บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ( 1-15 ส.ค. 51)

ภาพดาวเทียม GOES-9

1/
8/2008
1
7GMT

2/8/2008
1
1GMT

3/8/2008
1
1GMT

4/8/2008
1
1GMT

5/8/2008
1
2GMT

6/8/2008
1
2GMT

7/8/2008
1
1GMT

8/8/2008
1
0GMT

9/8/2008
07GMT

10/8/2008
1
1GMT

11/8/2008
1
2GMT

12/8/2008
09GMT

13/8/2008
09GMT

14/8/2008
1
2GMT

15/8/2008
1
2GMT
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 จะเห็นได้ว่าช่วงต้นเดืือนสิงหาคมมีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ตอนเหนือของประเทศไทยค่อนข้างมาก ทำให้เกิดฝนตกและเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 

ภาพแผนที่อากาศ        

1/8/2008

2/8/2008

3/8/2008

4/8/2008

5/8/2008

6/8/2008

7/8/2008

8/8/2008

9/8/2008

10/8/2008

11/8/2008

12/8/2008

13/8/2008

14/8/2008

15/8/2008
จากภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าในช่วงต้นเดือนสิงหาคม มีร่องความกดอากาศต่ำ หรือร่องฝน พาดพ่านตอนเหนือของประเทศไทยบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน ตั้งแต่ต้นเดือนจนถึงช่วงวันที่ 13 สิงหาคม และได้สลายตัวไปในวันที่ 14 สิงหาคม เป็นผลทำให้มีฝนตกในพื้นที่ดังกล่าวค่อนข้างมาก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา

ชียงราย
1
/8/2008
02:27GMT

ชียงราย
2
/8/2008
05:27GMT

ชียงราย
3
/8/2008
00:27GMT

ชียงราย
4
/8/2008
14:27GMT

ชียงราย
5
/8/2008
00:27GMT

ชียงราย
6
/8/2008
17:27GMT

ชียงราย
7
/8/2008
23:27GMT

ชียงราย
8
/8/2008
06:27GMT

ชียงราย
9
/8/2008
02:27GMT

ชียงราย
1
0/8/2008
17:27GMT

ชียงราย
1
1/8/2008
15:27GMT

ชียงราย
12
/8/2008
23:27GMT

ชียงราย
1
3/8/2008
00:27GMT

ชียงราย
14
/8/2008
15:27GMT

ชียงราย
1
5/8/2008
07:27GMT


สกลนคร
1/8/2008
13:38GMT


สกลนคร
2/8/2008
16:38GMT


สกลนคร
3/8/2008
17:38GMT


สกลนคร
4/8/2008
16:38GMT

สกลนคร
5/8/2008
16:38GMT

สกลนคร
6/8/2008
13:38GMT

สกลนคร
7/8/2008
15:38GMT

สกลนคร
8/8/2008
12:38GMT

สกลนคร
9/8/2008
18:38GMT

สกลนคร
10/8/2008
20:38GMT

สกลนคร
11/8/2008
06:38GMT

สกลนคร
12/8/2008
00:38GMT

สกลนคร
13/8/2008
20:38GMT

สกลนคร
14/8/2008
17:38GMT

สกลนคร
15/8/2008
05:38GMT

จากภาพเรดาร์เชียงรายและเรดาร์สกลนคร ของกรมอุตุนิยมวิทยา จะเห็นได้ว่าช่วงต้นเดือนสิงหาคมมีฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงวันที่ 4-12 สิงหาคม ที่มีปริมาณฝนค่อนข้างมาก ซึ่งส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เช่น จังหวัดเชียงราย มุกดาหาร นครพนม หนองคาย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เรดาร์สกลนคร
เรดาร์เชียงราย


ปริมาณฝนสะสม

1/8/2551
00am

2/8/2551
12am

3/8/2551
00am

4/8/2551
12am

5/8/2551
12am


6/8/2551
00am


7/8/2551
12am

8/8/2551
00am

9/8/2551
00am

10/8/2551
12am

11/8/2551
12am

12/8/2551
00am

13/8/2551
12am

14/8/2551
00am

15/8/2551
12am
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา จะเห็นได้ว่าในช่วงวันที่ 1-15 สิงหาคม มีกลุ่มฝนเกาะตัวกันเป็นจำนวนมาก ตามแนวแม่น้ำโขง โดยเฉพาะช่วงวันที่ 7-9 สิงหาคม ที่มีกลุ่มฝนค่อนข้างมากอย่างเห็นได้ชัดในพื้นที่ประเทศลาว เป็นผลให้น้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายงานแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมจาก NASA ในช่วงวันที่ 1-15 สิงหาคม จะเห็นได้ว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวมีกลุ่มฝนเกาะตัวกันเป็นจำนวนมาก
ตลอดแนวเส้นแม่น้ำโขง ตั้งแต่บริเวณประเทศจีน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ประเทศลาว กัมพูชา ซึ่งเป็นผลทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น

 

ปริมาณฝนจากสถานีตรวจวัดกรมอุตุนิยมวิทยา

จากรายงานแสดงข้อมูลฝนสะสมของแต่ละสถานีตรวจอากาศในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่วันที่ 1-15 สิงหาคม พบว่า ปริมาณฝนสะสมสูงสุดอยู่ที่ สถานีท่าพระ(1) จังหวัดขอนแก่น โดยมีปริมาณฝนสะสมรวม 759.4 มิลลิเมตร รองลงมาคือ สถานีนครพนม ที่มีปริมาณฝนสะสม 336.2 มิลลิเมตร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดน้ำท่า

จากกราฟแสดงข้อมูลฝนระดับน้ำรายวันจากสถานีตรวจวัดระดับน้ำ kh.1 วัดลำดวน อ.เมือง จ.หนองคาย พบว่าระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเริ่มสูงเกินระดับตลิ่งใน
ช่วงวันที่ 12-13 ส.ค. โดยระดับน้ำอยู่ที่ 13.47 เมตร (ระดับตลิ่ง 13 เมตร) และระดับน้ำได้ลดลงต่ำกว่าระดับตลิ่ง
อีกครั้งในวันที่ 19 ส.ค. โดยอยู่ที่ 12.78 เมตร

 

ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม (คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)


ข้อมูลจากดาวเทียม RADAR-SAT1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2551 เวลา 06.15 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดเชียงราย และ น่าน

ข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-5 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2551 แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วน ของจังหวัดนครพนม หนองคาย และ สกลนคร ข้อมูลจากดาวเทียม RADAR-SAT1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2551 เวลา 18.03 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนครพนม สกลนคร และ หนองคาย

 

ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------

น้ำโขงฝั่งเชียงคานท่วมพื้นที่เกษตรแล้วกว่า 500 ไร่ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 15 ส.ค. 2551- 10:57 น.]

        ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังที่มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดเลย ประกอบกับน้ำเหนือหนุนให้แม่น้ำโขงยังคงอยู่ในระดับวิกฤต โดยศูนย์สำรวจอุทกวิทยาที่ 8 อ.เชียงคาน วัดได้เมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา อยู่ที่ 16.72 เมตร เริ่มลดลงเฉลี่ยชั่วโมงละ 3 เซนติเมตร      
        อย่างไรก็ตาม ระดับน้ำดังกล่าวได้ส่งผลให้ลำน้ำฮวย และลำน้ำหลายสาขาของแม่น้ำโขงเอ่อล้นท่วมทุ่งนา ไร่ข้าวโพด บ่อปลา และบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่รอบนอกเขตเทศบาลตำบลเชียงคานได้รับความเสียหายกว่า 500 ไร่ นอกจากนี้ 3 หมู่บ้านของตำบลบุฮมถูกน้ำท่วมเช่นกัน
        ขณะเดียวกัน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 211 เส้นทางเชียงคาน-ปากชม ถูกตัดขาด รถทุกประเภทไม่สามารถผ่านได้ ทางหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้นำเรือท้องแบนมาคอยให้บริการรับ-ส่งประชาชน
       


--------------------------------------------------------------------------------------

น้ำท่วมหนองคายยังน่าห่วง แม้ศพยังเคลื่อนย้าย-ฌาปณกิจไม่ได้ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 15 ส.ค. 2551- 10:57 น.]

ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคาย ล่าสุด เช้าวันนี้ (15 ส.ค.) วัดที่ส่วนอุทกวิทยาหนองคาย กรมทรัพยากรน้ำ อยู่ที่ระดับ13.61 เมตร สถานการณ์น้ำท่วมหลายพื้นที่ยังคงอยู่ในภาวะวิกฤต โดยถนนมิตรภาพ อ.ท่าบ่อ-อ.ศรีเชียงใหม่ น้ำโขงได้เอ่อล้นถนนสูงประมาณ 30-50 ซม.และไหลเชี่ยวกรากมาก ทำให้รถเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ส่วนในเขตเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่น้ำได้ท่วมสูงทุกหลังคาเรือน และร้านค้า ต้องใช้รถบรรทุกขนาดใหญ่และเรือในการขนส่งแทน

นายพรชัย ปุริวัตร นายกเทศมนตรีตำบลศรีเชียงใหม่ กล่าวว่า ขณะนี้ร้านค้าและบ้านเรือนราษฎรถูกน้ำท่วมทั้งหมดเทศบาล ด้วยความเชี่ยวกรากของน้ำทำให้บ้านเรือนราษฎรทรุดไปหลายหลัง ทำให้เดือดร้อนและลำบากกันถ้วนหน้า แม้แต่คนเสียชีวิตยังเอาศพออกจากบ้านไม่ได้ ส่วนการให้ความช่วยเหลือนั้นเทศบาลได้นำถุงยังชีพไปแจกจ่ายประชาชนแล้ว 2,000 ชุด น้ำดื่ม 2,000 โหล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนในเบื้องต้น

ส่วนที่ อำเภอสังคม หนึ่งอำเภอที่ถูกน้ำโขงและถูกขัดขาดจากโลกภายนอก เนื่องจากพื้นที่มีทั้งที่สูงที่ต่ำ การสัญจรไปมาตอนนี้ต้องใช้เรืออย่างเดียว บางแห่งระดับน้ำท่วมถนนสูงถึง 2 เมตร และต้องใช้อย่างระมัดระวังเพราะน้ำเชี่ยวมาก
สำหรับในเขตเทศบาลตำบลสังคม มีบ้านเรือนรวมทั้งร้านค้าของประชาชนถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหาย 719 หลัง ขณะนี้ทางเทศบาลเข้าไปช่วยเหลือและดูแลเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนอย่างเต็มที่

ด้าน อ.ท่าบ่อ เป็นอำเภอหนึ่งบ้านเรือนราษฎรถูกน้ำท่วมเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจความเสียหายเบื้องต้น มีประชาชนได้รับความเดือนร้อน จำนวน 1,385 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะนาข้าว จำนวน 3,536 กระชังปลา 1,600 ตารางเมตร และบ่อปลา 10 ไร่

นายสุขวิช บัวเผื่อน หัวหน้าส่วนอุทกวิทยาหนองคาย กล่าวว่า หากไม่มีปริมาณน้ำฝนทางภาคเหนือของประไทย และน้ำจาก สปป.ลาวเพิ่มขึ้น จะทำให้ระดับน้ำทางตอนบนเริ่มนิ่งและมีปริมาณลดลง จะส่งผลให้ระดับน้ำใน จ.หนองคาย เริ่มทรงตัวแล้วค่อย ๆ ลดลง โดยคาดว่า 2-3 วัน ระดับน้ำจะลดลงอยู่ที่ 13.20 เมตร ซึ่งเป็นระดับตลิ่งแม่น้ำโขงในตัวเมืองหนองคาย ส่วนน้ำที่ไหลทะลักเข้าพื้นที่ต่างๆ นั้นภาวะน้ำท่วมอาจจะถึงหนึ่งเดือนกว่าจะน้ำลดและไหลออกตามลำน้ำสาขาได้

--------------------------------------------------------------------------------------

ลุ่มแม่น้ำโขงยังน่าห่วง ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นตลอด [ ไทยรัฐ : 15 ส.ค. 51 - 06:30]

ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (15 ส.ค.) สถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดทางพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังน่าห่วง โดยที่ จ.นครพนม เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองนครพนม เร่งระบายน้ำที่ท่วมขังภายในเขตเทศบาลลงสู่แม่น้ำโขง พร้อมออกประกาศเตือนชาวบ้านตามริมแม่น้ำ ระมัดระวังอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง ขณะที่ชาวบ้านจัดเวรยามเฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำโขงตลอด 24 ชั่วโมงนอกจากนี้ ปริมาณน้ำที่สูงขึ้นยังทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังได้รับความเดือดร้อน ต้องคอยเก็บเศษไม้ และเศษสวะที่ลอยมากับน้ำออกจากระชังปลา ส่วนที่ จ.หนองคาย ระดับน้ำโขงยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้านพื้นที่ 9 อำเภอ กว่า 1,000 ครัวเรือน ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร จนต้องอพยพไปอยู่ริมถนน และที่ปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีสถานพยาบาล 2 แห่ง คือโรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ และโรงพยาบาลสังคม ถูกน้ำท่วม เจ้าหน้าที่ต้องขนย้ายเวชภัณฑ์ และผู้ป่วยขึ้นไปอยู่บนชั้น 2 ขณะที่หลายหน่วยงานเร่งออกช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน รวมทั้งเร่งฟื้นฟูถนนที่ได้รับความเสียหาย เพื่อใช้สัญจรได้ตามปกติ

 

 

--------------------------------------------------------------------------------------

น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นรวดเร็ว หลายพื้นที่ยังวิกฤติ [ ไทยรัฐ : 14 ส.ค. 51 - 10:31]

ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (14 ส.ค.) ว่า สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ยังไม่ทุเลา เนื่องจากระดับน้ำแม่น้ำโขงยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่ จ.มุกดาหาร ผู้ประกอบการร้านค้าตลาดอินโดจีนเริ่มขนย้ายสินค้าหนีน้ำกันแล้ว หลังระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยที่ชั่วโมงละ 2 เซนติเมตร และเหลืออีกเพียง 7 เซนติเมตรก็จะถึงระดับวิกฤติที่ 12.50 เมตร ขณะที่เทศบาลเมืองมุกดาหาร นำรถออกประชาสัมพันธ์เตือนชาวบ้านให้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ พร้อมจัดกำลังเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง และเข้าช่วยเหลือประชาชน กรณีต้องอพยพสิ่งของอย่างเร่งด่วน

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องในจ.กาฬสินธุ์ ส่งผลให้ลำน้ำปาว ลำน้ำพานและลำน้ำชี เอ่อเข้าท่วมพื้นที่ลุ่ม โดยเฉพาะในต.ลำชี อ.ฆ้องชัย และต.โพนงาม อ.กมลาไสย นาข้าวถูกน้ำท่วมเสียหายเป็นบริเวณกว้าง ผู้สื่อข่าวรายงานต่ออีกว่า ที่ จ.นครพนม ลำห้วยสาขาต่างๆ ในพื้นที่เริ่มล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน เนื่องจากน้ำไม่สามารถระบายลงสู่แม่น้ำโขงได้ และมีพื้นที่การเกษตรเสียหายแล้วนับแสนไร่ ถนนและคอสะพานหลายแห่งถูกกระแสน้ำพัดเสียหาย โรงเรียนในอำเภอบ้านแพงต้องประกาศหยุดการเรียนการสอนชั่วคราวโดยไม่มีกำหนด ล่าสุดจังหวัดประกาศให้พื้นที่ 12 อำเภอ 80 ตำบล 722 หมู่บ้าน เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้ว ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมในอ.เชียงแสน จ.เชียงรายคลี่คลายแล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------

น้ำท่วมนครพนมวิกฤติ ผู้ว่าฯประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ [ไทยรัฐ : 14 ส.ค. 51 - 09:01]

ผู่สื่อข่าวรายงานวันนี้ (14 ส.ค.) ว่า สถานการณ์น้ำท่วมจ.นครพนมยังวิกฤติ ล่าสุด นายบุญสนอง บุญมี ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศให้พื้นที่ 12 อำเภอ เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้ว ขณะที่ เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองนครพนม เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่เพื่อเตรียมระบายน้ำบริเวณด่านศุลกากรจ.นครพนม หลังระดับน้ำในแม่น้ำโขง เพิ่มสูงขึ้นใกล้ถึงจุดวิกฤติ พร้อมทั้งจัดเวรยามเฝ้าระวังเตรียมช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง

ขณะที่พื้นที่รอบนอกหลายอำเภอ น้ำจากแม่น้ำโขงไหลทะลักเข้าลำน้ำสาขา จนเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้านและพื้นการเกษตรเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะพื้นที่ อ.ศรีสงคราม และบ้านแพง ล่าสุด นายบุญสนอง บุญมี ผู้ว่าราชการจังหวัด ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติทางอุทกภัยใน 12 อำเภอ 80 ตำบล และ 722 หมู่บ้าน และเร่งออกสำรวจความเสียหายเพื่อช่วยเหลือเป็นการด่วน

 

 

--------------------------------------------------------------------------------------

ริมโขงวิกฤติน้ำท่วม จากเชียงราย ยันหนองคาย [ ไทยรัฐ : 14 ส.ค. 51 - 10:57]

ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อช่วงสายวันที่ 13 ส.ค. ว่า ระดับน้ำในแม่น้ำโขงในหลายพื้นที่ของ จ.หนองคาย วัดได้ 13.26 เมตร ซึ่งเป็นระดับน้ำที่สูงที่สุดในรอบ 42 ปี เกินระดับที่ตลิ่งแม่น้ำโขงจะรับได้ ทำให้น้ำโขงไหลทะลักเข้าตัวเมืองหนองคายในหลายจุด โดยเฉพาะที่ชุมชนจอมมณี ชุมชนใต้ธาตุ ชุมชนวัดธาตุ และตลอดแนวริมฝั่งแม่น้ำโขงใน ต.ปะโค ต.เวียงคุก ต.หาดคำ อ.เมืองหนองคาย ชาวบ้านต้องเร่งเก็บข้าวของและขนย้ายสัตว์เลี้ยงไปอยู่ในที่ปลอดภัย เทศบาลเมืองหนองคายได้ตั้งศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ลำเลียงกระสอบทราย และแจกจ่ายถุงดำให้แก่ประชาชน พร้อมจัดหน่วยเคลื่อนที่เร็วออกแจ้งเตือนประชาชนให้ทราบถึงระดับน้ำโขงเป็นระยะๆ

ส่วนที่ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย น้ำจากแม่น้ำโขง ได้ทะลักท่วมเข้าบ้านเรือนและถนน สูงกว่า 1 เมตร เป็นระยะทางราว 8 กม. ตั้งแต่เขตเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ ไปจนถึงตำบลบ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ รถยนต์ไม่สามารถสัญจรไปมาได้ การจราจรถูกตัดขาด ประชาชนที่ต้องการเดินทางจาก อ.ศรีเชียงใหม่ ไป อ.สังคม นั้น ต้องเลี่ยงไปใช้เส้นทางจาก อ.โพธิ์ตาก แทน ที่ อ.เชียงคาน และ อ.ปากชม จ.เลย น้ำในแม่น้ำโขงได้ไหลเข้าท่วมหมู่บ้านที่อยู่ริมแม่น้ำ ระดับน้ำเพิ่มขึ้นชั่วโมงละ 3 ซม. ถนนจาก อ.เชียงคาน ผ่านไป อ.ปากชม เข้าสู่ อ.สังคม จ.หนองคาย ถูกน้ำท่วมถนนเป็นช่วงๆโดยเฉพาะบ้านห้วยเหียม ระดับน้ำสูง 60 ซม. รถยนต์ไม่สามารถผ่านไปมาได้ และส่งผลให้บ่อปลาของชาวบ้านเสียหายจำนวนมาก

 ที่ จ.เชียงราย นายสุรศักดิ์ บุญประเสริฐ ปลัดอำเภอฝ่ายป้องกัน อ.เวียงแก่น เปิดเผยว่า เมื่อช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา แม่น้ำโขงได้หนุนสูงขึ้นมาท่วมถนน และคอสะพานบ้านแจ๋มป๋อง หมู่ 5 ต.หล่ายงาว ระดับน้ำสูงราว 2 เมตร เป็นระยะทางกว่า 500 เมตร รถทุกชนิดผ่านไม่ได้ ต้องใช้เรือลำเลียงประชาชนข้ามไปมาแทน ทำให้การติดต่อขนส่งจาก อ.เวียงแก่น ไปยังพื้นที่ต่างๆได้รับผลกระทบอย่างหนัก ส่วนบริเวณจุดผ่อนปรนไทย-ลาว ที่บ้านแจ๋มป๋อง สถานที่ราชการและร้านค้าจมอยู่ ใต้น้ำ ชาวบ้านต้องขนของหนีน้ำตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา ขณะรายงานข่าวยังมีฝนตกอยู่อย่างต่อเนื่อง ระดับน้ำแม่น้ำโขงมีระดับสูงขึ้นตลอดเวลา และมีนายคำเสริฐ วงศ์ชัย อายุ 58 ปี อยู่บ้านเลขที่ 19/1 หมู่ 4 บ้านหล่ายงาว ออกไปตามหาวัวที่ถูกน้ำพัดหายในสวนใกล้บ้านแล้วหายตัวไปยังไม่ทราบชะตากรรม คาดว่าอาจจะติดน้ำท่วม หรือถูกกระแสน้ำพัดเสียชีวิต

 ที่ด่านพรมแดนจุดตรวจถาวร อ.เชียงของ จ.เชียงราย ระดับน้ำในแม่น้ำโขงสูงขึ้นกว่าทุกปี ที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง และด่านศุลกากร จมอยู่ใต้น้ำ การผ่านเข้าออกของชาวไทย-ลาว เป็นไปอย่างยากลำบาก อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ยังอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่ โดยย้ายที่ ทำการขึ้นไปให้บริการด้านบนถนนในที่สูง ส่วนเรือข้ามฟากในแม่น้ำโขงยังแล่นให้บริการตามปกติ แต่ลดน้ำหนักบรรทุกลงเพราะกระแสน้ำไหลแรง

 ที่ จ.เพชรบูรณ์ มีฝนตกหนักติดต่อกันตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาค้อ เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรริมถนนสายหล่มสัก-สระบุรี บ้านคลองมะนาว หมู่ 8 ต.ท่าพล อ.เมืองเพชรบูรณ์ ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างถนน ระยะทางกว่า 1 กม. ระดับน้ำสูง 60 ซม. รถยนต์ต้องใช้เส้นทางเบี่ยง แต่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก กระทั่งช่วงบ่าย ระดับน้ำเริ่มลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้เป็นจุดที่ต่ำ ทำให้เกิดน้ำท่วมในฤดูฝนอยู่เสมอ แต่หากถนนก่อสร้างแล้วเสร็จ คาดว่าจะช่วยบรรเทาเหตุน้ำท่วมได้

นายศิริพงศ์ หังสพฤกษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ เปิดเผยว่า ปริมาณน้ำที่ไหลลงแม่น้ำโขงมาจากอิทธิพลร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านทางตอนใต้ของประเทศจีน เป็นเวลานานในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำได้คาดการณ์ล่วงหน้าว่า ปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงแม่น้ำโขง จะมีมากเกินระดับสูงสุดในช่วงกลางเดือน ส.ค.นี้ โดยเฉพาะปริมาณน้ำในวันที่ 13 ส.ค.นี้ เกินจากระดับตัวเลขสูงสุดในรอบ 30 ปี (2521-2550) ราว 10-20 ซม. ในบางสถานี โดยเฉพาะที่ อ.เชียงแสน ปริมาณน้ำสูงสุด 10.49 เมตร อ.เชียงคาย 10.46 เมตร และไหลเข้าท่วมพื้นที่ราบลุ่มริมตลิ่งสูงถึง 2 เมตรในบางแห่ง ตั้งแต่เชียงแสน เชียงคาน มุกดาหาร นครพนม เชื่อว่าอีก 1 สัปดาห์ข้างหน้า สถานการณ์น้ำเอ่อล้นตลิ่งจะกลับสู่ภาวะปกต

 อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำกล่าวต่อไปว่า ปริมาณน้ำโขงระยะนี้ถือเป็นปกติ แต่ปีนี้มีฝนตกมาจากจีนและลาว โดยเฉพาะน้ำที่ไหลลงแม่น้ำโขงนั้น 35 เปอร์เซ็นต์ มาจากลาวเพราะมีป่าไม้อยู่เยอะ ส่วนจีน ไทย และเวียดนาม เฉลี่ย 18 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่กัมพูชา 11 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ปัจจุบันจีนก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงแล้วเสร็จ 2 แห่ง มีความจุ 2,000 ล้าน ลบ.ม. และกำลังสร้างอีก 2 เขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า คาดว่าในช่วงที่จีนเริ่มเก็บกักน้ำเต็มที่แล้วจะปล่อยน้ำสม่ำเสมอ จะส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงอยู่ในภาวะปกติ

ด้านนายธีระ วงศ์สมุทร อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำว่า ขณะนี้เขื่อนทั้งขนาดกลางและใหญ่ยังสามารถกักเก็บน้ำได้อีกจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณน้ำที่กักเก็บเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 62 ของปริมาณการกักเก็บ โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพล จ.ตาก สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 7,000 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ รองรับน้ำได้อีกกว่า 3,800 ล้าน ลบ.ม. จากการติดตามพายุฝนและร่องความกดอากาศต่ำ พบว่า ได้แผ่กระจายในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งจะเป็นผลดี เพราะจะทำให้กลุ่มฝนที่ตกลงมาจะตกบริเวณเหนือเขื่อน น้ำจะไหลเข้าเขื่อน ทำให้กรมชลประทาน สามารถควบคุมและบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้ รวมทั้งยังจะช่วยให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปีในเวลานี้ จะไม่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำกรณีที่เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงอย่างแน่นอน

 “ส่วนลุ่มน้ำที่เป็นปัญหามากคือพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยม เพราะยังไม่มีเขื่อนมาบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากหรือฤดูแล้ง พื้นที่ลุ่มน้ำยม อาทิ จ.สุโขทัย พิจิตร แพร่ และพิษณุโลก จะได้รับผลกระทบทุกปี ในเดือน ส.ค.นี้ ที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารขับเคลื่อนการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มแม่น้ำยม จะประชุมหารือถึงแนวทางแก้ไขปัญหา แต่ไม่เน้นเฉพาะเรื่องของการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นเพียงอย่างเดียว โดยอาจจะให้มีการแก้ปัญหาด้วยการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กหรือขนาดกลาง กรณี ไม่สามารถก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นได้ เนื่องจากเรื่องนี้ต้องมีการพิจารณาในส่วนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดอธิบดีกรมชลประทานกล่าว

 วันเดียวกัน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนว่า ในระยะ 1-2 วันนี้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย บริเวณ จ.เชียงราย น่าน เลย หนองคาย นครพนม สกลนคร และมุกดาหาร ระมัดระวังอันตรายจากภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำโขงและตามลุ่มแม่น้ำสายต่างๆ มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าว เตรียมการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

--------------------------------------------------------------------------------------

ดินถล่ม-ถนนขาด 25 คนไปแจกของ กลับออกมาไม่ได้ [ ไทยรัฐ : 13 ส.ค. 51 - 04:13]

ที่ จ.หนองคาย น้ำในลำน้ำโขงทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนเป็นวงกว้าง เรือกสวนไร่นา จมอยู่ใต้บาดาลหลายอำเภอ อาทิ อำเภอท่าบ่อ ศรีเชียงใหม่ และอำเภอเมืองหนองคาย ระดับน้ำที่ส่วนอุทกวิทยาหนองคายวัดได้ 12.85 เมตร ใกล้เข้าสู่ระดับ 13.20 เมตร ซึ่งเป็นระดับน้ำที่เข้าสู่ภาวะวิกฤติ ที่น้ำโขงจะทะลักเข้าท่วมตัวเมืองหนองคายแทบทุกพื้นที่แล้ว เฉพาะบ้านเรือนในเขตเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ อ.ศรีเชียงใหม่ ขณะนี้ถูกน้ำท่วมสูงชาวบ้านพากันขนข้าวของไปไว้ในที่สูงกันโกลาหล ขณะที่ลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง ก็มีปริมาณน้ำสูงขึ้น ส่งผลให้พระลูกวัดวัดแก้วพิจิตร อ.ท่าบ่อ เร่งทำคันกั้นน้ำทะลักเข้าท่วมศาลาการเปรียญ และพระอุโบสถเต็มที่ เพราะรอบตัววัดมีน้ำท่วมสูงราว 1.20 เมตรแล้ว ชาวบ้านพากันวิตกว่าปีนี้อาจเกิดน้ำท่วมใหญ่อีกครั้งหนึ่งของจังหวัด 

ด้าน จ.มุกดาหาร น้ำในแม่น้ำโขงทะลักเข้าท่วมในตลาดอินโดจีน เขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร พ่อค้าแม่ค้าพากันขนข้าวของหนีน้ำกันวุ่นวาย ระดับน้ำสูงถึง 11.80 เมตร ห่างจากจุดวิกฤติอีก 70 ซม.เท่านั้น ทางจังหวัดประกาศเตือนให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือเต็มที่ 

ส่วนที่ จ.เชียงราย ระดับน้ำในแม่น้ำกก และแม่น้ำคำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่ อ.เชียงแสน ทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนเอ่อล้นท่วมพื้นที่บ้านสบคำ หมู่ 5 บ้านป่าสักหางเวียงหมู่ 9 ต.เวียง กับบ้านสบกก หมู่ 7 บ้านสันทรายกองงาม หมู่ 10 ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน พื้นที่ปลูกข้าวโพดที่กำลังรอการเก็บเกี่ยวได้รับความเสียหายนับพันไร่ นายสมหวัง รุ่งตระกูลชัย นายอำเภอเชียงแสน พร้อมเจ้าหน้าที่นำเรือท้องแบนออกให้ความช่วยเหลือชาวบ้านสบกก หมู่ 7 ต.บ้านแซว กันอย่างทุลักทุเล  

ขณะที่ถนนสายเชียงแสน-เชียงของ บริเวณหมวดการทางเชียงแสน บ้านสันทรายกองงาม ระดับน้ำสูงถึง 70 ซม. เป็นระยะทางถึง 2 กม. รถทุกชนิดไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ต้องใช้เรือขนถ่ายผู้ที่สัญจรไปมา ส่วนบริเวณท่าเรือเชียงแสน เขตเทศบาลตำบลเวียง ระดับน้ำโขงวัดได้ 10.60 เมตร ทำให้โป๊ะขนถ่ายสินค้าของท่าเรือทั้ง 2 โป๊ะ ลอยตัวสูงขึ้นกว่าระดับท่าเรือ จนทางท่าเรือต้องสั่งปิดโป๊ะเป็นการชั่วคราว เนื่องจากเกรงว่าจะไม่ ปลอดภัยในการขนถ่ายสินค้า 

นายธีระ วงศ์สมุทร อธิบดีกรมชลประทาน เผยว่า ขณะนี้ทางกรมชลประทานได้เตรียมแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมช่วงเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูน้ำหลาก โดยได้ติดตามสถานการณ์ฝนตกอย่างใกล้ชิดจากกรมอุตุนิยมวิทยา และตรวจศักยภาพการรองรับน้ำของเขื่อนในพื้นที่ต่างๆอย่างใกล้ชิด จากการประเมินหากฝนตกเหนือเขื่อนอยู่ในเกณฑ์ค่าเฉลี่ย 1,500 มิลลิเมตร เขื่อนขนาดใหญ่ทุกแห่ง มีความพร้อมรองรับปริมาณน้ำได้ ส่วนการป้องกันพื้นที่กรุงเทพฯได้เตรียมแผนระบายน้ำในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาลงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และบริหารจัดการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เตรียมพร้อมใช้เขื่อนเจ้าพระยาควบคุมน้ำเหนือที่จะไหลบ่าลงมา ให้ออกทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ผ่านทางคลองระพีพัฒน์ ลงแม่น้ำบางปะกง และฝั่งตะวันตก ระบายลงแม่น้ำท่าจีน ก่อนปล่อยลงสู่ทะเล พร้อมทั้งโครงการแก้มลิงสนามชัย-มหาชัย 

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานสภาพอากาศว่า ร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรง ยังคงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไปอีก และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก เชียงราย เชียงใหม่ น่าน แพร่ พะเยา ลำปาง ลำพูน พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ ระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในระยะ 1-2 วันนี้ อนึ่งระดับน้ำในแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาต่างๆ มีแนวโน้มสูงขึ้น อาจทำให้เกิดน้ำท่วมในที่ลุ่มตามแนวแม่น้ำได้ เช่น จังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย นครพนม และมุกดาหาร ขอให้ประชาชนที่อาศัยตามพื้นที่เสี่ยงของจังหวัดดังกล่าว เตรียมการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

--------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • ผู้จัดการ : http://www.manager.co.th