ช่วงคืนวันที่ 13 ต.ค. 60 ถึงเช้าวันที่ 14 ต.ค. 60 เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในทุกพื้นที่ทางด้านตะวันตกครอบคลุมถึงตอนกลางของกรุงเทพมหานคร เช่น เขตทวีวัฒนา เขต หนองแขม เขตบางบอน เขตบางขุนเทียน เขตบางแค เขตตลิ่งชัน เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง เขตทุ่งครุ เขตราชบูรณะ เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตบางพลัด เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางซื่อ เขตจตุจักร เขตดุสิต เขตพญาไท เขตราชเทวี เขตดินแดง เขตห้วยขวาง เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตสาทร เขตบางคอแหลม เขตยานาวา เขตบางนา เขตพระโขนง เขตคลองเตย เขตวัฒนา ส่วนทางด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง
         จากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสมผ่านระบบโทรมาตรตรวจวัดปริมาณน้ำฝนของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร พบปริมาณน้ำฝนเกิน 150 มิลลิเมตร ถึง 23 จุด ประกอบด้วย 1) เขตพระนคร 2) สถานีคลองมอญ 3) สถานีภาษีเจริญ 4) เขตภาษีเจริญ 5) คลองสนามชัย-คลองบางขุนเทียน 6) บึงมักกะสัน 7) ศูนย์ฯ (ดินแดง) 8) ปตร.คลองอรชร 9) เขตยานาวา 10) สถานีบางกอกใหญ่ 11) คลองภาษีเจริญ-ราชมนตรี 12) เขตพญาไท 13) เขตบางกอกใหญ่ 14) สถานีช่องนนทรี 15) เขตราชเทวี 16) สวนเบญสิริ 17) เขตสัมพันธวงศ์ 18) สถานีสาทร 19) ปากคลองตลาด 20) เขตวัฒนา 21) เขตสาธร 22) สถานีกรุงเกษม และ 23) เขตบางรัก โดยวัดปริมาณฝนสะสมสูงสุดได้ที่เขตพระนคร ปริมาณฝน 203 มิลลิเมตร รองลงมาคือที่ สถานีคลองมอญ เขตบางกอกน้อย และ สถานีภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ ปริมาณฝน 195 มิลลิเมตร และ 188 มิลลิเมตร ตามลำดับ
         เนื่องจากมีฝนตกหนักถึงหนักมากนานติดต่อกันถึง 6 ชม. ส่งผลให้มีน้ำท่วมขังสูงบนถนนสายหลักถึง 55 เส้นทาง โดยสำนักการระบายน้ำได้เร่งระบายน้ำออกจากถนนสายหลัก ซึ่งถนนที่มีระยะเวลาน้ำท่วมขังน้อยที่สุดคือถนนลาดพร้าว (ซ.112 – คลองเจ้าคุณสิงห์) มีน้ำท่วมขังนาน 1 ชั่วโมง ในขณะที่ถนนเพชรเกษม บริเวณเขตภาษีเจริญ ซอยเพชรเกษม 37 มีน้ำท่วมขังนานที่สุดถึง 21.15 ชั่วโมง








ข้อมูลโดย : Kochi University 


                    ภาพถ่ายรายชั่วโมงจากดาวเทียม Himawari-8 ตั้งแต่ช่วงคืนวันที่ 13 ต.ค. 60 ถึงช่วงเช้าวันที่ 14 ต.ค. 60 แสดงให้เห็นว่ามีกลุ่มเมฆหนาปกคลุมอย่างต่อเนื่องในบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่กรุงเทพมหานคร



13/10/60 15GMT

13/10/60 16GMT

13/10/60 17GMT

13/10/60 18GMT

13/10/60 19GMT

13/10/60 20GMT

13/10/60 21GMT

13/10/60 22GMT

13/10/60 23GMT

14/10/60 00GMT

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/TyphoonTracking/Goes9.php






 ข้อมูลโดย : กรมอุตุนิยมวิทยา          

                 จากภาพแผนที่อากาศ จะเห็นได้ว่ามีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักในบริเวณดังกล่าว


13/09/60 12UTC

13/09/60 18UTC

14/09/60 00UTC


ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/hmain.php?page=/TyphoonTracking/show_weather_map.php






 ข้อมูลโดย : กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร

                    เครือข่ายภาพเรดาร์ตรวจวัดปริมาณฝนของกรมอุตุนิยมวิทยาและสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร เรดาร์สุวรรณภูมิและเรดาร์หนองจอก ตรวจพบกลุ่มฝนก่อตัวบริเวณเขตบางขุนเทียนในคืนวันที่ 13 ตุลาคม 2560 ช่วงเวลา 23.00- 0.00 น. ต่อมากลุ่มฝนได้ขยายตัวปกคลุมฝั่งธนบุรีทั้งหมดจนเกิดเป็นฝนตกหนัก ต่อมาเมื่อเวลา 0.30 น. ของวันที่ 14 ตุลาคม 2560 บริเวณฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครมีกลุ่มฝนจากจังหวัดฉะเชิงเทราเคลื่อนตัวเข้ามาปกคลุมบริเวณเขตหนองจอก จากนั้นได้ขยายตัวและรวมกับฝนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จนเกิดเป็นฝนตกปานกลางถึงฝนตกหนักปกคลุมทุกพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร จนกระทั่งกลุ่มฝนดังกล่าวได้สลายตัวไปในเวลา 6.00 น.
เรดาร์หนองจอก


14/10/60 00:25 Local Time

14/10/60 01:25 Local Time

14/10/60 02:25 Local Time

14/10/60 03:25 Local Time

14/10/60 04:30 Local Time

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_Phasi.php

เรดาร์สุวรรณภูมิ

14/10/60 00:20 Local Time

14/10/60 01:20 Local Time

14/10/60 02:20 Local Time

14/10/60 03:20 Local Time

14/10/60 05:20 Local Time


ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/radar/show_svp120radar.php







 ข้อมูลโดย : สำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร


         จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนช่วงวันที่ 13 ต.ค. 60 เวลา 23.00 น. ถึง วันที่ 14 ต.ค. 60 เวลา 5.00 น. พบมีฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวในทุกพื้นที่ทางด้านตะวันตกครอบคลุมถึงตอนกลางของกรุงเทพมหานคร (บริเวณสีส้ม แดง และม่วง) เช่น เขต ทวีวัฒนา เขต หนองแขม เขตบางบอน เขต บางขุนเทียน เขต บางแค เขตตลิ่งชัน เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง เขตทุ่งครุ เขตราชบูรณะ เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตบางพลัด เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางซื่อ เขตจตุจักร เขตดุสิต เขตพญาไท เขตราชเทวี เขตดินแดง เขตห้วยขวาง เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตสาทร เขตบางคอแหลม เขตยานาวา เขตบางนา เขตพระโขนง เขตคลองเตย เขตวัฒนา
ส่วนทางด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง







 ข้อมูลโดย : สำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร

         และจากการตรวจวัดปริมาณฝนสะสมในช่วงวันที่ 13 ต.ค. 60 เวลา 23.00 น. ถึง วันที่ 14 ต.ค. 60 เวลา 5.00 น. ผ่านระบบโทรมาตรตรวจวัดปริมาณน้ำฝนของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร พบปริมาณน้ำฝนเกิน 150 มิลลิเมตร ถึง 23 จุด ประกอบด้วย 1) เขตพระนคร 2) สถานีคลองมอญ 3) สถานีภาษีเจริญ 4) เขตภาษีเจริญ 5) คลองสนามชัย-คลองบางขุนเทียน 6) บึงมักกะสัน 7) ศูนย์ฯ (ดินแดง) 8) ปตร.คลองอรชร 9) เขตยานาวา 10) สถานีบางกอกใหญ่ 11) คลองภาษีเจริญ-ราชมนตรี 12) เขตพญาไท 13) เขตบางกอกใหญ่ 14) สถานีช่องนนทรี 15) เขตราชเทวี 16) สวนเบญสิริ 17) เขตสัมพันธวงศ์ 18) สถานีสาทร 19) ปากคลองตลาด 20) เขตวัฒนา 21) เขตสาธร 22) สถานีกรุงเกษม และ 23) เขตบางรัก โดยวัดปริมาณฝนสะสมสูงสุดได้ที่เขตพระนคร ปริมาณฝน 203 มิลลิเมตร รองลงมาคือที่ สถานีคลองมอญ เขตบางกอกน้อย และ สถานีภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ ปริมาณฝน 195 มิลลิเมตร และ 188 มิลลิเมตร ตามลำดับ






 

  ข้อมูลโดย : สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร


         จากสถานการณ์ฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันนานถึง 6 ชม. ส่งผลให้มีน้ำท่วมขังสูงบนถนนสายหลักหลายสาย สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ได้รายงานน้ำเร่งระบายวันที่ 14 ตุลาคม 2560 เวลา 15.45 น. พบถนนถูกน้ำท่วมขังจำนวนทั้งสิ้น 55 เส้นทาง โดยสำนักการระบายน้ำได้เร่งระบายน้ำออกจากถนนสายหลัก ซึ่งถนนที่มีระยะเวลาน้ำท่วมขังน้อยที่สุดคือถนนลาดพร้าว (ซ.112 – คลองเจ้าคุณสิงห์) มีน้ำท่วมขังนาน 1 ชั่วโมง ในขณะที่ถนนเพชรเกษรม บริเวณเขตภาษีเจริญ ซอยเพชรเกษม 37 มีน้ำท่วมขังนานที่สุดถึง 21.15 ชั่วโมง



รายงานน้ำเร่งระบาย วันที่ 14 ตุลาคม 2560 เวลา 15.45 น.








สาหัส! น้ำท่วมขังทั่วกรุงเทพฯ หลังฝนถล่มกลางดึก [ PPTV : 14 ต.ค. 60 เวลา 08:01 น. ]

       เช้านี้การจราจรหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ เข้าขั้นสาหัส หลังหลายพื้นที่น้ำท่วมขัง จากเหตุฝนตกหนักเมื่อคืนที่ผ่านมา ส่งผลให้ระบายน้ำไม่ทัน
       วันนี้ (14 ต.ค.60) เวลาประมาณ 07.00 น. ผู้สื่อข่าวพีพีทีวีลงพื้นที่บริเวณ ถ.สุทธิสาร ถ.วิภาวดี  และถ.อินทามระ พบว่า มีน้ำท่วมขังสูงกว่าระดับฟุตปาธ คาดสาเหตุเบื้องต้นเกิดจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนักเมื่อกลางดึกที่ผ่านมา ทำให้คลองต่างๆ ระบายน้ำไม่ทัน
       ขณะที่วันนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง  อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.และเมื่อเวลา 04.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 4 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2560  ระบุว่า พายุโซนร้อน “ขนุน” (KHANUN) ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางหรือด้านตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ มีศูนย์กลางอยู่ที่ ละติจูด 16.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 118.1 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะไหหลำ ประเทศจีน และประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 15-17 ต.ค. 60 โดยจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเมื่อเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ทั้งนี้เนื่องจากความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ปกคลุมประเทศเวียดนามและลาวตอนบน พายุนี้ยังไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทยในระยะ 1-2 วันนี้ อนึ่ง ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง

       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงคืนวันที่ 13 ต.ค.60 ที่ผ่านมา พื้นที่กรุงเทพฯ เกิดฝนตกหนักทุกพื้นที่ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขัง เนื่องจากไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน โดยเพจเฟซบุ๊กสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร แจ้งเตือนเมื่อวันที่ ‪14 ต.ค.60 รายการน้ำท่วม เวลา 06.04 น. แถบสีเขียวแห้งปกติแล้ว ยังคงมีน้ำท่วมขังสูงในถนนหลายเส้นทาง เช้านี้ขอความร่วมมือ งดออกจากบ้าน ล่าสุดเมื่อเวลา 08.30 น. ยังคงมีน้ำท่วมขังสูงในถนนหลายเส้นทาง จากทั้งหมด 55 รายการ แห้งเป็นปกติ 26 รายการ คงเหลือ 29 รายการ





ฝนถล่มทั้งคืนคนกรุงอ่วมน้ำท่วมขังหลายจุด ‘วิภาวดี-สุขุมวิท’จม พระนครฝนสูงสุด 200 มม. [ ข่าวสด : 14 ต.ค. 60 เวลา 08.37 น. ]

               เมื่อวันที่ 14 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สืบเนื่องจากที่มีปริมาณฝนตกลงมาอย่างหนักตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา ทำให้มีน้ำท่วมขังบนถนนและซอยหลายสาย อาทิ ดินแดง, วิภาวดีรังสิต, ลาดพร้าว, จตุจักร, สุขุมวิท, เพชรเกษม, เอกมัย, พระราม 4, นราธิวาสราชนครินทร์, พระราม 9, รัชดา, สีลม, พญาไท, พระราม 1 โดยเฉพาะถนนวิภาวดีรังสิต ตั้งแต่ช่วงโรงพยาบาลวิภาวดีจนถึงดินแดง มีน้ำท่วมขังสูงกว่า 60 เซนติเมตร ทั้งขาเข้าและขาออก ทำให้รถเล็กไม่สามารถใช้งานได้ มีรถจอดติดจำนวนมากอีกทั้งมีรถยนต์ส่วนบุคคลจอดเสียเป็นระยะๆ โดยเฉพาะช่วง 5 แยกลาดพร้าว ซึ่งมีการก่อสร้างตลอดเส้นทาง
               นายณรงค์ เรืองศรี รองผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร เปิดเผยเมื่อ 02.28 น.ว่า ฝนหนักทั่วกรุงเทพมหานคร ได้รับรายงานมีน้ำท่วมขัง 21 จุด มีที่ 5 แยกณระนอง สวนพลู ดินแดง และที่หนักสุดอยู่ที่เขตพระนคร สนามหลวง วัดปริมาณน้ำฝนได้ 120 กว่ามิลลิเมตร เจ้าหน้าที่กำลังเร่งระบายน้ำ แต่ฝนก็ยังคงตกทุกจุดที่มีปัญหา มีเจ้าหน้าที่และเครื่องสูบน้ำเตรียมพร้อมอยู่แล้ว
               ส่วนบริเวณถนนราชดำเนินใน มีน้ำท่วมแต่เร่งดำเนินการระบายน้ำ ปริมาณฝน 170 กว่ามิลลิเมตร ที่ท่วมหนักๆ คือแถวดินแดง สุขุมวิท จตุจักร และกรุงเทพมหานคร ชั้นในรวม 50 กว่าจุด เจ้าหน้าที่เดินเครื่องสูบน้ำทุกตัวทั่วกรุงเทพมหานคร น้ำในคลองท่วมทั้งหมด ก่อนหน้านี้กรุงเทพมหานคร มีการพร่องน้ำรอไว้อยู่แล้ว แต่ฝนตกหนักมาก
               ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ล่าสุด เวลา 06.16 น. ยังมีน้ำท่วมที่ต้องเร่งระบาย ในพื้นที่เขตพญาไท บางซื่อ จตุจักร และถนนสุขุมวิท ต้องเร่งระบาย ปริมาณฝนในเขตพระนคร เมื่อคืนนี้ฝนตกหนักสูงสุด 200 มิลลิเมตร ทำให้มีน้ำท่วมขังสูงในหลายพื้นที่ ปัจจุบันสถานการณ์น้ำท่วมขังรอบๆ พระบรมมหาราชวัง ถ.พระลาน ถ.ท้ายวัง ถ.สนามชัย ถ.ราชดำเนินนอก ถ.ราชดำเนินใน เข้าสู่ภาวะปกติ แล้ว แต่ยังเหลือในเมืองในพื้นที่เขตจตุจักร บางซื่อ คลองเตย เจ้าหน้าที่ภาคสนามลงพื้นที่เร่งระบายน้ำกันอย่างเต็มที่
               ด้าน ร.ต.ต.ไกรยงค์ ปาลวีรภัทร รองสว.จร. สน.ทองหล่อ ระบุว่า เมื่อเวลา 05.12 น. บริเวณถ.สุขุมวิท ขาเข้า เอกมัย-อโศก น้ำท่วมเสมอทางเท้า ตลอดเส้นทาง มีรถเสีย











ถนน ”กรุงเทพ” อ่วมหลายเส้นทาง หลังฝนตกนาน 6 ชั่วโมง - กทม.เร่งระบายน้ำ [ ThaiPBS : 14 ต.ค. 60 เวลา 08.57 น. ]

               ฝนตกหนักในเขตพื้นที่ กทม.นาน 6 ชั่วโมง ตั้งแต่กลางดึกของคืนที่ผ่านมา เขตพระนครมีปริมาณฝนสูงสุด 203 มิลลิเมตร ส่งผลน้ำท่วมขังสูงในพื้นที่ชุมชนและถนนสายหลัก เช่น วิภาวดีรังสิต 40-50 ซม. ถนนอินทามะระ ถนนพหลโยธิน น้ำท่วมขังสูง
               วันนี้ (14 ต.ค.2560) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงหลังเที่ยงคืนที่ผ่านมา มีฝนตกลงมาอย่างหนักติดต่อกันนานหลายชั่วโมง ทำให้พื้นที่ กทม. หลายจุดมีปริมาณน้ำท่วมขังสูง โดยในช่วงเช้าวันนี้ จากการสำรวจพบว่ายังมีถนนที่น้ำท่วมขังอยู่ และควรหลีกเลี่ยงหลายจุด
               นายสรรเสริญ เรืองฤทธิ์ หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมระบบป้องกันระบบน้ำท่วม สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ ระบุว่า เมื่อวันที่ 14 ต.ค.60 ปริมาณฝนสะสม 6 ชั่วโมง กลางดึกที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มม. หลายพื้นที่ โดยมีปริมาณฝนสูงสุดที่เขตพระนคร 203 มิลลิเมตร เขตบางกอกน้อย 195 มิลลิเมตร เขตภาษีเจริญ 188 มิลลิเมตร เขตราชเทวี 177 มิลลิเมตร และเขตจอมทอง 178 มิลลิเมตร จึงขอความร่วมมือประชาชนชาว กทม.งดออกจากบ้าน ในบริเวณพื้นที่ที่ยังคงมีน้ำท่วมขังสูง พื้นที่แถบสีขาว ขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งระบาย
               ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับถนนที่ยังมีรายงานน้ำท่วม ได้แก่
1.ถนนวิภาวดีรังสิตขาเข้า หน้าปากซอยวิภาวดี 16 (ซอยโชคชัยร่วมมิตร) น้ำยังท่วมสูง เฉลี่ยประมาณ 40-50 ซม. รถเล็กควรเลี่ยงเส้นทาง 
2.หน้าเขตจตุจักร-ห้าแยกลาดพร้าว น้ำประมาณ 30 ซม. หน้า เซนต์จอห์น น้ำประมาณ 50 ซม. 
3.หน้า ร.ร.สุรศักดิ์มนตรี น้ำสูงประมาณ 60 ซม.จุดกลับรถใต้ด่วนดินแดง น้ำสูงประมาณ 60 ซม.
4.ภายในซอยศูนย์วิจัย ทั้งซอยและถนนเพชรบุรี หน้าตึกชาญอิสระ น้ำท่วมสูง รถเล็กผ่านไม่ได้ได้
5.ภายในซอยราชวิถี 32 น้ำท่วมขังสูงมาก
6.ภายในซอยสุขุมวิท 65 น้ำท่วมขังสูงประมาณ 30 ซม.
7.ถนนอินทามระ ถนนประชาสุข ต่อเนื่องไปถึงแยกสุทธิสาร-วิภาวดีน้ำท่วมสูงระดับทางเท้า
8.ถนนพหลโยธิน หน้าสวนจตุจักร ประตู 3 น้ำท่วมสูงระดับทางเท้า
9.ภายในซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 14 มีน้ำท่วมพื้นผิวการจราจรระดับทางเท้า
10.ภายในซอยพระราม 2 ซอย 42 มีน้ำท่วมขังสูง
11.ถนนรัชดาฯ ขาเข้ามุ่งหน้าสี่แยกรัชดา-ลาดพร้าว มีน้ำท่วมขังสูง และช่วงมุ่งหน้าสุทธิสาร มีรถเสียหลายคัน 
ศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพมหานคร รายงานเวลา 08.30 น.กรณีน้ำเร่งระบายทั้งหมด 55 จุด แห้งเป็นปกติ 26 จุดคงเหลือ 29 จุด
เวลา 09.00 น. เร่งระบายน้ำท่วมขังถนนทั้งหมด 55 จุด แห้งเป็นปกติ 30 จุด คงเหลือ 25 จุด
เวลา 09.30 น. เร่งระบายน้ำท่วมขังถนนทั้งหมด 55 จุด แห้งเป็นปกติ 33 จุด คงเหลือ 22 จุด
เวลา 10.00 น. เร่งระบายน้ำท่วมขังถนนทั้งหมด 55 จุด แห้งเป็นปกติ 35 จุด คงเหลือ 20 จุด
เวลา 12.50 น.เร่งระบายน้ำท่วมขังถนนทั้งหมด 55 จุด แห้งเป็นปกติ 49 จุด คงเหลือ 6 จุด