 9
เขื่อนวชิราลงกรณ      252.65 8
รวมภาคตะวันตก      367.66 9
ภาคตะวันออก  
เขื่อนบางพระ      1.3 5
เขื่อนหนองปลาไหล      5.52 64
เขื่อนคลองสียัด      1.94 5
เขื่อนขุนด่านปราการชล      5.27 24
เขื่อนประแสร์      3.49 14
เขื่อนนฤบดินทรจินดา      14.48 27
รวมภาคตะวันออก      32 20
ภาคใต้ 0
เขื่อนแก่งกระจาน      54.62 24
เขื่อนปราณบุรี      18.67 27
เขื่อนรัชชประภา      115.71 26
เขื่อนบางลาง      30.89 53
รวมภาคใต้      219.89 31
รวมทั้งประเทศ 1,655.52 11


ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรายวัน


อิทธิพลของพายุ "ซินลากู" ส่งผลทำให้เขื่อนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องหลายวัน โดยเขื่อนสิริกิติ์ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมมากที่สุดในช่วงที่เกิดพายุ มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรายวัน

สูงสุดถึง 112.65 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ในวันที่ 4 สิงหาคม 2563 ส่วนเขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรายวันสูงสุดเพียง 46.44 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 6 สิงหาคม 2563 สำหรับเขื่อนวชิราลงกรณ ที่ได้รับผลกระทบโดยอ้อมจากพายุ มีปริมาณน้ำไหลลง

เขื่อนรายวันสูงสุด 66.41 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 4 สิงหาคม 2563 สำหรับเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อิทธิพลของพายุไม่ได้ส่งผลทำให้น้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด รายละเอียดเพิ่มเติมดังกราฟด้านล่าง


เขื่อนภูมิพล จ.ตาก
เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์
เขื่อนแม่งัด จ.เชียงใหม่
เขื่อนแม่กวง จ.เชียงใหม่
เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง
เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี
เขื่อนอุบลรัตน์
เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี
เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี


ข้อมูลเพิ่มเติม : คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ www.thaiwater.net