บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมจากพายุโซนร้อน "เลกิมา" ( ต.ค. 50)

ภาพเส้นทางพายุ

5/10/2007 15:24:02GMT
ในวันที่ 30 ก.ย. 50 พายุเลกิมา ได้ก่อตัวขึ้นที่ทะเลจีนใต้ และเคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ ไปทางทิศตะวันตกเข้าสู่ประเทศเวียดนาม และได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนในวันที่ 3 ต.ค. 50 โดย มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออก ห่างจากจังหวัดนครพนมประมาณ 450 กิโลเมตร หรือที่ ละติจูด 18.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้เกิดฝนตกในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกบริเวณจังหวัดนครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี หลังจากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำและเคลื่อนตัวผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ในช่วงวันที่ 4-5 ต.ค. 50

ภาพดาวเทียม GOES-9    


1/10/2007 : 17GMT


2/10/2007 : 12GMT


3/10/2007 : 17GMT


4/10/2007 : 16GMT

5/10/2007 : 15GMT

6/10/2007 : 14GMT

7/10/2007 : 14GMT

8/10/2007 : 10GMT
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 จะเห็นได้ว่ามีกลุ่มเมฆค่อนข้างหนาปกคลุมในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ตั้งแต่วันที่ 1-8 ต.ค. เป็นผลให้มีฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในหลายบริเวณ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพแผนที่อากาศ      

1/10/2007

2/10/2007

3/10/2007

4 /10/2007

5 /10/2007

6 /10/2007

7 /10/2007

8 1/10/2007
จากภาพแผนที่อากาศจะเห็นได้ว่าในวันที่ 3-4 ต.ค. 50 พายุดีเปรสชั่น "เลกิมา" ได้ิเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน และได้ลดกำลังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในวันต่อมา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา              

สกลนคร : 1/10/2007

สกลนคร : 2/10/2007

สกลนคร : 3/10/2007

สกลนคร : 4/10/2007

สกลนคร : 5/10/2007

สกลนคร : 6/10/2007

สกลนคร : 7/10/2007

สกลนคร : 8/10/2007

ขอนแก่น : 1/10/2007

ขอนแก่น : 2/10/2007

ขอนแก่น : 3/10/2007

ขอนแก่น : 4/10/2007

ขอนแก่น : 5/10/2007

ขอนแก่น : 6/10/2007

ขอนแก่น : 7/10/2007

ขอนแก่น : 8/10/2007
ภาพเรดาร์จากระบบเครือข่ายของกรมอุตุนิยมวิทยา พื้นที่สีเขียวและสีส้มหมายถึงบริเวณที่มีฝนตก จากภาพเรดาร์สกลนครและเรดาร์ขอนแก่น จะเห็นได้ว่าตั้งแ่ต่วันที่ 1 ต.ค.เริ่มมีกลุ่มฝนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคเหนือโดยผ่านบริเวณจังหวัด หนองคาย มุกดาหาร นครพนม อุดรธานี ร้อยเอ็ด ขอนแก่นสุรนทร์ อุบลราชธานี เลย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก พิจิต ตาก เป็นผลทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ เช่น เพชรบูรณ์ พิษณุโลก พิจิตร เป็นต้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เรดาร์สกลนคร
เรดาร์ขอนแก่น
 

ปริมาณฝนสะสม      

1/10/2007 : 12am

2 /10/2007 : 00am

3 /10/2007 : 12am

4 /10/2007 : 12am

5 /10/2007 : 00am

6 /10/2007 : 12am

7 /10/2007 : 00am

8/10/2007 : 12am
แผนภาพฝนสะสมรายวันจัดทำโดยสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา จากภาพบริเวณพื้นที่สีฟ้าและสีเขียวแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน จะเห็นได้ว่า ปริมาณกลุ่มฝนค่อนข้างมากได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 4-5 ต.ค. ที่ปริมาณฝนมากที่สุดดังจะเห็นได้จากพื้นที่สีเขียวบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ เลย พิษณุโลก พิจิตร

รายละเอียดเพิ่มเติม


ภาพถ่ายดาวเทียม Radar-SAT-10/10/2007 (คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)

ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม RADARSAT-1 แสดงพื้นที่น้ำท่วมวันที่ 10 ต.ค. 50 เวลาประมาณ 18.14 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี พบว่า บริเวณที่มีน้ำท่วมสูงสุดคือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีพื้นที่น้ำ่่ท่วม 11,480 ไร่ รองลงมาคือพื้นที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย โดยมีพื้นที่น้ำ่ท่ีวม 11,025 ไร่ ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม RADARSAT-1 สดงพื้นที่น้ำท่วมวันที่ 10 ต.ค.50 เวลาประมาณ 18.14 น. บริเวณบางส่วนของจัึงหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และ สุรินทร์ พบว่า บริเวณที่มีน้ำท่วมสูงสุดคือ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีพื้นที่น้ำท่วม 8,790 ไร่ รองลงมาคือ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา โดยมีพื้นที่น้ำท่วม 8,650 ไร่

ภาพถ่ายดาวเทียม Radar-SAT-7/10/2007    

ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม RADARSAT-1 แสดงพื้นที่น้ำท่วมวันที่ 7 ต.ค. 50 เวลาประมาณ 18.02 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม ยโสธร ร้อยเอ็ด สกลนครและอำนาจเจริญ พบว่ามีพื้นที่น้ำท่วมมากที่สุดบริเวณอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีพื้นที่น้ำท่วม 19,545 ไร่ รองลงมาคือ พื้นที่อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร โดยมีพื้นที่น้ำท่วม 16,505 ไร่ ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม RADARSAT-1 แสดงพื้นที่น้ำท่วมวันที่ 7 ต.ค. 50 เมื่อเวลาประมาณ 18.02 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดนครพนม สกลนคร หนองคาย และอุดรธานี พบว่า พื้นที่น้ำท่วมสูงสุดอยู่ที่อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพม ซึงมีพื้นที่น้ำท่วมทั้งหมด 26,265 ไร่ รองลงมาคือพื้นที่อำเภออากาศอำนวยจังหวัดสกลนคร โดยมีพื้นที่น้ำท่วม 17,095 ไร่ ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม RADARSAT-1 แสดงพื้นที่น้ำท่วมวันที่ 7 ต.ค. 50 เวลาประมาณ 18.02 น. บริเวณบางส่วนของจังหวัดร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญและอุบลราชธานี พบว่า มีพื้นที่น้ำท่วมสูงสุดบริเวณอำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีพื้นที่น้ำท่วม 6,850 ไร่ รองลงมาคือ พื้นที่อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพื้นที่น้ำท่วมทั้งหมด 6,005 ไร่

ปริมาณฝนจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา

3/10/2007

4/10/2007

5/10/2007

6/10/2007

7/10/2007

8/10/2007
จากรายงานข้อมูลปริมาณฝนสะสมจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงที่เกิดพายุ "เลกิมา" หรือช่วงต้นเดือนตุลาคม 50 ปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมง บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณสูงสุดในวันที่ 5 ต.ค. ที่สถานีเพชรบูรณ์ โดยมีปริมาณฝน 143.10 มิลลิเมตร รองลงมาคือ วันที่ 4 ต.ค. ปริมาณฝนสะสมสูงสุดที่สถานีนครพนม โดยมีปริมาณฝน 127.60 มิลลิเมตร และจากตารางแสดงปริมาณฝนสะสมยังพบอีกว่า ในวันที่ 4 ต.ค. ปริมาณฝนสะสมที่มีปริมาณค่อนข้างสูงกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนบริเวณจังหวัด นครพนม สกลนคร มุกดาหาร และในวันที่ 5 ต.ค. ปริมาณฝนสะสมที่มีค่าค่อนข้างสูงได้เคลื่อนตัวมาในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง บริเวณจังหวัด เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อันเป็นผลมาจากการเคลื่อนตัวของพายุ"เลกิมา" ที่พาดผ่านบริเวณดังกล่าว

รายละเอียดเพิ่มเติม

 

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ    

เขื่อนอุบลรัตน์

เขื่อนจุฬาภรณ์

เขื่อนน้ำพุง

เขื่อนภูมิพล

เขื่อนสิริกิติ์

เขื่อนแม่งัด
ข้อมูลน้ำในเขื่อนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จะพบว่าในช่วงต้นเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำไหลลงอ่างของเขื่อนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น

ข้อมูลเพิ่มเติม

ข่าวจากหนังสือพิมพ์

"เลกิมา"ถล่ม"ตราด"ท่วมกว่า 20 หมู่บ้าน [ มติชน : 3 ต.ค. 50 ]

พายุโซนร้อน "เลกิมา" ในทะเลจีนใต้ทำให้เกิดฝนตกในหลายพื้นที่ โดยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ฝนที่ตกติดต่อกันหลายวันทำให้เกิดดินพังถล่มทับเส้นทางการจราจรถนนสายในแขวงบ้านทุ่งควน ต.นาตาล่วง อ.เมืองตรัง ที่ จ.สตูล ได้เกิดพายุและฝนฟ้าคะนอง ทำให้บ้านเรือนประชาชนในพื้นที่หมู่ 3 ต.ขอนคลาน อ.ทุ่งหว้า เสียหาย 6 หลังคาเรือน ส่วนที่ จ.ตราด ได้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ ต.วังกระแจะ อ.เมืองตราด ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 60 เซนติเมตร บ้านเรือนประชาชนกว่า 100 หลังได้รับความเดือดร้อน ขณะที่ ต.เขาสมิง ต.แสนตุ้ง อ.เขาสมิง มีบ้านเรือนถูกน้ำท่วมกว่า 20 หมู่บ้าน โดยเฉพาะในพื้นที่บ้านชุมแสง บ้านลำภูราย มีน้ำท่วมสูง 1.50-2 เมตร


"ปลัดกระทรวงทรัพยากรฯ"คาดน้ำท่วมปีนี้ยังไม่หนักเท่าปีก่อน [ผู้จัดการออนไลน์ : 11 ต.ค. 50 ]

"ปลัดกระทรวงทรัพยากรฯ"สั่งรายงานข้อมูลน้ำต่อนายกฯทุกสัปดาห์ คาดสถานการณ์น้ำท่วมจะไม่หนักเท่ากับปีก่อน และรับมือพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ที่เคยเจอน้ำท่วมขังได้ จากรายงานพบว่า ที่ จ.พิษณุโลก นครสวรรค์ พิจิตร กำลังประสบภาวะน้ำท่วมจากพายุที่พัดผ่านเข้ามา และถือเป็นภาวะวิกฤติน้ำที่ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เนื่องจากต้องมีการระบายน้ำเหนือลงมา ทั้งนี้ระดับ พื้นที่ต้องเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่เสี่ยง เชื่อว่าสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ ไม่น่าจะรุนแรงเท่ากับปี 2549 แต่ก็มีความเป็นห่วงว่าหากมีพายุเข้ามาอีกอาจส่งผลให้มีน้ำฝนมากจนเกินการรองรับของอ่างเก็บน้ำได้ ทางด้านกระทรวงทรัพยากรน้ำจึงจะประสานกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยี อวกาศและภูมิสารสนเทศ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการบูรณาการข้อมูลการพยากรณ์เส้นทางพายุล่วงหน้า นอกเหนือการนำข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยามาวิเคราะห์สถานการณ์ น้ำเพื่อจะได้ประกาศเตือนภัยให้กับชาวบ้านได้เร็วขึ้น รวมทั้งใช้ภาพถ่ายดาวเทียมมาเปรียบเทียบข้อมูลก่อน และหลังน้ำท่วมขัง สำหรับเตรียมวางแผนรับมือสถานการณ์น้ำท่วม น้ำแล้งในปี ต่อไป เชื่อว่า จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะพ้นวิกฤติน้ำท่วม ถึงแม้ว่าปีนี้จะมีฝนมาเร็วกว่าทุกปีก็ตาม แต่พบว่าปริมาณน้ำฝนยังน้อยกว่าปี 2549 ที่มีน้ำฝนสะสมถึง 1,451 มม. ขณะที่ช่วงพ.ค.-ต.ค.50 มีฝนสะสม 1,347 มม. แต่ก็ยังสูงกว่า ค่าเฉลี่ยฝนในรอบ 30 ปีที่มีสถิติ 1,278 มม. เท่านั้น คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะไม่หนักเท่ากับปีก่อน เพราะขณะนี้ปริมาณน้ำในอ่างรวม 55,752 ล้านลบ.ม. ยังรองรับได้อีก 7,339 ล้านลบ.ม.ยกเว้นที่เขื่อนลำปาว มีน้ำมากถึง 115% เขื่อนน้ำอูน 97% เขื่อนน้ำพุง 96% เขื่อนขุนด่านปราการชล90% ซึ่งกรมชลประทานก็เตรียมการระบายน้ำออกบางส่วนแล้วได้

สำหรับพื้นที่ประสบน้ำท่วมขณะนี้ได้แก่ จ.เชียงราย สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ เลย หนองคาย ระนอง โดยเฉพาะที่จ.พิษณุโลก เชียงใหม่ เชียงราย พบว่า ตั้งแต่เดือนพ.ค.-ต.ค.มีน้ำท่วมถึง 5 ครั้ง ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำจะเร่งเข้าไปแก้ไข “ส่วนจังหวัดในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ที่เคยเจอน้ำท่วมขังหนัก โดยเฉพาะ จ. อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นั้นขณะนี้ยังคงรับมือได้ เนื่องจากการระบายน้ำจากจ. นครสวรรค์ ยังมีศักยภาพในการรับน้ำได้ถึง 3,252 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งปัจจุบันมีน้ำไหลผ่านเพียง 1,449 ลบ.ม.ต่อวินาที ถือว่ายังน้อยกว่าปีก่อนที่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่มีน้ำไหลผ่านถึง 4,000 ลบ.ม.ต่อวินาที

พิษ”เลกิมา”ถล่มจ.อุดรฯเสียหายกว่า 2,500 ครอบครัว [ ผู้จัดการออนไลน์ : 11 ต.ค. 50 ]

ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาต่อเนื่องกันนานหลายวัน จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “เลกิมา” ได้สร้างความเสียหายให้กับราษฎรกว่า 2,500 ครอบครัว 10,500 คนใน 3 ตำบล ถนนถูกกระแสน้ำกัดเซาะพังไปแล้วจำนวน 47 สาย ,นาข้าว 1,000 ไร่ ,มัน 200 ไร่ ,บ่อปลา 200 ไร่ และยางพารา 150 ไร่ ความเสียหายโดยรวมเบื้องต้นประมาณ 5 ล้านบาท จากการตรวจสอบยังไม่พบว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ซึ่งคาดว่าหากฝนไม่ตกลงมาอีกภายใน 2-3 วัน ทั้ง 3 ตำบลก็คงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ชาวอุบลฯ อพยพหนีน้ำท่วมเกือบร้อยครอบครัว [ ผู้จัดการออนไลน์ : 11 ต.ค. 50 ]

อุบลราชธานี - ระดับน้ำแม่น้ำมูลสูงขึ้นรวดเร็วต่อเนื่อง ชาวบ้านในเขตอันตรายเริ่มอพยพมาอยู่ที่ทางการจัดให้แล้ว 82 ครอบครัว สำหรับสถานการณ์น้ำมีแนวโน้มสูงขึ้นอีก เพราะยังมีฝนตกในพื้นอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดอุบลราชธานีว่า ยังทวีความรุนแรงมากขึ้น เพราะระดับน้ำในแม่น้ำมูลสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในระยะ 2 วันที่ผ่านมา ระดับน้ำได้ปรับระดับเพิ่มขึ้นวันละกว่า 2-3 เซนติเมตร ทำให้ระดับน้ำวัดที่สะพานเสรีประชาธิปไตยมีความสูง 7.04 เมตร และไหลท่วมชุมชนท่าบังมั่ง ชุมชนหาดสวนยา ชุมชนบ่อบำบัดน้ำเสีย ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ ทำให้ชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมบ้านเรือนในระดับอันตราย เริ่มอพยพขึ้นมาอยู่ตรงจุดที่เทศบาลจัดให้คือ ด้านหลังสำนักงานที่ดินอำเภอ โดยวันนี้ มีประชาชนอพยพหนีภัยน้ำท่วมแล้ว 82 ครอบครัว

ผู้ว่าฯ กาฬสินธุ์ย้ำ เขื่อนลำปาวไม่แตก แม้สถานการณ์น้ำท่วมน่าวิตก [ ผู้จัดการออนไลน์ : 11 ต.ค. 50]

กาฬสินธุ์ - ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ย้ำเขื่อนลำปาวไม่แตก หลังตรวจสอบสภาพความแข็งแรงเต็มร้อย ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ยังน่าเป็นห่วง เนื่องจากระดับน้ำชีหนุนสูงส่งผลให้การระบายน้ำจากเขื่อนลำปาว เกิดน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตรและบ้านเรือนราษฎรในหลายพื้นที่ ทั้ั้งนี้ปริมาณน้ำที่เกินพิกัดของเขื่อนลำปาวขณะนี้มีน้ำอยู่ที่ 267 ล้าน ลบ.ม. โดยมีปริมาณน้ำในเขื่อนอยู่ที่ 1,703 ล้าน ลบ.ม. แต่เนื่องจากมีกระแสน้ำล้นในแต่ละวันมากกว่า 30 ล้าน ลบ.ม.เกษตรกรจึงเกรงว่าน้ำที่ท่วมขังจะทำให้นาข้าวที่เริ่มออกรวงได้รับความเสียหาย จึงต้องการให้เขื่อนลำปาว ยกฝายยางเพื่อชะลอการไหลของน้ำในลำน้ำปาวที่จะทำให้ปริมาณน้ำในลำน้ำชีลดปริมาณลง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพบว่ายังมีปริมาณฝนและน้ำไหลเข้าเขื่อนอย่างต่อเนื่อง ที่ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ ราษฎรบ้านคำคา กว่า 1,000 ครอบครัวกำลังประสบปัญหาน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านและถนน ซึ่งในวันนี้ทางจังหวัดจะได้นำถุงยังชีพ น้ำดื่มสะอาด และเวชภัณฑ์ทางยาเข้าไปรักษาเนื่องจากพบว่ามีชาวบ้านเริ่มป่วยเป็นโรคระบาดทางน้ำเพิ่มมากขึ้นแล้ว

พิษน้ำท่วมทำเลยเสียหาย50ล้าน พิษณุโลกนาข้าวจมน้ำนับแสนไร่ [ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : 11 ต.ค. 50 ]

พิษน้ำท่วมจาก"พายุเลกีมา"สร้างความเสียหายทั่วประเทศ จังหวัดเลยสรุปความเสียหายทั่วทั้งจังหวัดกว่า 50 ล้านบาท พิษณุโลกพื้นที่เกษตรเสียหายกว่า1.8แสนไร่ ร้อยเอ็ดพนังกั้นน้ำทรุด-อุบลฯน้ำมูลเอ่อล้นอพยพชาวบ้านหนี-กาฬสินธุ์เดือดร้อย 1 พันครัวเรือน

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเลย เปิดเผยความเสียหายจากเหตุน้ำท่วมในพื้นที่ จ.เลย ซึ่งเป็นผลมาจากพายุเลกีมา เบื้องต้นพบว่า มีราษฎรได้รับความเดือดร้อนใน 14 อำเภอ 60 ตำบล 516 หมู่บ้าน รวม 112,208 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 31,875 ไร่ ถนน 860 สาย ท่อระบายน้ำ 700 แห่ง และจะมีการสำรวจความเสียหายอื่น ๆ ภายหลังน้ำลด ประเมินความเสียหายทั้งจังหวัดจากน้ำท่วมครั้งนี้ประมาณ 50 ล้านบาท ด้านสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก รายงานสรุปสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค. มีพื้นที่ประสบภัย 7 อำเภอ 42 ตำบล 192 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อนกว่า 15,000 ครอบครัว พื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะนาข้าว พืชไร่ พืชสวน เสียหายกว่า 180,000 ไร่ และมีประชาชนจมน้ำเสียชีวิต 4 ราย ส่วนที่ จ.ร้อยเอ็ด นายสุนทร ทินบุตร ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านมะบ้า ต.บึงงาม อ.ทุ่งเขาหลวง เปิดเผยว่า จากการออกสำรวจพนังกั้นน้ำ ช่วงวัดคุ้งคงคา บริเวณบ้านมะบ้า พบว่าตลิ่งริมฝั่งแห่งนี้พังทรุดลงทุกวัน พนังกั้นน้ำมีรอยร้าว ด้านล่างเป็นโพรง หากระดับน้ำสูงขึ้น เกรงว่าพนังจะพังลงมา ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้กับนาข้าวกว่า 5,000 ไร่ และบ้านเรือนประชาชน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านมะบ้า บ้านนางาม บ้านวังทอง บ้านหนองไชยวาน และบ้านดอนแก้ว จึงอยากให้หน่วยงานรัฐเข้ามาช่วยเหลือโดยด่วน

อธิบดีเตือนภาคใต้ระวังน้ำท่วม แจงครม.อีสาน-เหนือคลี่คลาย [ คมชัดลึก : 9 ต.ค. 50 12:27]

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) กระทรวงมหาดไทย รายงานถึงสถานการณ์พายุไต้ฝุ่น“เลกิมา”ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ว่า ขณะนี้สถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้วและสามารถรับมือได้ ทางเหนือและภาคอีสาน สถานการณ์น่าเบาบางลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ภาคใต้คงต้องระมัดระวัง และ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ทำงานเชื่อมกับปภ.ตลอด 24 ชั่วโมง ถ้ามีอะไรก็แจ้งเตือนได้ทันที ซึ่งการแจ้งเตือนภัยในลักษณะการส่ง sms เป็นหน้าที่ของศูนย์เตือนภัยฯ ส่วนในวันที่ 9 ตุลาคม 2550 ระดับน้ำจาก อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ได้ไหลเข้ามาลงคลองโคกช้าง ต.อรัญญิก อ.เมืองพิษณุโลก และไหลเข้าท่วมคลอง จนทำใหก้น้ำเอ่อล้น เข้าท่วมทุ่งนาและบ้านเรือนราษฏรในหมู่ที่ 6 หมู่ที่ 10 ต.อรัญญิก ด้านหลังโรงแรมอมรินทร์ ลากูน อย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำท่วมขังเป็นวงกว้างหลายตารางกิโลเมตร ชาวบ้านโดยเฉพาะหมู่ที่ 10 ต. อรัญญิก ได้รับผลกระทบหนักสุด

ที่ ต.อรัญญิก อ.เมืองพิษณุโลก น้ำได้เริ่มท่วมหมู่บ้านตั้งแต่เย็นวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ขณะนี้น้ำยังท่วมบ้านเรือนประชาชน จำนวน 45 ครอบครัวสูงกว่า 1 เมตร ขณะที่หลายหลังน้ำได้ท่วมชั้นสองของตัวบ้านทำให้เจ้าของไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ขณะนี้ต้องการไม้ยูคาลิปตัส เพื่อสร้างที่พักชั่วคราวให้กับชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วม

ส่วนทางจังหวัดลำปาง ได้ประกาศให้ ม.1 ถึง ม. 11 ยกเว้น ม.3 ต.แม่พริก อ.แม่พริก จ.ลำปาง รวม 10 หมู่บ้าน เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เนื่องจากประสบภัยน้ำป่าไหลหลากจากบนเขา และไหลมาตามลำห้วยแม่พริกเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรกว่า 350 หลังคาเรือน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ที่ผ่านมาแม้ว่าขณะนี้เหตุการณ์จะคืนสู่ภาวะปกติ แต่ยังให้เฝ้าระวังภัยทางธรรมชาติตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากในพื้นที่ยังมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง และอาจะเกิดภัยขึ้นอีก ซึ่งครั้งนี้เป็นการเกิดภัยทางธรรมชาติครั้งแรก ตั้งแต่ชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จึงทำให้ชาวบ้านเกิดความผวา หากเกิดฝนตกหนักอีก ขณะนี้ทุกฝ่ายในท้องถิ่นได้มีการเตรียมพร้อมรับมือ โดยการเฝ้าสังเกตสัญญานบอกเหตุก่อนเกิดภัยทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นระดับน้ำ และสีน้ำในลำห้วยแม่พริกว่ามีปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือมีสีขุ่นหรือไม่ ซึ่งจะมีการประกาศเตือนภัยให้ชาวบ้านได้เตรียมรับมือ หรืออพยพได้อย่างทันถ่วงทีเบื้องต้นมีรายงานสรุปความเสียหายหลังบ้านเรือนราษฎรประสบภัยน้ำท่วม จนสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว พบว่ามีบ้านเรือนราษฎรเสียหายอย่างหนัก จำนวน 1 หลัง คอสะพานถูกน้ำกัดเซาะเสียหาย 1 แห่ง พื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหาย มีนาข้าว จำนวน 488 ไร่ พื้นที่ปลูกข้าวโพด จำนวน 325 ไร่ และพืชสวน จำนวน 55 ไร่ รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 1 ล้านบาท


"เลกิมา"ขึ้นฝั่งภาคใต้ของจีน เตือนห่างนครพนมแค่ 450 กม. [ TTT Online : 3 ต.ค. 50 ]

ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัย"พายุเลกิมา"ฉบับที่ 13 (294/2550 เวลา 04.00 น.วันที่ 3 ตุลาคม ว่า พายุไต้ฝุ่น “เลกีมา” ในทะเลจีนใต้ ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงแล้วเมื่อเวลา 22.00 น.วานนี้ (2 ต.ค.2550) และเมื่อเวลา 04.00 น. วันที่ 3 ตุลาคม มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออก ห่างจากจังหวัดนครพนมประมาณ 450 กิโลเมตร หรือที่ ละติจูด 18.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนืออย่างช้าๆ ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกบริเวณจังหวัดนครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี จะมีฝนหนาแน่น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคเหนือจะได้รับผลกระทบในระยะต่อไปขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักระยะนี้ด้วย สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังแรง ขอให้เพิ่มความระมัดระวัง การเดินเรือ เรือเล็กบริเวณดังกล่าวควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 3- 4 ตุลาคมนี้ ไว้ด้วย


ร้อยเอ็ด - น้ำท่วมอำเภอจังหาร 5 ตำบล 25 หมู่บ้าน [ BEC-News : 7 ต.ค. 50 ]

สถานการณ์น้ำชีล้นตลิ่งไหลบ่าเข้าท่วมหมู่บ้านริมฝั่งลำน้ำชีของอำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ขยายวงกว้างออกไปแล้ว 5 ตำบล 25 หมู่บ้าน ได้แก่ตำบล ผักแว่น, ตำบลแสนชาติ, ตำบลดงสิงห์, ตำบลม่วงลาด, และตำบลดินดำ หนักสุดวันนี้ได้แก่ บ้านเลิงคา หมู่ 8,หมู่ 12 บ้านเรือนราษฎรจำนวน 162 หลังคาเรือน วัด โรงเรียน โรงสีประจำหมู่บ้าน ถูกน้ำท่วมสูง 60-90 เซ็นติเมตร นาข้าวจมน้ำ เสียหายสิ้นเชิงกว่า 2 พันไร่ ระดับน้ำสูง 1-2 เมตร ถนนเข้าหมู่บ้านถูกน้ำไหลบ่าท่วมสูงเกือบ 1 เมตรและไหลเชี่ยว รถทุกชนิดผ่านไม่ได้ต้องเดินลุยน้ำเสี่ยงเข้าหมู่บ้านระยะทางกว่า 1,200 เมตรหมู่บ้านถูกตัดขาดจากโลกภายนอกต้องสัญจรเข้าออกหมู่บ้าน นอกจากนี้ น้ำชียังไหลบ่าเข้าท่วมบ้านดินดำ ตำบลดินดำ ระดับน้ำในหมู่บ้านสูง 50-80 เซ็นติเมตร บ้านเรือนราษฎรถูกน้ำท่วม
กว่า 60 หลัง หนักสุดได้แก่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลดินดำ และอาคารสหกรณ์ ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร ต้องขนย้ายสิ่งของไปตั้งที่ทำการใหม่ในหมู่บ้านที่น้ำท่วมไม่ถึง ทั้งนี้ยังมีโรงเรียนดินดำหนองบัวลองวิทยา ถูกน้ำท่วมอาคารเรียน หอประชุม โรงอาหาร และสนามกีฬา ระดับน้ำสูง 50-100 เซ็นติเมตร ต้องขนย้ายสิ่งของและอุปกรณ์การเรียนขึ้นชั้นสองของอาคาร




ข้อมูลอ้างอิง
  • มติชน : http://www.matichon.co.th
  • BEC News : http://www.becnews.com/
  • ผู้จัดการออนไลน์ : http://www.manager.co.th