บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมจังหวัดลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ (9-11 พฤษภาคม 2554)

ภาพดาวเทียม GOES-9

9/5/2011[11GMT]

9/5/2011[12GMT]

9/5/2011[13GMT]

9/5/2011[14GMT]

9/5/2011[15GMT]

9/5/2011[16GMT]

9/5/2011[17GMT]

9/5/2011[18GMT]

9/5/2011[19GMT]

9/5/2011[20GMT]

9/5/2011[21GMT]

9/5/2011[22GMT]

9/5/2011[23GMT]

10/5/2011[00GMT]

10/5/2011[01GMT]

10/5/2011[02GMT]

10/5/2011[03GMT]

10/5/2011[04GMT]

10/5/2011[05GMT]

10/5/2011[06GMT]

10/5/2011[07GMT]

10/5/2011[08GMT]

10/5/2011[09GMT]

10/5/2011[10GMT]

10/5/2011[11GMT]

10/5/2011[12GMT]

10/5/2011[13GMT]

10/5/2011[14GMT]

10/5/2011[15GMT]

10/5/2011[16GMT]
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่าช่วงวันที่ 9-10 พ.ค. มีกลุ่มเมฆปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนบนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดฝนตกในพื้นที่ดังกล่าว โดยเฉพาะช่วงวันที่ 9 พ.ค. ที่กลุ่มเมฆค่อนข้างหนา ส่งผลให้มีปริมาณฝนค่อนข้างมาก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพแผนที่อากาศ

8/5/2011[01UTC]

8/5/2011[07UTC]

8/5/2011[13UTC]

8/5/2011[19UTC]

9/5/2011[01UTC]

9/5/2011[07UTC]

9/5/2011[13UTC]

9/5/2011[19UTC]

10/5/2011[01UTC]

10/5/2011[07UTC]

10/5/2011[13UTC]

10/5/2011[19UTC]

11/5/2011[01UTC]

11/5/2011[07UTC]

11/5/2011[13UTC]

11/5/2011[19UTC]

จากภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าช่วงวันที่ 9-10 พ.ค. มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคเหนือตอนบน ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของจังหวัดลำปาง ลำพูน พะเยา และ แพร่

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์พิษณุโลก รัศมี 240 กิโลเมตร

9/5/2554
15:25GMT

9/5/2554
16:25GMT

9/5/2554
17:25GMT

9/5/2554
18:25GMT

9/5/2554
19:25GMT

9/5/2554
20:25GMT

9/5/2554
21:25GMT

9/5/2554
22:25GMT

9/5/2554
23:25GMT

10/5/2554
07:25GMT

10/5/2554
08:25GMT

10/5/2554
09:25GMT

10/5/2554
10:25GMT

10/5/2554
11:25GMT

10/5/2554
12:25GMT

10/5/2554
13:25GMT

10/5/2554
14:25GMT

10/5/2554
15:25GMT

10/5/2554
16:25GMT

10/5/2554
17:25GMT
เรดาร์เชียงราย รัศมี 240 กิโลเมตร

9/3/2554
14:27GMT

9/3/2554
15:27GMT

9/3/2554
16:27GMT

9/3/2554
17:27GMT

9/3/2554
18:27GMT

9/3/2554
19:27GMT

9/3/2554
21:27GMT

9/3/2554
22:27GMT

9/3/2554
23:27GMT

10/3/2554
01:27GMT

10/3/2554
02:27GMT

10/3/2554
03:27GMT

10/3/2554
04:27GMT

10/3/2554
05:27GMT

10/3/2554
06:27GMT

10/3/2554
07:27GMT

10/3/2554
08:27GMT

10/3/2554
10:27GMT

10/3/2554
11:27GMT

10/3/2554
12:27GMT
dBz

ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์เชียงรายและพิษณุโลก รัศมี 240 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ พบว่าในช่วงวันที่ 9-10 พ.ค. มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่่องในบริเวณจังหวัดลำปาง ลำพูน พะเยา ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายบริเวณ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เชียงราย พิษณุโลก


แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันจาก NASA

8/5/54[00Z]-
9/5/54[00Z]

9/5/54[00Z]-
10/5/54[00Z]

10/5/54[00Z]-
11/5/54[00Z]

11/5/54[00Z]-
12/5/54[00Z]
              mm.

จากแผนภาพฝนสะสมของ NASA พบว่าเริ่มมีกลุ่มฝนกระจุกตัวบริเวณภาคเหนือตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค. และในช่วงวันที่ 9-10 พ.ค. มีกลุ่มฝนกระจุึกตัวค่อนข้างมากต่อเนื่องสองวัน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ และในวันที่ 11 พ.ค.กลุ่มฝนได้สลายตัวไป

ข้อมูลฝนจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา
รายงานข้อมูลฝนจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่าในวันที่ 9 พ.ค. มีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดลำปางและพะเยา
โดยปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุด อยู่ที่สถานีลำปาง ปริมาณฝน 191.2 มิลลิเมตร รายละเอียดเพิ่มเติม ดังตารางด้านล่าง

วันที่
สถานี
ปริมาณฝน
สะสม 24 ช.ม.(มม.)
9/5/2554 ลำปาง
191.2
  ลำปาง สกษ.
91.9
  พะเยา
89.1
  เขื่อนภูมิพล
58.6
  แม่สอด
57.6
  ดอยอ่างขาง
45.5
  เถิน
42.2
  แม่สะเรียง
41.3
  ดอยมูเซอร์ สกษ.
26.1
  เชียงราย สกษ.
23.4
  ทุ่งช้าง
21.9
  อุตรดิตถ์
21.2
  แพร่
20.7
10/5/2554 ลำปาง สกษ.
39.8
  เชียงราย
38.0
  เชียงใหม่
37.8
  ลำพูน
34.6
  ทุ่งช้าง
28.5
  น่าน
23.5
  แพร่
21.9
หมายเหตุ : สีแดง หมายถึง ข้อมูลฝนที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลฝน 80-99 มิลลิเมตร

การเตือนภัยปริมาณฝนผ่านโทรศัพท์มือถือ (sms) จากระบบโทรมาตรขนาดเล็ก

วันที่เตือนภัย
เวลา
ช่วงเวลาที่ฝนสะสม
สถานที่
ปริมาณฝน(มม.)
ระดับการเตือนภัย
12/05/2011 7:00:00 ฝน05-06น. ต.ดู่พงษ์ จ. น่าน                       34.8
วิกฤต
12/05/2011 7:00:00 ฝน05-06น. ต.ดู่พงษ์ จ. น่าน                       25.8
เฝ้าระวังสูงสุด
10/05/2011 23:00:00 ฝน22-23น. ต.ชมพู จ. พิษณุโลก                       35.2
เฝ้าระวังสูงสุด
10/05/2011 19:00:00 ฝน07-19น. ต.อ่ายนาไลย จ. น่าน                       65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
10/05/2011 17:00:00 ฝน16-17น. ต.บ่อแก้ว จ. น่าน                       27.0
เฝ้าระวังสูงสุด
10/05/2011 17:00:00 ฝน16-17น. ต.บ่อแก้ว จ. น่าน                       30.8
วิกฤต
10/05/2011 8:00:00 ฝนวานนี้ ต.จุน จ. พะเยา                       89.1
เฝ้าระวังสูงสุด
10/05/2011 8:00:00 ฝนวานนี้ ต.บ้านเสด็จ จ. ลำปาง                       91.9
เฝ้าระวังสูงสุด
09/05/2011 22:00:00 ฝน07-22น. ต.ลี้ จ. ลำพูน                       88.4
เฝ้าระวังสูงสุด
09/05/2011 1:00:00 ฝน09/07-10/01น. ต.ห้างฉัตร จ. ลำปาง                       85.6
เฝ้าระวังสูงสุด
09/05/2011 1:00:00 ฝน09/07-10/00น. ต.วิเชตนคร จ. ลำปาง                       90.4
เฝ้าระวังสูงสุด

ข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดระดับน้ำท่า กรมชลประทาน

(P.76)บ้านอีไฮต์ อ.ลี้ จ.ลำพูน
(ระดับตลิ่ง 5.4 ม.)
จากกราฟแสดงข้อมูลระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดน้ำท่ากรมชลประทาน
ที่สถานี P.76 บ้านอีไฮต์ อ.ลี้ จ.ลำพูน ณ เวลา 6.00 น. ของวันที่ 11 พ.ค. ระดับน้ำอยู่ที่ 5.58 เมตร

รายละเอียดเพิ่มเติม

ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนกิ่วลม

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนกิ่วลม

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนกิ่วคอหมา

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนกิ่วคอหมา

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนภูมิพล

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนภูมิพล

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนแควน้อย

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนแควน้อย

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเขื่อนแม่กวง

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนแม่กวง

จากการที่มีฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือ ช่วงวันที่ 9-11 พ.ค. 54 ทำให้ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก รายงาน ณ วันที่ 11 พ.ค. พบว่า ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนกิ่วลม อยู่ที่ 20.43 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนกิ่วคอหมา 16.17 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนภูมิพล 37.82 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ 15.45 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อย 4.29 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแม่กวง 1.37 ล้านลูกบาศก์เมตร

ตารางและกราฟแสดงข้อมูลน้ำรายวนในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่


ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วมจาก GISTDA

รายงานการติดตามพื้นที่น้ำท่วม ปี 2554 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2
บันทึกภาพวันที่ 13 พฤษภาคม 2554 เวลา 18.30 น.
บริเวณบางส่วนของจังหวัดเชียงราย ตาก พะเยา และลำปาง จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอป่าแดด เทิง และพาน จังหวัดตาก มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอสามเงา และบ้านตาก จังหวัดพะเยา มีพื้นที่น้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่อำเภอดอกคำใต้ ภูกามยาว เชียงคำ จุน และเมืองพะเยา จังหวัดลำปางมีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอสบปราบ และเถิน
อ่านรายงานเพิ่มเติม


ข้อมูลด้านความเสียหาย
สรุปสถานการณ์สาธารณภัย ประจำวันที่ 11 พฤษภาคม 2554 เวลา 16.00 น.
(ตัดมาเฉพาะส่วนรายงานน้ำป่าไหลหลากน้ำท่วมฉับพลัน)
จังหวัดลำปาง เกิดฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 โดยมีปริมาณน้ำฝนมากที่สุด วัดได้ 191.2 มม. ในพื้นที่อำเภอเมืองลำปาง ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 9 อำเภอ 30 ตำบล 141 หมู่บ้าน ดังนี้
    1) อำเภอเมืองลำปาง 6 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ ตำบลบ้านเสด็จ (หมู่ที่ 1-4,7,8,10,12) บ้านเป่า (หมู่ที่ 1,2) ธงชัย (หมูที่ 2,9) บ้านเอื้อม (หมู่ที่ 3,4,6,14,15) บ้านแลง (หมู่ที่ 1,6,11) และตำบล บุญนาคพัฒนา (หมู่ที่ 8) เทศบาลนครลำปาง น้ำท่วมขังที่สี่แยกดอนปาน ห้าแยกประตูชัย ถนนจันทร์สุรินทร์หน้าสถานีขนส่ง ถนนพหลโยธินหน้าบริษัท กสท.โทรคมนาคม โรงพยาบาลศูนย์ลำปาง ชุมชนสุขสวัสดิ์ ชุมชนป่าขาม 1,2 และชุมชนเทศบาล 4 พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 70 ไร่ บ่อปลา 18 บ่อ ถนน 5 สาย สะพาน 3 แห่ง ฝาย 3 แห่ง ตลิ่ง 3 แห่ง ท่อระบายน้ำ 3 แห่ง เหมือง 1 แห่ง ราษฎรได้รับความเดือนร้อน 1,130 ครัวเรือน 3,541 คน
    2) อำเภอแจ้ห่ม 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งผึ้ง (หมู่ที่ 1-6) ตำบลเมืองมาย (หมู่ที่ 2-6) บ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายทั้งหลัง 1 หลัง สะพาน 2 แห่ง ถนน 3 สาย
    3) อำเภอแม่พริก 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่พริก (หมู่ที่ 7,8,11) ตำบลผาปัง (หมู่ที่ 1-5) ถนนเสียหาย 1 สาย สะพาน 1 แห่ง ฝาย 5 แห่ง เหมือง 2 แห่ง
    4) อำเภอเถิน 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลเถินบุรี สะพานไม้ขาด 1 แห่ง ในพื้นที่หมู่ที่ 1 และตำบลนาโปร่ง (หมู่ที่ 1,3,4,6,11) ถนนเสียหาย 6 สาย สะพาน 2 แห่ง
    5) อำเภอเสริมงาม 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลเสริมซ้าย (หมู่ที่ 1,3,5,6,7,11) เสริมกลาง (หมู่ที่ 7-9) เสริมขาว (หมู่ที่ 9ฉ และตำบลทุ่งงาม (หมู่ที่ 2-9) ราษฎรได้รับความเดือดร้อนประมาณ 2,000 ครัวเรือน 5,400 คน
    6) อำเภอสบปราบ 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลนายาง (หมู่ที่ 2,5,6,7) เฉพาะหมู่ที่ 7 ยังออกไม่ได้เนื่องจากสะพานขาด ตำบลแม่กั้ะ (หมู่ที่ 4,5,7) ตำบลสบปราบ (หมู่ที่ 3,5,9,12) และตำบลสมัย (หมู่ที่ 1,2,3,11) หมู่ 1 บ้านสมัย ราษฎรได้รับความเสียหาย 30 ครัวเรือน บ้านเรือนได้รับความเสียหายบางส่วน 30 ครัวเรือน มีสะพานไม้ขาด 1 แห่ง บ่อปลา และปศุสัตว์
    7) อำเภอเมืองปาน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งกว๋าว (หมู่ที่ 1,2,8,10,13,14) บ้านขอ (หมู่ที่ 1,3,5-8,10,11,13) และตำบลเมืองปาน (หมู่ที่ 4,5,7,8) พื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหาย 42 ไร่ เห็ดหอม 3,000 ก้อน บ่อปลา 3 บ่อ ถนน 24 สาย สะพาน 6 แห่ง ท่อระบายน้ำ 4 แห่ง ฝาย 26 แห่ง ตลิ่งพัง 4 แห่ง รางรินส่งน้ำ 4 แห่ง ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,978 ครัวเรือน 10,005 คน
    8) อำเภอแม่ทะ 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลน้ำโจ้ (หมู่ที่ 1-9) วังเงิน 2,3,8) หัวเสือ (หมู่ที่ 1,12) บ้านกิ่ว (หมู่ที่ 1,3,7) บ้านบอม (หมู่ที่ 2-6) และตำบลดอนสันแก้ว (หมูที่ 1-9) พื้นที่ปลูกถั่ว 5 ไร่ ถนนเสียหาย 12 สาย ท่อระบายน้ำ 17 แห่ง ฝาย 9 แห่ง
    9) อำเภอแม่เมาะ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลนาสัก (หมู่ที่ 1,6,9) และตำบลจากเหนือ (หมู่ที่ 3,5) ถนนเสียหาย 1 สาย ฝาย 1 แห่ง
ปัจจุบันระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้วทุกอำเภอ
จังหวัดลำพูน เกิดฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 โดยมีปริมาณน้ำฝนมากที่สุด วัดได้ 134.5 มม. ในพื้นที่อำเภอลี้ ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่อำเภอลี้ 7 ตำบล 84 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลดงดำ (หมู่ที่ 1-6) นาทราย (หมู่ที่ 1-23) ลี้ (หมู่ที่ 1-17) ศรีวิชัย (หมู่ที่ 2,3,5,6,8,9,10,12) แม่ตืน (หมู่ที่ 1-12,14,17) ป่าไผ่ (หมู่ที่ 1-9,11) และตำบลแม่ลาน (หมู่ที่ 1-7) ปัจจุบันระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 9 และ 10 พฤษภาคม 2554 เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมถนนสายอำเภอลอง-แพร่ พื้นที่อำเภอลอง บริเวณกิโลเมตรที่ 20 สาเหตุจากถนนขวางทางน้ำทำให้น้ำระบายไม่ทัน ปัจจุบันระดับน้ำลดลงเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว

ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (http://www.disaster.go.th)
         


ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------
“กว๊านพะเยา” น้ำใกล้ล้น-ต้องระบายด่วน คาดทะลักท่วม “จุน-เชียงคำ” ใน 24 ชม. [ ผู้จัดการออนไลน์ : 11 พ.ค. 54 ]
พะเยา - น้ำท่วมดอกคำใต้ยังทรงตัว หลายพื้นที่ยังจมบาดาล แต่เชื่อหากไม่มีฝนตกซ้ำคืนนี้ สถานการณ์จะคลี่คลายแน่ ขณะที่ชลประทานฯเผยกว๊านพะเยา เริ่มวิกฤต ระดับน้ำเกินลิมิตที่จะรับได้ 25 ซม.จี้ ประมง จว.เปิดประตูระบายน้ำแล้ว พร้อมเตือนชาวบ้านท้ายน้ำ “เชียงคำ-จุน” เตรียมรับน้ำท่วมภายใน 24 ชม.ต่อจากนี้
       
       สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา เริ่มลด ขณะที่บางจุดยังทรงตัว และประชาชนยังต้องการความช่วยเหลือ ส่วนสถานการณ์ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำในกว๊านพะเยา-อ่างเก็บน้ำร่องสัก-อ่าง เก็บน้ำห้วยใหม่ ยังคงมีปริมาณน้ำเกินระดับ ทำให้เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องระบายน้ำออก ซึ่งอาจส่งผลกระทบเกิดน้ำเอ่อเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่ม อ.เชียงคำ และ อ.จุนภายใน 24 ชั่วโมง
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัด พะเยา ว่า สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดพะเยา หลังจากเกิดฝนตกหนักเมื่อติดต่อกัน 2 วันที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมใน จงพะเยา โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.ดอกคำใต้ ซึ่งประกอบด้วย ต.บุญเกิด ต.ดอกคำใต้ ต.บ้านปิน ต.บ้านปิน ต.ดอนศรีชุม ต.หนองหล่ม ต.สันโค้ง และ ต.ดงสุวรรณ ซึ่งวันนี้ (11 พ.ค.) หลายพื้นที่น้ำได้เริ่มลดระดับลงแล้ว เหลือเพียงในเขตเทศบาลเมืองดอกคำใต้ ที่ระดับน้ำยังคงทรงตัว วัดได้เกือบ 50 เซนติเมตร
       
       โดยเฉพาะบริเวณที่ว่าการอำเภอ ดอกคำใต้ สำนักงานที่ดิน อ.ดอกคำใต้ และโรงเรียนดอกคำใต้วิทยาคม ที่เจ้าหน้าที่ทหาร จทบ.พะเยา และเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกัน และบ
รรเทาสาธารณภัยจังหวัด ต้องใช้เรือท้องแบบเพื่อลำเลียงคนและข้าวของเคลื่อนย้ายไปอยู่ในที่สูง
       
       ขณะที่น้ำในลำคลองร่อง ช้างที่ผ่านตัว อ.ดอกคำใต้ ยังคงเต็มลำคลอง ซึ่งเมื่อช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา (11 พ.ค.) บริเวณสองริมฝั่งลำน้ำ ถูกน้ำเอ่อเข้าท่วมสูงกว่า 1 เมตร
       
       นายประสงค์ พรหมสิทธิ์ ผอ.โรงเรียนดอกคำใต้วิทยาคม กล่าวว่า น้ำที่เอ่อเข้าท่วมโรงเรียนสถานที่ราชการ และบ้านเรือนประชาชนในครั้งนี้ถือว่า หนักสุดในรอบ 10 ปี ซึ่งเป็นน้ำจากอ่างเก็บน้ำร่องสัก และอ่างเก็บน้ำห้วยใหม่ ได้ล้นทางระบายน้ำ เริ่มเอ่อเข้าท่วมเมื่อเวลาประมาณ 18.00 น.ของเมื่อวานที่ผ่านมา (10 พ.ค.) จนถึงเที่ยงคืน น้ำได้สูงขึ้นถึงราว 1.5 เมตร จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ร่วมถึงอาจารย์ ช่วยกันขนของ
       
       โดยเฉพาะอุปกรณ์สำนักงานทั้ง คอมพิวเตอร์และเอกสารสำคัญต่างๆ ไปไว้บนชั้นสอง แต่ก็ได้สร้างความเสียหายให้กับโต๊ะ เก้าอี้ รวมถึงกำแพงโรงเรียนล้มทั้งหมด จนกระทั่งช่วงเช้าน้ำก็ยังไม่ลดลง ล่าสุดได้มีเจ้าหน้าที่ทหาร ปภ.และเจ้าหน้าที่ อบต.ดอนศรีชุมเข้าช่วยเหลืออยู่
       
       ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวไม่ต่าง จากหมวดการทางดอกคำใต้ และโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 46 ซึ่งอยู่ตรงข้างกับที่ว่าการ อ.ดอกคำใต้ มีอุปกรณ์สำนักงานและบ้านพัก ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายเช่นกัน
       
       ด้าน นายสุริยา พรหมเสน เจ้าของวิทยุชุมชนสุริยาเรดิโอ ตั้งอยู่ถนนบนสันกลาง ติดกับลำน้ำร่องช้าง ใน ต.ดอกคำใต้ กล่าวว่า ขณะนี้ (เวลา 14.00 น.) บริเวณถนนหน้าสถานี ระดับน้ำยังคงทรงตัว และท่วมถนนตลอดสาย รวมถึงน้ำในลำคลองร่องช้าง ก็ยังคงทรงตัวเต็มคลองเช่นกัน ซึ่งเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ทางเทศบาลเมืองดอกคำใต้ ได้นำกระสอบทรายมาแจกจ่ายให้กับประชาชนเพื่อทำเป็นทำนบ กันน้ำไม่ให้ไหลเข้าภายในตัวบ้าน
       
       ด้าน นายณรงค์ อินโส รักษาการหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพะเยา กล่าวว่า ขณะนี้หลายอำเภอได้รายงานสถานการณ์น้ำท่วมเข้ามาแล้ว โดยหนักสุดที่ อ.ดอกคำใต้ และบางส่วนที่ อ.เมืองพะเยา อ.ภูกามยาว อ.เชียงคำ และ อ.ปง ซึ่งได้ประสานขอเรือท้องแบน จากสำนักงานศูนย์ป้องกัน และบรรเทาสาธารณที่ 15 จังหวัดเชียงราย จำนวน15 ลำ เข้าช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย และเตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุ พร้อมทั้งได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อประสานความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยอย่างทันท่วงที
       
       สำหรับความเสียหายทาง ด้านการเกษตรนั้น ขณะนี้ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยากำลังเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อเร่งให้ ความช่วยเหลือเกษตรกรแล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกหอมแดง ที่คาดว่าจะเสียหายไม่น้อยกว่า 10,000 ไร่
       
       นายเจนศักดิ์ ลิมปิติ นายช่างชลประทานอาวุโส ชลประทานจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำร่องสัก และอ่างเก็บน้ำห้วยใหม่ ยังคงล้นสปริงเวย์อยู่ แต่ได้ลดปริมาณลงแล้ว เนื่องจากไม่มีฝนตกซ้ำลงมา
       
       “ทั้งนี้ เชื่อว่า ปริมาณน้ำในอ่างต่างๆจะเริ่มลดระดับลงเข้าสู่ภาวะปกติ หากไม่มีฝนตกซ้ำลงมาในคืนนี้”
       
       แต่ปริมาณน้ำในกว๊านพะเยา ยังคงวิกฤต ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเกินระดับที่กว๊านจะรับได้ไป 25 เซนติเมตรแล้ว จึงได้ประสานไปยังสำนักงานประมงจังหวัด ให้เปิดประตูระบายน้ำออก ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ปลายน้ำถูกน้ำท่วม โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มริมอิงใน อ.จุน และ อ.เชียงคำ ภายในเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมงต่อจากนี้ จึงขอให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือกับภาวะดังกล่าวด้วย


--------------------------------------------------------------------------------------

เมืองลำปางอ่วมหนัก น้ำป่าทะลักท่วม รถไฟหยุดเดินชั่วคราว [ ไทยรัฐ : 11 พ.ค. 54 ]
ฝนตกหนักถล่ม 2 วันติดทำให้น้ำป่าจากดอยพระบาท ไหลเข้ามาท่วมในพื้นที่ อ.เมือง ลำปาง ขณะที่สถานีรถไฟนครลำปางต้องหยุดเดินรถชั่วคราว เพราะน้ำท่วมจนไม่สามารถนำขบวนรถผ่านไปได้ ส่วนที่ ที่ อ.สบปราบเสียหายหนักสุด...

กรณีฝนตกหนักตั้งแต่วันที่ 9 - 10 พ.ค.2554 ติดต่อกัน 2 วัน ทำให้จังหวัดลำปางมีน้ำท่วมอย่างหนัก เนื่องจากฤทธิ์น้ำป่าจากดอยพระบาท ที่อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กม. ได้ไหลเข้ามาท่วมในพื้นที่ อ.เมืองลำปาง โดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองลำปาง เจอน้ำป่าไหลเข้าท่วมหมู่บ้านในเขตเทศบาลนครลำปาง ตั้งแต่กลางดึกวันที่ 10 ที่ผ่านมา ตั้งแต่สี่แยกภาคเหนือ ต.ชมพู อ.เมืองลำปาง ที่เป็นแยกไป จ.เชียงใหม่ และ จ.แพร่ มีน้ำท่วมสูง การจราจรติดขัดเกือบตลอดทั้งวัน โดยมีเจ้าหน้าที่ทหาร และเจ้าหน้าจราจร มาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่ใช้เส้นทางนี้ ทำให้มีการจราจรติดขัดตลอด

ส่วนทางสถานีรถไฟนครลำปางต้องหยุดเดินรถชั่วคราว เนื่องจากน้ำป่าได้ไหลทะลัก เข้าท่วมสถานีรถไฟนครลำปาง ที่อยู่ในพื้นที่ต่ำสุดทำให้ขบวนรถฟรี กรุงเทพ - เชียงใหม่ จำนวน 7 โบกี้ ต้องจอดรถที่สถานีหนองวัวเฒ่า ซึ่งเป็นสถานีเล็กห่างจากสถานีลำปางประมาณ 3 กม. และให้ประชาชนที่มารถขบวนนี้ลงที่ทั้งหมดเนื่องจากไม่สามารถจะนำขบวนรถ ผ่านไปที่สถานีนครลำปางได้โดยเจ้าหน้าที่สถานีรถไฟลำปางได้เช่าเหมารถบัส จำนวน 5 คัน มาขนย้ายผู้โดยสาร สร้างความโกลาหลให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก

นาย พนัส มงคลฤทธิ์ นายสถานีรถไฟนครลำปาง กล่าวว่า ขบวนรถเร็ว กรุงเทพ - เชียงใหม่ ที่เป็นขบวนรถฟรี มีผู้โดยสารประมาณ 300 กว่าคน ต้องลงสถานีเล็กทั้งหมด เนื่องจากน้ำในบริเวณสถานีรถไฟท่วมรางรถไฟสูงเกือบ 1 เมตร หลังจากเอาผู้โดยสารลงแล้ว ตนเองได้นำรถจักรไปลากตู้โบกี้เปล่าที่ไม่มีคนแล้ว จากนั้นลากตู้เปล่าเข้ามาที่สถานีรถไฟนครลำปาง ด้วยความยากลำบาก ส่วนสถานการณ์ในขณะนี้ทางเทศบาลนครลำปางได้นำสูบน้ำขนาดใหญ่มาติดตั้งสูบน้ำ ที่บริเวณที่ท่วมขังสถานีรถไฟนครลำปางออกอย่างเร่งด่วน หากมีฝนตกลงมาในคืนนี้อีกสถานีรถไฟจำเป็นต้องหยุดชั่วคราวต่อไปอีก

ด้าน สถานการณ์ทั่วไปในจังหวัดลำปาง น้ำป่าได้สร้างความเสียหายให้กับประชาชนลำปาง ในเขต อ.เมืองปาน อ.แม่เมาะ อ.ห้างฉัตร อ.เกาะคา และ อ.สบปราบ โดยเฉพาะ อ.สบปราบ ได้รับความเสียหายมากที่สุด ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ ปภ.เขต 10 ลำปาง และ เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร ระดมเข้าช่วยเหลือประชาชนในท้องที่นี้แล้วและได้ขนย้าย หมู่บ้านที่อยู่ในหุบเขามาอยู่ที่สูง เนื่องจากมีท่าทีว่าจะมีฝนตกลงมาอีก และ ทางจังหวัดได้สั่งการให้อำเภอเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในระยะ 2-3 วันนี้ และให้เร่งสำรวจความเสียหายเพื่อช่วยเหลือต่อไป

ส่วนสถานการณ์ น้ำท่วมในครั้งนี้ ทำให้ชาวบ้านอีกส่วนหนึ่งมีรายได้เสริมในการ ไปจับอึ่งอ่างมาขาย ซึ่งเป็นอาหารที่ชื่นชอบของนักเปิบอาหารแปลกพิสดาร โดยเฉพาะอึ่งอ่างตัวเมียหรืออึ่งอ่างไข่ ขายตัวละ 20-25 บาท ส่วนอึ่งอ่างตัวผู้ขายตัวละ 15 บาท ทำให้ปริมาณอึ่งอ่างที่จับได้ไม่พอหายและ สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก

--------------------------------------------------------------------------------------
นาข้าวดอกคำใต้จมบาดาลแล้วนับหมื่นไร่ น้ำ 3 อ่างล้นทะลักสมทบน้ำป่า [ ผู้จัดการออนไลน์ : 10 พ.ค. 54 ]
พะเยา - “ดอกคำใต้” อ่วม! น้ำป่าไหลหลากสมทบน้ำจาก 3 อ่างล้นทะลัก ชาวบ้านเร่งเก็บของหนีวุ่น ขณะที่นาข้าว “ห้วยลาน” กว่า 10,000 ไร่ จมบาดาลเสียหายกว่า 2.5 ล้านบาท
       
       วันนี้ (10 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าเหตุน้ำท่วม อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ว่า ระดับน้ำในแม่น้ำหลายพื้นที่ในจังหวัดพะเยา ยังคงเพิ่มระดับสูงขึ้น โดยในเขตเทศบาลเมือง (ทม.) ดอกคำใต้ มีน้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นทะลักจากอ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง ไหลรวมกันในตัวเมืองดอกคำใต้
       
       นายจีรเดช ศรีวิราช นายกเทศมนตรีเมือง (ทม.) ดอกคำใต้ จ.พะเยา กล่าวว่า ประมาณ 24.00 น.คืนวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา ได้มีฝนตกหนักจนถึงเช้านี้ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก ประกอบกับระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำ 3 แห่งในพื้นที่ คือ อ่างห้วยสัก อ่างห้วยใหม่ และอ่างร่องช้าง ที่มากขึ้นไหลล้นออกมายิ่งทำให้น้ำไหลเข้ามาท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ ทม.ดอกคำใต้ ประมาณ 20 ชุมชน โดยระดับน้ำสูง 30-50 ซม.ทางเทศบาลจึงได้แจกกระสอบทรายให้แก่ประชาชนนำไปวางกั้นน้ำหน้าบ้าน ซึ่งมีเจ้าหน้าทหารจากจังหวัดทหารบก (จทบ.)พะเยา นำกำลังมาช่วยประชาชนอย่างเร่งด่วนแล้ว
       
       “อย่างไรก็ตาม ทางเทศบาลได้แจ้งให้ประชาชนทุกชุมชนในพื้นที่ให้ระมัดระวังน้ำป่าไหลหลากและ น้ำท่วมซ้ำ หากฝนตกไม่หยุด เนื่องจากการติดตามรายงานพยากรณ์อากาศพบว่าจะมีฝนตกหนักในหลายจังหวัดภาค เหนือจนถึงวันที่ 11 พฤษภาคม 2554 นี้ โดยเตือนให้ประชาชนเก็บข้าวของขึ้นไว้ในที่สูงเพื่อให้ปลอดภัยจากน้ำท่วมและ ไม่ให้เกิดความเสียหาย” นายก ทม.พะเยา กล่าว
       
       ด้าน นายประพันธ์ สิงห์ชัย นายกเทศมนตรีตำบล (ทต.) ห้วยลาน อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ ต.ห้วยลาน เนื่องจากที่นาข้าวในหมู่บ้านจำนวน 8 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 2, 4, 5, 6, 7, 8 และ 13 เป็นพื้นที่ราบลุ่มรองรับน้ำที่ไหลมาจากในเขตชุมชนเมืองดอกคำใต้ ต.ดงสุวรรณ และ ต.สันโค้ง ทำให้น้ำที่ไหลมาท่วมปลายทางในพื้นที่ ต.ห้วยลาน คือ พื้นที่นาข้าว ซึ่งขณะนี้เกษตรกรได้ทำนาหว่านไปแล้วสูงประมาณ 20 ซม. ปรากฏว่าประมาณ 10,000 ไร่ น้ำท่วมทั้งหมดเลย เบื้องต้นตนได้มอบหมายเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจความเสียหายของพันธุ์แล้ว ประมาณ 2,520,000 บาท


--------------------------------------------------------------------------------------
คนแจ้ห่มผวาอ่างแตกซ้ำรอย 18 ปี ก่อนหลังน้ำป่าทะลักท่วม 3 หมู่บ้าน [ ผู้จัดการออนไลน์ : 10 พ.ค. 54 ]

ลำปาง - น้ำป่าไหลทะลักท่วม 3 หมู่บ้านที่อำเภอแจ้ห่ม เมืองลำปาง ชาวบ้านเก็บของหนีกันวุ่น แถมต้องผวาหนัก หวั่นอ่างเก็บน้ำแตกเหมือน 18 ปีก่อน
       
       รายงานข่าวจากจังหวัดลำปาง แจ้งว่า น้ำป่าจากห้วยขุนแม่ตาก ห้วยแม่ตั๋ง ห้วยแม่โกงกาง ได้เริ่มไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร รวม 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 3 บ้านหัวฝาย หมู่ 4 บ้านทุ่งผึ้ง หมู่ 6 บ้านแจ้คอน เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ตั้งแต่ช่วงสายของวันนี้ (10 พ.ค.) อย่างรวดเร็ว
       
       และแม้ผู้นำหมู่บ้าน ต้องประกาศเสียงตามสายให้ชาวบ้านเก็บของหนีน้ำโดยเร็วที่สุด แต่ก็ไม่ทัน เนื่องจากน้ำไหลทะลักเข้าอย่างรวดเร็ว ทำให้ทรัพย์สินที่ชาวบ้านเก็บไว้ใต้ถุนบ้านเสียหาย โดยเฉพาะกระเทียมที่ชาวบ้านเก็บและมัดไว้ใต้ถุนบ้าน ข้าวเปลือกที่ใส่กระสอบไว้ จมน้ำเสียหายจำนวนมาก
       
       ขณะที่ นายสุพรรณ หลีกเลี่ยง กำนันตำบลทุ่งผึ้ง นายถวิล กุญชร นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งผึ้ง พร้อมคณะเจ้าหน้าที่อำเภอแจ้ห่ม เร่งเข้าช่วยเหลือและสำรวจความเสียหายของชาวบ้านเป็นการเร่งด่วน พร้อมออกสำรวจอ่างเก็บน้ำแม่ตาก ว่า ปริมาณน้ำมากหรือไม่ เนื่องจากชาวบ้านเกรงว่าอ่างเก็บน้ำขุนแม่ตาก ซึ่งมีความจุอ่าง 900,000 ลบ.ม.จะแตกเหมือนกับในปี 2537 ที่อ่างเก็บน้ำแตกทำให้น้ำป่าไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนของชาวบ้านจำนวนมาก
       
       อย่างไรก็ตาม ล่าสุด ปริมาณเริ่มลดลงในบางพื้นที่ แต่ละห้วยต่างๆ ยังคงมีปริมาณและยังไหลทะลักท่วมพื้นที่การเกษตรจำนวนมาก ซึ่งเบื้องต้นพบว่าพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านที่ได้รับความเสียหายได้แก่สวน ผักกาดเขียวปลี ไร่ข้าว โพดหวาน สวนมะนาว ฯลฯ

--------------------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำท่วม อำเภอลี้ หนักสุดในรอบหลายปี [ 10 พ.ค. 54 ]

รายงานสถานการณ์น้ำท่วม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน วันที่ 10 พฤษภาคม 2554 จากการสอบถามผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน บ้านฮ่อมต้อ ได้ความว่าฝนตกตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 ซึ่งเป็นการตกมา 1 รอบก่อนจะซาไป ก่อนจะมาตกซ้ำอีกครั้งในช่วงบ่าย และแรงมากกว่าเดิม หนำซ้ำยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดแต่อย่างใด

ฝนยังคงตกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งช่วงเที่ยงคืน กระแสไฟฟ้าก็ดับลงไป สร้างความวุ่นวายให้กับประชาชนในละแวกนั้นพอสมควร เนื่องจากต้องหาเทียนไข กันจ้าละหวั่น ประกอบกับเสียงที่ดังอยู่ไม่ขาดสาย

เวลาตีหนึ่งครึ่ง ระดับน้ำแม่ลี้ เริ่มสูงขึ้น จนทะลักออกมาไหลท่วม บ้านเรือนของประชาชน อย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องเร่งขนข้าว ขนของหนีน้ำกันอย่างจ้าละหวั่น ท่ามกลางกระแสไฟที่ยังคงดับอยู่อย่างนั้น ฝนยังคงตกลงมาเรื่อยๆ ระดับน้ำสูงขึ้นระดับหัวเข่า กระแสไฟก็ยังไม่มา การยกข้าวของขึ้นที่สูงยังคงดำเนินไปเรื่อยๆ โคลนเลนต่างๆ ไหลมาตามน้ำ เข้าบ้านไม่ยั้ง ชาวบ้านต้องช่วยกันผลัดมาดูว่า ระดับน้ำจะท่วมสูงขึ้นไปกว่านี้อีกหรือไม่ บางบ้านที่เพิ่งทำรั้วบ้านขึ้นมาใหม่ ก็ต้องจำทนยอมรับสภาพ การพังทลาย ที่เกิดจากกระแสน้ำที่ไหลเข้ามาท่วมอย่างรวดเร็ว

ใกล้รุ่งเช้า ฝนเริ่มซาลงไป พอเห็นแสงแดดมาบ้าง แต่ฟ้าส่วนใหญ่ก็ยังมืดครึ้ม พร้อมจะกระหน่ำเทลงมาอีกครั้ง ชาวบ้านส่วนใหญ่ ออกมาช่วยกันเก็บกวาดพื้นบ้าน ทำความสะอาดโคลนตม ที่ไหลมาตามกระแสน้ำ บ้านที่ติดกับแม่น้ำ ระดับน้ำก็ยังไม่ลดลง ส่วนถนนหนทางต่างๆ รถราก็ไม่สามารถเดินทางเข้าไปถึงได้ ต้องใช้การเดินเท้าไปเท่านั้น






--------------------------------------------------------------------------------------
“ดอกคำใต้” เจอน้ำป่าท่วมซ้ำถนนขาด บ้านเรือน พท.เกษตร จมมิด [ ผู้จัดการออนไลน์ : 10 พ.ค. 54 ]

พะเยา - ฝนที่ตกหนักตลอดคืน ทำให้น้ำป่าจากเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ ไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร 3 ตำบลเขตอำเภอดอกคำใต้ซ้ำ ถนนสายพะเยา-เชียงคำ ปภ.จังหวัดพะเยา เตือน ปชช.ให้เร่งขนทรัพย์สินหลังอ่างเก็บน้ำเกินปริมาณที่จะรับได้
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัด วันนี้ (10 พ.ค.) ว่า ถนนสายพะเยา-เชียงคำ ช่วงกิโลเมตรที่ 20,25 และ 32 ในเขตพื้นที่ตำบลสันโค้ง ตำบลดงสุวรรณ และตำบลห้วยลาน ต้องถูกกระแสน้ำตัดขาด ทำให้การสัญจรเป็นไปด้วยความยากลำบาก หลังฝนที่ตกลงมาตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา
       
       ทั้งยังมีน้ำป่าจากภูเขาใน เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ ไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ในพื้นที่ 3 ตำบลดังกล่าวจำนวนหลายร้อยหลังคาเรือน โดยระดับน้ำที่เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรบางจุดสูงเกือบ 2 เมตร ชาวบ้านบางส่วนไม่สามารถออกจากบ้านเรือนได้เนื่องจากระดับน้ำสูง
       
       นอกจากนั้น น้ำป่าดังกล่าวยังไหล่บ่าเข้าท่วมตัดถนนสายพะเยา-เชียงคำ หลายจุดส่งผลให้การสัญจรค่อนข้างลำบาก ถนนเข้าหมู่บ้านถูกกระแสน้ำตัดขาดเป็นช่วงๆ
       
       ขณะที่ในเขตเทศบาลเมืองดอกคำใต้ ที่ถูกน้ำจากลำน้ำร่องช้าง เข้าท่วมเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ในขณะนี้น้ำได้เพิ่มระดับไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือน บริเวณริมลำน้ำเป็นรอบที่สองของเดือนนี้อีกครั้งหนึ่ง
       
       ด้าน สนง.ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพะเยา ได้ประสานขอให้สถานีวิทยุหลักและวิทยุชุมชนในพื้นที่ออกประกาศเตือนประชาชน ให้เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้เพื่อป้องกัน ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.ดอกคำใต้ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
       
       ขณะที่ นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่ อ.ดอกคำใต้ เพื่อสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้น พร้อมสั่งการให้สำนักงาน ปภ.จังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ สำรวจความเสียหาย เพื่อเร่งให้ความช่วยเหลือประชาผู้ประสบภัยต่อไป




--------------------------------------------------------------------------------------
ชาวอำเภอลองผวาอ่างแตกหลังฝนถล่มหนักทำน้ำล้นอ่างเหนือหมู่บ้าน [ ผู้จัดการออนไลน์ : 10 พ.ค. 54 ]

แพร่ - ฝนกระหน่ำหนัก ทำน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำหนองหอย เขตอำเภอลอง ล้นทะลัก แถมพบร่องรอยน้ำรั่วซึม ทำชาวบ้านท้ายอ่างผวาหนัก หวั่นอ่างแตกจนเกิดโศกนาตกรรม แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบด่วน ล่าสุดชลประทาน นายช่าง อบต.เฝ้าระวังดูอาการก่อนแจ้งเตือนภัยแล้ว
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัด แพร่ ว่า ช่วงเที่ยงวันนี้ (10 พ.ค.) ชาวบ้านใน ต.บ้านปินหมู่ 3 และหมู่ 8 บ้านทุ่งหัวตากล้า พบว่า อ่างเก็บน้ำหนองหอย ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลางเพื่อใช้ในการเกษตร มีน้ำล้นทะลักต่อเนื่องมา 2 วันแล้ว หลังฝนตกหนักติดต่อกัน ทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังปรากฏว่า มีน้ำรั่วซึมออกจากฐานสันอ่างดังกล่าว จนทำให้ชาวบ้านเกรงว่า หากฝนยังตกหนักต่อเนื่อง อ่างเก็บน้ำดังกล่าวอาจจะพัง กระทบกับชาวบ้านที่อยู่ใต้อ่างดังกล่าว จึงได้แจ้งให้ผู้รับผิดชอบเข้ามาตรวจสอบ
       
       ต่อมาเวลา 14.00 น.วันเดียวกัน เจ้าหน้าที่จากชลประทานจังหวัดแพร่ และนายช่าง อบต.บ้านปิน ได้เดินทางเข้าไปตรวจสภาพอ่างเก็บน้ำ ซึ่งอยู่ลึกจากเส้นทางสายแพร่-ลอง ไปทางทิศเหนือ 1 กม. เจ้าหน้าที่ได้ทำการถ่ายรูปจุดที่มีน้ำล้นและบริเวณที่มีน้ำรั่วซึม เพื่อรายงานต่อผู้บังคับบัญชาต่อไป แต่เบื้องต้น ขณะนี้อ่างดังกล่าวยังไม่อยู่ในสภาวะอันตราย จึงไม่มีการแจ้งให้มีการอพยพผู้คนแต่อย่างใด
       
       อ่างเก็บน้ำแห่งนี้สร้างโดยกรม ชลประทาน มีอายุกว่า 20 ปีแล้ว เป็นอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตร กั้นลำห้วยหนองหอย ตั้งอยู่บริเวณหมู่ 3 ต.บ้านปิน อ.ลอง จ.แพร่ ล่าสุดฝนตกจนปริมาณน้ำมีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และน่าจะใกล้ขีดอันตรายถ้าไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้ โดยทางด้านใต้ของอ่างมีโรงเรียน และชุมชนบ้านหัวตากล้า หมู่ 3 และหมู่ 8 ตั้งอยู่ ซึ่งยังไม่มีใครรับรองความปลอดภัยได้
       
       ปัญหาดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการ ตรวจสอบ และต้องรอส่งภาพถ่ายและสภาพปัญหาให้กับนายชวน ศิรินันท์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ จึงจะมีการสั่งการว่า จะประกาศให้อ่างเก็บน้ำดังกล่าวเป็นเขตอันตรายและอพยพผู้คนที่อยู่ใต้สัน อ่างหรือไม่
       
       นางบุญรัตน์ ศิริวัฒนานุสรณ์ อายุ 35 ปี อยู่บ้านเลขที่ 39/ 2 หมู่ 8 ต.บ้านปิน อ.ลอง จ.แพร่ กล่าวว่า หลังจากชาวบ้านทราบข่าวต่างพากันกลัวว่าอ่างเก็บน้ำจะพังลงมา ชาวบ้านต้องการให้มีการตรวจสอบและประกาศให้รับทราบทั่วกัน ว่า อันตรายหรือไม่อันตรายอย่างไร ถ้าปล่อยไว้เช่นนี้ปัญหาใหญ่คือถ้าอ่างพังลงมาประชาชนจะอพยพหนีไม่ทัน


--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมเมืองลำปางขยายวงกว้างไม่หยุด บางจุดระดับน้ำสูงกว่าเมตรแล้ว [ ผู้จัดการออนไลน์ : 9 พ.ค. 54 ]
ลำปาง - ฝนตกตลอดทั้งวันทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนของประชาชนในเขตเทศบาลนครขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ บางแห่งระดับน้ำท่วมสูงถึง 1 เมตร
       
       รายงานข่าวจากจังหวัดลำปาง แจ้งว่า วันนี้ (9 พ.ค.) จากฝนยังคงตกต่อเนื่องตลอดทั้งวัน นอกจากจะทำให้น้ำทะลักท่วมถนนหลายสายที่น้ำระบายไม่ทันแล้ว ในชุมชนสนามบิน ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ที่บ้านของนายพลเอก อนันตสุข ซึ่งเป็นบ้านปูนสองชั้น ในเขตชุมชน สนามบิน ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง น้ำได้เอ่อไหลทะลักเข้าท่วมพร้อมกับบ้านหลังอื่นๆ อีกกว่า 10 หลัง โดยบางจุดมีระดับสูงถึงระดับเอว หรือท่วมสูงกว่า 1 เมตร นอกจากนี้บางแห่งเป็นร้านรับซื้อของเก่าน้ำได้ทะลักเข้าท่วมส่งผลให้ของที่ เก็บไว้จำนวนมากลอยน้ำออกไปและกระจายเกลื่อนไปทั่วบริเวณ
       
       นอกจากนี้ ชุมชนป่าขามที่อยู่ใกล้เคียงกันน้ำก็ได้ท่วมเช่นกัน ชาวบ้านต่างเร่งทยอยเก็บข้าวของขึ้นไว้ที่สูงแล้ว ล่าสุดฝนยังคงตกอยู่อย่างต่อเนื่อง
       
       สำหรับสาเหตุของน้ำท่วมในเขต เทศบาลนครลำปาง ไม่ได้เกิดจากน้ำล้นแม่น้ำวังแต่อย่างใด แต่เกิดจากที่ฝนตกหนักติดต่อกันยาวนานหลายชั่วโมง ทำให้น้ำไหลผ่านท่อระบายน้ำไม่ทันจนล้นทะลักออกจากท่อระบายน้ำและเข้าท่วม บ้านเรือนราษฎรดังกล่าว





--------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • ผู้จัดการออนไลน์ : http://www.manager.co.th/