Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 27/2564 (ระหว่างวันที่ 29 มิ.ย.-5 ก.ค. 64)

สัปดาห์นี้หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามและลาวตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทย มีกำลังอ่อนลงในช่วงปลายสัปดาห์ และลมตะวันตกในระดับลมชั้นบนพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้สัปดาห์นี้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกระจายตัวบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงต้นสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์ ส่วนภาคตะวันออกและภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกระจายตัวบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์

Attachments:
Download this file (20210705_Predict_SendRid.pdf)20210705_Predict_SendRid.pdf[ ]3673 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 05 กรกฏาคม 2021 เวลา 16:36 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 26/2564 (ระหว่างวันที่ 22-28 มิ.ย. 64)

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุม ทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทยยังคงมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักได้ในบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและด้านตะวันตกของประเทศ หลังจากนั้นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทะเลอ่าวไทย และประเทศไทย มีกำลังปานกลาง ส่งผลให้ประเทศไทยจะมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางกระจายตัวอยู่ทั่วทุกภาค กับมีฝนตกหนักได้ในบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของประเทศ

Attachments:
Download this file (20210628_Predict_SendRid.pdf)20210628_Predict_SendRid.pdf[ ]4037 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 29 มิถุนายน 2021 เวลา 09:57 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 25/2564 (ระหว่างวันที่ 15-21 มิ.ย. 64)

จากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมีพายุโซนร้อน “โคะงุมะ” ที่สลายตัวปกคลุมประเทศลาว ในช่วงวันที่ 13-15 มิถุนายน 2564 ทำให้มีฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือและมีฝนตกหนักมากกว่า 90 มิลลิเมตร บริเวณจังหวัด น่าน แพร่ พะเยา และเชียงราย ส่งผลให้ในช่วงวันที่ 15-17 มิถุนายน 2564 เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมถึง 165 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 16 มิถุนายน 2564 มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนมากสุด 74 ล้าน ลูกบาศก์

Attachments:
Download this file (20210621_Predict_SendRid.pdf)20210621_Predict_SendRid.pdf[ ]3597 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 22 มิถุนายน 2021 เวลา 16:52 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 24/2564 (ระหว่างวันที่ 8-14 มิ.ย. 64)

จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “โคะงุมะ” ในช่วงวันที่ 11-13 มิ.ย. 64 ประกอบกับร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือ ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ โดยสถานีโทรมาตรอัตโนมัติภายใต้คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมง (ณ วันที่ 14 มิ.ย. 64) สูงสุด ที่ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน 250 มม. อ.เชียงกลาง จ.น่าน 240 มม. และอ.ปง จ.พะเยา 205 มม. ทำให้ในวันที่ 14 มิ.ย. 64 ระดับน้ำแม่น้ำน่าน บริเวณอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เพิ่มสูงขึ้น 5 เมตร ภายในเวลา 14 ชั่วโมง และแม่น้ำเงิน บริเวณอำเภอปง จังหวัดพะเยา เพิ่มสูงขึ้น 2 เมตร ภายในเวลา 11 ชั่วโมง และระดับน้ำทั้งสองสายยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

Attachments:
Download this file (20210614_Predict_SendRid.pdf)20210614_Predict_SendRid.pdf[ ]3878 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 15 มิถุนายน 2021 เวลา 10:25 น.
 
รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 23/2564 (ระหว่างวันที่ 1-7 มิ.ย. 64)

เดือนพฤษภาคม 2564 มีปริมาณฝนเฉลี่ยเพียง 130 มิลลิเมตร ซึ่งน้อยกว่าปกติ 31% โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ 78 มม. (-44%) 61 มม. (-38%) และ 61 มม.(-33%) ตามลำดับ ทำให้เดือนพฤษภาคมมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ในภาคเหนือ 385 ล้าน ลบ.ม. และ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยามีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เพียง 280 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าเดือนเมษายนที่ผ่านมา 70 ล้าน ลบ.ม. และปัจจุบัน(7 มิ.ย. 64) มีปริมาณน้ำใช้การเพียง 1,426 ล้าน ลบ.บ. ซึ่งหากเทียบกับวันเดียวกันของปีที่ฝนแล้งในอดีต พบว่า ปี 2564 มีปริมาณน้ำใช้การน้อยเป็นลำดับที่ 5 โดยปีที่มีปริมาณน้ำใช้การได้น้อยสุดคือ ปี 2553 และ 2563 ที่มีน้ำใช้การเท่ากันคือ 1,158 ล้าน ลบ.ม. รองลงมาคือ ปี 2556 และปี 2559 ซึ่งมีน้ำใช้การ 1,340 ล้าน ลบ.ม. และ1,389 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับ แม้ว่าปีนี้ปริมาณน้ำใช้การของ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่ได้น้อยที่สุด แต่อาจส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนน้ำได้มากกว่าปีอื่นๆ เนื่องจากเริ่มมีการเพาะปลูกข้าวนาปี ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนเมษายน โดยเพิ่มขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ย และมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ถึง 3 ล้านไร่ ซึ่งปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยาอาจมีไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก โดยเฉพาะช่วงที่ฝนตกลดลงน้อยกว่าค่าเฉลี่ยช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้

Attachments:
Download this file (20210607_Predict_SendRid.pdf)20210607_Predict_SendRid.pdf[ ]3906 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 09 มิถุนายน 2021 เวลา 16:56 น.
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ถัดไป > สุดท้าย >>

หน้า 10 จาก 73
Home รายงานรายสัปดาห์ย้อนหลัง