บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมจังหวัดน่าน (17-18 กรกฎาคม2553)

ภาพเส้นทางพายุ


พายุโซนร้อน “โกนเซิน” (CONSON) ในทะเลจีนใต้ตอนกลางได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นไต้ฝุ่นในวันที่ 16 ก.ค. จากนั้นเคลื่อนตัวผ่านทางตอนใต้ของเกาะไหหลำเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ยแล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนก่อนเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 17 ก.ค. แล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำในวันต่อมา ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์

ที่มา : ภาพจากมหาวิทยาลัยฮาวาย เนื้อหาจากรายงานกรมอุตุนิยมวิทยา

ภาพดาวเทียม GOES-9

16/07/2010
12GMTT

17/07/2010
11GMT

18/07/2010
11GMT

19/07/2010
11GMT
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่ามีกลุ่มเมฆหนาเคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่งผลให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือมีฝนตกค่อนข้างมาก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพแผนที่อากาศ

16/07/2010

17/07/2010

18/07/2010

19/07/2010

จากภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าร่องมรสุมได้พาดผ่านประเทศไทยตอนบนและมีีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 13 ก.ค. โดยมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์และมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 16-18 ก.ค. จากอิทธิพลของพายโกนเซิน และส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัด แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก หนองคาย เลย อุดรธานี สกลนคร นครพนม โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดน่านและหนองคายที่เกิดน้ำท่วมในหลายบริเวณ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา

สกลนคร
16
/7/2010
22.38:25GMT

สกลนคร
17
/7/2010
16:38GMT

สกลนคร
18
/7/2010
00:38GMT

สกลนคร
19
/7/2010
16:38GMT

พิษณุโลก
16
/7/2010
17:25GMT

พิษณุโลก
17
/7/2010
14:25GMT

พิษณุโลก
18
/7/2010
16:25GMT

พิษณุโลก
19
/7/2010
13:25GMT
ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์พิษณุโลกและเรดาร์สกลนคร รัศมี 240 กม. ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า่ช่วงวันที่ 16-19 ก.ย. มีกลุ่มฝนกระจุกตัวบริเวณภาึคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนค่อนข้างมาก อันเนื่องมาจากเป็นช่วงที่พายโกนเซิน ได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะช่วงวันที่ 17-18 ก.ค. ที่อิทธิพลของพายุส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เรดาร์พิษณุโลก   เรดาร์สกลนคร
    

ปริมาณฝนสะสม

16/7/2010 [12:00]

17/7/2010 [00:00]

17/7/2010 [12:00]

18/7/2010 [0000]

18/7/2010 [1200]

19/7/2010 [0000]
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่าในวันที่ 18 ก.ค.มีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างหนาบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคเหนือฝั่งตะวันออก บริเวณจังหวัด เลย หนองคาย น่าน อุตรดิตถ์

รายละเอียดเพิ่มเติม

แผนภาพปริมาณฝนสะสมจาก NASA

16/07/2010 [00Z-21Z]

17/07/2010 [00Z-21Z]

18/07/2010 [00Z-21Z]

19/07/2010 [00Z-21Z]
 
จากแผนภาพฝนสะสมของ NASA พบว่าช่วงวันที่ 16-17 ก.ค. มีกลุ่มฝนกระจุกตัวค่อนข้างมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคเหนือฝั่งตะวันออก หลังจากนั้นปริมาณฝนได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง


ปริมาณฝนจากสถานีตรวจวัดกรมอุตุนิยมวิทยา

16/7/2010

17/7/2010

18/7/2010

19/7/2010
วันที่
สถานี
ปริมาณฝนสะสมรายวัน(มม.)
17/7/2553  ท่าวังผา
109.5
 น่าน
60.8
 น่าน สกษ.
65.2
18/7/2553  ทุ่งช้าง
103.9
 ท่าวังผา
63.4
 กำแพงเพชร
71.1
19/7/2553  ดอยอ่างขาง
67.6

ข้อมูลฝนสะสมจากสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าช่วงวันที่ 17-18 ก.ค. บริเวณจังหวัดน่านมีฝนตกค่อนข้างหนัก โดยวันที่ 17 ก.ค. ปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุดอยู่ที่สถานีท่าวังผา โดยมีปริมาณฝน 109.5 มิลลิเมตร ส่วนวันที่ 18 ก.ค. ปริมาณฝนสะสมรายวันสูงสุดอยู่ที่สถานีทุ่งช้าง โดยวัดปริมาณฝนได้ 103.9 มิลลิเมตร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การเตือนภัยผ่านโทรศัพท์มือถือ (sms) จากระบบโทรมาตรขนาดเล็ก

วันที่
เวลาเตือนภัย
ช่วงเวลาฝนสะสม
สถานที่
ปริมาณฝน (มม.)
ระดับการเตือนภัย
19/7/2010
8:00:00
ฝนวานนี้ 
ต.ปอน จ.น่าน 103.9
วิกฤต
18/7/2010
21:00:00
ฝน07-20น.
ต.เปือ จ.น่าน 65.4
เฝ้าระวังสูงสุด
 
17:00:00
ฝน07-17น.
ต.บ่อเกลือใต้ จ.น่าน 80.8
วิกฤต
 
15:00:00
ฝน07-15น.
ต.บ่อเกลือใต้ จ.น่าน 66.2
เฝ้าระวังสูงสุด
 
9:00:00
ฝนวานนี้
ต.แสนทอง จ.น่าน 109.5
วิกฤต
 
9:00:00
ฝนวานนี้ 
ต.สะเนียน จ.น่าน 65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
 
5:00:00
ฝน18/07-19/05น.
ต.บ่อเกลือใต้ จ.น่าน 65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
17/7/2010
19:00:00
ฝน07-18น. 
ต.จอมพระ จ.น่าน 67.2
เฝ้าระวังสูงสุด
 
19:00:00
ฝน17-18น.
ต.ถืมตอง จ.น่าน 26.8
เฝ้าระวังสูงสุด
 
18:00:00
ฝน17-18น.
ต.หนองแดง จ.น่าน 29.8
เฝ้าระวังสูงสุด
 
8:00:00
ฝน06-07น.
ต.จอมพระ จ.น่าน 40.4
วิกฤต
 
8:00:00
ฝน06-07น.
ต.จอมพระ จ.น่าน 26.6
เฝ้าระวังสูงสุด
 
6:00:00
ฝน17/07-18/05น.
ต.ป่าคา จ.น่าน 86.6
วิกฤต
 
6:00:00
ฝน17/07-18/05น.
ต.บ่อเกลือใต้ จ.น่าน 100.8
วิกฤต
 
4:00:00
ฝน17/07-18/04น.
ต.ดู่พงษ์ จ.น่าน 83.4
วิกฤต
 
3:00:00
ฝน17/07-18/03น.
ต.ป่าคา จ.น่าน 66.4
เฝ้าระวังสูงสุด
 
3:00:00
ฝน17/07-18/03น.
ต.ถืมตอง จ.น่าน 65.2
เฝ้าระวังสูงสุด
 
1:00:00
ฝน17/07-18/00น.
ต.ดู่พงษ์ จ.น่าน 67.4
เฝ้าระวังสูงสุด
 
1:00:00
ฝน17/07-18/00น. 
ต.จอมพระ จ.น่าน 80.8
วิกฤต
16/7/2010
6:00:00
ฝน05-06น.
ต.เปือ จ.น่าน 37.8
วิกฤต
3:00:00
ฝน02-03น.
ต.บ่อเบี้ย จ.อุตรดิตถ์ 25.6
เฝ้าระวังสูงสุด


ข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดระดับน้ำท่า กรมชลประทาน

(N.64)บ้านผาขวาง อ.เมือง จ.น่าน
(ระดับตลิ่ง 9.5 ม.)

(N.1)หน้าสำนักงานป่าไม้ อ.เมือง จ.น่าน
(ระดับตลิ่ง 7 ม.)
จากกราฟแสดงข้อมูลระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดน้ำท่ากรมชลประทาน พบว่าที่สถานีวัดน้ำท่าบริเวณจังหวัดน่านมีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยในวันที่ 19 ก.ค. เวลา 06.00 น. ระดับน้ำที่สถานีบ้านผาขวาง อยู่ที่ 8.19 เมตร ส่วนที่หน้าสำนักงานป่าไม้ ระดับน้ำอยู่ที่ 6.95 เมตร

ข้อมูลปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่  

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเขื่อนแควน้อย

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำกักเก็บเขื่อนแควน้อย

จากการที่มีฝนตกค่อนข้างมากอันเป็นผลมาจากอิทธิพลของพายุโกนเซิน นั้น ทำให้ปริมาณไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์และเขื่อนแควน้อย เพิ่มสูงขึ้นค่อนข้างมาก ซึ่งก่อนหน้านี้ปริมาณน้ำไหลลงอ่างอยู่ในระดับต่ำตั้งแต่ปลายปีที่แล้วเป็นต้นมา ส่วนปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำอื่น ๆ ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รายละเอียดตามตารางด้านล่าง

รายละเอียดเพิ่มเติม

เขื่อน
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสม
ช่วงวันที่ 16-21 ก.ค.53 (ล้าน ลบ.ม.)
ภาคเหนือ
ภูมิพล (2)                          13.39
สิริกิติ์ (2)                        173.08
แม่งัด                            3.56
กิ่วลม                            3.07
แม่กวง                            0.85
กิ่วคอหมา                            0.36
แควน้อย                          17.22
รวมภาคเหนือ                        211.53
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลำปาว                            2.39
ลำตะคอง                            1.66
ลำพระเพลิง                            1.35
น้ำอูน                            0.43
อุบลรัตน์ (2)                          14.06
สิรินธร (2)                            5.46
จุฬาภรณ์ (2)                            1.61
ห้วยหลวง                            0.40
ลำนางรอง                            0.01
มูลบน                            0.15
น้ำพุง (2)                            0.44
ลำแซะ                            0.51
รวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ                          28.47


ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------

น่านเร่งฟื้นฟูความเสียหายหลังน้ำลด [ โพสต์ทูเดย์ : 20 ก.ค. 53 ]

สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดน่านได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว โดยระดับน้ำน่านเมื่อเวลา 10.00 น. วัดได้เพียง 3.35 เมตร เท่านั้น แต่มีชุมชนในเขตเทศบาลบางแห่งที่อยู่ติดลำน้ำน่านยังมีน้ำท่วมขัง ได้แก่ ชุมชนบ้านท่าลี่ ระดับน้ำเหลือเพียง 50 เซนติเมตร อย่างไรก็ตามชาวบ้าน กล่าวว่า แม้ว่าสถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่ภาวะปกติแล้วแต่ทำได้เพียงแค่ความสะอาดเท่านั้น ยังไม่ขนของเข้าที่เดิม เพราะกลัวน้ำจะท่วมอีกระลอก เนื่องจากมีบทเรียนทุกปีน้ำจะเข้าถึง 4 ครั้ง ต้องรอดูอีกสัก 3-4 วัน หากไม่มีฝนตกจริง ๆ ก็จะขนของกลับที่เดิมชั้นล่าง และยังเฝ้าระวังพายุลูกใหม่ที่จะเข้ามาด้วย

ขณะที่จังหวัดน่านสรุปสถานการณ์ความเสียหายน้ำท่วมเบื้องต้นผลกระทบจากพายุโกเซิน พร้อมติดตามสภาพอากาศอย่างต่อเนื่องและกำหนดการซ้อมแผนรับอุทกภัยและดินโคลนถล่ม จากการที่มีฝนตกหนักติดต่อกันตั้งแต่วันที่ 17-18 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากพายุโกเซิน ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ฉับพลัน และน้ำเอ่อล้นตลิ่ง ท่วมบ้านพักอาศัย พื้นที่ทางเกษตรของราษฎรเสียหายเป็นจำนวนมาก 

สำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและเสียหายของจังหวัดน่านมี  4 อำเภอและ 1 เทศบาล  คือ  อำเภอปัว 10 ตำบล  อำเภอสองแคว 2 ตำบล ๆ ละ 1 หมู่บ้าน อำเภอท่าวังผา 2 ตำบล อำเภอภูเพียง 5 ตำบล และชุมชนในเขตเทศบาลเมืองน่าน 2 ชุมชน จังหวัดน่านได้มีการสำรวจความเสียหายเบื้องต้นที่เกิดขึ้นและได้มีการช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลันในครั้งนี้แล้วในขั้นต้นได้มีการสร้างสะพานไม้ชั่วคราว ทั้งนี้เพื่อให้ชาวบ้านสันเจริญ และบ้านน้ำกิ บ้านปางสา ต.แสนทอง อ.ท่าวังผา ได้ใช้สัญจรได้สะดวกมากขึ้นเนื่องจากสะพานบ้านปางสักที่ใช้สัญจรเดิมถูกน้ำพัดเสียหายไม่สามารถใช้การได้อย่างถาวร ส่วนพืชผลทางการเกษตรมีข้าวที่กำลังปักดำ กล้าข้าว และไร่ข้าวโพด กำลังให้เกษตรจังหวัดสำรวจเพื่อหาทางช่วยเหลือ

--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมน่าน 5 หมู่บ้านถูกตัดขาดโลกภายนอก [ โพสต์ทูเดย์ : 19 ก.ค. 53 ]

น้ำท่วมในพื้นที่อ.ปัว และอ.ท่าวังผา  ระดับน้ำได้ลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว  เหลือเพียงบ้านปางสา ซึ่งเป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างอำเภอกับอีก 5  หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านปางสา  บ้านสันเจริญ  บ้านน้ำพุร้อน  บ้านน้ำลักใต้   และบ้านน้ำกิ  ต.ผาทอง อ.ท่าวังผา จ.น่าน  ขาดจนไม่สามารถสัญจรไปมาได้   ชาวบ้านจำนวน  2,437 คน ได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากไม่มีเส้นทางสัญจรออกมาจากหมู่บ้านได้  น้ำและไฟฟ้าถูกตัดขาด  ขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก   ขณะที่โรงเรียน 3 แห่ง ได้แก่ รร.บ้านน้ำพุร้อน  รร.บ้านสันเจริญ และ รร.บ้านน้ำลักใต้ ก็ต้องหยุดเรียนชั่วคราว เนื่องจากครูยังไม่สามารถข้ามฟากไปทำการเรียนการสอนได้ มีการประสานงานขอเรือพระราชทานจากจังหวัดทหารบกเพื่อใช้สำหรับเป็นพาหนะสัญจรให้ชาวบ้านใช้ข้ามแม่น้ำออกจากหมู่บ้านเป็นการชั่วคราว
นอกจากนี้ยังได้มีการประสานขอสนับสนุนน้ำดื่มสะอาดจากกิ่งกาชาดอำเภอท่าวังผา  และ อบจ.น่าน ลำเลียงใส่เรือข้ามฟากไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้านเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน ทั้งนี้การช่วยเหลือเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะต้องนั่งเรือข้ามฟากและเดินเท้าเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้าน   พร้อมทั้งเตรียมประสานของบประมาณซ่อมแซมสะพานบ้านปางสาให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ    โดยเบื้องต้นขณะนี้ได้เตรียมวางแผนการจัดสร้างสะพานไม้ กว้างขนาด 1.5 เมตร  ระยะทางประมาณ 80-100 เมตร ห่างจากสะพานบ้านปางสาที่ชำรุดประมาณ500 เมตร เพื่อใช้เป็นสะพานข้ามฟากของชาวบ้านเป็นการชั่วคราวก่อน ซึ่งสะพานไม้ที่จะสร้างนี้ จะใช้เป็นทางสัญจร แต่ได้เฉพาะเดินเท้าและรถจักรยานยนต์เท่านั้น  รถยนต์ไม่สามารถใช้เป็นทางสัญจรได้  คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในวันพรุ่งนี้ และจะแล้วเสร็จอีกประมาณ 1 สัปดาห

--------------------------------------------------------------------------------------
พิษโกนเซิน น่าน-หนองคายเจอน้ำท่วม 5 อำเภอ [ โพสต์ทูเดย์ : 19 ก.ค. 53 ]

กระทรวงมหาดไทย (มท.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่า ฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องในช่วงวันที่ 17-18 ก.ค. จากอิทธิพลของพายุโกนเซินทำให้เกิดอุทกภัยในจังหวัดน่านและหนองคาย โดยมีพื้นที่ประสบภัยทั้งสิ้น 5 อำเภอ 10 ตำบล ซึ่งในจังหวัดน่าน น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ 9 ตำบล ได้แก่ อำเภอบ่อเกลือ ท่าวังผา ปัวและสองแคว ขณะที่จังหวัดหนองคาย น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ตำบลโคกกว้าง อำเภอบุ่งเคล้า

ทั้งนี้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบอุทกภัย ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งสำรวจความเสียหาย พร้อมนำสิ่งของอุปโภค บริโรคไปแจกจ่ายบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง


 

--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำน่านทะลักล้นตลิ่ง-ท่วมชุมชนเมืองน่านแล้ว [ ผู้จัดการออนไลน์ : 19 ก.ค.53 ]

หลังจากเย็นวานนี้ (18 ก.ค.) ได้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอเมืองน่านแล้ว ล่าสุดวันนี้ (19 ก.ค.) กระแสน้ำในแม่น้ำน่านได้ล้นทะลักเข้าท่วมเขตอำเภอเมืองแล้ว โดยเฉพาะที่ชุมชนบ้านท่าลี่ และชุมชนบ้านพวงพะยอม ซึ่งเป็นชุมชนอาศัยอยู่ติดริมน้ำน่าน
       
        พล.ต.ชีวัน โหละบุตร ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกน่าน ได้ส่งกำลังชุดปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดน่าน 50 นาย เข้ามาช่วยขนของให้ประชาชนไปไว้ในที่สูง ขณะที่เทศบาลเมืองน่านปิดประตูน้ำ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำไว้ให้ 2 เครื่อง เพื่อช่วยระบายน้ำ พร้อมประกาศผ่านเครื่องขยายเสียง ให้ประชาชนเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยอาศัยอยู่ติดริมน้ำ ให้เก็บข้าวของไว้ที่สูง หรือที่ปลอดภัย เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมและป้องกัน
       
        สำหรับสถานการณ์น้ำขณะนี้วัดระดับน้ำล่าสุดเมื่อเวลา 07.00 น.
สถานีวัดน้ำ N 64 สะพานบ้านผาขวาง ระดับน้ำสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยวัดระดับน้ำอยู่ที่ 8.48 เมตร จุดวิกฤตอยู่ที่ 9.50 เมตร และวัดที่สถานี N1 บริเวณเชิงสะพานพัฒนาภาคเหนือ วัดได้ 6.30 เมตร ซึ่งจุดวิกฤตอยู่ที่ 7.00 เมตร ซึ่งระดับน้ำได้ไหลเร็วกว่าปกติที่คาดหมายไว้ เนื่องจากยังคงมีฝนตกที่บริเวณดอยภูคา จึงส่งผลให้แม่น้ำสาขาต่างๆ ไหลลงสู่แม่น้ำน่านหลายเส้นทาง เช่น ลำน้ำยาว ที่ไหลมาจากดอยภูคา ลำน้ำแงง ที่ไหลมาจากอำเภอเชียงกลาง ลำน้ำปัว และลำน้ำขว้าง ที่ไหลมาจากอำเภอปัว เข้าท่วมหมู่บ้านในพื้นที่ อำเภอปัว และอำเภอท่าวังผา เมื่อเย็นวานนี้ ก่อนไหลผ่านลงมายังแม่น้ำน่าน ล่าสุดขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ อ.ปัว และ อ.ท่าวังผา ระดับน้ำได้ลดลงแล้ว ซึ่งได้มีการเข้าสำรวจความเสียหาย
สำหรับทางขึ้นบนอุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว กิโลเมตรที่ 24-25 ที่ถูกดินถล่มปิดเส้นทาง ขณะนี้สามารถสัญจรได้เป็นปกติแล้ว ส่วนคอสะพานที่บ้านปางสา ซึ่งถูกกระแสน้ำพัดจะทรุด ได้จัดส่งเรือเพื่อใช้เป็นพาหนะสัญจรชั่วคราวให้กับชาวบ้านแล้ว และคาดว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ภายในวันนี้



--------------------------------------------------------------------------------------

'โกนเซิน'แผลงฤทธิ์ น่านโดนอ่วม ฝนหนักน้ำท่วมหมู่บ้าน [ ไทยรัฐ : 18 ก.ค. 53 ]

ที่จ.น่านมีฝนตกหนักมาตั้งวันที่ 17 ก.ค. จนถึงเช้าวันที่ 18 ก.ค. ทำให้เกิดน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฏร ที่อ.ปัว และอ.ท่าวังผา มีดินถล่มลงมาปิดทางเข้าหมู่บ้าน สถานการณ์ฝนตกหนักทำให้พื้นที่อ.ปัว และอ.ท่าวังผา ได้รับความเสียหาย ที่ อ.ปัว 5 หมู่บ้าน 3 ตำบล ที่อยู่ในเขตเทศบาลต.ปัว ที่บ้านป่าหัด หมู่ 2 บ้านปรางค์ หมู่ 8 น้ำในแม่น้ำน่านกำลังขึ้น กระแสน้ำเชี่ยว มีเศษวัสดุกิ่งไม้ลอยมาเต็มติดกับสะพาน และที่บ้านขอน หมู่ 1 ต.ปัว บ้านแก้ม หมู่ 5 ต.วรนคร บ้านพาน หมู่ 4 ต.แงง น้ำไหลเข้าท่วมหมู่บ้านต้องมีการอพยพชาวบ้านไปยังที่ปลอดภัย กระแสน้ำได้ไหลเข้าท่วมไร่นาข้าว

ส่วนท้องที่ อ.ท่าวังผา ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อน 5 ตำบล 13 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.จอมพระ ต.ป่าคา ต.ศรีภูมิ ต.แสนทอง ต.ผาทอง ต.ผาตอ มีน้ำจากแม่น้ำยาว อ.สองแคว ไหลบ่านำต้นไม้กิ่งไม้ไหลไปติดที่สะพานข้ามแม่น้ำยาว บ้านปางสา หมู่ 3 ต.ผาทอง เป็นจำนวนมาก อาจเกิดอันตราย ทำให้คอสะพานขาดได้  ตลอดเส้นทาง ที่บ้านน้ำกิ หมู่ 5 บ้านสันเจริญ หมู่ 6 ต.ผาทอง ได้มีดินถล่มลงมาเป็นระยะตลอดเส้นทาง บริเวณทางเข้าหมู่บ้านสันเจริญ อีก 4 กิโลเมตรมีดินถล่มลงมาปิดทางเข้าหมู่บ้าน ทำให้เจ้าหน้าที่ที่จะเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านที่ถูกน้ำในลำห้วยไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าเมี้ยน ต้องช่วยกันอพยพเด็ก ผู้สูงอายุ และสัตว์เลี้ยง ขึ้นไปไว้บนโรงเรียน ขณะนี้ปลอดภัยแล้ว

นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านเดือดร้อนหลายตำบล
ที่ต.จอมพระ น้ำท่วมไร่นา ระดับน้ำมากกว่าปี 2549 ที่บ้านน้ำกิ ดินถล่มลงมาถมถนนยาว 50 เมตร บ้านสันเจริญ ขณะนี้ได้ขนย้ายชาวบ้านไปไว้ท ี่ร.ร.บ้านสันเจริญ ปลอดภัย และน้ำลดลงแล้ว ส่วนที่สะพานบ้านปางสา เป็นปัญหาใหญ่ เพราะขอนไม้กับต้นไม้ไหลมากับน้ำ ปิดกั้นทางน้ำลำน้ำยาว เกรงว่าจะสร้างความเสียหายให้กับสะพานได้ กำลังประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือ และที่บ้านนาหนุน 1 และ 2 น้ำได้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรแล้วเมื่อเวลา 09.00 น และเมื่อเวลา 15.00 น. น้ำได้เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ต.ป่าคา ต.ศรีภูม

สำหรับเมื่อคืนที่ผ่านมานั้น
ปริมาตรน้ำฝนที่ตกในอ.เมือง วัดได้ 60.8 มล.ซึ่งถือว่าตกหนักในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พร้อมระดมเจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลเมืองน่าน ล่าสุดน้ำได้เข้าท่วมเพิ่มใน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านพวงพะยอม บ้านภูมินทร์-ท่าลี่ เขตเทศบาลเมืองน่าน บ้านแสงดาว อ.ภูเพียง และบ้านดอนมูลพัฒนา อ.เมือง

นอกจากนี้ ปภ.จ.น่าน ระบุว่า สถานการณ์ของอุทกภัยในครั้งนี้เป็นผลมาจากการเกิดฝนตกหนักตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 ก.ค. จนถึงวันที่ 18 ก.ค. ทำให้เกิดน้ำท่วมในอ.ปัว และอ.ท่าวังผา พื้นที่หลายหมู่บ้าน
วัดปริมาณน้ำฝนที่อ.ปัว 129 มิลลิเมตร อ.ท่าวังผา 109.5 มิลเมตร อ.สองแคว 90.5 มิลเมตร อ.บ่อเกลือ 165 มิลเมตร อ.ทุ่งช้าง 45 มิลเมตร อ.เชียงกลาง 68 มิลเมตร ระดับน้ำในบริเวณ N 64 สะพานผาขวาง อ.ท่าวังผา เมื่อเวลา 18.00 น.ที่ผ่านมา อยู่ที่ 7.80 เมตร ขั้นวิกฤติ 9 เมตร ที่อ.เมือง N 61 อยู่ที่ 4.58 เมตร ขั้นวิกฤติ 7.00 เมตร ยังไม่ถึงขั้นวิกฤติ ส่วนการช่วยเหลือได้ประสานกับอบจ.น่าน ส่งเครื่องจักรเข้าไปในพื้นที่ ช่วยนำไม้ออกจากสะพานบ้านปางสาดินถล่มลงมาปิดเส้นทางบ้านน้ำกิ-บ้านสันเจริญ ส่งเรือท้องแบนของอบจ.น่าน และปภ.น่าน ไปช่วยชาวบ้านแล้ว และได้แจ้งเตือนให้ทุกอำเภอได้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง


--------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • ผู้จัดการออนไลน์ : http://www.manager.co.th/
  • โพสต์ทูเดย์ : http://www.posttoday.com