บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุ "ไหหม่า" (24-30 มิถุนายน 2554)

ภาพเส้นทางพายุ โดย Unisys Weather



ที่มา : UNISYS Weather (http://weather.unisys.com/hurricane/w_pacific/2011/index.html)

วันที่ 22 มิถุนายน 2554 พายุโซนร้อน “ไหหม่า” (Haima) ในทะเลจีนใต้ตอนบน เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือ และเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเหนือเกาะไหหลำ ทางตอนใต้ของประเทศจีน ในวันที่ 23 มิถุนายน 2554 ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน 2554 ศูนย์กลางของพายุอยู่บริเวณอ่าวตังเกี๋ย ห่างไปทางทิศตะวันออกของกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ประมาณ 250 กิโลเมตร หลังจากนั้นได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกและขึ้นฝั่งประเทศเวียดนาม โดยพายุมีกำลังอ่อนลงเป็นลำดับ


ต่อมาในวันที่ 25 มิถุนายน 2554 พายุดีเปรสชั่น “ไหหม่า” มีศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศลาว หรืออยู่ห่างออกไปทางทิศเหนือของจังหวัดหนองคายประมาณ 180 กิโลเมตร ได้เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ โดยในวันที่ 26 มิถุนายน 2554
หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชั่น “ไหหม่า” ได้ปกคลุมบริเวณจังหวัดน่าน ทำให้ภาคเหนือมีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพายุ "ไหหม่า" โดยกรมอุตุนิยมวิทยา


ภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 โดย มหาวิทยาลัยโคช

23/6/2011[14GMT]

24/6/2011[11GMT]

25/6/2011[09GMT]

26/6/2011[11GMT]

27/6/2011[08GMT]

28/6/2011[11GMT]

29/6/2011[14GMT]

30/6/2011[11GMT]
หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง

จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่ากลุ่มเมฆค่อนข้างหนา เริ่มเคลื่อนตัวเข้าปกคลุมพื้นที่ประเทศไทยทางด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน และเคลื่อนตัวพาดผ่านภาคเหนือตอนบน จนถึงวันที่ 26 มิถุนายน ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในบริเวณที่กลุ่มเมฆปกคุลม และเกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัด เช่น น่าน แพร่ พะเยา เชียงราย อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก ตาก ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน และหลังจากวันที่ 26 มิถุนายน ยังคงมีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นเดือน มิ.ย. แต่มีปริมาณลดลง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพแผนที่อากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา

23/6/2011[13UTC]

24/6/2011[13UTC]

25/6/2011[13UTC]

26/6/2011[07UTC]

27/6/2011[13UTC]

28/6/2011[07UTC]

29/6/2011[19UTC]

30/6/2011[13UTC]

หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา UTC + 7 ชั่วโมง

อิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจากพายุ "ไหหม่า" ส่งผลให้เกิดฝนหนักหนักบริเวณภาคเหนือตอนบน ในช่วงวันที่ 24-26 มิถุนายน หลังจากนั้นยังคงมีฝนตกต่อเนื่องในตอนบนของประเทศ อันเป็นผลมาจากร่องมรสุมพาดผ่านประเทศพม่า ลาว และเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ยังคงมีฝนกระจาย และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือ และตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน ปริมาณฝนในพื้นที่ได้ลดลง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม



แผนที่ความเร็วลมที่ระดับความสูง 1.5 ก.ม. โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)


23/6/2011[00UTC]

23/6/2011[12UTC]

24/6/2011[00UTC]

24/6/2011[12UTC]
km/hr

25/6/2011[00UTC]

25/6/2011[12UTC]

26/6/2011[00UTC]

26/6/2011[12UTC]

27/6/2011[00UTC]

27/6/2011[12UTC]

28/6/2011[00UTC]

28/6/2011[12UTC]

29/6/2011[00UTC]

29/6/2011[12UTC]

30/6/2011[00UTC]

30/6/2011[12UTC]

หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา UTC + 7 ชั่วโมง

จากภาพแผนที่ความเร็วลมที่ระดับ 1.5 กิโลเมตร เหนือระดับน้ำทะเล พบว่าช่วงวันที่ 23-26 มิถุนายน 2554 ความเร็วลมบริเวณทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย อยู่ที่ประมาณ 50-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นผลมาจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านบริเวณดังกล่าวมีกำลังค่อนข้างแรง หลังจากนั้นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ได้อ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่อง

ส่วนตอนบนของประเทศ บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็วลมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 23- 26 มิถุนายน 2554 เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุ "ไหหม่า" โดยเฉพาะวันที่ 25-26 มิถุนายน 2554 ที่ความเร็วลมพัดผ่านพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉีียงเหนือ อยู่ที่ประมาณ 50-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หลังจากนั้นความเร็วลมได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม



แผนที่อากาศระดับความสูง 1.5 ก.ม. โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)

23/6/2011[00UTC]

23/6/2011[12UTC]

24/6/2011[00UTC]

24/6/2011[12UTC]
hPa

25/6/2011[00UTC]

25/6/2011[12UTC]

26/6/2011[00UTC]

26/6/2011[12UTC]

27/6/2011[00UTC]

27/6/2011[12UTC]

28/6/2011[00UTC]

28/6/2011[12UTC]

29/6/2011[00UTC]

29/6/2011[12UTC]

30/6/2011[00UTC]

30/6/2011[12UTC]

หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา UTC + 7 ชั่วโมง

จากภาพแผนที่อากาศระดับสูง 1.5 ก.ม. เหนือระดับน้ำทะเล พบว่าหย่อมความกดอากาศต่ำเริ่มเข้าปกคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2554 และมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 24-25 มิถุนายน 2554 ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของจังหวัดน่าน เชียงราย แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ และได้ไหลเข้าท่วมพื้นที่ตอนล่างบริเวณจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร หลังจากนั้นหย่อมความกดอากาศต่ำได้ลดกำลังลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน จนถึงสิ้นเดือน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม



แผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนสะสมรายวัน ล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 ก.ม. และ 9x9 ก.ม.
จากแบบจำลองสภาพอากาศ(WRF Model)
โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร คาดการณ์เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2554
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)

23/6/2011 [3x3km]

24/6/2011 [3x3km]

25/6/2011 [3x3km]
 

26/6/2011
[9x9km]


27/6/2011
[9x9km]


28/6/2011
[9x9km]


29/6/2011
[9x9km]

precipitation(mm/day)

จากแผนภาพคาดการณ์ฝนล่วงหน้า 7 วัน ความละเอียด 3x3 กิโลเมตร และ 9x9 กิโลเมตร จากแบบจำลองสภาพอากาศ WRF Model พบว่าช่วงวันที่ 24-26 มิถุนายน 2554 มีฝนค่อนข้างมากบริเวณด้านตะวันออกของภาคเหนือ(จังหวัดน่าน เีชียงราย พะเยา) ด้านตะวันตกของภาคเหนือ(จังหวัดตากและแม่ฮ่องสอน) และบริเวณตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(จังหวัดหนองคาย
สกลนคร นครพนม เลย) และเมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงจากภาพเรดาร์ตรวจอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยาและแผน
ภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันจาก NASA พบว่าแผนภาพคาดการณ์ฝนล่วงหน้าจาก WRF Model มีความสอดคล้องตรงกันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง


ภาพเรดาร์ตรวจอากาศ โดย กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์เชียงราย รัศมี 240 กิโลเมตร

23/6/2554 23:27GMT

24/6/2554 22:27GMT

25/6/2554 14:27GMT

26/6/2554 02:27GMT

27/6/2554 02:27GMT

28/6/2554 19:27GMT

29/6/2554 07:27GMT

30/6/2554 13:27GMT
เรดาร์พิษณุโลก รัศมี 240 กิโลเมตร

24/6/2554 22:25GMT

25/6/2554 09:25GMT

26/6/2554 04:25GMT

27/6/2554 02:25GMT

28/6/2554 05:25GMT

29/6/2554 17:25GMT

30/6/2554 14:25GMT

01/7/2554 06:25GMT
dBz                               หมายเหตุ : เวลาประเทศไทย = เวลา GMT + 7 ชั่วโมง

ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์เชียงราย และเรดาร์พิษณุโลก รัศมี 240 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง พบว่ามีฝนตกค่อนข้างมากในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนตั้งแต่ช่วงวันที่ 24-27 มิถุนายน หลังจากนั้นปริมาณฝนได้ลดลงในช่วงวันที่ 28-29 มิถุนายน และกลับมามีฝนตกอีกครั้งช่วงวันที่ 30 มิถุนายน จนถึงต้นเดือนกรกฎาคม โดยมีฝนมากบริเวณภาคเหนือตอนล่างรวมถึงภาคกลางตอนบน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เรดาร์เชียงราย เรดาร์ิพิษณุโลก

แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน โดย NASA

23/6/54[00Z]- 24/6/54[00Z]

24/6/54[00Z]- 25/6/54[00Z]

25/6/54[00Z]- 26/6/54[00Z]

26/6/54[00Z]- 27/6/54[00Z]

27/6/54[00Z]- 28/6/54[00Z]

28/6/54[00Z]- 29/6/54[00Z]

29/6/54[00Z]- 30/6/54[00Z]

30/6/54[00Z]-1/7/54[00Z]
mm.


จากแผนภาพฝนสะสมของ NASA พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุกตัวบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ช่วงวันที่ 24-26 มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจากพายุไหหม่า เข้าปกคลุมบริเวณพื้นที่ดังกล่าว หลังจากนั้นกลุ่มฝนในพื้นที่ภาคเหนือกระจุกตัวน้อยลงจนถึงสิ้นเดือน ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกลุ่มฝนกระจุกตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงวันที่ 28-30 มิถุนายน

รายละเอียดเพิ่มเติม

การเปรียบเทียบปริมาณฝนพื้นที่ภาคเหนือในเดือนที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม
โดยใช้แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายเดือนที่สังเคราะห์จากข้อมูลฝนของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


พ.ค. 49

ส.ค.53

พ.ค.54

ส.ค.49

ก.ย.53

มิ.ย.54

ก.ย.49

หมายเหตุ :
กรอบสีแดงเข้ม หมายถึง เกิดน้ำท่วมหนักกระจายวงกว้างในหลายพื้นที่ และระยะเวลาที่น้ำท่วมขังค่อนข้างนาน, กรอบสีส้ม หมายถึง เกิดน้ำท่วมบางพื้นที่ในระยะเวลาสั้น

        จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2554 พบว่าใีนเดือนพฤษภาคม
ปี 2554 มีฝนตกมากเป็นหย่อม ๆ ในบางพื้นที่ และส่งผลให้เกิดน้ำท่วมเป็นระยะสั้น ๆ ในบางพื้นที่เท่านั้น เช่น จ.ลำปาง และ จ.พิจิตร และต่อมาใน
เดือนมิถุนายน 2554 อิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ลดกำลังลงจากพายุ "ไหหม่า" ส่งผลให้มีฝนตกมากทางด้านทิศตะวันออกของภาคเหนือ
บริเวณจังหวัดน่าน เชียงราย พะเยา และทางทิศตะวันตกของภาคบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ ตาก ส่งผลให้ในเบื้องต้นเกิดน้ำท่วมหนักบริเวณ
จังหวัดตาก และ น่าน และเกิดน้ำท่วมในบางพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา พิจิตร หลังจากนั้น
น้ำท่วมได้แผ่วงกว้างลงสู่ตอนล่างของลุ่มน้ำยม บริเวณจังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก

หากพิจารณาถึงปริมาณฝนสะสมที่เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2554 โดยเปรียบเทียบกับปริมาณฝนสะสมในเดือนพฤษภาคม สิงหาคม กันยายน ปี 2549
และเดือนสิงหาคม 2553 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในพื้นที่เดียวกันกับเดือนมิถุนายน 2554 พบว่าฝนสะสมเดือนมิถุนายน
2554 มีปริมาณน้อยกว่า โดยที่เดือนสิงหาคม 2553 มีปริมาณฝนสะสมมากที่สุด รายละเอียดแสดงดังกราฟด้านล่าง




ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา
         รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา
ในพื้นที่ภาคเหนือ พบว่าช่วงวันที่ 25-26 มิ.ย. มีฝนตกมาก บริเวณจังหวัดน่าน ตาก
เชียงราย พะเยา โดยเฉพาะที่จังหวัดน่่านที่มีฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่
รายละเอียดเพิ่มเติม ดังตารางด้านล่าง


วันที่
สถานี
จังหวัด
ปริมาณฝน
สะสม 24 ช.ม.(มม.) 
26/06/2011
ทุ่งช้าง (2)
น่าน
107.1
แม่สอด
ตาก
83.3
ท่าวังผา (2)
น่าน
52.2
ดอยมูเซอ (1)
ตาก
51.6
25/06/2011
ทุ่งช้าง (2)
น่าน
153.4
ท่าวังผา (2)
น่าน
141.8
แม่สอด
ตาก
110.1
เชียงราย
เชียงราย
108.1
น่าน (1)
น่าน
104.3
น่าน
น่าน
103.3
พะเยา
พะเยา
93.6
แพร่
แพร่
58.1
เชียงราย (1)
เชียงราย
51.0
24/06/2011
น่าน (1)
น่าน
77.4
น่าน
น่าน
57.6
แม่สอด
ตาก
53.2
หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 50 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร



ปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีโทรมาตรขนาดเล็ก
          รายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันตรวจวัดจากสถานีโทรมาตรขนาดเล็ก ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ช่วงวันที่
24-29 มิถุนายน 2554 พบว่าช่วงวันที่ 25-26 มิถุนายน มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดน่าน ตาก แพร่ ลำปาง เชียงใหม่ อุตรดิตถ์
พิษณุโลก เชียงราย พะเยา ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกมากบริเวณจังหวัดหนองคาย เลย นครพนม และหลังจากวันที่ 26 มิถุนายน ยังคง
มีฝนตกต่อเนื่องในปริมาณที่ลดน้อยลง รายละเอียดเพิ่มเติม ดังตารางด้านล่าง


วันที่
รหัสสถานี
ชื่อสถานี
ตำบล
อำเภอ
จังหวัด
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.) 
29/06/2011 BPUG บ้านผึ้ง บ้านผึ้ง เมืองนครพนม นครพนม                                    55.6
DIWO ดอยเวา เวียงพางคำ แม่สาย เชียงราย                                    81.4
28/06/2011 BPUG บ้านผึ้ง บ้านผึ้ง เมืองนครพนม นครพนม                                    63.0
26/06/2011 CKLG เชียงกลาง เปือ เชียงกลาง น่าน                                    52.6
CLPK เฉลิมพระเกียรติ ห้วยโก๋น ทุ่งช้าง น่าน                                    75.0
HR034 อบต.น่าไร่หลวง นาไร่หลวง สองแคว น่าน                                    83.8
HR075 รร.ขุนห้วยตาก ท้องฟ้า บ้านตาก ตาก                                    63.6
HR086 อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ สามหมื่น แม่ระมาด ตาก                                  100.2
MCRM แม่จริม หนองแดง แม่จริม น่าน                                    54.2
25/06/2011 ANLI อ่ายนาไลย อ่ายนาไลย เวียงสา น่าน                                    72.6
CGSN เชียงแสน เวียง เชียงแสน เชียงราย                                    65.0
CHUN จุน ห้วยข้าวก่ำ จุน พะเยา                                    56.6
CKLG เชียงกลาง เปือ เชียงกลาง น่าน                                  133.2
CLPK เฉลิมพระเกียรติ ห้วยโก๋น ทุ่งช้าง น่าน                                    53.0
HR003 อบต.บ่อ บ่อ เมืองน่าน น่าน                                  138.4
HR007 อบต.ปอน ปอน ทุ่งช้าง น่าน                                    87.4
HR010 อบต.สวด สวด บ้านหลวง น่าน                                    69.8
HR011 อนามัยจอมพระ จอมพระ ท่าวังผา น่าน                                  122.6
HR012 อบต.ยาบหัวนา ยาบหัวนา เวียงสา น่าน                                    81.2
HR018 อบต.แม่สาคร แม่สาคร เวียงสา น่าน                                    59.4
HR020 อบต.ปิงหลวง ปิงหลวง นาหมื่น น่าน                                    84.0
HR022 อบต.บ่อเกลือ บ่อเกลือใต้ บ่อเกลือ น่าน                                  216.2
HR023 อบต.ขุนควร ควร ปง พะเยา                                    99.8
HR026 อบต.หนองแดง หนองแดง แม่จริม น่าน                                  155.2
HR027 อบต.บ่อเกลือใต้ บ่อเกลือใต้ บ่อเกลือ น่าน                                  194.0
HR028 อบต.ปง ปง ปง พะเยา                                    86.0
HR034 อบต.น่าไร่หลวง นาไร่หลวง สองแคว น่าน                                    97.6
HR035 อบต.น้ำมวบ น้ำมวบ เวียงสา น่าน                                    95.2
HR041 อบต.สะเนียน ถืมตอง เมืองน่าน น่าน                                    94.6
HR045 สายตรวจผาแดง หนองผึ้ง สารภี เชียงใหม่                                    77.6
HR054 อบต.วังแก้ว บ้านร้อง งาว ลำปาง                                    60.4
HR064 ร.ร.ตชด.ยอดโพธิ์ทอง บ่อเบี้ย บ้านโคก อุตรดิตถ์                                    93.0
HR080 รร.บ้านบ่อโพธิ์ บ่อโพธิ์ นครไทย พิษณุโลก                                    86.8
HR086 อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ สามหมื่น แม่ระมาด ตาก                                    66.6
HR089 บ้านผู้ใหญ่ จำป่าหวาย เมืองพะเยา พะเยา                                    52.0
HR097 อบต.ทุ่งน้าว ทุ่งน้าว สอง แพร่                                    95.0
HR102 N13 บ้านไผ่งาม ส้าน เวียงสา น่าน                                    66.8
LGTI หลวงใต้ นาแก งาว ลำปาง                                    78.2
MECN แม่จัน แม่จัน แม่จัน เชียงราย                                    64.6
NAMN นาหมื่น บ่อแก้ว นาหมื่น น่าน                                    66.2
NANI นาน้อย ศรีษะเกษ นาน้อย น่าน                                    54.8
NMKI หนองม่วงไข่ หนองม่วงไข่ กิ่งอำเภอหนองม่วงไข่ แพร่                                    65.8
NOKW โนนแก้ว เหล่าทอง โซ่พิสัย หนองคาย                                    78.2
NONA หนองนาง หนองนาง ท่าบ่อ หนองคาย                                    54.8
PONG ปง นาปรัง ปง พะเยา                                    76.8
PPST ภูผาสาด ลาดค่าง ภูเรือ เลย                                    52.2
SGKM สังคม สังคม สังคม หนองคาย                                  131.8
STSK สันติสุข ดู่พงษ์ สันติสุข น่าน                                    90.8
WGNA วังเหนือ วังเหนือ วังเหนือ ลำปาง                                    63.2
WGSA เวียงสา กลางเวียง เวียงสา น่าน                                    70.4
24/06/2011 ANLI อ่ายนาไลย อ่ายนาไลย เวียงสา น่าน                                    51.0
SGKM สังคม สังคม สังคม หนองคาย                                    86.0
หมายเหตุ : รายงานเฉพาะปริมาณฝนสะสมรายวันที่ตรวจวัดได้เกิน 50 มิลลิเมตร
สีแดง หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวันที่เกิน 100 มิลลิเมตร , สีส้ม หมายถึง ข้อมูลปริมาณฝนสะสมรายวัน ระหว่าง 80-99 มิลลิเมตร


การเตือนภัยปริมาณฝนผ่านโทรศัพท์มือถือ (sms) จากระบบโทรมาตรขนาดเล็ก
       จากรายงานการส่ง sms เพื่อเตือนภัยปริมาณฝนในช่วงวันที่ 24-27 มิถุนายน 2554 พบว่ามีการส่ง sms เพื่อเตือนภัยปริมาณฝนวิกฤต
บริเวณจังหวัดน่าน ตาก พะเยา อุตรดิตถ์ โดยเฉพาะจังหวัดน่าน ที่ปริมาณฝนวิกฤตในหลายพื้นที่ รายละเอียดดังตารางด้านล่าง

วันที่เตือนภัย
เวลาเตือนภัย
ช่วงเวลาฝนสะสม
สถานที่
ปริมาณฝน(มม.)
ระดับการเตือนภัย
27/06/2011
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.ปอน อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน
107.1
วิกฤต
26/06/2011
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.สะเนียน อ.เมืองน่าน จ.น่าน
104.3
วิกฤต
26/06/2011
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.ป่าแลวหลวง อ.สันติสุข จ.น่าน
103.3
วิกฤต
26/06/2011
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.แม่ท้อ อ.เมืองตาก จ.ตาก
110.1
วิกฤต
26/06/2011
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.ปอน อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน
153.4
วิกฤต
26/06/2011
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.จุน อ.จุน จ.พะเยา
93.6
เฝ้าระวังสูงสุด
26/06/2011
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.แม่ข้าวต้ม อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย
108.1
เฝ้าระวังสูงสุด
26/06/2011
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.แสนทอง อ.ท่าวังผา จ.น่าน
141.8
วิกฤต
26/06/2011
3:00:00
ฝน26/07-27/03น.
ต.ห้วยโก๋น อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน
68
เฝ้าระวังสูงสุด
25/06/2011
23:00:00
ฝน07-23น.
ต.อ่ายนาไลย อ.เวียงสา จ.น่าน
66.2
เฝ้าระวังสูงสุด
25/06/2011
23:00:00
ฝน07-22น.
ต.จอมพระ อ.ท่าวังผา จ.น่าน
87.6
วิกฤต
25/06/2011
23:00:00
ฝน07-22น.
ต.ปอน อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน
70
เฝ้าระวังสูงสุด
25/06/2011
23:00:00
ฝน07-22น.
ต.สะเนียน อ.เมืองน่าน จ.น่าน
68
เฝ้าระวังสูงสุด
25/06/2011
23:00:00
ฝน07-22น.
ต.ส้าน อ.เวียงสา จ.น่าน
66.2
เฝ้าระวังสูงสุด
25/06/2011
21:00:00
ฝน07-21น.
ต.บ่อเบี้ย อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์
88.6
เฝ้าระวังสูงสุด
25/06/2011
21:00:00
ฝน07-21น.
ต.บ่อเบี้ย อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์
88.6
วิกฤต
25/06/2011
21:00:00
ฝน07-20น.
ต.หนองแดง อ.แม่จริม จ.น่าน
108.2
วิกฤต
25/06/2011
21:00:00
ฝน07-20น.
ต.บ่อ อ.เมืองน่าน จ.น่าน
101.8
วิกฤต
25/06/2011
21:00:00
ฝน07-20น.
ต.น้ำมวบ อ.เวียงสา จ.น่าน
73.2
เฝ้าระวังสูงสุด
25/06/2011
21:00:00
ฝน07-21น.
ต.ถืมตอง อ.เมืองน่าน จ.น่าน
70.6
เฝ้าระวังสูงสุด
25/06/2011
21:00:00
ฝน07-21น.
ต.แม่สาคร อ.เวียงสา จ.น่าน
67
เฝ้าระวังสูงสุด
25/06/2011
21:00:00
ฝน07-20น.
ต.จอมพระ อ.ท่าวังผา จ.น่าน
78.4
เฝ้าระวังสูงสุด
25/06/2011
17:00:00
ฝน07-17น.
ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน
104.2
วิกฤต
25/06/2011
17:00:00
ฝน07-17น.
ต.บ่อ อ.เมืองน่าน จ.น่าน
66.6
เฝ้าระวังสูงสุด
25/06/2011
17:00:00
ฝน07-17น.
ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน
104.8
วิกฤต
25/06/2011
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.สะเนียน อ.เมืองน่าน จ.น่าน
77.4
เฝ้าระวังสูงสุด
25/06/2011
7:00:00
ฝนวานนี้
ต.บ่อโพธิ์ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก
90.8
เฝ้าระวังสูงสุด
25/06/2011
7:00:00
ฝน25/07-26/06น.
ต.สามหมื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก
97.8
เฝ้าระวังสูงสุด
25/06/2011
7:00:00
ฝน25/07-26/06น.
ต.ทุ่งน้าว อ.สอง จ.แพร่
99.8
เฝ้าระวังสูงสุด
25/06/2011
7:00:00
ฝน25/07-26/06น.
ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่
94.2
เฝ้าระวังสูงสุด
25/06/2011
7:00:00
ฝน25/07-26/06น.
ต.นาไร่หลวง อ.สองแคว จ.น่าน
119.6
วิกฤต
25/06/2011
7:00:00
ฝน25/07-26/06น.
ต.ปอน อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน
103
วิกฤต
25/06/2011
7:00:00
ฝน25/07-26/06น.
ต.ควร อ.ปง จ.พะเยา
128
วิกฤต
25/06/2011
7:00:00
ฝนวานนี้
ต.แม่สาคร อ.เวียงสา จ.น่าน
90.8
วิกฤต
25/06/2011
7:00:00
ฝน25/07-26/06น.
ต.ปง อ.ปง จ.พะเยา
98.4
เฝ้าระวังสูงสุด
25/06/2011
7:00:00
ฝน25/07-26/06น.
ต.น้ำมวบ อ.เวียงสา จ.น่าน
96.6
วิกฤต
25/06/2011
7:00:00
ฝน25/07-26/06น.
ต.ส้าน อ.เวียงสา จ.น่าน
81.4
วิกฤต
25/06/2011
3:00:00
ฝน25/07-26/03น.
ต.ดู่พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่าน
82.4
วิกฤต
25/06/2011
1:00:00
ฝน25/07-26/00น.
ต.ดู่พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่าน
70.8
เฝ้าระวังสูงสุด
25/06/2011
1:00:00
ฝน25/07-26/00น.
ต.กลางเวียง อ.เวียงสา จ.น่าน
66.4
เฝ้าระวังสูงสุด
25/06/2011
1:00:00
ฝน25/07-26/00น.
ต.บ่อแก้ว อ.นาหมื่น จ.น่าน
66.2
เฝ้าระวังสูงสุด
24/06/2011
10:00:00
HAIMA-11 Typhoon is 248 km. toward Thailand.
เฝ้าระวังสูงสุด


ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จากกรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิต

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนภูมิพล

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนภูมิพล

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนแม่งัด

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนแม่งัด

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนแม่กวง

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนแม่กวง

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนแควน้อย

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนแควน้อย

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนกิ่วลม

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนกิ่วลม

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนกิ่วคอหมา

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนกิ่วคอหมา

          จากกราฟแสดงปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ และปริมาณน้ำกักเก็บของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 7 อ่าง ในพื้นที่ภาคเหนือ ประกอบด้วย
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแม่งัด เขื่อนแม่กวง เขื่อนกิ่วลม เขื่อนกิ่วคอหมา และเขื่อนแควน้อย พบว่าช่วงวันที่ 27-28 มิถุนายน 2554 ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก เนื่องจากเกิดฝนตกหนักในช่วงวันที่ 24-26 มิถุนายน 2554 จากอิทธิพลของหย่อม
ความกดกาอาศต่ำกำลังแรงที่สลายตัวจากพายุ "ไหหม่า" โดยเฉพาะจังหวัดน่านที่เิกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างในหลายอำเภอ และส่งผลให้
เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สูงสุดถึง
214.42 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 27 มิถุนายน 2554 ซึ่งมากกว่าปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ
ช่วงที่เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมพื้นที่จังหวัดน่าน ในเดือนสิงหาคม ปี 2549 และ ปี 2553

          และหากพิจารณาข้อมูลน้ำไหลลงอ่างฯ ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนมิถุนายน 2554 พบว่าปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ แต่ละอ่างฯ ในพื้นที่ภาคเหนือ
มีปริมาณมากกว่าปี 2549 และ 2553 ในช่วงเวลาเดียวกัน

ตารางและกราฟแสดงข้อมูลน้ำรายวันในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่


ข้อมูลระดับน้ำตรวจวัด ณ เวลา 6.00 น. จากสถานีวัดระดับน้ำท่า กรมชลประทาน  

(N.64)บ้านผาขวาง อ.เมือง จ.น่าน
(ระดับตลิ่ง 9.5 ม.)

(N.1)หน้าสำนักงานป่าไม้ อ.เมือง จ.น่าน
(ระดับตลิ่ง 7 ม.)

(Y.20)บ้านห้วยสัก อ.สอง จ.แพร่
(ระดับตลิ่ง 8.1 ม.)

(Y.1C)ที่สะพานบ้านน้ำโค้ง อ.เมือง จ.แพร่
(ระดับตลิ่ง 8.2 ม.)


(Y.33)บ้านคลองตาล อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย
(ระดับตลิ่ง 9.56 ม.)


(Y.4)ที่สะพานตลาดธานี อ.เมือง จ.สุโขทัย
(ระดับตลิ่ง 6.48 ม.)

(Y.3A)บ้านวังไม้ขอน อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
(ระดับตลิ่ง 10.15 ม.)

(Y.16)บ้านบางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
(ระดับตลิ่ง 7.15 ม.)
          จากกราฟแสดงข้อมูลระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดน้ำท่ากรมชลประทาน โดยตรวจวัด ณ เวลา 6.00 น. พบว่า หลังจากที่มีฝนตกหนักในช่วงวันที่ 24-26 มิถุนายน 2554 ส่งผลให้ระดับน้ำในลุ่มน้ำยม และลุ่มน้ำน่าน เกิดล้นตลิ่งในหลายจุด โดยลุ่มน้ำน่านเกิดน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่จังหวัดน่าน พิจิตร อุตรดิตถ์ และเป็นการเกิดน้ำล้นตลิ่งในช่วงหลังเกิดฝนตกหนักเพียง 3-4 วัน เท่านั้น หลังจากนั้นระดับน้ำก็เริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ ส่วนพื้นที่ลุ่มน้ำยม ปริมาณน้ำในลุ่มน้ำได้เคลื่อนตัวลงสู่ตอนล่างทำให้เกิดน้ำท่วมต่อเนื่องในจังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก โดยจังหวัดสุโขทัยและพิษณุโลกมีน้ำท่วมต่อเนื่องจนถึงช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2554

รายละเอียดเพิ่มเติม
 

ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วมจาก GISTDA
 

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2554 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
บันทึกภาพวันที่ 29 มิถุนายน 2554 เวลา 06.15 น.
บริเวณจังหวัดจังหวัดน่าน พิษณุโลก เลย และอุตรดิตถ์
จังหวัดน่านมีพื้นที่น้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่อำเภอเวียงสา เมืองน่าน กิ่งอำเภอภูเพียง 
ท่าวังผา ปัว และเชียงกลาง จังหวัดพิษณุโลกมีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอดอกนครไทย พรหมพิราม
ชาติตระการ และวัดโบสถ์ จังหวัดเลย มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอท่าลี่ ด่านซ้าย เชียงคาน และ
เมืองเลย
อ่านรายงานเพิ่มเติม

 

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2554 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
บันทึกภาพวันที่ 30 มิถุนายน 2554 เวลา 18.32 น.
บริเวณจังหวัดกำแพงเพชร ชัยนาท เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ พิจิตร
พิษณุโลก แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย และอุตรดิตถ์

จังหวัดกำแพงเพชร มีพื้นที่น้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่อำเภอคลองขลุง เมืองกำแพงเพชร
ขาณุวรลักษบุรี พรานกระต่าย กิ่งอำเภอบึงสามัคคี ทรายทองวัฒนา ไทรงาม กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร
คลองลาน และปางศิลาทอง
อ่านรายงานเพิ่มเติม

 

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2554 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
บันทึกภาพวันที่ 7 กรกฎาคม 2554 เวลา 18.27 น.
บริเวณจังหวัดพิษณุโลก และสุโขทัย
จังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่น้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่อำเภอพรหมพิราม บางระกำ
เมืองพิษณุโลก และบางกระทุ่ม จังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่น้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่
อำเภอเมืองสุโขทัย กงไกรลาศ คีรีมาศ ศรีสัชนาลัย ศรีสำโรง สวรรคโลก ทุ่งเสลี่ยม และ
ศรีนคร
อ่านรายงานเพิ่มเติม



ข้อมูลด้านความเสียหาย
สรุปสถานการณ์อุทกภัยเนื่องจากอิทธิพลของพายุ "ไหหม่า" (Haima) ระหว่างวันที่ 25-27 มิถุนายน 2554)
       สาเหตุเกิดจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่น "ไหหม่า" (Haima) บริเวณประเทศลาวที่อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ และเคลื่อนตัวผ่านบริเวณ
จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2554 ทำให้มีฝนตกกระจายเป็นบริเวณกว้าง และฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาค
เหนือตอนบน ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ตาก น่าน และจังหวัดพะเยา รวม 28 อำเภอ
106 ตำบล 542 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 30,650 ครัวเรือน 99,416 คน พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 31,891 ไร่ ถนน 63 สาย
ท่อระบายน้ำ 35 แห่ง ฝาย/ทำนบ 55 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 45 แห่ง บ่อปลา/บ่อกุ้ง 208 แห่ง ปศุศัตว์ 3,917 ตัว มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (อ.แม่สอด จ.ตาก)

อ่านรายงานเพิ่มเติม

ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาไทย
http://www.disaster.go.th/

     

ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------
“พรหมพิราม”จมบาดาลหลายจุด-ร.ร.หยุด 1 สัปดาห์-นาข้าวใกล้เกี่ยวสูญ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 6 ก.ค. 54 ]
พิษณุโลก - “น้ำยมเข้าพิษณุโลก”ท่วมโรงเรียนวัดเมมสุวรรณาราม -พรหมพิราม ต้องประกาศหยุดเรียน 1 สัปดาห์ นาข้าวใกล้เก็บเกี่ยวเสียหายเพียบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม่น้ำยมสายเก่าที่รับน้ำจากแม่น้ำยมสายหลักจาก จ.สุโขทัย ระบายผ่าน อ.พรหมพิราม อ.เมือง และ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ที่บ้านคลองเมม หมู่ 12 ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อจากจังหวัดสุโขทัย ได้ทะลักล้นจนชาวบ้านกว่า 100 หลังคาเรือน ประสบปัญหาน้ำท่วมขัง ได้รับความเดือดร้อน

นายเลียบ พิมพ์สังข์ อายุ 80 ปี อยู่บ้านเลขที่ 18 หมู่ 12 ชาวบ้านรายหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม เปิดเผยว่า น้ำจากจังหวัดสุโขทัยได้ไหลเข้าท่วมบ้านของตนเองตั้งแต่วันศุกร์ที่ 1 ก.ค.54 ที่ผ่านมา โดยใช้เวลาเพียงข้ามคืน น้ำก็ท่วมสูงกว่า 1 เมตร อีกทั้งนาข้าวส่วนใหญ่ ที่เหลืออีกเพียง 10 กว่าวันก็จะได้เก็บเกี่ยว ถูกน้ำท่วมเสียหายทั้งหมด  

นอกจากนี้ โรงเรียนวัดเมมสุวรรณาราม ซึ่งเป็นโรงเรียนในหมู่บ้าน ก็ได้มีการสั่งปิดโรงเรียน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมดังกล่าว  ส่วนพื้นที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำในแม่น้ำยมสายหลักที่ไหลจาก จ.สุโขทัยได้เพิ่มสูงขึ้น น้ำได้ท่วมพื้นที่นาข้าว ม.2 ม.9 ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เสียหายประมาณ 1,000 ไร่แล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------
ผู้ว่าฯ พิษณุโลก ประกาศ 9 อำเภอเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม [ ISNHOTNEWS : 5 ก.ค. 54 ]

(วันที่5 ก.ค. 54.)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ น้ำท่วมที่จังหวัดพิษณุโลก กำลังได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำยมสายเก่า ที่รับน้ำจากแม่น้ำยมสายหลักจาก จ.สุโขทัย ระบายผ่าน อ.พรหมพิราม อ.เมือง และอ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ที่บ้านคลองเมม หมู่ 12 ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อจาก จ.สุโขทัย ชาวบ้านกว่า 100 หลังคาเรือน ประสบปัญหาน้ำท่วมขัง ได้รับความเดือดร้อน

นายเลียบ พิมพ์สังข์ อายุ 80 ปี เปิดเผยว่า น้ำจาก จ.สุโขทัยได้ไหลเข้าท่วมบ้านของตนเองตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา โดยใช้เวลาเพียงข้ามคืน น้ำก็ท่วมสูงกว่า 1 เมตร อีกทั้ง นาข้าวส่วนใหญ่ ที่เหลืออีกเพียง 10 กว่าวันก็จะได้เก็บเกี่ยว ถูกน้ำท่วมเสียหายทั้งหมด นอกจากนี้ โรงเรียนวัดเมมสุวรรณาราม ซึ่งเป็นโรงเรียนในหมู่บ้าน ก็ได้มีการสั่งปิดโรงเรียน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมดังกล่าว

ส่วนพื้นที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำในแม่น้ำยมสายหลักที่ไหลจาก จ.สุโขทัยได้เพิ่มสูงขึ้น น้ำได้ท่วมพื้นที่นาข้าว หมู่ 2 ม.9 ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เสียหายประมาณ 1,000 ไร่แล้ว

ทางด้านสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก ระบุว่า จากพายุฝนที่ตกในพื้นที่ และสถานการณ์น้ำหลากจากทางภาคเหนือ จ.พิษณุโลก ได้รับผลกระทบไปแล้ว 9 อำเภอ 50 ตำบล 189 หมู่บ้าน และมีพื้นที่ทางการเกษตรเสียหายไปแล้วกว่า 54,664 ไร่ ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 2 พันครัวเรือน ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ได้ประกาศทั้ง 9 อำเภอให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมแล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------
ปภ. เผย พายุไหหม่าถล่ม เสียหาย46 อำเภอ [ INN News : 5 ก.ค. 54 ]
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัย อันเนื่องมาจากอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น “ไหหม่า” (Haima) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศลาว ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ เชียงราย ตาก น่าน พะเยา และจังหวัดสุโขทัย รวม 46 อำเภอ มีประชาชนเดือดร้อน 411,573 คน เสียชีวิต 3 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 82 หลัง พื้นที่การเกษตรคาดได้รับความเสียหาย 159,598ไร่ ถนน 376 สาย และขณะนี้สถานการณ์เริ่มคลี่คลายอยู่ระหว่างฟื้นฟู ทั้งนี้ จังหวัดน่าน เกิดแผ่นดินทรุดและแยกเป็นแนวกว้าง ใน 4 หมู่บ้าน บ้านเรือนที่เกิดรอยร้าว จำนวน 60 หลังคาเรือน และต้องอพยพชาวบ้านประมาณ 200 คน มาอยู่ที่ศูนย์พักชั่วคราว จังหวัดสกลนคร เกิดน้ำป่าจากเทือกเขาภูพานไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรบ้านดอนยางใต้ ขณะที่ เมื่อ เวลา 02.00 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.2 ริกเตอร์ บริเวณตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย แต่ไม่กระทบถึงไทย 


--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมพิษณุโลกยังน่าห่วง [ ThaiPBS News : 4 ก.ค. 54 ]
สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดพิษณุโลกยังน่าเป็นห่วง เนื่องจากน้ำเหนือจากจังหวัดสุโขทัยไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ ส่วนฝนตกหนักในจังหวัดลำปางทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันเมื่อช่วงบ่ายวานนี้

เกิดน้ำท่วมสูงกว่า 40 เซนติเมตร บนถนนหลายสายในเขตเทศบาลนครลำปาง เนื่องจากท่อระบายน้ำระบายน้ำไม่ทันหลังเกิดฝนตกหนักตลอดช่วงบ่ายวานนี้ (3 ก.ค.) ส่งผลให้รถยนต์ขนาดเล็กเครื่องยนต์ขัดข้อง ขณะที่ชาวบ้านต้องเร่งเก็บทรัพย์สินขึ้นที่สูง ล่าสุดระดับน้ำได้ลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
 

ส่วนที่จังหวัดพิษณุโลกน้ำเหนือจากจังหวัดสุโขทัยยังคงไหลหลากเข้าท่วมอำเภอ พรหมพิราม ทำให้ชุมชนและพื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้าง ด้านนายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก สั่งการให้กำนันตำบลพรหมพิราม แจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มคนที่อ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ที่นำเอารถแมคโครเข้าขุดดินเปิดทางน้ำ ทำให้น้ำไหลหลากมากเกินกว่าที่แผนบริหารจัดการน้ำของทางจังหวัดพิษณุโลก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำท่วมขยายวงกว้าง

--------------------------------------------------------------------------------------
“เมืองสุโขทัย-ศรีสำโรง” ยังอ่วมจากปัญหาน้ำท่วม [ ผู้จัดการออนไลน์ : 30 มิ.ย. 54 ]

สุโขทัย - เมืองสุโขทัยยังอ่วม จากปัญหาน้ำท่วม ชาวบ้านสามหมื่น เจอน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร เช่นเดียวกับพื้นที่ศรีสำโรง หลายหมู่บ้านยังมีน้ำท่วมขัง ขณะที่ถนนสายหลักยังจมบาดาล ทภ.ส่งทหารเข้าช่วยพรุ่งนี้ (1 ก.ค.)
       
สถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.สุโขทัย วันนี้ (30 มิ.ย.) ประชาชนยังคงได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก โดยเฉพาะที่บ้านสามหมื่น ต.ปากพระ อ.เมืองสุโขทัย มีบ้านเรือนราษฎรเกือบ 40 หลังถูกน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร กระแสน้ำที่ไหลแรง ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถออกมาหาซื้ออาหารไว้กักตุนได้
       
 ส่วนที่หมู่ 6 ต.ปากแคว อ.เมืองสุโขทัย และที่หมู่ 4 ต.วัดเกาะ อ.ศรีสำโรง ยังคงมีน้ำท่วมสูงกว่า 50 เซนติเมตร ชาวบ้านกว่า 500 หลังคาเรือน ได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า
       
ขณะที่เส้นทางสัญจรบนถนนสายหลัก ประกอบด้วย ถนนบายพาส ตั้งแต่เชิงสะพานโตโยต้า ไปจนถึงหน้าสถานีวิทยุเอเอ็ม กองทัพภาคที่ 3 และตรงบริเวณถนน สายสุโขทัย-ศรีสำโรง (สายสนามบิน) ตรงบริเวณแยกร้านปีกไม้กับถนนสายสุโขทัย-สวรรคโลก ตรงบริเวณหน้าการประปาส่วนภูมิภาค ต.ปากแคว อ.เมืองสุโขทัย ยังคงมีน้ำท่วมสูงเกือบ 1 เมตร รถเล็กไม่สามารถสัญจรได้

       


--------------------------------------------------------------------------------------
ปภ. สรุป พายุ “ไหหม่า”ทำความเสียหาย 4 จังหวัด เดือดร้อนร่วมแสนคน [ กรุงเทพธุรกิจ : 29 มิ.ย. 54 ]

นายวิบูลย์ สงวน พงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)กล่าวว่า หลังจากเกิดฝนตกหนักมากเนื่องจากอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น"ไหหม่า" ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศลาว ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือ ใน 4 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย จ.ตาก จ.พะเยา และ จ.น่าน ส่งผลให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนรวม 29 อำเภอ 133 ตำบล 896 หมู่บ้าน 37,147 ครัวเรือน รวม 118,856 คน และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย ในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก อีกทั้งมีผู้สูญหาย 1 ราย ที่ อ.เวียงสา จ.น่าน รวมถึงพื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 53,227 ไร่ และยังมีสิ่งปลูกสร้าง สะพาน และทรัพย์สินต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายอีกเป็นจำนวนมาก

นายวิบูลย์ กล่าวว่า ทันทีที่เกิดเหตุ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ได้กำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้สำรวจความเสียหาย ให้ความช่วยเหลือ บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน พร้อมทั้งให้เฝ้าระวังภัยตลอด 24 ชั่วโมง และรายงานให้ทราบอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยยังได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจระดับจังหวัด และอำเภอ ขึ้นเป็นศูนย์กลางประสานงานในพื้นที่ด้วย เพื่อเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ระดับน้ำ โดยประสานงานกับกรมชลประทานอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำกก และแม่น้ำยม
  “ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่เบื้องต้นแล้ว เช่น จัดหากระสอบทราย ถุงยังชีพ อาหารปรุงสุก รวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ในการกู้ภัย และอพยพราษฎรไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยแล้ว โดยในวันที่ 1 ก.ค.กรม ป.ภ.จะมีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไข ปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่มปี 2554 โดยเชิญผู้ว่าฯ มาร่วมประชุมผ่านระบบ วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น”นายวิบูลย์ กล่าว


--------------------------------------------------------------------------------------
สุโขทัย'ยังระทม ลุ้นน้ำระลอกสองจากเหนือ [ ไทยรัฐ : 1 ก.ค. 54 ]
ที่ จ.สุโขทัย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 23.00 น. วันที่ 29 มิ.ย.ที่ผ่านมา น้ำจากแม่น้ำยม ได้ไหลทะลักเข้าท่วมในพื้นที่บ้านบางคลอง ม.6 ต.ปากแคว อ.เมือง อย่างรวดเร็ว เนื่องจากแนวคันดิน และกระสอบทราย ที่ชาวบ้านนำมาวางเสริมไว้ตลอดแนวตลิ่ง เกิดพังลงมาเป็นระยะทางประมาณ 20 เมตร ทำให้บ้านเรือนราษฎรที่อยู่ติดกับแม่น้ำยม ต้องจมอยู่ใต้น้ำ สูงเกือบ 1 เมตร ชาวบ้านต่างรีบขนของหนีน้ำกันจ้าละหวั่น

หลังได้รับรายงาน นายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผวจ.สุโขทัย พร้อมด้วย นายชาติชาย สงวนพงษ์ นายอำเภอเมือง ได้เข้าพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายทันที พร้อมระดมชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เร่งอุดรอยแตกที่เกิดขึ้น ด้วยการใช้เสาไม้ยูคา จำนวนกว่า 200 ท่อน มาตอกทำเป็นแนวผนัง เพื่อวางกระสอบทรายเสริมเพิ่มอีกชั้นหนึ่ง แต่ก็ไม่เป็นผลเนื่องจากความแรงของกระแสน้ำที่ไหลกระแทกตลอดเวลา ในที่สุดก็ต้องปล่อยให้น้ำไหลเข้าท่วมในพื้นที่ดังกล่าว

ในส่วนของความช่วยเหลือด้านอื่นๆ เมื่อเวลา 07.00น. วันนี้(30 มิ.ย.) เจ้าหน้าที่กู้ภัยจาก จ.อุตรดิตถ์ จำนวน 20 นาย พร้อมเรือท้องแบน 3 ลำ ได้เข้าพื้นที่ ม.4 และ ม.6 ต.ปากแคว อ.เมือง ซึ่งมีน้ำท่วมขังระดับสูงเกือบ 1 เมตร เพื่อให้ความช่วยเหลือชาวบ้านซึ่งได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์น้ำท่วม และไม่สามารถออกมาจากบ้านได้ นอกจากนี้ ถนนสายต่างๆ อาทิ ถนนจรดวิถีถ่อง(สุโขทัย-ศรีสำโรง) ช่วงหน้าสถานีจ่ายน้ำปากแคว ก็ยังจมอยู่ใต้น้ำสูง 50-80 ซม. เป็นระยะทางประมาณ 1 กม. การสัญจรไปมาเป็นไปด้วยความลำบาก ขณะที่ถนนบายพาส(แยกบางแก้ว-แยกคลองโพ)ทั้งสาย รถทุกชนิดยังไม่สามารถวิ่งผ่านได้ เพราะมีน้ำท่วมสูงประมาณ 80 ซม. เช่นกัน 

สำหรับ ระดับน้ำในแม่น้ำยม เมื่อเวลา 09.00น. ที่จุดวัดปริมาณน้ำ หน้าบ้านพัก ผวจ.สุโขทัย ถ.นิกรเกษม วัดได้ 7.20 เมตร เพิ่มขึ้นจากวันก่อนที่วัดได้ 7.15 เมตร แต่ก็ยังไม่ถึงจุดวิกฤตคือ 7.45 เมตร และถึงแม้ว่าทางจังหวัดได้เปิดประตูระบายน้ำที่ ต.ยางซ้าย ทุกบาน เพื่อเป็นการเร่งระบายน้ำในแม่น้ำยมออกไปให้มากที่สุดแล้วก็ตาม แต่ด้วยปริมาณน้ำจำนวนมหาศาล กว่า 1,300 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่คาดว่าจะไหลมาจากทางตอนเหนือของจังหวัดภายใน 1-2 วันนี้ อาจจะสร้างความเสียหายได้ ทางจังหวัดได้ออกประกาศเตือนและจัดเวรยามเฝ้าระวังตลอด 24 ชม. ในส่วนของเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ซึ่งถือว่า เป็นเขตเศรษฐกิจ นายจักริน ผวจ.สุโขทัย ได้สั่งการให้นำทรายจำนวน 1,000 คิว มาเทกองไว้ที่ ด้านข้างสำนักงานเทศบาล โดยมีนักศึกษาจากสถาบันการพลศึกษาสุโขทัย จำนวน 50 คน คอยบรรจุทรายใส่ถุง บริการให้กับ บรรดาร้านค้าต่างๆ ที่ต้องการนำไปวางป้องกันน้ำท่วมอีกด้วย


--------------------------------------------------------------------------------------
คาดน้ำท่วมเมืองน่านทำเสียหายกว่าพันล้าน ล่าสุด “เวียงสา” ยังไม่พ้น-น้ำท่วมสูงร่วม 7 ม. [ ผู้จัดการออนไลน์ : 29 มิ.ย. 54 ]
น่าน - เมืองน่านหลายพื้นที่ระดับน้ำเริ่มลด ซากความเสียหายโผล่ คาด ต้องใช้เวลานับสัปดาห์ ถึงจะเข้าสู่ภาวะปกติ ขณะที่อำเภอเวียงสาน่าห่วง 2 ตำบล ระดับน้ำสูงร่วม 7 เมตร จังหวัดสรุปยอดความเสียหายเบื้องต้นเกินกว่า 1 พันล้านบาท
       
สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดน่าน ล่าสุด เย็นวันนี้ (29 มิ.ย.) เริ่มคลี่คลาย พื้นที่ในเขตอำเภอรอบนอกลดลงสามารถสัญจรไปมาได้สะดวก แต่ในเขตเมืองน่าน ยังคงมีน้ำท่วมขังบริเวณที่ลุ่มต่ำ ทางเทศบาลเมืองน่าน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารกองพันทหารม้าที่ 10 นำเครื่องสูบน้ำสูบออกโดยเฉพาะที่บริเวณสวนสาธารณะ สะพานกรุงศรีฯน้ำท่วมขังกว่า 3 เมตร ที่สำคัญ พบขยะจำนวนมากที่ไหลมากับน้ำบางส่วนไหลออกแม่น้ำน่าน แต่มีจำนวนมากตกค้างตามถนน สถานที่ต่าง ๆ ทางเทศบาลต้องเร่งระดมเก็บ ส่วนชาวบ้านเร่งทำความสะอาดบ้านเรือน บ้านเรือน
      
 
นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน กล่าวว่า ต้องใช้เวลานับสัปดาห์ในการฟื้นฟู ทั้งทำความสะอาดถนน และท่อระบายน้ำ ที่มีขยะและดินโคลนอุดตัน ที่น่าเป็นห่วงได้แก่ท่อร้อยสายไฟใต้ดินบริเวณวงแหวนกลางเมืองน่านถูกดิน โคลน และน้ำเข้าไปท่วมขังต้องรีบแก้ไข และยังเป็นห่วงโรคที่มากับน้ำ โดยเฉพาะฉี่หนู ได้ประสานกับสาธารณสุขหารองเท้าบูท ยาป้องกันแจกจ่ายโดยด่วนต่อไป
       
ส่วนที่อำเภอเวียงสา ขณะนี้น้ำได้ท่วมขยายวงกว้างไปใน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลไหล่น่าน,ตำบลขึ่ง,ตำบลตาลชุม ตำบลน้ำปั้ว, ตำบลกลางเวียง, ตำบลส้านนาหนองใหม่ และตำบลนาเหลือง รวมถึงเขตเทศบาลเวียงสา ซึ่งมีพื้นที่ติดริมน้ำ
       
นายนราธิป พรหมพฤกษ์ นายอำเภอเวียงสา กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเวียงสาถือว่าหนักมาก เนื่องจากน้ำทางตอนเหนือจากอำเภอบ่อเกลือ ทั้งจากแม่น้ำน่านและแม่น้ำว้าที่จะไหลมาบรรจบกันที่อำเภอเวียงสา ได้ไหลลงมาสมทบกันอย่างต่อเนื่อง จนระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เฉพาะในเขตเทศบาลและตัวอำเภอเวียงสา ระดับน้ำสูงประมาณ 2- 3 เมตร และที่น่าห่วงคือ ตำบลไหล่น่าน ตำบลขึ่ง เพราะทั้ง 2 ตำบลตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำว้ามากที่สุด ระดับน้ำสูงมากถึง 7 เมตร บางหมู่บ้านระดับน้ำสูงจนท่วมเกือบมิดหลังคาบ้านเรือนของประชาชน ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่หลายตำบลไม่สามารถเดินทางออกมารับถุงยังชีพได้
       
จากการสำรวจประเมินความ เสียหายเบื้องต้น พบว่าพื้นที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมหนักที่สุดครั้งนี้กว่า 7 ตำบล 38 หมู่บ้าน จากทั้งหมด 17 ตำบล 127 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 25,000-26,000 คน
       
วันนี้ที่บ้านวังม่วง ตำบลน้ำปั้ว อ.เวียงสา พบศพ นายสมชาย กายา อายุ 34 ปี ราษฎรบ้านหมู่ที่ 1 ตำบลน้ำปั้ว อ.เวียงสา ซึ่งญาติแจ้งหายออกจากบ้านไปตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 54 เพื่อไปช่วยหมู่บ้านอื่นเก็บของหนีน้ำ รวมขณะนี้จังหวัดน่านมีผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วมจำนวน 2 รายแล้ว คือ นายสมชาย และ นายถนัด ศรีใจ อายุ 81 ปี ราษฎรชุมชนพวงพะยอม เขตเทศบาลเมืองน่าน ซึ่งเป็นลมเสียชีวิตในบ้านพักเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.54 ที่ผ่านมา
       
ด้านจังหวัดน่าน นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ได้เรียกประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องด่วนหลังได้รับรายงานว่า ที่อำเภอปัว มีฝนตกหนัก ซึ่งขณะนี้ได้ให้เจ้าหน้าที่วัดปริมาณน้ำฝนอยู่ นอกจากนี้ ยังได้สรุปความเสียหายเบื้องต้นใน 3 อำเภอได้แก่ อำเภอภูเพียง,แม่จริมและทุ่งช้าง กระแสน้ำได้สร้างความเสียให้สถานที่ราชการ,บ้านเรือนราษฎรและสาธารณูปโภค รวมมูลค่าเสียหายกว่า 22 ล้านบาท
       
อย่างไรก็ตาม จังหวัดน่านคาดว่าความเสียหายทั้งจังหวัดน่าจะเกือบเท่าเมื่อครั้งน้ำท่วม ใหญ่เมื่อปี 2549 ซึ่งครั้งนั้นเสียหายกว่า 1 พันล้านบาท
       
ด้าน นายสาธิต บุญทอง ประธานหอการค้าจังหวัดน่าน กล่าวว่า น้ำท่วมปีนี้ เมื่อเทียบกับน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2549 แม้จะรุนแรงน้อยกว่า แต่ก็สร้างความเสียหายให้กับภาคเศรษฐกิจ การค้า และการท่องเที่ยวของจังหวัดน่านค่อนข้างมาก เพราะน้ำท่วมขยายวงกว้าง พื้นที่ความเสียหายหลายอำเภอ โดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจและย่านการค้าในตัวเมืองถูกน้ำท่วมเกือบทั้งหมด ประเมินความเสียหายเบื้องต้นตลอด 3 วันที่น้ำท่วมขัง มีมูลค่าความเสียหายแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท โดยยังไม่รวมความเสียหายของพื้นที่เกษตรกรรมและผลผลิตของเกษตรกร




--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วม จ.น่าน - ตาก ยังวิกฤตหนัก [ ไทยรัฐ : 28 มิ.ย. 54 ]
สถานการณ์ น้ำท่วม ใน จ.น่าน เช้านี้ ล่าสุดเริ่มลดลง แต่ในเขตเมืองยังคงทรงตัวอยู่ และสภาพอากาศท้องฟ้ายังไม่เปิด ฝนตกโปรยปรายแต่เริ่มลดลงบ้างแล้ว โดยเจ้าหน้าที่ได้เร่งออกให้ความช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งเตรียมอาหารสดและน้ำดื่ม สิ่งของจำเป็น ออกแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม  ส่วนระดับน้ำในเขต เทศบาลเมืองน่าน ถนนทุกสายยังคงถูกน้ำท่วม โดยมีระดับน้ำสูง 50 เซนติเมตร รถจักรยานยนต์และรถยนต์ขนาดเล็ก ยังไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้  

ส่วน สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก หลายสถานที่ยังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะที่ รพ.แม่สอด ยังคงมีน้ำจากลำห้วยแม่เปา และลำห้วยสาขาต่าง ๆ ไหลเข้าท่วมในพื้นที่ รพ.และมีระดับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ 4 เครื่อง ระบายน้ำออก เพราะเกรงจะทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนที่จะเข้ามาใช้บริการ ส่วนสถานการณ์ล่าสุด ฝนได้เริ่มหยุดตก และทางเจ้าหน้าที่เทศบาลนครแม่สอด เร่งระดมใช้เครื่องสูบน้ำ ระบายน้ำออกจากพื้นที่ ทำให้ระดับน้ำเริ่มลดลง จนถนนบางสายสามารถใช้งานได้ตามปกติ แล้ว  

ด้าน นายชัยวุฒิ บรรณวัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมใน จ.น่าน ล่าสุด ยังถือว่าวิกฤต แม้ว่าระดับน้ำจะลดลงบ้างเล็กน้อย จากวานนี้ โดย ระดับน้ำในแม่น้ำน่าน ขณะนี้อยู่ที่ 8 เมตร 25 เซนติเมตร โดยพื้นที่ที่น่าเป็นห่วงและมีปัญหาคือ พื้นที่ อ.เวียงสา เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบ รับน้ำจากรอบนอก  ส่วนที่ อ.ท่าวังผา อ.ปัว และ อ.บ่อเกลือ ยังมีปัญหาเรื่องการสื่อสารล่ม ซึ่งวันนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการนายกรัฐมนตรี จะเดินทางมาตรวจเยี่ยม ที่ อ.เวียงสา และ อ.เมือง หลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี  ส่วนการให้ความช่วย เหลือทางจังหวัดมีงบประมาณ 50 ล้านบาท โดยจะแจกจ่ายให้กับอำเภอ อำเภอละ 2 ล้านบาท สิ่งที่ต้องการขณะนี้คือ ถุงยังชีพ น้ำ และ เรือท้องแบน ในพื้นที่ที่ยังเข้าไปไม่ถึง โดยล่าสุดมีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย และสิ่งที่กังวลมากคือ เรือนจำที่น้ำท่วมสูง ล่าสุดได้ย้ายนักโทษชายเด็ดขาด ไปยังเรือนจำ จ.แพร่ แล้ว รวมทั้งได้เตือนไปยังประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ราบเชิงเขา ให้เร่งอพยพ เพราะเกรงว่าอาจจะเกิดเหตุแผ่นดินถล่ม ส่วน โรงเรียนยังคงปิดอยู่ อย่างไรก็ตามได้เตรียมเสนอให้กระทรวง ที่เกี่ยวข้อง เร่งเยียวยา โดยด่วน


--------------------------------------------------------------------------------------
“ไหหม่า” ยังพ่นพิษ คาดน้ำยมเพิ่มสูงสุดบ่ายนี้ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 28 มิ.ย. 54 ]
แพร่ - พายุ “ไหหม่า” ยังทำพิษเมืองแพร่ ทำน้ำยมเพิ่มระดับต่อเนื่อง ตั้งแต่คืนที่ผ่านมา คาดถึงจุดสูงสุดบ่ายวันนี้ (28 มิ.ย.) ก่อนทะลักท่วมพื้นที่สองฝั่ง ขณะที่ผู้ว่าฯ เชื่อมั่นไม่หนักหนา ยันสั่งทุกหน่วยเตรียมรับมือแล้ว
       
 ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัด แพร่ว่า ด้วยอิทธิพลของพายุ “ไหหม่า” ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำยม เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา โดยระดับน้ำสูงสุดเมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (28 มิ.ย.54) ที่ หน่วยตรวจระดับน้ำห้วยสัก อ.สอง ถึง 8.56 เมตร ที่สถานีวัดระดับน้ำบ้านน้ำโค้ง ต.ป่าแมต. อ.เมือง จ.แพร่ ระดับน้ำในแม่น้ำยมสูง 8.66 เมตร ซึ่งคาดว่าน้ำจะเพิ่มสูงสุดที่บริเวณบ้านน้ำโค้ง จะอยู่ในเวลาประมาณ 13.00-15.00 น.วันเดียวกัน
       
ทั้งนี้ คาดว่าจะมีน้ำไหลมาจากจังหวัดพะเยาผ่านห้วยสัก จะทำให้ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นอีก 1 เมตรเศษ และจะทะลักท่วมในเขต อ.เมือง พื้นที่ ต.ป่าแมต ที่บ้านสองแคว บ้านน้ำโค้ง บ้านมหาโพธิ์ ร้องขี้ปลา, ต.ทุ่งกวาว ที่บ้านหัวดง ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนประชาชนเป็นหลัก ส่วนใน อ.สอง อ.หนองม่วงไข่ อ.สูงเม่น อ.เด่นชัย อ.ลอง และ อ.วังชิ้น จะได้รับผลกระทบน้ำท่วมในพื้นที่เกษตรกรรมที่เกษตรกรเตรียมปลูกข้าว
       

หลังจากปริมาณน้ำในแม่น้ำยมที่ เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นายชวน ศิรินันท์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้ออกไปเยี่ยมประชาชนในพื้นที่ที่จะมีน้ำท่วมและท่วมบ้างแล้วในเขต อ.เมือง
โดยผู้ว่าฯแพร่ ได้ประเมินสถานการณ์และกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแม่น้ำยมมาจากพายุดีเปรสชันไหหม่า ซึ่งตั้งแต่เวลา 07.00 น.ของวันที่ 28 มิถุนายน ฝนได้หยุดตกแล้ว รวมถึงบริเวณต้นน้ำในเขต อ.ปง อ.เชียงม่วน จ.พะเยา ก็พบว่าฝนหยุดตกเช่นกันเช่นกัน
       
ดังนั้น ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมสูงสุดจะมาถึงตัวเมืองแพร่ในช่วงกลางวันของวันที่ 28 มิ.ย.54 และคงมีระดับสูงไม่มากไม่น่าจะเกิน 1 เมตร จะกระทบหรือท่วมพื้นที่สาธารณะ บ้านเรือนและถนนหนทางสร้างความลำบากบ้างไม่มากนัก และจังหวัดได้เตรียมการให้การช่วยเหลือไว้พร้อมแล้ว นายชวนกล่าวด้วยว่า และถ้ามีฝนตกลงมาอีกในปริมาณที่มาก จังหวัดและ อปท.ทุกแห่งได้มีแผนรองรับไว้แล้วโดยเฉพาะเทศบาลเมืองแพร่จะไม่มีปัญหาน้ำ ท่วมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน


--------------------------------------------------------------------------------------
“น้ำเมย” วิกฤต ท่วมมิดโนแมนแลนด์-พ่อค้าของเถื่อนพม่าหนีตายวุ่น [ ผู้จัดการออนไลน์ : 28 มิ.ย. 54 ]
ตาก- แม่น้ำเมยวิกฤตท่วมเกาะโนแมนแลนด์ตลาดของหนีภาษีมิด พ่อค้า-แม่ค้าของหนีภาษีชาวพม่า ขนของหนีกันวุ่น แถมล่าสุดเริ่มทะลักเข้าท่วมตลาดริมเมยฝั่งไทยแล้ว 
       
รายงานข่าวจากจังหวัดตากแจ้งว่า หลังจากเกิดฝนตกหนักใน พื้นที่ 5 อำเภอฝั่งตะวันตก (อ.แม่สอด-แม่ระมาด-พบพระ-ท่าสองยาง และ อ.อุ้มผาง) ชายแดนไทย-พม่า ส่งผลให้ระดับแม่น้ำเมย ที่กั้นพรมแดนไทย-พม่า มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนท่วมบริเวณเกาะกลางแม่น้ำเมย พื้นที่โนแมนแลนด์ ใต้สะพานมิตรภาพไทย-พม่า ติดกับตลาดริมเมย ตำบลท่าสายลวด อ.แม่สอด จนน้ำเมย โดยกระแสน้ำเมยได้ไหลเข้าน้ำท่วมร้านค้าและเพิงพักของชาวพม่าที่กลางเกาะ เห็นแต่หลังคา จนทำให้ราษฎรชาวพม่าที่อาศัยอยู่บนเกาะ ทำการค้าขายสินค้าหนีภาษีกว่า 200 คน ต้องขนของหนีตายจากบริเวณกลางเกาะแม่น้ำเมย ข้ามฝั่งไปยังจังหวัดเมียวดี และส่วนหนึ่งหนีเข้ามายังฝั่งไทยอย่างทุลักทุเล แต่กระแสน้ำที่เชี่ยวกราก สินค้าบางส่วนขนย้ายไม่ทันถูกน้ำพัดพาเสียหายจำนวนมาก โดยเฉพาะสินค้าอาหารทะเล โดยมีชาวพม่าส่วนหนึ่งยังห่วงข้าวของที่มีค่า ไม่ยอมหนีข้ามฝั่ง แต่ได้สร้างที่พักให้สูงขึ้น พยายามหนีระดับน้ำ แต่ส่วนหนึ่งได้เก็บสินค้ามีค่าและรอเรือเข้ามารับ
       

นอกจากนี้ จากการที่แม่น้ำเมยมีระดับสูงขึ้นและไหลเข้าท่วมพื้นที่เกาะทั้งหมดจนต้อง เร่งขนสินค้าและเอาชีวิตรอดจากระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ล่าสุดระดับน้ำได้เริ่มเอ่อเข้าท่วมร้านค้าขายของฝากชาวไทยที่ตั้งอยู่ริม แม่น้ำ โดยร้านค้าบางส่วนเริ่มขนสินค้าย้ายไปไว้ในที่ปลอดภัยแล้ว
       
สำหรับเกาะโนแมนแลนด์ซึ่งถูกน้ำ เมยท่วมได้มีชาวพม่าเข้าไปอาศัยอยู่ทั้งๆ ที่เป็นพื้นที่พิพาท และส่วนใหญ่จะค้าของหนีภาษีและสิ่งผิดกฎหมาย โดยที่เจ้าหน้าที่ทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถทำอะไรได้
       
รายงานข่าวแจ้งเพิ่มเติมว่า เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา (27 มิ.ย.) นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ได้สั่งการให้นายวุฒิ สิทธิสุราษฎร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายปรีชา ใจเพชร นายอำเภอแม่สอด นายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีนครแม่สอด เดินทางไปตรวจสอบสถานการณ์น้ำท่วมที่โรงพยาบาลแม่สอด เขตเทศบาลนครแม่สอด อ.แม่สอด อย่างเร่งด่วนภายหลังระดับน้ำจากลำห้วยแม่ตาว และลำห้วยสาขาต่างๆ ได้ไหลเข้าท่วมในพื้นที่บริเวณโรงพยาบาลแม่สอด และมีระดับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากไม่เร่งระบายออกจะส่งผลกระทบต่อการเดินทางเข้า-ออก เพื่อมาขอรับการรักษาจากทางโรงพยาบาลหรือผู้ป่วยใน โดยได้มีการนำเครื่องสูบน้ำจำนวน 4 เครื่องมาสูบระบายน้ำออกจากพื้นที่
       
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เมื่อเย็นวาน นายปรีชา ใจเพชร นายอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก นายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีนครแม่สอด พร้อมคณะผู้บริหารสมาชิกสภาเทศบาลนครแม่สอดและเจ้าหน้าที่ ได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนในเขตเทศบาลนครแม่สอดที่ได้รับผลกระทบจาก อุทกภัยน้ำท่วม




--------------------------------------------------------------------------------------
แม่สอดวิกฤติซ้ำ ปิดร.ร.3แห่ง อ่างเก็บน้ำทะลัก [ ไทยรัฐ : 28 มิ.ย. 54 ]

เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมในเขตเทศบาลนครแม่สอด น่าห่วงคือหน่วยชลประทานที่ 3อ่างเก็บน้ำแม่สอดแจ้งลงมายังเทศบาลว่าได้ระบายน้ำออกมาตลอดตั้งแต่ช่วง เช้าที่ผ่านมา และหากฝนมีปริมาณมากขึ้น ก็จะล้นสปริงเวย์ ซึ่งเหลือที่รองรับน้ำอีกเพียงไม่ถึง 3-4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ทำให้ต้องเปิดประตูระบายน้ำทิ้งถึง 2 บาน ทำให้มีน้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่ในเขตเทศบาลนครแม่สอดอีกครั้ง โดยเฉพาะชุมชนหลังโรงพยาบาลแม่สอด มีน้ำท่วมสูงกว่า 80 เซนติเมตร ต้องสั่งปิดโรงเรียนถึง 3 แห่งคือ โรงเรียนราษฎรวิทยา โรงเรียนชุมชนอิสลามศึกษา และโรงเรียนอนุบาลการุณย์ เพราะหวั่นเกิดอันตรายกับเด็กเล็กเพราะระดับน้ำขึ้นสูงตลอดเวลา

นอก จากนี้ ยังมีชุมชนในเขตเทศบาลฯอีก 4 ชุมชน มีน้ำท่วมจนประชาชนออกจากบ้านไม่ได้ นางสุกัญญา ใจเพชร นายกกิ่งกาชาดแม่สอด พร้อมคณะร่วมกับนายเทอดเกียติ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีนครแม่สอด นำถุงยังชีพ และน้ำดื่มเดินลุยน้ำไปมอบให้กับประชาชนที่ออกมาจากบ้านไม่ได้ เพราะน้ำท่วมสูง กว่า 200 ราย ส่วนน้ำในแม่น้ำเมยขณะนี้เริ่มล้นเข้าท่วมร้านค้าตลาดริมเมย ต่างย้ายสินค้าไปไว้บนที่สูงบางแห่งปิดร้านหนี ในที่ลุ่มโดยเฉพาะไร่ข้าวโพด นาข้าวจมอยู่ใต้น้ำหลายร้อยไร่ นายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครแม่สอด สั่งรถขยายเสียง และเสียงตามสายประกาศแจ้งเตือนประชาชนร้านค้าในย่านธุรกิจ แม่สอด ให้ย้ายสิ่งของไปไว้ในที่สูง เนื่องจากคลองระบายน้ำทุกสายน้ำใกล้ล้นตลิ่งเพราะต้องรองรับน้ำที่ระบายจาก อ่างเก็บน้ำ ทำให้ร้านค้าในแม่สอดต่างเสริมกระสอบทรายป้องกันน้ำท่วมทั้งเมือง 

นาย สามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการ จ.ตาก เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมใน จ.ตากขณะนี้ถือว่าค่อนข้างรุนแรงหลายพื้นที่มีฝนตกลงมาอย่างหนักวัดปริมาณ น้ำฝนได้เกิน 100 มม.ถึง 5 อำเภอ คือ อุ้มผาง แม่สอด แม่ระมาด พบพระ และท่าสองยาง ซึ่งวัดปริมาณน้ำฝนได้สูงที่สุดถึง 150 มม. ขณะนี้จังหวัดได้ออกประกาศให้พื้นที่ทั้ง 5 อำเภอ เป็นเขตภัยพิบัติแล้ว พร้อมสั่งการให้ป้องกันภัยจังหวัด นายอำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังอุทกภัยน้ำท่วม ดินโคลนถล่มในพื้นทีอย่างใกล้ชิดเพราะก่อนหน้านี้มีฝนตกลงมาอย่างหนักต่อ เนื่องนานถึง 4 วันจนดินภูเขาอุ้มน้ำไว้มาก

--------------------------------------------------------------------------------------
เมืองน่านวิกฤต-ฝนหนักสูงสุด 223.4 มิลลิเมตร น้ำน่านเพิ่ม 28 ซม.ทุกชั่วโมง [ ผู้จัดการออนไลน์ : 26 มิ.ย. 54 ]
น่าน - สถานการณ์น้ำน่านเข้าขั้นวิกฤตหลังฝนตกหนักติดต่อ 2 วัน 2 คืนวัดปริมาณได้เฉลี่ยเกิน 100 มิลลิเมตรทุกพื้นที่ โดยเฉพาะผืนป่าบ่อเกลือฝนหนักถึง 223.4 มิลลิเมตร ทำน้ำน่านเพิ่มระดับ 28 ซม.ทุกชั่วโมง จนเริ่มทะลักท่วมหลายท้องที่แล้ว
       
หลังจังหวัดน่านได้รับผลกระทบ จากพายุดีเปรสชัน “ไหหม่า” ส่งผลให้มีฝนตกหนักติดต่อกัน 2 วัน จนถึงขณะนี้ยังคงมีฝนตกหนักลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำในแม่น้ำน่าน เพิ่มระดับอย่างรวดเร็ว เนื่องจากน้ำจากลำห้วยและแม่น้ำสาขาต่างๆจากทางอำเภอปัว, ท่าวังผา และสันติสุข ได้ไหลรวมลงสู่แม่น้ำน่าน แต่เป็นเส้นทางน้ำที่ไม่ผ่านจุดวัดระดับน้ำ N64 บ้านผาขวาง ทำให้ยากต่อการประเมินสถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำน่านด้วย
       
นายธวัช เพ็ชรวีระ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน เปิดเผยว่า โดยขณะนี้ระดับน้ำในแม่น้ำน่านวัดล่าสุดเช้าวันนี้ (26 มิ.ย.) จุดวัดระดับน้ำ N64 บ้านผาขวาง วัดได้ 7.40
เมตร จุดวิกฤตอยู่ที่ 9 เมตร และจุดวัด N 1 อ.เมืองน่าน วัดได้ 6.70 เมตร ซึ่งจุดวิกฤตอยู่ที่ 7 เมตร โดยระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 28 เซนติเมตรต่อชั่วโมง ถือว่าเร็วมากอีกทั้งปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมายังมีปริมาณที่สูง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อำเภอบ่อ เกลือ ฝนตกหนักในป่าปริมาณน้ำฝนวัดได้ 223.4 มิลลิเมตร, อ.ทุ่งช้าง 153 มิลลิเมตร,อ.เชียงกลาง160 มิลลิเมตร,อ.ปัว 169.4 มิลลิเมตร, อ.ท่าวังผา 141.8 มิลลิเมตร, อ.เมือง 103.3 มิลลิเมตร, อ.ภูเพียง 110 มิลลิเมตร และอ.สันติสุข 150 มิลลิเมตร ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ทันที โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ติดริมแม่น้ำน่าน
       
และล่าสุดขณะนี้ระดับน้ำได้ เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และเริ่มล้นทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่อำเภอปัวที่บ้านร้อง ต.ไชยสถาน ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร รถทุกชนิดไม่สามารถสัญจรไปมาได้ และที่บ้านขอน, บ้านป่าหัด ต.ปัว และตำบลวรนคร และอำเภอทุ่งช้าง บ้านป่าเป๋ย ต.ปอน
       
นอกจากนี้ น้ำยังเริ่มไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่อำเภอภูเพียงที่บ้าน หนองเต่า, บ้านฝายแก้ว และเขตเทศบาลเมืองน่าน ที่บ้านพวงพะยอม, บ้านดอนศรีเสริม และน้ำล้นทะลักออกจากท่อระบายน้ำเข้าท่วมถนนอนันตวรฤทธิเดช บริเวณแยกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
       
ซึ่งนายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน ได้สั่งปิดประตูน้ำทั้งหมดในเขตเทศบาล และสั่งเดินเครื่องสูบน้ำ 3 เครื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำออก ไม่ให้ท่วมสูงขึ้น พร้อมประกาศเสียงตามสายและรถแห่ออกประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนระดับน้ำให้ชาว บ้านทราบเป็นระยะ


--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมเหนือ-ฝนถล่มข้ามคืน'น่าน'จมแล้ว48หมู่บ้าน [ suthichaiyoon.com : 27 มิ.ย. 54 ]

เมืองเหนืออ่วมอีกหลังฝนถล่มข้ามคืน น่านจมแล้ว 48 หมู่บ้านใน 4 อำเภอ สั่งปิดโรงเรียนชั่วคราวหลายโรง ผู้ว่าฯ สั่งตั้งศูนย์เฉพาะกิจช่วยชาวบ้าน ชาวอุตรดิตถ์ผวาดินโคลนถล่มซ้ำ สั่งเฝ้าระวังแจ ส่วนที่ลำปางดินโคลนถล่มปิดเส้นทางเข้าหมู่บ้านหลายจุด "ศภช." เตือนเหนือ-อีสาน 17 จังหวัดระวังน้ำท่วมฉับพลัน

หลายจังหวัดในภาคเหนือต้อง ประสบภัยน้ำท่วมอีกครั้ง เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน นายมนัส สิงห์ชัย ผู้ใหญ่บ้านป่าเหมี้ยง หมู่ 7 ต.แจ้ซ้อน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง เปิดเผยว่า ตลอดทั้งคืนวันที่ 25 มิถุนายน เกิดฝนหนักและยังตกอย่างต่อเนื่อง จากการตรวจวัดปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่พบว่ามากกว่า 90 มิลลิเมตร จึงทำให้เกิดดินโคลนถล่มลงมาปิดทับเส้นทางเข้าออกหมู่บ้านป่าเหมี้ยง 2 จุด ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถนำรถเข้าออกได้ โดยจุดแรกมีดินโคลนถล่มลงมามากจากดอยลาน ส่วนจุดที่ 2 เป็นทั้งดินโคลนและหิน ซึ่งมีหินก้อนใหญ่ขวางถนนเข้าหมู่บ้าน ขณะนี้ได้แจ้งไปยังอบต.แจ้ซ้อน เพื่อขอนำเครื่องจักรกลเปิดเส้นทางแล้ว หากฝนยังตกลงมาอย่างหนักอีก 1-2 วัน อาจจะทำให้ดินโคลนถล่มลงมาอีก

นาย จีรพัฒน์ ตื้อตัน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง กล่าวว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ภายในอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนสำรวจพื้นที่ภายในโดย รอบอุทยาน หลังเกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก อาจจะเกิดน้ำป่าไหลทะลักลงมาตามน้ำตก ขณะนี้อุทยานฯ ได้ประกาศแจ้งเตือนไปยัง 10 หมู่บ้านในพื้นที่ ต.แจ้ซ้อน ที่เป็นหมู่บ้านที่อยู่ใกล้กับทางน้ำไหลผ่านจากน้ำตกแจ้ซ้อน ให้เตรียมพร้อมรับมือกับภาวะน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน

ใน ส่วนของ จ.อุตรดิตถ์ ก็ไม่ต่างกัน หลังฝนตกหนักต่อเนื่องทั่วพื้นที่ ส่งผลให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยเฉพาะ อ.ลับแล อ.ท่าปลา และ อ.เมือง ซึ่งเคยเกิดดินโคลนถล่มเมื่อปี 2549 ได้จัดเวรยามเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมอพยพออกจากพื้นที่

นาย เนตร คำเถื่อน ผู้ใหญ่บ้านมหาราช หมู่ 11 ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 25 มิถุนายน ที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 26 มิถุนายน ยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง เพื่อความไม่ประมาท ประกอบกับบ้านมหาราช หมู่ 11 ต.แม่พลู เป็นพื้นที่สีแดง จุดเสี่ยงภัยดินโคลนถล่มสูงสุดของจังหวัด มีชาวบ้านอาศัยอยู่กว่า 60 หลังคาเรือน ขณะนี้ได้ใช้หอกระจายข่าวประกาศแจ้งเตือนให้เตรียมเก็บสิ่งของพร้อมจะอพยพ ออกจากหมู่บ้านตลอด 24 ชั่วโมง และมีการจัดเวรยามซึ่งเป็นกลุ่มพ่อบ้าน ผ่านการอบรมกู้ชีพกู้ภัยมาแล้วติดตามตรวจสอบระดับน้ำที่ไหลจากภูเขาลงสู่ ลำห้วย และไหลผ่านหมู่บ้าน หากมีระดับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีสีขุ่นแดง ประกอบกับฝนยังตกหนักให้อพยพทันที

นาย สุรชัย ธัชกวิน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุตรดิตถ์ (ปภ.) กล่าวว่า ขณะนี้มีพื้นที่เสี่ยงหลายจุด โดยเฉพาะ อ.ลับแล อ.ท่าปลา และ อ.เมือง 189 หมู่บ้าน ตั้งอยู่ตามหุบเขา และเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยสีแดง จึงสั่งการให้เฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง

บ่ายวันเดียวกัน นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินสถานการณ์และให้การช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย หลังมีฝนตกหนักจนทำให้เกิดน้ำท่วมใน อ.เมืองน่าน อ.เวียงสา อ.ปัว และ อ.ภูเพียง ล่าสุดพบว่ามีปริมาณฝนสะสมใน อ.บ่อเกลือ วัดได้ 223.4 มิลลิเมตร ส่วนที่ อ.ปัว 169.4 มิลลิเมตร ปริมาณฝนดังกล่าวทำให้เกิดน้ำท่วมใน อ.ทุ่งช้าง 1 หมู่บ้าน, อ.ภูเพียง 4 หมู่บ้าน, อ.เวียงสา 40 หมู่บ้าน ใน 5 ตำบล และ อ.ปัว 6 หมู่บ้าน ในจำนวนนี้มีบ้านของนายสัมฤทธิ์ สุทธหลวง อายุ 48 ปี ถูกกระแสน้ำพัดหายไปทั้งหลัง ขณะที่ถนนสายปัว-อุทยานแห่งชาติดอยภูคาถูกน้ำพัดเสียหายจนถูกตัดขาด

ส่วนในเขต เทศบาลเมืองน่านน้ำไหลเข้าท่วมในชุมชนบ้านดอนศรีเสริม บ้านท่าลี่-ภูมินทร์ และบ้านพวงพะยอม รวมถึงจวนผู้ว่าราชการเมืองน่าน และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองน่าน ขณะที่ปริมาณน้ำในแม่น้ำน่านยังเพิ่มระดับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีการประกาศปิดโรงเรียนบางส่วนแล้ว

มีรายงาน ว่า ล่าสุดผู้ว่าราชการจังหวัดน่านได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจที่ศาลากลาง จังหวัด โดยมีตำรวจ อส. และเจ้าหน้าที่ ปภ. ประจำตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อออกช่วยเหลือตามที่ได้รับการร้องขอ นอกจากนี้ยังเปิดศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจที่ อ.ปัว อ.ท่าวังผา และ อ.เวียงสา เพื่อให้การช่วยเหลือชาวบ้านด้วยเช่นกัน เบื้องต้นกำลังพลจังหวัดทหารบกน่านได้นำเรือพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 3 ลำ พร้อมรถบรรทุก เข้าช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ประสบภัยแล้ว

 วันเดียวกัน ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) แจ้งเตือนว่า วันที่ 26-27 มิถุนายน จะเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน จ.แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี และหนองคาย ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจ้งเตือนประชาชนให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของทาง ราชการ พร้อมติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด

--------------------------------------------------------------------------------------
“น่าน”วิกฤติหนักน้ำพัดถล่มจมบาดาล [ เดลินิวส์ : 26 มิ.ย. 54 ]
วันที่ 26 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำถล่มพื้นที่จังหวัดน่านยังคงน่าเป็นห่วง  หลังฝนตกหนักตลอดทั้งวันทั้งคืนติดต่อกัน 2 วัน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันอำเภอทางเหนือของจังหวัดน่าน ได้แก่ อำเภอเชียงกลาง ปัว ท่าวังผา น้ำจากลำน้ำน่าน และลำน้ำสาขาได้แก่ ลำน้ำขว้าง น้ำปัว ไหลเข้าท่วมพื้นที่ตำบลต่าง ๆ ทำให้หมู่บ้านกว่า 1,000 หลังคาเรือนเดือดร้อน  

โดยนายเสนีย์  จิตตเกษม ผวจ.น่าน พร้อมด้วยนายธวัช   เพชรวีระ  หน.สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน  เดินทางเข้าตรวจสอบปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำในแม่น้ำน่านที่อ.ปัว บริเวณสะพานบ้านร้อง  เนื่องจากกระแสน้ำได้เชี่ยวกรากและพัดเอาเศษไม้ ท่อน ซุงเข้ากระแทกสะพานและขวางทางน้ำ เจ้าหน้าที่ต้องใช้รถเครนของหน่วยงานป้องกันภัยชักลากเอาท่อนไม้ใหญ่ออกเพื่อให้กระแสน้ำไหลระบาย     
จากนั้นได้เดินทางเข้าตรวจจุดวัดน้ำบ้านผาขวาง อ.ท่าวังผา (จุดเอ็น 64)  พบว่ามีระดับน้ำขึ้นสูงขึ้นวัดได้ที่ 8.85 เมตร โดยจุดวิกฤตอยู่ที่ 9 เมตร  ขณะที่ฝนยังคงตกหนักลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลต่อระดับน้ำในแม่น้ำน่านสูงขึ้นอีก และเกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลันในเขตเทศบาลเมืองน่านโดยเฉพาะถนนย่านเศรษฐกิจส่วนระดับน้ำที่จุด เอ็น 1 วัดได้ 8 เมตร สูงขั้นวิกฤต  และน้ำได้ล้นทะลักข้ามสวนสาธารณะริมแม่น้ำน่าน ไหลเข้าสู่เขตเทศบาลเมืองน่าน  บ้านเรือนราษฎรชุมชนต่างๆริมแม่น้ำ  ที่ชุมชนบ้านดอนศรีเสริม บ้านพวงพะยอม บ้านภูมินทร์ ท่าลี่ บ้านสวนตาล บ้านดอน
แก้ว  น้ำเอ่อไหลเข้าท่วมตามถนนรถเล็กไม่สามารถผ่านได้ 

ล่าสุด โรงเรียนนันทบุรี  โรงเรียนสตรีศรีน่าน และโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารจังหวัดน่าน  และโรงเรียนราชานุบาล ประกาศหยุดการเรียนการสอนวันที่ 27 มิ.ย. 1 วัน  อย่างไรก็ตามนายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน ได้ระดมเครื่องสูบน้ำ 2 เครื่อง สูบน้ำออกและปิดท่อระบายน้ำทุกจุดแล้ว  นอกจากนี้น้ำยังไหลเข้าท่วมในเขตอำเภอเมืองน่านที่ตำบลสะเนียน ตำบลนาซาว  น้ำได้เข้าท่วมตัดถนนในหมู่บ้านโดยเฉพาะที่บ้านเหนือวัด หมู่ 2 ตำบลสะเนียน สะพานและถนนในหมู่บ้านถูกตัดขาด ชาวบ้านต้องขนของหนีน้ำไปไว้ที่ปลอดภัย ส่วนเขตอำเภอภูเพียง  ถนนระหว่างอำเภอสันติสุข  อำเภอภูเพียงถูกตัดขาดแล้ว  ส่วนอำเภอเวียงสาลำน้ำว้าไหลรวมกับน้ำน่านเข้าท่วมในหลายพื้นที่เช่นกัน  ขณะที่เขตอำเภอนาน้อย ตำบลสถานน้ำไหลเข้าท่วมหลายหมู่บ้านเช่นกัน สะพาน ถนนในหมู่บ้านถูกตัดขาด

--------------------------------------------------------------------------------------
แม่น้ำ 4 สายทะลักท่วมบ้านเรือน-พท.เกษตร อ.ปง เสียหายเพียบ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 26 มิ.ย. 54 ]
พะเยา - 4 แม่น้ำไหลสมทบ ทำน้ำทะลักท่วม บ้านเรือน-ไร่ข้าวโพด ชาวบ้านอำเภอปง เสียหายกว่า 1,000 ไร่ มูลค่านับ 10 ล้านบาท ผู้นำ อบต.เร่งช่วยแบกตะกร้ายาสูบ 1,000 กก.หนีน้ำ
       
วันนี้ (26 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากภาวะฝนตกหนักตลอดทั้งคืน และช่วงเช้าที่ผ่านมา ได้ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำหลายสายไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือน ประชาชน ในพื้นที่ ต.ออย อ.ปง จ.พะเยา เสียหายไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท
       
 นายอนุรักษ์ โปร่งสุยา รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ออย อ.ปง จ.พะเยา เปิดเผยว่า ฝนที่ตกหนักตลอดทั้งคืนและถึงช่วงบ่ายวันนี้ (26 มิ.ย.) ทำให้แม่น้ำ 4 สาย ประกอบด้วย น้ำงิม น้ำเงิน น้ำรู และ น้ำส
ะต๊อด ได้มีระดับสูงและเอ่อท่วมบ้านเรือนประชาชน 4 หมู่ บ้าน คือ หมู่ 1, 6, 7 และ 14  โดยเฉพาะหมู่ที่ 6 ระดับน้ำสูงประมาณ 1-1.5 เมตร อุปกรณ์การเกษตรและสิ่งของภายในบ้านเรือนของประชาชนได้ถูกน้ำพัดหายไปด้วย นอกจากนี้น้ำได้ไหลท่วมพื้นที่การเกษตรไร่ข้าวโพดกว่า 1,000 ไร่ ความเสียหายประมาณ 10 ล้านบาท เบื้องต้นทาง อบต.โดยนายก อบต. นายมนัส งามตา และ ส.อบต.ตลอดจนผู้นำได้ร่วมกันเข้าไปแบกตะกร้ายาสูบของประชาชนในหมู่ 6 ประมาณ 1,000 กก.ออกจากหมู่บ้านเพื่อหนีน้ำท่วมแล้ว
       
รองนายก อบต.ออย กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม แม้ว่าขณะนี้ฝนจะได้เบาบาง และหยุดตกในบางพื้นที่แล้ว แต่ทางต้นน้ำในด้าน ต.ผาช้างน้อย อ.ปง ซึ่งเป็นต้นน้ำงิม ยังพบว่ามีสภาพอากาศฝนตกไม่หยุด ซึ่งทำให้ระดับน้ำที่ไหลเข้าท่วมหมู่บ้านต่างๆ ในพื้นที่ ต.ออย ยังไม่ลดระดับ และคาดว่าจะต้องอพยพประชาชนหนีน้ำหากระดับน้ำยังไม่ลดลง ขณะนี้ อบต.ได้ประสานงานไปยังทุกหมู่บ้าน ให้แจ้งเตือนประชาชนเตรียมเก็บหรือขนย้ายข้าวของเพื่อหนีน้ำในพื้นที่น้ำอาจ จะไหลเข้าท่วมต่อไปแล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • ผู้จัดการออนไลน์ : http://www.manager.co.th/
  • เดลินิวส์: http://www.dailynews.co.th/
  • suthichaiyoon.com: http://www.suthichaiyoon.com
  • INN News: http://www.innnews.co.th
  • ThaiPBS News: http://news.thaipbs.or.th
  • ISN hotnews: http://www.isnhotnews.com