คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ ข้อมูลน้ำ ฝน พายุ ข้อมูลน้ำประเทศไทย ข้อมูลฝนประเทศไทย คลังข้อมูลน้ำ National Hydro Informatics and Climate Data Center NHC คาดการณ์ฝนล่วงหน้า ผังน้ำเจ้าพระยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ สสน. องค์การมหาชน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 13/2567 (ระหว่างวันที่ 19-25 มี.ค. 67)

26-03-2024 14:38:18 น.

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณประเทศไทยมีพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักลมกระโชกแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเลยที่มีลูกเห็บตกในพื้นที่ตำบลชมเจริญ อำเภอปากชม ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายในวันที่ 18 มี.ค. 67 นอกจากนี้ได้เกิดฝนตกหนักที่จังหวัดชลบุรี โดยสถานีสำนักสงฆ์โสธรรมนิมิต อำเภอศรีราชา ตรวจวัดปริมาณฝนตกหนักติดต่อกัน 2 ชั่วโมง สูงถึง 163.6 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 14.00-16.00 น. ของวันที่ 19 มี.ค. 67 และมีความเข้มฝน 85.2 มิลลิเมตร ในช่วง 1 ชั่วโมง (เวลา 15.10-16.10 น.) ทำให้เกิดน้ำท่วมถนนเส้นทางสวนเสือ-หนองค้อ อำเภอศรีราชา และถนนมอเตอร์เวย์สาย 7

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 12/2567 (ระหว่างวันที่ 12-18 มี.ค. 67)

18-03-2024 17:04:13 น.

สัปดาห์นี้หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดทั้งสัปดาห์ โดยบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางพื้นที่ส่วนมากในช่วงกลางสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกในบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 11/2567 (ระหว่างวันที่ 5-11 มี.ค. 67)

12-03-2024 15:33:08 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ และมีบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในช่วงวันที่ 7-11 มี.ค. 67 ทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ส่วนลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกเล็กน้อยกระจายตัวบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 10/2567 (ระหว่างวันที่ 27 ก.พ. - 4 มี.ค. 67)

06-03-2024 17:06:59 น.

สัปดาห์นี้หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ โดยบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในช่วงปลายสัปดาห์ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ โดยมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนตกในบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 09/2567 (ระหว่างวันที่ 20-26 ก.พ. 67)

28-02-2024 16:04:19 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเริ่มต้นฤดูร้อน ปี พ.ศ. 2567 “ประเทศไทยได้สิ้นสุดฤดูหนาวและเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 โดยในตอนกลางวันบริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปต่อเนื่อง อุณหภูมิสูงสุดมากกว่า 35 องศาเซลเซียส เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากรังสีดวงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีลมฝ่ายใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ซึ่งเป็นรูปแบบลักษณะอากาศของฤดูร้อน อย่างไรก็ตามบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าจนถึงประมาณกลางเดือนมีนาคม และคาดว่า ฤดูร้อน จะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 08/2567 (ระหว่างวันที่ 13-19 ก.พ. 67)

20-02-2024 14:16:12 น.

เหตุการณ์น้ำเค็มรุกเข้าแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์จนถึงปัจจุบัน ทำให้ความเค็มของน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำดิบสำแลเกินเกณฑ์เฝ้าระวังคุณภาพน้ำเพื่อผลิตน้ำประปา (0.25 กรัม/ลิตร) ซึ่งเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่ช่วงวันที่ 7 ก.พ. 67 ถึงวันที่ 19 ก.พ. 67 โดยมีค่าความเค็มสูงสุดอยู่ที่ 0.49 กรัม/ลิตร ในวันที่ 11 ก.พ. 67 ช่วงเวลา 20.40-21.20 น. ทั้งนี้แม้ว่าในช่วงวันที่ 17-18 ก.พ. 67(พื้นที่สีส้มในกราฟ) ฐานระดับน้ำขึ้น-น้ำลง ลดลงกว่าช่วงก่อนหน้า (พื้นที่สีแดง) แต่ระดับน้ำที่ขึ้นสูงสุดในพื้นที่สีส้มมีความใกล้เคียงกัน ประกอบกับมีลมใต้พัดเข้าสู่ปากแม่น้ำ ทำให้ความเค็มยังคงรุกตัวเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงเวลาดังกล่าว จึงต้องระบายน้ำจากเขื่อนพระราม 6 เพิ่มขึ้น จากเดิม 5 ลบ.ม./วินาที (วันที่ 12 ก.พ.67) เป็น 9 ลบ.ม./วินาที ตั้งแต่วันที่ 13-19 ก.พ. 67 เพื่อผลักดันรวมถึงเจือจางความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งผลให้ความเค็มสูงสุดบริเวณสถานีสำแลลดลงเหลือ 0.33 กรัม/ลิตร ในวันที่ 18 ก.พ. 67 เวลา 13.20-13.50 น. จากเดิมที่สูงถึง 0.49 กรัมต่อลิตรในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ทั้งนี้ก็ยังคงเกินเกณฑ์คุณภาพน้ำดิบเพื่อการผลิตน้ำประปา

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 07/2567 (ระหว่างวันที่ 6-12 ก.พ. 67)

13-02-2024 16:45:00 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน กับมีลมตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงปลายสัปดาห์ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกเกือบตลอดสัปดาห์ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีฝนในบางพื้นที่ ส่วนลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากนั้นมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัด ปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้ในช่วงปลายสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้ โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกมีฝนหนักบางแห่งในช่วงดังกล่าว

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 06/2567 (ระหว่างวันที่ 30 ม.ค.-5 ก.พ. 67)

05-02-2024 16:57:39 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือในช่วงต้นสัปดาห์แล้วค่อยๆ อ่อนกำลังลงจนถึงปลายสัปดาห์ ประกอบกับกระแสลมในระดับลมบนพัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบนในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกบางพื้นที่ในบริเวณประเทศไทยตอนบน ส่วนลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้ในช่วงต้นสัปดาห์แล้วอ่อนกำลังลงในช่วงกลางสัปดาห์ถึงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางด้านตะวันออกของภาคในช่วงต้นสัปดาห์และฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกกระจายตัวบางพื้นที่จนถึงปลายสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 05/2567 (ระหว่างวันที่ 23-29 ม.ค. 67)

30-01-2024 14:21:06 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงแผ่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทยตอนบน ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกในช่วงต้นสัปดาห์ ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงปลายสัปดาห์ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ และมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางเกือบตลอดสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมภาคใต้และทะเลอ่าวไทยเกือบตลอดสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้ด้านฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักถึงหนักมากเกือบตลอดสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 04/2567 (ระหว่างวันที่ 16-22 ม.ค. 67)

23-01-2024 17:14:36 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมทะเลจีนใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงต้นสัปดาห์ และแผ่เสริมลงมาปกคลุมอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันตกในระดับลมชั้นบนพัดปกคลุมภาคเหนือ ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น ส่วนลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกกระจายตัวบางพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 03/2567 (ระหว่างวันที่ 9-15 ม.ค. 67)

15-01-2024 17:35:23 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในช่วงต้นสัปดาห์ และแผ่เสริมลงมาอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ ประกอบกับกระแสลมฝ่ายตะวันตกในระดับลมชั้นบนพัดปกคลุมบริเวณภาคเหนือและเลื่อนลงมาบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นลง และมีฝนตกบางแห่งในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนลดลงในช่วงปลายสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 02/2567 (ระหว่างวันที่ 2-8 ม.ค. 67)

11-01-2024 14:30:51 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในช่วงกลางสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นลง และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนกระจายตัวบางพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ด้านตะวันออก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 01/2567 (ระหว่างวันที่ 26 ธ.ค. 66 - 1 ม.ค. 67)

03-01-2024 16:26:21 น.

สาเหตุ : อิทธิพลลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกหนักต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มในพื้นที่ภาคใต้ 5 จังหวัด ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผลกระทบ : สัปดาห์นี้ภาพรวมสถานการณ์ระดับน้ำลดลงเกือบทุกพื้นที่ แต่ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ รวม 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา รวมทั้งสิ้น10 อำเภอ 36 ตำบล 106 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,469 ครัวเรือน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 52/2566 (ระหว่างวันที่ 19-25 ธ.ค. 66)

26-12-2023 16:43:00 น.

สาเหตุ : อิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้เคลื่อนตัวผ่านรอยต่อของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และประเทศมาเลเซีย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากในช่วงวันที่ 23-25 ธ.ค. 66 โดยสามารถวัดปริมาณฝนสะสมรายวันบริเวณจังหวัดนราธิวาสได้สูงถึง 651 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นปริมาณฝนสะสมรายวันสูงที่สุดในประเทศไทยหากเปรียบเทียบกับสถิติการตรวจวัดปริมาณฝนตั้งแต่ปี 2498 เป็นต้นมา รองลงมาคือ จังหวัดตรัง 271 มิลลิเมตร ยะลา 251 มิลลิเมตร ปัตตานี 194 มิลลิเมตร กระบี่ 146 มิลลิเมตร สงขลา 137 มิลลิเมตร พัทลุง 91 มิลลิเมตร และสตูล 90 มิลลิเมตร ผลกระทบ : เกิดน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มในพื้นที่ภาคใต้ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนราธิวาสและยะลา รวมทั้งสิ้น 13 อำเภอ 58 ตำบล บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 9,697 ครัวเรือน ทั้งนี้จากปริมาณฝนที่ตกในช่วงดังกล่าว ส่งผลให้ในวันที่ 25 ธ.ค. 66 เพียงวันเดียวมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนบางลางสูงถึง 70 ล้าน ลบ.ม. และทำให้ปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นไปอยู่ในเกณฑ์น้ำมากจากเดิมอยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 51/2566 (ระหว่างวันที่ 12-18 ธ.ค. 66)

19-12-2023 10:53:29 น.

อิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่องบริเวณภาคใต้ตอนล่างในช่วงวันที่ 13-14 ธันวาคม 2566 โดยมีฝนสะสม 2 วัน (13-14 ธ.ค. 66) หนักสุดที่จังหวัดนราธิวาส 213 มิลลิเมตร จังหวัดยะลา 110 มิลลิเมตร และจังหวัดปัตตานี 90 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอระแงะ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอเมืองฯ และอำเภอยี่งอ ของจังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 14 ธันวาคม 2566 และน้ำท่วมอำเภอรามัน จังหวัดยะลา ในวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ส่งผลกระทบรวม 2,193 ครัวเรือน ทั้งนี้จากปริมาณฝนที่ตกในช่วงดังกล่าว ส่งผลให้ในวันที่ 15 ธ.ค. 66 เพียงวันเดียวมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนบางลางสูงถึง 57.98 ล้าน ลบ.ม. แต่ปริมาณน้ำกักเก็บยังคงอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 50/2566 (ระหว่างวันที่ 5-11 ธ.ค. 66)

12-12-2023 15:23:22 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนและอ่อนกำลังลงในช่วงปลายสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงต้นสัปดาห์ ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ทำให้ฝนตกตลอดสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 49/2566 (ระหว่างวันที่ 28 พ.ย.-4 ธ.ค. 66)

06-12-2023 15:55:31 น.

อิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้ กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ โดยเฉพาะวันที่ 29 พ .ย. 66 เกิดฝนตกหนักที่จังหวัดปัตตานี 145 มิลลิเมตร จังหวัดพัทลุง 114 มิลลิเมตร และจังหวัดนราธิวาส 108 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมนหลายพื้นที่ของภาคใต้ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดพัทลุง เกิดน้ำป่าไหลหลากและเกิดน้ำท่วมขังบริเวณพื้นที่ติดริมทะเลสาบสงขลาซึ่งเป็นพื้นที่รองรับน้ำก่อนจะระบายลงสู่ทะเลสาบ มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอป่าบอน อำเภอตะโหมด อำเภอกงหรา อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอศรีบรรพต อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอควนขนุน และอำเภอปากพะยูน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 48/2566 (ระหว่างวันที่ 21-27 พ.ย. 66)

29-11-2023 14:11:34 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมา ปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงปลายสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในบางพื้นที่ ส่วนบริเวณภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงได้เคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตลอดสัปดาห์โดยมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ โดยเฉพาะด้านฝั่งตะวันออกของภาค

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 47/2566 (ระหว่างวันที่ 14-20 พ.ย. 66)

23-11-2023 09:10:23 น.

วันที่ 14 พ.ย. 66 ประเทศเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการแล้ว เนื่องจากอุณหภูมิบริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิหนาวเย็นในหลายพื้นที่ ลมระดับล่างที่ความสูงน้อยกว่า 3.5 ม. เป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือหรือลมตะวันออก และลมระดับบนที่ความสูง 5 กม. เป็นลมฝ่ายตะวันตก และปริมาณฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ในช่วงวันที่ 16-20 พ.ย. 66 โดยมีฝนตกหนักมากที่จังหวัดนครศรีธรรมราช 169 มิลลิเมตร สงขลา 146 มิลลิเมตร นราธิวาส 114 มิลลิเมตร ชุมพร 115 และระนอง 113 มิลลิเมตร ทำให้ช่วงวันที่ 16-18 พ.ย. 66 เกิดน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพัทลุงนครศรีธรรมราช และมีน้ำท่วมถนนสายเอเชีย 41 บริเวณอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และวันที่ 20 พ.ย. 66 เกิดดินลไลด์ที่จังหวัดนราธิวาส

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 46/2566 (ระหว่างวันที่ 7-13 พ.ย. 66)

15-11-2023 09:22:33 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงปลายสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนและคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทยในวันที่ 8-9 พ.ย. 66 อีกทั้งยังมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซียในช่วงปลายสัปดาห์ ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนน้อย ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มีฝนตกตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 45/2566 (ระหว่างวันที่ 31 ต.ค.-6 พ.ย. 66)

07-11-2023 10:26:57 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ และมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย ทะเลอ่าวไทย และทะเลอันดามันตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักบริเวณประเทศไทยตอบนในช่วงต้นสัปดาห์และปลายสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์และปริมาณฝนลดลงในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 44/2566 (ระหว่างวันที่ 24-30 ต.ค. 66)

31-10-2023 16:03:21 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนบนและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ตอนล่าง และอ่าวไทยตอนล่างในช่วงต้นสัปดาห์ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้พายุไซโคลนฮอมูน (HAMOON) ได้เคลื่อนเข้าสู่อ่าวเบงกอลตอนบนและขึ้นฝั่งบริเวณประเทศบังคลาเทศ ในช่วงวันที่ 25 ต.ค. 66 ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 43/2566 (ระหว่างวันที่ 17-23 ต.ค. 66)

24-10-2023 17:07:08 น.

สัปดาห์นี้มีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคใต้และภาคกลางในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์และมีลมตะวันออกพัดเข้ามาปกคลุมบริเวณทะเลอ่าวไทย ภาคกลาง และภาคใต้ในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ตลอดทั้งสัปดาห์ ส่วนบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมอ่าวตังเกี๋ยและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกกระจายตัวบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 42/2566 (ระหว่างวันที่ 10-16 ต.ค. 66)

18-10-2023 14:03:22 น.

จากอิทธิพลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือที่มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดกำแพงเพชร วัดปริมาณฝนได้ 160.5 มิลลิเมตร เชียงราย 139 มิลลิเมตร น่าน 104.5 มิลลิเมตร เชียงใหม่ 102.5 มิลลิเมตร อุตรดิตถ์ 99.6 มิลลิเมตร นครสวรรค์ 98.5 มิลลิเมตร ราชบุรี 93.5 มิลลิเมตร และแพร่ 92 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มบริเวณอำเภอแม่จันและแม่สาย จังหวัดเชียงราย อีกทั้งฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่งในบางพื้นที่ของจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 41/2566 (ระหว่างวันที่ 3-9 ต.ค. 66)

10-10-2023 15:49:57 น.

จากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยตอนบนกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากบริเวณที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวม 30 จังหวัด 110 อำเภอ 414 ตำบล มีประชาชนได้รับผลกกระทบ 48,554 ครัวเรือน ซึ่งฝนที่ตกหนักในช่วงที่ผ่านมาทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มมากขึ้นและทำให้มีน้ำล้นเขื่อนถึง 3 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนลำปาว เขื่อนแม่มอก และเขื่อนแม่งัด

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 40/2566 (ระหว่างวันที่ 26 ก.ย. - 2 ต.ค. 66)

04-10-2023 13:00:38 น.

จากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบน ตามแนวร่องมรสุมในช่วงต้นสัปดาห์ กับร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ยเกือบตลอดสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ โดยสามารถวัดปริมาณฝนตกหนักมาก ได้แก่ จังหวัดลำปาง 217 มิลลิเมตร แพร่ 216.5 มิลลิเมตร สุโขทัย 139.5 มิลลิเมตร เชียงใหม่ 131.5 มิลลิเมตร เพชรบูรณ์ 117.5 มิลลิเมตร ตาก 117 มิลลิเมตร น่าน 113.5 มิลลิเมตร และลำพูน 99.8 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ ลำพูน เชียงใหม่ ลำปาง สุโขทัย น่าน กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ ตาก และแพร่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 39/2566 (ระหว่างวันที่ 19-25 ก.ย. 66)

26-09-2023 09:49:45 น.

อิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนบนในวันที่ 22 ก.ย. 66 และมีร่องมรสุมที่เลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนบน ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 23-24 ก.ย. 66 ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้เกิดฝนตกต่อเนื่องในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ที่มีฝนตกหนักมากบริเวณด้านตะวันตกของภาค โดยจังหวัดภูเก็ตสามารถตรวจวัดปริมาณฝนสูงสุด 123 มิลลิเมตร ในวันที่ 22 ก.ย. 66 และทำให้เกิดน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร ที่เทศบาลป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 38/2566 (ระหว่างวันที่ 12-18 ก.ย. 66)

20-09-2023 10:07:09 น.

อิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่างในครึ่งหลังของสัปดาห์ รวมถึงร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก โดยมีฝนสะสม 5 วัน (ช่วงวันที่ 13-17 ก.ย. 66) สูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ จังหวัดตราด 338 มิลลิเมตร สุโขทัย 247 มิลลิเมตร และจันทบุรี 243 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 21 จังหวัด ส่งผลกระทบ 45 อำเภอ 73 ตำบล 152 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 659 ครัวเรือน นอกจากนี้ฝนที่ตกหนักในช่วง 5 วันนี้ ช่วยทำให้ภาคเหนือมีน้ำไหลลงเขื่อนสะสม 890 ล้าน ลบ.ม. และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีน้ำไหลลงเขื่อนสะสม 693 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 37/2566 (ระหว่างวันที่ 5-11 ก.ย. 66)

13-09-2023 11:45:16 น.

อิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงตลอดทั้งสัปดาห์ ทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยที่จังหวัดเชียงรายมีปริมาณฝนสะสมรายชั่วโมงสูงสุด 34.4 มิลลิเมตร ในวันที่ 10 ก.ย. 66 เวลา 09.00 น. และที่จังหวัดเพชรบูรณ์มีปริมาณฝนสะสม 2 ชั่วโมง สูงถึง 88 มิลลิเมตร ในวันที่ 10 ก.ย. 66 เวลา 19.00-20.00 น. ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ในช่วงวันที่ 9-11 ก.ย. 66 ยังได้เกิดน้ำท่วมในอีก 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ น่าน พิษณุโลก มุกดาหาร อุดรธานี ร้อยเอ็ด ปราจีนบุรี และสตูล รวมทั้งสิ้น 16 อำเภอ 38 ตำบล 140 หมู่บ้าน และประชาชนได้รับผลกระทบ 5,300 ครัวเรือน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 36/2566 (ระหว่างวันที่ 29 ส.ค. - 4 ก.ย. 66)

05-09-2023 16:03:29 น.

จากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงตลอดทั้งสัปดาห์ โดยพายุไห่ขุยและคีโรบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกที่ถึงแม้จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย แต่กลับทำให้หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณใกล้เคียงมีกำลังแรง ส่งผลให้ร่องมรสุมและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ในช่วงวันที่ 1-4 ก.ย. 66 เกิดฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของประเทศไทยตอนบน โดยสามารถวัดปริมาณฝนรายวันสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตรัง 627 มิลลิเมตร ตราด 496.6 มิลลิเมตร จันทบุรี 256 มิลลิเมตร ระนอง 231.4 มิลลิเมตร และพังงา 218.2 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ ลำพูน เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ชัยภูมิ จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี พังงา และสตูล รวมทั้งสิ้น 14 อำเภอ 36 ตำบล 146 หมู่บ้าน ซึ่งมีประชาชนได้รับผลกระทบ 1,561 ครัวเรือน อีกทั้งยังส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสม (วันที่ 29 ส.ค. - 4 ก.ย. 66) ของเขื่อนสิรินธรสูงถึง 183 ล้านลูกบาศก์เมตร และสูงสุดในวันที่ 1 ก.ย. 66 ถึง 103 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนรัชชประภาน้ำไหลลงเขื่อนสะสม (วันที่ 2-4 ก.ย. 66) สูงถึง 152 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนภูมิพลน้ำไหลลงเขื่อนในวันที่ 4 ก.ย. 66 สูงถึง 29 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 35/2566 (ระหว่างวันที่ 22-28 ส.ค. 66)

29-08-2023 13:19:39 น.

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนมาแล้วประมาณ 4 เดือน มีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.-27 ส.ค. 66 ประมาณ 550 มิลลิเมตร ซึ่งน้อยกว่าปกติประมาณ 230 มิลลิเมตร หรือประมาณ 31 % ทำให้เขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมในช่วง 4 เดือนนี้ประมาณ 10,891 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมของ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพียง 2,664 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยที่สุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับข้อมูลตั้งแต่ปี 2562-2565 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2562-2563 ที่ประเทศไทยประสบภัยแล้งรุนแรง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 34/2566 (ระหว่างวันที่ 15-21 ส.ค. 66)

22-08-2023 10:23:13 น.

จากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ประเทศลาวตอนบน และประเทศเมียนมา ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ในวันที่ 20 ส.ค. 66 บริเวณกรุงเทพมหานครเกิดฝนตกปานกลางถึงหนักติดต่อกัน 3 ชั่วโมง (ช่วงเวลา 17.00-20.00 น.) โดยสามารถวัดฝนตกสะสมสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ เขตตลิ่งชัน 99.5 มิลลิเมตร เขตบางกอกน้อย 87.5 มิลลิเมตร และเขตพระนคร 84.5 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ดังกล่าว และบริเวณตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ วัดฝนสะสม 3 ชั่วโมง (19.00-22.00 น. )ได้ 77 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังบริเวณถนนศรีนครินทร์และถนนเทพารักษ์ จังหวัดสมุทรปราการ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 33/2566 (ระหว่างวันที่ 8-14 ส.ค. 66)

15-08-2023 15:35:30 น.

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาว และเวียดนามตอนบนในช่วงต้นสัปดาห์และปลายสัปดาห์ และมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้โดยเฉพาะด้านตะวันตกมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักตลอดทั้งสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 32/2566 (ระหว่างวันที่ 1-7 ส.ค. 66)

15-08-2023 11:26:55 น.

จากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ประเทศลาวตอนบน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในหลายพื้นที่ โดยสามารถวัดปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดระนอง 229.5 มิลลิเมตร ตาก 199.6 มิลลิเมตร นครพนม 164.6 มิลลิเมตร บึงกาฬ 148.8 มิลลิเมตร และน่าน 132.5 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง และดินสไลด์ทับเส้นทางบริเวณอำเภอท่าวังผา ปัว ดอยภูคา และบ่อเหลือ จังหวัดน่านในช่วงวันที่ 5-7 ส.ค. 66 และเกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ตลาดชุมชนริมน้ำเมย บริเวณจังหวัดตาก รวมทั้งสิ้น 5 อำเภอ ในช่วงวันที่ 4 ส.ค. 66

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 31/2566 (ระหว่างวันที่ 25-31 ก.ค. 66)

01-08-2023 20:30:19 น.

สัปดาห์นี้มีร่องมรสุมพดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือตอนบน ประเทศลาว เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 25 ก.ค. 66 และช่วงวันที่ 29-31 ก.ค. 66 โดยหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้มีฝนตกบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกตลอดทั้งสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 30/2566 (ระหว่างวันที่ 18-24 ก.ค. 66)

25-07-2023 16:56:22 น.

จากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ และพายุโซนร้อนกำลังแรง “ตาลิม” (TALIM) ในช่วงวันที่ 14-19 ก.ค. 66 ทำให้ประเทศไทยเกิดฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในหลายพื้นที่ โดยสามารถวัดปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 363.5 มิลลิเมตร ระนอง 213.2 มิลลิเมตร ระยอง 201.6 มิลลิเมตร พังงา 186 มิลลิเมตร และชุมพร 165.6 มิลลิเมตร ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขังในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ โดยวันที่ 18 ก.ค. 66 พื้นที่ภาคใต้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ไหลเข้าท่วมในพื้นที่จังหวัดระนอง รวมทั้งสิ้น 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น สุขสำราญ และกะเปอร์ และจังหวัดชุมพร อำเภอสวี รวมทั้งสิ้น 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งระยะ ครน และวิสัย วันที่ 20-21 ก.ค. 66 พื้นที่ภาคตะวันออกเกิดน้ำท่วมขัง และน้ำป่าไหลหลากบริเวณจังหวัดระยอง อำเภอปลวกแดง ตำบลแม่น้ำคู้ และจังหวัดตราด อำเภอเมืองตราดและแหลมงอบ และวันที่ 21-22 ก.ค. 66 เกิดน้ำท่วมขังในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 12 เขต ได้แก่ เขตบางเขน พญาไท ห้วยขวาง ดินแดง บึงกุ่ม บางซื่อ จตุจักร คลองเตย สวนหลวง หลักสี่ วัฒนา และวังทองหลาง โดยสามารถวัดปริมาณฝนสะสมรายชั่วโมง (เวลา 00.00-01.00 น. วันที่ 22 ก.ค. 66) สูงสุด 5 อันดับแรกในพื้นที่เขตพระโขนง 104 มิลลิเมตร คลองเตย 95.5 มิลลิเมตร วังทองหลาง 82.5 มิลลิเมตร จตุจักร 80.5 มิลลิเมตร และบางกะปิ 79 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 29/2566 (ระหว่างวันที่ 11-17 ก.ค. 66)

19-07-2023 15:39:31 น.

สัปดาห์นี้มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ยและประเทศเวียดนามตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ กับมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมา ลาว ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อความกดอากาศต่ำดังกล่าว ในช่วงวันที่ 15-17 ก.ค. 66 ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทย ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 28/2566 (ระหว่างวันที่ 4-10 ก.ค. 66)

12-07-2023 12:46:10 น.

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทะเลอ่าวไทย และประเทศไทย ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกจากบริเวณทะเลจีนใต้เคลื่อนผ่านทะเลอ่าวไทย ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ในระหว่างวันที่ 8-9 ก.ค. 66 ส่งผลให้เกิดสถานการณ์ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร ตาก นครสวรรค์ ลำพูน และเกิดน้ำท่วมที่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ตในวันที่ 9 ก.ค. 66 โดยมีปริมาณฝนสะสม 3 วัน (7-9 ก.ค. 66) สูงถึง115 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 27/2566 (ระหว่างวันที่ 27 มิ.ย.-3 ก.ค. 66)

12-07-2023 12:38:00 น.

จากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงในช่วงปลายสัปดาห์ ทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่องบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย.-1 ก.ค. 66 ซึ่งจากข้อมูลโทรมาตรสามารถวัดปริมาณฝนสะสม 2 ชั่วโมง ที่สถานีทต.เจ๊ะบิลัง ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล สามารถวัด ได้ 66.6 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 11.00-13.00 น. ของวันที่ 30 มิ.ย. 66 และวัดได้ 87 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 04.00-06.00 น. ของวันที่ 1 ก.ค. 66 และสถานี รร.บ้านลำปลอกเหนือ ตำบลเขาในควน อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง วัดปริมาณฝนสะสมได้สูงถึง 54 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 04.00-06.00 น. ของวันที่ 1 ก.ค. 66 ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำท่วมขังในช่วงวันที่ 30 มิ.ย.-3 ก.ค. 66 บริเวณจังหวัดสตูลและจังหวัดตรังรวมทั้งสิ้น 14 อำเภอ ได้แก่ อำเภอควนกาหลง ควนโดน ทุ่งหว้า มะนัง ละงู ท่าแพ และเมืองสตูล จังหวัดสตูล และอำเภอเมืองตรัง ห้วยยอด นาโยง ย่านตาขาว ปะเหลียน กันตัง และหาดสำราญ จังหวัดตรัง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 26/2566 (ระหว่างวันที่ 20-26 มิ.ย. 66)

27-06-2023 11:49:10 น.

สาเหตุ : ลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนตลอดสัปดาห์ และร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน ผลกระทบ : เกิดฝนตกติดต่อกันนานกว่า 2 ชั่วโมง โดยในช่วงเวลา 00.00-02.00 น. ที่สถานี รพสต.บ้านโคกอุดม อ.กบินทร์บุรี วัดปริมาณฝนสะสมได้ 34.6 มิลลิเมตร อีกทั้งสถานีโรงเรียนบ้านหินเทินและสถานีนาดี อ.นาดี ที่วัดปริมาณฝนสะสมได้สูงถึง 71.8 มิลลิเมตร และ 67.2 มิลลิเมตร ตามลำดับ ซึ่งเป็นปริมาณฝนที่ตกเพียง 2 ชั่วโมง แต่กลับมากกว่าเกณฑ์ปริมาณฝนตกหนักรายวัน ส่งผลทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากบริเวณอำเภอนาดีและอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ในวันที่ 24 มิ.ย. 66 และทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนประชาชนมากกว่า 30 หลังคาเรือน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 25/2566 (ระหว่างวันที่ 13-19 มิ.ย. 66)

20-06-2023 19:53:56 น.

สัปดาห์ที่ผ่านมาประเทศไทยตอนบนมีฝนตกกระจายตัวในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ทั้งนี้ในช่วงวันที่ 17-18 มิ.ย. 66 ที่เมืองจันทบุรีมีปริมาณฝนสะสม 2 วัน สูงถึง 135 มิลลิเมตร ทำให้เกิดน้ำท่วมในเทศบาลเมืองจันทบุรี ในวันที่ 18 มิ.ย. 66 ส่วนที่สถานีปตร. บ้านหนองบึง-เหนือน้ำ จ.สกลนครคร มีปริมาณฝนสะสม 75 มิลลิเมตร ทำให้เกิดน้ำท่วมที่อำเภอโคกศรีสุพรรณ ในวันที่ 19 มิ.ย. 66 ตรงกันข้ามกับพื้นที่ภาคเหนือที่ยังคงมีฝนตกค่อนข้างน้อย ทำให้ตั้งแต่วันที่ 1-19 มิ.ย. 66 เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมเพียง 5.21 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีการระบายน้ำไปแล้วถึง 582 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 24/2566 (ระหว่างวันที่ 6-12 มิ.ย. 66)

13-06-2023 17:32:27 น.

สัปดาห์นี้มีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ยในช่วงต้นสัปดาห์ และร่องมรสุมเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านมาภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบนในช่วงกลางสัปดาห์ถึงปลายสัปดาห์ ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทย ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ตลอดทั้งสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 23/2566 (ระหว่างวันที่ 30 พ.ค.-5 มิ.ย. 66)

06-06-2023 16:43:06 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ยและประเทศเวียดนามในช่วงวันที่ 31 พ.ค. -4 มิ.ย. 66 กับมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 5 มิ.ย. 66 ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และภาคใต้ ส่งผลให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกกระจายตัวทั่วทุกภาคและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 22/2566 (ระหว่างวันที่ 23-29 พ.ค. 66)

30-05-2023 14:41:54 น.

สัปดาห์แรกของฤดูฝนของประเทศไทย เริ่มมีฝนตกกระจายตัวเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะด้านรับลมลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรง ประกอบกับอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้และประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมถึงภาคใต้ฝั่งตะวันตก เกิดฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง รวมถึงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2566 โดยมีปริมาณฝนสะสม 3 วัน (22-24 พฤษภาคม 2566) สูงสุดที่จังหวัดบึงกาฬ 80 มิลลิเมตร จันทบุรี 67 มิลลิเมตร และน่าน 66 มิลลิเมตร ส่งผลกระทบในพื้นที่ 25 จังหวัด 43 อำเภอ 69 ตำบล และส่งผลให้เกิดวาตภัยบริเวณตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย รวมถึงบ้านเรือนราษฎรเสียหายจำนวนหลายหลังคาเรือนในช่วงดังกล่าว

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 21/2566 (ระหว่างวันที่ 16-22 พ.ค. 66)

23-05-2023 15:07:56 น.

ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระนอง ยะลา ภูเก็ต พังงา นครศรีธรรมราช ตรัง ชุมพร และเพชรบูรณ์ เนื่องจากลมตะวันตกเฉียงใต้ได้พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับลมฝ่ายตะวันออกและพายุไซโคลน “โมคา” (MOCHA) บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ในช่วงวันที่ 9-15 พ.ค. 66 ซึ่งทำให้ตอนบนของประเทศมีฝนตกเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศสิ้นสุดฤดูร้อนและเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูฝน ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2566

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 20/2566 (ระหว่างวันที่ 9-15 พ.ค. 66)

16-05-2023 19:56:41 น.

สัปดาห์ที่ผ่านมาลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยเริ่มเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ตลอดทั้งสัปดาห์ โดยพัดนำความชื้นจากทะเลอันดามัน เข้าปกคลุมประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุโมคาบริเวณอ่าวเบงกอล ในช่วงวันที่ 11-15 พ.ค. 66 ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 8-14 พ.ค. 66 โดยมีฝนตกสะสม 7 วัน (วันที่ 8-14 พ.ค. 66) สูงสุดที่จังหวัดพะเยา 183 มิลลิเมตร ลำพูน 176 มิลลิเมตร และจังหวัดอุบลราชธานี 167 มิลลิเมตร และทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน ชัยภูมิ อุบลราชธานี และชลบุรี

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 19/2566 (ระหว่างวันที่ 2-8 พ.ค. 66)

08-05-2023 15:48:41 น.

สัปดาห์นี้ความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้าปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนขณะที่ประเทศไทยตอนบนที่อากาศร้อน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมถึงลูกเห็บตกในบางแห่ง ส่วนลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักในบางแห่ง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 18/2566 (ระหว่างวันที่ 25 เม.ย.-1 พ.ค. 66)

02-05-2023 16:15:56 น.

เกิดพายุฤดูร้อนในช่วงปลายเดือนเมษายน 2566 เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลัง ปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในช่วงปลายเดือน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ฝนตกหนัก ลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่กับมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่งผลกระทบในพื้นที่ 22 จังหวัด รวมพื้นที่ 59 อำเภอ 149 ตำบล 351 หมู่บ้าน และมีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 2,625 หลัง ทั้งนี้จากอิทธิพลของพายุช่วยให้มีฝนตกเพิ่มขึ้นบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน (วันที่ 24-30 เม.ย. 66) สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดน่าน ประมาณ 380 มิลลิเมตร จังหวัดจันทบุรี 128 มิลลิเมตร และจังหวัดแพร่ 98 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 17/2566 (ระหว่างวันที่ 18-24 เม.ย. 66)

25-04-2023 11:06:28 น.

ช่วงวันที่ 20-23 เม.ย. 66 ประเทศไทยเกิดพายุฤดูร้อน ลมกระโชกแรง และมีฝนฟ้าคะนองต่อเนื่องกระจายตัวในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่งผลให้ค่าฝุ่น PM 2.5 บริเวณดังกล่าวลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยในวันที่ 18 เม.ย. 66 เวลา 18.00 น. ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงถึง 142 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร (มีผลกระทบต่อสุขภาพ) หลังจากนั้นในวันที่ 21-23 เม.ย. 66 ได้เกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักในพื้นที่ ส่งผลให้ค่าฝุ่น PM 2.5 ลดลงจนอยู่ในเกณฑ์ดีตั้งแต่วันที่ 22 เม.ย. 66 เวลา 16.00 น. จนถึงปัจจุบัน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 16/2566 (ระหว่างวันที่ 11-17 เม.ย. 66)

19-04-2023 14:19:25 น.

ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาหลายพื้นที่มีอากาศร้อนถึงร้อนจัด จากข้อมูลกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่า มีอากาศร้อน (อุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส) เกือบทุกพื้นที่ของประเทศ และมีอากาศร้อนจัด (อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส) วัดได้สูงสุด 44.6 องศาเซลเซียส ที่จังหวัดตาก รองลงมาคือ 43.5 องศาเซลเซียส ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และ 43.4 องศาเซลเซียส ที่จังหวัดลำปาง ซึ่งถือว่าเป็นอุณหภูมิสูงที่สุดของช่วงเทศกาลสงกรานต์เมื่อเทียบกับข้อมูลในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา และจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยในช่วงวันที่ 15-17 เม.ย. 66 ส่งผลให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอำนาจเจริญ สุรินทร์ ชัยภูมิ สกลนคร อุบลราชธานี อุดรธานี ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช รวมพื้นที่ 37 อำเภอ 86 ตำบล 235 หมู่บ้าน โดยมีบ้านเรือนประชนชนเสียหาย 1,781 หลัง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 15/2566 (ระหว่างวันที่ 4-10 เม.ย. 66)

10-04-2023 16:29:35 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงต้นสัปดาห์ ทำให้ตอนบนของประเทศมีอุณหภูมิสูงขึ้น ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าวตั้งแต่ช่วงกลางสัปดาห์ และลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ตอนบนของประเทศมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ส่งผลให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักในบางแห่ง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 14/2566 (ระหว่างวันที่ 28 มี.ค.-3 เม.ย. 66)

04-04-2023 08:05:30 น.

พายุฤดูร้อนอีกละรอกปลายเดือนมีนาคม ช่วงวันที่ 27-29 มี.ค. 66 ที่ผ่านมา ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีพายุฝนฟ้าคะนอง รวมถึงลมกระโชกแรง จากอิทธิพลบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน และมีลมตะวันตกในระดับลมชั้นบนพัดปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลกระทบในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม สุรินทร์ ยโสธร อุดรธานี นครพนม สกลนคร และร้อยเอ็ด รวมพื้นที่ 13 อำเภอ 28 ตำบล 68 หมู่บ้าน โดยมีบ้านเรือนประชนชนเสียหาย 313 หลัง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 13/2566 (ระหว่างวันที่ 21-27 มี.ค. 66)

27-03-2023 17:44:18 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ขณะที่กระแสลมตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนเกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีลูกเห็บตกในบางบริเวณของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ส่วนลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในบางแห่ง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 12/2566 (ระหว่างวันที่ 14-20 มี.ค. 66)

21-03-2023 16:02:47 น.

สัปดาห์ที่ผ่านมาประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนตลอดทั้งสัปดาห์กับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลอ่าวไทยเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ประกอบกับคลื่นกระแสลมตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบนในช่วงวันที่ 18-19 มีนาคม 2566 ทำให้ในช่วงดังกล่าวมีพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ทั้งนี้ในวันที่ 18 มีนาคม 2566 เกิดสถานการณ์ลูกเห็บตกที่จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณอำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภอแม่ริม อำเภอสันทราย อำเภอสันกำแพง และอำเภอดอยสะเก็ด ส่งผลกระทบในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน ลำปาง และเลย รวมพื้นที่ 12 อำเภอ 29 ตำบล 53 หมู่บ้าน โดยมีบ้านเรือนประชนชนเสียหาย 637 ครัวเรือน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 11/2566 (ระหว่างวันที่ 7-13 มี.ค. 66)

15-03-2023 10:41:51 น.

จากการปะทะของมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในขณะที่มีอากาศร้อน ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน กับมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ทำให้ช่วงวันที่ 12-13 มี.ค. 66 เกิดพายุฤดูร้อน พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกในบริเวณดังกล่าว ส่งผลให้ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน พะเยา แพร่ พิษณุโลก สุโขทัย และกำแพงเพชร รวมทั้งสิ้น 17 อำเภอ 49 ตำบล 164 หมู่บ้าน และบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 626 หลัง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 10/2566 (ระหว่างวันที่ 28 ก.พ.-6 มี.ค. 66)

08-03-2023 17:34:38 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันที่ 28 ก.พ. 66 และแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนอีกครั้งในช่วงวันที่ 3-7 มี.ค.66 ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางมีอากาศเย็น ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกตลอดทั้งสัปดาห์กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 09/2566 (ระหว่างวันที่ 21-27 ก.พ. 66)

28-02-2023 17:45:00 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 24 ก.พ. 66 ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นลงและลมแรง ส่วนลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้ ทะเลอ่าวไทย และทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักได้ในบางแห่ง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 08/2566 (ระหว่างวันที่ 14-20 ก.พ. 66)

21-02-2023 17:00:39 น.

สัปดาห์ที่ผ่านมาหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศไทยตอนบนกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงในช่วงวันที่ 15-17 กุมภาพันธ์ 2566 และมีคลื่นกระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบนพัดปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนบนในช่วงดังกล่าว ส่งผลให้ช่วงวันที่ 15-17 กุมภาพันธ์ 2566 เกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีปริมาณฝนสะสม 3 วัน สูงสุดที่จังหวัดเชียงใหม่ 133 มิลลิเมตร รองลงมาคือกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ 80 มิลลิเมตร รวมถึงได้ เกิดพายุลูกเห็บตกบริเวณดอยอ่างขาง อำเภอฝาง อำเภอไชยปราการ และอำเภอกัลยาณวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 07/2566 (ระหว่างวันที่ 7-13 ก.พ. 66)

15-02-2023 11:18:21 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้เกิดฝนตกเล็กน้อยบริเวณประเทศไทยตอนบน ส่วนลมตะวันออกและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 06/2566 (ระหว่างวันที่ 31 ม.ค.-6 ก.พ. 66)

09-02-2023 11:57:58 น.

สัปดาห์ผ่านมาประเทศไทยมีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในอากาศสูงเกินเกณฑ์คุณภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (90.1 มคก./ลบ.ม.) ในพื้นที่ 42 จังหวัด และมีปริมาณ PM2.5 สูงสุด คือ ภาคเหนือ โดยปริมาณ PM2.5 สูงสุดที่จังหวัดน่าน 500 มคก./ลบ.ม. ในวันที่ 4 ก.พ. 66 ภาคตะวันออกที่จังหวัดสระแก้ว 491 มคก./ลบ.ม. ในวันที่ 31 ม.ค. 66 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดนครราชสีมา 469 มคก./ลบ.ม. ในวันที่ 31 ม.ค. 66 ภาคกลางที่จังหวัดนนทบุรี 264 มคก./ลบ.ม. ในวันที่ 2 ก.พ. 66 ส่วนกรุงเทพมหานคร มีปริมาณ PM2.5 สูดสุด 195 มคก./ลบ.ม. ในวันที่ 2 ก.พ. 66 หลังจากนั้นปริมาณ PM2.5 ลดลงอยู่ในเกณฑ์คุณภาพอากาศดี ( 0-50 มคก./ลบ.ม.) รวม 40 จังหวัด ในช่วงวันที่ 3-4 ก.พ. 66 เนื่องจากมีลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกรวมถึงมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 3-4 ก.พ. 66

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 05/2566 (ระหว่างวันที่ 24-30 ม.ค. 66)

31-01-2023 16:54:17 น.

บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นลง โดยสัปดาห์ที่ผ่านมาภาคเหนืออุณหภูมิต่ำสุด 8.5 องศาเซลเซียส ที่สถานีอุ้มผาง อ.อุ้มผาง จ.ตาก ในวันที่ 24 ม.ค. 66 ภาคตะวันออกอุณหภูมิต่ำสุด 15.7 องศาเซลเซียส ที่สถานีสระแก้ว อ.เมือง จ.สระแก้ว ในวันที่ 29 ม.ค. 66 ส่วนภาคกลางอุณหภูมิต่ำสุด 13.8 องศาเซลเซียส ที่สถานีบัวชุม อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี และภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิต่ำสุด 5.1 องศาเซลเซียส ที่สถานีนครพนม สกษ. อ.เมือง จ.นครพนม ในวันที่ 30 ม.ค. 66 ซึ่งพบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิต่ำสุดในรอบ 5 ปี

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 04/2566 (ระหว่างวันที่ 17-23 ม.ค. 66)

24-01-2023 14:38:08 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงต้นสัปดาห์ ค่อยๆ อ่อนกำลังลงในช่วงกลางสัปดาห์ถึงปลายสัปดาห์ กับมีลมตะวันตกในระดับลมชั้นบนพัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเล็กน้อยบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์ ส่วนบริเวณภาคใต้มีลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 03/2566 (ระหว่างวันที่ 10-16 ม.ค. 66)

18-01-2023 08:06:44 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นในบางพื้นที่ของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนตัวเข้าใกล้ปลายแหลมญวณในช่วงต้นสัปดาห์ ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ส่งผลให้ภาคใต้ยังมีฝนตกหนักได้ในบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณตามแนวชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกและภาคใต้ตอนล่าง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 02/2566 (ระหว่างวันที่ 3-9 ม.ค. 66)

10-01-2023 14:58:23 น.

อิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และฝนตกหนักถึงหนักมาก รวมถึงคลื่นลมแรงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในวันที่ 7 มกราคม 2566 บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกที่มีปริมาณฝนมากกว่า 100 มิลลิเมตร ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ทั้งนี้บริเวณจังหวัดสงขลาและปัตตานีมีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ต้นปีมากกว่าปกติไปแล้ว 23% และ 44% ตามลำดับ ผลกระทบ: เกิดน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยะลาและปัตตานี รวมพื้นที่ 3 อำเภอ 20 ตำบล 101 หมู่บ้าน และมีบ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 11,405 ครัวเรือน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 01/2566 (ระหว่างวันที่ 27 ธ.ค. 65 - 2 ม.ค. 66)

04-01-2023 14:24:59 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 52/2565 (ระหว่างวันที่ 20-26 ธ.ค. 65)

27-12-2022 18:54:51 น.

ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้ตอนล่าง มีฝนตกหนักถึงหนักมาก ตั้งแต่วันที่ 17 - 19 ธ.ค. 65 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินสไลด์ และลมกระโชกแรง ในหลายพื้นที่ของภาคใต้ตอนล่าง ส่งผลให้เขื่อนขนาดใหญ่บริเวณภาคใต้มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเขื่อนบางลางที่มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในช่วงวันที่ 18-26 ธ.ค. 65 โดยมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสม 262 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีน้ำไหลลงเขื่อนสูงสุด 71 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 19 ธ.ค. 65 ซึ่งสูงสุดในรอบปี พ.ศ. 2565

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 51/2565 (ระหว่างวันที่ 13-19 ธ.ค. 65)

26-12-2022 14:17:30 น.

บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีลมแรงและมีอากาศเย็นลง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักต่อเนื่องในช่วงปลายสัปดาห์ และมีฝนตกหนักมากในหลายพื้นที่ของภาคใต้ตอนล่าง โดยในวันที่ 18 ธ.ค. 65 จังหวัดนราธิวาสวัดปริมาณฝนรายวันได้สูงถึง 545 มิลลิเมตร และสงขลา 402 มิลลิเมตร โดยเฉพาะบริเวณอำเภอเมืองสงขลาที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน 4 ชั่วโมง เวลา 12.00-15.00 น. 210 มิลลิเมตร (ปริมาณฝนที่ตกในแต่ละรายชั่วโมงสูงเท่ากับเกณฑ์ฝนตกหนักรายวัน) ส่งผลให้เกิดท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมทั้งสิ้น 49 อำเภอ 189 ตำบล 1,028 หมู่บ้าน และบ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบถึง 51,543 ครัวเรือน ทั้งนี้ระดับน้ำทะเลได้ยกตัวสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณอ่าวไทย มีคลื่นลมแรงมากกว่า 2 เมตร ส่งผลให้มีเรือล่มจำนวน 4 ลำ ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี และสงขลา

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 50/2565 (ระหว่างวันที่ 6-12 ธ.ค. 65)

14-12-2022 17:34:28 น.

ช่วงวันที่ 8-12 ธันวาคม 2565 ภาคใต้มีฝนตกหนักโดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ประกอบกับดินในพื้นที่อิ่มตัวจากฝนที่ตกต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากบริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมพื้นที่ 24 อำเภอ 118 ตำบล 436 หมู่บ้าน โดยมีบ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 15,400 ครัวเรือน เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซีย (ปัจจุบันได้เคลื่อนผ่านช่องแคบมะละกาลงสู่มหาสมุทรอินเดียแล้ว) ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้ที่มีกำลังแรง ส่วนบริเวณแม่น้ำท่าจีนยังคงมีปริมาณน้ำมากและเร่งระบายออกสู่ทะเล ประกอบกับเป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูง ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำเข้าท่วมผิวจราจรบางบริเวณของถนนพระราม 2 จังหวัดสมุทรสาคร ส่งผลให้การจราจรติดขัดในช่วงวันที่ 11-12 ธันวาคม 2565

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 49/2565 (ระหว่างวันที่ 29 พ.ย. - 5 ธ.ค. 65)

07-12-2022 16:04:01 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงระลอกใหม่จากประเทศจีนเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. 65 ส่งผลให้บริเวณตอนบนของประเทศมีอุณหภูมิลดลง แต่มีฝนตกหนักในบางแห่ง ส่วนร่องมรสุมพาดผ่านตอนล่างของภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่เคลื่อนตัวเข้าปกคลุมฝั่งประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่างในช่วงปลายสัปดาห์ ทำให้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 48/2565 (ระหว่างวันที่ 22-28 พ.ย. 65)

30-11-2022 09:17:38 น.

จากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณตอนกลางของภาคใต้และหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลอ่าวไทย ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันออกกำลังปานกลางพัดนำความชื้นเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักถึงหนักมากในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย. 65 และภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในช่วงวันที่ 22-25 พ.ย. 65 โดยมีฝนตกสะสมมากกว่า 100 มิลลิเมตร บริเวณจังหวัดระยอง ตราด สุพรรณบุรี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ ระนอง ตรัง และนราธิวาส ส่งผลให้ในวันที่ 24 พ.ย. 65 เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่จังหวัดระยองและตรัง และวันที่ 26 พ.ย. 65 มีน้ำล้นตลิ่งที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจากอิทธิพลดังกล่าวส่งผลให้มีน้ำทะเลหนุนสูงในวันที่ 26 พ.ย. 65 และเกิดน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสมุทรปราการ โดยสถานีป้อมพระจุลจอมเกล้ามีระดับน้ำสูงถึง 1.89 ม.รทก.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 47/2565 (ระหว่างวันที่ 15-21 พ.ย. 65)

22-11-2022 17:37:30 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่นำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน มีกำลังแรง ประกอบกับร่องมรสุมที่ยังคงพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่าง และหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศมาเลเซียและทะเลอันดามัน ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางแห่ง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 46/2565 (ระหว่างวันที่ 8-14 พ.ย. 65)

15-11-2022 17:28:07 น.

ภาคใต้ตอนล่างเริ่มกลับมามีฝนตกหนักอีกครั้ง เนื่องจากลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศมาเลเซีย ทำให้ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคใต้ตอนล่างมีกำลังแรงขึ้น ตั้งแต่ช่วงวันที่ 10-14 พ.ย. 65 ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของภาคใต้ตอนล่าง โดยมีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร บริเวณจังหวัดนราธิวาส สงขลา ปัตตานี และยะลา ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในช่วงวันที่ 11-13 พ.ย. 65 บริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมพื้นที่ 13 อำเภอ 55 ตำบล 201 หมู่บ้าน และมีประชาชนได้รับผลกระทบ 4,919 ครัวเรือน รวมถึงส่งผลให้เขื่อนบางลางมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนในวันที่ 12 พ.ย. 65 สูงถึง 30.94 ล้าน ลบ.ม. และทำให้ปัจจุบันมีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ที่ 919.13 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 45/2565 (ระหว่างวันที่ 1-7 พ.ย. 65)

09-11-2022 10:37:49 น.

อิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอ่าวไทยและภาคใต้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักมากทั้งสิ้น 9 จังหวัด ส่งผลให้ช่วงวันที่ 4-7 พ.ย. 65 เกิดท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสตูล สงขลา ตรัง และยะลา รวมทั้งสิ้น 5 อำเภอ 14 ตำบล 59 หมู่บ้าน และประชาชนได้รับผลกระทบ 1,444 ครัวเรือน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 44/2565 (ระหว่างวันที่ 25-31 ต.ค. 65)

01-11-2022 14:31:34 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง หลังจากนั้นในวันที่ 29 ต.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนฝนลดลง ลมแรงขึ้น และมีอากาศเย็นลง และจากบริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคใต้ของประเทศ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากได้ในบางแห่ง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 43/2565 (ระหว่างวันที่ 18-24 ต.ค. 65)

31-10-2022 10:16:37 น.

อิทธิพลของร่องมรสุมที่ผาดผ่านบริเวณภาคใต้ต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงวันที่ 16-24 ต.ค. 65 ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมภาคใต้ ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องรวมถึงมีฝนเพิ่มมากขึ้นบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมาก(มากกว่า 90 มิลลิเมตร) ในพื้นที่ 10 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ส่งผลให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต พังงา สตูล กระบี่ สงขลา ตรัง สุราษฎร์ธานี และนราธิวาส รวมพื้นที่ 27 อำเภอ 74 ตำบล 299 หมู่บ้าน และมีประชาชน ได้รับผลกระทบ 9,885 ครัวเรือน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 42/2565 (ระหว่างวันที่ 11-17 ต.ค. 65)

18-10-2022 14:51:58 น.

บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงที่แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ในช่วงวันที่ 11-14 ต.ค. 65 ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น และทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านบริเวณภาคใต้ ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะในวันที่ 16 ต.ค. 65 มีปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมงสูงสุด ที่จังหวัดภูเก็ต 138 มิลลิเมตร สตูล 94 มิลลิเมตร และนครศรีธรรมราช 93 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังบริเวณอำเภอกระทู้ อำเภอเมือง และอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา รวม 10 ตำบล 15 หมู่บ้าน และในช่วงวันที่ 5-13 ต.ค. 65 จากอิทธิพลของน้ำทะเลที่หนุนสูงต่อเนื่อง โดยมีระดับน้ำขึ้นสูงสุดของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า (วันที่ 13 ต.ค. 65 เวลา 07:50 น.) สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางถึง 1.81 เมตร ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำออกสู่ทะเล ประกอบกับปริมาณน้ำในลำน้ำทั้งแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีปริมาณมาก ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมขังในพื้นที่ปากแม่น้ำบริเวณกรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ และสมุทรสงคราม

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 41/2565 (ระหว่างวันที่ 4-10 ต.ค. 65)

11-10-2022 11:46:26 น.

บริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณดังกล่าว ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมขัง รวมทั้งสิ้น 54 จังหวัด ประชาชนได้รับผลกระทบถึง 236,635 ครัวเรือน อีกทั้งยังส่งผลให้ในช่วงวันที่ 4-10 ต.ค. 65 ประเทศไทยมีปริมาณน้ำไหลลงลงเขื่อนสะสม 5,194 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเขื่อนที่มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เขื่อนภูมิพล 1,078 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนอุบลรัตน์ 1,001 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 731 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 40/2565 (ระหว่างวันที่ 27 ก.ย.-3 ต.ค. 65)

04-10-2022 19:58:55 น.

อิทธิพลของพายดีเปรสชัน“โนรู” (NORU) ปกคลุมบริเวณอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ 28 ก.ย. 65 เคลื่อนผ่านจังหวัดอำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น แล้วอ่อนกำลังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณจังหวัดชัยภูมิในวันที่ 29 ก.ย. 65 ประกอบกับมีร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยตอนบนและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ทำให้ทั่วทุกภาคมีฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยมีปริมาณฝนรายวันสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอท่าช้าง 200 มิลลิเมตร อำเภอเมืองอุบลราชธานี 186 มิลลิเมตร จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอวิเชียรบุรี 156 มิลลิเมตร จังหวัดศรีสะเกษ อำเภอห้วยทับทัน 142 มิลลิเมตร และจังหวัดลพบุรี อำเภอชัยบาดาล 102 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร ตาก อุตรดิตถ์ น่าน แพร่ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ มุกดาหาร สระบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี และพังงา รวม 96 อำเภอ 225 ตำบล 651 หมู่บ้าน โดยมีประชาชนได้รับ ผลกระทบ 4,348 ครัวเรือน และในช่วงวันที่ 27 ก.ย.-2 ต.ค 65 เขื่อนขนาดใหญ่ของประเทศไทยมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเกิน 100 ล้าน ลูกบาศก์เมตร จำนวน 10 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนรัชประภา เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนลำปาว เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนสิรินธร เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนป่าสักฯ เขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนภูมิพล ทั้งนี้ในวันที่ 3 ต.ค. 65 เขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนแม่มอกมีปริมาณน้ำกักเก็บเกินความจุไปแล้ว 2% และ 9% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 39/2565 (ระหว่างวันที่ 20-26 ก.ย. 65)

26-09-2022 18:07:53 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศลาวตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงต้นสัปดาห์ ทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากได้ในบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 38/2565 (ระหว่างวันที่ 13-19 ก.ย. 65)

21-09-2022 22:05:47 น.

ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมาประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ในช่วงวันที่ 13-15 ก.ย. 65 และช่วงวันที่ 17-19 ก.ย. 65 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และน้ำล้นตลิ่งบริเวณจังหวัดพะเยา ลําพูน ตาก ลําปาง แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ร้อยเอ็ด สิงห์บุรี สุรินทร์ สมุทรปราการ รวมถึงกรุงเทพมหานคร รวมพื้นที่ 57 อำเภอ 106 ตำบล 280 หมู่บ้าน และมีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 117,021 ครัวเรือน ทั้งนี้จากปริมาณฝนที่ตกในช่วงวันที่ 13-19 ก.ย. 65 ทำให้เขื่อนอุบลรัตน์มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสูงถึง 483 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่า 2 เท่าตัวของสัปดาห์ที่ผ่านมา และมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนในวันที่ 17 ก.ย. 65 สูงถึง 79.43 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 10 ปี ของช่วงเวลาเดียวกัน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 37/2565 (ระหว่างวันที่ 6-12 ก.ย. 65)

15-09-2022 12:02:55 น.

สัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำท่วมขังที่ในหลายพื้นที่ของจังหวัดกรุงเทพมหานคร จากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องติดต่อกันตลอดทั้งสัปดาห์ โดยมีฝนสะสมรายชั่วโมงสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เขตลาดกระบัง 76 มิลลิเมตร จตุจักร 65.5 มิลลิเมตร บางซื่อ 64 มิลลิเมตร หลักสี่ 64 มิลลิเมตร และมีนบุรี 59.5 มิลลิเมตร และเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งที่อำเภอแกลง เมืองระยอง และวังจันทร์ จังหวัดระยอง ตั้งแต่วันที่ 7-12 ก.ย. 65 ซึ่งสามารถวัดปริมาณฝนรายวันที่อำเภอเมืองระยองได้สูงถึง 143.4 มิลลิเมตร บ้านค่าย 134 มิลลิเมตร วังจันทร์ 115.5 มิลลิเมตร และแกลง 91.2 มิลลิเมตร และทั้งสองเหตุการณ์นี้ได้รับอิทธิพลมาจากร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกําลังแรงขึ้น ทำให้มีเกิดฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 36/2565 (ระหว่างวันที่ 30 ส.ค. - 5 ก.ย. 65)

06-09-2022 14:22:26 น.

ในช่วงวันที่ 2-3 ก.ย. 65 เกิดน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำท่วมขังที่อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต จากที่ฝนตกหนักติดต่อกัน 3 ชั่วโมง ในวันที่ 2 ก.ย. 65 ของเวลา 05.00-07.00 น. โดยมีฝนสะสมรายชั่วโมงสูงถึง 102 มิลลิเมตร 94 มิลลิเมตร และ 55 มิลลิเมตร ตามลำดับ และมีปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมง ของวันที่ 2 ก.ย. 65 สูงถึง 259 มิลลิเมตร เนื่องจากลมตะวันตกที่ระดับความสูง 1.5 กิโลเมตร มีกำลังแรงพัดความชื้นบริเวณอันดามันเข้าสู่เกาะภูเก็ต ประกอบกับลมตะวันออกที่ระดับความสูง 11.7 กิโลเมตร มีกำลังแรง ส่งผลให้เกิดการยกตัวของเมฆฝนอย่างฉับพลัน ซึ่งเป็นสาเหตุของฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณเกาะภูเก็ตในวันและเวลาดังกล่าว

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 35/2565 (ระหว่างวันที่ 23-29 ส.ค. 65)

30-08-2022 16:29:10 น.

อิทธิพลของร่องมรุสมที่เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และลมมรุสมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับอิทธิพลของพายุ “หมาอ๊อน” ที่แม้ว่าจะไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง แต่ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 24-26 ส.ค. 65 โดยมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 3 วัน ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี 185 มิลลิเมตร ลำปาง 146 มิลลิเมตร และระยอง 144 มิลลิเมตร และเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง บริเวณจังหวัดลําปาง ตาก อุบลราชธานี อุดรธานี บุรีรัมย์ มหาสารคาม นครราชสีมา เลย จันทบุรี สระแก้ว พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง เพชรบุรี นครนายก ปราจีนบุรี กระบี่ และภูเก็ต รวมพื้นที่ 39 อำเภอ 141 ตำบล และ 571 หมู่บ้าน มีบ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 19,077 ครัวเรือน อย่างไรก็ตามปริมาณฝนที่ตกหนัก ทำให้ในช่วงวันที่ 24-29 ส.ค. 65 เขื่อนขนาดใหญ่ของประเทศไทย มีน้ำไหลลงเขื่อนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนภูมิพลที่มีน้ำไหลเข้าเกิน 200 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 34/2565 (ระหว่างวันที่ 16-22 ส.ค. 65)

23-08-2022 17:46:47 น.

ประเทศไทยมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงปลายสัปดาห์ผ่านมา ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงวันที่ 20-21 ส.ค. 65 โดยมีปริมาณฝนสะสม 2 วัน สูงสุด ที่จังหวัดขอนแก่น 143 มิลลิเมตร รองลงมาคือ เพชรบูรณ์ 126 มิลลิเมตร และอำนาจเจริญ 112 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ แพร่ พิษณุโลก พะเยา น่าน แม่ฮ่องสอน อุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานี พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง รวมพื้นที่เสียหาย 28 อำเภอ 95 ตำบล 339 หมู่บ้าน และมีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 6,227 ครัวเรือน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 33/2565 (ระหว่างวันที่ 9-15 ส.ค. 65)

16-08-2022 09:34:49 น.

อิทธิพลของพายุโซนร้อน “มู่หลาน” (MULAN) ในช่วงวันที่ 9-11 ส.ค. 65 ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ประเทศไทย และทะเลอ่าวไทยมีกำลังแรงในช่วงต้นสัปดาห์ ทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยตอนบน ซึ่งปริมาณน้ำฝนรายวันสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดเชียงราย 241 มิลลิเมตร ตราด 213 มิลลิเมตร นครพนม 211 มิลลิเมตร อุบลราชธานี 208 มิลลิเมตร และน่าน 206 มิลลิเมตร ส่งผลให้ในระหว่างวันที่ 7-15 ส.ค. 65 เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ พะเยา น่าน ลำปาง แพร่ พิษณุโลก ตาก สุโขทัย เพชรบูรณ์ นครพนม เลย ขอนแก่น มหาสารคาม นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 32/2565 (ระหว่างวันที่ 2-8 ส.ค. 65)

09-08-2022 17:06:37 น.

ตั้งแต่ช่วงวันที่ 5-8 ส.ค. 65 ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เนื่องมาจากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ ประกอบกับร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทะเลอ่าวไทย และประเทศไทยมีกำลังแรง ซึ่งวัดปริมาณฝนสะสม 4 วัน สูงสุดได้ที่จังหวัดตราด สูงถึง 371 มิลลิเมตร จันทบุรี 276 มิลลิเมตร และหนองคาย 175 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังบริเวณจังหวัดเชียงราย ลําปาง พิษณุโลก เพชรบูรณ์เลย มหาสารคาม ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด รวม 17 อำเภอ 35 ตำบล 96 หมู่บ้าน และประชาชนได้รับผลกระทบ 362 ครัวเรือน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 31/2565 (ระหว่างวันที่ 26 ก.ค. - 1 ส.ค. 65)

02-08-2022 14:08:19 น.

ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงต้นสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักได้ในบางแห่ง หลังจากนั้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และทะเลอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมา ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักในบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 30/2565 (ระหว่างวันที่ 19-25 ก.ค. 65)

26-07-2022 18:22:47 น.

ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงรวมทั้งเกิดการเหนี่ยวนำให้หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมพื้นที่ภาคกลาง ทำให้ช่วงค่ำของวันที่ 20 ก.ค. 65 จนถึงช่วงเช้าของวันที่ 21 ก.ค. 65 เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในเกือบทุกพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีปริมาณฝนสะสมเฉลี่ยทั้งพื้นที่รวมเป็นฝนรายวันมากถึง 51% เมื่อเทียบกับค่าปกติของฝนกรุงเทพมหานครในเดือนกรกฎาคมทั้งเดือน โดยมีฝนตกหนักสุดที่เขตมีนบุรีและเขตวัฒนา ตรวจวัดปริมาณฝนตกหนักได้มากที่สุดถึง 165 มิลลิเมตร ทั้งสองเขต รองลงมาคือบริเวณเขตสะพานสูงที่ตรวจวัดฝนได้ 163 มิลลิเมตร (ปริมาณฝนสะสมช่วงเวลา 07.00 น. ของวันที่ 20 ก.ค. 65 ถึงเวลา 07.00 น. ของวันที่ 21 ก.ค. 65) หากนับเฉพาะพื้นที่ที่ฝนตกหนัก พบว่ามีปริมาณฝนสูงกว่าค่าปกติทั้งเดือนของเดือนกรกฎาคม นอกจากนี้ยังพบว่าที่เขตบางนาช่วงเวลา 21.00 น. เกิดฝนตกหนักมีความเข้มถึง 90 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นความเข้มฝน (intensity) เกินศักยภาพในการระบายของระบบระบายน้ำที่ออกแบบไว้ ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมขังบริเวณเขตวัฒนา สะพานสูง ดินแดง วังทองหลาง และคลองเตย

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 29/2565 (ระหว่างวันที่ 12-18 ก.ค. 65)

19-07-2022 16:40:55 น.

ช่วงวันที่ 12-16 กรกฎาคม 2565 ประเทศไทยเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มในพื้นที่ 16 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สุรินทร์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร เลย ตราด จันทบุรี ระนอง และภูเก็ต รวม 26 อำเภอ 49 ตำบล 125 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเสียหาย 231 ครัวเรือน และผู้เสียชีวิต 1 ราย (จังหวัดนครราชสีมา) เนื่องจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กําลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทําให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนัก ซึ่งในพื้นที่ประสบอุทกภัยมีปริมาณฝนสะสม 3 วันสูงสุด 10 อันดับแรก (11-13 กรกฎาคม 2565) ได้แก่ จังหวัดระนอง 217 มิลลิเมตร นครราชสีมา 216 มิลลิเมตร ตราด 187 มิลลิเมตร บุรีรัมย์ 175 มิลลิเมตร เลย 149 มิลลิเมตร อำนาจเจริญ 119 มิลลิเมตร ขอนแก่น 109 มิลลิเมตร สุรินทร์ 98 มิลลิเมตร เพชรบูรณ์ 96 มิลลิเมตร และอุบลราชธานี 95 มิลลิเมตร ทั้งนี้จากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรง ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนสูงกว่า 2-3 เมตร ส่งผลให้ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 ได้เกิดน้ำทะเลหนุนสูงเข้าท่วมพื้นที่ถนนบริเวณสะพานใหม่เลียบชายทะเลบริเวณอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี สูงกว่า 30-50 เซนติเมตร และบริเวณเทศบาลตำบลบางปู อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เกิดน้ำทะเลหนุนสูงเข้าท่วมพื้นที่ โดยสูงกว่า 50 เซนติเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 28/2565 (ระหว่างวันที่ 5-11 ก.ค. 65)

12-07-2022 18:01:58 น.

ช่วงวันที่ 9-11 ก.ค. 65 ประเทศไทยเกิดน้ำท่วมและดินสไลด์ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา จันทบุรี ชุมพร และระนอง รวมพื้นที่ 4 อำเภอ 6 ตำบล 7 หมู่บ้าน เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย และมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ซึ่งจังหวัดที่มีปริมาณฝนสะสม 3 วัน มากกว่า 100 มิลลิเมตร ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ พิจิตร เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด นครนายก ลพบุรี ปราจีนบุรี ตราด ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี และพังงา ทั้งนี้จากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรง ทำให้ทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และมีคลื่นสูงกว่า 3 เมตร บริเวณที่ฝนตก โดยปัจจัยที่ทำให้ฝนในช่วงนี้มีค่าสูงกว่าปกติ เกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) ลมค้ามีกำลังแรง อุณหภูมิน้ำทะเลในแปซิฟิกตะวันออกมีค่าเป็นลบ (ดัชนี ONI เป็นลบ:ลานีญา) ดัชนี PDO เป็นลบ และปรากฎการณ์ MJO มีกำลังค่อนข้างแรงตั้งแต่วันที่ 2-8 ก.ค. 65 ให้เกิดการแปรปรวนของสภาพอากาศ ประกอบกับเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ และร่องมรสุมปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมาก 2) ลมมรสุมด้านมหาสมุทรอินเดียมีกำลังแรงและอุณหภูมิผิวน้ำทะเลฝั่งอินเดียตะวันออกสูงกว่าฝั่งตะวันตก (ดัชนี DMI เป็นลบ) ทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักและทะเลอันดามันมีคลื่นสูง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 27/2565 (ระหว่างวันที่ 28 มิ.ย.- 4 ก.ค. 65)

05-07-2022 19:23:42 น.

ช่วงวันที่ 29 มิ.ย.- 2 ก.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบน ประเทศลาว เข้าสู่พายุโซนร้อน “ชบา” (CHABA) ส่งผลให้มีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยมีฝนสะสมช่วงวันที่ 29 มิ.ย.-2 ก.ค. 65 มากกกว่า 90 มิลลิเมตร บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา บึงกาฬ มุกดาหาร อุบลราชธานี กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด จันทบุรี ระนอง พังงา สุราษฎร์ธานี และกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะภาคเหนือที่ฝนตกหนัก ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา และน่าน ทั้งนี้ฝนที่ตกหนักบริเวณจังหวัดน่านส่งผลดีทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนสิริกิติ์เพิ่มขึ้นถึง 91 ล้านลูกบาศก์เมตร ในช่วงวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2565 ซึ่งปัจจุบันเขื่อนสิริกิติ์มีน้ำกักเก็บอยู่ค่อนข้างน้อย และจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรง ส่งผลให้ทะเลฝั่งอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร เกิดคลื่นซัดฝั่งและน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณหาดทรายแก้ว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ในวันที่ 3 ก.ค. 65

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 26/2565 (ระหว่างวันที่ 21-27 มิ.ย. 65)

27-06-2022 17:52:03 น.

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และทะเลอ่าวไทยมีกำลังแรงประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงต้นสัปดาห์ ส่วนลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักได้ในบางแห่ง รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักได้ในบางแห่งโดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 25/2565 (ระหว่างวันที่ 14-20 มิ.ย. 65)

21-06-2022 21:21:40 น.

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศลาวตอนบน ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากนั้นร่องมรสุมเลื่อนไปพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมาและประเทศเวียดนามตอนบน รวมถึงลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 24/2565 (ระหว่างวันที่ 7-13 มิ.ย. 65)

14-06-2022 10:59:57 น.

สัปดาห์นี้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทยตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมอ่าวตังเกี๋ย ในวันที่ 7 มิ.ย. 65 และเคลื่อนไปปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศจีนตอนใต้ ในช่วงวันที่ 8-13 มิ.ย. 65 โดยมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวในตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางตลอดทั้งสัปดาห์กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคใต้ตอนล่าง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 23/2565 (ระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-6 มิ.ย. 65)

07-06-2022 12:37:27 น.

อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทย ทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยในช่วงต้นสัปดาห์ ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางบริเวณของภาคใต้ โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ด้านฝั่งตะวันตก ซึ่งวัดปริมาณฝนตกหนักมากในวันที่ 30 พ.ค. - 1 มิ.ย. 65 ที่จังหวัดสตูลได้สูงถึง 195 มิลลิเมตร ตรัง 126 มิลลิเมตร พังงา 109 มิลลิเมตร และสุราษฎร์ธานี 91 มิลลิเมตร ส่งผลให้ในช่วงดังกล่าวมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมของภาคใต้รวม 144 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ที่เขื่อนรัชชประภาในวันที่ 30 พ.ค. 65 สูงถึง 22.37 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนปราณบุรีในวันที่ 2 มิ.ย. 65 12.32 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 10 ปี ทั้งนี้ตลอดเดือนพ.ค. 65 ภาคใต้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมสูงเป็นอันดับที่ 2 ในรอบ 10 ปี รองจากปี 2560 และเขื่อนแก่งกระจานมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมตลอดทั้งเดือนสูงที่สุดในรอบ 10 ปี

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 22/2565 (ระหว่างวันที่ 24-30 พ.ค. 65)

31-05-2022 13:31:17 น.

สัปดาห์นี้มีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบนตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ยในวันที่ 24 พ.ค. 65 ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและทะเลอ่าวไทยมีกำลังปานกลางในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์และมีกำลังแรงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่งผลให้สัปดาห์นี้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในหลายพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนตกตลอดทั้งสัปดาห์กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกในช่วงปลายสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 21/2565 (ระหว่างวันที่ 17-23 พ.ค. 65)

24-05-2022 15:04:00 น.

  วันที่ 18 พ.ค. 2565 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ทั้งถนนลาดพร้าว ถนนศรีนครินทร์ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนติวานนท์ และถนนพหลโยธิน ซึ่งเกิดจากฝนที่ตกหนักช่วงวันที่ 17-18 พ.ค. 65 โดยมีความรุนแรงของฝนมากกว่า 100 มิลลิเมตร/ชั่วโมง ในพื้นที่ 5 เขต (เขตบางนา ดุสิต จตุจักร หลักสี่ และบางพลัด) เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในช่วงวันที่ 15- 17 พ.ค. 65 ลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทย ทะเลอ่าวไทย และอันดามันมีกำลังแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมภาคเหนือตอนบน อีกทั้งมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงปลายสัปดาห์ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกสะสม 3 วัน (วันที่ 20-22 พ.ค. 65) สูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ จังหวัดตาก 459 มิลลิเมตร ลำปาง 287 มิลลิเมตร กาญจนบุรี 273 มิลลิเมตร เชียงใหม่ 268 มิลลิเมตร และเชียงราย 260 มิลลิเมตร ส่งผลให้จังหวัดดังกล่าวและพื้นที่ใกล้เคียงเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม รวมทั้งสิ้น 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง ลำพูน ตาก และกาญจนบุรี มีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 154 หลัง พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 85 ไร่ และมีน้ำท่วมขังบริเวณถนน 16 แห่ง โดยจากสถานการณ์ฝนที่ตกหนักในช่วงดังกล่าว ทำให้ภาคเหนือมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนฯ สะสม 3 วัน (วันที่ 21-23 พ.ค. 65) มากถึง 312 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเขื่อนภูมิพลมีน้ำไหลลงเขื่อนฯ สะสมมากที่สุด 193 ล้านลูกบาศก์เมตร  

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 20/2565 (ระหว่างวันที่ 10-16 พ.ค. 65)

17-05-2022 13:22:16 น.

สัปดาห์นี้กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการในวันที่ 13 พ.ค. 65 โดยลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยเปลี่ยนทิศเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้าปกคลุม ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกทั่วทั้งประเทศ ประกอบกับในช่วงวันที่ 15-16 พ.ค. 65 มีบริเวณความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้ในวันที่ 16 พ.ค. 65 บริเวณด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรง โดยสามารถวัดปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมง สูงสุดบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ 130 มิลลิเมตร ร้อยเอ็ด 113 มิลลิเมตร และบึงกาฬ 112 มิลลิเมตร อุดรธานี 105 มิลลิเมตร และสกลนคร 97 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 19/2565 (ระหว่างวันที่ 3-9 พ.ค. 65)

10-05-2022 13:05:16 น.

ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดเข้าสู่ประเทศไทย ทะเลอ่าวไทย และทะเลอันดามันมีกำลังแรง เนื่องจากแนวปะทะมวลอากาศคงที่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนบน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวเบงกอลที่ในเวลาต่อมาได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน "อัสนี" ทำให้เกือบทั่วประเทศมีฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากบริเวณจังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่อำเภอวิภาวดี ไชยา และท่าฉาง ซึ่งวัดปริมาณฝนตกสะสม 24 ชั่วโมง ได้สูงสุด 141 มิลลิเมตร มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 3 ตำบล 10 หมู่บ้าน 328 ครัวเรือน ประชาชนได้รับความเสียหาย 1,065 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 18/2565 (ระหว่างวันที่ 26 เม.ย.-2 พ.ค. 65)

03-05-2022 13:10:47 น.

สัปดาห์ที่ผ่านมาประเทศไทยตอนบนเกิด “พายุฤดูร้อน” เนื่องจากมีอากาศร้อน ประกอบกับมีลมใต้และ ลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังแรงพัดนำความชื้นเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบน รวมทั้งบริเวณ ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงวันที่ 28 เม.ย.-2 พ.ค. 65 ทำให้ในช่วงดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่งผลให้เกิดความเสียหายในพื้นที่ 45 จังหวัด ทั้งนี้จากอิทธิพลของพายุฤดูร้อนที่เกิดขึ้นเกือบตลอดทั้งเดือนเมษายน 2565 ส่งผลให้มีปริมาณฝนรายเดือนมากกว่าปกติถึง 25% โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก ภาคเหนือ ละภาคกลางที่มีฝนมากกว่าปกติถึง 71% 37% และ 12% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 17/2565 (ระหว่างวันที่ 19-25 เม.ย. 65)

26-04-2022 13:36:17 น.

ประเทศไทยตอนบนเกิด “พายุฤดูร้อน” ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน และยังคงมีบริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง เพชรบูรณ์ กาฬสินธุ์ พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี และกรุงเทพมหานคร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 16/2565 (ระหว่างวันที่ 12-18 เม.ย. 65)

19-04-2022 14:47:37 น.

ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมาประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดตลอดทั้งสัปดาห์ โดยมีอุณหภูมิกลางแจ้งสูงสุดที่อ.โพทะเล จ.พิจิตร 44 องศาเซลเซียส (16 เม.ย. 65) อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง 43.5 องศาเซลเซียส (17 เม.ย. 65) และอ.แม่สะเรียง จ. แม่ฮ่องสอน 44.1 องศาเซลเซียส (18 เม.ย. 65) ประกอบกับในช่วงวันที่ 16-18 เม.ย. 65 มีบริเวณความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ในช่วงวันที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่งผลกระทบในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ พิจิตร ลำพูน สกลนคร มหาสารคาม อุดรธานี ชัยภูมิ นครนายก ปราจีนบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง โดยเฉพาะบริเวณ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ที่มีลมกระโชกแรงและเกิดพายุลูกเห็บตกหนักหลายพื้นที่ในวันที่ 17 เม.ย. 65

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 15/2565 (ระหว่างวันที่ 5-11 เม.ย. 65)

11-04-2022 16:42:57 น.

ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวไทย ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ยังคงมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ด้านฝั่งตะวันออก โดยมีปริมาณฝน สะสม 3 วัน (3-5 เมษายน 2565) สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดพัทลุง 307 มิลลิเมตรนครศรีธรรมราช 301 มิลลิเมตร ชุมพร 216 มิลลิเมตร สุราษฎร์ธานี 197 มิลลิเมตร และนราธิวาส 144 มิลลิเมตร ส่งผลให้วันที่ 5 เมษายน 2565 เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ของภาคใต้ ได้แก่ อำเภอดอนสักและอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมทั้งสิ้น 4 ตำบล 16 หมู่บ้าน ซึ่งบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 38 ครัวเรือน อำเภอควนขนุนและอำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ซึ่งมีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 40 ครัวเรือน และอำเภอสิชล อำเภอขนอม และอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายถึง 270 ครัวเรือน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 14/2565 (ระหว่างวันที่ 29 มี.ค.-4 เม.ย. 65)

07-04-2022 11:15:23 น.

ช่วงวันที่ 2-3 เม.ย. 65 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะในช่วงเที่ยงของวันที่ 2 เม.ย. 65 บริเวณปากช่อง จังหวัดนครราชสีมามีอุณหภูมิ 17.5 องศาเซลเซียส และวันที่ 3 เม.ย. 65 กรุงเทพมหานครมีอุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียส ซึ่งเย็นกว่าเชียงใหม่ที่มีอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยอากาศเย็นครั้งนี้เกิดไล่มาตั้งแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ลงสู่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยตอนบนอากาศเย็นลง ในช่วงวันที่ 2-3 เม.ย. 65 มาจากความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ซึ่งเป็นผลกระทบทางอ้อมจากการอ่อนกำลังของกระแสลมวนขั้วโลก (Polar Vortex) ที่ทำให้มวลอากาศเย็นบริเวณขั้วโลกไหลเข้ามาในบริเวณประเทศจีนมากขึ้น ประกอบกับลมตะวันออก (ลมค้า) ที่มีกำลังแรงช่วงปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้กระจายมวลอากาศเย็นปกคลุมประเทศไทยทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก จากอิทธิพลข้างต้น ส่งผลให้ในช่วงวนที่ 2-3 เม.ย. 65 ประเทศไทยเกิดฝนตกหนัก น้ำหลากที่น้ำตกแม่กลาง และน้ำล้นเอ่อจากคลองคูไหวท่วมบ้านเรือน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ส่วนภาคใต้ที่ได้รับอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมทั้งภาคใต้และทะเลอ่าวไทย ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรง ส่งผลให้วันที่ 2 เม.ย. 65 เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่คลองมุย และบ้านบางจำ ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 13/2565 (ระหว่างวันที่ 22-28 มี.ค. 65)

29-03-2022 13:28:07 น.

หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอล ทำให้ลมใต้และ ลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ใน ช่วงวันที่ 23-27 มีนาคม 2565 ประเทศไทยเกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฝนตกหนักถึง หนักมาก และมีลูกเห็บตกในพื้นที่ 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ กําแพงเพชร นครสวรรค์ ชัยนาท ร้อยเอ็ด อุดรธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มุกดาหาร ชัยภูมิ กระบี่ นครศรีธรรมราช และยะลา โดยวันที่ 27 มีนาคม 2565 อำเภอเมืองร้อยเอ็ดและอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เกิดฝนตกหนักและพายุลูกเห็บพัดถล่ม บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายถึง 45 หลังคาเรือน เช่นเดียวกับอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร และเทศบาลเมืองเบตง ตำบลตาเนาะแมเราะ ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตก โดยสามารถวัดฝนสะสม 24 ชั่วโมง สูงสุดที่จังหวัดยะลา 65.5 มิลลิเมตร มุกดาหาร 37.2 มิลลิเมตร และจังหวัดร้อยเอ็ด 36.7 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 12/2565 (ระหว่างวันที่ 15-21 มี.ค. 65)

22-03-2022 20:07:24 น.

ตั้งแต่วันที่ช่วงวันที่ 15-18 มี.ค. 65 ที่ผ่านมา กระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบน (5.5 กม. เหนือพื้นดิน) ที่พัดปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีกำลังแรงขึ้น และประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ประกอบกับมีความชื้นที่ถูกพัดเข้ามาจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสามารถวัดฝนสะสมสูงสุดได้ที่จังหวัดชลบุรี 136 มิลลิเมตร รองลงมาคือ จังหวัดน่าน 125 มิลลิเมตร และจังหวัดจันทบุรี 123 มิลลิเมตร ส่งผลกระทบในพื้นที่ 21 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก เชียงใหม่ พิษณุโลก เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ กําแพงเพชร ลําปาง เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ สุรินทร์ อุบลราชธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุทัยธานี และชัยนาท

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 11/2565 (ระหว่างวันที่ 8-14 มี.ค. 65)

15-03-2022 16:15:51 น.

พายุฤดูร้อน” ในช่วงวันที่ 6-8 มีนาคม 2565 โดยบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นและมีความชื้นที่พัดเข้ามาจากลมใต้ ลักษณะเช่นนี้ส่งผลให้เกิดพายุฤดูร้อน มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง มีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 6 มีนาคม 2565 มีพายุลูกเห็บตกในรอบ 30 ปี ที่อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายกว่า 50 หลัง และในวันที่ 7 มีนาคม 2565 มีลูกเก็บตก ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบริเวณบ้านแม่ตะละ ตำบลสันสลี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ซึ่งบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายจำนวน 319 หลัง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งสามารถวัดปริมาณฝนตกสะสม 24 ชั่วโมง สูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดน่าน 127 มิลลิเมตร เลย 113 มิลลิเมตร ตาก 97.5 มิลลิเมตร อุดรธานี 97 มิลลิเมตร ตราด 91.4 มิลลิเมตร เพชรบูรณ์ 86.5 มิลลิเมตร หนองคาย 85 มิลลิเมตร แพร่ 84.5 มิลลิเมตร สระแก้ว 83.5 มิลลิเมตร และฉะเชิงเทรา 82 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 10/2565 (ระหว่างวันที่ 1-7 มี.ค. 65)

08-03-2022 22:02:09 น.

เดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีฝนตกเฉลี่ย 83 มิลลิเมตร มากกว่าปกติถึง 5 เท่า หรือสูงที่สุดในรอบ 50 ปี โดยแต่ละภาคมีฝนตกมากกว่าปกติ 5-6 เท่า โดยเฉพาะภาคใต้ที่มีฝนตกหนักจนทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนในเดือนกุมภาพันธ์มากถึง 420 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากที่สุดฅในรอบ 10 ปี และวันที่ 2 มี.ค. 65 กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศให้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการและจากข้อมูลตรวจวัดสภาพอากาศสถานีโทรมาตรของสสน. พบว่า ตั้งแต่วันที่ 2-7 มี.ค. 65 ประเทศไทยมีอุณหภูมิกลางแจ้งสูงมากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะวันที่ 5 มี.ค. 65 ที่มีอุณหภูมิร้อนจัด (อุณหภูมิมากกว่า 40 องศาเซลเซียส) บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีอุณหภูมิสูงสุด 44 องศาเซลเซียส บริเวณจังหวัดแพร่และลำปางและจากคาดการณ์สภาพอากาศในช่วงวันที่ 7-8 มี.ค. 65 ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เนื่องจากจากบริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทั้งนี้ขอให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และสามารถดูรายงานเก่าๆ ย้อนหลังได้ที่ http://www.thaiwater.net/report

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 09/2565 (ระหว่างวันที่ 22-28 ก.พ. 65)

02-03-2022 10:02:46 น.

ช่วงวันที่ 25-28 ก.พ. 65 เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง บริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช ตรัง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ช่วงวันที่ 25-28 ก.พ. 65 โดยมีปริมาณฝนสะสม 5 วัน (วันที่ 24-28 ก.พ. 65) สูงสุด บริเวณจังหวัดนราธิวาส 889 มิลลิเมตร ยะลา 689 มิลลิเมตร และจังหวัดปัตตานี 362 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นปริมาณฝนสะสมสูงสุดในรอบ 10 ปี รวมถึงมีน้ำไหลลงเขื่อนบางลางมากถึง 154 ล้าน ลบ.ม. ในช่วงวันที่ 26-28 ก.พ. 65 เดือนกุมภาพันธ์ 2565 บริเวณภาคใต้ที่รับลมมาจากมหาสมุทรแปซิฟิกมีแนวโน้มฝนตกมากกว่าค่าปกติ เนื่องจากอุณหภูมิผิวน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางมีสภาวะเป็น “ลานีญา” และรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงแผ่ลงมา ปกคลุมประเทศไทยตอนบนส่งผลให้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนเข้าใกล้ประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้โดยเฉพาะบริเวณสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันในช่วงวันที่ 24-27 ก.พ. 65

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 08/2565 (ระหว่างวันที่ 15-21 ก.พ. 65)

22-02-2022 15:01:57 น.

กระแสลมตะวันตกที่แผ่เสริมลงมาบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์มีกำลังค่อนข้างแรงกว่าในหลายปีที่ผ่านมา ประกอบกับเป็นช่วงที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามามีกำลังแรง ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมถึงภาคใต้ โดยช่วงวันที่ 14-15 ก.พ. 65 ได้เกิดน้ำหลากจังหวัดกำแพงเพชรและอุทัยธานี มีปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมงสูงสุด ที่ จังหวัดกำแพงเพชร 189 มิลลิเมตร และอุทัยธานี 134 มิลลิเมตร ในวันที่ 15 ก.พ. 65 และในช่วงวันที่ 15-17 ก.พ. 65 ภาคใต้มีฝนหนักถึงหนักมาก ทำให้ เกิดน้ำหลากในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช และพัทลุง ซึ่งมีปริมาณฝนสูงสุด 24 ชั่วโมง ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 145 มิลลิเมตร นครศรีธรรมราช 189 มิลลิเมตร และพัทลุง 145 มิลลิเมตร ในวันที่ 16 ก.พ. 65 ซึ่งถือเป็นปริมาณฝนที่ตกมากสุดในรอบ 5 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เมื่อเทียบกับปริมาณฝนที่ตกในช่วงเวลาเดียวกัน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 07/2565 (ระหว่างวันที่ 8-14 ก.พ. 65)

15-02-2022 09:49:07 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยอ่อนกำลังลง ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าปกคุลมประเทศไทยตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ และมีลมตะวันตกในระดับลมชั้นบนพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นและมีฝนตกในบางพื้นที่ บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้มีกำลังปานกลาง ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกตลอดทั้งสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 06/2565 (ระหว่างวันที่ 1-7 ก.พ. 65)

08-02-2022 15:12:37 น.

อิทธิพลของน้ำทะเลหนุน ทำให้ระดับน้ำบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้ามีค่าเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติตลอดทั้งสัปดาห์ โดยกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือวัดค่าระดับน้ำบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้าได้สูงถึง 2.10 ม.รทก. ในวันที่ 1 ก.พ. 65 เวลา 07.00 น. ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมถนนในหลายพื้นที่ของอำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ในวันที่ 1 ก.พ. 65 นอกจากนี้บริเวณความกดอากาศสูงได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับกระแสลมตะวันตกพัดปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ส่งผลให้เกิดพายุฝนและลูกเห็บตกในหลายพื้นที่ของอำเภอขุนยวมและอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ในช่วงวันที่ 6 ก.พ. 65

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 05/2565 (ระหว่างวันที่ 25-31 ม.ค. 65)

01-02-2022 17:56:56 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงอ่อนกำลัง ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน และมีลมตะวันตกในระดับลมชั้นบนพัดปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนที่พัดปกคลุมภาคใต้และทะเลอ่าวไทย ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 04/2565 (ระหว่างวันที่ 18-24 ม.ค. 65)

25-01-2022 12:57:09 น.

สัปดาห์นี้อิทธิพลของกระแสลมตะวันตกที่พัดปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศ ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือของประเทศมีฝนตกหนักถึงหนักมาก และมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง โดยในช่วงวันที่ 20-21 ม.ค. 65 มีฝนตกหนักมากกว่า 90 มิลลิเมตรต่อวัน ได้แก่ จังหวัดตราด 97 มิลลิเมตร น่าน 93 มิลลิเมตร และลพบุรี 91 มิลลิเมตร และในวันที่ 20 ม.ค. 65 ได้เกิดพายุลูกเห็บพัดถล่มอย่างหนักในพื้นที่ บ้านหนองลาว ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 03/2565 (ระหว่างวันที่ 11-17 ม.ค. 65)

18-01-2022 11:54:12 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงที่พัดปกคลุมประเทศไทยอ่อนกำลังลง ประกอบกับมีลมตะวันตกในระดับลมชั้นบนพัดปกคลุมบริเวณภาคเหนือในช่วงกลางสัปดาห์ถึงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกบริเวณภาคเหนือตอนบน ส่วนลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนที่พัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้ ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีปริมาณฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 02/2565 (ระหว่างวันที่ 4-10 ม.ค. 65)

10-01-2022 17:10:30 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยอ่อนกำลังลง ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยอ่อนกำลังลง ส่งผลให้สัปดาห์นี้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณภูมิสูงขึ้นและภาคใต้มีฝนลดลง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 01/2565 (ระหว่างวันที่ 28 ธ.ค. 64 - 3 ม.ค. 65)

04-01-2022 14:31:43 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวเข้าปกคลุมชายฝั่งของประเทศมาเลเซียตอนล่าง ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้ภาคใต้กลับมามีฝนตกหนักอีกครั้งในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีฝนตกต่อเนื่องในช่วงวันที่ 29-30 ธ.ค. 64 โดยสามารถวัดฝนตกหนักมากกว่า 90 มิลลิเมตรต่อวัน ที่สถานีนบพิตำ ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดได้ 115.8 มิลลิเมตร และสถานีอบต.เทพราช ตำบลเทพราช อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดได้ 92.4 มิลลิเมตร และส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมในที่ลุ่มต่ำริมคลองอำเภอนบพิตำและอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 52/2564 (ระหว่างวันที่ 21-27 ธ.ค. 64)

28-12-2021 15:01:52 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลงในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่างในช่วงวันที่ 21-22 ธ.ค. 64 ส่งผลให้มีฝนตกบริเวณภาคใต้ตอนล่าง หลังจากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนอีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเพิ่มขึ้น ส่วนภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักบางพื้นในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 51/2564 (ระหว่างวันที่ 14-20 ธ.ค. 64)

21-12-2021 16:02:03 น.

อิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซีย ทำให้ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากตั้งแต่วันที่ 16-18 ธ.ค. 64 โดยเฉพาะบริเวณตอนบนของแม่น้ำสายบุรีและแม่น้ำโก-ลก ส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมในที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำบริเวณอำเภอสุคิริน อำเภอแว้ง และอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส โดยปริมาณฝนสะสม 3 วัน (16-18 ธ.ค. 64) สถานีสะพานตาบัว บ้านยาเด๊ะ ต.มาโมง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส สูงถึง 408.6 มม. และปริมาณฝนสะสมรายชั่วโมงใน 3 ช่วงเวลา ได้แก่ วันที่ 16 ธ.ค. 64 เวลา 11.00 น. วัดได้ 10.40 มม. วันที่ 17 ธ.ค. 64 เวลา 03.00 น. วัดได้ 26 มม. และวันที่ 17 ธ.ค. 64 เวลา 22.00 น. วัดได้ 36.20 มม. ส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณสถานีสุคิริน ต.สุคิริน อ.สุคิริน จ.นราธิวาส เพิ่มสูงขึ้นโดยในวันที่ 17 ธ.ค. 64 เวลา 10.30 น. วัดได้ 9.03 ม.รทก. วันที่ 18 ธ.ค. 64 เวลา 05.20 น. วัดได้ 9.43 ม.รทก. และระดับน้ำเพิ่มสูงสุด 10.82 ม.รทก ในวันที่ 18 ธ.ค. 64 เวลา 21.50 น. ส่วนปริมาณฝนสะสมราย 3 วัน สถานีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ต.โละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส สูงถึง 312.4 มม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 50/2564 (ระหว่างวันที่ 7-13 ธ.ค. 64)

13-12-2021 17:38:19 น.

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณภาคใต้ยังคงได้รับผลกระทบจากอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุนอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรง ทำให้มีน้ำไหลเข้าท่วมบ้านเรือนที่อยู่ใกล้ปากแม่น้ำตาปีและแม่น้ำพุนพิน บริเวณอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีและอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้จากโทรมาตรตรวจวัดระดับน้ำบริเวณสถานีชุมชนลีเล็ดตรวจวัดระดับน้ำได้สูงสุด ณ วันที่ 8 ธ.ค. 64 เวลา 14.50 น. สูงถึง 12.51 ม.รทก. ซึ่งสูงกว่าในช่วงวันที่ 5 ธ.ค. 64 ที่ผ่านมา

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 49/2564 (ระหว่างวันที่ 30 พ.ย. - 6 ธ.ค. 64)

07-12-2021 20:49:19 น.

จากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 64 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และน้ำล้นตลิ่งหลายพื้นที่ในช่วงวันที่ 30 พ.ย. - 6 ธ.ค. 64 โดยเฉพาะบริเวณอำเภอเมือง สวี ทุ่งตะโก พะโต๊ะ หลังสวน และละแม จังหวัดชุมพร ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา โดยวันที่ 1 ธ.ค. 64 เวลา 17.40 น. บริเวณสถานีหลังสวน จังหวัดชุมพร มีระดับน้ำล้นตลิ่งสูงถึง 7.94 ม.รทก. (ระดับตลิ่ง 4.148 ม.รทก.) และบริเวณตำบลปากตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 24 ชั่วโมง สูงถึง 571.8 มิลลิเมตร ณ วันที่ 1 ธ.ค. 64 เวลา 9.00 น. และปริมาณฝนสะสมสูงสุด 3 วัน สูงถึง 715.8 มิลลิเมตร ในช่วงวันที่ 30 พ.ย. – 2 ธ.ค. 64 ทั้งนี้ตั้งแต่ในช่วงวันที่ 5-6 ธ.ค. 64 บริเวณตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดน้ำล้นตลิ่งท่วมเข้าพื้นที่ เนื่องจากได้รับอิทธิพลน้ำทะเลหนุนบริเวณปากแม่น้ำตาปีและแม่น้ำพุนพิน ซึ่งโทรมาตรตรวจวัดระดับน้ำบริเวณสถานีชุมชนลีเล็ดตรวจวัดระดับน้ำได้สูงสุด ณ วันที่ 5 ธ.ค. 64 เวลา 12.10 น. สูงถึง 12.49 ม.รทก.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 48/2564 (ระหว่างวันที่ 23-29 พ.ย. 64)

01-12-2021 11:38:47 น.

ตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา ภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งเดือน และในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ในช่วงวันที่ 25-29 พ.ย. 64 ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากตลอดทั้งสัปดาห์ในหลายจังหวัด ทำให้มีน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งบริเวณภาคใต้รวมทั้งสิ้น 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และสุราษฎร์ธานี โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ตรวจวัดได้สูงสุดที่อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา 445 มิลลิเมตร รองลงมาคืออำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 297 มิลลิเมตร และเทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 295 มิลลิเมตร รวมทั้งทำให้มีน้ำทะเลซัดฝั่งเข้าท่วมพื้นที่ชายทะเลบริเวณอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 24 พ.ย. 64 โดยมีคลื่นยกตัวสูงกว่าปกติ 0.6 เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 47/2564 (ระหว่างวันที่ 16-22 พ.ย. 64)

24-11-2021 10:55:07 น.

จากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกําลังแรง ทำให้มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน สูงสุด บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 308 มิลลิเมตร และมีปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมงสูงสุด บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี 117 มิลลิเมตร ในวันที่ 16 พ.ย. 64 เวลา 04.00 น. และ 05.00 น. ทำให้สัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี สตูล และสงขลา ซึ่งปัจจุบันยังคงเกิดน้ำล้นตลิ่งบริเวณคลองอิปัน ตำบลไทรขึง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และแม่น้ำตาปี ตำบลทุ่งหลวง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 46/2564 (ระหว่างวันที่ 9-15 พ.ย. 64)

21-11-2021 23:27:25 น.

ช่วงวันที่ 8-12 พ.ย. 64 อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณตอนกลางของภาคใต้ ทำให้เกิดฝนตกหนัก ส่งผลให้มีน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดชุมพรมีน้ำท่วม 4 อำเภอ และมีน้ำท่วมถนนที่ทางหลวงหมายเลข 41 บริเวณสี่แยกปฐมพรถึงหลังสวน ทำให้ต้องปิดการจราจรยาว 65 กิโลเมตร โดยจังหวัดชุมพร มีปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมง สูงถึง 551 มิลลิเมตร ณ วันที่ 12 พ.ย. 64 เวลา 19:00 น. จากอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าวประกอบกับอิทธิพลจากระดับน้ำขึ้น-น้ำลงสูงมากกว่าปกติในช่วงน้ำเกิด ทำให้บริเวณอ่าวไทยและภาคใต้ตอนบนมีระดับน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้นมากกว่าปกติ ส่งผลให้มีน้ำล้นตลิ่งและน้ำทะเลซัดฝั่งเข้าท่วมพื้นที่ชายทะเลและทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณริมแม่น้ำของกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ โดยจากข้อมูลสถานีตรวจวัดระดับน้ำป้อมพระจุลจอมเกล้า มีระดับน้ำสูงสุด 2 ม.รทก. ในวันที่ 9 พ.ย. 64 เวลา 08:20 น. ซึ่งมากกว่าระดับน้ำขึ้นน้ำลงคาดการณ์ 50 ซม. และบริเวณเกาะมัตโพน จ.ชุมพร มีระดับน้ำทะเลยกตัวสูงกว่าระดับน้ำขึ้นน้ำลงคาดการณ์ ประมาณ 51 ซม ในวันที่ 10 พ.ย. 64 เวลา 13:24 น.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 45/2564 (ระหว่างวันที่ 2-8 พ.ย. 64)

09-11-2021 14:25:59 น.

บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง และหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซียตั้งแต่วันที่ 4-8 พ.ย. 64 ทำให้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มและมีฝนตกหนักได้ในบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 44/2564 (ระหว่างวันที่ 26 ต.ค.-1 พ.ย. 64)

02-11-2021 14:10:06 น.

สัปดาห์นี้บริเวณภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์กับมีฝนตกหนักบางแห่ง รวมถึงมีฝนตกหนักมากบริเวณบริเวณจังหวัดสตูล 102 มิลลิเมตร กระบี่และภูเก็ต 95 มิลลิเมตร และทำให้ในวันที่ 30 ต.ค.64 เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบริเวณอำเภอเบตง จังหวัดยะลา เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนและทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 43/2564 (ระหว่างวันที่ 19-25 ต.ค. 64)

26-10-2021 16:14:18 น.

ช่วงวันที่ 21-25 ต.ค. 64 เกิดน้ำป่าไหลหลากในบริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลําปาง และอุตรดิตถ์ เนื่องจากมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. 64 จากอิทธิพลของกระแสลมตะวันตกที่พัดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบน โดยมีปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุดบริเวณจังหวัดพะเยา 129 มิลลิเมตร (22 ต.ค. 64) เชียงราย 102 มิลลิเมตร (21 ต.ค. 64) และเชียงใหม่ 84 มิลลิเมตร (21 ต.ค. 64)

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 42/2564 (ระหว่างวันที่ 12-18 ต.ค. 64)

19-10-2021 09:13:26 น.

อิทธิพลของพายุโซนร้อน “คมปาซุ” (KOMPASU) ในช่วงวันที่ 12-14 ต.ค. 64 ทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังเรงขึ้น และมีร่องมรสุมเลื่อนพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ส่งผลให้มีฝนตกหนักและมีฝนตกหนักมาก บางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักและมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกตลอดสัปดาห์ โดยมีปริมาณฝนสะสมช่วงวันที่ 15-17 ต.ค. 64 สูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ จังหวัดตาก 160 มิลลิเมตร บุรีรัมย์ 134 มิลลิเมตร และสระแก้ว 129 มิลลิเมตร ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากบริเวณจังหวัดตาก เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ลพบุรี ปราจีนบุรี นครนายก และจันทบุรี จากปริมาณฝนที่ตกต่อเนื่อง ทำให้เขื่อนขนาดใหญ่ของประเทศไทยบริเวณภาเหนือ ภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มสูงขึ้น และวันที่ 18 ต.ค. 64 มีเขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บเกินความจุเขื่อน รวมทั้งสิ้น 6 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนหนองปลาไหล เขื่อนนฤบดินทรจินดา เขื่อนทับเสลา เขื่อนแม่มอก เขื่อนป่าสักฯ และเขื่อนกระเสียว

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 41/2564 (ระหว่างวันที่ 5-11 ต.ค. 64)

12-10-2021 15:14:51 น.

พายุโซนร้อน “ไลออนร็อก” แม้ว่าจะไม่ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง แต่ส่งผลทางอ้อมต่อประเทศไทยในช่วงวันที่ 6-11 ต.ค. 64 ดังนี้ 1. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ฝนตกหนักบริเวณด้านตะวันตกของภาคใต้และภาคตะวันออกในช่วงวันที่ 5-8 ต.ค. 64 ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งบริเวณจังหวัดพังงา จังหวัดชุมพร และสตูล 2. ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนปานกลางถึงตกหนักตลอดทั้งสัปดาห์ 3. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวที่สลายตัวจากพายุ ได้เคลื่อนเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในวันที่ 10-11 ต.ค. 64

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 40/2564 (ระหว่างวันที่ 28 ก.ย. - 4 ต.ค. 64)

05-10-2021 16:36:50 น.

สัปดาห์ที่ผ่านมาสถานการณ์น้ำท่วมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากระดับน้ำที่ล้นตลิ่งของแม่น้ำชีในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิเริ่มลดลงแล้ว ปัจจุบันมวลน้ำได้เดินทางมาถึงจังหวัดขอนแก่น โดยมีระดับน้ำสูงสุดที่สถานี E.9 อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.04 เมตร ทั้งนี้มวลน้ำดังกล่าวจะเคลื่อนตัวไปตามแม่น้ำชีและไปบรรจบกับแม่น้ำมูลที่บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี จึงควรเฝ้าติดตามระดับน้ำที่จะเพิ่มสูงขึ้นและอาจล้นตลิ่งได้ในบางแห่งบริเวณพื้นที่ลุ่มริมแม่น้ำ ส่วนบริเวณลุ่มน้ำป่าสักยังคงมีระดับน้ำล้นตลิ่งในบางแห่ง ประกอบกับปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังคงมีค่อนข้างมาก ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำจากแม่น้ำป่าสักลงไปได้มากนัก ส่งผลให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยายังคงมีน้ำท่วมขังอยู่ในหลายพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 39/2564 (ระหว่างวันที่ 20-27 ก.ย. 64)

28-09-2021 15:03:19 น.

สัปดาห์นี้ในช่วงวันที่ 23-26 ก.ย. 64 เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 27 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด เชียงใหม่ ลําพูน ลําปาง ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กําแพงเพชร เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมาบุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี สระแก้ว จันทบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม เนื่องจากอิทธิพลของพายุเตี้ยนหมู่ที่เคลื่อนตัวผ่านประเทศไทยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่างในช่วงวันที่ 24-26 ก.ย. 64 ทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใตฝั่งตะวันตก โดยมีฝนตกหนักมากกว่า 90 มิลลิเมตร จำนวน 27 จังหวัด โดยมีปริมาณฝนสูงสุด ที่จังหวัดนครสวรรค์ 271 มิลลิเมตร จังหวัดเพชรบูรณ์ 200 มิลลิเมตร และจันทบุรี 174 มิลลิเมตร ทั้งนี้จากอิทธิพลดังกล่าวส่งผลให้ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง เพิ่มมากขึ้น และมีน้ำล้นทางระบายน้ำล้นบริเวณเขื่อนแม่มอก เขื่อนจุฬาภรณ์ และเขื่อนหนองปลาไหล โดยมีปริมาณน้ำกักเก็บมากถึง 108.40% 101.89% และ100.43% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 38/2564 (ระหว่างวันที่ 14-20 ก.ย. 64)

20-09-2021 17:33:45 น.

“เขื่อนแม่มอก” มีปริมาณน้ำกักเก็บสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ถึง 121.20 ล้านลูกบาศก์เมตร (110%) ในวันที่ 17 กันยายน 2564 และมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สูงสุด 17.55 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 16 กันยายน 2564 เนื่องจากได้รับอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนาม และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทย ทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่องและฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง โดยมีฝนตกหนักตั้งแต่ 90 มิลลิเมตรต่อวัน ได้แก่ บริเวณจังหวัดลำปาง ตาก สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุบลราชธานี อุดรธานี สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 37/2564 (ระหว่างวันที่ 7-13 ก.ย. 64)

20-09-2021 17:30:27 น.

สัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม 27 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด นครนายก ลพบุรี สมุทรปราการ ระนอง กระบี่ และตรัง เนื่องจากได้รับอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ แต่บริเวณเหนือเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์กลับมีฝนตกเพียงเล็กน้อย และน้อยต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 64 ส่งผลให้มีน้ำใช้การได้ของ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพียง 2,882 ล้านลูกบาศก์เมตร (13 กันยายน 2564) และเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำกักเก็บน้อยเป็นอันดับ 2 รองจากปี 2536 ซึ่งเป็นปีที่เกิดภัยแล้งรุนแรงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2536-2537 เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนมา

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 36/2564 (ระหว่างวันที่ 31 ส.ค.-6 ก.ย. 64)

07-09-2021 18:52:30 น.

จากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทย ทำให้สัปดาห์นี้มีฝนตกหนักมากกว่า 90 มิลลิเมตรต่อวัน บริเวณจังหวัดระนอง ตราด บึงกาฬ ยะลา ชลบุรี เพชรบูรณ์ อุทัยธานี สระแก้ว มหาสารคาม ชัยนาท อุบลราชธานี ประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพมหานคร ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดตาก กำแพงแพชร กาญจนบุรี พังงา สุพรรณบุรี ชลบุรี ปราจีนบุรี พิษณุโลก อ่างทอง แม่ฮ่องสอน และเลย ส่งผลให้สัปดาห์นี้มีน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ถึง 1,556 ล้าน ลบ.ม. ส่วน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีน้ำไหลลงเขื่อน 401 ล้าน ลบ.ม. แต่มีน้ำใช้การได้ในปัจจุบันเพียง 2,081 ล้าน ลบ.ม. (วันที่ 6 ก.ย. 64) ซึ่งใกล้เคียงกับปี 2558 ที่เกิดภัยแล้ง โดยมีปริมาณน้ำมากกว่าเพียง 126 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 35/2564 (ระหว่างวันที่ 24-30 ส.ค. 64)

30-08-2021 18:47:19 น.

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทยมีกำลังอ่อนในวันที่ 24 ส.ค. 64 จากนั้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ในช่วงวันที่ 25-30 ส.ค. 64 ส่งผลให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของประเทศ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 34/2564 (ระหว่างวันที่ 17-23 ส.ค. 64)

24-08-2021 18:02:48 น.

ภาคเหนือยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนบน โดยมีฝนตกหนักมากกว่า 90 มิลลิเมตรต่อวัน บริเวณจังหวัดน่าน ลำปาง และอุทัยธานี ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มบริเวณ อ.เมือง จ.เชียงราย อ.แม่อาย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ในช่วงวันที่ 19-20 ส.ค. 64 ส่วนภาคใต้มีฝนตกต่อนื่องตลอดทั้งสัปดาห์และมีฝนตกหนักมากกว่า 90 มิลลิเมตรต่อวัน บริเวณจังหวัดกระบี่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา และสตูล ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มบริเวณ อ.ทุ่งใหญ่ อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช อ.วิภาวดี และอ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี ในช่วงวันที่ 17-22 ส.ค. 64

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 33/2564 (ระหว่างวันที่ 10-16 ส.ค. 64)

17-08-2021 12:17:53 น.

สัปดาห์นี้หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทะเลอ่าวไทย และประเทศไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของประเทศ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 32/2564 (ระหว่างวันที่ 3-9 ส.ค. 64)

10-08-2021 13:35:00 น.

สัปดาห์นี้ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศไทยตอนบน ประเทศลาว และประเทศเวียดนามตอนบนเข้าสู่พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงในช่วงต้นสัปดาห์และค่อยๆ อ่อนกำลังลงตั้งแต่กลางสัปดาห์ถึงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์และปริมาณฝนลดลงตั้งแต่กลางสัปดาห์จนถึงปลายสัปดห์ ส่วนภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์กับมีฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 31/2564 (ระหว่างวันที่ 27 ก.ค. - 2 ส.ค. 64)

03-08-2021 12:32:51 น.

จากอิทธิพลร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศลาวตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอ่าวไทย อันดามัน และประเทศไทยมีกำลังแรง ทำให้สัปดาห์ที่ผ่านมาประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากด้านตะวันตกของประเทศ โดยมีปริมาณฝนรายวันมากกว่า 90 มิลลิเมตร บริเวณจังหวัดเชียงราย น่าน ตาก กาญจนบุรี ชุมพร ระนอง พังงา สุราษฎร์ธานี ตรัง และกระบี่ ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนรวม 2,553 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเฉพาะบริเวณเขื่อนวชิราลงกรณ 1,031 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนศรีนครินทร์ 498 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 30/2564 (ระหว่างวันที่ 20-26 ก.ค. 64)

27-07-2021 16:43:29 น.

“เจิมปากา” เติมน้ำในเขื่อนกว่า 1,500 ล้าน ลบ.ม. พายุโซนร้อน "เจิมปากา" ที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในขณะที่เป็นพายุดีเปรสชัน ประกอบกับมีร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยตอนบน ทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ โดยมีบริเวณที่มีฝนตกสะสมสูงสุดตลอดสัปดาห์ ได้แก่ จังหวัดนครพนม 257 มิลลิเมตร จังหวัดระนอง 217 มิลลิเมตร และจังหวัดอุบลราชธานี 203 มิลลิเมตร ส่งผลให้ช่วงวันที่ 23-26 ก.ค. 64 เกิดน้ำป่าไหลหลาก ลมกระโชกแรง และดินถล่มในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เลย กาฬสินธุ์ ยโสธร ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด และปัตตานี รวมทั้งสิ้น 10 อำเภอ 15 ตำบล และ 35 หมู่บ้าน โดยมีบ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 77 ครัวเรือน ทั้งนี้ “เจิมปากา” ได้ช่วยเติมน้ำในเขื่อนตลอดสัปดาห์ โดยมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่รวมกัน 1,605 ล้าน ลบ.ม. โดยเฉพาะภาคกลางที่เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำไหลเข้ารวมกันถึง 1,007 ล้าน ลบ.ม. ภาคเหนือ 303 ล้าน ลบ.ม. และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 168 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 29/2564 (ระหว่างวันที่ 13-19 ก.ค. 64)

20-07-2021 16:44:55 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ส่งผลให้ 4 เขื่อนหลัก ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีปริมาณน้ำใช้การเพิ่มขึ้น โดยมีปริมาณน้ำใช้การได้ 856 ล้าน ลบ.ม. และมีการจัดสรรน้ำสะสมตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 64-19 ก.ค. 64 ไปแล้วถึง 2,559 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 91% ของแผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2564

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 28/2564 (ระหว่างวันที่ 6-12 ก.ค. 64)

13-07-2021 17:01:43 น.

อิทธิพลจากร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทยมีกำลังแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากทั่วทุกภูมิภาคตลอดทั้งสัปดาห์ โดยโทรมาตรตรวจวัดอัตโนมัติสามารถตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน บริเวณจังหวัดตรัง 468 มิลลิเมตร ระนอง 384 มิลลิเมตร จันทบุรี 334 มิลลิเมตร นครนายก 202 มิลลิเมตร และแม่ฮ่องสอน 115 มิลลิเมตร ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก นอกจากนี้ยังส่งผลให้ประเทศไทยมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ขนาดใหญ่ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา 604 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยบริเวณภาคเหนือ 176 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคใต้ 161 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 116 ล้านลูกบาศก์เมตร และภาคตะวันตก 103 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 27/2564 (ระหว่างวันที่ 29 มิ.ย.-5 ก.ค. 64)

05-07-2021 16:33:35 น.

สัปดาห์นี้หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามและลาวตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทย มีกำลังอ่อนลงในช่วงปลายสัปดาห์ และลมตะวันตกในระดับลมชั้นบนพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้สัปดาห์นี้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกระจายตัวบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงต้นสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์ ส่วนภาคตะวันออกและภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกระจายตัวบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 26/2564 (ระหว่างวันที่ 22-28 มิ.ย. 64)

29-06-2021 09:55:58 น.

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุม ทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทยยังคงมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักได้ในบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและด้านตะวันตกของประเทศ หลังจากนั้นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทะเลอ่าวไทย และประเทศไทย มีกำลังปานกลาง ส่งผลให้ประเทศไทยจะมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางกระจายตัวอยู่ทั่วทุกภาค กับมีฝนตกหนักได้ในบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของประเทศ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 25/2564 (ระหว่างวันที่ 15-21 มิ.ย. 64)

22-06-2021 16:42:33 น.

จากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมีพายุโซนร้อน “โคะงุมะ” ที่สลายตัวปกคลุมประเทศลาว ในช่วงวันที่ 13-15 มิถุนายน 2564 ทำให้มีฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือและมีฝนตกหนักมากกว่า 90 มิลลิเมตร บริเวณจังหวัด น่าน แพร่ พะเยา และเชียงราย ส่งผลให้ในช่วงวันที่ 15-17 มิถุนายน 2564 เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมถึง 165 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 16 มิถุนายน 2564 มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนมากสุด 74 ล้าน ลูกบาศก์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 24/2564 (ระหว่างวันที่ 8-14 มิ.ย. 64)

15-06-2021 10:23:46 น.

จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “โคะงุมะ” ในช่วงวันที่ 11-13 มิ.ย. 64 ประกอบกับร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือ ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ โดยสถานีโทรมาตรอัตโนมัติภายใต้คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมง (ณ วันที่ 14 มิ.ย. 64) สูงสุด ที่ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน 250 มม. อ.เชียงกลาง จ.น่าน 240 มม. และอ.ปง จ.พะเยา 205 มม. ทำให้ในวันที่ 14 มิ.ย. 64 ระดับน้ำแม่น้ำน่าน บริเวณอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เพิ่มสูงขึ้น 5 เมตร ภายในเวลา 14 ชั่วโมง และแม่น้ำเงิน บริเวณอำเภอปง จังหวัดพะเยา เพิ่มสูงขึ้น 2 เมตร ภายในเวลา 11 ชั่วโมง และระดับน้ำทั้งสองสายยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 23/2564 (ระหว่างวันที่ 1-7 มิ.ย. 64)

09-06-2021 16:55:16 น.

เดือนพฤษภาคม 2564 มีปริมาณฝนเฉลี่ยเพียง 130 มิลลิเมตร ซึ่งน้อยกว่าปกติ 31% โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ 78 มม. (-44%) 61 มม. (-38%) และ 61 มม.(-33%) ตามลำดับ ทำให้เดือนพฤษภาคมมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ในภาคเหนือ 385 ล้าน ลบ.ม. และ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยามีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เพียง 280 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าเดือนเมษายนที่ผ่านมา 70 ล้าน ลบ.ม. และปัจจุบัน(7 มิ.ย. 64) มีปริมาณน้ำใช้การเพียง 1,426 ล้าน ลบ.บ. ซึ่งหากเทียบกับวันเดียวกันของปีที่ฝนแล้งในอดีต พบว่า ปี 2564 มีปริมาณน้ำใช้การน้อยเป็นลำดับที่ 5 โดยปีที่มีปริมาณน้ำใช้การได้น้อยสุดคือ ปี 2553 และ 2563 ที่มีน้ำใช้การเท่ากันคือ 1,158 ล้าน ลบ.ม. รองลงมาคือ ปี 2556 และปี 2559 ซึ่งมีน้ำใช้การ 1,340 ล้าน ลบ.ม. และ1,389 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับ แม้ว่าปีนี้ปริมาณน้ำใช้การของ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่ได้น้อยที่สุด แต่อาจส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนน้ำได้มากกว่าปีอื่นๆ เนื่องจากเริ่มมีการเพาะปลูกข้าวนาปี ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนเมษายน โดยเพิ่มขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ย และมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ถึง 3 ล้านไร่ ซึ่งปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยาอาจมีไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก โดยเฉพาะช่วงที่ฝนตกลดลงน้อยกว่าค่าเฉลี่ยช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 22/2564 (ระหว่างวันที่ 25-31 พ.ค. 64)

01-06-2021 13:18:51 น.

จากอิทธิพลของพายุไซโคลน “ยาอาส” ทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมไปถึงภาคใต้ด้านฝั่งตะวันตก ทำให้เกิดน้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลันบริเวณพื้นที่ตำบลเกาะช้างและตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด ในช่วงวันที่ 27 พ.ค. 64

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 21/2564 (ระหว่างวันที่ 18-24 พ.ค. 64)

31-05-2021 13:35:05 น.

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเต็มตัวตามประกาศของทางกรมอุตุนิยิมวิทยา และมีรายงานฝนตกหนักในหลายพื้นทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย อันเนื่องมาจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทย โดยที่บริเวณจังหวัดเชียงรายสภาพดินมีความชุ่มน้ำจากฝนที่ตกในช่วงก่อนหน้าแล้ว และในวันที่ 18 พ.ค. 64 โทรมาตรตรวจวัดอัตโนมัติจากคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติบริเวณดอยมด อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย วัดปริมาณฝนได้ 75 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า และที่กรุงเทพมหานครมีฝนตกหนักในวันที่ 19 พ.ค. 64 ซึ่งโทรมาตรตรวจวัดอัตโนมัติบริเวณคลองแสนแสบวัดปริมาณฝนได้ 70 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังบนถนนหลายสาย เช่น ถนนสุขุมวิท พลับพลาไชย ราชดำเนิน และพระราม 4

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 20/2564 (ระหว่างวันที่ 11-17 พ.ค. 64)

18-05-2021 14:11:51 น.

จากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยโทรมาตรตรวจวัดอัตโนมัติวัดปริมาณฝนรายวันที่ตกมากกว่า 70 มิลลิเมตร ได้บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย เพชรบูรณ์ เลย ราชบุรี ชลบุรี เพชรบุรี สงขลา นราธิวาส ปัตตานี และยะลา ส่งให้ในวันที่ 11 พ.ค. 64 เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำหลากในหลายพื้นที่ ได้แก่ บริเวณตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ตำบลปลวกแดง อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง และตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา และในวันที่ 12 พ.ค. 64 เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำหลากบริเวณตำบลบาโหยและตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ทั้งนี้ประเทศไทยได้ประกาศสิ้นสุดฤดูร้อนและเริ่มต้นเข้าสู่ “ฤดูฝน” ในวันที่ 15 พ.ค. 64

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 19/2564 (ระหว่างวันที่ 4-10 พ.ค. 64)

11-05-2021 17:53:35 น.

สัปดาห์นี้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน และมีกระแสลมตะวันตกพัดเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคเหนือในช่วงวันที่ 5-6 พ.ค. 64 ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงกลางสัปดาห์ ส่งผลมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในช่วงกลางสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกตลอดทั้งสัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 18/2564 (ระหว่างวันที่ 27 เม.ย. - 3 พ.ค. 64)

05-05-2021 11:57:33 น.

จากอิทธิพลของพายุฤดูร้อนที่เกิดขึ้นตลอดเดือนเมษายน 2564 ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ประเทศไทยมีปริมาณฝนเฉลี่ย 171 มิลลิเมตร ซึ่งมากกว่าค่าปกติถึง 87 มิลลิเมตร (102%) ทั้งนี้ยังมีปริมาณฝนที่มากกว่าค่าปกติในทุกภาค โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางที่มีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ 114 มิลลิเมตร (160%) 139 มิลลิเมตร (135%) และ 94 มิลลิเมตร (127%) ตามลำดับ ทำให้ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมตลอดทั้งเดือนเมษายน 2564 บริเวณภาคเหนือสูงถึง 344 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันตก 260 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 190 ล้านลูกบาศก์เมตร และภาคกลาง 54 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่ปี 2560

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 17/2564 (ระหว่างวันที่ 20-26 เม.ย. 64)

27-04-2021 14:02:24 น.

สัปดาห์นี้หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ และมีลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตลอดทั้งสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ส่งผลให้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ตลอดสัปดาห์ ส่วนพายุไต้ฝุ่น “ซูริแค” บริเวณตอนบนของประเทศฟิลิปปินส์ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 16/2564 (ระหว่างวันที่ 13-19 เม.ย. 64)

20-04-2021 16:07:11 น.

อิทธิพลของพายุฤดูร้อนในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากบริเวณของประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 16-19 เม.ย. 64 ซึ่งจากสถานีโทรมาตรอัตโนมัติภายใต้คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติสามารถวัดฝนสะสม 24 ชั่วโมง ที่มีปริมาณมากกว่า 90 มิลมิเมตร ในบริเวณพื้นที่จังหวัดน่าน ลำปาง พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย ขอนแก่น ชัยภูมิ และนครศรีธรรมราช รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 15/2564 (ระหว่างวันที่ 6-12 เม.ย. 64)

14-04-2021 08:41:40 น.

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจากอิทธิพลของพายุฤดูร้อน ส่งผลให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงบริเวณภาคเหนือ โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 5-6 เม.ย. 64 มีฝนตกหนักมากกว่า 90 มิลมิเมตร บริเวณจังหวัดพิษณุโลก ตาก แพร่ น่าน เพชรบูรณ์ และกำแพงเพชร ทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ บริเวณภาคเหนือเพิ่มมากขึ้น โดยเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมทั้งสัปดาห์ 65 ล้าน ลบ.ม. โดยเฉพาะวันที่ 8 เม.ย. 64 มีน้ำไหลลงอ่างฯ 21 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเป็นปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ มากกว่าปกติสำหรับเดือนเมษายน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 14/2564 (ระหว่างวันที่ 30 มี.ค. - 5 เม.ย. 64)

07-04-2021 14:20:01 น.

สัปดาห์นี้หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวเบงกอลที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ทะเลอันดามันและภาคใต้ด้านฝั่งตะวันตก ทำให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทย ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกิดการปะทะของมวลอากาศ ส่งผลให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ โดยจังหวัดที่มีปริมาณฝนตกมากกว่า 100 มิลลิเมตร ในช่วงวันที่ 3-4 เมษายน 2564 ทั้งสิ้น 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี เลย บุรีรัมย์ พิจิตร หนองคาย และอุดรธานี และจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 34 จังหวัด 100 อำเภอ 252 ตำบล 686 หมู่บ้าน ซึ่งมีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 3,825 หลัง โดยมีผู้เสียชีวิต 1 ราย และมีผู้บาดเจ็บ 5 ราย

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 13/2564 (ระหว่างวันที่ 23-29 มี.ค. 64)

30-03-2021 13:41:13 น.

บริเวณความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนปะทะกับความกดอากาศต่ำทำให้เกิดพายุฤดูร้อนช่วงวันที่ 20 มี.ค. 64 - ปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่งผลกระทบในพื้นที่ 34 จังหวัด 155 อำเภอ 311 ตำบล 761 หมู่บ้าน 2 เขตเทศบาล โดยมีบ้านเรือนได้รับความเสียหาย 3,761 หลัง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดน่านและพิษณุโลก นครราชสีมา ศรีสะเกษ เลย และตาก ที่ทำให้โรงเรียน อาคาร บ้านเรือนเสียหายไม่น้อยกว่า 400 หลัง และมีเสาไฟฟ้าหักโค่นปิดทับหลายเส้นทาง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 12/2564 (ระหว่างวันที่ 16-22 มี.ค. 64)

23-03-2021 14:03:56 น.

ช่วงวันที่ 21-22 มี.ค. 64 อิทธิพลของมวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในพื้นที่ 19 จังหวัด คือ จังหวัดพะเยา เพชรบูรณ์ บึงกาฬ หนองบัวลําภู อุดรธานี เลย ชัยภูมิ สกลนคร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร มุกดาหาร นครราชสีมา อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ และนครพนม โดยมีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายรวม 67 อำเภอ 113 ตำบล 221 หมู่บ้าน และบ้านเรือนประชนชนเสียหาย 846 หลังคาเรือน ส่วนเขื่อนวชิราลงกรณมีปริมาณน้ำกักเก็บเพียง 3,968 ล้าน ลบ.ม. น้อยที่สุดเป็นอันดับที่ 3 รองจากปี 2542 และ ปี 2554 เมื่อเทียบกับข้อมูลตั้งแต่สร้างเขื่อน จึงควรใช้น้ำอย่างประหยัดและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 11/2564 (ระหว่างวันที่ 9-15 มี.ค. 64)

17-03-2021 14:56:16 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นเข้าสู่บริเวณตอนบนของประเทศ ส่งผลให้บริเวณตอนบนของประเทศมีฝนตก หลังจากนั้นในวันที่ 13 มี.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่งมาปกคลุมบริเวณไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลงจนถึงปลายสัปดาห์ ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 10/2564 (ระหว่างวันที่ 2-8 มี.ค. 64)

10-03-2021 09:20:55 น.

จากอิทธิพลของความกดอากาศสูงกำลังอ่อนที่พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ในช่วงวันที่ 1-8 มี.ค. 64 ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กําแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลําภู นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร ชัยภูมิ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ นครราชสีมา และปราจีนบุรี มีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายรวม 54 อำเภอ 100 ตำบล 222 หมู่บ้าน กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ของจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดนครราชสีมา ส่วนค่าความเค็มที่แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสำแลเริ่มกลับมามีค่าความเค็มสูงขึ้น โดยเกินเกณฑ์คุณภาพน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปา 0.5 กรัม/ลิตร ในบางช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 4 มี.ค. 64 โดยมีค่าความเค็มสูงสุด 1.18 กรัม/ลิตร ในวันที่ 8 มี.ค. 64 เวลา 13:10 น. และมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากได้รับอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูงต่อเนื่องกัน 2 รอบ ในลักษณะ Double Peak

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 09/2564 (ระหว่างวันที่ 23 ก.พ.-1 มี.ค. 64)

02-03-2021 09:47:31 น.

สัปดาห์นี้ความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้บริเวณตอนบนของประเทศไทยมีอุณภูมิสูงขึ้น ส่วนภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในบางพื้นที่ หลังจากนั้นกระแสลมตะวันตกที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมใต้ที่พัดนำความชื้นเข้าสู่บริเวณประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีอากาศเย็นลง และมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 08/2564 (ระหว่างวันที่ 16-22 ก.พ. 64)

24-02-2021 14:03:51 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงต้นสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ และมีลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักบริเวณภาคใต้ตอนบนใน​ช่วงกลางสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 07/2564 (ระหว่างวันที่ 9-15 ก.พ. 64)

24-02-2021 10:43:44 น.

ในช่วงวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2564 เกิดฝนตกหนัก ฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ของภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมไปถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล นอกจากนี้พบว่ามีลูกเห็บตกบริเวณดอยอินทนนท์และดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ และในบางบริเวณของจังหวัดเชียงราย ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 เนื่องจากอิทธิพลจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับกระแสลมตะวันตกที่เคลื่อนตัวผ่านบริเวณดังกล่าว

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 06/2564 (ระหว่างวันที่ 2-8 ก.พ. 64)

09-02-2021 14:57:35 น.

สัปดาห์นี้แม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานีสำแลยังคงมีค่าความเค็มสูงเกินคุณภาพน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปา 0.5 กรัม/ลิตร ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม 2564 เนื่องจากการขึ้นลงของน้ำทะเลมีลักษณะที่ทำให้มีความเค็มสะสม ซึ่งได้ส่งผลให้น้ำประปามีรสกร่อยในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 05/2564 (ระหว่างวันที่ 26 ม.ค. - 1 ก.พ. 64)

01-02-2021 17:00:44 น.

สถิติใหม่ความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานีสำแลสูงถึง 2.53 กรัม/ลิตร ในวันที่ 30 ม.ค. 64 เวลา 20.40 ซึ่งเป็นค่าความเค็มสูงที่สุดตั้งแต่มีการตรวจวัด เนื่องจากการขึ้นลงของน้ำทะเลมีลักษณะที่ทำให้ความเค็มสะสม ประกอบกับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ทำให้เกิดน้ำทะเลหนุนสูง และส่งผลให้แม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานีสำแลมีค่าความเค็มเกินเกณฑ์มาตรฐานการผลิตน้ำประปาตลอดทั้งสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 04/2564 (ระหว่างวันที่ 19-25 ม.ค. 64)

26-01-2021 10:36:45 น.

สัปดาห์นี้ค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานีสำแลยังคงเกินเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปา 0.5 กรัม/ลิตร เป็นระยะๆ ในช่วงปลายสัปดาห์ โดยมีค่าความเค็มสูงสุด 1.46 กรัม/ลิตร ในวันที่ 24 ม.ค. 64 เวลา 15.00 น. เนื่องจากลมใต้เริ่มพัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยทำให้ระดับน้ำทะเลหนุนเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการเพาะปลูกข้าวนาปรังเกินแผนไปแล้ว 2.5 ล้านไร่ ส่งผลให้ในวันที่ 25 ม.ค. 64 ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการระบายน้ำเกินจากแผนที่วางไว้ถึง 351 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 03/2564 (ระหว่างวันที่ 12-18 ม.ค. 64)

19-01-2021 17:05:07 น.

สัปดาห์นี้ที่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสถานีสำแล มีค่าความเค็มเกินเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปา 0.5 กรัม/ลิตร ทุกวันในช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูง ซึ่งวันที่ 13 ม.ค. 64 เวลา 18:30 น. มีความเค็มสูงสูดถึง 1.79 กรัม/ลิตร และถือเป็นค่าความเค็มสูงที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี ซึ่งส่งผลทำให้น้ำประปามีรสกร่อยเป็นระยะ ๆ ทั้งนี้ควรเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเนื่องจากเขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยามีน้ำคงเหลือค่อนข้างน้อย อาจส่งผลกระทบต่อการผลักดันน้ำเค็มได้

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 02/2564 (ระหว่างวันที่ 5-11 ม.ค. 64)

12-01-2021 14:38:10 น.

สัปดาห์นี้เกิดวิกฤตน้ำท่วมหนัก 4 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง จากอิทธพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้เกิดฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์ และมีฝนตกหนักมากในบริเวณดังกล่าว โดยวันที่ 5 และ 6 ม.ค. 64 มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 24 ชั่วโมง ที่วัดได้ บริเวณจังหวัดยะลาสูงถึง 238 มิลลิเมตร และ 112 มิลลิเมตร ตามลำดับ ทำให้ในวันที่ 7 ม.ค. 64 เขื่อนบางลางมีน้ำมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สูงถึง 137 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ที่สูงสุดในรอบ 10 ปี และมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมตั้งแต่วันที่ 1-7 ม.ค. 64 สูงถึง 245 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมไปถึงปริมาณน้ำกักเก็บที่สูงถึง 1,503 ล้านลูกบาศก์เมตร (103%) ซึ่งเกินความจุอ่างฯ ในช่วงเวลาดังกล่าว ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำไหลหลากบริเวณจังหวัดสงขลา ยะลา นราธิวาส และปัตตานี ประชาชนได้รับผลกระทบถึง 57,784 ครัวเรือน 683 หมู่บ้าน 137 ตำบล 27 อำเภอ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 01/2564 (ระหว่างวันที่ 29 ธ.ค. 63-4 ม.ค. 64)

05-01-2021 16:07:25 น.

อิทธิพลของความกดอากาศสูงกำลังแรงที่แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 30 ธ.ค. 63 -2 ม.ค. 64 ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางมีอากาศเย็นและมีลมแรง และทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้ความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นและทำให้มีฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ตอนล่างในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 52/2563 (ระหว่างวันที่ 22-28 ธ.ค. 63)

29-12-2020 14:07:26 น.

สัปดาห์นี้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากบริเวณจังหวัดชุมพรและพัทลุง เนื่องจากอิทธิพลของลมตะวันออกกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่เคลื่อนตัวผ่านภาคใต้ลงสู่ทะเลอันดามัน ส่งผลให้เกิดฝนตกต่อเนื่อง กับฝนตกหนักถึงหนักมากในบริเวณดังกล่าว โดยปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมง ที่วัดได้ ณ วันที่ 25 ธ.ค. 63 บริเวณจังหวัดชุมพรสูงถึง 170 มิลลิเมตร และวันที่ 26 ธ.ค. 63 บริเวณจังหวัดพัทลุง 112 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 51/2563 (ระหว่างวันที่ 15-21 ธ.ค. 63)

22-12-2020 13:00:34 น.

สัปดาห์นี้เกิดน้ำท่วมบริเวณจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เนื่องจากมีฝนตกหนักต่อเนื่อง โดยมีปริมาณฝนสะสม 3 วัน (18-20 ธ.ค. 63) จังหวัดนราธิวาส วัดได้ 231 มิลลิเมตร จังหวัดปัตตานี 230 มิลลิเมตร และจังหวัดยะลา 211 มิลลิเมตร ส่งผลให้มีน้ำไหลลงเขื่อนบางลางในช่วงดังกล่าวถึง 138 ล้าน ลบ.ม. และมีปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นจากเกณฑ์น้ำปานกลางเป็นน้ำมาก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 50/2563 (ระหว่างวันที่ 8-14 ธ.ค. 63)

16-12-2020 09:59:32 น.

แม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้คลี่คลายลงแล้วในหลายจังหวัด แต่ความชื้นในดินบริเวณภาคใต้ยังคงสูงอยู่ และเมื่อในวันที่ 13 ธ.ค. 63 เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่องบริเวณภาคใต้ ทำให้เมื่อเวลา 22:00 น. ของวันที่ 13 ธ.ค. 63 ภูเขาหินที่อุ้มน้ำไว้ได้พังทลายลงมาทับบ้านเรือนบริเวณบ้านวังยวน ต.ที่วัง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช โดยสถานีฝายคลองท่าเลา อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช วัดปริมาณน้ำฝนได้ถึง 80 มิลลิมเตรต่อวัน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 49/2563 (ระหว่างวันที่ 1-7 ธ.ค. 63)

14-12-2020 12:57:07 น.

จังหวัดนครศรีธรรมราช น้ำท่วมหนักในรอบ 10 ปี เสียหายหนักเทียบเท่าปี 2553 และเสียหายมากกว่าปี 2554 ถึง 4 เท่า แต่ปริมาณฝนสะสมกลับน้อยกว่าปีดังกล่าว โดยสาเหตุเกิดจากการที่มีฝนตกต่อเนื่องในช่วงวันที่ 26-28 พ.ย. 2563 จึงส่งผลให้ระดับน้ำในลำน้ำเพิ่มสูงขึ้นและความชื้นในดินอิ่มตัว ก่อนที่จะมีฝนตกหนักอีกครั้งในช่วงวันที่ 30 พ.ย. - 3 ธ.ค. ทำให้ปริมาณฝนระลอกที่ 2 ถูกเติมลงสู่พื้นที่เมืองนครศรีธรรมราชอย่างต่อเนื่อง และจากเหตุการณ์ดังกล่าวยังส่งผลกระทบให้เกิดเป็นวงกว้างถึง 14 อำเภอ และสร้างความเสียหายถึง 153,832 ไร่ ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 48/2563 (ระหว่างวันที่ 24-30 พ.ย. 63)

02-12-2020 15:37:14 น.

จากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ทำให้บริเวณภาคใต้ด้านฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันทุกวัน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ตรัง ยะลา และนราธิวาส รวมทั้งสิ้น 6 จังหวัด 38 อำเภอ 163 ตำบล และได้สร้างความเสียหายให้กับประชาชนมากถึง 30,141 ครัวเรือน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 47/2563 (ระหว่างวันที่ 17-23 พ.ย. 63)

24-11-2020 15:29:04 น.

จากอิทธิพลของลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณภาคใต้ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง โดยโทรมาตรอัตโนมัติของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำวัดปริมาณฝนตกสะสมที่สถานีหาดใหญ่ 103 มิลลิเมตร ในวันที่ 21 พ.ย. 63 และสถานีตรวจวัดของกรมอุตุนิยมวิทยาที่สถานีอบต.พิจิตร 99 มิลลิเมตร ในวันที่ 22 พ.ย. 63 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ อ.เมือง อ.หาดใหญ่ อ.สะเดา และอ.นาหม่อม จ.สงขลาในช่วงวันดังกล่าว

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 46/2563 (ระหว่างวันที่ 10-16 พ.ย. 63)

17-11-2020 17:40:41 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้บริเวณตอนบนของประเทศมีอากาศเย็นและมีลมแรง ส่วนภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักได้ในบางแห่ง หลังจากนั้นหย่อมความกดอากาศต่ำที่สลายตัวจากพายุ “หว่ามก๋อ” บริเวณตอนบนของประเทศเวียดนาม ปะทะกับบริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาจากประเทศจีน ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 45/2563 (ระหว่างวันที่ 3-9 พ.ย. 63)

10-11-2020 16:13:41 น.

ช่วงฤดูฝนที่ผ่านมามีพายุที่ส่งผลประเทศไทยทั้งโดยตรงและโดยอ้อมก่อตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายลูก และถึงแม้ปัจจุบันพื้นที่ตอนบนของประเทศ ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ได้เข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว ซึ่งโดยปกติเป็นช่วงที่พายุจะเริ่มส่งผลกระทบต่อพื้นที่ภาคใต้ แต่ปัจจุบันกลับยังคงมีพายุที่อาจส่งผลต่อพื้นที่ตอนบนของประเทศเกิดขึ้น(พายุเอตาวและพายุหว่ามกว๋อ)ประกอบกับเขื่อนขนาดใหญ่ 3 แห่ง ยังอยู่ในสถานการณ์น้ำล้นเขื่อน (ลำตะคอง 114% หนองปลาไหล 109% มูลบน 109%) และมีเขื่อนที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากอีก 9 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากพายุและอาจทำให้สถานการณ์มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น สำหรับภาคใต้ อิทธิพลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักและเกิดน้ำล้นตลิ่งบริเวณคลองขนาน ต.บ้านควน อ.หลังสวน จ.ชุมพร เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2563

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 44/2563 (ระหว่างวันที่ 27 ต.ค. - 2 พ.ย. 63)

03-11-2020 16:38:23 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักในบางแห่งตลอดทั้งสัปดาห์ ส่วนพายุ “โมลาเบ” ได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามในวันที่ 28 ต.ค. 63 และเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดอุบลราชธานีในวันที่ 29 ต.ค. 63 ส่งผลให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก รวมทั้งด้านตะวันตกของประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางแห่ง หลังจากนั้นพายุได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำและเคลื่อนตัวผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และลงสู่ทะเลอันดามันในวันที่ 30 ต.ค. 63

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 43/2563 (ระหว่างวันที่ 20-26 ต.ค. 63)

27-10-2020 14:37:40 น.

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงพาดผ่านบริเวณภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่งและเกิดน้ำหลากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นอกจากนี้แม้ว่าตอนบนของประเทศมีฝนลดลง แต่ยังคงมีน้ำท่วมหลายแห่งบริเวณจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว จากฝนที่ตกก่อนหน้านี้

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 42/2563 (ระหว่างวันที่ 13-19 ต.ค. 63)

20-10-2020 16:59:06 น.

สัปดาห์นี้ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออกเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนล่างและชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนล่างตลอดทั้งสัปดาห์ กับมีพายุโซนร้อน “นังกา” (NAGMKA) ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลางกับมีลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนลดลงแต่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกับมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 41/2563 (ระหว่างวันที่ 6-12 ต.ค. 63)

16-10-2020 10:32:22 น.

จากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำที่เคลื่อนเข้ามาปกคลุมบริเวณทะเลอ่าวไทยตอนบนกับอิทธิพลของพายุโซนร้อน “หลิ่นฟา” ทำให้มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออก ทำให้เขื่อนหนองปลาไหลมีปริมาณน้ำกักเก็บเกินความจุเขื่อน โดยมีปริมาณน้ำกักเก็บ 103% ของความจุเขื่อน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 40/2563 (ระหว่างวันที่ 29 ก.ย. - 5 ต.ค. 63)

06-10-2020 09:59:08 น.

สัปดาห์นี้ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทยตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง โดยร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากนั้นร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกในช่วงกลางสัปดาห์ถึงปลายสัปดาห์ ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่เกือบทั้งสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 39/2563 (ระหว่างวันที่ 22-28 ก.ย. 63)

29-09-2020 16:34:14 น.

สัปดาห์นี้ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพาดเข้าสู่งหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ยในวันที่ 22 และ 25 ก.ย. 63 หลังจากนั้นร่องมรสุมเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกตกหนักในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์และช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักเกือบทั้งสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 38/2563 (ระหว่างวันที่ 15-21 ก.ย. 63)

24-09-2020 13:44:23 น.

พายุโซนร้อน “โนอึล” (NOUL) ที่เคลื่อนเข้าสู่บริเวณจังหวัดมุกดาหารเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 63 เวลา 14.00 น.แล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันก่อนสลายตัวปกคลุมบริเวณภาคเหนือในวันที่ 19 ก.ย. 63 ส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก น้ำไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน และดินสไลด์ในพื้นที่ 27 จังหวัด 93 อำเภอ 205 ตำบล 366 หมู่บ้าน และ 1 เขตเทศบาล มีประชาชนได้รับผลกระทบ 1,932 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บ 2 ราย ซึ่งฝนที่ตกในช่วงวันที่ 18-20 ก.ย. 63 ทำให้ลุ่มน้ำมูลมีปริมาณน้ำท่าประมาณ 280 ล้าน ลบ.ม. และลุ่มน้ำชีประมาณ 770 ล้าน ลบ.ม. แต่เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่กลับมีน้ำไหลลงเขื่อนไม่มากนัก โดยเขื่อนสิรินธรมีน้ำไหลเข้าอ่างสูงสุดเพียง 195 ล้าน ลบ.ม. รองลงมาคือเขื่อนลำพระเพลิง 44 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนลำตะคอง 24 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 37/2563 (ระหว่างวันที่ 8-14 ก.ย. 63)

15-09-2020 08:48:56 น.

สัปดาห์นี้ร่องมรสุมเลื่อนขึ้นพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบน ประเทศลาวตอนบน ประเทศเวียดนามตอนบน หลังจากนั้นร่องมรสุมได้เลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงวันที่ 11-14 ก.ย. 63 ทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักในบางแห่ง โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดพังงา 254 มิลลิเมตร จังหวัดน่าน 250 มิลลิเมตร และจังหวัดภูเก็ต 237 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 36/2563 (ระหว่างวันที่ 1-7 ก.ย. 63)

09-09-2020 17:58:37 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณดังกล่าวในวันที่ 1 ก.ย. 63 หลังจากนั้นร่องมรสุมค่อยๆ เลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกในวันที่ 2-4 ก.ย. 63 และเลื่อนขึ้นกลับขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจนถึงปลายสัปดาห์ กับมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดทั้งสัปดาห์ ซึ่งมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตาก 190 มิลลิเมตร ยะลา 165มิลลิเมตร และจังหวัดตรัง 161 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 35/2563 (ระหว่างวันที่ 25-31 ส.ค. 63)

01-09-2020 15:53:35 น.

สัปดาห์นี้ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมาร์ ลาว และเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศกัมพูชา เลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ยในวันที่ 26-28 ส.ค. 63 ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์และค่อยๆ อ่อนกำลังลงในช่วงปลายสัปดาห์ โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดน่าน 200 มิลลิเมตร จังหวัดอุทัยธานี 128 มิลลิเมตร และจังหวัดนราธิวาส 115 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 34/2563 (ระหว่างวันที่ 18-24 ส.ค. 63)

25-08-2020 13:42:31 น.

ในช่วงวันที่ 20-22 ส.ค. 63 ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดน่าน แพร่ ลำปาง อุตรดิตถ์ แม่ฮ่องสอน เพชบูรณ์ หนองคาย และบึงกาฬ ทำให้มีน้ำไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งที่ภาคเหนือบริเวณลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณโขงอีสานและแม่น้ำยังของลุ่มน้ำชี เนื่องจากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จากปริมาณฝนที่ตกหนักในช่วงดังกล่าว ส่งผลให้มีน้ำไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพิ่มมากขึ้นประมาณ 600 ล้าน ลบ.ม. แต่จากประมาณการความต้องการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งและช่วงต้นฤดูฝนของปี 2564 ยังคงต้องการปริมาณกักเก็บน้ำเพิ่มอีกกว่า 9,000 ล้าน ลบ.ม. เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่33/2563 (ระหว่างวันที่ 11-17 ส.ค. 63)

25-08-2020 10:31:11 น.

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมค่อนข้างมากถึ ง 280 ล้านลูกบาศก์เมตร จากฝนวันแม่ เนื่องจากได้รับอิทธิพจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากใน พื้นที่ภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่จังหวัดน่าน ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำหลากและน้ำล้นตลิ่งบริเวณสถานีเวียงสา ตำบลบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ในช่วงวันที่ 15-17 สิงหาคม 63

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 32/2563 (ระหว่างวันที่ 4-10 ส.ค. 63 )

11-08-2020 16:07:20 น.

สัปดาห์นี้ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมาร์ ลาว ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงวันที่ 4-7 ส.ค. 63 และเลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนบนในวันที่ 8 ส.ค. 63 เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน และเคลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณประเทศเวียดนามในวันที่ 10 ส.ค. 63 ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังปานกลางในช่วงวันที่ 4-5 ส.ค. 63 ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในหลายพื้นที่ในช่วงดังกล่าว หลังจากนั้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังอ่อนถึงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 31/2563 (ระหว่างวันที่ 28 ก.ค.-3 ส.ค. 63 )

04-08-2020 21:48:21 น.

สัปดาห์นี้พายุโซนร้อน "ซินลากู" (SINLAKU) ที่อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเข้าสู่ประเทศไทยที่บริเวณจังหวัดน่านในวันที่ 2 ส.ค. 63 ทําให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ในช่วงวันที่ 1-3 ส.ค. 63 ส่งผลให้เกิดสถานการณ์น้ำไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และดินสไลด์ในพื้นที่จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ ลำปาง พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี และนครพนม ได้รับผลกระทบ 1,399 ครัวเรือน โดยมีปริมาณฝนสะสมสูงสุดในช่วงวันที่ 1-3 ส.ค. 63 คือ จ. น่าน 339 มิลลิเมตร จ.อุตรดิตถ์ 267 มิลลิเมตร และจ.พะเยา 231 มิลลิเมตร แม้ว่าสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในหลายพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ดังกล่าวยังทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เพิ่มมากขึ้นบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเมื่อเปรียบเทียบปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ระหว่างก่อนเกิดอุทกภัยเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 63 และหลังจากเกิดอุทกภัยวันที่ 3 ส.ค. 63 พบว่าเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นจาก 10 ล้าน ลบ.ม. เป็น 59 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิรินธร จาก 0.12 ล้าน ลบ.ม. เป็น 17 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนอุบลรัตน์จาก 0.24 ล้าน ลบ.ม. เป็น 12 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 30/2563 (ระหว่างวันที่ 21-27 ก.ค. 63)

28-07-2020 09:15:21 น.

ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลทำให้มีฝนตกเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำไหลหลาก วันที่ 21-22 ก.ค. 63 ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเลย จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดชลบุรี และยังมีฝนตกหนักในพื้นที่กรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังหลายแห่งในวันที่ 24 ก.ค. 63 นอกจากนี้ยังทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้น แต่สำหรับ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยายังคงมีน้ำกักเก็บอยู่ค่อนข้างน้อย โดยมีน้ำที่สามารถนำมาใช้การได้จริงเพียง 695 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 29/2563 (ระหว่างวันที่ 14-20 ก.ค. 63)

21-07-2020 13:11:30 น.

สัปดาห์นี้เกิดน้ำล้นตลิ่งบริเวณแม่น้ำป่าสัก ตำบลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 2 ครั้ง เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่องบริเวณพื้นที่เหนือน้ำ และถึงแม้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวอยู่ในหลายพื้นที่ จนทำให้เกิดน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลาก แต่ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ก็ยังคงมีค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะบริเวณเขื่อนภูมิพล และเขื่อนอุบลรัตน์ ทั้งนี้ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่งทั่วประเทศมีการระบายน้ำมากกว่าปริมาณไหลลงอ่างฯ อยู่ประมาณ 15 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 28/2563 (ระหว่างวันที่ 7-13 ก.ค. 63)

13-07-2020 17:42:04 น.

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังปานกลาง ส่งผลให้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีลมตะวันตกเฉียงใต้กับลมใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้เบริเวณภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกับมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์ โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดแพร่ 173 มิลลิเมตร จัหวัดนราธิวาส 157 มิลลิเมตร และจังหวัดพังงา 153 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 27/2563 (ระหว่างวันที่ 30 มิ.ย.-6 ก.ค. 63)

06-07-2020 20:52:08 น.

สัปดาห์นี้หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้มีฝนตกต่อเนื่องและฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของประเทศ โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ 198 มิลลิเมตร จังหวัดตราด 193 มิลลิเมตร และจังหวัดบึงกาฬ 188 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 26/2563 (ระหว่างวันที่ 23-29 มิ.ย. 63)

30-06-2020 14:42:22 น.

สัปดาห์นี้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังอ่อน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำเลื่อนลงมาปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามในช่วงกลางสัปดาห์ ส่งผลให้ช่วงกลางสัปดาห์บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้น ส่วนลมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักตลอดทั้งสัปดาห์ โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดน่าน 201 มิลลิเมตร จังหวัดพะเยา 182 มิลลิเมตร และจังหวัดแพร่ 140 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 25/2563 (ระหว่างวันที่ 16-22 มิ.ย. 63)

23-06-2020 17:13:03 น.

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังปานกลางประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวและเวียดนามในวันที่ 16 มิ.ย. 63 ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเกิดฝนตกปานกลางถึงตกหนักกับมีฝนตกหนักมากบางแห่งในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ต่อมาในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังอ่อนลงส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนลดลงโดยมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ลมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังปานกลางตลอดทั้งสัปดาห์ส่งผลให้เกิดฝนตกปานกลางถึงตกหนักกระจายตัวตลอดทั้งสัปดาห์ โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดน่าน 187 มิลลิเมตร จังหวัดอุตรดิตถ์ 179 มิลลิเมตา และจังหวัดนราธิวาส 130 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 24/2563 (ระหว่างวันที่ 9-15 มิ.ย. 63)

16-06-2020 12:01:10 น.

สัปดาห์นี้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรงประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณตอนบนของอ่าวเบงกอลในช่วงต้นสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณด้านตะวันตกของประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ต่อมาในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวจนถึงปลายสัปดาห์ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศฟิลิปปินส์มีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนในวันที่ 12 มิ.ย. 63 โดยพายุเคลื่อนที่ทางทิศเหนือและมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “นูรี” ในวันที่ 13 มิ.ย. 63 และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันพร้อมกับเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนในวันที่ 14 มิ.ย. 63 และสลายตัวไปในวันที่ 15 มิ.ย. 63 ส่งผลให้ในช่วงปลายสัปดาห์ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ 128 มิลลิเมตร จังหวัดเพชรบูรณ์ 115 มิลลิเมตร และจังหวัดตราด 104 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 23/2563 (ระหว่างวันที่ 2-8 มิ.ย. 63)

08-06-2020 17:35:30 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงจากทะเลจีนใต้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศไทย ทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกในบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดยะลา 126 มิลลิเมตร จังหวัดตราด 81 มิลลิเมตร และจังหวัดหนองคาย 69 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 22/2563 (ระหว่างวันที่ 26 พ.ค.-1 มิ.ย. 63)

02-06-2020 11:25:01 น.

สัปดาห์นี้มีร่องมรสุมผาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมาร์และลาวในวันที่ 26 พ.ค. 63 และร่องมรสุมค่อยๆ เลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าสู่บริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ต่อมาในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในหลายพื้นที่ ในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกับมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์ โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดบึงกาฬ 227 มิลลิเมตร จังหวัดหนองคาย 180 มิลลิเมตร และจังหวัดน่าน 163 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 21/2563 (ระหว่างวันที่ 19-25 พ.ค. 63)

26-05-2020 12:51:47 น.

สัปดาห์นี้อิทธิพลของพายุไซโคลน “อำพัน” ที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบนในช่วงวันที่ 19-20 พ.ค. 63 และเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งและปกคลุมบริเวณชายฝั่งของประเทศอินเดียและบังคลาเทศในวันที่ 21 พ.ค. 63 ทำให้ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับลมใต้ยังคงพัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนและด้านตะวันตกของประเทศมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดบึงกาฬ 183 มิลลิเมตร จังหวัดพังงา 126 มิลลิเมตร และจังหวัดนราธิวาส 123 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 20/2563 (ระหว่างวันที่ 12-18 พ.ค. 63)

19-05-2020 14:52:00 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยตอนบนมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์และวันสุดท้ายของสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้มีอากาศร้อนและมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักและลมกระโชกแรงบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีลมตะวันออกพัดปกคลุมส่งผลให้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักบริเวณภาคใต้ตอนล่างและมีฝนตกหนักขึ้นในช่วงวันที่ 7-8 พ.ค. 63 เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณเกาะสุมาตราในช่วงดังกล่าว โดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดกระบี่ 151 มิลลิเมตร จังหวัดพังงา 145 มิลลิเมตร และจังหวัดสงขลา 130 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 19/2563 (ระหว่างวันที่ 5-11 พ.ค. 63)

12-05-2020 10:49:17 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยตอนบนมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์และวันสุดท้ายของสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้มีอากาศร้อนและมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักและลมกระโชกแรงบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีลมตะวันออกพัดปกคลุมตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักบริเวณภาคใต้ตอนล่างและมีฝนตกหนักขึ้นในช่วงวันที่ 7-8 พ.ค. 63 เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณเกาะสุมาตราในช่วงดังกล่าว

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 18/2563 (ระหว่างวันที่ 28 เม.ย. - 4 พ.ค. 63)

04-05-2020 14:54:55 น.

สัปดาห์นี้ความกดอากาศสูงที่ปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศอ่อนกำลังลง ส่งผลให้บริเวณตอนบนของประเทศมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณภาคเหนือ ภาคกลางด้านฝั่งตะวันตก และภาคตะวันออก ส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกเพิ่มขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 116 มิลลิเมตร จังหวัดนครศรีธรรมราช 101 มิลลิเมตร และจังหวัดแม่ฮ่องสอน 101 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 172563 (ระหว่างวันที่ 21-27 เม.ย. 63)

28-04-2020 09:29:32 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยตอนบนมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนอบอ้าว และมีบริเวณความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ตั้งแต่ช่วงกลางสัปดาห์ถึงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกในหลายพื้นที่ของประเทศไทยตอนบน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย 131 มิลลิเมตร จังหวัดเชียงใหม่ 128 มิลลิเมตร และจังหวัดน่าน 119 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 16/2563 (ระหว่างวันที่ 14-20 เม.ย. 63)

20-04-2020 18:11:49 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาจากทะเลจีนใต้ ทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงในช่วงวันที่ 14-18 เม.ย. 63 หลังจากนั้นมีกำลังอ่อนลง ทำให้ในช่วงต้นสัปดาห์ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง และค่อยๆ ลดลงจนถึงปลายสัปดาห์ โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 135 มิลลิเมตร จังหวัดพังงา 134 มิลลิเมตร และจังหวัดเพชรบุรี 108 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 15/2563 (ระหว่างวันที่ 7-13 เม.ย. 63)

14-04-2020 09:11:12 น.

สัปดาห์นี้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมตลอดทั้งสัปดาห์และมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าสู่บริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะๆ ในช่วงวันที่ 7-10 และ 12-13 เม.ย. 63 ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเพิ่มขึ้น และมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมทั้งมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ของประเทศไทยตอนบน ส่วนภาคใต้ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใตมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี 134 มิลลิเมตร จังหวัดศรีสะเกษ 92 มิลลิเมตร และจังหวัดบึงกาฬ 77 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 14/2563 (ระหว่างวันที่ 31 มี.ค - 6 เม.ย. 63)

07-04-2020 14:47:32 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงจากทะเลจีนใต้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศไทย ทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกในบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ สัปดาห์นี้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคตะวันออก รวมถึงบริเวณภาคใต้ด้านฝั่งตะวันตกมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดยะลา 126 มิลลิเมตร จังหวัดตราด 81 มิลลิเมตร และจังหวัดหนองคาย 69 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 13/2563 (ระหว่างวันที่ 24-30 มี.ค 63)

30-03-2020 16:40:03 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนกับมีกระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบน (5.5. ก.ม.) พัดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้มีกำลังอ่อน ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนลดลง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดยะลา 73 มิลลิเมตร จังหวัดนราธิวาส 66 มิลลิเมตร และจังหวัดตราด 47 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 12/2563 (ระหว่างวันที่ 17-23 มี.ค. 63)

24-03-2020 13:34:19 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมตลอดทั้งสัปดาห์กับมีความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้มีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 162 มิลลิเมตร จังหวัดจันทบุรี 72 มิลลิเมตร และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 61 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 11/2563 (ระหว่างวันที่ 10-16 มี.ค. 63)

17-03-2020 11:30:53 น.

ช่วงต้นสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้กลับมาพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในพื้นที่ หลังจากนั้นในช่วงปลายสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกจากทะเลจีนใต้แผ่เสริมลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองในพื้นที่ ส่วนบริเวณภาคใต้มีฝนตกเพิ่มขึ้น เนื่องจากลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนครนายก 90 มิลลิเมตร จังหวัดนครราชสีมา 87 มิลลิเมตร และจังหวัดสระบุรี 61 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 10/2563 (ระหว่างวันที่ 3-9 มี.ค. 63)

10-03-2020 11:56:13 น.

สัปดาห์นี้หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศไทยตั้งแต่ต้นสัปดาห์จนถึงกลางสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อน และทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ประกอบกับในช่วงกลางสัปดาห์ถึงปลายสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในช่วงกลางสัปดาห์ ส่วนภาคใต้ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้อ่อนกำลังลง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนน้อยลงแต่ยังมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่ในช่วงกลางสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสกลนคร 118 มิลลิเมตร จังหวัดเพชรบูรณ์ 84 มิลลิเมตร และจังหวัดหนองบัวลำภู 78 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 09/2563 (ระหว่างวันที่ 25 ก.พ.-2 มี.ค. 63)

02-03-2020 15:55:07 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลง ประกอบมีหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนเข้ามาปกคลุมบริเวณตอนกลางของประเทศไทยในช่วงกลางสัปดาห์ ส่งผลให้ลมใต้พัดขึ้นมาปะทะกับลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนตกเล็กน้อยกระจายตัวตลอดทั้งสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีลมตะวันออกกำลังปานกลางพัดปกคลุม ส่งผลให้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางกระจายตัวในบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 22 มิลลิเมตร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 21มิลลิเมตร และจังหวัดลำปาง 9 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 08/2563 (ระหว่างวันที่ 18-24 ก.พ. 63)

25-02-2020 14:12:22 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นลง ส่วนลมตะวันออกกเฉียงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้ยังคงมีกำลังแรง ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่เกือบตลอดทั้งสัปดาห์ โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบ โทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดชุมพร 117 มิลลิเมตร จังหวัดนราธิวาส 50 มิลลิเมตร และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 36 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 07/2563 (ระหว่างวันที่ 11-17 ก.พ. 63)

17-02-2020 16:41:37 น.

สัปดาห์นี้ในช่วงต้นสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์ความกดอากาศต่ำเคลื่อนขึ้นมาปกคลุมบริเวณประเทศไทย กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 13 ก.พ. 63 ประกอบกับลมมรสมุตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้ตั้งแต่ต้นสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักมากในบางพื้นที่ ส่วนช่วงปลายสัปดาห์ความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิลดลง และทำให้บริเวณภาคใต้ปริมาณฝนลดลง ทั้งนี้มีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 136 มิลลิเมตร จังหวัดยะลา 101 มิลลิเมตร และจังหวัดปัตตานี 80 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 06/2563 (ระหว่างวันที่ 4-10 ก.พ. 63)

11-02-2020 14:32:30 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมทะเลจีนใต้ตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับกระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบนพัดปกคลุมภาคเหนือในช่วงต้นสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็น และในช่วงตั้งแต่กลางสัปดาห์ลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยตอนล่าง ส่งผลให้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ ทั้งนี้มีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดพัทลุง 44 มิลลิเมตร จังหวัดตรัง 29 มิลลิเมตร และจังหวัดยะลา 22 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 05/2563 (ระหว่างวันที่ 28 ม.ค. - 3 ก.พ. 63)

04-02-2020 10:54:03 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมตอนบนของประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้บางบริเวณของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีฝนตกเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในบางพื้นที่ แต่ถึงอย่างไรก็ตามปริมาณน้ำใช้การในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเหลือเพียง 3,699 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือเป็นปริมาณน้ำที่เหลืออยู่น้อยมาก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 04/2563 (ระหว่างวันที่ 21-27 ม.ค. 63)

28-01-2020 14:42:28 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น และมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางบริเวณด้านตะวันออกของภาคในช่วงดังกล่าว ทั้งนี้มีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่จังหวัดตราด จังหวัดแพร่ และจังหวัดสกลนคร ซึ่งมีปริมาณฝนเท่ากันคือ 26 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 03/2563 (ระหว่างวันที่ 14-20 ม.ค. 63)

21-01-2020 11:49:37 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็น ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ส่งผลให้ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ส่วนภาคใต้มีลมตะวันออกพัดปกคลุมบริเวณทะเลอ่าวไทยและภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้มีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 47 มิลลิเมตร สมุทรปราการ 31 มิลลิเมตร และชุมพร 22 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 02/2563 (ระหว่างวันที่ 7-13 ม.ค. 63)

14-01-2020 14:25:49 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่งผลให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงมีอากาศเย็น ส่วนบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ส่วนภาคใต้มีลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้และทะเลอ่าวไทยเกือบทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางกระจายตัวเกือบตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 49 มิลลิเมตร จังหวัดนครศรีธรรมราช 33 มิลลิเมตร และจังหวัดฉะเชิงเทรา 26 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 01/2563 (ระหว่างวันที่ 31 ธ.ค. 62-6 ม.ค. 63)

08-01-2020 17:15:26 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิลดลง และความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลงในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่วนลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงในช่วงกลางสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกเล็กน้อยบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกในช่วงกลางสัปดาห์ โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดเชียงราย 70 มิลลิเมตร จังหวัดจันทบุรี 49 มิลลิเมตร และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 47 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 52/2562 (ระหว่างวันที่ 24-30 ธ.ค.62)

03-01-2020 15:46:49 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงได้เริ่มอ่อนกำลังลงแต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาจากทะเลจีนใต้ ซึ่งยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นและอุณหภูมิค่อยๆสูงขึ้นจนถึงปลายสัปดาห์ ส่วนกระแสลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้ยังคงมีกำลังแรง ส่งผลให้ภาคใต้ตอนล่างกลับมามีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกัน 44,287 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 62% ของความจุ สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 20,745 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 51/2562 (ระหว่างวันที่ 17-23 ธ.ค. 62)

24-12-2019 11:44:32 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศต่ำอ่อนกำลังลง แต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาบริเวณทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้มีกำลังปานกลางในช่วงวันที่ 17-18 ธ.ค. 62 ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่ ต่อมาในช่วงวันที่ 19-23 ธ.ค. 62 ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้อ่อนกำลังลง ส่งให้บริเวณภาคใต้มีปริมาณฝนลดลงเล็กน้อย ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 50/2562 (ระหว่างวันที่ 10-16 ธ.ค. 62)

18-12-2019 10:04:07 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงได้เริ่มอ่อนกำลังลงแต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาจากทะเลจีนใต้ ซึ่งยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นและอุณหภูมิค่อยๆสูงขึ้นจนถึงปลายสัปดาห์ ส่วนกระแสลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้ยังคงมีกำลังแรง ส่งผลให้ภาคใต้ตอนล่างกลับมามีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 70 มิลลิเมตร จังหวัดยะลา 64 มิลลิเมตร และจังหวัดปัตตานี 52 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 49/2562 (ระหว่างวันที่ 3-9 ธ.ค. 62)

12-12-2019 17:10:35 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง รวมทั้งบริเวณทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมประเทศไทย ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งสัปดาห์ ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอ่าวไทย ส่งผลให้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่ของภาคใต้ตอนล่างในช่วงต้นสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 110 มิลลิเมตร ชุมพร 108 มิลลิเมตร และนราธิวาส 103 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 48/2562 (ระหว่างวันที่ 26 พ.ย. - 2 ธ.ค. 62)

04-12-2019 09:59:17 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลง ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงที่พัดปกคลุมภาคใต้และทะเลอ่าวไทยส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ส่วนพายุไต้ฝุ่น “คิมมูริ” บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น “คิมมูริ” ในวันที่ 28 พ.ย. 62 และเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเข้าใกล้ประเทศฟิลิปปินส์ ในวันที่ 2 ธ.ค. 62 ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 454 มิลลิเมตร จังหวัดนครศรีธรรมราช 190 มิลลิเมตร และจังหวัดพัทลุง 179 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 47/2562 (ระหว่างวันที่ 19-25 พ.ย. 62)

25-11-2019 17:57:32 น.

บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ และอ่อนกำลังลงในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น ส่วนภาคใต้มีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้ในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. 62 ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกระจายตัวในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. 62 ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดพัทลุง 163 มิลลิเมตร จังหวัดนราธิวาส 151 มิลลิเมตร และจังหวัดสงขลา 134 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 46/2562 (ระหว่างวันที่ 12-18 พ.ย. 62)

18-11-2019 17:15:28 น.

สัปดาห์ที่ผ่านมาหย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังลงจากพายุ “นากรี” บริเวณประเทศกัมพูชา ซึ่งยังคงทำให้ความชื้นพัดเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 13 พ.ย. 62 ทำให้เกิดแนวปะทะกับความชื้นที่ปกคลุมอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเพิ่มขึ้นในช่วงวันที่ 13-14 พ.ย. 62 หลังจากนั้นในช่วงปลายสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง ส่วนภาคใต้มีกระแสลมตะวันออกเฉียงเหนือกลับมาพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้อีกครั้ง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 96 มิลลิเมตร จังหวัดนครศรีธรรมราช 96 มิลลิเมตร และจังหวัดยะลา 83 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 45/2562 (ระหว่างวันที่ 5-11 พ.ย. 62)

12-11-2019 10:55:46 น.

วันที่ 5 พ.ย. 62 ร่องมรสุมพาดผ่านจากบริเวณอ่าวเบงกอล ภาคใต้ อ่าวไทย เข้าสู่พายุดีเปรสชันที่ทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลางตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกระจายตัวตลอดทั้งสัปดาห์ ส่วนประเทศไทยตอนบนมีความกดอากาศสูงกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมในช่วงกลางสัปดาห์ส่งผลให้ช่วงดังกล่าวภาคเหนือมีฝนตกเพิ่มขึ้นโดยมีฝนตกปานกลางถึงตกหนัก ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีฝนตกเล็กน้อยกระจายตัวในช่วงกลางสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 194 มิลลิเมตร จังหวัดยะลา 166 มิลลิเมตร และจังหวัดพังงา 148 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 44/2562 (ระหว่างวันที่ 29 ต.ค.-4 พ.ย. 62)

06-11-2019 17:47:24 น.

พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกและทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “แมตโม” บริเวณด้านตะวันออกของประเทศเวียดนาม ในวันที่ 30 ต.ค. 62 พร้อมกับเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศเวียดนาม ในวันที่ 31 ต.ค. 62 และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามและภาคตะวันออกของประเทศไทยในวันที่ 1 พ.ย. 62 และบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ในช่วงต้นสัปดาห์และปลายสัปดาห์ ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยและทะเลอ่าวไทยมีกำลังปานกลางในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในช่วงต้นสัปดาห์และปลายสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตรัง 196 มิลลิเมตร จังหวัดนราธิวาส 174 มิลลิเมตร และจังหวัดสงขลา 130 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 43/2562 (ระหว่างวันที่ 22-28 ต.ค. 62)

29-10-2019 09:14:08 น.

ความกดอากาศสูงที่ปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนอ่อนกำลังลงในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ หลังจากนั้นความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ยในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อน ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนลดลงในหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักบริเวณภาคใต้ในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์หลังจากนั้นปริมาณฝนลดลงจนถึงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดยะลา 186 มิลลิเมตร จังหวัดตรัง 120 มิลลิเมตร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี 113 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 42/2562 (ระหว่างวันที่ 15-21 ต.ค. 62)

22-10-2019 15:25:23 น.

ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้และประเทศไทยตอนบนในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์และอ่อนกำลังลงในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยมีกำลังอ่อน ส่วนลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลง และมีฝนตกในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักตลอดสัปดาห์และมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 205 มิลลิเมตร จังหวัดชุมพร 172 มิลลิเมตร และจังหวัดพัทลุง 156 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 41/2562 (ระหว่างวันที่ 8-14 ต.ค. 62)

15-10-2019 17:44:16 น.

สัปดาห์นี้ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมทะเลจีนใต้และประเทศไทยตอนบน ในช่วงวันที่ 8-10 ต.ค. 62 และอ่อนกำลังลง หลังจากนั้นความกดอากาศสูงอีกระลอกแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 13-14 ต.ค. 62 ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนทะเลอ่าวไทยและภาคใต้มีลมตะวันออกพัดปกคลุม ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกระจายตัวทั่วประเทศตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดยะลา 198 มิลลิเมตร จังหวัดสตูล 145 มิลลิเมตร และจังหวัดตรัง 139 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 40/2562 (ระหว่างวันที่ 1-7 ตุลาคม 62)

08-10-2019 10:47:37 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่วนภาคใต้มีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ส่งผลให้ประเทศไทยบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ส่วนภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนัก ต่อมาในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนและทะเลอ่าวไทย ทำให้เกิดลมพัดสอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้ ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักและมีฝนตกหนักมากในบางพื้นที่ของภาคใต้ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดยะลา 168 มิลลิเมตร จังหวัดปัตตานี 156 มิลลิเมตร และจังหวัดพังงา 150 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 39/2562 (ระหว่างวันที่ 24-30 ก.ย. 62)

01-10-2019 10:53:43 น.

ในช่วงวันที่ 24-30 ก.ย. 62 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในบริเวณภาคใต้ หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 30 ก.ย. 62 บริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาจากประเทศจีนเริ่มอ่อนกำลังลง ส่วนลมตะวันตกเฉียงหนือที่พัดปกคลุมด้านตะวันตกของประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในด้านตะวันตก รวมทั้งภาคใต้ยังคงมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดราชบุรี 145 มิลลิเมตร จังหวัดปัตตานี 93 มิลลิเมตร และ จังหวัดนราธิวาส 75 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 38/2562 (ระหว่างวันที่ 17-23 ก.ย. 62)

25-09-2019 16:02:23 น.

ในช่วงวันที่ 17-23 ก.ย. 62 อิทธิพลจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน มีฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักในบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 22-23 ก.ย. 62 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศ ทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดราชบุรี 350 มิลลิเมตร จังหวัดบุรีรัมย์ 244 มิลลิเมตร และจังหวัดตราด 221 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 37/2562 (ระหว่างวันที่ 10-16 ก.ย. 62)

17-09-2019 14:41:07 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีร่องมรสุมพาดผ่านตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย. -16 ก.ย. 62 โดยเริ่มมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือในช่วงต้นสัปดาห์ และร่องมรสุมค่อยๆ เลื่อนลงมาพาดผ่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง จนถึงปลายสัปดาห์ ประกอบกับมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใตที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลางในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกระจายตัวในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ต่อมาในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในหลายพื้นที่จนถึงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 381 มิลลิเมตร จันทบุรี 198 มิลลิเมตร และพังงา 190 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 36/2562 (ระหว่างวันที่ 3-9 ก.ย. 62)

11-09-2019 11:43:50 น.

ในช่วงวันที่ 1-5 ก.ย. 62 อิทธิพลของพายุโซนร้อน “คาจิกิ” ได้ปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนาม ทำให้ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีกำลังแรง ส่งผลให้ตอนบนของประเทศมีฝนตกหนักถึงหนักมาก หลังจากที่พายุ “คาจิกิ” อ่อนกำลังลงและสลายตัวไปในวันที่ 5 ก.ย. 62 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ก็ได้อ่อนกำลังลง ในช่วงวันที่ 7 ก.ย. 62 ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักในบางแห่งของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของประเทศ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี 330 มิลลิเมตร จังหวัดตราด 264 มิลลิเมตร และจังหวัดศรีสะเกษ 263 มิลลิเมตร ส่งผลทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในหลายเขื่อน จนทำให้ปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นในหลายเขื่อน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 35/2562 (ระหว่างวันที่ 27 ส.ค.-2 ก.ย. 62)

11-09-2019 11:05:06 น.

สัปดาห์นี้ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 27-28 ส.ค. 62 หลังจากนั้นร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างเข้าสู่พายุโซนร้อน “โพดุล” ในช่วงวันที่ 29-31 ส.ค. 62 ต่อจากนั้นร่องมรสุมเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่ พายุดีเปรสชั่นบริเวณทะเลจีนใต้ ในช่วงวันที่ 1-2 ก.ย. 62 ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทยตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้สัปดาห์นี้ทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่น โดยเฉพาะบริเวณถาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากเป็นบริเวณกว้าง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน น้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด 440 มิลลิเมตร จังหวัดมหาสารคาม 389 มิลลิเมตร และจังหวัดอำนาจเจริญ 371 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 34/2562 (ระหว่างวันที่ 20-26 ส.ค. 62)

27-08-2019 16:28:45 น.

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมอ่าวตัวเกี๋ยและเวียดนามตอนบนมีกำลังแรงขึ้น เกิดเป็นแนวร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มมากขึ้นอีกครั้งและมีฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดน่าน เชียงราย แพร่ สุโขทัย เพชรบูรณ์ อำนาจเจริญ ยโสธร อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดอำนาจเจริญ 343 มิลลิเมตร จังหวัดยโสธร 300 มิลลิเมตร และจังหวัดหนองคาย 296 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 33/2562 (ระหว่างวันที่ 13-19 ส.ค. 62)

20-08-2019 12:11:17 น.

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทยมีกำลังปานกลาง ประกอบกับในช่วงวันที่ 15 ส.ค. 62 มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมอ่าวตังเกี๋ย ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนมาปกคลุมบริเวณประเทศลาวและเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 16-18 ส.ค. 62 และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทยอ่อนกำลังลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยตอนบน ส่วนภาคใต้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดบึงกาฬ 267 มิลลิเมตร จังหวัดระนอง 259 มิลลิเมตร และจังหวัดสตูล 200 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 32/2562 (ระหว่างวันที่ 6-12 ส.ค. 62)

13-08-2019 17:10:52 น.

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีกำลังแรง ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนประเทศลาดและเวียดนามตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากในแนวรับสมมรสุมและภาคเหนือตอนบน หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 12 ส.ค. 62 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เลื่อนขึ้นไปพัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ประเทศลาว และเวียดนามตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนยังคงฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก เชียงราย น่าน พะเยา พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี บึงกาฬ สระบุรี สกลนคร กาญจนบุรี ชุมพร ระนอง พังงา สตูล สงขลา จันทบุรี ตราด และระยอง ในช่วงวันที่ 5-6 ส.ค. 62 และ 9-11 ส.ค. 62 ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 325 มิลลิเมตร จังหวัดกาญจนบุรี 238 มิลลิเมตร และจังหวัดชุมพร 187 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 31/2562 (ระหว่างวันที่ 30 ก.ค.-5 ส.ค. 62)

06-08-2019 19:23:26 น.

พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “วิภา” ในวันที่ 31 ก.ค. 62 และเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านเกาะไหหลำลงสู่อ่าวตังเกี๋ย เข้าสู่ประเทศเวียดนานตอนบนและอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันปกคลุมบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยในวันที่ 4 ส.ค. 62 ส่งผลให้ด้านตะวันออกของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งแนวรับลมด้านตะวันตกของประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ต่อมาในวันที่ 5 ส.ค. 62 มีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือของประเทศไทยและประเทศเวียดนามเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดเชียงราย 249 มิลลิเมตร และจังหวัดตราด 248 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 30/2562 (ระหว่างวันที่ 23-29 ก.ค. 62)

30-07-2019 19:52:21 น.

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังปานกลางในช่วงต้นสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์และอ่อนกำลังลงในช่วงปลายสัปดาห์ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้น ส่วนภาคกลางมีฝนตกปานกลางในบางพื้นที่ ภาคใต้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังอ่อน ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่ สำหรับเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ทั่วประเทศ มีสถานการณ์อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย โดยมีน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต 20 เขื่อน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 29/2562 (ระหว่างวันที่ 16-22 ก.ค. 62)

22-07-2019 17:58:28 น.

สัปดาห์นี้ในครึ่งแรกของสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยตอนล่าง และอ่าวไทยมีกำลังแรงส่งผลให้บริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้มีปริมาณฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักหลายแห่ง ต่อมาในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนล่างอ่อนกำลังลง ส่งผลให้ภาคตะวันออกและภาคใต้มีฝนลดลง ในขณะที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับหย่อมควากดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 538 มิลลิเมตร พังงา 400 มิลลิเมตร และระนอง 225 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 28/2562 (ระหว่างวันที่ 9-15 ก.ค. 62)

22-07-2019 17:52:26 น.

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อ่อนกำลังลง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางกระจายตัวในบางพื้นที่ หลังจากนั้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กลับมามีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 15 ก.ค. 62 ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นอีกครั้งและมีฝนตกหนักในแนวรับลมมรสุม โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพและปริมณฑล กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก กาญจนบุรี หนองคาย บึงกาฬ อำนาจเจริญ สุรินทร์ ชัยภูมิ อุดรธานี บุรีรัมย์ ตราด และจันทบุรี ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกปานกลางถึงหนักในบางพื้นที่ กับมีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ สงขลา นครศรีธรรมราช นราธิวาส สตูล ยะลา และปัตตานี ส่วนภาคใต้ตอนบนมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้้าและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดปัตตานี 166 มิลลิเมตร จังหวัดยะลา 129 มิลลิเมตร และจังหวัดตาก 117 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 27/2562 (ระหว่างวันที่ 2-8 ก.ค. 62)

09-07-2019 17:44:25 น.

วันที่ 2 ก.ค. 62 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “มูน” (MUN) เคลื่อนตัวผ่านเกาะไหลหลำลงสู่อ่าวตังเกี๋ยและเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ในวันที่ 4 ก.ค. 62 หลังจากนั้นพายุอ่อนกำลังลงจนเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับในช่วงวันที่ 2-3 ก.ค. 62 มีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและประเทศลาวเข้าสู่พายุโซนร้อน “มูน” ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่รวมทั้งบริเวณภาคใต้ตอนบน หลังจากนั้นในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อ่อนกำลังลงส่งผลให้ในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ประเทศไทยมีฝนลดลงในหลายพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 26/2562 (ระหว่างวันที่ 25 มิ.ย. - 1 ก.ค. 62)

02-07-2019 10:37:12 น.

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรง ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของประเทศไทย และหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนกลับมามีฝนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงราย น่าน แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร พะเยา ตาก กาญจนบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ เลย ปราจีนบุรี นครนายก จันทบุรี ตราด เพชรบุรี และราชบุรี ในช่วงวันที่ 24-30 มิ.ย. 62 ส่วนภาคใต้มีฝนตกลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักในบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต ในช่วงวันที่ 24-29 มิ.ย. 62 ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 349 มิลลิเมตร กาญจนบุรี 162 มิลลิเมตร และจันทบุรี 154 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 25/2562 (ระหว่างวันที่ 18-24 มิ.ย. 62)

24-06-2019 17:22:24 น.

ช่วงวันที่ 18-19 มิ.ย. 62 ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมาร์ ประเทศลาว และประเทศเวียดนามเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย เลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลางในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในหลายพื้นที่ในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศกัมพูชาและอ่าวไทยตอนล่าง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักและมีฝนตกหนักมากในบางพื้นที่ในตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 278 มิลลิเมตร จังหวัดสตูล 133 มิลลิเมตร และจังหวัดตรัง 113 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 24/2562 (ระหว่างวันที่ 11-17 มิ.ย. 62)

19-06-2019 08:49:31 น.

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กลับมามีกำลังแรงขึ้นตั้งแต่วันที่ 5 มิ.ย. 62 ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาพัดสอบกัน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนกลับมามีฝนตกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ น่าน ตาก อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร อุทัยธานี เพชรบูรณ์ เลย กาฬสินธุ์ หนองคาย นครราชสีมา ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สิงห์บุรี ลพบุรี นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด รวมทั้งบริเวณภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักในบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบ โทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 241 มิลลิเมตร จังหวัดยะลา 203 มิลลิมตร และจังหวัดปัตตานี 174 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 23/2562 (ระหว่างวันที่ 4-10 มิ.ย. 62)

19-06-2019 08:47:44 น.

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กลับมามีกำลังแรงขึ้นตั้งแต่วันที่ 5 มิ.ย. 62 ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาพัดสอบกัน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนกลับมามีฝนตกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ น่าน ตาก อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร อุทัยธานี เพชรบูรณ์ เลย กาฬสินธุ์ หนองคาย นครราชสีมา ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สิงห์บุรี ลพบุรี นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด รวมทั้งบริเวณภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักในบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบ โทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 241 มิลลิเมตร จังหวัดยะลา 203 มิลลิมตร และจังหวัดปัตตานี 174 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 22/2562 (ระหว่างวันที่ 28 พ.ค.-3 มิ.ย. 62)

05-06-2019 09:12:08 น.

ช่วงตันสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์มีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่องในช่วงต้นสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์ หลังจากนั้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อ่อนกำลังลง ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนและภาคใต้มีปริมาณฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดบึงกาฬ 323 มิลลิเมตร จังหวัดน่าน 310 มิลลิเมตร และจังหวัดสกลนคร 155 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 21/2562 (ระหว่างวันที่ 21-27 พ.ค. 62)

28-05-2019 10:20:30 น.

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยมีกำลังปานกลาง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย เกิดลมพัดสอบกันบริเวณประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้บริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักในบางแห่ง หลังจากนั้นในช่วงปลายสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีบริเวณความกดอากาศสูงปกคลุมประเทศจีนตอนใต้และทะเลจีนใต้ ทำให้เกิดแนวร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดแพร่ 146 มิลลิเมตร จังหวัดนครพนม 144 มิลลิเมตร และจังหวัดน่าน 130 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 20/2562 (ระหว่างวันที่ 14-20 พ.ค. 62)

21-05-2019 17:09:45 น.

สัปดาห์นี้มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดสอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้ ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักถึงหนักมากรวมทั้งมีลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีลมตะวันตกพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวตลอดสัปดาห์ ส่วนในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้ในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนลดลง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 174 มิลลิเมตร ปัตตานี 132 มิลลิเมตร และตราด 129 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 19/2562 (ระหว่างวันที่ 7-13 พ.ค. 62)

14-05-2019 15:59:31 น.

สัปดาห์นี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ทำให้เกิดลมพัดสอบบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนด้านรับลมมรสุมในภาคใต้ฝั่งตะวันตก ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของประเทศไทยตอนบน มีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักมากบางแห่ง หลังจากนั้นบริเวณภาคใต้ด้านฝั่งตะวันตกฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 228 มิลลิเมตร จังหวัดอุบลราชธานี 184 มิลลิเมตร และจังหวัดพังงา 169 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 18/2562 (ระหว่างวันที่ 30 เม.ย.-6 พ.ค. 62)

09-05-2019 08:59:48 น.

สัปดาห์นี้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมตลอดสัปดาห์ ส่วนในช่วงวันที่ 3-4 พ.ค. 62 ความกดอากาศสูงเคลื่อนลงมาปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ ประกอบกับกระแสลมตะวันตกและลมใต้พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทย และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกิดลมพัดสอบในบริเวณดังกล่าว ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนภาคใต้ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดสอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ส่งผลให้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดพังงา 175 มิลลิเมตร สกลนคร 133 มิลลิเมตร และระนอง 123 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 17/2562 (ระหว่างวันที่ 23-29 เม.ย. 62)

01-05-2019 10:09:18 น.

สัปดาห์นี้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ประกอบกับกระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบน (ระดับ 5.5 ก.ม.) ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกจากพายุฤดูร้อนในบางแห่ง ในช่วงวันที่ 23 เม.ย. 62 หลังจากนั้นฝนจะลดลง เนื่องจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้อ่อนกำลังลงในช่วงวันที่ 24-25 เม.ย. 62 ต่อมาในช่วงวันที่ 26 เม.ย. 62 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้กลับมามีกำลังแรงขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดสอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้กลับมามีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักในบางแห่งตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดเลย 91 มิลลิเมตร จังหวัดสกลนคร 84 มิลลิเมตร และจังหวัดชัยภูมิ 83 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 16/2562 (ระหว่างวันที่ 16-22 เม.ย. 62)

23-04-2019 09:46:24 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยตอนบนมีกระแสลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลอ่าวไทยเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ประกอบกับในช่วงต้นสัปดาห์ความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้และกระแสลมตะวันตกที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้ความชื้นถูกยกตัวขึ้นในแนวดิ่ง ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในช่วงต้นสัปดาห์ ส่วนภาคใต้ในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ส่งผลให้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในหลายพื้นที่ ต่อมาในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ภาคใต้มีลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดสอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสตูล 76 มิลลิเมตร เพชรบุรี 68 มิลลิเมตร และน่าน 66 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 15/2562 (ระหว่างวันที่ 9-15 เม.ย. 62)

16-04-2019 08:53:37 น.

สัปดาห์นี้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ประกอบกับกระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบน (ระดับ 5.5 ก.ม.) ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกจากพายุฤดูร้อนในบางแห่ง ในช่วงวันที่ 9-10 เม.ย. 62 หลังจากนั้นฝนจะลดลง ต่อมาในช่วงวันที่ 13 เม.ย. 62 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกครั้ง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนกลับมามีพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง ส่วนภาคใต้ยังคงได้รับอิทธิพลจากลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้ยังคงมีฝนต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 105 มิลลิเมตร จังหวัดกระบี่ 76 มิลลิเมตร และจังหวัดศรีสะเกษ 69 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 14/2562 (ระหว่างวันที่ 2-8 เม.ย. 62)

09-04-2019 19:56:52 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับกระแสลมตะวันตกที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้ความชื้นถูกยกตัวขึ้นในแนวดิ่ง ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในช่วงต้นสัปดาห์ ต่อมาในช่วงกลางสัปดาห์ถึงปลายสัปดาห์มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนและความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกในบางพื้นที่จนถึงปลายสัปดาห์ ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกระจายตัวในบางแห่งในช่วงต้นสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์และปริมาณฝนลดลงฝนช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสงขลา 103 มิลลิเมตร ตราด 99 มิลลิเมตร และนครราชสีมา 98 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 13/2562 (ระหว่างวันที่ 26 มี.ค. - 1 เม.ย. 62)

02-04-2019 09:39:25 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาจากทะเลจีนใต้มายังประเทศไทยตอนบน จากนั้นเริ่มอ่อนกำลังลงในช่วงวันที่ 28 มี.ค. 62 แต่กระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบน (ระดับ 5.5 กม.) ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ความชื้นถูกยกตัวขึ้นในแนวดิ่ง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองลมกระโชก หลังจากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกแผ่ลงมายังประเทศไทยอีกครั้ง ในวันที่ 29 มี.ค. 62 ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนกลับมามีพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเพิ่มมากขึ้น ในวันที่ 31 มี.ค. 62 ส่วนลมตะวันออกยังคงที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกในบางแห่ง หลังจากนั้นในวันที่ 28 มี.ค. 62 ลมตะวันตกเฉียงเหนือลงมาพัดสอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้ภาคใต้กลับมามีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักในบางแห่ง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 140 มิลลิเมตร จังหวัดตราด 130 มิลลิเมตร และจังหวัดขอนแก่น 102 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 12/2562 (ระหว่างวันที่ 19-25 มี.ค. 62)

27-03-2019 07:57:17 น.

สัปดาห์นี้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับในช่วงปลายสัปดาห์มีความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่ ส่วนบริเวณภาคใต้มีลมตะวันออกพัดปกคลุมตั้งแต่ช่วงกลางสัปดาห์จนถึงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในช่วงตั้งแต่กลางสัปดาห์จนถึงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 102 มิลลิเมตร นครศรีธรรมราช 78 มิลลิมตร และเพชรบุรี 73 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 11/2562 (ระหว่างวันที่ 12-18 มี.ค. 62)

19-03-2019 11:21:38 น.

สัปดาห์นี้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังอ่อนลง ส่วนลมตะวันออกกลับมาพัดปกคลุมบริเวณภาคใต้ของประเทศ จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมยังบริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงวันที่ 14 มี.ค. 62 ทำให้มีลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดลงมาพัดสอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบกับกระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบน (ระดับ 5.5 กม.) พัดลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันที่ 18 มี.ค. 62 ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงเกิดขึ้นในบางแห่ง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี 63 มิลลิเมตร จังหวัดตราด 53 มิลลิเมตร และจังหวัดเลย 44 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 10/2562 (ระหว่างวันที่ 5-11 มี.ค. 62)

12-03-2019 11:19:53 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยตอนบนมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมเกือบตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดมาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนบริเวณภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่เกือบตลอดทั้งสัปดาห์ สำหรับเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกันทั้งสิ้น 46,606 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 66% ของความจุ สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 23,063 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 09/2562 (ระหว่างวันที่ 26 ก.พ. - 4 มี.ค. 62)

05-03-2019 09:39:46 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงยังคงแผ่เป็นลิ่มจากทะเลจีนใต้ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และในช่วงวันที่ 1-4 มี.ค. 62 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดลงมายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้มีฝนตกต่อเนื่องบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ตอนบน หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 28 ก.พ. 62 ลมตะวันออกที่ปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสกลนคร 55 มิลลิเมตร จังหวัดตาก 48 มิลลิเมตร และจังหวัดจันทบุรี 45 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 08/2562 (ระหว่างวันที่ 19-25 ก.พ. 62)

25-02-2019 17:58:51 น.

บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมบริเวณประเทศไทยอ่อนกำลังลง แต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ ประกอบกับในช่วงวันที่ 21-25 ก.พ. 62 หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณตอนกลางของประเทศไทย ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น และมีฝนตกเล็กน้อยบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 24-25 ก.พ. 62 ความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศไทย ส่งผลให้พื้นที่ส่วนใหญ่มีอุณหภูมิสูงขึ้น ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดปัตตานี 54 มิลลิเมตร สตูล 36 มิลลิเมตร และยะลา 36 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 07/2562 (ระหว่างวันที่ 12-18 ก.พ. 62)

20-02-2019 13:52:35 น.

ความกดอากาศสูงยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน หลังจากนั้นในวันที่ 14 ก.พ. 62 บริเวณความกดอากาศสูงเริ่มอ่อนก้าลังลง ส่วนกระแสลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกในช่วงต้นสัปดาห์ และเลื่อนขึ้นมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนบนในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักบางแห่ง ส้าหรับกระแสลมตะวันออกที่พักปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีก้าลังแรงขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้้าและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดเลย 89 มิลลิเมตร พิษณุโลก 86 มิลลิเมตร และนครสวรรค์ 81 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 06/2562 (ระหว่างวันที่ 5-11 ก.พ. 62)

20-02-2019 13:50:16 น.

ความกดอากาศสูงที่ปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศไทยอ่อนกำลังลงในช่วงต้นสัปดาห์ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณตอนกลางของประเทศไทย ในช่วงวันที่ 9-10 ก.พ. 62 หลังจากนั้นความกดอากาศสูงอีกระลอกแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศ ในช่วงวันที่ 10-11 ก.พ. 62 ลักษณะดังกล่าวส่งผลให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่ ในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดพังงา 45 มิลลิเมตร ระนอง 33 มิลลิเมตร และชลบุรี 30 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 05/2562 (ระหว่างวันที่ 29 ม.ค. - 4 ก.พ. 62)

05-02-2019 09:58:24 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มจากทะเลจีนใต้ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนอีกครั้งในช่วงวันที่ 31 ม.ค. 62 และอ่อนกำลังลงในช่วงวันที่ 2 ก.พ. 62 ส่วนภาคใต้ของประเทศได้รับอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวเข้ามาปกคลุมชายฝั่งประเทศมาเลเซียตอนล่าง ทำให้เกิดลมพัดสอบบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ตอนล่าง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักในบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ พังงา นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ตรัง ปัตตานี และนราธิวาส ส่วนบริเวณตอนบนของประเทศมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ชลบุรี ระยอง และตราด ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดปัตตานี 105 มิลลิเมตร นราธิวาส 87 มิลลิเตร และประจวบคีรีขันธ์ 66 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 04/2562 (ระหว่างวันที่ 22-28 ม.ค. 62)

29-01-2019 18:50:27 น.

สัปดาห์นี้ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยมีอากาศเย็นตลอดทั้งสัปดาห์ และทำให้ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ส่งผลให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกในบางพื้นที่ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดปัตตานี 27 มิลลิเมตร ตรัง 26 มิลลิเมตร และพังงา 14 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 03/2562 (ระหว่างวันที่ 15-21 ม.ค. 62)

22-01-2019 09:26:56 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากบริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมประเทศไทย อ่าวไทย และอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่เคลื่อนตัวมาปกคลุมชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกปานกลางถึงหนักมากในบางแห่งช่วงวันที่ 15-19 ม.ค. 62 โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี พังงา ระนอง สตูล กระบี่ ปัตตานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง นราธิวาส และชุมพร ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดชุมพร 85 มิลลิเมตร นราธิวาส 67 มิลลิเมตร และสุราษฎร์ธานี 45 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 02/2562 (ระหว่างวันที่ 8-14 ม.ค. 62)

15-01-2019 14:22:02 น.

สัปดาห์นี้ความกดอากาศสูงกำลังแรงจากทะเลจีนใต้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ประกอบกับกระแสลมตะวันตกพัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันลอยตัวขึ้นไปปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ทำให้บริเวณภาคเหนือมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากนั้นความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลงในช่วงกลางสัปดาห์จนถึงปลายสัปดาห์ ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยและอ่าวไทยอ่อนกำลังลง ประกอบกับความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณภาคใต้ของประเทศไทยจนถึงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ในช่วงปลายสัปดาห์ สำหรับภาคใต้ยังคงมีสถานการณ์น้ำไหลหลากที่บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฏร์ธานี ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดเชียงราย 149 มิลลิเมตร นราธิวาส 91 มิลลิเมตร และลำปาง 65 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 01/2562 (ระหว่างวันที่ 1-7 ม.ค. 62)

07-01-2019 17:47:38 น.

สัปดาห์นี้พายุโซนร้อน ปาบึก (PABUK) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง เคลื่อนตัวผ่านอ่าวไทยตอนล่าง และเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านลงไปสู่ทะเลอันดามันและได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในวันที่ 6 ม.ค. 62 และได้เคลื่อนตัวห่างออกไปยังเกาะนิโคบาร์ แต่ยังคงมีกระแสลมพัดผ่านภาคใต้ตอนบนเข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำ จากอิทธิพลดังกล่าวส่งผลให้บริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี นราธิวาส ยะลา นครศรีธรรมราช พัทลุง สตูล พังงา กระบี่ ชุมพร ระนอง และประจวบคีรีขันธ์ มีฝนตกหนักถึงหนักมากเกือบตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 258 มิลลิเมตร จังหวัดนครศรีธรรมราช 252 มิลลิเมตร และจังหวัดสงขลา 201 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 53/2561 (ระหว่างวันที่ 25-31 ธ.ค. 61)

02-01-2019 16:41:34 น.

สัปดาห์นี้ความกดอากาศสูงกำลังกำลังแรงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดทั้งสัปดาห์ ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมตะวันออกที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในหลายพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์ ส่วนในช่วงวันที่ 27-29 ธ.ค. 61 ความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่งผลให้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสงขลา 114 มิลลิเมตร นราธิวาส 112 มิลลิเมตร สุราษฏร์ธานี 82 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 52/2561 (ระหว่างวันที่ 18-24 ธ.ค. 61)

24-12-2018 16:26:03 น.

สัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาจากทะเลจีนใต้ ทำให้ลมมรสุมตะวันออกแยงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและประเทศไทยยังคงมีกำลังแรง ส่งผลให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักในบางแห่ง หลังจากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงได้อ่อนกำลังลงในช่วงวันที่ 19-20 ธ.ค. 61 ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ต่อมาในช่วงวันที่ 21-22 ธ.ค. 61 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยกลับมามีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดปัตตานี 95 มิลลิเมตร ชุมพร 95 มิลลิเมตร และสุราษฎร์ธานี 89 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 51/2561 (ระหว่างวันที่ 11-17 ธ.ค. 61)

17-12-2018 17:44:45 น.

ในสัปดาห์นี้ภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันตกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวเบงกอลที่ทวีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 11 ธ.ค. 61 ทำให้มีลมพัดผ่านภาคใต้เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำตั้งแต่วันที่ 11-13 ธ.ค. 61 หลังจากนั้นหย่อมความกดอาศต่ำในอ่าวเบงกอลทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุ “เพทาย” (PHETHAI) ในวันที่ 16 ธ.ค. 61 ทำให้ลมที่พัดผ่านภาคใต้ยังคงมีกำลังแรง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางแห่ง ส่วนบริเวณตอนบนของประเทศความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมต่อเนื่องในช่วงต้นสัปดาห์ ประกอบกับกระแสลมตะวันตกยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 14 ธ.ค. 61 บริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลลง แต่ยังคงมีอากาศหนาวเย็น ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 309 มิลลิเมตร สุราษฎร์ธานี 251 มิลลิเมตร และนราธิวาส 233 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 50/2561 (ระหว่างวันที่ 4-10 ธ.ค. 61)

11-12-2018 16:09:13 น.

สัปดาห์นี้ความกดอากาศสูงกำลังอ่อนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอุณหภูมิเย็นเกือบตลอดสัปดาห์ ต่อมาความกดอากาศสูงแผ่เสริมลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทย อ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้บางพื้นที่ของภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 349 มิลลิเมตร ประจวบคีรีขันธ์ 307 มิลลิเมตร และนราธิวาส 187 มิลลิเมตร และเกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช 4 อำเภอ 16 ตำบล 71 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,305 ครัวเรือน 18,270 คน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 49/2561 (ระหว่างวันที่ 27 พ.ย.-3 ธ.ค. 61)

06-12-2018 13:33:46 น.

สัปดาห์นี้ความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นลงและมีอากาศเย็นตลอดทั้งสัปดาห์ ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านทะเลอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ในช่วงกลางสัปดาห์ และปริมาณฝนลดลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ห์ โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณจังหวัดชุมพร พังงา ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตรัง พัทลุง นราธิวาส และปัตตานี ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 146 มิลลิเมตร สงขลา 135 มิลลิเมตร และปัตตานี 97 มิลลิมเตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 48/2561 (ระหว่างวันที่ 20-26 พ.ย. 61)

26-11-2018 16:07:42 น.

ช่วงต้นสัปดาห์นี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นลงและมีฝนลดลง ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังลงจากพายุโทราจี ได้เคลื่อนตัวเข้าปกคลุมภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 22-23 พ.ย. 61 พายุโซนร้อน “อุซางิ” (USAGI) ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ฝั่งประเทศเวียดนามตอนล่างบริเวณปลายแหลมญวน ต่อมาได้เคลื่อนเข้ามายังประเทศกัมพูชาและปะทะกับบริเวณความกดอากาศสูง ส่งผลให้ภาคใต้ของประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 153 มิลลิเมตร พังงา 145 มิลลิเมตร และสตูล 76 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 47/2561 (ระหว่างวันที่ 13-19 พ.ย. 61)

19-11-2018 17:14:56 น.

สัปดาห์นี้ความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวขึ้นไปปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศไทยตั้งแต่ตันสัปดาห์จนถึงปลายสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีอุณหภูมิสูงขึ้น และมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์ สำหรับลมตะวันออกที่พัดผ่านอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน มีกำลังปานกลาง ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกระจายตัวในบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดปัตตานี 234 มิลลิเมตร นครศรีธรรมราช 108 มิลลิเมตร และสงขลา 134 มิลลิเมตร สำหรับพายุดีเปรสชัน “โทราจิ” อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ และคาดว่าจะเคลื่อนตัวลงสู่อ่าวไทยในช่วงวันที่ 19-21 พ.ย. 61 ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และสุราษฏร์ธานี

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 46/2561 (ระหว่างวันที่ 6-12 พ.ย. 61)

13-11-2018 17:31:53 น.

สัปดาห์นี้หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซียเคลื่อนตัวผ่านภาคใต้ของประเทศไทยลงสู่ทะเลอันดามัน ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในช่วงวันที่ 7-9 พ.ย. 61 และความกดอากาศสูงที่ปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนอ่อนกำลังลง ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่งผลให้ในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นลง ต่อมามีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดมาปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีฝนตกในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 479 มิลลิเมตร ชุมพร 245 มิลลิเมตร และนครศรีธรรมราช 200 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 45/2561 (ระหว่างวันที่ 30 ต.ค.-5 พ.ย. 61)

08-11-2018 10:09:48 น.

สัปดาห์นี้ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงต้นสัปดาห์ และค่อยๆ เลื่อนลงมาปกคลุมบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกในช่วงกลางสัปดาห์ หลังจากนั้นความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลง ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทยและประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์และอ่อนกำลังลงในช่วงปลายสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นลง ส่วนภาคใต้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในช่วงกลางสัปดาห์และปริมาณฝนลดลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 278 มิลลิเมตร ปัตตานี 193 มิลลิเมตร และสงขลา 123 มิลลิเมตร ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกันทั้งสิ้น 57,624 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 81% ของความจุ สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 34,082 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเกินความจุเขื่อน ได้แก่ เขื่อนกิ่วคอหมา (108%) และเขื่อนหนองปลาไหล (101%)

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 44/2561 (ระหว่างวันที่ 23-29 ต.ค. 61)

08-11-2018 10:08:03 น.

สัปดาห์นี้ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตลอดทังสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดสอบกันบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงต้นสัปดาห์ ส่งผลให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในช่วงต้นสัปดาห์ ต่อมาในช่วงกลางสัปดาห์หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวไทยเคลื่อนตัวจากอ่าวไทยผ่านภาคใต้ตอนล่างลงสู่ทะเลอันดามัน ส่งผลให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่นในช่วงต้นสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์ หลังจากนั้นความกดอากาศสูงได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนบนส่งผลให้ภาคใต้มีฝนลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางมีฝนลดลงและมีอากาศเย็นลงในช่วงกลางสัปดาห์จนถึงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดพัทลุง 159 มิลลิเมตร กระบี่ 139 มิลลิเมตร และพังงา 109 มิลลิเมตร ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่งทั่วประเทศมีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 57,759 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก และมีสถานการณ์น้ำล้นเขื่อน 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนกิ่วคอหมา(107%) และเขื่อนหนองปลาไหล(104%)

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 43/2561 (ระหว่างวันที่ 16-22 ต.ค. 61)

08-11-2018 08:40:25 น.

สัปดาห์นี้ความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนอ่อนกำลังลง แต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทย มีกำลังปานกลาง ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นลงและมีฝนตกหนักกระจายตัวในบางพื้นที่ จากนั้นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่นบริเวณอ่าวไทยในวันที่ 19 ต.ค. 61 และเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในวันที่ 20 ต.ค. 61 และอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมอ่าวเมาะตะมะ ประเทศเมียนมาร์ ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 20-22 ต.ค. 61 ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสตูล 155 มิลลิเมตร อุทัยธานี 148 มิลลิเมตร และตราด 142 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 42/2561 (ระหว่างวันที่ 9-15 ต.ค. 61)

16-10-2018 17:41:33 น.

ในช่วงต้นสัปดาห์ ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและร่องมรสุมบริเวณภาคใต้เลื่อนลงไปพาดผ่านประเทศมาเลเซีย ประกอบกับพายุไซโคลน “ตีตลี” บริเวณอ่าวเบงกอลทวีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้มีฝนฟ้าคะนองบริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือและด้านตะวันตกของภาคกลาง ต่อมาในช่วงกลางสัปดาห์ ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงแผ่เสริมลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอ่อนกำลังลงในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลงและมีอากาศเย็นลงในตอนเช้า ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดพังงา 96 มิลลิเมตร สตูล 77 มิลลิเมตร และสมุทรปราการ 76 มิลลิเมตร สำหรับเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกัน 18,884 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 12,188 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อความต้องการน้ำเฉลี่ยในฤดูแล้งรวมไปถึงช่วงฤดูฝนของปี 2562

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 41/2561 (ระหว่างวันที่ 2-8 ต.ค. 61)

09-10-2018 14:28:25 น.

ในวันที่ 2-8 ต.ค. 61 ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ร่องมรสุมบริเวณตอนกลางของประเทศ เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคใต้ ประกอบกับลมตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทย ส่งผลให้สัปดาห์นี้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลง ส่วนภาคเหนือมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ และลดลงในช่วงกลางสัปดาห์ถึงปลายสัปดาห์ ส่วนภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 193 มิลลิเมตร ตราด 173 มิลลิเมตร และเพชรบุรี 166 มิลลิเมตร สำหรับเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกันทั้งสิ้น 56,679 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 80% ของความจุ สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 33,136 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเกินความจุเขื่อน ได้แก่ เขื่อนกิ่วคอหมา (103%) และเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกัน 18,674 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 11,978 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 40/2561 (ระหว่างวันที่ 25 ก.ย.-1 ต.ค. 61)

02-10-2018 14:03:51 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ และมีปริมาณฝนลดลงในช่วงกลางสัปดาห์ หลังจากนั้นกลับมามีฝนตกเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักกระจายตัวในบางพื้นที่ตั้งแต่ต้นสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์ และมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในช่วงต้นสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์ และมีฝนลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 174 มิลลิเมตร อุดรธานี 136 มิลลิเมตร และพัทลุง 118 มิลลิเมตร ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกันทั้งสิ้น 55,862 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 79% ของความจุ สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 32,319 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บ 80-100% มี 13 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนสิริกิติ์ (86%) เขื่อนกิ่วคอหมา (94%) เขื่อนลำตะคอง (86%) เขื่อนน้ำอูน (99%) เขื่อนศรีนครินทร์ (91%) เขื่อนวชิราลงกรณ (89%) เขื่อนหนองปลาไหล (84%) เขื่อนคลองสียัด (88%) เขื่อนขุนด่านปราการชล (94%) เขื่อนประแสร์ (92%) และเขื่อนนฤบดินทรจินดา (93%) เขื่อนแก่งกระจาน (92%) และเขื่อนรัชชประภา (85%) ส่วนเขื่อนที่มีน้ำน้อยวิกฤต มี 2 เขื่อน ได้แก่เขื่อนแม่มอก (27%) และเขื่อนทับเสลา (27%)

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 39/2561 (ระหว่างวันที่ 17-24 ก.ย. 61)

26-09-2018 11:45:24 น.

ในวันที่ 18-21 ก.ย.61 พายุดีเปรสชั่นบริเวณประเทศจีนได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ปกคลุมบริเวณประเทศจีนและประเทศเวียดนาม ต่อมาหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอล เหนี่ยวนำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง หลังจากนั้นช่วงวันที่ 22-24 ก.ย. 61 ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่งผลให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ 180 มิลลิเมตร นครนายก 153 มิลลิเมตร และขอนแก่น 147 มิลลิเมตร ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกันทั้งสิ้น 55,690 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 79% ของความจุ สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 32,147 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเกินความจุเขื่อน ได้แก่ เขื่อนน้ำอูน (101%) โดยมีน้ำล้นเขื่อนมาตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. 61 รวม 54 วัน และเขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บ 80-100% มี 11 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนสิริกิติ์ (85%) เขื่อนกิ่วคอหมา (94%) เขื่อนลำตะคอง (85%) เขื่อนศรีนครินทร์ (92%) เขื่อนวชิราลงกรณ (91%) เขื่อนคลองสียัด (83%) เขื่อนขุนด่านปราการชล (90%) เขื่อนประแสร์ (85%) เขื่อนนฤบดินทรจินดา (90%) เขื่อนแก่งกระจาน (96%) และเขื่อนรัชชประภา (86%) ส่วนเขื่อนที่มีน้ำน้อยวิกฤต มี 2 เขื่อน ได้แก่เขื่อนแม่มอก (27%) และเขื่อนทับเสลา (26%) และเขื่อนขนาดใหญ่ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกัน 17,917 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 11,221 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 38/2561 (ระหว่างวันที่ 11-17 ก.ย. 61)

18-09-2018 15:41:05 น.

ช่วงต้นสัปดาห์มีร่องมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมา ลาว และเวียดนาม เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย หลังจากนั้นร่องมรสุมค่อยๆ เลื่อนลงมาพาดผ่านตอนบนของประเทศไทย และตอนกลางของประเทศไทยในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนพายุดีเปรสชั่น “TWENTYSEVEN” บริเวณด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะไต้หวัน เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “บารีจัต”(BARIJAT) ในวันที่ 11 ก.ย. 61 และเคลื่อนตัวผ่านเกาะไหหลำ เข้าสู่อ่าวตังเกี๋ยและอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นและหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนาม ในวันที่ 13 ก.ย. 61 ส่วนพายุซุปเปอร์ไต้ฝุ่น “มังคุด”(MUNGKHUT) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ เคลื่อนที่ผ่านตอนบนของประเทศฟิลิปปินส์เข้าสู่ทะเลจีนใต้ในวันที่ 15 ก.ย. 61 และเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศจีนตอนใต้และอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนในวันที่ 16 ก.ย. 61 ส่งผลให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์ ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเกินความจุเขื่อนได้แก่ เขื่อนน้ำอูน(103%) โดยมีน้ำล้นเขื่อนมาตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. 61 รวม 47 วัน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 37/2561 (ระหว่างวันที่ 4-10 ก.ย. 61)

13-09-2018 09:05:30 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ส่งผลให้มีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ต่อมาในช่วงกลางสัปดาห์ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาร์ ประเทศเวียดนาม และประเทศจีนตอนใต้ ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับลมมรสมุตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้มีฝนตกหนักเพิ่มมากขึ้นบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และบางพื้นที่ของภาคใต้ ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกันทั้งสิ้น 54,404 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 77% ของความจุ สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 30,862 ล้านลบ.ม. ซึ่งเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเกินความจุเขื่อนได้แก่ เขื่อนน้ำอูน (105%) โดยมีน้ำล้นเขื่อนมาตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. 61 รวม 40 วัน ปัจจุบันมีน้ำกักเก็บ 548 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนแก่งกระจาน (102%) มีน้ำล้นเขื่อนตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค. 61 รวม 36 วัน ปัจจุบันมีน้ำกักเก็บ 724 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 36/2561 (ระหว่างวันที่ 28 ส.ค.-3 ก.ย. 61)

13-09-2018 09:01:30 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์มีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาร์ ประเทศเวียดนามตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ต่อมาในช่วงปลายสัปดาห์หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังปานกลางปกคลุมตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีกำลังปานกลาง ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดบึงกาฬ 151 มิลลิเมตร ตราด 147 มิลลิเมตร และนราธิวาส 106 มิลลิเมตร ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกัน 16,382 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 9,686 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 35/2561 (ระหว่างวันที่ 21-27 ส.ค. 61)

27-08-2018 16:28:00 น.

ช่วงต้นสัปดาห์นี้ลมรมสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ต่อมาช่วงกลางสัปดาห์ถึงปลายสัปดาห์มีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมาร์และประเทศลาวเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีกำลังแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกันทั้งสิ้น 52,876 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 75% ของความจุ สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริง 29,333 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเกินความจุเขื่อนได้แก่ เขื่อนน้ำอูน (110%) โดยมีน้ำล้นเขื่อนมาตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. 61 รวม 26 วันและเขื่อนแก่งกระจาน (107%) มีน้ำล้นเขื่อนตั้งแต่วันที่ 7 ส.ค. 61 รวม 21 วัน lสำหรับเขื่อนวชิราลงกรณถึงแม้ว่าน้ำจะไม่ล้นเขื่อน แต่มีปริมาณน้ำกักเก็บแล้วถึง 92% และมีการระบายน้ำผ่านทางระบายน้ำล้นตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค. 61

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 34/2561 (ระหว่างวันที่ 14-20 ส.ค. 61)

20-08-2018 18:08:38 น.

ช่วงต้นสัปดาห์นี้มีพายุโซนร้อน “เบบินคา”(BEBINCA)ก่อตัวบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ทางฝั่งตะวันออกของเกาะไหหลำ ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ต่อมาในช่วงกลางสัปดาห์พายุโซนร้อน “เบบินคา” เคลื่อนตัวเข้าปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันปกคลุมประเทศลาวตอนบนและภาคเหนือของประเทศไทย หลังจากนั้นในช่วงปลายสัปดาห์พายุดีเปรสชันได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเมียนมาร์ ส่วนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อ่อนกำลังลงแต่ยังคงส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากระจายตัวทั่วทุกภาคของประเทศไทย และจากอิทธิพลของพายุลูกนี้ส่งผลให้มี 3 จังหวัด ที่ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินถล่ม ได้แก่ จังหวัดน่าน พะเยา และเชียงราย ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 238 มิลลิเมตร น่าน 187 มิลลิเมตร และเชียงราย 171 มิลลิเมตร สำหรับเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเกินความจุเขื่อนได้แก่ เขื่อนน้ำอูน (101%) และเขื่อนแก่งกระจาน (109%) ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกัน 15,086 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 8,390 ล้านลูกบาศก์เมตร จากอิทธิพลพายุโซนร้อน “เบบินคา” และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 33/2561 (ระหว่างวันที่ 7-13 ส.ค 61)

14-08-2018 15:47:17 น.

ช่วงต้นสัปดาห์มีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงที่ปกคลุมประเทศไทย ส่งผลให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้มีฝนตกหนัก และมีฝนตกหนักมากในบางพื้นที่ ต่อมาร่องมรสุมเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาร์ ประเทศลาวตอนบน และประเทศเวียดนาม ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อ่อนกำลังลง แต่ยังคงส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักในพื้นที่ดังกล่าว หลังจากนั้นช่วงวันที่ 10 ส.ค. 61 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ อีกทั้งลมมรสุมตะวันตกเฉียงมีกำลังแรงส่งผลให้ฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด3 อันดับแรก ได้แก่จังหวัดระนอง 356 มิลลิเมตร พังงา 301 มิลลิเมตร และชุมพร 260 มิลลิเมตร ส่วนสถานการณ์น้ำในเขื่อนมีน้ำล้นเขื่อนที่เขื่อนน้ำอูน (103%) และเขื่อนแก่งกระจาน (102%)

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 32/2561 (ระหว่างวันที่ 31 ก.ค.-6 ส.ค. 61)

07-08-2018 17:48:46 น.

ช่วงต้นสัปดาห์นี้มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประเทศเวียดนามตอนบน และประเทศลาว ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พาดผ่านทะเลอันดามันและประเทศไทยยังคงมีกำลังแรง ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้มีฝนตกกระจายตัวอยู่ทั่วทุกบริเวณ และมีฝนตกหนักในบางแห่ง ต่อมาในช่วงกลางสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พาดผ่านประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้มีฝนตกหนักในบางแห่ง และในช่วงปลายสัปดาห์ประเทศไทยมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทวีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้นและตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 180 มิลลิเมตร จังหวัดน่าน 149 มิลลิเมตร และจังหวัดกาญจนบุรี 121 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 31/2561 (ระหว่างวันที่ 24-30 ก.ค. 61)

31-07-2018 14:33:32 น.

วันที่ 24 ก.ค. 61 พายุโซนร้อน “เซินติญ” ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศจีนตอนใต้ และอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้ช่วงต้นสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ส่งผลให้ด้านตะวันตกของภาคกลาง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง ต่อมาวันที่ 27 ก.ค. 61 ไปจนถึงปลายสัปดาห์มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ส่งผลให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสกลนคร 219 มิลลิเมตร ตราด 210 มิลลิเมตร และมุกดาหาร 204 มิลลิเมตร อีกทั้ง้เกิดดินถล่มบริเวณจังหวัดน่าน และเกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัด เช่น มุกดาหาร สกลนคร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 30/2561 (ระหว่างวันที่ 17-23 ก.ค. 61)

24-07-2018 14:23:50 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยและทะเลอันดามันยังคงมีกำลังแรงต่อเนื่อง รวมทั้งร่องมรสุมมีกำลังแรงขึ้นและเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวตังเกี๋ยเคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคตวันออกเฉียงเหนือตอนบน และได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุ “เซินติญ” (SON-THIN) พร้อมเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 18 ก.ค. 61 หลังจากนั้นหย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังลงจากพายุเซินติญยังคงปกคลุมบริเวณประเทศลาวตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบน จากนั้นเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ยในช่วงวันที่ 22 ก.ค. 61 ทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยอ่อนกำลังลงเล็กน้อย หลังจากนั้นพายุลูกนี้ได้ทวีกำลังกลับขึ้นมาเป็นพายุดีเปรสชั่นอีกครั้ง ทำให้ร่องมรสุมยังคงพาดผ่านประเทศพม่าตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบน ส่วนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยและทะเลอันดามันยังคงมีกำลังปานกลางทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 582 มิลลิเมตร น่าน 195 มิลลิเมตร และบึงกาฬ 173 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 29/2561 (ระหว่างวันที่ 10-16 ก.ค. 61)

17-07-2018 15:51:06 น.

ช่วงสัปดาห์นี้มีร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ ประเทศลาว และประเทศเวียดนามเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ส่งผลให้สัปดาห์นี้มีฝนตกหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมฝั่งอันดามันและอ่าวไทยตอนบนยังคงกำลังแรง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 278 มิลลิเมตร จังหวัดระนอง 200 มิลลิเมตร จังหวัดชุมพร 183 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 28/2561 (ระหว่างวันที่ 3-9 ก.ค. 61)

09-07-2018 18:00:00 น.

ช่วงต้นสัปดาห์มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยและทะเลอันดามันยังคงมีกำลังอ่อน หลังจากนั้นได้เริ่มมีกำลังแรงขึ้นในวันที่ 3 ก.ค. 61 และแรงต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับในวันที่ 7 ก.ค. 61 มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเวียดนามตอนบน ทำให้เกิดร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเวียดนามตอนบนและลาวตอนบนไปจนถึงช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 387 มิลลิเมตร พังงา 248 มิลลิเมตร และระนอง 148 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 27/2561 (ระหว่างวันที่ 26 มิ.ย.- 2 ก.ค. 61)

04-07-2018 17:21:00 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศจีนตอนใต้ ส่งผลให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักกว่าภาคอื่นๆ ส่วนช่วงกลางสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักได้บางแห่ง หลังจากนั้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยกลับมามีกำลังปานกลางอีกครั้งในช่วงวันที่ 2 ก.ค. 61 ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกับฝนตกหนักบางแห่ง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดน่าน 70 มิลลิเมตร ตราด 42 มิลลิเมตร และเชียงราย 35 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 26/2561 (ระหว่างวันที่ 19-25 มิ.ย. 61)

28-06-2018 14:05:37 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทย ส่งผลให้คลื่นลมทะเลฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ อีกทั้งมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกมากกว่าภาคอื่นๆ ส่วนช่วงกลางสัปดาห์หย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวขึ้นไปปกคลุมทางบริเวณตอนล่างของประเทศจีน ส่งผลให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนัก ส่วนช่วงปลายสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน และอ่าวไทยประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกลับมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้คลื่นลมทะเลฝั่งอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดน่าน 258 มิลลิเมตร บึงกาฬ 180 มิลลิเมตร และนครนายก 163 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 25/2561 (ระหว่างวันที่ 12-18 มิ.ย. 61)

20-06-2018 10:18:51 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้คลื่นลมทะเลฝั่งอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นช่วงกลางสัปดาห์มีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ส่งผลให้ตอนบนของประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และช่วงปลายสัปดาห์ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทั้งทะเลฝั่งอันดามันและอ่าวไทยตอนบนยังคงมีคลื่นลมแรงอย่างต่อเนื่อง และภาคใต้มีฝนตกหนักเกือบตลอดสัปดาห์ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดพังงา 265 มิลลิเมตร ชุมพร 213 มิลลิเมตร และระนอง 205 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 24/2561 (ระหว่างวันที่ 5-11 มิ.ย. 61)

12-06-2018 16:24:13 น.

ช่วงต้นสัปดาห์พายุดีเปรสชั่น FIVE ในทะเลจีนใต้ได้เคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือเข้าสู่เกาะไหหลำและทวีกำลังแรงขึ้น หลังจากนั้นได้เข้าปกคลุมบริเวณมณฑลกวางตุ้งต่อไปในช่วงวันที่ 6 มิ.ย. 61 และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “เอวีเนียร์” (EWINIAR) ในวันที่ 7 มิ.ย. 61 เหนี่ยวนำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น และเกิดแนวลมพัดสอบกับลมหมุนด้านหน้าของพายุ ทำให้เกิดร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณตอนบนของภาคเหนือและตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์พายุโซนร้อน “เอวีเนียร์” (EWINIAR) ที่ปกคลุมประเทศจีนตอนใต้อ่อนกำลังลงและถูกเหนี่ยวนำให้เคลื่อนที่ออกไปทางทิศตะวันออก และเข้าปกคลุมเมืองเซินเจิ้นและเกาะฮ่องกง ประกอบกับเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนบน ทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านประเทศไทยทวีกำลังแรงขึ้น และร่องมรสุมยังคงพาดผ่านบริเวณตอนบนของประเทศไทย จากนั้นร่องมรสุมเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณประเทศจีนตอนใต้ต่อไป ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 303 มิลลิเมตร ระนอง 174 มิลลิเมตร และจันทบุรี 151 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 23/2561 (ระหว่างวันที่ 29 พ.ค.-4 มิ.ย. 61)

07-06-2018 16:29:13 น.

ช่วงต้นสัปดาห์หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมอ่าวเมาะตะมะมีกำลัังแรง เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศเมียนมาร์ ประกอบกับมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทย ส่งผลให้ด้านตะวันตกของประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง และช่วงตั้งแต่กลางสัปดาห์จนถึงปลายสัปดาห์หย่อมความกดอากาศต่ำที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคเหนือ ภาคกลาง มีกำลังอ่อนลง ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวบริเวณทะเลจีนใต้มีกำลังแรงขึ้นและเป็นพายุดีเปรสชั่น FIVE ในวันที่ 2 มิ.ย. 61 เคลื่อนตัวไปปกคลุมทะเลจีนใต้ตอนบนใกล้กับเกาะไหหลำ ประเทศจีน ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 22/2561 (ระหว่างวันที่ 22-28 พ.ค. 61)

30-05-2018 16:08:10 น.

ช่วงต้นสัปดาห์มีลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีลมตะวันตกพัดปกคลุมภาคใต้ ทำให้เกิดฝนตกในหลายพื้นที่ของประเทศ หลังจากนั้นช่วงกลางสัปดาห์เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวเบงกอล ซึ่งส่งผลให้ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทย และอ่าวไทย และปะทะกับลมตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยที่เขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกัน 13,023 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 6,327 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 21/2561 (ระหว่างวันที่ 15-21 พ.ค. 61)

22-05-2018 16:30:46 น.

ตลอดสัปดาห์นี้ หย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมตอนบนของประเทศไทย ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศร้อน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ส่งผลให้เกิดฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดทั้งสัปดาห์ โดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี 124.6 มิลลิเมตร จังหวัดเชียงราย 119.2 มิลลิเมตร และจังหวัดน่าน 115.4 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 20/2561 (ระหว่างวันที่ 8-14 พ.ค. 61)

16-05-2018 15:47:10 น.

ช่วงต้นสัปดาห์หย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ ประกอบกับมีลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกมากกว่าบริเวณอื่นๆ และตั้งแต่ช่วงกลางสัปดาห์จนถึงปลายสัปดาห์มีลมตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบกับมีความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้และตอนบนของประเทศไทย ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่และมีปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดพังงา 114.2 มิลลิเมตร จังหวัดบึงกาฬ 102.2 มิลลิเมตร และจังหวัดชลบุรี 98 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 19/2561 (ระหว่างวันที่ 1-7 พ.ค. 61)

09-05-2018 16:40:55 น.

ช่วงต้นสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลง แต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาจากทะเลจีนใต้ ส่วนลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้นและพัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลอันดามันเคลื่อนตัวเข้าปกคลุมอ่าวเมาะตะมะ ทำให้มีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามา จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนอีกระลอกแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 3 พ.ค. 61 ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือปะทะกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงอย่างต่อเนื่องในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สำหรับภาคใต้ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันพัดสอบลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย หลังจากนั้นอ่อนกำลังลงในช่วงวันที่ 3 พ.ค. 61 ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลงตั้งแต่วันที่ 5 พ.ค. 61 แต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มมาจากทะเลจีนใต้ ส่วนภาคใต้กระแสลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดเชียงราย 146 มิลลิเมตร จังหวัดกระบี่ 124 มิลลิเมตร และจังหวัดตราด 122 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 18/2561 (ระหว่างวันที่ 24-30 เม.ย. 61)

02-05-2018 16:22:07 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นช่วงกลางสัปดาห์จะมีฝนตก และมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่ ส่วนปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนใหญ่ทั้ง 35 แห่งทั่วประเทศ มีอยู่ 44,442 ล้านลูกบาศก์เมตร ถือเป็นปริมาณน้ำกักเก็บสูงสุดเมื่อเทียบกับปีอื่น ๆ ยกเว้นภาคใต้ที่มีน้ำน้อยกว่าปืที่แล้วอยู่เล็กน้อย โดยที่ปริมาณน้ำระบายสะสมตั้งแต่ต้นปีมี 15,125 ล้านลูกบาศก์เมตร ถือเป็นการระบายน้ำมากสุดเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 2557 ส่วนระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองสายหลักในหนึ่งสัปดาห์ พบว่าภาคเหนือโดยส่วนใหญ่มีน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยถึงน้ำปานกลางโดยเฉพาะในลำน้ำสาขา ส่วนภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีน้ำระดับปานกลาง ส่วนภาคกลางมีระดับน้ำมาก และไม่พบสถานการณ์น้ำท่วมและน้ำล้นตลิ่งต่ำตามธรรมชาติในแม่น้ำสายหลัก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 17/2561 (ระหว่างวันที่ 17-23 เม.ย. 61)

24-04-2018 16:27:33 น.

ช่วงต้นสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือปะทะกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนและเกิดการยกตัวขึ้น และอ่อนกำลังลงในวันที่ 18-19 เม.ย. 61 แต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาจากทะเลจีนใต้ ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้กลับมาพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่วนลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี 145 มิลลิเมตร จังหวัดตราด 116 มิลลิเมตร จังหวัดระนอง 100 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 16/2561 (ระหว่างวันที่ 10-16 เม.ย. 61)

17-04-2018 16:18:11 น.

ช่วงต้นสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลง แต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาจากทะเลจีนใต้ตอนบน ส่วนลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ และอ่อนกำลังลงในวันที่ 11 เม.ย. 61 จากนั้นลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้กลับมาพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันเดียวกัน ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกได้แผ่ลงมายังประเทศไทยตอนบนอีกครั้งในช่วงวันที่ 14 เม.ย. 61 ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือปะทะกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนและเกิดการยกตัวขึ้น ส่วนลงตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 16 เม.ย. 61 ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ 116 มิลลิเมตร จังหวัดพิษณุโลก 81 มิลลิเมตร และจังหวัดตราด 68 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 15/2561 (ระหว่างวันที่ 3-9 เม.ย. 61)

10-04-2018 15:41:37 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ประกอบกับกระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบนพัดปกคลุมภาคเหนือ ทำให้ความชื้นถูกยกตัวขึ้นในแนวดิ่ง จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่ได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 5 เม.ย. 61 และลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดลงมาปะทะกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนและเกิดการยกตัวขึ้นอย่างรุนแรง และจะเริ่มอ่อนกำลังลงในวันที่ 9 เม.ย. 61 ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร 126 มิลลิเมตร จังหวัดน่าน 117 มิลลิเมตร และจังหวัดชุมพร 85 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 14/2561 (ระหว่างวันที่ 27 มี.ค.-2 เม.ย. 61)

05-04-2018 10:57:06 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ ความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนอ่อนกำลังลง ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้กลับมาพัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน และลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้อ่อนกำลังลง ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ โดยเฉพาะวันที่ 30-31 มี.ค. 61 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนระลอกใหม่แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือเกิดการพัดสอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้เกิดพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรกอีกครั้ง ส่วน ลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 151 มิลลิเมตร ระยอง 135 มิลลิเมตร และจันทบุรี 131 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 13/2561 (ระหว่างวันที่ 20-26 มี.ค. 61)

27-03-2018 18:28:45 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ ความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดลงมาปะทะกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังคงพัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนกลับมาเกิดพายุฤดูร้อน ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศมีกำลังแรงขึ้น ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคุลมอ่าวไทยและภาคใต้ก็ทวีกำลังแรงขึ้น หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 24 มี.ค. 61 ความกดอากาศสูงเริ่มอ่อนกำลังลงแต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับกระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบนที่พัดปกคุลมภาคเหนือตอนบนและลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้กลับมาพัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนอีกครั้ง ในช่วงวันที่ 26 มี.ค. 61 ทั้งนี้ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้าและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี 93 มิลลิเมตร นครศรีธรรมราช 53 มิลลิเมตร และระนอง 52 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 12/2561 (ระหว่างวันที่ 13-19 มี.ค. 61)

26-03-2018 14:28:40 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ ความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนอ่อนกำลังลง ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ส่วนลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมีความกดอากาศสูงจากทะเลญี่ปุ่นแผ่เป็นลิ่มลงมายังทะเลจีนใต้ตอนบน ทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น รวมทั้งกระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบนปกคลุมภาคเหนือตอนบน ส่วนลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางกระจายตัวในบางพื้นที่และในช่วงต้นสัปดาห์มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด สระบุรี ชลบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และตรัง ส่วนช่วงปลายสัปดาห์ปริมาณฝนลดลงมาก โดยมีฝนตกหนักที่บริเวณจังหวัดเชียงรายเท่านั้น โดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 105 มิลลิเมตร จังหวัดนครศรีธรรมราช 73 มิลลิเมตร และจังหวัดนครนายก 70 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 11/2561 (ระหว่างวันที่ 6-12 มี.ค. 61)

26-03-2018 14:22:32 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ในวันที่ 7 มี.ค. 61 จากนั้นความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนอีกครั้งในวันที่ 8-9 มี.ค. 61 ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกิดการพัดสอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ ในช่วงปลายสัปดาห์ความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนเริ่มอ่อนกำลังลงในช่วงวันที่ 12 มี.ค. 61 ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมทั่วทั้งประเทศไทยตอนบน ส่วนลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้สัปดาห์นี้ ประเทศไทยมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางหนาแน่นบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคกลาง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ โดยมีกลุ่มฝนหนาแน่นในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. 61 และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณจังหวัดพะเยา น่าน อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนภาคใต้มีฝนตกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่บริเวณจังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี 122 มิลลิเมตร จังหวัดจันทบุรี 91 มิลลิเมตร และจังหวัดนนทบุรี 87 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 10/2561 (ระหว่างวันที่ 27 ก.พ.-5 มี.ค. 61)

07-03-2018 15:47:59 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ ความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลง ประกอบกับลมตะวันตกในระดับลมชั้นบนพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำให้ความชื้นที่สะสมตัวอยู่บริเวณผิวพื้นยกตัวขึ้นในแนวดิ่ง ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ในช่วงปลายสัปดาห์ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ส่วนภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังอ่อนที่ปกคลุมบริเวณเกาะบอร์เนียว ทำให้ลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้สัปดาห์นี้ สัปดาห์นี้ ประเทศไทยมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางกระจายตัวในทุกภูมิภาคของประเทศและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ โดยช่วงต้นสัปดาห์มีฝนตกกระจายในพื้นที่ตอนบนของประเทศ ทั้งนี้มีฝนตกหนาแน่นในช่วงวันที่ 27-28 ก.พ. 61 โดยมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และมีฝนตกหนักมากในบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ แพร่ จันทบุรี ระยอง กาญจนบุรี ราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนในช่วงกลางสัปดาห์ถึงช่วงปลายสัปดาห์มีฝนตกลดลง โดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี 77 มิลลิเมตร จังหวัดนครสวรรค์ 65 มิลลิเมตร และจังหวัดแพร่ 56 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 09/2561 (ระหว่างวันที่ 20-26 ก.พ. 61)

27-02-2018 18:27:45 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกลับมาพัดปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศและเกิดการพัดสอบกับกระแสลมตะวันออกนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเหนือเกาะสุมาตรา เหนี่ยวนำกระแสลมตะวันออกพัดผ่านอ่าวไทยอย่างต่อเนื่อง ในช่วงปลายสัปดาห์ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ลมระดับล่างเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนกระแสลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้สัปดาห์นี้ สัปดาห์นี้ ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้นในทุกภาค โดยมีกลุ่มฝนกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบนรวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และในบางพื้นที่ของภาคใต้

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 08/2561 (ระหว่างวันที่ 13-19 ก.พ. 61)

20-02-2018 17:10:08 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ ความกดอากาศสูงที่คลุมบริเวณตอนบนของประเทศไทยอ่อนกำลังลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศอุ่นขึ้น ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักบางแห่งจากนั้นฝนจะลดลง ในช่วงปลายสัปดาห์ความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลงแต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาจากทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศอุ่นขึ้นและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังลงจากพายุซันปาในทะเลจีนได้เหนี่ยวนำให้กระแสลมตะวันออกพัดเข้าปกคลุมประเทศไทย อ่าวไทย และภาคใต้ ส่งผลให้สัปดาห์นี้ ประเทศไทยมีฝนตกเล็กน้อยในบางพื้นที่ ยกเว้นภาคใต้ที่มีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช และมีฝนตกปานกลางบริเวณจังหวัดชุมพรและนราธิวาส ในวันที่14 ก.พ. 61 นอกจากนี้ในวันที่ 19 ก.พ. 61 มีฝนตกปานกลางบริเวณจังหวัดจันทบุรีโดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 19 มิลลิเมตร จังหวัดกระบี่ 11 มิลลิเมตร และจังหวัดจันทบุรี 10 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 07/2561 (ระหว่างวันที่ 6-12 ก.พ. 61)

14-02-2018 15:16:46 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ความกดอากาศสูงที่ปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศไทยอ่อนกำลังลง ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังอ่อนลงและแนวฝนส่วนใหญ่เคลื่อนลงไปสู่ประเทศมาเลเซียตอนล่าง ในช่วงปลายสัปดาห์ความกดอากาศสูงกำลังแรงแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศ ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้สัปดาห์นี้มีฝนตกเพียงเล็กน้อยกระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศตลอดทั้งสัปดาห์ กับมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่ของจังหวัดชุมพรในวันที่ 6 ก.พ. 61 และจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 8 ก.พ. 61 โดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 13 มิลลิเมตร จังหวัดชุมพร 11 มิลลิเมตร และจังหวัดนครศรีธรรมราช 5 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 06/2561 (ระหว่างวันที่ 30 ม.ค.-5 ก.พ. 61)

07-02-2018 09:31:10 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงและพัดปกคลุมถึงภาคกลางตอนล่างและปะทะกับลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ในช่วงปลายสัปดาห์ความกดอากาศสูงมีกำลังแรงขึ้นและแผ่ปกคลุมถึงภาคกลางตอนล่าง ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ทวีกำลังแรง แต่แนวฝนส่วนใหญ่จะลงไปสู่ประเทศมาเลเซียตอนล่าง ส่งผลให้สัปดาห์นี้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในบางพื้นที่ โดยในช่วงต้นสัปดาห์จนถึงกลางสัปดาห์มีฝนตกกระจุกตัวอยู่บริเวณจังหวัดพังงาและสุราษฎร์ธานี ส่วนช่วงปลายสัปดาห์มีฝนตกกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ตอนบนของภาค บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ส่วนภาคกลางมีฝนตกหนักบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ. 61 ภาคตะวันออกมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในช่วงต้นสัปดาห์จนถึงกลางสัปดาห์ ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ปริมาณฝนลดลง สำหรับภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในบางพื้นที่ โดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 83 มิลลิเมตร จังหวัดตรัง 83 มิลลิเมตร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี 76 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 05/2561 (ระหว่างวันที่ 23-29 ม.ค. 61)

31-01-2018 10:30:34 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ความกดอากาศสูงกำลังอ่อนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างและอันดามันตอนล่าง ทำให้ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้นประกอบกับเกิดลมพัดสอบระหว่างลมตะวันออกเฉียงเหนือกับลมตะวันออกบริเวณภาคตะวันออกและภาคกลางตอนล่างส่วนช่วงปลายสัปดาห์ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำฝั่งทะเลอันดามันตอนล่างทวีกำลังแรงขึ้นและเคลื่อนตัวไปยังประเทศศรีลังกา ทำให้ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้สัปดาห์นี้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกกระจายตัวในหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่ โดยเฉพาะช่วงต้นสัปดาห์จนถึงกลางสัปดาห์ ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ ปริมาณฝนลดลง สำหรับตอนบนของประเทศมีฝนตกกระจายตัวในบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์ โดยเฉพาะภาคเหนือที่มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางกระจุกตัวอยู่ทางด้านตะวันออกของภาคในช่วงกลางสัปดาห์จนถึงปลายสัปดาห์ ส่วนภาคตะวันออกและภาคกลางตอนล่างมีฝนตกหนักบริเวณกรุงเทพมหานคร จังหวัดจันทบุรีและตราด ในช่วงวันที่ 25-26 ม.ค. 61 โดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดตราด 104 มิลลิเมตร จังหวัดภูเก็ต 85 มิลลิเมตร และจังหวัดระยอง 80 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 04/2561 (ระหว่างวันที่ 16-22 ม.ค. 61)

31-01-2018 10:22:03 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลง แต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาจากทะเลจีนใต้ ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเกาะบอร์เนียวยังคงมีกำลังแรง ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้ตอนล่างมีกำลังแรงขึ้น ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ความกดอากาศสูงที่ปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศกลับมามีกำลังแรงอีกครั้ง ทำให้ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศ ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนตกเล็กน้อยในบางพื้นที่ตลอดทั้งสัปดาห์ ส่วนภาคใต้ช่วงต้นสัปดาห์จนถึงกลางสัปดาห์ มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางกระจายตัวในหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ส่วนในช่วงกลางสัปดาห์จนถึงปลายสัปดาห์มีฝนตกกระจายตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าในช่วงต้นสัปดาห์ โดยมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางกระจายตัวเกือบทุกจังหวัดครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป รวมถึงมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดพังงา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 130 มิลลิเมตร จังหวัดพัทลุง 95 มิลลิเมตร และจังหวัดนครศรีธรรมราช 88 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 03/2561 (ระหว่างวันที่ 9-15 ม.ค. 61)

17-01-2018 11:14:35 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงขึ้น และปะทะกับลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้บริเวณตอนบนของประเทศไทยมีฝนกระจายบางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ความกดอากาศสูงยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน จากนั้นเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนตะวันออกแล้วอ่อนกำลังลงตั้งแต่วันที่ 14 ม.ค. 61 แต่ยังคงเป็นลิ่มลงมายังประเทศไทยตอนบน ประกอบกับเกิดการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเกาะบอร์เนียวที่เคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งทะเลมาเลเซียตอนกลาง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกปานกลางถึงหนัก และมีฝนตกหนักมากในบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ตอนล่าง โดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 308 มิลลิเมตร จังหวัดปราจีนบุรี 121 มิลลิเมตร และจังหวัดนครราชสีมา 106 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 02/2561 (ระหว่างวันที่ 2-8 ม.ค. 61)

09-01-2018 16:53:48 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลง แต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศมาเลเซียตอนล่าง ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ในช่วงวันที่ 2-3 ม.ค. 61 หลังจากนั้นฝนลดลง ส่วนในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ กระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบนยังคงปกลุมภาคเหนือตอนบน ประกอบกับอิทธิพลจากพายุ “บอละเวน” (BOLAVEN) ทำให้เกิดลมพัดสอบบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก รวมทั้งภาคกลางมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางในบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 6-7 ม.ค. 61 โดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 142 มิลลิเมตร จังหวัดนครศรีธรรมราช 90 มิลลิเมตร และจังหวัดตราด 72 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 01/2561 (ระหว่างวันที่ 26 ธ.ค. 60-1 ม.ค. 61)

04-01-2018 15:51:49 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่วนพายุ “เทมบิน” (TEMBIN) ได้เคลื่อนตัวผ่านปลายแหลมญวนแล้วอ่อนกำลังลงก่อนเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทยตอนบน จากนั้นปะทะกับความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมารวมทั้งยกตัวขึ้นตามกระแสลมตะวันตกในระดับลมชั้นบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางตั้งแต่วันที่ 26-28 ธ.ค. 60 จากนั้นหย่อมความกดอากาศต่ำจากพายุ "เทมบิน" (TEMBIN) ได้เคลื่อนตัวผ่านภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช หลังจากนั้นความกดอากาศสูงกำลังแรงได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยอีกครั้งในช่วงวันที่ 30 ธ.ค. 60 ส่งผลให้ตอนบนของประเทศมีอุณหภูมิลดต่ำลง โดยปริมาณฝนสะสม 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 316 มิลลิเมตร จังหวัดนครศรีธรรมราช 173 มิลลิเมตร และจังหวัดปัตตานี 110 มิลลิเมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 52/2560 (ระหว่างวันที่ 19-25 ธ.ค. 60)

27-12-2017 16:43:12 น.

ในช่วงต้นสัปดาห์ บริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนทวีกำลังแรงขึ้น ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ยิ่งทวีกำลังแรงขึ้น ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ส่วนพายุ “ไคตั๊ก” (KAI-TAK) อ่อนกำลังลงก่อนเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณประเทศมาเลเซียตอนบนและภาคใต้ตอนล่างในช่วงวันที่ 24 ธ.ค. 60 ส่งผลให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ในช่วงวันที่ 23-25 ธ.ค. 60 โดยปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตรของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 162 มิลลิเมตร จังหวัดยะลา 92 มิลลิเมตร และจังหวัดปัตตานี 77 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 51/2560 (ระหว่างวันที่ 12-18 ธ.ค. 60)

19-12-2017 17:50:16 น.

ในช่วงต้นสัปดาห์ บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาจากทะเลจีนใต้ ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะกลับมามำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ภาคใต้กลับมามีฝนเพิ่มขึ้นและตกหนักบางแห่ง โดยปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 110 มิลลิเมตร จังหวัดชุมพร 58 มิลลิเมตร และจังหวัดปัตตานี 58 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 50/2560 (ระหว่างวันที่ 5-11 ธ.ค. 60)

14-12-2017 17:33:25 น.

ในช่วงต้นสัปดาห์ บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมพื้นที่ตอนบนของประเทศไทยและบริเวณทะเลจีนใต้ จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกหนึ่งได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าว และอ่อนกำลังลงในปลายสัปดาห์ ทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็น และในบางพื้นที่มีอากาศหนาว สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบทั้งสัปดาห์ โดยเฉพาะทางด้านฝั่งตะวันออกของภาค เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่มีกำลังค่อนข้างแรง พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เกือบตลอดสัปดาห์ โดยช่วงวันที่ 5-6 ธ.ค. 60 เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากกระจุกตัวอยู่ทางด้านตะวันออกของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปจนถึงภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ส่วนในวันที่ 7 ธ.ค. 60 มีฝนตกหนักถึงหนักมากทางด้านตะวันตกของภาคบริเวณจังหวัด ระนอง ตรัง กระบี่ พังงา และภูเก็ต

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 49/2560 (ระหว่างวันที่ 28 พ.ย. - 4 ธ.ค. 60)

07-12-2017 09:47:42 น.

ช่วงวันที่ 28-30 พ.ย. 60 บริเวณความกดอากาศสูงอ่อนกำลังลงแต่ยังคงแผ่เป็นลิ่มลงมาจากทะเลจีนใต้ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณเกาะบอร์เนียวทวีกำลังแรงขึ้นและเคลื่อนตัวขึ้นมาปกคลุมภาคใต้ตอนล่างในช่วงวันที่ 29 พ.ย. และเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลอันดามันในช่วงวันที่ 30 พ.ย. ช่วงวันที่ 1-4 ธ.ค. 60 หย่อมความกดอากาศต่ำที่เคลื่อนลงสู่ทะเลอันดามมันทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุ ทำให้ยังคงมีกระแสลมพัดผ่านภาคใต้เข้าสู่ศูนย์กลางของพายุ จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกได้เริ่มแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนอีกครั้ง ทำให้ยังคงมีกระแสลมพัดพาความชื้นผ่านภาคใต้เข้าสู่ศูนย์กลางหย่อมความกดอากาศต่ำ ส่งผลให้ภาคใต้จะยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 632 มิลลิเมตร จังหวัดพัทลุง 423 มิลลิเมตร และจังหวัดสงขลา 411 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 48/2560 (ระหว่างวันที่ 21-27 พ.ย. 60)

28-11-2017 15:12:42 น.

ช่วงวันที่ 21-23 พ.ย. 60 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ส่วนพายุ “คีโรกี” (KIROGI) บริเวณชายฝั่งทะเลของประเทศเวียดนามได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่น ช่วงวันที่ 24-27 พ.ย. 60 บริเวณความกดอากาศสูงยังคงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลอันดามันได้เคลื่อนตัวไปทิศตะวันตกออกห่างจากภาคใต้ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางตลอดทั้งสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักในบางแห่ง โดยปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส 490 มิลลิเมตร จังหวัดปัตตานี 386 มิลลิเมตร และจังหวัดพัทลุง 376 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 46/2560 (ระหว่างวันที่ 7-13 พ.ย. 60)

22-11-2017 14:54:16 น.

ช่วงวันที่ 7-9 พ.ย. 60 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชันที่ปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยตอนล่าง และเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดชุมพรในวันที่ 7 พ.ย. 60 และเคลื่อนสู่ทะเลอันดามันในระยะต่อไป ช่วงวันที่ 10-13 พ.ย. 60 บริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนยังคงมีกำลังอ่อนลง ทำให้สัปดาห์ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสงขลา 212 มิลลิเมตร ปัตตานี 181 มิลลิเมตร และสุราษฎร์ธานี 146 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 44/2560 (ระหว่างวันที่ 24-30 ต.ค. 60)

22-11-2017 14:52:32 น.

ช่วงต้นสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีการปะทะกันระหว่างความกดอากาศสูงและความชื้นบริเวณภาคเหนือตอนบน กับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงอีกระลอกจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีกำลังแรงต่อเนื่อง ทำให้สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีฝนตกเล็กน้อยบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสงขลา 140 มิลลิเมตร จังหวัดนราธิวาส 140 มิลลิเมตร และจังหวัดเชียงราย 128 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 47/2560 (ระหว่างวันที่ 14-20 พ.ย. 60)

22-11-2017 14:50:06 น.

ช่วงวันที่ 14-16 พ.ย. 60 ความกดอากาศสูงที่อ่อนกำลังลงกลับมามีกำลังแรงขึ้นในวันที่ 15 พ.ย. ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังอ่อนเคลื่อนตัวผ่านปลายแหลมญวนเข้าสู่อ่าวไทย ช่วงวันที่ 17-20 พ.ย. 60 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 18 พ.ย. ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศฟิลิปปินส์ตอนล่างทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุและเคลื่อนตัวเข้าสู่ทะเลจีนใต้ จากนั้นเคลื่อนตัวผ่านปลายแหลมญวนแล้วอ่อนกำลังลง โดยปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี 159 มิลลิเมตร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 145 มิลลิเมตร และจังหวัดสตูล 125 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 45/2560 (ระหว่างวันที่ 31 ต.ค. - 6 พ.ย. 60)

07-11-2017 14:01:56 น.

ช่วงต้นสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน จากนั้นในวันที่ 2 พ.ย. 60 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ส่วนร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างและมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยทวีกำลังแรงขึ้น ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงอีกระลอกที่แผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจาพายุดีเปรสชันเข้าปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยตอนล่าง ทั้งนี้พายุโซนร้อน ด็อมเร็ย (Damrey) ในทะเลจีนใต้ได้ทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนตัวค่อนไปทางทิศตะวันตกผ่านประเทศเวียดนามตอนล่างและประเทศกัมพูชา จากนั้นได้ปะทะกับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรง ทำให้อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วและเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลอ่าวไทยตอนบน ทำให้สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสงขลา 267 มิลลิเมตร นครศรีธรรมราช 170 มิลลิเมตร และพัทลุง 161 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 43/2560 (ระหว่างวันที่ 18-24 ต.ค. 60)

24-10-2017 15:32:20 น.

ช่วงต้นสัปดาห์ร่องมรสุมยังคงมีกำลังแรง พาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ส่งผลให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง ส่วนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ส่วนช่วงปลายสัปดาห์ร่องมรสุมจะเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง ทำให้สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีฝนตกเล็กน้อยบริเวณตอนบนของประเทศ โดยปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก 172 มิลลิเมตร จังหวัดสุโขทัย 144 มิลลิเมตร และจังหวัดตาก 140 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 42/2560 (ระหว่างวันที่ 11-17 ต.ค. 60)

17-10-2017 15:56:21 น.

ช่วงต้นสัปดาห์หย่อมความกดอากาศที่อ่อนกำลังลงจาก พายุดีเปรสชั่น “TWENTYTHREE” จะเคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคเหนือ จากนั้นจะเคลื่อนตัวผ่านไปยังประเทศพม่า ประกอบลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคใต้จะกลับมามีกำลังแรงขึ้น ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ บริเวณความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน  ทำให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่าภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคใต้ยังมีกำลังแรง ทำให้สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีฝนตกเล็กน้อยกระจายตัวอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ กับมีฝนตกหนักปานกลางบริเวณภาคเหนือตอนล่างและด้านตะวันตกของภาคใต้ โดยปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต 209 มิลลิเมตร จังหวัดระนอง 186 มิลลิเมตร และจังหวัดกาญจนบุรี 157 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 41/2560 (ระหว่างวันที่ 4-10 ต.ค. 60)

10-10-2017 15:55:47 น.

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ส่งผลให้ภาคใต้มีความชื้นในอากาศค่อนข้างสูงตลอดสัปดาห์ ทำให้สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีฝนตกเล็กน้อยกระจายตัวอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ กับมีฝนตกหนักปานกลางบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน โดยปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดลำปาง 231 มิลลิเมตร จังหวัดเพชรบูรณ์ 226 มิลลิเมตร และจังหวัดนครสวรรค์ 211 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 40/2560 (ระหว่างวันที่ 27 ก.ย.-3 ต.ค. 60)

03-10-2017 17:42:43 น.

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน  ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังปานกลางตลอดสัปดาห์ ทำให้สัปดาห์นี้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น สำหรับภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคกลาง รายงานข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 3 ต.ค. 60 อยู่ที่ 52,874 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 75% ของความจุอ่าง โดยเป็นน้ำใช้การได้จริง 29,348 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลืออยู่ 4,454 และ 4,751 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 39/2560 (ระหว่างวันที่ 20-26 ก.ย. 60)

26-09-2017 15:07:05 น.

ร่องมรสุมได้พาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ในช่วงกลางสัปดาห์ ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นในระยะกลางสัปดาห์ ทำให้สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนาแน่นตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ของภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 26 ก.ย. 60 อยู่ที่ 51,699 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 73% ของความจุอ่าง โดยเป็นน้ำใช้การได้จริง 28,172 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลืออยู่ 4,259 และ 4,594 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ เขื่อนที่มีเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเกินระดับกักเก็บปกติ ทำให้ต้องระบายน้ำผ่าน spill way จำนวน 3 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนแควน้อย เขื่อนน้ำอูน และเขื่อนน้ำพุง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 38/2560 (ระหว่างวันที่ 13-19 ก.ย. 60)

21-09-2017 10:33:00 น.

พายุ"ทกซูริ" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนและได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นไต้ฝุ่นในช่วงค่ำของวันที่ 14 ก.ย. แล้วเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองวิญ ประเทศเวียดนาม ในวันถัดมาและได้เคลื่อนผ่านประเทศลาวพร้อมทั้งอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน ก่อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดบึงกาฬ เมื่อเวลา 22.00 น. จากนั้นพายุได้เคลื่อนผ่านประเทศลาวแล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน เคลื่อนเข้าประเทศไทยอีกครั้งบริเวณจังหวัดน่าน ในช่วงเช้าของวันที่ 16 ก.ย. จากนั้นเคลื่อนผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบนแล้วอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 37/2560 (ระหว่างวันที่ 6-12 ก.ย. 60)

12-09-2017 11:25:05 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกในระยะต้นสัปดาห์ สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกเล็กน้อยตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ของภาคเหนือ และภาคกลาง รวมทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร อยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ วัดได้ 216.6 มม. รองลงมาคือ จังหวัดพะเยา 192.6 มม. และจังหวัดสุโขทัย 154.0 มม. ตามลำดับ ส่วนข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 12 ก.ย. 60 อยู่ที่ 49,724 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 70% ของความจุอ่าง โดยเป็นน้ำใช้การได้จริง 26,198 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลืออยู่ 3,723 และ 4,176 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ เขื่อนที่มีเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเกินระดับกักเก็บปกติ ทำให้ต้องระบายน้ำผ่าน spill way จำนวน สองเขื่อน ได้แก่ เขื่อนน้ำอูน และเขื่อนน้ำพุง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 36/2560 (ระหว่างวันที่ 30 ส.ค.-5 ก.ย. 60)

05-09-2017 11:42:51 น.

ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบนฝนระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นได้เลื่อนกลับขึ้นไปพาดผ่านประเทศพม่า ลาว และเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกในระยะต้นสัปดาห์ สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกเล็กน้อยตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลาง รวมทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 5 ก.ย. 60 อยู่ที่ 48,895 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 69% ของความจุอ่าง โดยเป็นน้ำใช้การได้จริง 25,368 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลืออยู่ 3,509 และ 3,879 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ เขื่อนที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤต คือ เขื่อนแม่กวง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 35/2560 (ระหว่างวันที่ 23-29 ส.ค. 60)

29-08-2017 15:31:59 น.

ไต้ฝุ่น"ฮาโตะ" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณทางตอนใต้ของมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนในช่วงบ่ายวันที่ 23 ส.ค. แล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนในช่วงวันค่ำของวันเดียวกันก่อนจะเคลื่อนตัวผ่านมณฑลกว่างสี แล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันในขณะเคลื่อนตัวผ่านทางตอนบนของประเทศเวียดนามในช่วงบ่ายของวันที่ 24 ส.ค. แล้วอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาาศต่ำปกคลุมตอนบนของประเทศลาวในช่วงเช้าของวันถัดมา อีกทั้งในวันที่ 27 ส.ค. พายุโซนร้อน "ปาข่า" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณตอนใต้ของประเทศจีน ประกอบกับร่องมรสุมได้เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นในระยะปลายสัปดาห์ สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นในระยะกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง รวมทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน ที่วัดได้จากระบบโทรมาตร อยู่ที่จังหวัดตราดวัดได้ 285.8 มม. รองลงมาคือ จังหวัดเชียงราย 267.6 มม. และจังหวัดน่าน 211.0 มม. ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 34/2560 (ระหว่างวันที่ 16-22 ส.ค.60)

23-08-2017 10:12:07 น.

หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศพม่าและประเทศลาว ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมตอนบนของประเทศไทย ส่งผลให้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางตลอดทั้งสัปดาห์ โดยปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งประเทศ มีอยู่ 46,424 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 66% ของความจุอ่าง โดยเป็นน้ำใช้การได้จริง 22,897 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลืออยู่ 2,923 และ 3,200 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ เขื่อนที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤต 2 เขื่อน คือ เขื่อนแม่กวง และเขื่อนลำตะคอง อีกทั้งมีเขื่อนน้ำอูน และเขื่อนน้ำพุง ที่มีปริมาณน้ำสูงเกินระดับกักเก็บปกติ ทำให้ต้องระบายน้ำผ่าน spill way

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 33/2560 (ระหว่างวันที่ 9-15 ส.ค.60)

17-08-2017 18:37:30 น.

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังอ่อนลงในระยะปลายสัปดาห์ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นตลอดสัปดาห์ ข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 15 ส.ค. 60 ปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งประเทศ มีอยู่ 45,720 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 65% ของความจุอ่าง โดยเป็นน้ำใช้การได้จริง 21,193 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลืออยู่ 2,844 และ 3,004 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ เขื่อนที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤต 2 เขื่อน คือ เขื่อนแม่กวง และเขื่อนลำตะคอง อีกทั้งมีเขื่อนน้ำอูน และเขื่อนน้ำพุง ที่มีปริมาณน้ำสูงเกินระดับกักเก็บปกติ ทำให้ต้องระบายน้ำผ่าน spill way

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 32/2560 (ระหว่างวันที่ 2-8 ส.ค.60)

08-08-2017 15:35:16 น.

ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศพม่า ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยในระยะปลายสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย มีกำลังแรงขึ้นในระยะปลายสัปดาห์ ทำให้ภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนเพิ่มขึ้น ผลกระทบฝนตกต่อเนื่องทำให้เกิดสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งหลายพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำโขง ชี มูล โดยเฉพาะบริเวณท้ายเขื่อนแม่น้ำชีที่ปัจจุบันยังคงเพิ่มสูงขึ่น และจะไหลลงสู่แม่น้ำมูลต่อไป ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำแม่น้่ำมูลเพิ่มสูงขึ้น

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 31/2560 (ระหว่างวันที่ 26 ก.ค.-1 ส.ค. 60)

02-08-2017 15:19:39 น.

พายุดีเปรสชันเซินกาได้เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 26 ก.ค. จากนั้นได้เคลื่อนผ่านบริเวณจังหวัดมุกดาหารและกาฬสินธุ์ แล้วอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และด้านตะวันออกของภาคเหนือ มีฝนตกหนักถึงหนักมาก  รายงานข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 1 ส.ค. 2560 พบว่า ปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งประเทศ มีอยู่ 44,235 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 63% ของความจุอ่าง โดยเป็นน้ำใช้การได้จริง 20,709 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลืออยู่ 2,680 และ 2,670 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ มีเขื่อนน้ำอูน และเขื่อนน้ำพุง มีปริมาณน้ำสูงเกินระดับกักเก็บปกติ และต้องระบายน้ำออกสู่ทางระบายน้ำล้น ส่งผลมีน้ำท่วมขังบริเวณอำเภอพังโคน พรรณานิคม และอำเภอเมืองรอบๆหนองหาร จังหวัดสกลนคร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 30/2560 (ระหว่างวันที่ 19-25 ก.ค. 60)

25-07-2017 14:43:06 น.

พายุโซนร้อน"ตาลัส" ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันแล้วอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยในวันที่ 18 ก.ค. ต่อมาในระยะกลางสัปดาห์ หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันและพายุโซนร้อน "เซินกา" ในวันที่ 22 และ 23 ตามลำดับ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใจ้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังค่อนข้างแรงตลอดสัปดาห์ ทำให้ตอนบนของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีฝนตกหนาแน่นตลอดสัปดาห์ รายงานข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 25 ก.ค. 2560 พบว่า ปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งประเทศ มีอยู่ 41,379 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 58% ของความจุอ่าง โดยเป็นน้ำใช้การได้จริง 17,853 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลืออยู่ 2,423 และ 2,353 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ เขื่อนที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤต 2 เขื่อน คือ เขื่อนแม่กวง และเขื่อนลำตะคอง อีกทั้งมีเขื่อนน้ำอูน ที่มีปริมาตรน้ำในอ่างอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 29/2560 (ระหว่างวันที่ 12-18 ก.ค. 60)

19-07-2017 08:43:21 น.

หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวและเวียดนามตอนบน อีกทั้งร่องมรสุมได้พาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง  จากนั้นหย่อมความกดอากาศต่ำได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน และได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "ตาลัส" ใันวันที่ 15 ก.ค. ได้เคลื่อนเข้าปกปคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน และประเทศลาว ทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้นในระยะปลายสัปดาห์  ทำให้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่น

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 28/2560 (ระหว่างวันที่ 5-11 ก.ค. 60)

11-07-2017 16:29:45 น.

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้นในระยะปลายสัปดาห์ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในระยะต้นสัปดาห์ ประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่น เว้นแต่บริเวณด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 11 ก.ค. 2560 พบว่า ปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งประเทศ มีอยู่ 38,932 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 55% ของความจุอ่าง โดยเป็นน้ำใช้การได้จริง 15,405 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลืออยู่ 2,218 และ 1,702 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 27/2560 (ระหว่างวันที่ 28 มิ.ย.-4 ก.ค. 60)

04-07-2017 16:08:57 น.

ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังค่อนข้างแรงในระยะต้นสัปดาห์ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนตลอดสัปดาห์ ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่น รายงานข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 4 ก.ค. 2560 พบว่า ปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งประเทศ มีอยู่ 38,932 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 55% ของความจุอ่าง โดยเป็นน้ำใช้การได้จริง 15,405 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลืออยู่ 2,218 และ 1,702 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 26/2560 (ระหว่างวันที่ 21-27 มิ.ย. 60)

27-06-2017 15:16:02 น.

ลมมรสุมตะวันตกเฉีัยงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้นในระยะปลายสัปดาห์ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนตลอดสัปดาห์ ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่น  บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับรายงานข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 27 มิ.ย. 2560 พบว่า ปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งประเทศ มีอยู่ 39,031 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 55% ของความจุอ่าง โดยเป็นน้ำใช้การได้จริง 15,504 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 25/2560 (ระหว่างวันที่ 14-20 มิ.ย. 60)

20-06-2017 16:09:06 น.

ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยในช่วงต้นสัปดาห์ ทำให้บริเวณตอนบนของประเทศมีฝนตกหนาแน่น โดยรายงานข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 20 มิ.ย. 2560 พบว่า ปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งประเทศ มีอยู่ 39,072 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 55% ของความจุอ่าง โดยเป็นน้ำใช้การได้จริง 15,545 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลืออยู่ 2,238 และ 1,809 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 24/2560 (ระหว่างวันที่ 7-13 มิ.ย. 60)

14-06-2017 09:37:07 น.

ลมมรสุมตะวันตกเฉ๊ยงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ในช่วงต้นสัปดาห์และกลางสัปดาห์ ทำให้บริเวณ ตอนบนของประเทศมีฝนตกหนาแน่น รายงานข้อมูลนํ้าในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 13 มิ.ย. 2560 พบว่า ปริมาณนํ้ากักเก็บคงเหลือทั้งประเทศ มีอยู่ 38,906 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 55% ของความจุอ่าง โดยเป็นนํ้าใช้การได้จริง 15,380 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีนํ้าใช้การคง เหลืออยู่ 2,169 และ 1,789 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 23/2560 (ระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-6 มิ.ย. 60)

06-06-2017 11:37:24 น.

พายุไซโคลนโมราบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน ได้เคลื่อนเข้าสู่ฝั่งบริเวณชายแดนระหว่างประเทศเมียนมาร์และประเทศบังกลาเทศ พร้อมอ่อนกำลังลงตามลำดับ และสลายตัวในช่วงเช้าวันที่ 31 พ.ค. อีกทั้งลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ในช่วงต้นสัปดาห์และระยะปลายสัปดาห์ ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง รายงานข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 6 มิ.ย. 2560 พบว่า ปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งประเทศ มีอยู่ 38,452 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 54% ของความจุอ่าง โดยเป็นน้ำใช้การได้จริง 14,926 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลืออยู่ 2,077 และ 1,778 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 22/2560 (ระหว่างวันที่ 24-30 พ.ค. 60)

31-05-2017 13:41:12 น.

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทยมีกำลังแรงตลอดสัปดาห์ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนหนาแน่นตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยฝนสะสมจากระบบโทรมาตร ระหว่างวันที่ 23-29 พ.ค. 60 มีปริมาณสูงสุด อยู่ที่จังหวัดตราด ต.เกาะช้างใต้ วัดได้ 246.0 มม. รองลงมาที่ จังหวัดพังงา ต.ลำแก่น 197.4 มม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 21/2560 (ระหว่างวันที่ 17-23 พ.ค. 60)

24-05-2017 15:02:35 น.

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงในช่วงต้นสัปดาห์จากนั้นได้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเมียนมาได้เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณตอนบนของประเทศมีฝนหนาแน่นในช่วงต้นสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มีฝนหนาแน่นตลอดสัปดาห์ โดยฝนสะสมจากระบบโทรมาตร ระหว่างวันที่ 16-22 พ.ค. 60 มีปริมาณสูงสุด อยู่ที่จังหวัดสุโขทัย ต.ทุ่งเสลี่ยม วัดได้ 296.6 มม. รองลงมาที่ จังหวัดจันทบุรี ต.พลิ้ว 258.6 มม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 20/2560 (ระหว่างวันที่ 10-16 พ.ค. 60)

17-05-2017 16:19:20 น.

ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 34 อ่าง ทั่วประเทศอยู่ที่ 37,395 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 53% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 13,868 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 1,679 1,762 214 และ 197 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ ส่วนลุ่มน้ำแม่กลอง เขื่อนศรีนรินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 2,341 และ 1,074 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 19/2560 (ระหว่างวันที่ 3-9 พ.ค. 60)

09-05-2017 17:28:06 น.

ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 34 อ่าง ทั่วประเทศอยู่ที่ 37,815 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 53% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 14,289 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 1,755 1,885 227 และ 209 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ ส่วนลุ่มน้ำแม่กลอง เขื่อนศรีนรินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 2,382 และ 1,140 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 18/2560 (ระหว่างวันที่ 25 เม.ย.-2 พ.ค. 60)

02-05-2017 14:06:43 น.

ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 34 อ่าง ทั่วประเทศอยู่ที่ 38,462 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 54% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 14,936 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 1,858 2,012 254 และ 237 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ และเมื่อสิ้นฤดูแล้งมีน้ำใช้การรวมกัน 4,437 ล้านลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 17/2560 (ระหว่างวันที่ 19-25 เม.ย. 60)

25-04-2017 13:45:32 น.

สถานการณ์ฝน พบว่ามีฝนฟ้าคะนองบางแห่งบริเวณตอนบนของประเทศ กับมีฝนตกหนาแน่นในพื้นที่ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 34 อ่าง ทั่วประเทศอยู่ที่ 39,116 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 55% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 15,590 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 1,968 2,131 281 และ 267 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ ส่วนลุ่มน้ำแม่กลอง เขื่อนศรีนรินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 2,497 และ 1,332 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 16/2560 (ระหว่างวันที่ 12 - 18 เมษายน 2560)

18-04-2017 17:08:03 น.

ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 34 อ่าง ทั่วประเทศอยู่ที่ 39,732 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 56% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 16,206 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 2,057 2,223 301 และ 296 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ ส่วนลุ่มน้ำแม่กลอง เขื่อนศรีนรินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 2,558 และ 1,434 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 15/2560 (ระหว่างวันที่ 5 - 11 เมษายน 2560)

11-04-2017 14:33:47 น.

ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 34 อ่าง ทั่วประเทศอยู่ที่ 40,323 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 57% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 16,797 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 2,130 2,311 320 และ 325 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ ส่วนลุ่มน้ำแม่กลอง เขื่อนศรีนรินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 2,623 และ 1,529 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 14/2560 (ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม - 4 เมษายน 2560)

04-04-2017 17:11:55 น.

ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 34 อ่าง ทั่วประเทศอยู่ที่ 40,876 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 58% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 17,349 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 2,198 2,377 343 และ 356 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ ส่วนลุ่มน้ำแม่กลอง เขื่อนศรีนรินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 2,692 และ 1,621 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 13/2560 (ระหว่างวันที่ 22-28 มีนาคม 2560)

28-03-2017 12:02:51 น.

ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 34 อ่าง ทั่วประเทศอยู่ที่ 41,464 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 59% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 17,937 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 2,286 2,475 376 และ 392 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ ส่วนลุ่มน้ำแม่กลอง เขื่อนศรีนรินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 2,757 และ 1,700 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 12/2560 (ระหว่างวันที่ 15-21 มีนาคม 2560)

21-03-2017 13:26:27 น.

ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 34 อ่าง ทั่วประเทศอยู่ที่ 42,192 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 60% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 18,665 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 2,379 2,623 411 และ 428 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ ส่วนลุ่มน้ำแม่กลอง เขื่อนศรีนรินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 2,823 และ 1,805 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 11/2560 (ระหว่างวันที่ 8-14 มีนาคม 2560)

14-03-2017 15:58:16 น.

ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 34 อ่าง ทั่วประเทศอยู่ที่ 42,909 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 61% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 19,383 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 2,467 2,788 477 และ 465 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ ส่วนลุ่มน้ำแม่กลอง เขื่อนศรีนรินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 2,885 และ 1,910 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 10/2560 (ระหว่างวันที่ 1-7 มีนาคม 2560)

07-03-2017 14:36:13 น.

ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 34 อ่าง ทั่วประเทศอยู่ที่ 43,734 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 62% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 20,207 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 2,546 2,983 487 และ 506 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ ส่วนลุ่มน้ำแม่กลอง เขื่อนศรีนรินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 2,951 และ 2,004 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 09/2560 (ระหว่างวันที่ 22-28 กุมภาพันธ์ 2560)

28-02-2017 16:01:41 น.

จากระบบโทรมาตรตรวจวัดระดับน้ำอัตโนมัติ ของ สสนก. ณ เวลา 10.00 น. พบว่า ภาคเหนือโดยส่วนใหญ่มีระดับน้ำน้อยและเริ่มมีระดับน้ำน้อยวิกฤตในบางแห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีระดับน้ำน้อยถึงน้ำปานกลาง ภาคกลางมีระดับน้ำปานกลาง และภาคใต้มีระดับน้ำปานกลางถึงน้ำมาก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 08/2560 (ระหว่างวันที่ 15-21 กุมภาพันธ์ 2560)

21-02-2017 11:35:10 น.

ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 34 อ่าง ทั่วประเทศอยู่ที่ 45,308 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 64% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 21,781 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลืออยู่ที่ 2,714 3,339 562 และ 596 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ ส่วนลุ่มน้ำแม่กลอง เขื่อนศรีนรินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำใช้การคงเหลือ 3,073 และ 2,189 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 07/2560 (ระหว่างวันที่ 8-14 กุมภาพันธ์ 2560)

15-02-2017 09:52:44 น.

ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 46,092 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 65% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 22,566 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับปริมาณน้ำใช้การ ณ วันที่ 14 ก.พ. 60 ที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยที่เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ อยู่ที่ 2,797 3,536 604 และ 650 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ สำหรับลุ่มน้ำแม่กลอง ที่เขื่อนศรีนรินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ 3,133 และ 2,265 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 6/2560 (ระหว่างวันที่ 1-7 ก.พ. 60)

07-02-2017 18:04:23 น.

สัปดาห์นี้ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนบางพื้นที่ในระยะกลางสัปดาห์ ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกกระจายบางพื้นที่ ระดับน้ำในแม่น้ำสำคัญ พบว่า ภาคเหนือโดยส่วนใหญ่มีระดับน้ำน้อย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีระดับน้ำปานกลางถึงน้ำน้อย ภาคกลางมีระดับน้ำปานกลาง ภาคใต้ยังคงมีน้ำล้นตลิ่งที่ แม่น้ำตาปี ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แนวโน้มระดับน้ำลดลง คาดว่าจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในวันนี้

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 5/2560 (ระหว่างวันที่ 25-31 ม.ค. 60)

31-01-2017 12:05:17 น.

สัปดาห์นี้ ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นในระยะแรกของสัปดาห์ เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน จากระบบโทรมาตรอัตโนมัติตรวจวัดปริมาณฝนสะสม พบว่า ที่จังหวัดนราธิวาส ต.สุคิริน วัดได้ 122.8 มิลลิเมตร รองลงมาที่ จังหวัดปัตตานี ต.เขาตูม วัดได้ 118.6 มิลลิเมตร ส่งผลให้ระดับน้ำในภาคใต้ยังคงมีน้ำล้นตลิ่งที่ แม่น้ำตาปี ตำบลทุ่งหลวง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี แนวโน้มระดับน้ำทรงตัว และ แม่น้ำตาปี ตำบลท่าสะท้อง อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แนวโน้มระดับน้ำลดลง คาดว่าจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในสัปดาห์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 3/2560 (ระหว่างวันที่ 10-16 ม.ค. 60)

31-01-2017 09:15:42 น.

สัปดาห์นี้ ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นในระยะแรกของสัปดาห์ จากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมทะเลอันดามันตอนกลางกับภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนบนในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นหย่อมความกดอากาศต่ำได้เคลื่อนเข้าปกคลุมอ่าวมะตะบันและประเทศเมียนมา ก่อนจะสลายตัวในวันที่ 12 ม.ค. ส่งผลให้มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากฝนที่ตกต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่มีระดับน้ำมากกับมีน้ำล้นตลิ่ง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 4/2560 (ระหว่างวันที่ 18-24 ม.ค. 60)

30-01-2017 08:57:01 น.

สัปดาห์นี้ บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น กับมีอากาศหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ตลอดช่วง สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 34 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 47,870 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 68% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 24,343 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 02/2560 (ระหว่างวันที่ 4-10 ม.ค. 60)

10-01-2017 17:26:35 น.

สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศไทยมีอากาศเย็น กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่โดยเฉพาะภาคเหนือ สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นตลอดสัปดาห์ เนื่องจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซียในช่วงต้นสัปดาห์ และในช่วงวันที่ 8-9 ม.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในทะเลอันดามันตอนล่างได้เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคใต้ฝั่งตะวันตก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 1/2560 (ระหว่างวันที่ 28 ธ.ค.59-3 ม.ค.60)

05-01-2017 08:53:45 น.

สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศไทยยังคงมีอากาศเย็น กับอากาศหนาวบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาตใต้มีฝนตกหนาแน่นส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค เนื่องจากมีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมภาคใ้ต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย  ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 34 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 49,100 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 69% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 25,573 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 52/2559 (ระหว่างวันที่ 21-27 ธ.ค. 59)

27-12-2016 11:30:16 น.

สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศไทยยังคงมีอากาศเย็น กับอากาศหนาวบริเวณภาคเหนือ สำหรับภาตใต้มีฝนตกส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค เนื่องจากในวันที่ 21 ธ.ค.มีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมประเทศมาเลเซียและภาคใ้ต้ตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 49,562 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 70% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 26,035 ล้านลูกบาศก์เมตร ลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยที่เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ อยู่ที่ 3,274 4,537 797 และ 870 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 51/2559 (ระหว่างวันที่ 14-20 ธ.ค. 59)

20-12-2016 16:15:19 น.

สัปดาห์นี้ภาตใต้มีฝนตกเพิ่มขึ้นในระยะปลายสัปดาห์ เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณประเทศเวียดนามตอนล่างเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ในช่วงปลายสัปดาห์ สำหรับบริเเวณตอนบนของประเทศมีอากาศเย็นทั่วไป ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 49,897 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 71% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 26,370 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้เขื่อนบางลางเหลือน้ำใช้การอยู่เพียง 223 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 15%ของความจุ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 50/2559 (ระหว่างวันที่ 7-13 ธ.ค. 59)

13-12-2016 14:50:38 น.

สัปดาห์นี้ภาตใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 50,288 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 71% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 26,757 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้เขื่อนบางลางเหลือน้ำใช้การอยู่เพียง 206 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 14%ของความจุ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 49/2559 (ระหว่างวันที่ 30 พ.ย.-6 ธ.ค. 59)

08-12-2016 10:04:37 น.

สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศมีฝนลดลง เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นในระยะปลายสัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดปัตตานี สงขลา นราธิวาส พัทลุง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เนื่องจากหย่อมความกดาอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณภาคใต้ และประเทศมาเลเซีย ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 50,532 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 71% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 27,006 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 48/2559 (ระหว่างวันที่ 23-29 พ.ย. 59)

29-11-2016 10:38:22 น.

สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศมีฝนลดลง เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างจากจีนอีกระลอกหนึ่งได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้ในระยะกลางสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังปานกลางเกือบตลอดสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกเกือบตลอดสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 47/2559 (ระหว่างวันที่ 16-22 พ.ย. 59)

22-11-2016 11:00:40 น.

สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศมีฝนลดลง เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ ทำให้บริเวณตอนบนของประเทศมีฝนลดลง ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนหนาแน่น ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 50,656 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 72% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 27,129 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้เขื่อนบางลางเหลือน้ำใช้การอยู่เพียง 133 ล้านลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 46/2559 (ระหว่างวันที่ 9-15 พ.ย. 59)

15-11-2016 11:14:41 น.

สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางในระยะต้นปัสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นตลอดสัปดาห์ ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 50,445 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 71% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 26,918 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้เขื่อนบางลางเหลือน้ำใช้การอยู่เพียง 126 ล้านลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 45/2559 (ระหว่างวันที่ 2-8 พ.ย. 59)

09-11-2016 13:16:25 น.

สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศมีปริมาณฝนลดลง เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าวตลอดสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นตลอดสัปดาห์ ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 49,762 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 70% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริง 26,236 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับปริมาณน้ำใช้การ ณ วันที่ 1 พ.ย. 59 ที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยที่เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ อยู่ที่ 3,005 4,8008 903 และ 988 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ สำหรับลุ่มน้ำแม่กลอง ที่เขื่อนศรีนรินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์ 3,161 2,711 ล้านลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 44/2559 (ระหว่างวันที่ 26 ต.ค.-1 พ.ย. 59)

01-11-2016 13:27:07 น.

สัปดาหที่ผ่านมาบริเวณตอนบนของประเทศมีปริมาณฝนลดลง กับมีฝนตกหนาแน่นบริเวณภาคใต้ตอนบน โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ รายงานข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 พบว่าในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ อยู่ที่ 49,191 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 70% ของความจุอ่าง โดยเป็นน้ำใช้การได้จริง 25,664 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้มีเขื่อนที่น้ำในการอยู่ในเกณฑ์น้อย ได้แก่ เขื่อนปราณบุรี และเขื่อนบางลาง คงเหลือน้ำใช้การ อยู่ที่ 88 99 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 43/2559 (ระหว่างวันที่ 19-25 ต.ค. 59)

26-10-2016 11:06:07 น.

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออกเกือบตลอดสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงในระยะกลางและปลายสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้ของมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนบริเวณอื่นๆมีฝนกับฝนหนักบางแห่ง ข้อมูลนํ้าในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2559 พบว่าในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ปริมาณนํ้าเก็บกัก ทั้งประเทศ อยู่ที่ 48,249 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 68% ของความจุอ่าง โดยเป็นนํ้าใช้การได้จริง 24,722 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ยังมีเขื่อนที่มีปริมาตรน้ำน้อยวิกฤต 2 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนปราณบุรี และเขื่อนบางลาง โดยมีปริมาตรน้ำ อยู่ที่ร้อยละ 21 กับ 26 ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 42/2559 (ระหว่างวันที่ 12-18 ต.ค. 59)

18-10-2016 13:39:03 น.

ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทยตอนบนพาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศตํ่าบริเวณประเทศกัมพูชาและเวียดนามตอนล่างใน ระยะแรก จากนั้นได้เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก โดยในวันที่ 13 ต.ค. หย่อมความกดอากาศตํ่า บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน แล้วเคลื่อนขึ้นฝั่งเมืองดานัง ประเทศเวียดนามในวันต่อมา จากนั้นเคลื่อนผ่าน ประเทศลาวตอนกลาง และเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณ จ.นครพนม เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันเดียวกัน โดยพายุนี้ได้อ่อนกำลังเป็นหย่อม ความกดอากาศตํ่าในเวลาต่อมา ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ ทำให้ ประเทศไทยยังคงมีฝน โดยเฉพาะภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 41/2559 (ระหว่างวันที่ 5-11 ต.ค. 59)

11-10-2016 12:20:51 น.

ข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 พบว่าในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ อยู่ที่ 46,443 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 66% ของความจุอ่าง โดยเป็นน้ำใช้การได้จริง 22,917 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 2,579 และ 4,539 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ โดยทั้งนี้มีเขื่อนที่อยู่ในสถานการณ์เฝ้าระวัง ได้แก่ เขื่อนอุบลรัตน์ สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก อีก 496 ล้านลูกบาศก์เมตร จะเต็มเขื่อน (ความจุของเขื่อนอุบลรัตน์ 2,431 ล้านลูกบาศก์เมตร) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เมื่อวานนี้มีน้ำร้อยละ 94% ยังรับน้ำได้อีก 54 ล้านลบ.ม. โดยมีน้ำไหลลงเขื่อน 59.26 ล้านลบ.ม. และระบายน้ำ 60.52 ล้านลบ.ม. แนวโน้มสถานการณ์น้ำระดับน้ำแม่น้ำป่าสักบริเวณเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เริ่มมีแนวโน้มลดลง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 40/2559 (ระหว่างวันที่ 28 ก.ย.- 4 ต.ค. 59)

05-10-2016 09:50:29 น.

สัปดาห์นี้ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดช่วง ประกอบกับมรุสมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ยังคงมีฝนตก สำหรับภาคใต้มีฝนตกส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค รายงานข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2559 พบว่าในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ อยู่ที่ 44,659 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 63% ของความจุอ่าง โดยเป็นน้ำใช้การได้จริง 21,132 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยภาพรวมปริมาณน้ำใช้การในลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) เพียงพอต่อความต้องการเฉลี่ยในช่วงฤดูแล้ง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 39/2559 (ระหว่างวันที่ 21-27 กันยายน 59)

30-09-2016 17:13:25 น.

สัปดาห์นี้ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดช่วง ประกอบกับมรุสมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคกลางมีฝนตกหนาแน่น สำหรับภาคใต้มีฝนตกส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค ข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 27 กันยายน 2559 พบว่าในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ อยู่ที่ 42,799 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 61% ของความจุอ่าง โดยเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 19,273 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 2,005 และ 4,174 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนชิราลงกรณ์ มีน้ำใช้การได้จริง อยู่ที่ 1,980 2,046 ล้านลูกบาศก์เมตรตามลำดั ซึ่งปริมาตรน้ำใช้การรวมกันของสองเขื่อนน้อยที่สุดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 38/2559 (ระหว่างวันที่ 14-20 ก.ย. 59)

21-09-2016 09:03:59 น.

สัปดาห์นี้ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะปลายสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรงเกือบตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้พายุดีเปรสชั่นในทะเลจีนใต้ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “ราอี ” ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 13 ก.ย. ทำให้บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก มีฝนตกหนาแน่นในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนตกส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค รายงานข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 20 กันยายน 2559 พบว่าในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ อยู่ที่ 40,491 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้น จากสัปดาห์ที่แล้ว (13 ก.ย.59 2,107 ล้านลูกบาศก์เมตร) ทั้งนี้มีน้ำใช้การได้จริงเพียง 16,965 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 1,574 และ 3,938 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 37/2559 (ระหว่างวันที่ 7-13 ก.ย. 59)

14-09-2016 18:46:26 น.

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในระยะปลายสัปดาห์ ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณตอนล่างของประเทศ กับมีฝนตกหนักในภาคตะวันออก สำหรับข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 13 กันยายน 2559 พบว่าในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ อยู่ที่ 38,384 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้น จากสัปดาห์ที่แล้ว (6 ก.ย.59 1,046 ล้านลูกบาศก์เมตร และน้ำใช้การได้จริงเพียง 14,858 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 1,077 และ 3,540 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 36/2559 (ระหว่างวันที่ 31 ส.ค.-6 ก.ย. 59)

07-09-2016 14:51:16 น.

สัปดาห์นี้ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะต้นสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยตลอดช่วง ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนาแน่น รายงานข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 6 กันยายน 2559 พบว่าในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ อยู่ที่ 37,338 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้น จากสัปดาห์ที่แล้ว (30 ส.ค.) 1,076 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 35/2559 (ระหว่างวันที่ 24-30 ส.ค. 59)

02-09-2016 15:52:48 น.

สัปดาห์นี้ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะต้นสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยตลอดช่วง ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนาแน่น สำหรับข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2559 พบว่าในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ อยู่ที่ 36,612 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้น จากสัปดาห์ที่แล้ว (23 ส.ค.) 1,379 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมทั้งสัปดาห์ของเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ 143 492 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 34/2559 (ระหว่างวันที่ 17-23 ส.ค. 59)

24-08-2016 11:24:09 น.

สัปดาห์นี้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยเกือบตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “เตี้ยนหมู่” ในช่วงเช้าของวันที่ 18 ส.ค. จากนั้นเคลื่อนตัวผ่านบริเวณประเทศจีนใตอนใต้ เหนือเกาะไหหลำลงสู่อ่าวตังเกี๋ย ก่อนเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณตอนใต้ของกรุงฮานอย ประเทศเวียดนามในช่วงเช้าวันต่อมา แล้วอ่อนกำลังลงตามลำดับ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกหนาแน่นโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ และด้านตะวันตกของประเทศ ข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2559 พบว่าในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ อยู่ที่ 35,198 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้น จากสัปดาห์ที่แล้ว (16 ส.ค.) 1,385 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสะสมทั้งสัปดาห์ของเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ 83.75 838 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 32/2559 (ระหว่างวันที่ 3-9 ส.ค. 59)

09-08-2016 14:08:11 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ มีฝนตกหนักในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2559 พบว่าในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ อยู่ที่ 33,039 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้น จากสัปดาห์ที่แล้ว (2 ส.ค.) 421 ล้านลูกบาศก์เมตร เนื่องจากปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเมื่อสิ้นฤดูแล้งปี 2558/2559 (30 เม.ย.) มีปริมาณน้ำกักเก็บค่อนข้างน้อย ส่งผลให้เกษตรกรที่ทำนาปี-ผลผลิตทางการเกษตรในระยะนี้ ต้องใช้น้ำฝนเป็นหลัก เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้สำหรับฤดูแล้งถัดไป

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 31/2559 (ระหว่างวันที่ 27 ก.ค.-2 ส.ค. 59)

02-08-2016 15:54:59 น.

รายงานข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2559 พบว่าในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ อยู่ที่ 32,618 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้น จากสัปดาห์ที่แล้ว (26 ก.ค.) 262 ล้านลูกบาศก์เมตร เนื่องจากปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเมื่อสิ้นฤดูแล้งปี 2558/2559 (30 เม.ย.) มีปริมาณน้ำกักเก็บค่อนข้างน้อย ส่งผลให้เกษตรกรที่ทำนาปี-ผลผลิตทางการเกษตรในระยะนี้ ต้องใช้น้ำฝนเป็นหลัก เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้สำหรับฤดูแล้งถัดไป

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 30/2559 (ระหว่างวันที่ 20-26 ก.ค. 59)

26-07-2016 14:27:29 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ มีฝนตกหนักในภาคเหนือ ภาคตะวันออกฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ สำหรับข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2559 พบว่าในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ อยู่ที่ 32,356 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้น จากสัปดาห์ที่แล้ว (19 ก.ค.) 136 ล้านลูกบาศก์เมตร เนื่องจากปี 2558 มีปริมาณน้ำกักเก็บน้อย ทำให้ผลผลิตทางเกษตรต้องใช้น้ำฝนเป็นหลัก เพราะต้องสำรองน้ำไว้ใช้สำหรับฤดูแล้งถัดไป

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 29/2559 (ระหว่างวันที่ 13-19 ก.ค. 59)

22-07-2016 09:56:30 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีฝนตกเกือบตลอดสัปดาห์ มีฝนตกหนักในภาคเหนือ ภาคตะวันออกฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตก รายงานข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2559 พบว่าในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ อยู่ที่ 32,220 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้น จากสัปดาห์ที่แล้ว (11 ก.ค.) 344 ล้านลูกบาศก์เมตร เนื่องจากปี 2558 มีปริมาณน้ำกักเก็บน้อย ทำให้ผลผลิตทางเกษตรต้องใช้น้ำฝนเป็นหลัก เพราะต้องสำรองน้ำไว้ใช้สำหรับฤดูแล้งถัดไป

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 28/2559 (ระหว่างวันที่ 6-12 ก.ค. 59)

13-07-2016 08:33:18 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีฝนหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ มีฝนตกหนักในภาคตะวันตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับปริมาณน้ำในเขื่อนทั้งประเทศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2559 พบว่าในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ อยู่ที่ 31,876 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้น จากสัปดาห์ที่แล้ว (5 ก.ค.) 699 ล้านลูกบาศก์เมตร เนื่องจากปี 2558 มีปริมาณน้ำกักเก็บน้อย ทำให้ผลผลิตทางเกษตรต้องใช้น้ำฝนเป็นหลัก เพราะต้องสำรองน้ำไว้ใช้สำหรับฤดูแล้งถัดไป

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 27/2559 (ระหว่างวันที่ 28 มิ.ย.- 5 ก.ค. 59)

06-07-2016 12:08:55 น.

สัปดาห์มีฝนกระจายกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางส่วนมากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีฝนตกหนาแน่นในระยะปลายสัปดาห์ รายงานข้อมูลน้ำในเขื่อนจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2559 พบว่าในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ อยู่ที่ 31,177 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้น จากสัปดาห์ที่แล้ว (28 มิ.ย.) 291 ล้านลูกบาศก์เมตร เนื่องจากปี 2558 มีปริมาณน้ำกักเก็บน้อย ทำให้ผลผลิตทางเกษตรต้องใช้น้ำฝนเป็นหลัก เพราะต้องสำรองน้ำไว้ใช้สำหรับฤดูแล้งถัดไป

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 26/2559 (ระหว่างวันที่ 22-28 มิ.ย. 59)

28-06-2016 16:34:20 น.

ประเทศไทยมีฝนหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนมากบริเวณด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 30,886 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 44% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 7,378 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง ทั้งนี้อ่างเก็บทั้งประเทศมีปริมาณน้ำใช้การอยู่ที่ 10 สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 240 และ 693 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ ใช้น้ำใต้ระดับเก็บกักต่ำสุดไปแล้ว 82 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 25/2559 (ระหว่างวันที่ 15-21 มิ.ย. 59)

22-06-2016 09:24:57 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีฝนหนาแน่นเกือบตลาดสัปดาห์ ส่วนมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก และภาคตะวันออก ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 30,852 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 44% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 7,342 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง ทั้งนี้อ่างเก็บทั้งประเทศมีปริมาณน้ำใช้การอยู่ที่ 11 สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 220 และ 721 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ ใช้น้ำใต้ระดับเก็บกักต่ำสุดไปแล้ว 84 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 24/2559 (ระหว่างวันที่ 8-14 มิ.ย. 59)

14-06-2016 17:40:05 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยประเทศไทยยังคงมีฝนตลอดสัปดาห์ ส่วนมากบริเวณด้านตะวันตกของประเทศ กับด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 30,992 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 44% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 7,484 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 201 และ 753 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ ใช้น้ำใต้ระดับเก็บกักต่ำสุดไปแล้ว 78 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 23/2559 (ระหว่างวันที่ 1-7 มิ.ย. 59)

09-06-2016 09:03:36 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีฝนหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนมากบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 31,153 ล้านลูกบาศก์เมตร และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 7,647 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 195 และ 780 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ ใช้น้ำใต้ระดับเก็บกักต่ำสุดไปแล้ว 72 ล้านลูกบาศก์เมตร สภาพน้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา พบว่า น้ำท่าบริเวณดังกล่าวยังต่ำกว่าตลิ่งค่อนข้างมาก แม้ในระยะนี้ยังคงมีฝนตกก็ตาม เนื่องจากสภาพของดินค่อนข้างแล้ง ทำให้ยังไม่ค่อยมีระดับน้ำเพิ่มขึ้น

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 22/2559 (ระหว่างวันที่ 25-31 พ.ค. 59)

31-05-2016 11:34:37 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีฝนหนาแน่นทุกภูมิภาคเกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนอ่างเก็บน้ำปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 31,255 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 44% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 7,814 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 217 และ 759 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ ใช้น้ำใต้ระดับเก็บกักต่ำสุดไปแล้ว 65 ล้านลูกบาศก์เมตร สภาพน้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา พบว่า น้ำท่าบริเวณดังกล่าวยังต่ำกว่าตลิ่งค่อนข้างมาก แม้ในระยะนี้ยังคงมีฝนตกก็ตาม เนื่องจากสภาพของดินค่อนข้างแล้ง ทำให้ยังไม่ค่อยมีระดับน้ำเพิ่มขึ้น

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 21/2559 (ระหว่างวันที่ 18-24 พ.ค. 59)

24-05-2016 13:48:26 น.

สัปดาห์นี้บริเวณประเทศไทยยังคงมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณใต้ฝั่งตะวันตก และภาคตะวันออก ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 31,266 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 44% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 7,820 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 20/2559 (ระหว่างวันที่ 11-17 พ.ค. 59)

17-05-2016 16:06:50 น.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 31,461 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 45% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 8,009 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง ทั้งนี้อ่างเก็บทั้งประเทศมีปริมาณน้ำใช้การต่ำกว่า 30% สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 294 และ 780 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ ใช้น้ำใต้ระดับเก็บกักต่ำสุดไปแล้ว 55 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 19/2559 (ระหว่างวันที่ 4-10 พ.ค. 59)

10-05-2016 14:32:02 น.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 31,860 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 45% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 8,400 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 348 และ 833 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ ใช้น้ำใต้ระดับเก็บกักต่ำสุดไปแล้ว 47 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 18/2559 (ระหว่างวันที่ 26 เม.ย.-3 พ.ค. 59)

04-05-2016 14:15:18 น.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 32,296 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 46% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 8,828 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำเกือบทุกภาคของประเทศมีน้ำใช้การต่ำกว่า 30 % ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก น้ำใช้การ อยู่ที่ 6 9 22 10%ตามลำดับ สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 394 และ 888 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ ใช้น้ำใต้ระดับเก็บกักต่ำสุดไปแล้ว 36 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 17/2559 (ระหว่างวันที่ 20-26 เม.ย. 59)

26-04-2016 11:35:09 น.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 32,728 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 47% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 9,225 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำเกือบทุกภาคของประเทศมีน้ำใช้การต่ำกว่า 30 % ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก น้ำใช้การ อยู่ที่ 7 9 22 10%ตามลำดับ สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 444 และ 953 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ ใช้น้ำใต้ระดับเก็บกักต่ำสุดไปแล้ว 37 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 16/2558 (ระหว่างวันที่ 13-19 เม.ย. 59)

20-04-2016 09:44:38 น.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 33,668 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 48% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 10,165 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำเกือบทุกภาคของประเทศมีน้ำใช้การต่ำกว่า 30 % ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก น้ำใช้การ อยู่ที่ 8 11 24 11%ตามลำดับ สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 549 และ 1,093 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ ใช้น้ำใต้ระดับเก็บกักต่ำสุดไปแล้ว 17 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 15/2559 (ระหว่างวันที่ 6-12 เม.ย. 59)

19-04-2016 14:21:34 น.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 33,668 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 48% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 10,165 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำเกือบทุกภาคของประเทศมีน้ำใช้การต่ำกว่า 30 % ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก น้ำใช้การ อยู่ที่ 8 11 24 11%ตามลำดับ สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 549 และ 1,093 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ ใช้น้ำใต้ระดับเก็บกักต่ำสุดไปแล้ว 17 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 14/2558 (ระหว่างวันที่ 30 มี.ค.-5 เม.ย. 59)

05-04-2016 12:19:08 น.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 34,141 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 49% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 10,638 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำเกือบทุกภาคของประเทศมีน้ำใช้การต่ำกว่า 30 % ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก น้ำใช้การ อยู่ที่ 8 12 25 12%ตามลำดับ สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 588 และ 1,151 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ ใช้น้ำใต้ระดับเก็บกักต่ำสุดไปแล้ว 3 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 13/2559 (ระหว่างวันที่ 23-29 มี.ค. 59)

29-03-2016 13:52:57 น.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 34,572 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 49% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 11,069 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำเกือบทุกภาคของประเทศมีน้ำใช้การต่ำกว่า 30 % ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก น้ำใช้การ อยู่ที่ 9 13 12%ตามลำดับ สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 636 และ 1,218 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ น้ำใช้การคงเหลือ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ระบายน้ำวันละ 0.80 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยทางกฟผ.ได้นำน้ำสำรองเพื่อน้ำกิน-น้ำใช้ และรักษาระบบนิเวศ ไม่เกิน 180 ล้านลูกบาศก์เมตร ใช้ได้ถึงกลางเดือนกรกฏาคม

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 12/2559 (ระหว่างวันที่ 16-22 มี.ค. 59)

22-03-2016 11:15:55 น.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 35,065 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 50% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 11,562 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำเกือบทุกภาคของประเทศมีน้ำใช้การต่ำกว่า 30 % ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก น้ำใช้การ อยู่ที่ 9 14 13%ตามลำดับ สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 682 และ 1,281 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ หากไม่มีน้ำไหลเข้าคาดว่าจะมีน้ำใช้ ได้ถึง ต้นเดือน เม.ย. นี้เท่านั้น

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 11/2559 (ระหว่างวันที่ 9-15 มี.ค. 59)

15-03-2016 13:26:05 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีอากาศร้อน โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 9-11 มี.ค. มีอากาศร้อนจัดบริเวณตอนบนของประเทศ โดยอุณหภูมิสูงสุดบริเวณจังหวัดขอนแก่น วัดได้ 41.6 องศาเซลเซียส ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 35,570 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 51% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 12,067 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 726 และ 1,341 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ หากไม่มีน้ำไหลเข้าคาดว่าจะมีน้ำใช้ ได้ถึง ต้นเดือน เม.ย. นี้เท่านั้น

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 10/2559 (ระหว่างวันที่ 2-8 มี.ค. 59)

09-03-2016 15:24:36 น.

สัปดาห์นี้บริเวณประเทศไทยยังคงมีอากาศเย็นในช่วงเช้า กับมีอากาศหนาวบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนตอนกลางวันมีอากาศร้อยทั่วไป ทั้งนี้กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเริ่มต้นฤดูร้อนในวันที่ 2 มี.ค. แล้ว ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 36,044 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 51% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 12,541 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำเกือบทุกภาคของประเทศมีน้ำใช้การต่ำกว่า 30 % ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก น้ำใช้การ อยู่ที่ 10 16 14%ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 9/2559 (ระหว่างวันที่ 24 ก.พ.-1 มี.ค. 59)

01-03-2016 19:00:25 น.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 36,449 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 52% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 12,946 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำเกือบทุกภาคของประเทศมีน้ำใช้การต่ำกว่า 30 % ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก น้ำใช้การ อยู่ที่ 11 17 14%ตามลำดับ สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 811 และ 1,459 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ หากไม่มีน้ำไหลเข้าคาดว่าจะมีน้ำใช้ ได้ถึง ต้นเดือน เม.ย. นี้เท่านั้น

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 9/2559 (ระหว่างวันที่ 24 ก.พ.-1 มี.ค. 58)

01-03-2016 18:58:11 น.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 36,449 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 52% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 12,946 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำเกือบทุกภาคของประเทศมีน้ำใช้การต่ำกว่า 30 % ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก น้ำใช้การ อยู่ที่ 11 17 14%ตามลำดับ สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 811 และ 1,459 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ หากไม่มีน้ำไหลเข้าคาดว่าจะมีน้ำใช้ ได้ถึง ต้นเดือน เม.ย. นี้เท่านั้น

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 8/2559 (ระหว่างวันที่ 17-23 ก.พ. 59)

23-02-2016 15:57:25 น.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 36,840 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 52% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 13,337 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำเกือบทุกภาคของประเทศมีน้ำใช้การต่ำกว่า 30 % ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก น้ำใช้การ อยู่ที่ 11 18 และ 15% ตามลำดับ สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 849 และ 1,520 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ หากไม่มีน้ำไหลเข้าคาดว่าจะมีน้ำใช้ ได้ถึง กลางเดือน เม.ย. นี้เท่านั้น

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 8/2558 (ระหว่างวันที่ 17-23 ก.พ. 59)

23-02-2016 15:53:39 น.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 36,840 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 52% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 13,337 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำเกือบทุกภาคของประเทศมีน้ำใช้การต่ำกว่า 30 % ภาคเหนือน้ำใช้การ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก น้ำใช้การ อยู่ที่ 11 18 และ 15% ตามลำดับ สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำใช้การคงเหลือ 849 และ 1,520 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ หากไม่มีน้ำไหลเข้าคาดว่าจะมีน้ำใช้ได้ถึงกลางเดือน เม.ย. นี้เท่านั้น

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 7/2559 (ระหว่างวันที่ 10-16 ก.พ. 59)

17-02-2016 16:23:11 น.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 37,238 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 53% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 13,735 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 9,882 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 40% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 3,186 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 6/2559 (ระหว่างวันที่ 3-9 ก.พ. 59)

09-02-2016 14:18:43 น.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ37,655 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 54% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 14,152 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 10,010 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 40% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 3,314 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้รายงานการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ในเขตชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ทั้งประเทศ และในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 พบว่า มีการปลูกข้าวนาปรังเกินจากแผนแล้ว 2.096 ล้านไร่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 05/2559 (ระหว่างวันที่ 27 ม.ค.-2 ก.พ. 59)

02-02-2016 11:28:23 น.

สัปดาห์นี้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็น กับมีอากาศหนาวจัดส่วนมากบริเวณภาคเหนือ และมีฝนตกบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะต้นสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นโดยเฉพาะบริเวณฝั่งตะวันออกของภาค ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 38,040 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 54% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 14,537 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 10,119 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 41% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 3,423 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 4/2559 (ระหว่างวันที่ 20-26 ม.ค. 59)

26-01-2016 11:55:10 น.

สัปดาห์นี้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นส่วนมากบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กับมีอากาศหนาวส่วนมากบริเวณตอนบนของภาคเหนือตลอดสัปดาห์ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 38,334 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 54% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 14,831 ล้านลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 10,197 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 41% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 3,501 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 3/2558 (ระหว่างวันที่ 13-19 ม.ค. 59)

19-01-2016 12:45:48 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีอากาศเย็น กับมีอากาศหนาวส่วนมากบริเวณตอนบนของภาคเหนือ โดยในระยะกลางและปลายสัปดาห์มีฝนตกในภาคใต้ สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 38,754 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 55% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 15,251 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง ส่วนอ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 10,297 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 41% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 3,601 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 2/2559 (ระหว่างวันที่ 6-12 ม.ค. 59)

12-01-2016 17:03:30 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น กับมีอากาศหนาวส่วนมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์มีฝนเพิ่มบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก รวมทั้งบริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 39,123 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 56% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 15,620 ล้านลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 10,393 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 42% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 3,697 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้รายงานการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ในเขตชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ทั้งประเทศ และในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ณ วันที่ 6 มกราคม 2559 พบว่ามีการปลูกข้าวนาปรังเกินจากแผนแล้ว 1.337 ล้านไร่ หรือมากกว่า 119% จากแผนที่วางไว้

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 01/2559 (ระหว่างวันที่ 30 ธ.ค. 58 - 5 ม.ค. 59)

05-01-2016 14:05:18 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น กับมีอากาศหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคใต้มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไป ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 39,523 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 56% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 16,020 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้งอ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 10,499 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 42% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 3,803 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 52/2558 (ระหว่างวันที่ 23-29 ธ.ค. 58)

29-12-2015 13:25:08 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น กับมีอากาศหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคใต้มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไป ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งสิ้น 39,832 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 57% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 16,329 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 10,604 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 43% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 3,908 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 51/2558 (ระหว่างวันที่ 16-22 ธ.ค. 58)

23-12-2015 11:41:09 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิลดลง กับมีอากาศหนาวเย็นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มีฝนส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งสิ้น 40,116 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 57% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 16,613 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 10,684 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 43% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 3,988 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 50/2558 (ระหว่างวันที่ 9-15 ธ.ค. 58)

16-12-2015 11:14:30 น.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งสิ้น 40,401 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 57% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 16,898 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 10,762 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 43% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 4,066 ล้านลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 49/2558 (ระหว่างวันที่ 2-8 ธ.ค. 58)

09-12-2015 09:54:06 น.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งสิ้น 40,630 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 58% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 17,127 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง สำหรับอ่างเก็บน้ำบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 10,827 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 44% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 4,131 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 48/2558 (ระหว่างวันที่ 25 พ.ย.-1 ธ.ค. 58)

02-12-2015 09:08:17 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็น ส่วนภาคอื่นมีอากาศเย็นในบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นส่วนทางฝั่งตะวันออกของภาค ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งสิ้น 40,716 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 58% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 17,213 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ครั้งที่ 47/2558 (ระหว่างวันที่ 18-24 พฤศจิกายน 2558)

25-11-2015 14:57:06 น.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมทั้งประเทศอยู่ที่ 40,885 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 58% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 17,382 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งอยู่ในสถานการณ์น้ำน้อยวิกฤต โดยอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำกักเก็บเหลือน้อยกว่า 30% มีทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัด (28%) เขื่อนกิ่วลม (24%) เขื่อนแม่กวง (11%) เขื่อนกิ่วคอหมา (15%) และเขื่อนห้วยหลวง (30%)

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 46/2558 (ระหว่างวันที่ 11-17 พ.ย. 58)

17-11-2015 11:57:54 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งสิ้น 41,004 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 58% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 17,501 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 10,942 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 44% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 4,246 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 45/2558 (ระหว่างวันที่ 4-10 พ.ย. 58)

11-11-2015 15:07:51 น.

สัปดาห์นี้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งสิ้น 41,033ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 58% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 17,530 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 10,953 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 44% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 4,239 ล้าน ลบ.ม

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 45/2558 (ระหว่างวันที่ 4-10 พ.ย. 58)

11-11-2015 10:49:36 น.

สัปดาห์นี้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งสิ้น 41,033ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 58% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 17,530 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้ง อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 10,953 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 44% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 4,239 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 44/2558 (ระหว่างวันที่ 28 ต.ค.-3 พ.ย. 58)

03-11-2015 11:32:53 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกบางแห่งบริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ กับมีฝนหนาแน่นบริเวณภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป โดยมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 7 วัน อยู่ที่ต.เทพราช จ.นครศรีธรรมราช วัดได้ 183.4 มิลลิเมตร รองลงมาที่ ต.เจ๊ะเห จ.นราธิวาส วัดได้ 173.4 มิลลิเมตร อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งสิ้น 41,078 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 58% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 17,575 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าทุกปีเมื่อเทียบกับข้อมูล 6 ปีย้อนหลัง สำหรับอ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 10,949 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 44% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 4,253 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 43/2558 (ระหว่างวันที่ 21-27 ต.ค. 58)

27-10-2015 13:12:39 น.

สัปดาห์นี้มีประเทศไทยตอนบนมีฝนบางพื้นที่ถึงเป็นแห่งๆ กับมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นในระยะปลายสัปดาห์ สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 41,126 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 58% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 17,623 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำกักเก็บ ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างสะสมตั้งแต่ต้นปี ของปี 2558 เปรียบเทียบ ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ย้อนหลังไป 6 ปี พบว่าน้อยที่สุดในรอบ 6 ปี อีกทั้งต่ำกว่าปี 2553 ที่เป็นปีประสบภัยแล้ง ณ ปัจจุบัน เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 37% น้ำใช้การได้จริงเพียง 1,166 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะพอใช้ เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 51% เป็นน้ำใช้การได้จริง 2,036 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 42/2558 (ระหว่างวันที่ 14-20 ต.ค. 58)

20-10-2015 11:21:27 น.

สัปดาห์นี้มีประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง กับมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป ส่วนมากบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 40,933 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 58% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 17,430 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำกักเก็บ ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างสะสมตั้งแต่ต้นปี ของปี 2558 เปรียบเทียบ ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ย้อนหลังไป 6 ปี พบว่าน้อยที่สุดในรอบ 6 ปี อีกทั้งต่ำกว่าปี 2553 ที่เป็นปีประสบภัยแล้ง ณ ปัจจุบัน เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 37% น้ำใช้การได้จริงเพียง 1,123 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะพอใช้ เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 51% เป็นน้ำใช้การได้จริง 1,971 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 41/2558 (ระหว่างวันที่ 7-13 ต.ค. 58)

14-10-2015 11:51:28 น.

สัปดาห์นี้มีประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 40,125 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 57% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 16,622 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำกักเก็บ ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างสะสมตั้งแต่ต้นปี ของปี 2558 เปรียบเทียบ ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ย้อนหลังไป 6 ปี พบว่าน้อยที่สุดในรอบ 6 ปี อีกทั้งต่ำกว่าปี 2553 ที่เป็นปีประสบภัยแล้ง ณ ปัจจุบัน เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 36% น้ำใช้การได้จริงเพียง 1,040 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อย เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 49% เป็นน้ำใช้การได้จริง 1,829 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 39/2558 (ระหว่างวันที่ 23-29 ก.ย. 58)

29-09-2015 11:34:33 น.

สัปดาห์นี้มีประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นในภาคใต้ฝั่งตะวันตก และภาคตะวันออก ในระยะกลางและปลายสัปดาห์ สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 38,090 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 54% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 14,587 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 35% น้ำใช้การได้จริงเพียง 886 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อย เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 46% เป็นน้ำใช้การได้จริง 1,549 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 38/2558 (ระหว่างวันที่ 16-22 ก.ย. 58)

22-09-2015 10:52:00 น.

สัปดาห์นี้มีประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นทุกภูมิภาคของประเทศในระยะต้นและกลางสัปดาห์ เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังลงจากพายุโซนร้อน “หว่ามก๋อ” ในช่วงระยะต้นสัปดาห์ ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนหลักทั้งประเทศมีปริมาตรเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเฉพาะเขื่อนที่อยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก โดยที่ปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 37,253 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 53% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 13,750 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 34% น้ำใช้การได้จริงเพียง 783 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อย เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 45% เป็นน้ำใช้การได้จริง 1,400 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 37/2558 (ระหว่างวันที่ 9-15 ก.ย. 58)

15-09-2015 14:08:34 น.

สัปดาห์นี้มีประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นในช่วงระยะกลางถึงปลายสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนตกหนักบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 35,797 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 51% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 12,294 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 33% น้ำใช้การได้จริงเพียง 614 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อย เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 43% เป็นน้ำใช้การได้จริง 1,282 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 36/2558 (ระหว่างวันที่ 2-8 ก.ย. 58)

08-09-2015 15:02:56 น.

สัปดาห์นี้มีประเทศไทยมีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไป โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออกในพื้นที่จังหวัดตราด จันทบุรี สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 35,396 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 50% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 11,893 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 32% น้ำใช้การได้จริงเพียง 570 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อย เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 42% เป็นน้ำใช้การได้จริง 1,154 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 35/2558 (ระหว่างวันที่ 26 ส.ค. - 1 ก.ย. 58)

02-09-2015 09:37:37 น.

สัปดาห์นี้มีประเทศไทยมีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไป โดยมีฝนตกหนักบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก สำหรับสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 34,995 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 50% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 11,492 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 32% น้ำใช้การได้จริงเพียง 566 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อย เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 40% เป็นน้ำใช้การได้จริง 974 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 34/2558 (ระหว่างวันที่ 19-25 ส.ค. 58)

26-08-2015 10:00:24 น.

สัปดาห์นี้มีประเทศไทยมีประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้นในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักถึงหนักมาก สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 34,612 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 49% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 11,109 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 32% น้ำใช้การได้จริงเพียง 525 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อยวิกฤต เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 40% เป็นน้ำใช้การได้จริง 934 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 33/2558 (ระหว่างวันที่ 12-18 ส.ค. 58)

19-08-2015 14:27:09 น.

สัปดาห์นี้มีประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณฝั่งตะวันตกของประเทศมีฝนตกสะสมค่อนข้างมาก สำหรับสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 34,326 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 49% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 10,823 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 32% น้ำใช้การได้จริงเพียง 453 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อยวิกฤต เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 39% เป็นน้ำใช้การได้จริง 825 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 32/2558 (ระหว่างวันที่ 5-11 ส.ค. 58)

11-08-2015 16:52:40 น.

สัปดาห์นี้มีประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักถึงหนักมากในระยะต้นสัปดาห์ สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 33,607 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 48% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 10,104 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 31% น้ำใช้การได้จริงเพียง 333 ล้าน ลบ.ม.สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อยวิกฤต เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 36% เป็นน้ำใช้การได้จริง 610 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 31/2558 (ระหว่างวันที่ 29 ก.ค.-4 ส.ค.58)

04-08-2015 13:01:10 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบริเวณทางด้านตะวันตกของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ตลอดสัปดาห์ สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 32,678 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 46% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 9,173 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 30% น้ำใช้การได้จริงเพียง 257 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อยวิกฤต เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 34% เป็นน้ำใช้การได้จริง 401 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 30/2558 (ระหว่างวันที่ 22-28 ก.ค. 58)

03-08-2015 12:21:10 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกหนาแน่นบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกือบตลอดสัปดาห์ สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 32,179 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 46% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 8,676 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 29% น้ำใช้การได้จริงเพียง 138 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อยวิกฤต เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 33% เป็นน้ำใช้การได้จริง 310 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 30/2558 (ระหว่างวันที่ 22-28 ก.ค. 58)

28-07-2015 14:37:22 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกหนาแน่นบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกือบตลอดสัปดาห์ สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 32,179 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 46% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 8,676 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 29% น้ำใช้การได้จริงเพียง 138 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อยวิกฤต เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 33% เป็นน้ำใช้การได้จริง 310 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 29/2558 (ระหว่างวันที่ 15-21 ก.ค. 58)

21-07-2015 12:02:46 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกหนาแน่นในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีฝนมากส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค สำหรับสภาพอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 32,107 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 46% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 3,920 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 29% น้ำใช้การได้จริงเพียง 120 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อยวิกฤต เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 33% เป็นน้ำใช้การได้จริง 261 ล้าน ลบ. ส่วนด้านคุณภาพน้ำ พบว่า ค่าความเค็มยังคงเกินมาตรฐานน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาตลอดสัปดาห์ โดยวัดค่าความเค็มสูงสุดได้ 1.09 กรัมต่อลิตร ในวันที่ 18 ก.ค. 58 เวลา 02.00 น.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 28/2558 (ระหว่างวันที่ 8-14 ก.ค. 58)

14-07-2015 15:47:48 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกหนาแน่นในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนสภาพอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ พบว่า ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 32,080 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 46% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 8,577 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 29% น้ำใช้การได้จริงเพียง 152 ล้าน ลบ.ม.สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อยวิกฤต เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 33% เป็นน้ำใช้การได้จริง 318 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 27/2558 (ระหว่างวันที่ 1-7 ก.ค. 58)

07-07-2015 13:10:37 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกหนักกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ บริเวณจังหวัดตราด จันทบุรี ระนอง สุราษฎร์ธานี กระบี่ และชุมพร ส่วนพายุโซนร้อน “หลิ่นฟา” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน และพายุไต้ฝุ่น “จันหอม” บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางประเทศจีน ส่วนพายุไต้ฝุ่น “นังกา” บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางประเทศญี่ปุ่น ซึ่งพายุทั้ง 3 ลูก จะไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 26/2558 (ระหว่างวันที่ 24-30 มิ.ย. 58)

01-07-2015 15:40:28 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดตราดและจันทบุรี ด้านตะวันตกของประเทศตั้งแต่บริเวณจังหวัดตาก กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงชุมพรและระนอง จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ผ่านระบบโทรมาตร พบว่ามีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 283.6 มิลลิเมตร ที่ ต.ด่านชุมพล จ.ตราด รองลงมาคือที่ ต.แหลมกลัด จ.ตราด และ ต.ท่าขนุน จ.กาญจนบุรี วัดปริมาณฝนได้ 276.8 และ 207.8 มิลลิเมตร ตามลำดับ.....

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 25/2558 (ระหว่างวันที่ 17-23 มิ.ย. 58)

24-06-2015 16:08:50 น.

กลุ่มเมฆปกคลุมหนาแน่นบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันและพายุโซนร้อน “คูจิระ” (KUJIRA) ตามลำดับ พายุลูกนี้กำลังเคลื่อนตัวทางเหนืออย่างช้าๆเข้าสู่ทะเลจีนใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเป็นส่วนใหญ่บริเวณภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 32,200 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 46% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 8,697 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 31% น้ำใช้การได้จริงเพียง 315 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อยวิกฤต โดยที่ต้องสำรองปริมาณน้ำในเขื่อนเพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน ที่ 176 ล้านลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 24/2558 (ระหว่างวันที่ 10-16 มิ.ย. 58)

17-06-2015 09:23:38 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายถึงเกือบทั่วไป บริเวณตอนบนของประเทศ กับมีพายุฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีฝนตกตลอดช่วง สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 32,579 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 46% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 9,076 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 31% น้ำใช้การได้จริงเพียง 372 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อยวิกฤต สำหรับเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 37% เป็นน้ำใช้การได้จริง 712 ล้านลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 24/2558 (ระหว่างวันที่ 10-16 มิ.ย. 58)

16-06-2015 11:19:20 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายถึงเกือบทั่วไป บริเวณตอนบนของประเทศ กับมีพายุฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกตลอดช่วง สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 32,579 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 46% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 9,076 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 31% น้ำใช้การได้จริงเพียง 372 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อยวิกฤต สำหรับเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 37% เป็นน้ำใช้การได้จริง 712 ล้านลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 23/2558 (ระหว่างวันที่ 3-9 มิ.ย. 58)

09-06-2015 17:15:08 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทย และมีฝนตกหนักเป็นบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และด้านตะวันตกของประเทศ สำหรับสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ พบว่า มีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 33,090 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 47% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 9,587 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 32% น้ำใช้การได้จริงเพียง 457ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อยวิกฤต สำหรับเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 39% เป็นน้ำใช้การได้จริง 831 ล้านลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่22/2558 (ระหว่างวันที่ 27 พถ.ค.-2 มิ.ย. 58)

02-06-2015 15:21:08 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายบริเวณด้านตะวันออกของภาคเหนือ ภาคตะวันออกฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคใต้ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 33,716 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 48% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 10,213 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 33% น้ำใช้การได้จริงเพียง 637 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำอยู่ในภาวะน้อยวิกฤต สำหรับเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 41% เป็นน้ำใช้การได้จริง 1,037 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 21/2558 (ระหว่างวันที่ 20-26 พ.ค. 58)

26-05-2015 13:20:14 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกระจาย กับมีฝนหนักบริเวณด้านตะวันตกของประเทศ และภาคใต้ตลอดสัปดาห์ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 34,351 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 49% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 10,848 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 34% 43% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 20/2558 (ระหว่างวันที่ 13-19 พ.ค. 58)

19-05-2015 17:47:54 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทย และมีฝนตกหนักบางแห่งในบริเวณภาคเหนือและภาคใต้ สำหรับปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศ ปัจจุบัน อยู่ที่ 34,961 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 50% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 11,458 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 9,474 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 38% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 2,778 ล้านลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 19/2558 (ระหว่างวันที่ 6-12 พ.ค. 58)

12-05-2015 11:30:52 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 35,582 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 51% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 12,079 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 9,934 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 40% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 3,238 ล้านลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 18/2558 (ระหว่างวันที่ 29 เม.ย.-5 พ.ค. 58)

05-05-2015 15:34:40 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกสะสมด้านตะวันออกของประเทศ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากในช่วงกลางสัปดาห์มีพายุฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ทำให้มีฝนตกหนักบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเลย ในวันที่ 30 เม.ย. โดยวันเดียวกันพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนบางพื้นที่ถึงเป็นแห่งๆกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 36,244 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 52% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 12,741 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 10,321 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 41% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 3,625 ล้านลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 17/2558 (ระหว่างวันที่ 22-28 เม.ย. 58)

28-04-2015 11:43:24 น.

สัปดาห์นี้มีฝนเพิ่มขึ้นทั่วภูมิภาคของประเทศ เนื่องจากในช่วงกลางและปลายสัปดาห์มีพายุฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ทำให้มีฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเลย ในวันที่ 24 เม.ย. โดยวันเดียวกันพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 36,777 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 52% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 13,274 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 10,638 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 42% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 3,942 ล้านลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 16/2558 (ระหว่างวันที่ 15-21 เม.ย. 58)

21-04-2015 15:13:41 น.

ในสัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายในภาตใต้ และมีฝนตกหนักในบางพื้นทีทางฝั่งตะวันออกของภาค ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 37,365 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 53% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 13,862 ล้านลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 10,922 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 44% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 4,226 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 15/2558 (ระหว่างวันที่ 8-14 เม.ย. 58)

16-04-2015 13:29:04 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมาในบางพื้นที่ ได้แก่ จังหวัดน่าน อุดรธานี กรุงเทพมหานคร ระยอง และจันทบุรี อีกทั้งยังมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองในภาคเหนือบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตากและน่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญ ยโสธร กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ มหาสารคาม หนองบัวลำภู อุดรธานี และนครราชสีมา รวมทั้งภาคกลางบริเวณจังหวัดชัยนาท และภาคใต้มีฝนตกบางพื้นที่ ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งสิ้น 37,952 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 54% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 14,449 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อเทียบกับข้อมูล 5 ปีย้อนหลังพบว่า ใกล้เคียงกับปี 2554 และปี 2556

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 14/2558 (ระหว่างวันที่ 1-7 เม.ย. 58)

07-04-2015 12:05:07 น.

สัปดาห์นี้มีฝนสะสมส่วนมากบริเวณภาคเหนือ ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 11,341 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 46% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 4,645 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้จากรายงานการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้งปี 2557/2558 (ณ วันที่ 27 มีนาคม 2558) พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นบริเวณที่กรมชลประทานประกาศงดส่งน้ำเพื่อทำนาปรัง แต่กลับพบว่าเกษตรกรยังคงเพาะปลูกข้าวนาปรังไปแล้วถึง 3.39 ล้านไร่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 13/2558 (ระหว่างวันที่ 25-31 มี.ค. 58)

06-04-2015 15:13:45 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายส่วนมากในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก โดยมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร ชัยนาท และปราจีนบุรี ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 39,019 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 55% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 15,515 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าทุกปีเมื่อเทียบกับข้อมูล 5 ปีย้อนหลัง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 12/2558 (ระหว่างวันที่ 18-24 มี.ค. 58)

24-03-2015 11:35:40 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายส่วนมากบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง สำหรับสภาพอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งสิ้น 39,531 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 56% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 16,028 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยอ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 11,692 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 47% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 4,4996 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 11/2558 (ระหว่างวันที่ 11-17 มี.ค. 58)

17-03-2015 15:31:05 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายส่วนมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งสิ้น 40,009 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 57% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 16,596 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 11,850 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 48% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 5,154 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 10/2558 (ระหว่างวันที่ 4-10 มี.ค. 58)

10-03-2015 14:42:04 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางส่วนมากบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือทั้งสิ้น 40,609 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 58% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 17,106 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าทุกปีเมื่อเทียบกับข้อมูล 5 ปีย้อนหลัง สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา อ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือรวมกัน 12,034 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 48% โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้จริงเพียง 5,338 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 9/2558 (ระหว่างวันที่ 25 ก.พ.-3 มี.ค. 58)

03-03-2015 10:43:55 น.

 สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลาง สำหรับสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปัจจุบันพบว่าคงเหลือปริมาตรใช้การอยู่ในเกณฑ์วิกฤต โดยเขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์ คงเหลือน้ำใช้การอยู่เพียง 15% 28% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 8/2558 (ระหว่างวันที่ 18-24 ก.พ. 58)

24-02-2015 11:24:44 น.

 สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ด้านตะวันตกของภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ทำให้ค่าความเค็มลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว สำหรับสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำของประเทศไทย ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 41,667 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 59% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 18,164 ล้าน ลบ.ม. โดยเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์คงเหลือปริมาตรใช้การ เพียง 15% และ 28% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 7/2558 (ระหว่างวันที่ 11-17 ก.พ. 58)

17-02-2015 12:35:27 น.

  กลุ่มเมฆเบาบางปกคลุมเป็นบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่งผลให้มีฝนตกเล็กน้อยในบริเวณดังกล่าว สำหรับสภาพน้ำของประเทศไทย ปัจจุบันพบว่า มีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 42,094 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 60% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 18,591 ล้าน ลบ.ม. ด้านเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาตรใช้การอยู่ในระดับวิกฤติ อยู่ที่ 15% และ 29% เทียบรนก.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 6/2558 (ระหว่างวันที่ 4-10 ก.พ. 58)

10-02-2015 10:53:54 น.

  สัปดาห์นี้มีฝนตกเล็กน้อยเป็นบางแห่งในภาคใต้ ส่วนสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศพบว่า ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 42,578 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 61% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 19,075 ล้าน ลบ.ม. สำหรับเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ คงเหลือน้ำใช้การได้จริงอยู่ที่ 16% 30% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 5/2558 (ระหว่างวันที่ 28 ม.ค.- 3 ก.พ. 58)

03-02-2015 10:29:25 น.

กลุ่มเมฆเบาบางปกคลุมเป็นบางแห่งบริเวณภาคกลางและภาคใต้ ส่งผลให้มีฝนตกเล็กน้อยในบริเวณดังกล่าว ส่วนสภาพน้ำในเขื่อนทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 43,038 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 61% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 19,535 ล้าน ลบ.ม. สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ยังคงมีปริมาตรน้ำใช้การอยู่เกณฑ์น้อยวิกฤต โดยอยู่ที่ 16% 30% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 4/2558 (ระหว่างวันที่ 21-27 ม.ค. 58)

27-01-2015 15:10:17 น.

  สัปดาห์นี้มีฝนตกเล็กน้อยบริเวณด้านตะวันออกของภาคใต้ สภาพอ่างเก็บน้ำในประเทศไทย ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 43,508 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 62% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 20,005 ล้าน ลบ.ม. สำหรับปริมาณน้ำใช้การของเขื่อนภูมิพล และสิริกิติ์ เหลืออยู่เพียง 17% 31% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 3/2558 (ระหว่างวันที่ 14-20 ม.ค. 58)

20-01-2015 15:34:40 น.

สัปดาห์นี้ มีฝนตกเล็กน้อยบริเวณด้านตะวันออกของภาคใต้ สำหรับสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศ พบว่า มีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 43,921 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 62% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 20,418 ล้าน ลบ.ม. ส่วนเขื่อนภูมิพล  และเขื่อนสิริกิติ์ ปริมาตรใช้การ คงเหลืออยู่ที่ 17% 31% 

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 2/2558 (ระหว่างวันที่ 7-13 ม.ค. 58)

15-01-2015 16:07:59 น.

สัปดาห์นี้ ภาคใต้ยังคงมีฝนตกกระจายและมีฝนเพิ่มขึ้นในบางพื้นที่โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง ส่วนบริเวณตอนบนของประเทศมีฝนเพิ่มขึ้นโดยฉพาะภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 44,307 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 63% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 20,804 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 1/2558 (ระหว่างวันที่ 31 ธ.ค. 57- 6 ม.ค. 58)

06-01-2015 13:09:19 น.

  สัปดาห์นี้กลุ่มเมฆปกคลุมหนาแน่นบริเวณภาคใต้ในช่วงครึ่งแรก อันเนื่องมาจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้มีฝนตกในภาคใต้ ส่วนมากทางตะวันออกของภาค ส่วนสภาพอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 44,569 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 63% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 21,066 ล้าน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 52/2557 (ระหว่างวันที่ 24-30 ธ.ค. 57)

30-12-2014 13:43:54 น.

     สัปดาห์นี้มีปริมาณฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนสะสมต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า ในภาคใต้ตอนล่างบริเวณจังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส สำหรับปริมาณน้ำอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศ พบว่า ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 44,916 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 64% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 21,413 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนบางลาง ปริมาณน้ำไหลเข้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 35 ล้านลบ.ม. เนื่องจากเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ ทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 98% ของความจุอ่าง 

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 51/2557 (ระหว่างวันที่ 17-23 ธ.ค. 57)

24-12-2014 17:52:16 น.

สัปดาห์นี้ ภาคใต้ตอนล่างบริเวณจังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมต่อเนื่อง รวมทั้งมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ปริมาณฝนสะสมย้อนหลัง 7 วัน สูงสุดที่ ต.จะแนะ จ.นราธิวาส ตรวจวัดปริมาณฝนได้ 677.4 มม. รองลงมาคือที่ ต.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ตรวจวัดปริมาณฝนได้ 592.4 มม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 50/2557 (ระหว่างวันที่ 10-16 ธ.ค. 57)

16-12-2014 11:30:48 น.

    สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศไทยมีอุณหภูมิลดลงทั่วไป ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นทางฝั่งตะวันออกของภาคในช่วงปลายสัปดาห์ สำหรับน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 45,087 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 64% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 21,584 ล้าน ลบ.ม. สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ปริมาตรใช้การอยู่ในเกณฑ์น้อย โดยอยู่ที่ 18% 33% ตามลำดับ 

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 49/2557 (ระหว่างวันที่ 3-9 ธ.ค. 57)

11-12-2014 11:10:22 น.

  สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศไทยมีอากาศเย็น ส่วนภาคใต้มีฝนส่วนมากในระยะปลายสัปดาห์ สำหรับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 5,362 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 64% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 21,859 ล้านลบ.ม. สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ปริมาตรใช้การอยู่ในเกณฑ์น้อย โดยอยู่ที่ 18% 33% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 48/2557 (ระหว่างวันที่ 26 พ.ย.-2 ธ.ค. 57)

02-12-2014 16:15:23 น.

 สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศไทยมีอุณหภูมิมีอุณหภูมิสู.ขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์แต่ยังคงมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ส่วนภาคตะวันออก และ ภาคใต้มีฝนส่วนมากในระยะกลางสัปดาห์ สำหรับปริมาณน้ำในเขื่อนทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 45,535 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 65% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 22,032 ล้าน ลบ.ม. สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ปริมาตรใช้การอยู่ในเกณฑ์น้อย โดยอยู่ที่ 18% 33% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 47/2557 (ระหว่างวันที่ 19-25 พ.ย. 57)

25-11-2014 11:15:15 น.

 สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศไทยมีอุณหภูมิลดลงทั่วไปในช่วงกลางสัปดาห์และปลายสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีฝนหนาแน่นส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค สำหรับสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำของประเทศไทย ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 45,631 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 65% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 22,128 ล้าน ลบ.ม.สำหรับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ปริมาตรใช้การอยู่ในเกณฑ์น้อย โดยอยู่ที่ 18% 33% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 46/2557 (ระหว่างวันที่ 12-18 พ.ย. 57)

18-11-2014 11:18:11 น.

 สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศไทยมีอุณหภูมิลดลง และอากาศเย็นเกือบทั่วไปในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีฝนหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ สำหรับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 45,683 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 65% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 22,180 ล้าน เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ เหลือน้ำใช้การอยู่ในเกณฑ์น้อย อยู่ที่ 18% 33% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 45/2557 (ระหว่างวันที่ 5-11 พ.ย. 57

12-11-2014 10:26:44 น.

สัปดาห์นี้บริเวณเหนือและภาคกลางมีฝนตกเล็กถึงปานกลาง ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ สำหรับปริมาณน้ำในเขื่อนทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 45,567 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 66% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 22,064 ล้าน ลบ.ม. โดยเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิต์ คงเหลือปริมาตรใช้การอยู่ในเกณฑ์น้อย อยู่ที่ 17% 32% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 44/2557 (ระหว่างวันที่ 29 ต.ค.-4 พ.ย. 57

04-11-2014 12:14:39 น.

 สัปดาห์นี้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ในภาคใต้และภาคตะวันออก เว้นแต่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็น สำหรับปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 45,250 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 64% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 21,747 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 43/2557 (ระหว่างวันที่ 22-28 ต.ค. 57)

28-10-2014 15:02:33 น.

 สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายตัวเป็นหย่อม ๆ ในทุกภาคของประเทศ โดยมีฝนตกค่อนข้างมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคใต้ตอนล่าง ส่วนปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศอยู่ที่ 44,984 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 64% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 21,481 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 42/2557 (ระหว่างวันที่ 15-21 ต.ค. 57)

22-10-2014 09:34:25 น.

 สัปดาห์นี้ประเทศไทยมีฝนหนาแน่นบริเวณภาคใต้ โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาค ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 44,636 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 63% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 21,133 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล และสิริกิติ์ ปริมาณน้ำกักเก็บ อยู่ที่ 43% 61% ตามลำดับ และเหลือน้ำใช้การอยู่เกณฑ์พอใช้ อยู่ที่ 15% 31% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 41/2557 (ระหว่างวันที่ 8-14 ต.ค. 57

14-10-2014 19:04:33 น.

สัปดาห์นี้ประเทศไทยหนาแน่นบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน สำหรับปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 44,466 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 63% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 20,963 ล้าน ลบ.ม. สำหรับเขื่อนภูมิพล และสิริกิติ์ ปริมาณน้ำกักเก็บ อยู่ที่ 43% 60% ตามลำดับ และเหลือน้ำใช้การอยู่ที่ 15% 30% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 40/2557 (ระหว่างวันที่ 1-7 ต.ค. 57)

08-10-2014 09:31:48 น.

ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออกเกือบตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้เกิดฝนตกบริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะภาคใต้ที่มีฝนตกหนักบริเวณด้านตะวันตกของภาค

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 39/2557 (ระหว่างวันที่ 24-30 ก.ย. 57

30-09-2014 11:12:40 น.

สัปดาห์นี้มีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณตอนบนของประเทศในระยะต้นและกลางสัปดาห์ ส่งผลให้มีฝนตกหนาแน่นบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง สำหรับปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 42,526 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 61% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 19,123 ล้าน ลบ.ม.โดยเขื่อนภูมิพล และสิริกิติ์ ปริมาณน้ำกักเก็บ อยู่ที่ 40% 58% ตามลำดับ และเหลือน้ำใช้การอยู่ที่ 12% 28% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 38/2557 (ระหว่างวันที่ 17-23 ก.ย. 57)

23-09-2014 13:51:58 น.

สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศยังคงมีฝนตกเป็นแห่งๆ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นส่วนมากในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ สำหรับปริมาณน้ำในเขื่อนทั้งประเทศปัจจุบันอยู่ที่ อยู่ที่ 41,500 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 59% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่ 18,097 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล และสิริกิติ์ ปริมาณน้ำกักเก็บ 39% 56% คงเหลือน้ำใช้การได้เพียง 11% 26% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 37/2557 (ระหว่างวันที่ 10-16 ก.ย. 57

16-09-2014 11:12:28 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีฝนเพิ่มขึ้นในช่วงกลางและปลายสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นตลอดช่วง ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนอยู่ที่ 1,061 ล้านลบ.ม.เพิ่มขึ้น 2% สำหรับปริมาณน้ำในเขื่อนสัปดาห์นี้ อยู่ที่ 40,791 ล้านลบ.ม.คิดเป็น 58% ส่วนเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิต์ ปริมาณน้ำในเขื่อน อยู่ที่ 38% 54% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 36/2557 (ระหว่างวันที่ 3-9 ก.ย. 57)

09-09-2014 11:53:16 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกหนาแน่นเกือบทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกมีฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดตราดมากที่สุด สอดคล้องกับข้อมูลจากสถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ สำหรับปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 39,730 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 53% ของความจุอ่างฯ เหลือน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 16,227 ล้าน ลบ.ม. โดยที่เขื่อนภูมิพล และสิริกิติ์ สถานการณ์เริ่มขึ้นจากอาทิตย์ก่อนเนื่องจากปริมาณฝนที่ตกสะสมบริเวณตอนบนของประเทศ ทำให้ปริมาณน้ำกักเก็บ 37% 52% น้ำใช้การได้เพียง 9% 22% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 35/2557 (ระหว่างวันที่ 27 ส.ค.-2 ก.ย. 57)

08-09-2014 14:11:26 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยมีปริมาณฝนสะสมมากบริเวณตอนบนของประเทศ กับทางด้านภาคตะวันออก สำหรับปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 37,607 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 53% ของความจุอ่างฯ เหลือน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 14,104 ล้าน ลบ.ม. ทางด้านเขื่อนภูมิพล และสิริกิติ์ ปริมาณน้ำกักเก็บ 34% 46% คงเหลือน้ำใช้การเพียง 6% 16% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 34/2557 (ระหว่างวันที่ 20-26 ส.ค. 57)

26-08-2014 13:26:52 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ เว้นแต่ในภาคเหนือมีปริมาณฝนลดลงในระยะปลายสัปดาห์ สำหรับปริมาณน้ำในเขื่อนมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 36,351 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 52% ของความจุอ่างฯ เหลือน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 12,848 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล และสิริกิติ์ ปริมาณน้ำกักเก็บ 32% 43% คงเหลือน้ำใช้การได้เพียง 4% 13% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 33/2557 (ระหว่างวันที่ 13-19 ส.ค. 57)

20-08-2014 15:18:36 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ สำำหรับปริมาณน้ำในเขื่อนมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดยปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 35,808 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 51% ของความจุอ่างฯ เหลือน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 12,305 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 32/2557 (ระหว่างวันที่ 6-12 ส.ค. 57)

14-08-2014 13:21:42 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกสะกระจาย และมีปริมาณฝนสะสมเกือบทุกภูมิภาคของประเทศ สำหรับปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 35,201 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 50% ของความจุอ่างฯ เหลือน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 11,698 ล้าน ลบ.ม. โดยที่เขื่อนภูมิพล และสิริกิติ์ ปริมาณน้ำกักเก็บ 31% 39% คงเหลือน้ำใช้การได้เพียง 3% 8% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 31/2557 (ระหว่างวันที่ 30 ก.ค.-5 ส.ค. 57)

07-08-2014 14:40:26 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกสะสมมากทางด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับด้านตะวันตกของภาคเหนือ สำหรับปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 34,432 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 49% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การอยู่เพียง 10,929 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 30/2557 (ระหว่างวันที่ 23-29 ก.ค. 57)

01-08-2014 11:34:55 น.

สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนตกมากต่อเนื่องบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านตะวันออกของภาคเหนือ และบางพื้นที่ของภาคใต้ฝั่งตะวันตก ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 34,035 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 48% ของความจุอ่างฯ แต่มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 10,532 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 29/2557 (ระหว่างวันที่ 16-22 ก.ค. 57)

25-07-2014 15:11:41 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายเกือบทั่วทุกภาคของประเทศ และมีฝนตกค่อนข้างมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ด้านตะวันตกของประเทศ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ....

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 28/2557 (ระหว่างวันที่ 9-15 ก.ค. 57)

15-07-2014 14:03:23 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกสะสมมากตอนบนของภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก แต่คงเหลือน้ำในการทั้งประเทศอยู่เพียง 9,280 ล้าน ลบ.ม. โดยที่ภูมิพล และสิริกิติ์ คงเหลือน้ำใช้การอยู่ที่ 2% 4% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 27/2557 (ระหว่างวันที่ 2-8 ก.ค. 57

09-07-2014 14:15:01 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกสะสมมากบริเวณภาคเหนือตอนบน ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 32,650 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 46% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 9,147 ล้าน ลบ.ม. โดยที่เขื่อนภูมิพล และสิริกิติ์ ปริมาณน้ำกักเก็บ 30% 34% คงเหลือปริมาตรใช้การได้เพียง 2% 4% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 26/2557 (ระหว่างวันที่ 25 มิ.ย.-1 ก.ค. 57)

01-07-2014 16:27:55 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกสะสมมากในภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะบริเวณตอนบน และด้านตะวันออกของภาค สำหรับปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 33,199 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 47% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 9,696 ล้าน ลบ.ม.โดยเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำกักเก็บ 31% 34% คงเหลือปริมาตรใช้การได้เพียง 4% 5% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 25/2557 (ระหว่างวันที่ 18-24 มิ.ย. 57)

24-06-2014 15:43:33 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกเกือบทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 33,544 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 48% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 10,041 ล้าน ลบ.ม. โดยที่เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำกักเก็บ 32% 35% คงเหลือปริมาตรใช้การได้เพียง 6% 7% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 24/2557 (ระหว่างวันที่ 11-17 มิ.ย. 57)

19-06-2014 12:08:25 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกเกือบทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีฝนตกมาก ส่วนปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 33,843 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 48% เป็นปริมาณน้ำใช้การได้เพียง 10,340 ล้าน ลบ.ม. ....

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 23/2557 (ระหว่างวันที่ 4-10 มิ.ย. 57

10-06-2014 14:56:41 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันตก และตอนล่างของประเทศ แต่ปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 34,204 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 49% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 10,701 ล้าน ลบ.ม. โดยที่เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำกักเก็บ 34% 37% คงเหลือปริมาตรใช้การได้เพียง 6% 7% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 22/2557 (ระหว่างวันที่ 28 พ.ค.-3 มิ.ย. 57)

03-06-2014 11:29:43 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายทั่วทุกภูมิภาคของโดยมีฝนตหนักในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนสภาพน้ำในอ่างทั้งประเทศพบว่ายังคงคงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 11,244 ล้านลบ.ม.ปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 34,747 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 49% ของความจุอ่างฯ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 21/2557 (ระหว่างวันที่ 21-27 พ.ค. 57)

27-05-2014 15:10:46 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือ ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกมีฝนและพายุฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ในระยะปลายสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนในระยะกลางและปลายสัปดาห์ สำหรับปปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศปัจจุบันอยู่ที่ 35,298 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 50% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 11,796 ล้าน ลบ.ม. ด้านเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์คงเหลือปริมาตรใช้การได้เพียง 8% 9% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 20/2557 (ระหว่างวันที่ 14-20 พ.ค. 57)

20-05-2014 16:29:37 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมีปริมาณฝนสะสมมากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก แต่ยังคงมีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ อยู่ที่ 35,926 ล้านลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 51 เหลือน้ำใช้การอยู่เพียง 12,423 ล้านลบ.ม. ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว แต่น้อยกว่าปีน้ำน้อยค่อนข้างมาก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 19/2557 (ระหว่างวันที่ 7-13 พ.ค. 57)

19-05-2014 11:44:01 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมีปริมาณฝนสะสมในภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก แต่ยังคงมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่เพียง 36,547 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 52% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 13,044 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 18/2557 (ระหว่างวันที่ 30 เม.ย.-6 พ.ค. 57)

06-05-2014 14:33:09 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมีปริมาณฝนสะสมในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 37,094 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 53% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 13,591 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 17/2557 (ระหว่างวันที่ 23-29 เม.ย. 57)

29-04-2014 12:09:30 น.

สัปดาห์นี้มีฝนฟ้าคะนองกระจายเกือบทั่วประเทศโดยมีฝนหนาแน่นส่วนมากในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 37,714 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 54% ของความจุอ่างฯ คงเหลือน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 14,211 ล้าน ลบ.ม.

รายงานสถานการณ์น้ำรายสัปดาห์ที่ 16 (16-22 เม.ย. 2557)

23-04-2014 13:50:00 น.

สถานการณ์ปริมาณน้ำฝน พบว่าสัปดาห์นี้มีฝนหนาแน่นเป็นแห่งๆในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับสถานการณ์น้ำในเขือน มีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 8,553 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 55% ของความจุอ่างฯ แต่มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 15,050 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 15/2557 (ระหว่างวันที่ 9-15 เม.ย. 57)

17-04-2014 17:19:40 น.

สัปดาห์นี้มีฝนหนาแน่นในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักในบางพื้นที่ส่วนมากบริเวณตะวันตกของภาค สำหรับปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 39,131 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 56% ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 15,628 ล้านลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 14/2557 (ระหว่างวันที่ 2-8 เม.ย. 57)

09-04-2014 14:03:57 น.

สัปดาห์นี้มีฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีฝนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 40,120 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 57% ของความจุอ่างฯ แต่มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 16,617 ล้าน ลบ.ม.ส่วนเขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บ 5,613 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 42% คงเหลือปริมาตรใช้การได้เพียง 13% และเขื่อนสิริกิติ์ ปริมาณน้ำกักเก็บ 4,325 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 45% คงเหลือปริมาตรใช้การได้เพียง 16%

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 13/2557 (ระหว่างวันที่ 26 มี.ค.- 1 เม.ย. 57)

01-04-2014 14:00:53 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก แต่ยังคงมีฝนตกมากบริเวณภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบนและภาคใต้ตอนล่าง ส่วนปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 40,842 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 58% ของความจุอ่างฯ แต่มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 17,339 ล้าน ลบ.ม. ส่วนเขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บต่ำกว่า 30% ได้แก่ เขื่อนลำปาว(22%) ทับเสลา(16%) และขุนด่านปราการชล(15%)...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 12/2557 (ระหว่างวันที่ 19-25 มี.ค. 57)

26-03-2014 16:02:35 น.

ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 41,594 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 59% ของความจุอ่างฯ แต่มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 18,091 ล้าน ลบ.ม. โดยเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บ อยู่ที่ร้อยละ 43 และ 47 ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 11/2557 (ระหว่างวันที่ 12-18 มี.ค. 57)

18-03-2014 15:31:17 น.

สภาพปริมาณน้ำฝน สัปดาห์นี้มีฝนตกหนาแน่นในภาคใต้ตอนล่าง บริเวณจังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 42,470 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 60% ของความจุอ่างฯ แต่มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 18,967 ล้าน ลบ.ม.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 10/2557 (ระหว่างวันที่ 5-11 มี.ค. 57)

12-03-2014 17:26:00 น.

ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 43,295 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 62% ของความจุอ่างฯ แต่มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 19,792 ล้าน ลบ.ม.เขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บต่ำกว่า 50% ได้แก่ เขื่อนภูมิพล(44%) สิริกิติ์ (49%) แม่กวง(41%) แควน้อย(36%) ลำปาว(28%) น้ำอูน(46%) อุบลรัตน์ (48%) จุฬาภรณ์ (43%) ห้วยหลวง(37%) น้ำพุง(43%) ป่าสักฯ(42%) ทับเสลา(17%) คลองสียัด (42%) และขุนด่านปราการชล(23%)

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 09/2557 (ระหว่างวันที่ 26 ก.พ.- 4 มี.ค. 57)

04-03-2014 15:13:55 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกเพียงเล็กน้อยบริเวณภาคใต้ตอนล่าง สำหรับปริมาณน้ำำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 44,184 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 63% ของความจุอ่างฯ แต่มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 20,681 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บต่ำกว่า 50% ได้แก่ เขื่อนภูมิพล(45%) แม่กวง(41%) แควน้อย(38%) ลำปาว(30%) น้ำอูน(48%) จุฬาภรณ์(48%) ห้วยหลวง(40%) น้ำพุง(43%) ป่าสัก(45%) ทับเสลา(18%) คลองสียัด(43%) และขุนด่านปราการชล(26%)

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 08/2557 (ระหว่างวันที่ 19-25 ก.พ. 57)

25-02-2014 12:01:54 น.

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 45,084 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 64% ของความจุอ่างฯ เขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บต่ำกว่า 30% ได้แก่ ทับเสลา(18%) และสำหรับค่าความเค็มในแม่น้ำเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2557 เวลา 08.00 น. ที่ปากคลองสำแล จ.ปทุมธานี ค่าความเค็มสูงกว่ามาตรฐานสำหรับผลิตน้ำประปา แต่ยังอยู่ในมาตรฐานเพื่อการเกษตร ส่วนที่ท่าน้ำนนทบุรี และที่กรมชลประทานสามเสน ค่าความเค็มสูงเกินมาตรฐานทั้งเพื่อการผลิตประปาและเพื่อการเกษตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 07/2557 (ระหว่างวันที่ 12-18 ก.พ. 57)

25-02-2014 11:58:55 น.

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 46,016 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 65% ของความจุอ่างฯ แต่มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 22,513 ล้าน ลบ.ม.     สำหรับค่าความเค็มในแม่น้ำ ที่ปากคลองสำแล จ.ปทุมธานี ค่าความเค็มสูงกว่ามาตรฐานสำหรับผลิตน้ำประปา แต่ยังอยู่ในมาตรฐานเพื่อการเกษตร                                                         ส่วนที่ท่าน้ำนนทบุรี และที่กรมชลประทานสามเสน ค่าความเค็มเกินมาตรฐานทั้งเพื่อการผลิตประปาและเพื่อการเกษตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 06/2557 (ระหว่างวันที่ 5-11 ก.พ. 57)

11-02-2014 17:24:08 น.

ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 46,978 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 67% ของความจุอ่างฯ แต่มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 23,475 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนที่มีปริมาณน้ำกักเก็บต่ำกว่า 50% ได้แก่ เขื่อนภูมิพล(44%) แม่กวง(44%) แควน้อย(43%) ลำปาว(36%) ห้วยหลวง(47%) น้ำพุง(46%) ทับเสลา(18%) และขุนด่านปราการชล(38%)

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 05/2557 (ระหว่างวันที่ 29 ม.ค.- 4 ก.พ. 57)

04-02-2014 17:36:19 น.

บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยเกือบตลอดสัปดาห์ ทำให้บริเวณประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีอากาศเย็นและมีฝนทางฝั่งตะวันออกของภาค

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 04/2557 (ระหว่างวันที่ 22-28 ม.ค. 57)

28-01-2014 10:58:40 น.

บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวทั่วไปต่อเนื่องและหนาวจัดหลายพื้น ส่วนภาคใต้มีอากาศเย็นและมีฝนทางฝั่งตะวันออกของภาค

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 03/2557 (ระหว่างวันที่ 15-21 ม.ค. 57)

21-01-2014 13:48:06 น.

บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนยังคงแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัด ปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ทำให้บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวเย็นต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ส่วนภาคใต้มีอากาศเย็นและมีฝนทางฝั่งตะวันออกของภาค

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 02/2557 (ระหว่างวันที่ 8-14 ม.ค.57)

14-01-2014 13:44:33 น.

ในช่วงวันที่ 8-9 ม.ค. 57 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทย จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 10-12 ม.ค.57 ทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิลดลง ส่วนภาคใต้มีอากาศเย็น และมีฝนส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 01/2557 (ระหว่างวันที่ 1-7 ม.ค. 57)

07-01-2014 13:27:07 น.

สัปดาห์นี้ช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 56 ถึง 4 ม.ค. 57 ยังคงมีบริเวณความกดอากาศสูงปกคลุมประเทศไทย ทำให้ยังคงมีอากาศ หนาวในพื้นที่ตอนบนและตอนกลางของประเทศ แต่ในช่วงปลายสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงได้อ่อนกำลังลง ทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศหนาวในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนตกเพียงเล็กน้อย

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 53/2556 (ระหว่างวันที่ 25-31 ธ.ค. 56)

03-01-2014 10:07:56 น.

สัปดาห์นี้ ในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ บริเวณตอนบนของประเทศยังคงมีอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลาง อากาศเย็นทั่วไป ภาคใต้มีฝนตกเล็กน้อย โดยเฉพาะบริเวณตอนล่างของภาค จากนั้นในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ บริเวณตอนบนของประเทศมีอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย ส่วนภาคใต้มีอากาศเย็น สำหรับพื้นที่กทม.และปริมณฑล มีอากาศเย็นอย่างต่อเนื่องเกือบตลอดสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 52/2556 (ระหว่างวันที่ 18-24 ธ.ค.56)

24-12-2013 16:33:37 น.

สัปดาห์นี้ ในตลอดสัปดาห์บริเวณตอนบนของประเทศอุณหภูมิลดลงฉับพลัน โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวทั่วไปต่อเนื่อง ภาคตะวันออกและภาคกลาง อากาศเย็นทั่วไป ส่วนภาคใต้มีอากาศหนาวเย็น กับมีฝนตกหนาแน่น บริเวณตอนล่างของภาคในระยะกลางสัปดาห์ สำหรับพื้นที่กทม.และปริมณฑล มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีฝนตกเล็กน้อย

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 51/2556 (ระหว่างวันที่ 11-17 ธ.ค.56)

17-12-2013 14:39:26 น.

สัปดาห์นี้ ในระยะปลายสัปดาห์ บริเวณตอนบนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกปานกลางถึงหนักบางพื้นที่ ภาคตะวันออก และภาคกลาง มีฝนตกเล็กน้อย ส่วนภาคใต้มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในระยะต้นสัปดาห์ กับมีฝนตกหนักบริเวณฝั่งตะวันออกของภาคในระยะปลายสัปดาห์ สำหรับพื้นที่กทม.และปริมณฑล มีอากาศเย็นในระยะต้นสัปดาห์ กับมีฝนตกเล็กน้อยในวันที่ 16 ธ.ค.

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 50/2556 (ระหว่างวันที่ 4-10 ธ.ค.56)

11-12-2013 13:47:56 น.

สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศมีอากาศหนาวเกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นทั่วไป ภาคกลางมีอากาศเย็นทั่วไปส่วนมากบริเวณตอนบนของภาค ภาคใต้มีอากาศเย็นทางตอนบนของภาค กับมีฝนตกหนักถึงหนักมาหลายพื้นที่ในระยะกลางสัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันออกของภาค สำหรับพื้นที่กทม.และปริมณฑล มีอากาศเย็นทั่วไปกับอากาศหนาวบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 49/2556 (ระหว่างวันที่ 27 พ.ย.-3 ธ.ค.56)

03-12-2013 11:52:01 น.

สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศมีอุณหภูมิลดลง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวเย็นหลายพื้นที่ ภาคตะวันออก มีอากาศหนาวเย็นในช่วงระยะต้นสัปดาห์ กับมีฝนตกเล็กน้อยในระยะปลายสัปดาห์ ภาคกลางมีอากาศหนาวเย็น กับมีฝนเล็กน้อย ในระยะต้นถึงกลางสัปดาห์ ภาคใต้มีฝนตกทั่วไป กับมีฝนตกหนาแน่นในด้านตะวันออกของภาค ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงไป ในช่วงระยะต้นถึงกลางสัปดาห์ จากนั้นในระยะปลายสัปดาห์มีฝนตกเล็กน้อยในตอนล่างของภาค สำหรับพื้นที่กทม.และปริมณฑล มีฝนตกเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์กับมีอากาศเย็นทั่วไป

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 48/2556 (ระหว่างวันที่ 20-26 พ.ย. 56)

03-12-2013 11:39:20 น.

สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศมีฝนทั่วไปกับฝนหนักบางพื้นที่ โดยในช่วงต้นสัปดาห์ภาคเหนือมีฝนตกทั่วไปกับมีฝนหนักบางพื้นที่ จากนั้นมีฝนบางวัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณตอนล่างของภาค ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนตกหนาแน่นในช่วงหลายสัปดาห์ ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันออกของภาค ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป เกือบตลอดสัปดาห์ สำหรับพื้นที่กทม.และปริมณฑล มีฝนตกเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 47/2556 (ระหว่างวันที่ 13 - 19 พ.ย. 56)

20-11-2013 11:47:15 น.

สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศมีฝนในช่วงปลายสัปดาห์ภาคเหนือ มีอากาศเย็น และมีฝนกระจาย กับมีฝนหนักบางพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคตะวันออก อากาศเย็นหลายพื้นที่ในช่วงปลายสัปดาห์ กับฝนเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ ภาคกลาง มีฝนตกในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ภาคใต้มีฝนกระจายถึงฝนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันออกของภาค สำหรับพื้นที่กทม.และปริมณฑล มีฝนเกือบทั่วไป กับมีฝนตกปานกลาง ในช่วงกลางสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 46/2556 (ระหว่างวันที่ 6 - 12 พ.ย. 56)

13-11-2013 18:50:52 น.

สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศมีปริมาณฝนลดลง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็น กับมีฝนตกเล็กน้อยบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ ภาคตะวันออก อากาศเย็นหลายพื้นที่ กับมีฝนบางวัน มีฝนเล็กน้อยในบางวัน ภาคกลาง อากาศเย็นบริเวณตอนบนของภาค กับมีฝนตกในช่วงกลางสัปดาห์ ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากโดยเฉพาะบริเวณตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. สำหรับพื้นที่กทม.และปริมณฑล มีฝนบางพื้นที่ กับมีฝนตกปานกลาง ในช่วงกลางสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 45/2556 (ระหว่างวันที่ 30 ต.ค.- 5 พ.ย. 56)

05-11-2013 18:03:48 น.

สัปดาห์นี้เกือบทั่วทุกภาคของประเทศมีฝนลดลง ภาคเหนือมีฝนตกกระจายในช่วงต้นสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางพื้นที่ จากนั้นมีฝนตกเล็กน้อย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก มีฝนในบางวัน อากาศเย็นเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคกลาง อากาศเย็นหลายพื้นที่ ภาคใต้มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไปโดยเฉพาะบริเวณทางตะวันตกของภาค สำหรับพื้นที่กทม.และปริมณฑล มีฝนบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 44/2556 (ระหว่างวันที่ 23-29 ต.ค.56)

30-10-2013 11:51:28 น.

สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป ในช่วงกลางสัปดาห์ภาคเหนือมีฝนตกทั่วไปกับมีฝนหนักบางพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนเล็กน้อย กับมีฝนทั่วไป ภาคกลาง ภาคตะวันออก มีฝนเป็นแห่งๆ กับมีฝนหนักบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไป กับมีฝนหนักบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณตอนล่างของภาค

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 43/2556 (ระหว่างวันที่ 16-22 ต.ค.56)

30-10-2013 11:44:46 น.

สัปดาห์นี้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง ได้รับอิทธิพลจากพายุ "นารี"ที่อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง เข้าปกคลุมประเทศไทยบริเวณดังกล่าว ทำให้ในวันที่ 16-17 ต.ค. ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล มีฝนตกหนักในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นช่วงกลางสัปดาห์ถึงปลายสัปดาห์ มีฝนทั่วไป โดยในวันที่ 20 ต.ค. มีฝนหนักบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณตอนล่างภาค

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 42/2556 (ระหว่างวันที่ 9-15 ต.ค.56)

16-10-2013 16:48:37 น.

สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศไทยมีปริมาณฝนลดลง เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนบนและภาคตะวันออกในช่วงต้นสัปดาห์ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำให้ภาคใต้ตั้งแต่บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีฝนปานกลางถึงหนักในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 41/2556 (ระหว่างวันที่ 2- 8 ต.ค.56)

16-10-2013 16:46:00 น.

สัปดาห์มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนกระจายกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนบางพื้นที่กับฝนตกหนักบริเวณตอนล่างของภาค ภาคกลาง ภาคตะวันออก มีฝนทั่วไป เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และหนักมากบางพื้นที่ โดยส่วนมากบริเวณจังหวัดชัยนาท ลพบุรี อุทัยธานี อยุธยา ระยอง จันทบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว ส่วนภาคใต้ มีฝนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักหลายพื้นที่ส่วนมากในช่วงปลายสัปดาห์บริเวณฝั่งตะวันตกของภาค สำหรับ พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีฝนกระจาย เว้นแต่วันที่ 3 และ 6 ต.ค.มีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักหลายพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 40/2556 (ระหว่างวันที่ 25 ก.ย.- 1 ต.ค.56)

02-10-2013 18:27:26 น.

สัปดาห์มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเตียงเฉียงเหนือตอนล่าง มีฝนกระจายกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ภาคกลาง ภาคตะวันออก มีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักถึงหนักมาก ในช่วงปลายสัปดาห์ โดยส่วนมากบริเวณจังหวัดลพบุรี อุทัยธานี ปราจีนบุรี และสระแก้ว ส่วนภาคใต้ มีฝนเป็นแห่งๆกับมีฝนหนักบางพื้นที่ส่วนมาก ในช่วงต้นสัปดาห์บริเวณตอนบนของภาค จากนั้นมีฝนเล็กน้อย สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีฝนทั่วไป กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 39/2556 (ระหว่างวันที่ 18 - 24 ก.ย.56)

24-09-2013 19:13:54 น.

สัปดาห์มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นมากจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันออกของประเทศ ภาคเหนือ มีฝนเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีฝนทั่วไป กับมีฝนหนักมากในบางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตอนล่างของภาคในช่วงกลางสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีฝนทั่วไป กับมีฝนตกหนักมากหลายพื้นที่ในช่วงกลางสัปดาห์ ภาคใต้มีฝนบางพื้นที่ เว้นแต่ช่วงกลางสัปดาห์ มีฝนหนักมากบริเวณตอนบนของภาค สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล มีฝนกระจายทั่วไป กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ในช่วงกลางสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 38/2556 (ระหว่างวันที่ 11 - 17 ก.ย.56)

19-09-2013 10:23:37 น.

สัปดาห์มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นมากจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยเฉพาะบริเวณตอนบนของประเทศ ภาคเหนือ มีฝนเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีฝนเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยภาคตะวันออกส่วนมากบริเวณชายฝั่งตอนล่างของภาค ภาคกลางมีฝนเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางพื้นที่ ภาคใต้มีฝนทั่วไปกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนตกเล็กน้อย สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล มีฝนเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมาบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 37/2556 (ระหว่างวันที่ 4 - 10 ก.ย.56)

11-09-2013 12:06:27 น.

สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนบางพื้นที่กับมีฝนหนักบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนทั่วไป ภาคตะวันออก มีฝนบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไป ภาคกลางมีเล็กน้อยบางพื้นที่ กับมีฝนหนักบางพื้นที่ในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ ภาคใต้มีฝนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนตกบางพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันตกของภาค จากนั้นมีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักสำหรับพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล มีฝนบางพื้นที่ในช่วงต้นและกลางสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 36/2556 (ระหว่างวันที่ 28 ส.ค.- 3 ก.ย.56)

04-09-2013 14:43:01 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ภาคตะวันออกและภาคกลางมีฝนกระจายเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางพื้นที่ ภาคใต้มีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในช่วงวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนทั่วไปกับมีฝนหนัก สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล มีฝนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 35/2556 (ระหว่างวันที่ 21 - 27 ส.ค. 56)

29-08-2013 15:31:17 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือมีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนเป็นแห่งๆถึงกระจายกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ เว้นแต่ช่วงกลางสัปดาห์มีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ภาคตะวันออกมีฝนเป็นแห่งๆถึงกระจายกับมีฝนหนักบางพื้นที่ เว้นแต่ช่วงกลางสัปดาห์ มีฝนเกือบทั่วไปกับมีฝนหนักบางพื้นที่ ภาคกลาง มีฝนกระจายทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางพื้นที่ สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล มีฝนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 34/2556 (ระหว่างวันที่ 14 - 20 ส.ค. 56)

21-08-2013 14:33:30 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือ มีฝนเป็นแห่งๆ กับฝนหนักบางพื้นที่ เว้นในช่วงกลางสัปดาห์มีฝนเกือบทั่วไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงต้นสัปดาห์ มีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ภาคตะวันออก ในช่วงต้นสัปดาห์ มีฝนทั่วไป กับมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ จากนั้นมีฝนบางพื้นที่ ภาคกลางและภาคใต้ มีฝนเกือบทั่วไปกับมีฝนหนักบางพื้นที่ ในช่วงต้นสัปดาห์ สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล มีฝนเกือบทั่วไปกับมีฝนหนักบางพื้นที่ ในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 33/2556 (ระหว่างวันที่ 7 - 13 ส.ค. 56)

13-08-2013 19:35:10 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือมีฝนเป็นแห่งๆกับฝนหนักมากบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนทั่วไปกับฝนตกหนักหลายพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ภาคตะวันออก มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไปกับมีฝนหนักบางพื้นที่ ภาคกลางและภาคใต้ มีฝนกระจายเกือบทั่วไปกับมีฝนหนักบางพื้นที่ สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล มีฝนกระจายเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 32/2556 (ระหว่างวันที่ 31 ก.ค.- 6 ส.ค. 56)

06-08-2013 16:47:39 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือมีฝนทั่วไป กับฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนกระจายเกือบทั่วไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนทั่วไปในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเป็นแห่งๆถึงกระจาย โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีฝนเกือบทั่วไป เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางพื้นที่ ส่วนมากในช่วงต้นสัปดาห์ ภาคกลาง มีฝนกระจายเกือบทั่วไป กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ มีฝนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ในช่วงกลางสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 31/2556 (ระหว่างวันที่ 24-30 ก.ค. 56)

30-07-2013 15:48:17 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก ภาคเหนือ มีฝนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์กับฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์กับฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ภาคตะวันออก มีฝนเกือบทั่วไป เว้นแต่ช่วงปลางสัปดาห์มีฝนเป็นแห่งๆ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ส่วนมากในช่วงต้นสัปดาห์ ภาคกลาง มีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ในช่วงกลางและปลายสัปดาห์ ส่วนภาคใต้ มีฝนทั่วไปกับฝนหนักมากบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล มีฝนเกือบทั่วไปกับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ เว้นแต่ในช่วงกลางสัปดาห์มีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 30/2556 (ระหว่างวันที่ 17-23 ก.ค. 56)

24-07-2013 15:22:24 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก ภาคเหนือ มีฝนกระจายกับฝนหนักบางพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนเป็นแห่งๆถึงกระจายในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเกือบทั่วไปกับฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ภาคตะวันออก มีฝนเกือบทั่วไปกับฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งตอนล่างของภาค ภาคกลาง มีฝนเป็นแห่งๆถึงกระจายเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนเป็นแห่งๆกับฝนหนักบางพื้นที่ทางตอนบนภาค สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมาณมณฑล มีฝนเกือบทั่วไปกับมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 29/2556 (ระหว่างวันที่ 10-16 ก.ค. 56)

16-07-2013 16:37:22 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก ภาคเหนือ มีฝนเกือบทั่วไปกับฝนหนักบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเป็นแห่งๆถึงกระจายกับฝนหนักบางพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนทั่วไปกับฝนหนักถึงหนักมาบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไปกับฝนหนักบางพื้นที่ ภาคตะวันออก มีฝนทั่วไปกับฝนหนักบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเป็นแห่งๆถึงกระจายกับฝนหนักบางพื้นที่ ภาคกลาง มีฝนทั่วไปกับฝนหนักบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเป็นแห่งๆถึงกระจายกับฝนหนักบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไปกับมีฝนหนักบางพื้นที่ในช่วงต้นและปลายสัปดาห์ ส่วนในช่วงกลางสัปดาห์ มีฝนเป็นแห่งๆ สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมาณมณฑล มีฝนเกือบทั่วไปกับมีฝนหนักบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นปริมาณฝนลดลง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 28/2556 (ระหว่างวันที่ 3-9 ก.ค. 56)

11-07-2013 10:00:11 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก ภาคเหนือ มีฝนเป็นแห่งๆในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนกระจายเกือบทั่วไปกับฝนหนักบางพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนบางพื้นที่ถึงเป็นแห่งๆ ในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไปกับฝนหนักมากบางพื้นที่ ภาคตะวันออก มีฝนเป็นแห่งๆถึงกระจายในช่วงต้นสัปดาห์และกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนทั่วไป ภาคกลาง มีฝนเป็นแห่งๆถึงกระจายกับฝนหนักบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไปกับมีฝนหนักบางพื้นที่ สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมาณมณฑล มีฝนเกือบทั่วไปกับมีฝนหนักบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 27/2556 (ระหว่างวันที่ 26 มิ.ย.-2 ก.ค. 56)

04-07-2013 11:58:53 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย ภาคเหนือ มีฝนทั่วไปกับฝนหนักบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเป็นแห่งๆถึงกระจาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักถึงหนักมากในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนบางพื้นที่ถึงเป็นแห่งๆกับมีฝนหนักบางพื้นที่ ภาคตะวันออก มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไปกับมีฝนหนักบางพื้นที่ในช้วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนบางพื้นที่ถึงเป็นแห่งๆ ภาคกลาง มีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ ส่วนภาคใต้ มีฝนกับฝนหนักบางพื้นที่ และมีฝนทั่วไปสำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมาณมณฑล มีฝนกระจายถึงเกือบตลอดสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 26/2556 (ระหว่างวันที่ 19-25 มิ.ย. 56)

27-06-2013 11:58:16 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก ภาคเหนือ มีฝนบางพื้นที่ถึงเป็นแห่งๆ ในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเกือบทั่วไปกับฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนเป็นแห่งๆถึงกระจายในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ภาคตะวันออก มีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักถึงหนักบางพื้นที่ ภาคกลาง มีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไปกับมีฝนหนักบางพื้นที่ สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมาณมณฑล มีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 25/2556 (ระหว่างวันที่ 12-18 มิ.ย. 56)

19-06-2013 13:26:33 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก ภาคเหนือ มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไปกับฝนหนักถึงหนักมากในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนบางพื้นที่ถึงเป็นแห่งๆ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักถึงหนักมากใช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนบางพื้นที่ถึงเป็นแห่งๆ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ภาคตะวันออก มีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ภาคกลาง มีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักหลายพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนบางพื้นที่ถึงเป็นแห่งๆ ส่วนภาคใต้ มีฝนหนักทั่วไปกับมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันตกของภาค สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมาณมณฑลมีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์และกลางสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 24/2556 (ระหว่างวันที่ 5-11 มิ.ย. 56)

12-06-2013 10:15:18 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือ มีฝนทั่วไปกับฝนหนักถึงหนักมากในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเป็นแห่งๆถึงกระจายหนักบางพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนกระจายเกือบทั่วไปกับมีฝนหนักหลายพื้นที่ และหนักบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์และกลางสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนบางพื้นที่ถึงแห่งๆกับฝนหนักบางพื้นที่ กับมีฝนหนักบางพื้นที่ ภาคกลาง มีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักหลายพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนเป็นแห่งๆถึงกระจายกับฝนหนักบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ มีฝนหนักทั่วไปกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันตกของภาค สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมาณมณฑล มีฝนทั่วไปกับมีฝนหนักบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 23/2556 (ระหว่างวันที่ 29 พ.ค.- 4 มิ.ย. 56)

05-06-2013 10:58:30 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือ มีฝนเป็นแห่งๆถึงกระจายเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ส่วนมากในช่วงกลางสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนบางพื้นที่ถึงเป็นแห่งๆ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก มีฝนกระจายทั่วไปถึงเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางพื้นที่ ภาคกลาง มีฝนบางพื้นที่ในช่วงต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไปกับมีฝนหนักบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ มีฝนหนักมากบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันตกของภาค สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมาณมณฑล มีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางกับมีฝนหนักบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 22/2556 (ระหว่างวันที่ 22-28 พ.ค. 56)

31-05-2013 09:50:58 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือ มีฝนเป็นกระจายถึงเกือบทั่วไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดนครพนม ภาคตะวันออก ภาคกลาง มีฝนกระจายทั่วไป ส่วนภาคใต้ มีฝนกระจายเกือบทั่วไปกับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันตกของภาค สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมาณมณฑล มีฝนเกือบทั่วไปกับมีฝนหนักบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 21/2556 (ระหว่างวันที่ 15-21 พ.ค. 56)

21-05-2013 12:33:04 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือ มีฝนเป็นกระจายแห่งๆกับฝนปานกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไปกับฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณตอนบนและตอนล่างของภาค ภาคตะวันออกมีฝนบางพื้นที่กับฝนหนักบางพื้นที่ ภาคกลาง มีฝนกระจายทั่วไป ส่วนภาคใต้ มีฝนเกือบทั่วไปและมีฝนหนักมากบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดระนอง นครศรีธรรมราช ยะลาและกระบี่ สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมาณมณฑล มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไปในช่วงกลางสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 20/2556 (ระหว่างวันที่ 8-14 พ.ค. 56)

14-05-2013 15:46:06 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือ มีฝนเป็นกระจายแห่งๆกับฝนหนักบางพื้นที่ เกือบตลอดสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไปกับฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันออกของภาค ภาคตะวันออกมีฝนบางพื้นที่ถึงเป็นแห่งๆกับฝนหนักบางพื้นที่ ภาคกลาง มีฝนบางพื้นที่ถึงเป็นแห่งๆกับฝนหนักบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ มีฝนกระจายเกือบทั่วไปและมีฝนหนักมากบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช และกระบี่ สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมาณมณฑล มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไปในช่วงกลางสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 19/2556 (ระหว่างวันที่ 1-7 พ.ค. 56)

07-05-2013 14:42:53 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือ มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไปกับฝนหนักบางพื้นที่ ในช่วงต้นสัปดาห์ส่วนมากทางตอนบนของภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนเป็นแห่งๆ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ทางตะวันออกของภาค ภาคตะวันออกมีฝนบางพื้นที่ถึงเป็นแห่งๆเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคกลางตอนล่าง มีฝนเกือบทั่วไปกับฝนหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ และอุทัยธานี ส่วนภาคใต้ มีฝนกระจายเกือบทั่วไปและมีฝนหนักมากบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดกระบี่ และสุราษฎร์ธานีสำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมาณมณฑล มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไปในช่วงปลายสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 18/2556 (ระหว่างวันที่ 24-30 เม.ย. 56)

30-04-2013 16:43:41 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือ มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไปกับฝนหนักบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์ และพิษณุโลก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนบางแห่ง กับมีฝนหนักบางพื้นที่บริเวณตอนล่างของภาค ภาคตะวันออก ภาคกลาง มีฝนทั่วไปถึงหนักในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ มีฝนเกือบทั่วไปและมีฝนหนักมากบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดระนอง กระบี่ นราธิวาส สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมาณมณฑล มีฝนบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 17/2556 (ระหว่างวันที่ 17-23 เม.ย. 56)

23-04-2013 11:52:45 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือ มีฝนทั่วไปถึงหนักมากในบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดเชียงราย ลำปาง และแพร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง มีฝนทั่วไปถึงหนักในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ มีฝนเล็กน้อยบางแห่งและมีฝนหนักในบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดพังงา พัทลุง สตูล สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมาณมณฑล มีฝนเกือบทั่วไป

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 16/2556 (ระหว่างวันที่ 10-16 เม.ย. 56)

17-04-2013 14:31:56 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนเล็กน้อย ภาคตะวันออก มีฝนเป็นแห่งๆถึงกระจายกับฝนหนักบางพื้นที่บริเวณจังหวัดจันทบุรี ภาคใต้ มีฝนบางแห่งและมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมาณมณฑล มีฝนทั่วไปกับฝนหนักบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 15/2556 (ระหว่างวันที่ 3-9 เม.ย. 56)

10-04-2013 16:00:14 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีฝนและฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดหนองบัวลำภู ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ภาคตะวันออก มีฝนกับฝนปานกลางบริเวณจังหวัดสระแก้ว ส่วนภาคใต้ มีฝนบางแห่งและมีฝนหนักบางพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมาณมณฑลไม่มีฝนตก เนื่องจากมีอากาศร้อน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 14/2556 (ระหว่างวันที่ 27 มี.ค. - 2 เม.ย. 56)

09-04-2013 09:52:09 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือ และภาคเหนือตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีฝนและฝนฟ้าคะนองในบางพื้นที่ ภาคตะวันออก มีฝนกับฝนปานกลางในบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดตราด สระแก้ว ส่วนภาคใต้ มีฝนกระจายเป็นแห่ง มีฝนเล็กน้อยบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 13/2556 (ระหว่างวันที่ 20 - 26 มี.ค. 56)

03-04-2013 10:06:30 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือตอนบน และภาคเหนือตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีฝนและฝนฟ้าคะนองในบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดมุกดาหาร นครพนม หนองคายและอุดรธานี ในช่วงปลายสัปดาห์ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ ภาคใต้มีฝนกับฝนหนักในบางพื้นที่ ในช่วงแรกของสัปดาห์กับปลายสัปดาห์ บริเวณจังหวัดสตูล และสุราษฎร์ธานี

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 12/2556 (ระหว่างวันที่ 13 - 19 มี.ค. 56)

19-03-2013 14:02:18 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่แล้ว ภาคเหนือ มีฝนตกกระจายทั่วไป มีฝนหนักบริเวณจังหวัดตาก และเพชรบูรณ์ ในช่วงปลายสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีฝนเล็กน้อยบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ นครศรีธรรมราช บุรีรัมย์ มหาสารคาม และอุบลราชธานี ภาคตะวันออกมีฝนหนักในช่วงปลายสัปดาห์ บริเวณจังหวัดตราด จันทบุรี และฉะเชิงเทรา ภาคใต้มีฝนกระจายเล็กน้อย สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมาณมณฑลมีฝนตกหนักในช่วงกลางสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 11/2556 (ระหว่างวันที่ 6 - 12 มี.ค. 56)

12-03-2013 12:19:05 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ ภาคเหนือ มีฝนตกกระจายทั่วไป มีฝนหนักบางพื้นที่บริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน น่าน เพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนปานกลางในช่วงปลายสัปดาห์ บริเวณจังหวัดนครพนม ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดชลบุรี สระแก้ว ภาคใต้มีฝนเล็กน้อยในช่วงแรกของสัปดาห์ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมาณมณฑลมีฝนเล็กน้อยช่วงปลายสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 10/2556 (ระหว่างวันที่ 27 ก.พ. - 5 มี.ค. 56)

06-03-2013 14:46:24 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ก่อนค่อนข้างมาก ภาคเหนือมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น มีฝนตกเล็กน้อยบริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ภาคตะวันตกบริเวณจังหวัดตาก และราชบุรี ภาคกลางบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ภาคใต้มีฝนเล็กน้อยตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป แต่มีฝนหนาแน่นช่วงต้นสัปดาห์บริเวณจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมาณมณฑลมีฝนเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 9/2556 (ระหว่างวันที่ 20 - 26 ก.พ.56)

27-02-2013 10:04:49 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะทางตอนใต้ของประเทศ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนหนักถึงหนักมากเกือบตลอดสัปดาห์ บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา นราธิวาส ยะลา และปัตตานี

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 8/2556 (ระหว่างวันที่ 13 - 19 ก.พ.56)

19-02-2013 11:16:36 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์เล็กน้อย ภาคเหนือมีฝนตกกระจายเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก แพร่ ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนเล็กน้อยเกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนหนักถึงหนักมากในช่วงต้นสัปดาห์ บริเวณจังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลมีเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 7/2556 (ระหว่างวันที่ 6 - 12 ก.พ.56)

12-02-2013 11:29:03 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ มีฝนตกเล็กน้อยตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดสุรินทร์ ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ระยอง และสระแก้ว ภาคใต้บริเวณจังหวัด์ ชุมพร สำหรับภาคกลางตอนล่างมีฝนตกเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 6/2556 (ระหว่างวันที่ 30 ม.ค.- 5 ก.พ.56)

07-02-2013 10:04:45 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในภาคเหนือ บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ พะเยา และน่าน ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดตราด ภาคใต้บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และนราธิวาส สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลมีฝนตกเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 5/2556 (ระหว่างวันที่ 23 - 29 ม.ค. 56)

30-01-2013 15:46:30 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิมขึ้นจากสัปดาห์ มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในภาคเหนือ บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดระยอง ชลบุรี จันทบุรี และภาคใต้บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต และนราธิวาส สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลมีฝนตกเล็กน้อยและมีฝนตกปานกลางในช่วงปลายสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 4/2556 (ระหว่างวันที่ 16 - 22 ม.ค. 56)

24-01-2013 09:43:07 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิมขึ้นจากสัปดาห์เล็กน้อย มีฝนตกกระจายเล็กน้อยในภาคใต้ ตั้งแต่บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และนราธิวาส

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 3/2556 (ระหว่างวันที่ 9 - 15 ม.ค. 56)

15-01-2013 13:26:30 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ค่อนข้างมาก มีฝนตกเล็กน้อย ในภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดตราด และจันทบุรี ภาคใต้ บริเวณจังหวัดกระบี่ สุราษฎร์ธานี และนราธิวาส และภาคกลางบริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 2/2556 (ระหว่างวันที่ 2 - 8 ม.ค. 56)

08-01-2013 11:30:28 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้ มีฝนตกปานกลางถึงหนัก ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 1/2556 (ระหว่างวันที่ 26 ธ.ค. 55 - 1 ม.ค. 56)

03-01-2013 10:23:47 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว มีฝนตกปานกลางถึงหนักตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 52/2555 (ระหว่างวันที่ 19 - 25 ธ.ค. 55)

25-12-2012 16:49:42 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว มีฝนตกหนักถึงหนักมาก ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 51/2555 (ระหว่างวันที่ 12 - 18 ธ.ค. 55)

18-12-2012 11:54:56 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 50/2555 (ระหว่างวันที่ 5 - 11 ธ.ค. 55)

11-12-2012 16:41:32 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก ภาคตะวันออกมีฝนตกกระจายตัวเล็กน้อย บริเวณจังหวัดตราด ปราจีนบุรี ส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนตกเล็กน้อย

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 49/2555 (ระหว่างวันที่ 28 พ.ย. - 4 ธ.ค. 55)

04-12-2012 11:15:48 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน พะเยา น่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น บริเวณจังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู ภาคตะวันตก มีฝนตกปานกลางถึงหนัก บริเวณจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดชลบุรี ปราจีนบุรี ส่วนภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต สงขลา สำหรับกรุงเทพฯและปริมณฑลมีฝนตกเล็กน้อยช่วงต้นสัปดาห์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 48/2555 (ระหว่างวันที่ 21-27 พ.ย. 55)

28-11-2012 08:02:21 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น บริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ภาคตะวันตก มีฝนตกปานกลางถึงหนัก บริเวณจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ตราด ส่วนภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต พังงา สงขลา

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 47/2555 (ระหว่างวันที่ 14-20 พ.ย. 55)

20-11-2012 12:43:40 น.

สัปดาห์นี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น มีฝนตกปานกลาง บริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ ภาคตะวันตก ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ตราด ภาคกลางมีฝนตกกระจายเล็กน้อย บริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี ลพบุรี ส่วนภาคใต้ ฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พังงา สงขลา

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 46/2555 (ระหว่างวันที่ 7-13 พ.ย. 55)

13-11-2012 11:37:15 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือ มีฝนตกบางแห่งบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก ภาคตะวันตก มีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดตราด ส่วนภาคใต้มีฝนบางแห่ง และมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต สงขลา สตูล

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 45/2555 (ระหว่างวันที่ 31 ต.ค.-6 พ.ย. 55)

06-11-2012 15:25:04 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือ มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกกระจายเล็กน้อย ภาคตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออกมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ฝนตกบางแห่งบริเวณจังหวัดตราด ส่วนภาคใต้มีฝนตกกระจาย และมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต สงขลา

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 44/2555 (ระหว่างวันที่ 24-30 ต.ค. 55)

30-10-2012 15:06:34 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก มีฝนตกค่อนข้างน้อย ภาคตะวันออกมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง บริเวณจังหวัดชลบุรี จันทบุรี ส่วนภาคใต้มีฝนตกกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา สำหรับกรุงเทพฯและปริมณฑลปริมาณฝนลดลง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 43/2555 (ระหว่างวันที่ 17-23 ต.ค. 55)

24-10-2012 11:56:54 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง มีฝนกระจายเล็กน้อย ภาคตะวันออก มีฝนตกกระจาย บริเวณจังหวัดชลบุรี ส่วนภาคใต้มีฝนตกกระจายและมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณ จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา พัทลุง ยะลา สำหรับกรุงเทพฯและปริมณฑลปริมาณฝนลดลง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 42/2555 (ระหว่างวันที่ 10-16 ต.ค. 55)

16-10-2012 16:04:11 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันตก มีฝนตกเล็กน้อย ภาคตะวันออกมีฝนตกปานกลางถึงหนัก บริเวณจังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ภาคใต้ฝั่งตะวันตกบริเวณ จังหวัดกระบี่ ตรัง พัทลุง ระนอง ภาคกลางบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ สุพรรณบุรี สำหรับกรุงเทพฯและปริมาณมณฑลมีฝนตกกระจายเล็กน้อย

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 41/2555 (ระหว่างวันที่ 3-9 ต.ค. 55)

16-10-2012 08:29:22 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือมีฝนตกเล็กน้อย ในบางพื้นที่มีฝนตกหนักได้แก่ บริเวณจังหวัดตาก ลำปาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดนครราชสีมา ร้อยเอ็ด หนองคาย มหาสารคาม ภาคตะวันออกบริเวณ จังหวัดตราด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี จันทบุรี ระยอง สระแก้ว ภาคตะวันตกบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภาคใต้บริเวณจังหวัดตรัง ปัตตานี ระนอง ภูเก็ต สตูล สุราษฎร์ธานี ภาคกลางบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สำหรับกรุงเทพฯและปริมาณมณฑลมีฝนตกหนักถึงหนักมาก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 40/2555 (ระหว่างวันที่ 26 ก.ย.-2 ต.ค. 55)

10-10-2012 15:10:43 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง มีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดกำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก สุโขทัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด ภาคตะวันออกมีฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณ จังหวัดตราด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี จันทบุรี สระแก้ว ภาคตะวันตกบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ภาคใต้บริเวณจังหวัดกระบี่ ภูเก็ต ระนอง ตรัง สตูล นราธิวาส สุราษฎร์ธานี ภาคกลางบริเวณจังหวัดชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สุพรรณบุรี สำหรับกรุงเทพฯและปริมาณมณฑลมีฝนตกปานกลางถึงหนักมาก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 39/2555 (ระหว่างวันที่ 19-25 ก.ย. 55)

10-10-2012 15:07:51 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกถึงหนักมากบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ นครราชสีมา ชัยภูมิ ภาคตะวันออกบริเวณ จังหวัดตราด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี จันทบุรี สระแก้ว ภาคตะวันตกบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี ภาคใต้บริเวณจังหวัดภูเก็ต ระนอง ตรัง สตูล นราธิวาส สุราษฎร์ธานี ภาคกลางบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สำหรับกรุงเทพฯและปริมาณมณฑลมีฝนตกปานกลางถึงหนักมาก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 38/2555 (ระหว่างวันที่ 12-18 ก.ย. 55)

18-09-2012 14:41:14 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือมีฝนปานกลางถึงหนักบริเวณจังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ พิจิตร สุโขทัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างบริเวณจังหวัดชัยภูมิ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ภาคตะวันตกบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี ภาคตะวันออกมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณจังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ปราจีนบุรี ตราด ระยอง สระแก้ว ภาคใต้บริเวณจังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี ภาคกลางบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นครปฐม สำหรับกรุงเทพฯและปริมาณมณฑลมีฝนตกปานกลางถึงหนักมาก

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 37/2555 (ระหว่างวันที่ 5-11 ก.ย. 55)

11-09-2012 16:29:15 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือมีฝนหนักถึงหนักมากบริเวณจังหวัดน่าน แพร่ พะเยา พิจิตร เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม เลย อุบลราชธานี ภาคตะวันตก บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ตาก ภาคตะวันออกมีฝนปานกลางถึงหนักบริเวณจังหวัดตราด ชลบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ภาคใต้ฝนตกกระจาย มีฝนหนักบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สำหรับภาคกลางมีปานกลางถึงหนักมาก บริเวณจังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ส่วนกรุงเทพฯและปริมณฑลมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 36/2555 (ระหว่างวันที่ 29 ส.ค.-4 ก.ย. 55)

11-09-2012 08:47:03 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือมีฝนหนักถึงหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ พะเยา พิจิตร เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู อุบลราชธานี ภาคใต้บริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง ปัตตานี ระนอง สุราษฎร์ธานี ภาคตะวันออกมีฝนปานกลางถึงหนักบริเวณจังหวัดตราด จันทุบรี ปราจีนบุรี สระแก้ว สำหรับภาคกลางบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพฯและปริมณฑล มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 35/2555 (ระหว่างวันที่ 22-28 ส.ค. 55)

04-09-2012 10:14:15 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือมีฝนหนาแน่น บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง อุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดตราด จันทุบรี ปราจีนบุรี ภาคใต้บริเวณฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณจังหวัดกระบี่ พังงา ระนอง ภูเก็ต สำหรับภาคกลางบริเวณจังหวัดลพบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพฯและปริมณฑล มีฝนบางแห่ง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 34/2555 (ระหว่างวันที่ 15-21 ส.ค. 55)

21-08-2012 15:27:43 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สกลนคร สุรินทร์ ศรีสะเกษ หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ภาคตะวันตกบริเวณจังหวัดตาก และกาญจนบุรี ภาคใต้บริเวณจังหวัดกระบี่ นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สุราษฎร์ธานี สำหรับภาคกลาง กรุงเทพฯและปริมณฑล มีฝนหนาแน่นบางแห่ง

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 33/2555 (ระหว่างวันที่ 8-14 ส.ค. 55)

15-08-2012 07:52:57 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดหนองคาย หนองบัวลำภู นครพนม มหาสารคาม ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดตราด ปราจีนบุรี ชลบุรี ภาคตะวันตกบริเวณจังหวัดตาก และกาญจนบุรี ภาคใต้บริเวณจังหวัดนราธิวาส ยะลา สำหรับภาคกลาง กรุงเทพฯและปริมณฑล มีฝนในบางพื้นที่

ายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 32/2555 (ระหว่างวันที่ 1- 7 ส.ค. 55)

07-08-2012 17:52:16 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ น่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดตราด จันทุบรี ระยอง ภาคตะวันตกบริเวณจังหวัดตาก และกาญจนบุรี ภาคใต้บริเวณจังหวัดระนอง สำหรับภาคกลาง กรุงเทพฯและปริมณฑล มีฝนในบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 31/2555 (ระหว่างวันที่ 25- 31 ก.ค. 55)

31-07-2012 14:49:21 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ กำเพงเพชร พิษณุโลก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดนครพนม นครราชสีมา หนองคาย สุรินทร์ ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดชลบุรี จันทุบรี ตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว ภาคตะวันตกบริเวณจังหวัดตาก และกาญจนบุรี สำหรับภาคใต้บริเวณจังหวัดระนอง สำหรับภาคกลาง กรุงเทพฯและปริมณฑล มีปริมาณฝนในบางพื้นที่

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 30/2555 (ระหว่างวันที่ 18 - 24 ก.ค. 55)

25-07-2012 19:52:48 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย น่าน แพร่และพะเยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดสกลนคร ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตกบริเวณจังหวัดตาก และกาญจนบุรี สำหรับภาคใต้บริเวณจังหวัดระนอง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สตูล ภูเก็ตและนราธิวาส สำหรับภาคกลาง กรุงเทพฯและปริมณฑล มีปริมาณฝนเล็กน้อย

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 29/2555 (ระหว่างวันที่ 11 - 17 ก.ค. 55)

18-07-2012 09:32:24 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดเชียงราย และน่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดนครพนม และมหาสารคาม ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด สำหรับภาคใต้บริเวณจังหวัดระนอง พังงา สตูล และนราธิวาส ภาคกลางบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพฯและปริมณฑล

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 28/2555 (ระหว่างวันที่ 4 - 10 ก.ค. 55)

10-07-2012 15:59:50 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย ลำปาง แพร่ และน่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดหนองคาย นครพนม หนองบัวลำภู มุกดาหาร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์ ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมากโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 27/2555 (ระหว่างวันที่ 27 มิ.ย. - 3 ก.ค. 55)

09-07-2012 08:00:51 น.

สัปดาห์นี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมากโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดนครพนม ภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดจันทบุรี และตราด สำหรับภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีฝนตกเล็กน้อย

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 26/2555 (ระหว่างวันที่ 20-26 มิ.ย. 55)

27-06-2012 14:58:09 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย โดยมีฝนตกบริเวณจังหวัด แม่ฮ่องสอน สุโขทัย อุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วแต่ปริมาณลดลง ในบริเวณจังหวัดสกลนคร นครพนม หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี มุกดาหาร ขอนแก่น ภาคใต้ มีฝนตกบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้านกรุงเทพฯและปริมณฑลมีฝนตกเล็กน้อย

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 25/2555 (ระหว่างวันที่ 13-18 มิ.ย. 55)

27-06-2012 14:55:48 น.

สัปดาห์นี้มีปริมาณฝนตกค่อนข้างทางด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดตราด ทางด้านตะวันตกของประเทศบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 24/2555 (ระหว่างวันที่ 6-12 มิ.ย. 55)

12-06-2012 17:19:19 น.

สัปดาห์นี้มีปริมาณฝนตกกระจุกตัวมากในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกบริเวณจังหวัดตรัง ระนอง ชุมพร ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดนครพนม หนองคาย เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา ขอนแก่น ภาคเหนือบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน สุโขทัย เชียงใหม่ เชียงราย น่าน ตาก อุตรดิตถ์

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 23/2555 (ระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-5 มิ.ย. 55)

05-06-2012 15:36:29 น.

สัปดาห์นี้มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมากในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน อุตรดิถ์ น่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดชัยภูมิ นครพนม สกลนคร หนองคาย ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดตราด จันทบุรี ภาคใต้ฝั่งตะวันตก บริเวณจังหวัดระนอง ชุมพร ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ยกเว้นตอนกลางและตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ปริมาณฝนลดลง ด้านปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ อยู่ที่ 36,911ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 75 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 22/2555 (ระหว่างวันที่ 23-30 พ.ค. 55)

05-06-2012 15:30:41 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกค่อนข้างมากในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน บริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน บริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร หนองคาย อุดรธานี ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดตราด จันทบุรี ภาคใต้ฝั่งตะวันตกบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ประจวบคีรีขันธ์ ภาคอื่น ๆ ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ยกเว้นตอนกลางและตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ปริมาณฝนลดลง จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีระนอง คลองใหญ่ จังหวัดตราด และโกสุมพิสัย วัดปริมาณฝนได้ 385.3 304.1 และ 262.8 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 21/2555 ( 16-22 พ.ค. 55)

22-05-2012 17:46:06 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกค่อนข้างมากในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง บริเวณจังหวัดสุโขทัย แพร่ อุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดชลบุรี จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง ภาคใต้ฝั่งตะวันตกบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ประจวบคีรีขันธ์ ภาคอื่น ๆ ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ยกเว้นตอนกลางและตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ปริมาณฝนลดลง จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีสัตหีบ จันทบุรี และ สุโขทัย วัดปริมาณฝนได้ 174.1 160.8 และ 139.8 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 20/2555 ( 9-15 พ.ค. 55)

15-05-2012 16:57:12 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก โดยยังคงมีฝนตกบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ในบางพื้นที่ ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศ อยู่ที่ 38,011 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 737 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 48% และ 50% ตามลำดับ ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 19/2555 ( 2-8 พ.ค. 55)

11-05-2012 11:06:00 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านตะวันตกของประเทศตลอดแนวยาวตั้งแต่ภาคเหนือถึงภาคใต้ และภาคตะวันออก ที่มีฝนค่อนข้าง โดยภาคเหนือมีฝนตกมากบริเวณจังหวัดลำปาง ตาก อุตรดิตถ์ พะเยา ลำพูน เชียงราย เชียงใหม่ สุโขทัย แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ พิจิตร พิษธุโลก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนมากบริเวณจังหวัดสุรินทร์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ เลย อุบลราชธานี ภาคใต้มีฝนมากทางด้านตะวันตกของภาคบริเวณจังหวัดพังงา ระนอง ภูเก็ต เป็นต้น ภาคตะวันออกมีฝนมากบริเวณจังหวัดจันทบุรี ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 18/2555 ( 25 เม.ย - 1 พ.ค. 55)

01-05-2012 14:03:47 น.

สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนมากบริเวณภาคใต้ตอนล่าง บริเวณจังหวัดสงขลา นราธิวาส สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา เป็นต้น ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือมีฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีฝนตกบริเวณจังหวัดน่าน เลย เชียงราย นครพนม สุรินทร์ เป็นต้น ด้านปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ อยู่ที่ 39,710 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 948 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 51% และ 52% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 17/2555

30-04-2012 14:11:57 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนตกเล็กน้อยในบางพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักที่จังหวัดสกลนคร สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่โดยเฉพาะฝั่งตะวันตกของภาค ด้านปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ อยู่ที่ 40,664 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 1,180 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำคงเหลือ 52% และ 54% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 16/2555 ( 11-17 เม.ย. 55)

18-04-2012 14:58:15 น.

สัปดาห์นี้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณฝนลดน้อยลง แต่ยังคงมีฝนตกบริเวณตอนล่างของภาค ภาคกลางปริมาณฝนลดลง ส่วนภาคตะวันออกและภาคใต้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศ อยู่ที่ 41,844 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 1,109 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 54% และ 55% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 15/2555 ( 4-10 เม.ย. 55)

11-04-2012 11:15:44 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วในทุกภาคของประเทศ โดยภาคเหนือมีฝนมากบริเวณจังหวัดน่าน พิษณุโลก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนมากบริเวณจังหวัดสกลนคร นครพนม นครราชสีมา ภาคตะวันออกมีฝนมากบริเวรจังหวัดตราด ฉะเชิงเทรา ภาคกลางมีฝนมากบริเวณจังหวัดนครปฐม ภาคใต้มีฝนมากบริเวณจังหวัดระนอง สตูล สงขลา ตรัง เป็นต้น จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีน่าน สกลนคร น่าน สกษ. โดยวัดปริมาณฝนได้ 188.2 174.6 และ 134.2 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 14/2555 ( 28 มี.ค. - 3 เม.ย. 55)

04-04-2012 11:36:50 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายตัวในทุกภาคของประเทศ แต่เป็นปริมาณฝนเพียงเล็กน้อย ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 43,835 ล้านลูกบาศกเมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 1,146 ล้านลูกบาศกเมตร เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 57% และ 59% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 13/2555 ( 21-27 มี.ค. 55)

28-03-2012 11:51:05 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนลดลงในทุกภาคของประเทศ แต่ยังคงมีฝนตกเป็นหย่อม ๆ ในบางพื้นที่ เช่น ภาคเหนือบริเวณจังหวัดตาก ภาคกลางบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี เพชรบุรี และกรุงเทพฯ ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดสระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด และภาคใต้บริเวณจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต สงขลา พัทลุง สตูล ยะลา และปัตตานี เป็นต้น ด้านปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศอยู่ที่ 44,981 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 1,188 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 60% ทั้ง 2 เขื่อน

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 12/2555 ( 14-20 มี.ค. 55)

22-03-2012 16:40:20 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนลดลงในทุกภาคของประเทศ แต่ยังคงมีฝนตกเป็นหย่อม ๆ ในบางพื้นที่ เช่น ภาคใต้บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ ตรัง ภูเก็ต ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดตราด ชลบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดสกลนคร นครพนม สุรินทร์ ภาคเหนือบริเวณจังหวัดเชียงราย ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 46,169 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 1,330 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ที่ 62% และ 61% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 11/2555 ( 7-13 มี.ค. 55)

15-03-2012 10:48:26 น.

สัปดาห์นี้ทุกภาคของประเทศมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น โดยภาคเหนือมีฝนบริเวนจังหวัดลำปาง แพร่ เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนบริเวณจังหวัดนครราชสีมา หนองคาย หนองบัวลำภู สกลนคร เพชรบูรณ์ สุรินทร์ ขอนแก่น ชัยภูมิ ภาคตะวันออกมีฝนบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา จันทบุรี ชลบุรี ตราด ภาคกลางมีฝนบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประจวบคีรีขันธ์ ส่วนภาคใต้มีฝนมากบริเวณจังหวัดพังงา สตูล กระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช เป็นต้น ด้านปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ อยู่ที่ 47,499 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 1,442 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 65% ส่วนเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 63%

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 10/2555 ( 29 ก.พ. - 6 มี.ค. 55)

08-03-2012 10:47:16 น.

สัปดาห์นี้ทุกภาคของประเทศมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนล่าง ที่มีปริมาณฝนค่อนข้างมาก เช่น บริเวณจังหวัดหนองคาย อุดรธานี ภูเก็ต พังงา หาดใหญ่ ยะลา นราธิวาส สตูล นครศรีธรรมราช จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีภูเก็ต(ศูนย์ฯ)วัดปริมาณฝนได้ 119.7 มิลลิเมตร ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 48,941 ล้านลูำกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 1,545 ล้านลูกบาศกเมตร เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ที่ 68% และ 66% ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 9/2555 ( 22-28 ก.พ. 55)

28-02-2012 12:04:34 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก โดยยังคงมีฝนตกกระจายตัวเล็กน้อยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศ อยู่ที่ 50,480 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 1,563 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำกักเก็บ 71% เขื่อนสิริกิติ์ 69%

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 8/2555 ( 15-21 ก.พ. 55)

24-02-2012 15:18:43 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในภาคตะวันออก และภาคใต้ เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก โดยมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง ภูเก็ต ระนอง กระบี่ สมุย เป็นต้น จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีตราด พลิ้ว สกษ. และ จันทบุรี โดยวัดปริมาณฝนได้ 110.2 102.8 และ 92.7 มิลลิเมตร ตามลำดับ ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 52,094 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 1,564 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 7/2555 ( 8-14 ก.พ. 55)

14-02-2012 13:34:22 น.

1.สัปดาห์นี้ปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก แต่ยังคงมีฝนตกกระจายตัวเล็กน้อยในทุกภาคของประเทศ ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศ อยู่ที่ 53,613 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 1,585 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนภูมิพลที่ปริมาณน้ำกักเก็บ 78% ส่วนเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำกักเก็บ 75%

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 6/2555 ( 1-7 ก.พ. 55)

07-02-2012 15:15:25 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคกลางที่มีฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่ต้นสัปดาห์จนถึ่งปลายสัปดาห์ บริเวณที่มีฝนตกได้แก่ บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กาญจบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีปทุมธานี สกษ. ประจวบคีรีขันธ์ และ กรุงเทพมหานคร โดยวัดปริมาณฝนได้ 100.5 , 64.1 และ 63.6 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 5/2555 ( 25-31 ม.ค. 55)

31-01-2012 12:51:40 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนลดลงในทุกภาคของประเทศ โดยภาคใต้และภาคตะวันออกยังคงมีฝนตกต่อเนื่องในบางพื้นที่ จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีกระบี่ พระแสง สอท. และ เพชรบุรี โดยวัดปริมาณฝนได้ 132.2 , 68.2 และ 62.5 มิลลิเมตร ตามลำดับ ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศ อยู่ที่ 56,258 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 1,181 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 4/2555 ( 18-23 ม.ค. 55)

24-01-2012 16:39:26 น.

สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป แต่ปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้ยังมีฝนตกในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง เช่น จังหวัดเพชรบูรณ์ ตราด นครราชสีมา กาฬสินธุ์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีสะเดา กระบี่ และ วิเชียรบุรี โดยวัดปริมาณฝนได้ 151.6 , 98.0 และ 96.3 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 3/2555 ( 11-17 ม.ค. 55)

24-01-2012 11:35:50 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก ซึ่งมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ได้แก่ บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สงขลา พัทลุง ยะลา สตูล ปัตตานี และนราธิวาส โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีฝนตกหนักมาก จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช สกษ. และสะเดา โดยวัดปริมาณฝนได้ 327.1 , 288.8 และ 224.3 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 2/2555 ( 4-10 ม.ค. 55)

10-01-2012 15:59:33 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก แต่ยังคงมีฝนตกบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธุ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี นราธิวาส เป็นต้น จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีนครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี สกษ. โดยวัดปริมาณฝนได้ 71.5 , 51.7 และ 50.0 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 1/2555 ( 28 ธ.ค. 54 - 3 ม.ค. 55)

06-01-2012 15:41:05 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างและเลื่อนขึ้นสู่บริเวณภาคใต้ตอนบน ทำให้เกิดน้ำท่วมหนักและน้ำป่าไหลหลากในหลายจังหวัด โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของภาค เช่น สงขลา ปัตตานี ยะลา พัทลุง นราธิวาส ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช สกษ. และ สถานีสงขลา โดยวัดปริมาณฝนได้ 627.4 , 420.3 และ 400.9 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 52/2554 ( 21-27 ธ.ค. 54 )

27-12-2011 12:09:00 น.

1.สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก แต่ยังคงมีฝนตกบริเวณจังหวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง เป็นต้น จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีสงขลา สุราษฎร์ธานี สกษ. และนครศรีธรรมราช โดยวัดปริมาณฝนได้ 118.4 , 98.8 และ 94.2 มิลลิเมตร ตามลำดับ ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศ อยู่ที่ 61,819 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 796 ล้านลูกบาศก์เมตร

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 51/2554 ( 14-20 ธ.ค. 54 )

20-12-2011 13:58:07 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง บริเวณจังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานพัทลุง สกษ. นครศรีธรรมราช สกษ. และ ยะลา สกษ. โดยวัดปริมาณฝนได้ 310.7 , 197.5 และ 188.3 มิลลิเมตร ตามลำดับ ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศ อยู่ที่ 62,615 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 817 ล้านลูกบาศก์เมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 50/2554 (7-13 ธ.ค. 54 )

16-12-2011 09:48:40 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง บริเวณจังหวัดนราธิวาส ยะลา สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีนราธิวาส ยะลา สกษ. และ คอหงษ์ สกษ. โดยวัดปริมาณฝนได้ 394.0 , 145.9 และ 126.0 มิลลิเมตร ตามลำดับ ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศ อยู่ที่ 63,432 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 585 ล้านลูกบาศก์เมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 49/2554 (29 พ.ย. - 6 ธ.ค. 54 )

07-12-2011 13:48:37 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีภูเก็ต(ศูนย์) กระบี่ และ นราธิวาส โดยวัดปริมาณฝนได้ 136.0 , 112.0 และ 97.5 มิลลิเมตร ด้านปริมาณน้ำักักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 64,017 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 397 ล้านลูกบาศก์เมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 48/2554 ( 23-29 พ.ย. 54 )

29-11-2011 12:38:53 น.

สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนตกในพื้นที่ภาคใต้ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีนราธิวาส ยะลา สกษ. และ ปัตตานี โดยวัดปริมาณฝนได้ 422.7 , 353.9 และ 304.1 มิลลิเมตร ตามลำดับ ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 64,414 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 230 ล้านลูกบาศก์เมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 47/2554 (16-22 พ.ย. 54 )

22-11-2011 16:03:00 น.

1.สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนตกในพื้นที่ภาคใต้อย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานคอหงษ์ สกษ. นราธิวาส และ สงขลา โดยวัดปริมาณฝนได้ 227.6 , 210.4 และ 208.9 มิลลิเมตร ตามลำดับ ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศ อยู่ที่ 64,985 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 407 ล้านลูกบาศก์เมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 46/2554 (9-11 พ.ย. 54 )

18-11-2011 14:35:27 น.

สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนมากบริเวณภาคใต้ จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีกระบี่ ชุมพร และ นครศรีธรรมราช สกษ. โดยวัดปริมาณฝนได้ 162.2 , 148.0 และ 116.7 มิลลิเมตร ตามลำดับ ด้านปริมาณน้ำกักเก็บรวมทั้งประเทศ อยู่ที่ 64,985 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 407 ล้านลูกบาศก์เมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 46/2554 (9-15 พ.ย. 54 )

18-11-2011 14:35:27 น.

สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนมากบริเวณภาคใต้ จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีกระบี่ ชุมพร และ นครศรีธรรมราช สกษ. โดยวัดปริมาณฝนได้ 162.2 , 148.0 และ 116.7 มิลลิเมตร ตามลำดับ ด้านปริมาณน้ำกักเก็บรวมทั้งประเทศ อยู่ที่ 64,985 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 407 ล้านลูกบาศก์เมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 45/2554 (2-8 พ.ย. 54 )

08-11-2011 17:07:21 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนลดลงในทุกภาคของประเทศ แต่ภาคใต้ยังคงมีฝนมาก เช่น บริเวณจังหวัดกระบี่ หาดใหญ่ สตูล ยะลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ด้านปริมาณน้ำกักเก็บรวมทั้งประเทศอยู่ที่ 65,392 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว ( 31 ต.ค. 54 ) 225 ล้านลูกบาศก์เมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 44/2554 ( 26 ต.ค. - 1 พ.ย. 54 )

02-11-2011 17:39:01 น.

สัปดาห์นี้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ปริมาณฝนลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนภาคใต้ปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ตอนล่าง จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีนครศรีธรรมราช สกษ. สงขลา และพัทลุง สกษ. โดยวัดปริมาณฝนได้ 316.7 , 249.3 และ 201.4 มิลลิเมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 43/2554 ( 19-25 ต.ค. 54 )

25-10-2011 17:18:53 น.

สัปดาห์นี้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก ส่วนภาคใต้ปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้น โดยมีฝนมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานเกาะสมุย สงขลา และ พัทลุง สกษ. โดยวัดปริมาณฝนได้ 180.3 , 107.6 และ 106.1 มิลลิเมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 42/2554 (12-18 ต.ค. 54 )

19-10-2011 12:02:14 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดตราดและจันทบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ขอนแก่น ภาคกลางมีฝนตกบริเวณจังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี สมุทรปราการ รวมถึงกรุงเทพมหานคร จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีท่าตูม ศรีสะเกษ กรุงเทพฯ ท่าเรือคลองเตย โดยวัดปริมาณฝนได้ 258.9 , 251.1 และ 237.7 มิลลิเมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 41/2554 (5-11 ต.ค. 54 )

12-10-2011 16:21:48 น.

สัปดาห์นี้โดยภาพรวมปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก ยกเว้นภาคกลางตอนล่างที่มีปริมาณฝน เพิ่มมากขึ้น โดยมีฝนมากบริเวณจังหวัดนครปฐม กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี ลพบุรี ราชบุรี นอกจากนี้ยังคงมีฝนมากในพื้นที่ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดระยอง ปราจีนบุรี ชลบุรี ตราด จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีห้วยโป่ง สกษ. ภูเก็ต(ศูนย์ฯ) และ นครปฐม โดยวัดปริมาณฝนได้ 243.3 , 216.0 และ 203.0 มิลลิเมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 40/2554 (28 ก.ย. - 4 ต.ค. 54 )

06-10-2011 14:14:50 น.

สัปดาห์นี้โดยภาพรวมปริมาณฝนเพิ่มขึ้นบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ด้านตะวันตกของประเทศบริเวณตอนบน ส่วนภาคตะวันออก ด้านตะวันวันตกของประเทศบริเวณตอนล่างตลอดแนวจนถึงภาคใต้ปริมาณฝนลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า จังหวัดที่มีฝนค่อนข้างมากในพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ ลำปาง กำแพงเพชร พิจิตร สุโขทัย แม่ฮ่องสอน ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนมากบริเวณจังหวัดอุดรธานี สุรินทร์ นครราชสีมา เลย สกลนคร หนองคาย บุรีรัมย์ และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกมีฝนมากบริเวณจังหวัดตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ภาคกลางมีฝนมากบริเวณจังหวัดชัยนาท ด้านภาคใต้มีฝนมากทางด้านตะวันตกของภาคบริเวณจังหวัดพังงา ระนอง กระบี่ ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และ สตูล จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีตราด ตะกั่วป่า และปราจีนบุรี โดยวัดปริมาณฝนได้ 380.6 , 270.3 และ 251.4 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 39/2554 ( 21-27 ก.ย. 54 )

06-10-2011 14:11:31 น.

สัปดาห์นี้โดยภาพรวมตอนบนของประเทศปริมาณฝนลดลงโดยเฉพาะภาคเหนือและด้านตะวันตกของประเทศ แต่ยังคงมีฝนตกมากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างบริเวณจังหวัดสุรินทร์ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ นอกจากนี้ยังมีฝนมากในพื้นที่ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดตราด จันทบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ภาคใต้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีฝนมากทางด้านตะวันตกของภาคบริเวณจังหวัดระนอง สตูล พังงา ส่วนภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังคงมีฝนตกกระจายในพื้นที่ จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานีตราด พลิ้ว สกษ. และ ระนอง โดยวัดปริมาณฝนได้ 406.7 , 319.6 และ 260.0 มิลลิเมตร ตามลำดับ

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 38/2554 (14-20 ก.ย. 54 )

20-09-2011 17:42:27 น.

สัปดาห์ปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยเฉพาะที่จังหวัดหนองคาย นครพนม เลย ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีฝนมากบริเวณจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัด อุบลราชธานี ส่วนภาคเหนือถึงแม้โดยภาพรวมจะมีปริมาณฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนมากบริเวณจังหวัดเชียงราย น่าน ลำปาง ลำพูน และสุโขทัย ภาคตะวันออกมีฝนมากบริเวณจังหวัดตราด ส่วนภาคใต้มีฝนมากทางด้านตะวันตกของภาคบริเวณจังหวัดพังงา ระนอง ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 37/2554 ( 7 - 13 ก.ย. 54 )

13-09-2011 18:31:55 น.

สัปดาห์นี้มีมีฝนเพิ่มขึ้นในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่มีฝนตกหนักกระจายตัวใน หลายพื้นที่ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ นครราชสีมา เลย ศรีสะเกษ สุรินทร์ หนองคาย อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด ขอนแก่น หนองบัวลำภู ชัยภูมิ บุรีรัมย์ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ภาคเหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดตาก พิจิตร กำแพงเพชร สุโขทัย ลำพูน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก แพร่ ลำปาง เชียงใหม่ น่าน ภาคกลางมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัด ลพบุรี กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ชัยนาท กาญจนบุรี ภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดตราด จันทบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ปราจีนบุรี สระแก้ว ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 36/2554 ( 31 ส.ค. - 6 ก.ย. 54 )

07-09-2011 11:33:52 น.

สัปดาห์นี้มีฝนมากบริเวณภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาคตะวันออกมีฝนมากบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา และ สระแก้ว ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนมากบริเวณจังหวัด นครพนม ร้อยเอ็ด ศีรสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู เลย ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม มุกดาหาร อุบลราชธานี สุรินทร์ อุดรธานี ด้านภาคเหนือมีฝนตกบริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์ แม่ฮ่องสอน น่าน พิจิตร พิษณุโลก ตาก ภาคใต้มีฝนมากด้านตะวันตกของภาคบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต ส่วนภาคกลางมีฝนตกกระจายตัวในหลายพื้นที่ รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 35/2554 (24-30 ส.ค. 54 )

31-08-2011 13:18:55 น.

สัปดาห์นี้มีฝนมากบริเวณภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยภาคใต้มีฝนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต ระนอง สตูล กระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช ภาคตะวันออกมีฝนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ตราด จันทบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนมากบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ ชัยภูมิ เลย ศรีสะเกษ ภาคกลางมีฝนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรปราการรวมถึงถึงเทพมหานคร ส่วนภาคเหนือปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วแต่ยังคงมีฝนมากบริเวณจังหวัดเชียงราย สุโขทัย ลำพูน ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 34/2554 ( 17-23 ส.ค. 54 )

24-08-2011 14:57:26 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนกระจายตัวเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือที่มีฝนตกหนัก โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนมากบริเวณจังหวัดนครพนม หนองบัวลำภู สกลนคร หนองคาย ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อุดรธานี มุกดาหาร กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ เลย สุรินทร์ ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ ศรีสะเกษ ภาคเหนือมีฝนมากบริเวณจังหวัดพิษณุโลก น่าน ตาก อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ เชียงราย สุโขทัย ลำปาง และกลุ่มฝนยังได้แผ่ปกคลุมถึงภาคกลางตอนบนบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ด้านภาคใต้มีฝนมากในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง บริเวณจังหวัดสงขลา ยะลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สตูล พัทลุง ภาคตะวันออกมีฝนตกบริเวณจังหวัดระยอง ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด ส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนตกในพื้นที่เช่นเดียวกัน ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 33/2554 ( 10-16 ส.ค. 54 )

16-08-2011 12:24:11 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีฝนตกหนักกระจายตัวในหลายพื้นที่ โดยภาคตะวันออกมีฝนมากบริเวณจังหวัดตราด ระยอง จันทบุรี ชลบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนมากบริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี มุกดาหาร กาฬสินธุ์ เลย สุรินทร์ ร้อยเอ็ด อุดรธานี เพชรบูรณ์ ภาคเหนือมีฝนมากบริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก พิจิตร แพร่ พะเยา ลำปาง น่าน ลำพูน ภาคใต้มีฝนมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ระนอง กระบี่ สงขลา นราธิวาส ภาคกลางมีฝนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ นครปฐม กาญจนบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ รวมถึงกรุงเทพมหานคร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 32/2554 (3-9 ส.ค. 54 )

09-08-2011 13:10:17 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก แต่ยังคงมีฝนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาคเหนือมีฝนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก เชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ ลำปาง แพร่ สุโขทัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนมากบริเวณจังหวัดนครพนม มุกดาหาร สกลนคร อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ สุรินทร์ เลย อุดรธานี ภาคตะวันออกมีฝนบริเวณจังหวัดตราดและจันทบุรี ส่วนภาคใต้ ภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 31/2554 ( 27 ก.ค. – 2 ส.ค. 54 )

03-08-2011 17:20:31 น.

สัปดาห์นี้พื้นที่ตอนบนและตอนกลางของประเทศได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น “นกเตน” ตั้งแต่ช่วงวันที่ 31 ก.ค. ถึงวันที่ 2 ส.ค. 54 ทำให้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ โดยภาคเหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดแพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ลำปาง พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน ตาก เชียงราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดหนองคาย นครพนม อุดรธานี สกลนคร นครราชสีมา หนองบัวลำภู เลย มุกดาหาร เพชรบูรณ์ บุรีรัมย์ ภาคตะวันออก มีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดตราดและจันทบุรี นอกจากนี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักด้านตะวันตกของประเทศ ตั้งแต่ภาคใต้ในพื้นที่จังหวัดระนอง กระบี่ พังงา พื้นที่ภาคกลางบริเวณจังหวัดเพชรบุรี กาญจนบุรี ตลอดจนถึงภาคเหนือบริเวณจังหวัดตาก และแม่ฮ่องสอน ส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนมากเช่นเดียวกัน ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 30/2554(20-26 ก.ค. 54 )

26-07-2011 17:59:48 น.

สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของประเทศ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนมากบริเวณจังหวัดสุรินทร์ เพชรบูรณ์ มุกดาหาร นครพนม สกลนคร อุบลราชธานี มหาสารคาม นครราชสีมา กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด เลย ภาคตะวันออกมีฝนมากบริเวณจังหวัดตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ด้านตะวันตกของประเทศมีฝนมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ตลอดแนวขึ้นไปทางภาคเหนือ บริเวณจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน นอกจากนี้พื้นที่ภาคเหนือยังมีฝนตกมากในพื้นที่จังหวัดพิจิตร น่าน อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ด้านภาคใต้มีฝนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ยะลา ชุมพร ส่วนภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีปริมาณฝนลดลง ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 29/2554 (13-19 ก.ค. 54 )

19-07-2011 12:18:05 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคเหนือปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยยังคงมีฝนตกและฝนตกหนักในบางแห่ง เช่น จังหวัดเชียงราย น่าน กำแพงเพชร พิษณุโลก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนมาก บริเวณจังหวัดนครพนม บุรีรัมย์ หนองคาย อุบลราชธานี อุดรธานี สุรินทร์ มหาสารคาม สกลนคร ภาคตะวันออกมีฝนมากบริเวณจังหวัดตราดและจันทบุรี ภาคใต้มีฝนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ตรัง กระบี่ นราธิวาส ส่วนภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 28/2554(6-12 ก.ค. 54 )

12-07-2011 12:04:56 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย โดยมีฝนตกในหลายจังหวัด เช่น น่าน ลำพูน ตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก มีฝนตกต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วแต่ปริมาณลดลง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกบริเวณจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด หนองคาย หนองบัวลำภู สุรินทร์ เลย เป็นต้น ภาคตะวันออก มีฝนตกบริเวณจังหวัดตราดและจันทบุรี ส่วนภาคใต้และภาคกลาง ปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีฝนตกบริเวณจังหวัดระนอง ชุมพร ตรัง ด้านกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนตกเล็กน้อย ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 27/2554(วันที่ 29 มิ.ย. – 5 ก.ค. 54 )

05-07-2011 16:02:00 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคเหนือลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยยังคงมีฝนตกกระจายตัวเล็กน้อยในบางจังหวัด เช่น พิจิตร พิษณุโลก น่าน แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง สุโขทัย กำแพงเพชร เป็นต้น ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนมากบริเวณจังหวัดนครพนมมุกดาหาร หนองคาย บุรีรัมย์ ภาคตะวันออกมีฝนมากบริเวณจังหวัดจันทบุรี ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ภาคใต้มีฝนมากบริเวณจังหวัดพัทลุง ปัตตานี ยะลา ระนอง ตรัง นครศรีธรรมราช ชุมพร ส่วนภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วเช่นกัน โดยมีฝนมากบริเวณกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สุพรรณบุรี นครปฐม ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 26/2554 (22-28 มิ.ย. 54 )

28-06-2011 12:24:18 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีปริมาณฝนค่อนข้างมาก เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุ ”ไหหม่า” โดยภาคเหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดน่าน พะเยา เชียงราย ตาก แพร่ โดยเฉพาะจังหวัดน่านที่ประสบอุทกภัยเกือบทั้งจังหวัดและจังหวัดตากที่เกิดน้ำท่วมหนักในหลายบริเวณ นอกจากนี้อิทธิพลของพายุยังส่งผลกระทบต่อพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยทำให้มีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดหนองคายและพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดจันทบุรี ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 25/2554 ( 15-21 มิ.ย. 54 )

22-06-2011 13:18:30 น.

สัปดาห์นี้มีปริมาณฝนค่อนข้างมากบริเวณจังหวัดตราดและจันทบุรี ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนมากบริเวณจังหวัดสุรินทร์ สกลนคร ภาคเหนือมีฝนมากบริเวณจังหวัดลำปางและเชียงราย ส่วนภาคกลางมีฝนมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศ อยู่ที่ 39,188 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 350 ล้านลูกบาศก์เมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 24/2554 ( 8-14 มิ.ย. 54 )

14-06-2011 11:31:58 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ส่วนภาคอื่นๆ ปริมาณฝนลดน้อยลง โดยภาคใต้มีฝนตกมากบริเวณจังหวัดระนอง นราธิวาส สงขลา ยะลา สุราษฎร์ธานี ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศ อยู่ที่ 38,838 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 386 ล้านลูกบาศก์เมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 23/2554 (1-7 มิ.ย. 54 )

07-06-2011 12:26:55 น.

สัปดาห์นี้พื้นที่ประเทศไทยมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีฝนตกค่อนข้างมากบริเวณจังหวัดมุกดาหาร สกลนคร กาฬสินธุ์ หนองคาย สุรินทร์ หนองบัวลำภู ขอนแก่น ชัยภูมิ เลย ส่วนภาคเหนือมีฝนตกบริเวณจังหวัดตาก ลำปาง เชียงใหม่ ลำพูน สุโขทัย แม่ฮ่องสอน ภาคตะวันออกมีฝนตกบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด ภาคกลางมีฝนตกบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนภาคใต้มีฝนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 22/2554 ( 25-31 พ.ค. 54 )

31-05-2011 12:14:43 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายตัวค่อนข้างมากในพื้นที่ตอนบนและตอนกลางของประเทศ โดยภาคเหนือมีฝนตกบริเวณจังหวัดกำแพงเพชร น่าน ลำพูน เชียงราย ลำปาง เชียงใหม่ พิษณุโลก ตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ เลย บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ภาคตะวันออกมีฝนตกบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ส่วนภาคกลางมีฝนตกบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ลพบุรี รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนภาคใต้ปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 21/2554 (18-24 พ.ค. 54 )

24-05-2011 12:19:19 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายตัวค่อนข้างมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกบริเวณจังหวัดนครพนม บุรีรัมย์ สกลนคร เพชรบูรณ์ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด สุรินทร์ อุดรธานี ภาคใต้มีฝนตกบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สตูล สงขลา ภูเก็ต นราธิวาส ตรัง ส่วนภาคเหนือมีฝนตกบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ ลำพูน ตาก ภาคตะวันออกมีฝนตกบริเวณจังหวัดตราด ชลบุรี จันทบุรี ภาคกลางมีฝนตกบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 20/2554 ( 11-17 พ.ค. 54 )

19-05-2011 11:36:48 น.

สัปดาห์นี้พื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ มีปริมาณฝนลดลงเล็กน้อย ส่วนด้านตะวันตกของประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีฝนค่อนข้างมาก ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 37,401 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 232 ล้านลูกบาศก์เมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 19/2554 (4-10 พ.ค. 54 )

10-05-2011 14:10:38 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกค่อนข้างมากในพื้นที่ภาคเหนือ บริเวณจังหวัด ลำปาง พะเยา แม่ฮ่องสอน ตาก เชียงใหม่ น่าน พิจิตร โดยเฉพาะจังหวัดลำปางที่ฝนตกหนักส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายบริเวณ นอกจากนี้ยังมีฝนตกมากในพื้นที่ภาคใต้ บริเวณจังหวัดระนอง พังงา สงขลา ชุมพร ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนตกกระจายตัวในบางพื้นที่ ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศ อยู่ที่ 37,169 ลดลงจากสัปดาห์ที่แ้ล้ว 44 ล้านลูกบาศก์เมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 18/2554 ( 27 เม.ย. – 3 พ.ค. 54 )

04-05-2011 12:24:30 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายตัวในทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีฝนมากกว่าพื้นที่อื่น โดยภาคเหนือมีฝนมากบริเวณจังหวัดสุโขทัย แพร่ ตาก น่าน เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ แม่ฮ่องสอน พะเยา ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนมากบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ สกลนคร ร้อยเอ็ด นครราชสีมา ชัยภูมิ นครพนม บุรีรัมย์ ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศ อยู่ที่ 37,213 ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 205 ล้านลูกบาศก์เมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 17/2554 ( 20-26 เม.ย. 54 )

26-04-2011 11:44:32 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกมากในพื้นที่ภาคเหนือบริเวณจังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดสระแก้ว ตราด ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ภาคกลางบริเวณจังหวัดนครปฐม กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนพื้นที่อื่น ๆ มีฝนตกกระจายตัวเล็กน้อย ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศ อยู่ที่ 37,418 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 583 ล้านลูกบาศก์เมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 16/2554 (13-19 เม.ย. 54 )

20-04-2011 12:03:18 น.

สัปดาห์นี้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเกิดพายุฤดูร้อนในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ปริมาณฝนลดลง ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศ อยู่ที่ 38,001 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 694 ล้านลูกบาศก์เมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 15/2554 (6-12 เม.ย. 54 )

20-04-2011 12:00:56 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้ลดลงค่อนข้างมาก โดยยังคงมีฝนตกเล็กน้อยในบางพื้นที่ เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนตกกระจายตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยเฉพาะภาคตะวันออกที่มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก และตกกระจายตัวเกือบทั้งภาค ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 14/2554(30 มี.ค. – 5 เม.ย. 54 )

05-04-2011 13:32:04 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้ลดลงค่อนข้างมาก แต่ยังคงมีน้ำท่วมต่อเนื่อง โดยมีพื้นที่ประสบภัยทั้งสิ้น 10 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร พัทลุง ตรัง สตูล กระบี่ พังงา สงขลา นราธิวาส จากการ ตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สถานี สุราษฎร์ธานี สกษ. นครศรีธรรมราช และ สุราษฎร์ธานี โดยวัดปริมาณฝนได้ 503.9 , 420.7 และ 358.3 มิลลิเมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 13/2554( 23 - 29 มี.ค. 54 )

29-03-2011 15:24:55 น.

สัปดาห์นี้พื้นที่ภาคใต้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัด เช่น นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พัทลุง ตรัง ชุมพร ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนตกกระจายตัวเล็กน้อย จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสม 7 วัน ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่า สถานีที่มีปริมาณฝนสะสมเกิน 300 มิลลิเมตร ประกอบด้วย นครศรีธรรมราช (985.4 มม.), สุราษฎร์ธานี สกษ.(860.4 มม.) , เกาะสมุย(814.3 มม.) , นครศรีธรรมราช สกษ.(781.2 มม.) , พัทลุง สกษ. (564.3 มม.) , นราธิวาส(564.1 มม.) , สวี สกษ.(422.5 มม.) , สุราษฎร์ธานี(397.7 มม.) , ฉวาง(351.3 มม.) , ชุมพร(302.1 มม.) ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 12/2554 ( 16 - 22 มี.ค. 54 )

22-03-2011 13:16:46 น.

สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนในพื้นที่ภาคใต้บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สตูล สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภาคกลางมีฝนบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ส่วนภาคเหนือมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น โดยตกในช่วงต้นสัปดาห์ในบริเวณจังหวัดตาก สุโขทัย พิษณุโลก เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร แม่ฮ่องสอน น่าน เชียงราย พิจิตร แพร่ ลำปาง พะเยา ลำพูน ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนตกกระจายตัวเพียงเล็กน้อย ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศอยู่ที่ 40,247 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 632 ล้านลูกบาศก์เมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 10/2553 ( 3 - 9 มี.ค. 53 )

21-03-2011 17:39:43 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วในทุกภาค โดยมีฝนตกเพียงเล็กน้อยในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ซึ่งมีปริมาณฝนค่อนข้างต่ำมาก จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสมหนึ่งสัปดาห์ของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่าปริมาณฝนสูงสุดที่วัดได้มีค่าไม่ถึง 5 มิลลิเมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 9/2553 ( 24 ก.พ. – 2 มี.ค. 53 )

21-03-2011 17:37:17 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก โดยบริเวณที่มีฝนตกได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง สตูล ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 8/2553 ( 17 - 23 ก.พ. 53 )

21-03-2011 17:34:05 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดตราด จันทบุรี และ ชลบุรี กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนตกกระจายตัวเล็กน้อย ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 7/2553 ( 10 - 16 ก.พ. 53 )

21-03-2011 17:32:03 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก โดยมีฝนตกเพียงเล็กน้อยในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และกรุงเทพมหานคร จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสมหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยมีปริมาณฝนเพียง 14.6 มิลลิเมตร เท่านั้น ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 6/2553 ( 3 - 9 ก.พ. 53 )

21-03-2011 17:29:48 น.

สัปดาห์นี้ช่วงกลางสัปดาห์ถึงปลายสัปดาห์มีฝนตกในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ หนองบัวลำภู นครพนม สกลนคร อุดรธานี ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกกระจายตัวเพียงเล็กน้อยในบางพื้นที่ ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 5/2553 ( 27 ม.ค. – 2 ก.พ. 53 )

21-03-2011 17:06:55 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายตัวเพียงเล็กน้อยในบางพื้นที่ของประเทศ จากรายงานการตรวจวัดปริมาณฝนจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาอยู่ที่สถานีสนามบิน สุวรรณภูมิ ชุมพร และ ภูเก็ต(ศูนย์ฯ) โดยมีปริมาณฝนเพียง 28.7 26.3 และ 25.8 มิลลิเมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 4/2553 ( 20 - 26 ม.ค. 53 )

21-03-2011 17:04:30 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายตัวในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก รวมถึงกรุงเทพมหานคร ที่มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก ส่วนภาคเหนือและภาคใต้มีฝนตกเล็กน้อยกระจายตัวในบางพื้นที่ ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 3/2553 ( 13 - 19 ม.ค. 53 )

21-03-2011 17:01:38 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกเพียงเล็กน้อยในบางพื้นที่ของภาคใต้ จากรายงานการตรวจวัดปริมาณฝนจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่าปริมาณฝนสะสมสูงสุดในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาอยู่ที่สถานีชุมพร โดยมีปริมาณฝนเพียงแค่ 15.6 มิลลิเมตร ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 2/2553 ( 6 - 12 ม.ค. 53 )

21-03-2011 16:59:34 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกกระจายตัวในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยภาคเหนือมีฝนตกบริเวณจังหวัดน่าน ลำปาง ตาก สุโขทัย พิจิตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกบริเวณจังหวัดหนองคาย นครราชสีมา บุรีรัมย์ ภาคตะวันออกมีฝนตก บริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง และ ปราจีนบุรี ภาคใต้มีฝนตกบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สงขลา พังงา ชุมพร ส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนตกเช่นกัน ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 1/2553 ( วันที่ 30 ธ.ค. 52 – 5 ม.ค. 53 )

21-03-2011 16:57:38 น.

สัปดาห์นี้มีฝนตกในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง บริเวณจังหวัดยะลา สตูล ภูเก็ต สงขลา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนตกเล็กน้อย ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 48/2553 ( 24 - 30 พ.ย. 53 )

21-03-2011 16:54:42 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก โดยมีฝนตกในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างบริเวณจังหวัดนราธิวาส นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา สุราษฎร์ธานี ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 49/2553 ( 1 - 7 ธ.ค. 53 )

21-03-2011 16:52:33 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก โดยมีฝนตกมากในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ยะลา ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 50/2553 ( 8 - 14 ธ.ค. 53 )

21-03-2011 16:50:20 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก ส่วนภาคเหนือมีฝนตกกระจายตัวเล็กน้อยในหลายจังหวัด เช่น แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง แพร่ น่าน พิจิตร พิษณุโลก ด้านกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนตกเล็กน้อย ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 51/2553 ( 15 - 21 ธ.ค. 53 )

21-03-2011 16:47:17 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย ส่วนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีฝนตกกระจายตัวเล็กน้อยในหลายพื้นที่ ด้านกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนตกเล็กน้อย ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 52/2553 ( 22 - 28 ธ.ค. 53 )

21-03-2011 16:43:09 น.

สัปดาห์นี้ปริมาณฝนภาคใต้ลดลงค่อนข้างมาก โดยยังมีฝนตกเพียงเล็กน้อยในบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภูเก็ต สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ...

รายงานข้อมูลน้ำรายสัปดาห์ ครั้งที่ 11/2554 ( 9 - 15 มี.ค. 54 )

17-03-2011 14:52:42 น.

สัปดาห์นี้บริเวณตอนบนของประเทศปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว ส่วนภาคใต้มีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้น โดยมีฝนมากบริเวณจังหวัดสงขลา พังงา นราธิวาส พัทลุง นครศรีธรรมราช ชุมพร ด้านปริมาณน้ำกักเก็บทั้งประเทศ อยู่ที่ 40,879 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 926 ล้านลูกบาศก์เมตร ...



สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
เลขที่ 901 ถนนงามวงศ์วาน  แขวงลาดยาว เขตจตุจักร  กรุงเทพมหานคร 10900
02 158 0901,     02 158 0910     : info_thaiwaterhaii.or.th
ขอขอบคุณ
กรมชลประทาน กรมฝนหลวง กรมอุตุนิยมวิทยา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด
สถิติเว็บไซต์

Copyright © 2016 | HII - All rights reserved.