บันทึกเหตุการณ์ฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (30 ม.ค.51)


ภาพดาวเทียม GOES-9    


30/01/2008 : 00GMT


30/01/2008 : 01GMT


30/01/2008 : 02GMT


30/01/2008 : 03GMT

30/01/2008 : 04GMT

30/01/2008 : 05GMT

30/01/2008 : 06GMT

30/01/2008 : 07GMT
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 จะเห็นได้ว่ามีจุดเมฆเล็ก ๆ ปกคลุมบริเวณกรุงเทพมหานครในช่วงเช้าวันที่ 30 ม.ค. โดยเฉพาะเวลา10-11 น. ที่เมฆค่อนข้างหนามากกว่าช่วงเวลาอื่น เป็นผลทำให้เกิดฝนตกในพื้นที่ดังกล่าว

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพแผนที่อากาศ  

30/01/2008 00UTC

30/01/2008 06UTC

30/01/2008 12UTC

30/01/2008 18UTC
จากภาพแผนที่อากาศจะเห็นได้ว่าเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำในบริเวณภาคกลางซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดฝนตก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา          

ดอนเมือง : 30/01/2008
01:35 GMT

ดอนเมือง : 30/01/2008
02:35
GMT

ดอนเมือง : 30/01/2008
03:35
GMT

ดอนเมือง : 30/01/2008
04:35
GMT

ดอนเมือง : 30/01/2008
05:35
GMT

ดอนเมือง : 30/01/2008
06:35
GMT

สุวรรณภูมิ : 29/01/2008
22:30
GMT

สุวรรณภูมิ : 29/01/2008
23:30
GMT

สุวรรณภูมิ : 30/01/2008
00:30
GMT

สุวรรณภูมิ : 30/01/2008
01:30
GMT

สุวรรณภูมิ : 30/01/2008
02:30
GMT

สุวรรณภูมิ : 30/01/2008
03:30
GMT
ภาพเรดาร์จากระบบเครือข่ายของกรมอุตุนิยมวิทยา พื้นที่สีเขียวและสีส้มหมายถึงบริเวณที่มีฝนตก จากเรดาร์ดอนเมืองรัศมี่ 60 กม. และเรดาร์สุวรรณภูมิ รัศมี 240 กม. จะเห็นได้ว่ามีฝนเกาะกลุ่มอยู่ในบริเวณกรุงเทพมหานครซึ่งครอบคลุมไปถึงพื้นที่ปริมณฑล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เรดาร์ดอนเมือง
เรดาร์สุวรรณภูมิ
 


ปริมาณฝนจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา

3/10/2007

จากรายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา ณ เวลา 7.00 น. ของวันที่ 31 มกราคม 2551 พบว่า ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มี่รายละเอียดดังนี้

สถานี
ปริมาณฝนสะสม (มม.)
ท่าเรือกรุงเทพฯ
65.9
ศูนย์สิริกิติ์
62.1
บางนา (1)
7.8

รายละเอียดเพิ่มเติม

 

ข่าวจากหนังสือพิมพ์

สัญญาณโลกร้อนฝนตกผิดปกติเตือนรับมือฤดูฝนมาเร็ว [ คมชัดลึก : 31 ม.ค. 51]

เมื่อเช้าวันที่ 30 มกราคม ที่ผ่านมา เกิดฝนตกหนักทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ การจราจรติดขัดหลายจุด นายสัญญา ชีนิมิตร รองผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ฝนที่ตกในหลายพื้นที่ของ กทม.เป็นเวลากว่า 4 ชั่วโมง ส่งผลให้บริเวณพื้นที่ฝั่งตะวันออกของ กทม. อาทิ เขตสะพานสูง มีน้ำท่วมขังบนผิวถนน 150 มิลลิเมตร บริเวณซอยย่อยถนนกรุงเทพกรีฑา เขตประเวศ 130 มิลลิเมตร เขตบึงกุ่ม 80 มิลลิเมตร และพื้นที่ชั้นใน อาทิ บริเวณถนนหน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย มีน้ำท่วมขังบนผิวถนน 60 มิลลิเมตร เขตจตุจักร และเขตดินแดง 45-50 มิลลิเมตร ทำให้การจราจรในพื้นที่ดังกล่าวติดขัดและเคลื่อนตัวได้ช้า เนื่องจากระบบระบายน้ำค่อนข้างช้า เพราะหน้าตะแกรงท่อระบายน้ำบนผิวถนนมีเศษขยะและเศษใบไม้อุดตันจำนวนมาก กทม.จึงส่งเจ้าหน้าที่หน่วยเบสต์ เข้าพื้นที่เร่งเก็บเศษขยะบริเวณปากท่อระบายน้ำ ทำให้ระบายน้ำบนผิวถนนได้คล่องขึ้น

ส่วนสาเหตุที่เกิดฝนตกผิดฤดูนั้น นายสมชาย ใบม่วง ผู้อำนวยการสำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า เกิดจากแนวลมพัดสอบของลมใต้ และลมตะวันออกเฉียงใต้ปกคลุมประเทศไทยตอนบนพัดปกคลุมพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก ซึ่งเป็นสภาพอากาศที่กำลังเข้าเปลี่ยนฤดู จากหน้าหนาวเข้าสู่หน้าร้อน ลักษณะนี้จะทำให้มีฝนตกในระยะ 2-3 วันต่อจากนี้ และจากนั้นในวันที่ 31 มกราคม-1 กุมภาพันธ์นี้ บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนระลอกใหม่จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ทำให้มีฝนตกและอุณหภูมิจะลดลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าจากนั้นในช่วงวันที่ 2-5 กุมภาพันธ์นี้ บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน มีกำลังอ่อนลงและมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและประเทศไทย    

ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (START) กล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าฝนที่ตกหนักในหลายพื้นที่โดยเฉพาะ กทม. ปริมณฑล และพื้นที่ต่างจังหวัด ถึงแม้จะเกิดจากแนวลมพัดสอบในช่วงที่มีการเปลี่ยนลมมรสุมก็จริง แต่ก็ถือว่ามาผิดช่วง ผิดเวลา และยังมาแรงผิดปกติด้วย ทั้งนี้ตามปกติฝนตกในช่วงดังกล่าวที่เรียนกว่าฝนชะช่อมะม่วงน่าจะมาช่วงเดือนกุมภาพันธ์ หรือเดือนมีนาคม แต่หนนี้มีปัจจัยเรื่องสภาพอากาศ ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่มีอากาศเย็นมาเป็นระลอกๆ และอุ่นๆ เย็นอยู่หลายช่วง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้อากาศร้อนชื้นมาเจอกับอากาศเย็น ทำให้ฝนตกหนักเหมือนกับกรณีที่เกิดหมอกหนาหลายครั้งในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา  

 “เริ่มสังเกตว่าช่วงเดือนมกราคมของหลายปีที่ผ่านมา กลายเป็นเดือนที่มีฝนมากขึ้น ซึ่งผมตั้งข้อสังเกตว่ามีความเป็นไปได้ว่าจะมีอิทธิพลจากภาวะโลกร้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งไม่ใช่ว่าต้องเกิดเป็น ประจำทุกปี หรือถ้าเกิดซ้ำกันก็เริ่มชัดขึ้น และหากชัดเจนแล้ว อนาคตต่อไปก็อาจจะต้องเตรียมการที่จะรับฝนต้นช่วงตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไป แทนที่จะดูฝนในฤดูฝนปกติคือระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีการทำวิจัยและคาดการณ์ปริมาณฝนในช่วงปี 2551 ให้กรมชลประทาน คาดว่าฝนปีนี้จะปกติ คือไม่มากและไม่น้อยจากค่าเฉลี่ย โดยอยู่ระหว่างการสรุปผลการวิจัยเชิงสถิติให้แก่กรมชลประทาน จึงจะเปิดเผยรายละเอียดได้” ดร.อานนท์ กล่าว

 ด้าน ดร.จิรพล สินธุนาวา นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล และอุปนายกสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ฝนที่ตกลงมานั้นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีของประเทศไทย ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกกันว่า ฝนตกชะช่อมะม่วง แต่ที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิมคือปริมาณฝนที่ตกลงมาเมื่อวันที่ 30 มกราคม มีปริมาณสูง อย่างไรก็ตาม สภาพเช่นนี้คงไม่นาน ภายในวันสองวันน่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

 ดร.จิรพล กล่าวต่อว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนี้เกิดจากความชื้นจากมหาสมุทรแปซิฟิก ที่แพร่เข้ามาในทะเลอ่าวไทย อันสืบเนื่องมาจากอิทธิพลของปรากฏการณ์ลานินญ่า ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวจะทำให้มีปริมาณฝนตกลงมาอย่างหนัก ซึ่งในปีนี้ทั่วโลกจะมีฝนตกลงมาจำนวนมาก จนอาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมสูงในหลายพื้นที่ ซึ่งอิทธิพลดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 "ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยที่สภาวะอากาศแปรปรวน ในต่างประเทศอย่างเช่น จีน อิหร่าน มีหิมะตกลงมาอย่างหนัก เกิดขึ้นเพราะความแปรปรวนของสภาพอากาศ อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยคงไม่มีเรื่องหิมะตก แต่จะประสบกับปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก และฝนจะมาเร็วกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้หลายพื้นที่ต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมสูง ทุกภาคส่วนควรเตรียมความพร้อมในการรับมือไว้แต่เนิ่นๆ" ดร.จิรพล กล่าว


อ้างอิง

  • หนังสือพิมพ์คมชัดลึก www.komchudluek.net
  •