บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก (กันยายน 2553)

ภาพดาวเทียม GOES-9

1/9/2553

2/9/2553

3/9/2553

4/9/2553

5/9/2553

6/9/2553

7/9/2553

8/9/2553

9/9/2553

10/9/2553

11/9/2553

12/9/2553

13/9/2553

14/9/2553

15/9/2553

16/9/2553

17/9/2553

18/9/2553

19/9/2553

20/9/2553

21/9/2553

22/9/2553

23/9/2553

24/9/2553

25/9/2553

26/9/2553

27/9/2553

28/9/2553

29/9/2553

30/9/2553

จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่ามีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ประเทศไทยตลอดทั้งเดือน โดยเฉพาะช่วงประมาณวันที่ 8-18 ก.ย. ที่มีกลุ่มเมฆค่อนข้างหนาปกคลุมบริเวณตอนบนและตอนกลางของประเทศ อย่างต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีฝนตกต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในหลายจังหวัด เช่น เชียงราย น่าน แพร่ พะเยา พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุบลราชธานี สกลนคร บึงกาฬ นครราชสีมา กาฬสินธุ์ นอกจากนี้ยังมีน้ำท่วมเพิ่มเิติมในพื้นที่ภาคกลาง บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี เป็นต้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพแผนที่อากาศ

1/9/2553

2/9/2553

3/9/2553

4/9/2553

5/9/2553

6/9/2553

7/9/2553

8/9/2553

9/9/2553

10/9/2553

11/9/2553

12/9/2553

13/9/2553

14/9/2553

15/9/2553

16/9/2553

17/9/2553

18/9/2553

19/9/2553

20/9/2553

21/9/2553

22/9/2553

23/9/2553

24/9/2553

25/9/2553

26/9/2553

27/9/2553

28/9/2553

29/9/2553

30/9/2553

จากภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าเดือนกันยายน(วันที่ 1-4 , 8-19 21-24 และ 30) มีร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทย นอกจากนี้ร่องมรสุมยังได้เลื่อนต่ำลงมาพาดผ่านบริเวณด้านตะวันตกของประเทศ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ในช่วงเดือนกันยายน มีฝนตกชุกหนาแน่นและส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์เชียงราย รัศมี 240 กิโลเมตร

1/9/2553
19:27GMT

2/9/2553
17:27GMT

3/9/2553
23:27GMT

4/9/2553
05:27GMT

5/9/2553
15:27GMT

6/9/2553
07:27GMT

7/9/2553
06:27GMT

8/9/2553
23:27GMT

9/9/2553
01:27GMT

10/9/2553
03:27GMT

11/9/2553
00:27GMT

12/9/2553
20:27GMT

13/9/2553
17:27GMT

14/9/2553
22:27GMT

15/9/2553
05:27GMT

16/9/2553
08:27GMT

17/9/2553
22:27GMT

18/9/2553
01:27GMT

19/9/2553
04:27GMT

20/9/2553
05:27GMT

21/9/2553
05:27GMT

22/9/2553
19:27GMT

23/9/2553
00:27GMT

24/9/2553
06:27GMT

25/9/2553
14:27GMT

26/9/2553
11:27GMT

27/9/2553
14:27GMT

28/9/2553
06:27GMT

29/9/2553
17:27GMT

30/9/2553
10:27GMT
เรดาร์พิษณุโลก รัศมี 240 กิโลเมตร

1/9/2553
13:25GMT

2/9/2553
15:25GMT

3/9/2553
14:25GMT

4/9/2553
09:25GMT

5/9/2553
09:25GMT

6/9/2553
08:25GMT

7/9/2553
07:25GMT

8/9/2553
18:25GMT

9/9/2553
10:25GMT

10/9/2553
13:25GMT

11/9/2553
14:25GMT

12/9/2553
14:25GMT

13/9/2553
13:25GMT

14/9/2553
14:25GMT

15/9/2553
15:25GMT

16/9/2553
16:25GMT

17/9/2553
13:25GMT

18/9/2553
17:25GMT

20/9/2553
14:25GMT

21/9/2553
08:25GMT

22/9/2553
11:25GMT

23/9/2553
20:25GMT

24/9/2553
11:25GMT

25/9/2553
08:25GMT

26/9/2553
17:25GMT

27/9/2553
00:25GMT

28/9/2553
23:25GMT

29/9/2553
10:25GMT

30/9/2553
08:25GMT
 
เรดาร์สกลนคร รัศมี 240 กิโลเมตร

1/9/2553
06:38GMT

2/9/2553
05:38GMT

3/9/2553
17:38GMT

4/9/2553
20:38GMT

5/9/2553
22:38GMT

6/9/2553
22:38GMT

7/9/2553
08:38GMT

8/9/2553
19:38GMT

9/9/2553
02:38GMT

10/9/2553
17:38GMT

11/9/2553
23:38GMT

12/9/2553
21:38GMT

13/9/2553
20:38GMT

14/9/2553
16:38GMT

15/9/2553
19:38GMT

16/9/2553
15:38GMT

17/9/2553
14:38GMT

18/9/2553
00:38GMT

19/9/2553
10:38GMT

20/9/2553
20:38GMT

21/9/2553
19:38GMT

22/9/2553
13:38GMT

23/9/2553
23:38GMT

24/9/2553
00:38GMT

25/9/2553
07:38GMT

26/9/2553
11:38GMT

27/9/2553
05:38GMT

28/9/2553
17:38GMT

29/9/2553
23:38GMT

30/9/2553
06:38GMT
เรดาร์อุบลราชธานี รัศมี 240 กิโลเมตร

1/9/2553
12:40GMT

2/9/2553
07:40GMT

3/9/2553
03:40GMT

4/9/2553
16:40GMT

5/9/2553
13:40GMT

6/9/2553
01:40GMT

7/9/2553
08:40GMT

8/9/2553
14:40GMT

9/9/2553
11:40GMT

10/9/2553
14:40GMT

11/9/2553
08:40GMT

12/9/2553
16:40GMT

13/9/2553
17:40GMT

14/9/2553
11:40GMT

15/9/2553
13:40GMT

16/9/2553
07:40GMT

17/9/2553
13:40GMT

18/9/2553
11:40GMT

19/9/2553
08:40GMT

20/9/2553
05:40GMT

21/9/2553
14:40GMT

22/9/2553
08:40GMT

23/9/2553
08:40GMT

24/9/2553
10:40GMT

25/9/2553
07:40GMT

26/9/2553
23:40GMT

27/9/2553
04:40GMT

28/9/2553
20:40GMT

29/9/2553
14:40GMT

30/9/2553
10:40GMT
เรดาร์ระยอง รัศมี 240 กิโลเมตร

1/9/2553
19:03GMT

2/9/2553
17:03GMT

3/9/2553
11:03GMT

4/9/2553
14:03GMT

5/9/2553
23:03GMT

6/9/2553
01:03GMT

7/9/2553
04:03GMT

8/9/2553
09:03GMT

9/9/2553
10:03GMT

10/9/2553
17:03GMT

11/9/2553
11:03GMT

12/9/2553
09:03GMT

13/9/2553
15:03GMT

14/9/2553
11:03GMT

15/9/2553
12:03GMT

16/9/2553
17:03GMT

17/9/2553
11:03GMT

18/9/2553
08:03GMT

19/9/2553
02:03GMT

20/9/2553
08:03GMT

21/9/2553
09:03GMT

22/9/2553
08:03GMT

23/9/2553
07:03GMT

24/9/2553
09:03GMT

25/9/2553
11:03GMT

26/9/2553
08:03GMT

27/9/2553
05:03GMT

28/9/2553
16:03GMT

29/9/2553
02:03GMT

30/9/2553
14:03GMT
ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์เชียงราย พิษณุโลก สกลนคร อุบลราชราชธานีและระยอง รัศมี 240 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตอนบนและตอนกลางของประเทศ พบว่ามีฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ตลอดทั้งเดือน โดยเฉพาะช่วงกลางเดือน ประมาณวันที่ 8-18 กันยายน ที่มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง โดยภาคเหนือมีฝนค่อนข้างมากบริเวณจังหวัดเชียงราย แพร่ น่าน ลำปาง แม่ฮ่องสอน ลำพูน พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนมากบริเวณจังหวัดนครราชสีมา กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี เพชรบูรณ์ สุรินทร์ นครพนม สกลนคร ศรีสะเ้กษ หนองคาย ชัยภูมิ ภาคกลางมีฝนค่อนข้างมากบริเวณจังหวัดอ่างทอง สุพรรณบุรี อุทัยธานี ลพบุรี นครสวรรค์ กาญจนบุรี ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออกมีฝนค่อนข้างมากบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และระยอง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เรดาร์เชียงราย  เรดาร์พิษณุโลก  เรดาร์สกลนคร  เรดาร์อุบลราชธานระยอง

ปริมาณฝนสะสม

1/9/2553
[12:00]

2/9/2553
[00:00]

3/9/2553
[00:00]

4/9/2553
[12:00]

5/9/2553
[12:00]

6/9/2553
[12:00]


7/9/2553
[12:00]

9/9/2553
[12:00]


10/9/2553
[12:00]

11/9/2553
[00:00]

12/9/2553
[12:00]

13/9/2553
[12:00]

15/9/2553
[12:00]

16/9/2553
[12:00]

17/9/2553
[12:00]

18/9/2553
[00:00]

19/9/2553
[00:00]

20/9/2553
[12:00]

21/9/2553
[00:00]

22/9/2553
[00:00]

23/9/2553
[00:00]

24/9/2553
[00:00]

25/9/2553
[12:00]

26/9/2553
[12:00]

27/9/2553
[00:00]

28/9/2553
[00:00]

29/9/2553
[12:00]

30/9/2553
[00:00]
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่าเดือนกันยายน มีกลุ่มฝนกระจุกตัวในพื้นที่ประเทศไทย ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่บริเวณตอนบนและตอนกลางของประเทศ โดยเฉพาะวันที่ 1-3 , 9-19 27-30 กันยายน ที่มีกลุ่มฝนกระจุกตัวมากอย่างต่อเนื่อง ส่วนวันอื่น ๆ มีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันเป็นหย่อม ๆ ในบางพื้นที่

รายละเอียดเพิ่มเติม

แผนภาพปริมาณฝนสะสมจาก NASA

1/9/2553[00Z]-8/9/2553[21Z]

9/9/2553[00Z]-15/9/2553[21Z]

16/9/2553[00Z]-23/9/2553[21Z]

24/9/2553[00Z]-30/9/2553[21Z]

1/9/2553[00Z]-30/9/2553[21Z]
   
จากแผนภาพฝนสะสมของ NASA พบว่าช่วงสัปดาห์แรกมีกลุ่มฝนกระจุกตัวค่อนข้างมากบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและตอนล่าง ในสัปดาห์ที่สองของเดือนกลุ่มฝนกระจุกตัวเพิ่มมากขึ้นในทุกภาค สัปดาห์ที่สามปริมาณฝนลดลงจากสัปดาห์ที่สองและยังคงเกาะกลุ่มในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สัปดาห์ที่สี่กลุ่มฝนกระจุกตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่สาม โดยกระจุกตัวกันค่อนข้างมากบริเวณภาคกลาง และตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคเหนือตอนบน และหากพิจารณาปริมาณฝนรวมทั้งเดือน พบว่า ในเดือนกันยายน มีกลุ่มฝนกระจุตัวกันค่อนข้างมากบริเวณภาคกลางทางด้านตะวันตกของประเทศ บริเวณจังหวัดตาก อุทัยธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม กรุงทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออกตอนบน บริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง บริเวณจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และทางทิศตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดเพชรบุรณ์ ชัยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดหนองคาย และภาคเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดเชียงราย


ข้อมูลปริมาณฝนจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


แผนภาพฝนเฉลี่ยเดือน ก.ย.
จากค่าสถิติปี2493-2540

ก.ย. 53

ก.ย. 52

ก.ย.51
จากแผนภาพข้อมูลฝนสะสมช่วงเดือนกันยายน พบว่าเดือนกันยายน ปี 2553 พื้นที่ภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนตกมากว่าเดือนกันยายนของปี 2552 และ 2551 รวมทั้งมากกว่าค่าฝนเฉลี่ยเดือนกันยายนจากค่าสถิติปี 2493-2540 ส่วนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี 2553 มีฝนตกน้อยกว่าปี 2552 และ 2551 รวมทั้งน้อยกว่าค่าฝนเฉลี่ยเดือนกันยายน จากค่าสถิติปี 2493-2540 โดยรายละเอียดฝนสะสมรายวันที่มีปริมาณฝนค่อนข้างมากในเดือนกันยายน 2553 เป็นดังตารางด้านล่าง


วันที่
สถานี
จังหวัด
ปริมาณฝน
สะสมรายวัน (มม.)
29/09/2553
ศูนย์สิริกิตต์ กรุงเทพมหานคร
51.8
28/09/2553
ปากช่อง (1) นครราชสีมา
63.4
เชียงราย เชียงราย
62.4
กาญจนบุรี กาญจนบุรี
58.5
ลพบุรี ลพบุรี
53.7
27/09/2553
ชัยนาท ชัยนาท
92.4
บางนา (1) กรุงเทพมหานคร
75.2
ตากฟ้า นครสวรรค์
68.0
หล่มสัก เพชรบูรณ์
66.4
ท่าเรือกรุงเทพฯ กรุงเทพมหานคร
62.8
ศูนย์สิริกิตต์ กรุงเทพมหานคร
56.2
26/09/2553
ศรีสะเกษ (1) ศรีสะเกษ
56.3
25/09/2553
ปทุมธานี (1) ปทุมธานี
57.0
24/09/2553
สุโขทัย สุโขทัย
65.5
23/09/2553
ท่าวังผา (2) น่าน
96.4
นครราชสีมา นครราชสีมา
73.5
ชัยภูมิ ชัยภูมิ
55.7
ฉะเชิงเทรา (1) ฉะเชิงเทรา
50.6
เชียงราย (1) เชียงราย
50.3
19/09/2553
ดอยมูเซอ (1) ตาก
63.2
18/09/2553
บางนา (1) กรุงเทพมหานคร
115.8
ท่าเรือกรุงเทพฯ กรุงเทพมหานคร
80.7
ศูนย์สิริกิตต์ กรุงเทพมหานคร
59.3
16/09/2553
น่าน (1) น่าน
68.9
ศรีสะเกษ (1) ศรีสะเกษ
50.9
15/09/2553
น่าน น่าน
94.1
อุตรดิตถ์ อุตรดิตถ์
84.9
พิษณุโลก พิษณุโลก
82.5
ปทุมธานี (1) ปทุมธานี
77.5
ห้วยโป่ง (1) ระยอง
72.4
ทุ่งช้าง (2) น่าน
56.4
กำแพงแสน (1) นครปฐม
52.1
14/09/2553
หนองคาย หนองคาย
69.6
วิเชียรบุรี เพชรบูรณ์
67.7
อุบลราชธานี อุบลราชธานี
57.1
อยุธยา (1) พระนครศรีอยุธยา
55.0
ลำพูน ลำพูน
54.1
13/09/2553
ลำพูน ลำพูน
86.9
ชัยนาท ชัยนาท
76.0
อุบลราชธานี อุบลราชธานี
61.9
เชียงราย เชียงราย
61.1
11/09/2553
ห้วยโป่ง (1) ระยอง
83.2
บางนา (1) กรุงเทพมหานคร
79.7
กมลาไสย (2) กาฬสินธุ์
68.1
ท่าเรือกรุงเทพฯ กรุงเทพมหานคร
63.0
พลิ้ว จันทบุรี
61.1
จันทบุรี จันทบุรี
60.2
แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน
55.4
ปราจีนบุรี ปราจีนบุรี
50.9
ฉะเชิงเทรา (1) ฉะเชิงเทรา
50.1
10/09/2553
เชียงราย (1) เชียงราย
87.6
นครราชสีมา นครราชสีมา
82.9
เชียงราย เชียงราย
52.0
9/09/2553
สกลนคร (1) สกลนคร
115.4
สกลนคร สกลนคร
84.4
นครพนม (1) นครพนม
78.8
ลำปาง (1) ลำปาง
52.0
5/09/2553
นครพนม (1) นครพนม
100.8
ลพบุรี ลพบุรี
77
นครพนม นครพนม
60.3
คลองใหญ่ ตราด
53.6
4/09/2553
อุบลราชธานี (1) อุบลราชธานี
79.3
สุพรรณบุรี สุพรรณบุรี
74.2
ปทุมธานี (1) ปทุมธานี
59.6
กำแพงแสน (1) นครปฐม
51.9
อู่ทอง (1) กาญจนบุรี
50.8
3/09/2553
ปทุมธานี (1) ปทุมธานี
180.5
อุบลราชธานี อุบลราชธานี
93.5
บัวชุม (2) เพชรบูรณ์
92.7
ท่าเรือกรุงเทพฯ กรุงเทพมหานคร
77.8
ตากฟ้า นครสวรรค์
75.6
ศูนย์สิริกิตต์ กรุงเทพมหานคร
73.5
ลพบุรี ลพบุรี
72.2
สอท.ท่าตูม* สุรินทร์
68.8
ปราจีนบุรี ปราจีนบุรี
59.4
วิเชียรบุรี เพชรบูรณ์
50.8
อุบลราชธานี (1) อุบลราชธานี
50.7
2/09/2553
ท่าวังผา (2) น่าน
111.5
เชียงราย (1) เชียงราย
62.2
นครราชสีมา นครราชสีมา
51.8



การเตือนภัยปริมาณฝนผ่านโทรศัพท์มือถือ (sms) จากระบบโทรมาตรขนาดเล็ก

วันที่
เวลาที่เตือนภัย
ช่วงเวลาฝนสะสม
สถานที่
  ปริมาณฝน (มม.) 
สถานะการเตือนภัย
29/09/2553
2:00:00
ฝน29/07-30/02น.
ต.ป่าคา  จ.น่าน                     65.8
เฝ้าระวังสูงสุด
28/09/2553
21:00:00
ฝน20-21น.
ต.หนองบอนแดง  จ.ชลบุรี                     36.0
เฝ้าระวังสูงสุด
21:00:00
ฝน20-21น.
ต.หนองบอนแดง  จ.ชลบุรี                     41.8
วิกฤต
27/09/2553
23:00:00
ฝน22-23น.
ต.วังเหนือ  จ.ลำปาง                     38.6
เฝ้าระวังสูงสุด
22:00:00
ฝน20-21น.
ต.แขวงสามวาตะวันตก  จ.กรุงเทพมหานคร                     36.4
เฝ้าระวังสูงสุด
17:00:00
ฝน16-17น.
ต.แม่สรวย  จ.เชียงราย                     44.4
วิกฤต
16:00:00
ฝน15-16น.
ต.ดงมะดะ  จ.เชียงราย                     43.0
วิกฤต
2:00:00
ฝน27/07-28/01น.
ต.เวียงชัย  จ.เชียงราย                     89.2
เฝ้าระวังสูงสุด
2:00:00
ฝน01-02น.
ต.เม็งราย  จ.เชียงราย                     42.2
วิกฤต
2:00:00
ฝน27/07-28/02น.
ต.เม็งราย  จ.เชียงราย                     85.2
เฝ้าระวังสูงสุด
26/09/2553
19:00:00
ฝน18-19น.
ต.บางขุนกอง  จ.นนทบุรี                     36.2
เฝ้าระวังสูงสุด
18:00:00
ฝน17-18น.
ต.ปะแสนทอง  จ.ลำปาง                     40.4
วิกฤต
2:00:00
ฝน01-02น.
ต.หนองสรวง  จ.อุทัยธานี                     44.6
วิกฤต
2:00:00
ฝน00-01น.
ต.ในเมือง  จ.เพชรบูรณ์                     39.6
เฝ้าระวังสูงสุด
2:00:00
ฝน00-01น.
ต.ในเมือง  จ.เพชรบูรณ์                     41.4
วิกฤต
23/09/2553
18:00:00
ฝน17-18น.
ต.ขุนยวม  จ.แม่ฮ่องสอน                     45.0
วิกฤต
16:00:00
ฝน15-16น.
ต.เชียงม่วน  จ.พะเยา                     35.0
เฝ้าระวังสูงสุด
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.แสนทอง  จ.น่าน                     96.4
วิกฤต
5:00:00
ฝน04-05น.
หนองคาย                     40.8
เฝ้าระวังสูงสุด
5:00:00
ฝน04-05น.
ต.จุมพล  จ.หนองคาย                     41.0
เฝ้าระวังสูงสุด
2:00:00
ฝน01-02น.
ต.สังคม  จ.หนองคาย                     40.4
เฝ้าระวังสูงสุด
22/09/2553
22:00:00
ฝน21-22น.
ต.เมืองสวรรคโลก จ.สุโขทัย                     35.4
วิกฤต
22:00:00
ฝน20-21น.
ต.เมืองสวรรคโลก จ.สุโขทัย                     33.2
เฝ้าระวังสูงสุด
19:00:00
ฝน18-19น.
ต.บ้านเชียง จ.อุดรธานี                     43.6
เฝ้าระวังสูงสุด
4:00:00
ฝน02-03น.
ต.ป่าคา จ.น่าน                     31.8
วิกฤต
3:00:00
ฝน02-03น.
ต.ป่าคา จ.น่าน                     29.8
เฝ้าระวังสูงสุด
18/09/2553
23:00:00
ฝน22-23น.
ต.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี                     41.4
วิกฤต
17:00:00
ฝน15-16น.
ต.หนองไร่ จ.ระยอง                     38.0
เฝ้าระวังสูงสุด
17:00:00
ฝน16-17น.
ต.หนองไร่ จ.ระยอง                     40.2
วิกฤต
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.แขวงลาดยาว จ.กรุงเทพมหานคร                   115.8
เฝ้าระวังสูงสุด
17/09/2553
13:00:00
ฝน12-13น.
ต.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก                     41.8
วิกฤต
7:00:00
ฝน06-07น.
ต.ตาลาน จ.พระนครศรีอยุธยา                     36.8
เฝ้าระวังสูงสุด
16/09/2553
23:00:00
ฝน22-23น.
ต.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี                     39.2
เฝ้าระวังสูงสุด
17:00:00
ฝน16-17น.
ต.บ้านใหม่ จ.นครราชสีมา                     46.8
วิกฤต
15:00:00
ฝน14-15น.
แพร่                     35.2
วิกฤต
14:00:00
ฝน13-14น.
ต.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว                     37.4
เฝ้าระวังสูงสุด
14:00:00
ฝน13-14น.
ต.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว                     42.8
วิกฤต
14:00:00
ฝน13-14น.
แพร่                     31.6
เฝ้าระวังสูงสุด
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.สะเนียน จ.น่าน                     68.9
เฝ้าระวังสูงสุด
5:00:00
ฝน03-04น.
ต.ในเมือง จ.พิจิตร                     35.2
เฝ้าระวังสูงสุด
4:00:00
ฝน16/07-17/04น.
ต.ในเมือง จ.พิจิตร                     71.4
เฝ้าระวังสูงสุด
15/09/2553
22:00:00
ฝน20-21น.
ต.นิคมกระเสียว จ.สุพรรณบุรี                     35.2
เฝ้าระวังสูงสุด
21:00:00
ฝน20-21น.
ต.สังคม จ.หนองคาย                     47.2
วิกฤต
14:00:00
ฝน13-14น.
ต.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี                     38.6
เฝ้าระวังสูงสุด
14:00:00
ฝน13-14น.
ต.วัดจันทร์ จ.พิษณุโลก                     49.4
วิกฤต
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.ป่าแลวหลวง จ.น่าน                     94.1
วิกฤต
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.หนองกะท้าว จ.พิษณุโลก                     82.5
เฝ้าระวังสูงสุด
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.ขุนฝาง จ.อุตรดิตถ์                     84.9
วิกฤต
6:00:00
ฝน15/07-16/06น.
ต.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี                     96.0
เฝ้าระวังสูงสุด
3:00:00
ฝน02-03น.
ต.หนองสรวง จ.อุทัยธานี                     41.0
วิกฤต
3:00:00
ฝน02-03น.
ต.หนองสรวง จ.อุทัยธานี                     35.4
เฝ้าระวังสูงสุด
14/09/2553
18:00:00
ฝน16-17น.
ต.คำโพน จ.อำนาจเจริญ                     41.6
เฝ้าระวังสูงสุด
7:00:00
ฝน14/07-15/06น.
ต.ในเวียง จ.น่าน                     80.6
วิกฤต
5:00:00
ฝน14/07-15/05น.
ต.บ้านแก่ง จ.อุตรดิตถ์                     70.2
เฝ้าระวังสูงสุด
4:00:00
ฝน14/07-15/04น.
ต.ศรีพนมมาศ จ.อุตรดิตถ์                   121.0
วิกฤต
3:00:00
ฝน01-02น.
ต.ในเวียง จ.น่าน                     37.2
วิกฤต
3:00:00
ฝน14/07-15/03น.
ต.ในเวียง จ.น่าน                     70.6
เฝ้าระวังสูงสุด
2:00:00
ฝน01-02น.
ต.ในเวียง จ.น่าน                     28.0
เฝ้าระวังสูงสุด
2:00:00
ฝน14/07-15/02น.
ต.ศรีพนมมาศ จ.อุตรดิตถ์                     77.8
เฝ้าระวังสูงสุด
2:00:00
ฝน00-01น.
ต.ศรีพนมมาศ จ.อุตรดิตถ์                     52.6
วิกฤต
1:00:00
ฝน00-01น.
ต.ศรีพนมมาศ จ.อุตรดิตถ์                     38.6
เฝ้าระวังสูงสุด
13/09/2553
21:00:00
ฝน07-21น.
ต.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก                     70.8
เฝ้าระวังสูงสุด
20:00:00
ฝน19-20น.
ต.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก                     51.8
วิกฤต
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.ป่าพลู จ.ลำพูน                     86.9
เฝ้าระวังสูงสุด
7:00:00
ฝนวานนี้
ต.โคกก่อง จ.หนองคาย                     91.6
เฝ้าระวังสูงสุด
12/09/2553
22:00:00
ฝน20-21น.
ต.แจ้ซ้อน จ.ลำปาง                     41.6
วิกฤต
21:00:00
ฝน19-20น.
ต.บ้านธิ จ.ลำพูน                     35.8
เฝ้าระวังสูงสุด
15:00:00
ฝน14-15น.
ต.ริมกก จ.เชียงราย                     35.4
เฝ้าระวังสูงสุด
15:00:00
ฝน14-15น.
ต.ริมกก จ.เชียงราย                     46.0
วิกฤต
11/09/2553
17:00:00
ฝน16-17น.
ต.หนองสรวง จ.อุทัยธานี                     43.6
วิกฤต
10/09/2553
23:00:00
ฝน22-23น.
ต.เวียงใต้ จ.แม่ฮ่องสอน                     44.0
วิกฤต
23:00:00
ฝน07-23น.
ต.เม็งราย จ.เชียงราย                     85.4
เฝ้าระวังสูงสุด
23:00:00
ฝน22-23น.
ต.ชุมพร จ.ร้อยเอ็ด                     40.8
เฝ้าระวังสูงสุด
23:00:00
ฝน22-23น.
ต.เวียงใต้ จ.แม่ฮ่องสอน                     38.2
เฝ้าระวังสูงสุด
22:00:00
ฝน21-22น.
ต.เมืองสวรรคโลก จ.สุโขทัย                     42.6
วิกฤต
21:00:00
ฝน20-21น.
ต.เมืองสวรรคโลก จ.สุโขทัย                     32.6
เฝ้าระวังสูงสุด
18:00:00
ฝน17-18น.
ต.ตาลาน จ.พระนครศรีอยุธยา                     37.8
เฝ้าระวังสูงสุด
18:00:00
ฝน17-18น.
ต.ตาลาน จ.พระนครศรีอยุธยา                     47.2
วิกฤต
17:00:00
ฝน16-17น.
ต.ด่านจาก จ.นครราชสีมา                     40.6
เฝ้าระวังสูงสุด
12:00:00
ฝน07-11น.
ต.โรงช้าง จ.เชียงราย                     87.8
เฝ้าระวังสูงสุด
10:00:00
ฝน08-09น.
ต.โรงช้าง จ.เชียงราย                     44.0
วิกฤต
9:00:00
ฝน08-09น.
ต.เม็งราย จ.เชียงราย                     38.0
เฝ้าระวังสูงสุด
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.โป่งแพร่ จ.เชียงราย                     87.6
เฝ้าระวังสูงสุด
5:00:00
ฝน10/07-11/05น.
ต.โรงช้าง จ.เชียงราย                   120.4
วิกฤต
3:00:00
ฝน10/07-11/02น.
ต.เวียง จ.เชียงราย                     92.2
เฝ้าระวังสูงสุด
1:00:00
ฝน00-01น.
ต.พบพระ จ.ตาก                     33.8
เฝ้าระวังสูงสุด
9/09/2553
19:00:00
ฝน18-19น.
ต.ป่าพุทรา จ.กำแพงเพชร                     39.2
วิกฤต
19:00:00
ฝน18-19น.
ต.ป่าพุทรา จ.กำแพงเพชร                     31.8
เฝ้าระวังสูงสุด
12:00:00
ฝน07-12น.
ต.เวียงชัย จ.เชียงราย                     86.4
เฝ้าระวังสูงสุด
11:00:00
ฝน10-11น.
ต.เวียงชัย จ.เชียงราย                     45.8
วิกฤต
11:00:00
ฝน09-10น.
ต.เวียงชัย จ.เชียงราย                     38.2
เฝ้าระวังสูงสุด
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.นาใน จ.สกลนคร                   115.4
วิกฤต
5:00:00
ฝน09/07-10/04น.
ต.เวียงชัย จ.เชียงราย                   120.4
วิกฤต
8/09/2553
19:00:00
ฝน18-19น.
ต.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์                     51.4
วิกฤต
19:00:00
ฝน18-19น.
ต.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์                     36.4
เฝ้าระวังสูงสุด
4:00:00
ฝน03-04น.
ต.ห้างฉัตร จ.ลำปาง                     48.2
วิกฤต
4:00:00
ฝน03-04น.
ต.ห้างฉัตร จ.ลำปาง                     36.4
เฝ้าระวังสูงสุด
3:00:00
ฝน01-02น.
ต.คูสะคาม จ.สกลนคร                     41.4
เฝ้าระวังสูงสุด
2:00:00
ฝน01-02น.
ต.ในเมือง จ.อุตรดิตถ์                     47.0
วิกฤต
1:00:00
ฝน00-01น.
ต.ในเมือง จ.อุตรดิตถ์                     37.0
เฝ้าระวังสูงสุด
1:00:00
ฝน00-01น.
ต.วังชิ้น จ.แพร่                     33.0
เฝ้าระวังสูงสุด
6/09/2553
16:00:00
ฝน15-16น.
ต.ขุนซ่อง จ.จันทบุรี                     35.8
เฝ้าระวังสูงสุด
16:00:00
ฝน15-16น.
ต.ขุนซ่อง จ.จันทบุรี                     51.2
วิกฤต
5/09/2553
18:00:00
ฝน17-18น.
ต.นาอาน จ.เลย                     44.0
เฝ้าระวังสูงสุด
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.กุตาไก้ จ.นครพนม                   100.8
เฝ้าระวังสูงสุด
3:00:00
ฝน02-03น.
ต.คลองใหญ่ จ.ตราด                     49.6
วิกฤต
3:00:00
ฝน02-03น.
ต.คลองใหญ่ จ.ตราด                     39.6
เฝ้าระวังสูงสุด
4/09/2553
19:00:00
ฝน18-19น.
ต.นาหนองทุ่ม จ.ชัยภูมิ                     48.6
วิกฤต
19:00:00
ฝน18-19น.
ต.นาหนองทุ่ม จ.ชัยภูมิ                     42.8
เฝ้าระวังสูงสุด
3/09/2553
9:00:00
ฝนวานนี้
ต.ท่าโรง จ.เพชรบูรณ์                     92.7
เฝ้าระวังสูงสุด
9:00:00
ฝนวานนี้
ต.บุ่งมะแลง จ.อุบลราชธานี                     93.5
เฝ้าระวังสูงสุด
9:00:00
ฝนวานนี้
ต.คลองหก จ.ปทุมธานี                   180.5
วิกฤต
2/09/2553
23:00:00
ฝน07-23น.
ปทุมธานี                     95.6
เฝ้าระวังสูงสุด
21:00:00
ฝน20-21น.
ต.เขาพระ จ.นครนายก                     40.0
เฝ้าระวังสูงสุด
17:00:00
ฝน15-16น.
ต.ผาเลือด จ.อุตรดิตถ์                     28.0
เฝ้าระวังสูงสุด
16:00:00
ฝน14-15น.
ต.โพนทอง จ.กาฬสินธุ์                     40.6
เฝ้าระวังสูงสุด
16:00:00
ฝน14-15น.
ต.โพนทอง จ.กาฬสินธุ์                     47.8
วิกฤต
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.แสนทอง จ.น่าน                   111.5
วิกฤต
5:00:00
ฝน03-04น.
ต.ไม้รูด จ.ตราด                     37.6
เฝ้าระวังสูงสุด
1/09/2553
19:00:00
ฝน18-19น.
ต.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน                     40.8
วิกฤต
19:00:00
ฝน17-18น.
ต.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน                     35.6
เฝ้าระวังสูงสุด
15:00:00
ฝน14-15น.
ต.อมก๋อย จ.เชียงใหม่                     44.0
วิกฤต
1:00:00
ฝน01/07-02/01น.
ต.ป่าคา จ.น่าน                     65.8
เฝ้าระวังสูงสุด


ข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดระดับน้ำท่า กรมชลประทาน

(E.20A)แนวสะพาน อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
(ระดับตลิ่ง 9.5 ม.)

(E.23)บ้านค่าย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ
(ระดับตลิ่ง 8.3 เมตร)

(M.6A) บ้านสตึก อ.สตึก จ.บุรีรัมย์
(ระดับตลิ่ง 5.42 เมตร)

จากกราฟแสดงข้อมูลระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดน้ำท่ากรมชลประทาน พบว่าแม่น้ำสายหลักหลายสายเกิดน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะแม่น้ำยมที่มีน้ำล้นตลิ่งในหลายจุด


ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก
 
จากกราฟแสดงปริมาณน้ำไหลผ่านรายวันที่สถานีวัดน้ำท่าในแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2553 พบว่าปริมาณน้ำเริ่มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดที่สถานีค่ายจิรประวัติ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ อยู่ที่ 1,920 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 21 กันยายน ส่วนที่สถานีท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท มีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด อยู่ที่ 2,253 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 22 กันยายน 2553 โดยปริมาณน้ำที่สถานีท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเริ่มมากกว่าที่สถานีค่ายจิรประวัติ ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน จนถึงวันที่ 27 กันยายน และอัตราน้ำไหลผ่านที่เขื่อนเจ้าพระยาเริ่มสูงเกิน 2000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน จนถึง 25 กันยายน ส่วนที่สถานีบางไทร อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่านสุงสุดอยู่ที่ 2,291 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 22 กันยายน  

จากกราฟแสดงปริมาณน้ำไหลผ่านรายวันที่สถานีวัดน้ำท่าในแม่น้ำป่าสัก ช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2553 พบว่าปริมาณน้ำเริ่มเพิ่มสูงขึ้นในเดือนสิงหาคม โดยปริมาณน้ำไหลผ่านสุงสุดที่สถานี S.42 บ้านบ่อวัง อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ อยู่ที่ 367 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 6 กันยายน ส่วนที่เขื่อนพระรามหก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้าไหลผ่านสูงสุด อยู่ที่ 524 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 6 กันยายน

จากกราฟแสดงปริมาณน้ำไหลผ่านในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก พบว่ามีน้ำเหนือไหลลงสู่ภาคกลางค่อนข้างมาก ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวมีฝนตกค่อนข้างมากในพื้นที่ภาคกลาง ทำให้ปริมาณน้ำในพื้นที่ยิ่งเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ภาคกลางในหลายจังหวัด เช่น ชัยนาท นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี
 


ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเขื่อนภูมิพล

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเขื่อนแม่งัด

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเขื่อนกิ่วลม

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเขื่อนแควน้อย

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเขื่อนป่าสัก

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเขื่อนศรีนครินทร์

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเขื่อนวชิราลงกรณ์

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเขื่อนลำปาว

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเขื่อนอุบลรัตน์

จากการที่มีฝนตกค่อนข้างมากอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพิ่มสูงขึ้นค่อนข้างมาก โดยอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำกักเก็บมากกว่า 80% ที่ รนก.ณ วันที่ 30 กันยายน ได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัด(91%) , กิ่วคอหมา(99%) , แควน้อย(91%) , ลำปาว(94%) , ลำพระเพลิง(92%) , อุบลรัตน์(84%) , ห้วยหลวง(100%) , ป่าสัก(86%) , กระเสียว(107%) , หนองปลาไหล(97%) และประแสร์(85%) และหากพิจารณาถึงปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำช่วงเดือนกันยายน พบว่า เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างประมาณ 1,509.77 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำในลงอ่างประมาณ 1,855.93 ล้านลูกบาศก์เมตร รายละเอียดเพิ่มเติมตามตารางด้านล่าง

ตารางและกราฟแสดงข้อมูลน้ำรายวันในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่


เขื่อน
ปริมาณน้ำไหลลงสะสม
เดือน ก.ย..53
ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค.53
ปริมาณน้ำกักเก็บวันที่ 30 ก.ย. 53 
ล้าน ลบ.ม.
คิดเป็น%ที่ รนก.
ล้าน ลบ.ม.
คิดเป็น % ที่ รนก.
ภาคเหนือ
ภูมิพล 
1509.77
1444
11
6,427
48
สิริกิติ์ 
1855.93
1778
19
7,380
78
แม่งัด
115.22
67
26
240
91
กิ่วลม
197.77
-10
-9
78
70
แม่กวง
44.14
42
16
131
50
กิ่วคอหมา
131.48
66
39
168
99
แควน้อย
470.22
305
40
701
91
รวมภาคเหนือ
4324.53
3692
15
15,125
62
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลำปาว
755.39
195
14
1,340
94
ลำตะคอง
64.8
59
19
172
55
ลำพระเพลิง
61.06
33
30
101
92
น้ำอูน
113.42
99
19
376
72
อุบลรัตน์ 
1222.9
596
25
2,036
84
สิรินธร 
291.67
221
12
1,289
66
จุฬาภรณ์ 
65.2
37
22
130
79
ห้วยหลวง
43.02
18
15
118
100
ลำนางรอง
6.46
0
0
47
39
มูลบน
18.63
13
9
54
38
น้ำพุง 
46.68
31
19
128
78
ลำแซะ
42.58
29
11
153
56
รวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2731.81
1331
18
5,944
77
ภาคกลาง
ป่าสักฯ
1038.51
390
40
827
86
กระเสียว
171.01
123
51
257
107
ทับเสลา
49.11
49
31
107
67
รวมภาคกลาง
1258.63
562
42
1,191
88
ภาคตะวันตก
ศรีนครินทร์ 
894.92
553
3
13,339
75
วชิราลงกรณ์
792.24
711
8
4,688
53
รวมภาคตะวันตก
1687.16
1264
5
18,027
68
ภาคตะวันออก
บางพระ
14.11
11
10
65
56
หนองปลาไหล
38.84
14
8
159
97
คลองสียัด
78.16
78
19
309
74
คลองท่าด่าน
49.95
51
23
163
73
ประแสร์
47.98
7
2
212
85
รวมภาคตะวันออก
229.04
161
13
908
77
ภาคใต้
แก่งกระจาน
85.98
41
6
236
33
ปราณบุรี
25.66
8
3
96
28
รัชชประภา 
213.94
55
1
3,515
62
บางลาง 
186.16
83
6
787
54
รวมภาคใต้
511.74
187
2
4,634
57
รวมทั้งประเทศ
10742.91
7197
10
45,829
66

ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วมจาก GISTDA (คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)

ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2553 เวลา18.10 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา และบุรีรัมย์ ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2553 เวลา18.10 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดหนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู และสกลนคร ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2553 เวลา 06.07 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนครนายก นครสวรรค์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2553 เวลา 06.07 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และชัยภูมิ ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2553 เวลา 06.07 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพิษณุโลกและเลย ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2553 เวลา 18.23 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดเชียงรายและพะเยา
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2553 เวลา 18.23 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพะเยา แพร่ และลำปาง ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2553 เวลา 18.23 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพิจิตร นครสวรรค์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรีและสุพรรณบุรี ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2553 เวลา 18.23 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และอุตรดิตถ์
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2553 เวลา 18.23 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดแพร่ สุโขทัย และอุตรดิตถ์ ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2553 เวลา 18.35 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดกาญจนบุรีและราชบุรี ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2553 เวลา 18.06 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดหนองคาย อุดรธานี สกลนคร และนครพนม
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2553 เวลา 18.06 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดกาฬสินธุ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2553 เวลา 18.17 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดชัยภูมิ ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2553 เวลา 18.17 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพะเยา และเชียงราย
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2553 เวลา 18.17 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนครราชสีมา และลพบุรี ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2553 เวลา 18.17 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพิจิตร และเพชรบูรณ์ ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2553 เวลา 18.17 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก และปราจีนบุรี
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2553 เวลา 06.15 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแพร่ ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2553 เวลา 06.15 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดเเชียงรายและพะเยา ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2553 เวลา 06.15 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2553 เวลา 06.15 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2553 เวลา 18.31 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี และสุพรรณบุรี ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2553 เวลา 18.31 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร และนครสวรรค์
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2553 เวลา 18.31 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2553 เวลา 18.31 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี และสุพรรณบุรี ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2553 เวลา 18.13 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น และมหาสารคาม
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2553 เวลา 18.13 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนครราชสีมา และบุรีรัมย์ ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2553 เวลา 18.13 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดหนองคาย อุดรธานี และหนองบัวลำภู ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2553 เวลา 06.11 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2553 เวลา 06.11 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ และขอนแก่น ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2553 เวลา 06.11 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนครราชสีมา ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2553 เวลา 06.11 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดหนองคายและอุดรธานี
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2553 เวลา 18.26 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดเชียงราย และพะเยา ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2553 เวลา 18.26 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทรา ชัยนาท ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง นครนายก และปทุมธานี ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2553 เวลา 18.26 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพิจิตร นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2553 เวลา 18.26 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2553 เวลา 18.10 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนครพนม สกลนคร และหนองคาย ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2553 เวลา 18.10 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553 เวลา 06.08 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดมหาสารคาม กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553 เวลา 06.08 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดอุดรธานี หนองคาย และสกลนคร ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2553 เวลา 18.23 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา และเพชรบูรณ์

 

ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------

อ่างทอง-เมืองกาญจน์ น้ำยังท่วมชาวบ้านเดือดร้อนหนัก [ ไทยรัฐ : 22 ก.ย.53 ]
สถานการณ์ความคืบหน้า เหตุการณ์น้ำท่วมที่ จ.อ่างทอง เมื่อวันที่ 21 ก.ย.2553 ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังคงเพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานอีก 14 ซม. และล้นตลิ่งไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรกว่า 200 หลังคาเรือน รวมทั้งพื้นที่การเกษตร ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ทำให้ประชาชนกว่า 2,000 คนได้รับผลกระทบอย่างหนัก บางจุดท่วมสูงกว่า 1.50 เมตร และยังมีแนวโน้มเพิ่มระดับสูงขึ้นอีกเรื่อยๆ ทำให้ชาวบ้านในเขต ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ต้องใช้เรือในการเดินทางเข้าออกในหมู่บ้าน แทนรถหรือการเดิน สาเหตุเพราะเขื่อนเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาทยังคงเพิ่มระดับการปล่อยน้ำลง สู่ท้ายเขื่อนอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่เกษตรกรที่ปลูกกล้วยหอม ต้องรีบขุดหน่อกล้วยมาใส่ถุงชำเอาไว้ และขนย้ายไปไว้ในที่สูงเพื่อไม่ให้ถูก น้ำท่วมตายหมด ส่วนทางด้าน อ.เมืองอ่างทอง ระดับน้ำเริ่มลิ้นตลิ่งไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ริมตลิ่ง ม.1 ต.จำปาหล่อ และขณะนี้จังหวัดอ่างทองมีพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมเพิ่มเป็น 2 อำเภอ คือ.จำปาหล่อ อ.เมืองอ่างทอง และที่ ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง

ส่วนความคืบหน้า น้ำท่วมในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี เมื่อเวลา 16.00น. วันเดียวกัน จากการที่มีฝนตกติดต่อกันเกือบ 10วันทำให้น้ำป่าไหลจากภูเขาลงสู่ห้วยลำอีซู ในพื้นที่ อ.หนองปรือ มารวมกับน้ำในห้วยลำตะเพินที่ไหลบ่าเข้ามาพื้นที่ตำบลหลุมรังที่มีสภาพ พื้นที่ต่ำเป็นแอ่งกระทะ จำนวนน้ำมากเข้าท่วมพื้นที่ชาวบ้านครอบคลุม 11 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 2,3,4,7,10,11,15,16,17,1,2 ราษฎรจำนวนประมาณ 500 ครัวเรือนได้รับความเสียหายน้ำไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือน บางครัวเรือนต้องช่วยกันอพยพหนีน้ำ ส่วนพื้นที่ทำกินได้รับผลกระทบประมาณ 10,000ไร่

--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำเจ้าพระยาทะลักท่วมตัวเมืองอ่างทอง [ ไทยรัฐ : 21 ก.ย. 53 ]
ที่ จ.อ่างทอง หลังระดับน้ำเจ้าพระยาได้เพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนอยู่ในระดับที่วิกฤติ และเมื่อช่วงเช้าวันที่ 20 กย. กระแสน้ำได้ทะลักเข้าทางท่อระบายน้ำ ท่วมศูนย์ราชการจังหวัดอ่างทอง ทำให้บริเวณศาลากลาง บ้านพักข้าราชการ วัดอ่างทองวรวิหาร และ โรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 30 ซม. ทำให้ผู้ปกครองที่เดินทางไปส่งเด็กนักเรียนในช่วงเช้า ต้องลุยน้ำเข้าไปส่งลูกหลาน และบ้านพักข้าราชการกว่า 20 หลังที่อยู่ด้านหลังศาลากลางจังหวัดอ่างทอง ก็ถูกน้ำเข้าท่วมสูงเช่นเดียวกัน

ต่อมานายสมชาย อนะวัชกุล นายอำเภอเมืองอ่างทอง ได้ประสานงานเทศบาลเมืองอ่างทอง นำกระสอบทราบมาอุดท่อระบายน้ำบริเวณโดยรอบศูนย์ราชการ พร้อมนำเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่2 เครื่องสูบน้ำที่ท่วมขังออก โดยล่าสุดตรวจพบรอยรั่วของแนวกันน้ำบริเวณหน้าศาลากลางหลังเก่า จึงส่งเจ้าหน้าที่ดำน้ำลงไปอุดท่อ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะลักเข้าท่วมขยายวงกว้างออกไปอีก



--------------------------------------------------------------------------------------
คนอุทัยฯ ยังไม่พ้นบ่วงน้ำท่วม-ลุ่มน้ำตากแดดยังอ่วมต่อ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 20 ก.ย. 53 ]
       
        รายงานข่าวจากจังหวัดอุทัยธานี แจ้งว่า จนถึงขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมยังไม่คลี่คลายโดยเฉพาะพื้นที่บ้านโคกหม้อ หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 ตำบลโคกหม้อ และหมู่ที่ 4 ตำบลหนองยายดา อำเภอทัพทัน ที่แม่น้ำตากแดดไหลผ่าน บ้านเรือนประชาชนถูกน้ำท่วมไปกว่า 90 หลังคาเรือน ระดับน้ำที่ท่วมสูงสุด 1.20 เมตร รวมทั้งถนนในหมู่บ้านหลายสายถูกน้ำท่วมขัง การสัญจรเข้าออกหมู่บ้านเป็นไปด้วยความยากลำบาก ส่วนปัญหาการเจ็บป่วยของประชาชนในพื้นที่ถูกน้ำท่วม โดยเฉพาะผู้ที่ต้องเดินลุยย่ำน้ำเป็นเวลานานๆ หลายวันติดต่อกัน ป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้ากันเป็นจำนวนมาก
       
        ขณะที่พื้นที่นาข้าวที่ถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลาหลายวัน ส่งผลให้ต้นข้าวเน่าเสียหายไปหลายร้อยไร่ เนื่องจากเกี่ยวข้าวหนีน้ำไม่ทัน ส่วนข้าวที่เกี่ยวหนีน้ำได้นั้นชาวนาได้นำไปขายให้กับโรงสีและตลาดกลางรับซื้อข้าวเปลือกได้เพียงตันละ 4-5 พันเท่านั้น เนื่องจากต้องถูกหักค่าความชื้น และเป็นข้าวที่ยังสุกไม่เต็มที่
       
        นอกจากนี้ ในพื้นที่ดังกล่าวที่ถูกน้ำท่วมขังยังส่งผลต่อสัตว์เลี้ยง เนื่องทุ่งหญ้าที่เคยเป็นที่เลี้ยงสัตว์ถูกน้ำท่วม เกษตรกรต้องต้อนฝูงสัตว์เลี้ยงออกไปหากินไกลจากหมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วมหลายกิโลเมตร



--------------------------------------------------------------------------------------
เขื่อนลำปาวเร่งปล่อยน้ำกระทบพื้นที่เกษตร 5 อำเภอถูกน้ำท่วม [ ผู้จัดการออนไลน์ : 20 ก.ย. 53]
       
        วันนี้ (20 ก.ย.) โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จ.กาฬสินธุ์ ยังคงปล่อยน้ำล้นออกทางสปริงเวย์ เพื่อรักษาสภาพของอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาวที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยรักษาปริมาณน้ำในระดับกักเก็บที่ร้อยละ 95 ของความจุอ่าง หรือปริมาณน้ำที่ 1,356 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุดอ่างที่ 1,430 ล้านลูกบาศก์เมตร
       
        ทั้งนี้ ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าตัวเขื่อนลำปาวยังคงมีปริมาณที่มากเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมามีน้ำเข้าประมาณวันละ 25 ล้านลูกบาศก์เมตร และน้ำที่พร่องออกจากเขื่อนมีระดับที่ 22 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
       
        สำหรับการปล่อยน้ำล้นออกสปริงเวย์ ส่งผลให้ระดับน้ำในลำน้ำปาว เพิ่มระดับขึ้นและล้นตลิ่งเอ่อท่วมพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่ม 5 อำเภอ ที่ประกอบด้วย อ.กมลาไสย, อ.ร่องคำ, อ.ฆ้องชัย, อ.ยางตลาด และ อ.เมืองกาฬสินธุ์ โดยระดับน้ำในลำน้ำปาวมีระดับที่ 7.85 ซม. จากจุดวิกฤตเตือนภัยน้ำล้นตลิ่งที่ 7.13 เมตร
       
        ระดับน้ำลำปาวมีแนวโน้มที่จะเพิ่มระดับสูงขึ้นอีก โดยปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มระดับขึ้นเฉลี่ย 15 ซม.ต่อวัน อย่างไรก็ตาม ด้านพื้นที่ ต.ลำชี ที่จะต้องเจอกับปัญหาน้ำชีหนุนสูงและน้ำจากลำน้ำปาวเอ่อล้นตลิ่ง ตอนนี้ยังมีการเร่งสูบระบายน้ำเข้าไปในฝายวังยางตลอดทั้งวันเพื่อลดความสูญเสียในพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านในพื้นที่

--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำป่าถล่มถนนขาด พ่อเมืองแพร่อ้าง นายอำเภอไม่บอก [ ไทยรัฐ : 17 ก.ย. 53 ]
หลังจากที่จังหวัดแพร่ เกิดน้ำป่าจากห้วยแม่ป๊าก ไหลทะลักเข้าท่วมไร่นา สะพาน ถนนสายบ้านสลก หมู่ที่ 4 ข้ามไปบ้านนาไผ่ หมู่ที่ 7 ต.แม่ป๊าก อ.วังชิ้น ถนนถูกตัดขาดและแยกออกจากกันจนใช้การไม่ได้ ส่งผลให้ชาวบ้านจากหมู่ที่ 7 บ้านนาไผ่ ไม่สามารถใช้รถยนต์ออกมาได้ จำเป็นต้องใช้รถจักรยานยนต์และเดินด้วยเท้าเท่านั้น

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแพร่ ระบุว่า น้ำป่าที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อเวลา 05.00 น. ของวันนี้ แต่ในเวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง น้ำก็ลดหายลงอย่างรวดเร็ว น้ำป่ามาเร็ว และก็ผ่านไปเร็วไม่มีอะไรเสียหาย โดยเบื้องต้นทางสำนักงานป้องกันระดับจังหวัด จะต้องได้รับรายงานความช่วยเหลือจากท้องถิ่นก่อน จึงจะเข้าไปตรวจสอบและช่วยเหลือ ทั้งนี้หากเกิดเหตุรุนแรงจนสร้างความเสียหายมาก ก็จะสามารถประกาศเป็นเขตภัยพิบัติได้

นอกจากนี้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแพร่ ยังเตือนประชาชนจังหวัดแพร่ โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอเสี่ยงภัย เช่น วังชิ้น ลอง เด่นชัย และร้องกวาง ที่มีบ้านเรือนที่อาศัยตามที่ราบ ใกล้กับลำน้ำสาขาต่างๆ บนเขา ระมัดระวังน้ำป่าและดินถล่มในช่วงนี้ เนื่องจากยังมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปริมาณน้ำในแม่น้ำยม ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเย็น โดยวัดได้ที่ระดับ 6.58 เมตรแล้ว ทั้งนี้คาดว่า น้ำจะเพิ่มสูงขึ้นอีกเรื่อยๆ

--------------------------------------------------------------------------------------
3 โรงเรียนดังเมืองน่านหยุดชั่วคราวหนีน้ำท่วม ขณะน้ำน่านทะลักไม่หยุด [ ผู้จัดการออนไลน์ : 16 ก.ย. 53 ]
       
        รายงานข่าวจากจังหวัดน่าน แจ้งว่า วันนี้(16 ก.ย.)น้ำจากลำห้วยลี่ ที่อยู่เหนือเขตเทศบาลเมืองน่าน ยังคงไหลเข้าท่วมพื้นที่ตัวเมืองอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ น้ำป่าจากอำเภอรอบนอกได้ไหลสมทบ ส่งผลทำให้ระดับน้ำยังคงเพิ่มสูงขึ้น และไหลล้นเข้าท่วมย่านธุรกิจกลางเมืองน่าน สูงกว่า 50 เซนติเมตร โดยเฉพาะบริเวณสี่แยก ธกส. สี่แยกฟ้าใหม่ ถนนอนันตวรฤทธิเดช และถนนมหาวงศ์ ร้านค้า ยังไม่สามารถเปิดกิจการได้
       
        นอกจากนั้น ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงได้แก่ชุมชนบ้านมงคล บ้านมณเฑียร บ้านหัวข่วง น้ำยังท่วมขัง และวิทยาลัยเทคนิคน่านน้ำท่วมบริเวณสนามหน้าอาคาร และชุมชนบ้านดอนศรีเสริมน้ำเข้าไปในบ้านทุกซอย และโรงเรียนบ้านดอนศรีเสริมโรงเรียนระดับประถมศึกษาน้ำเข้าท่วมสนาม และอาคารเรียนทำให้ต้องติดป้ายประกาศหยุดเรียน 1 วัน
       
        รวมถึงโรงเรียนสตรีศรีน่านโรงเรียนประจำจังหวัดประกาศหยุดเรียนเฉพาะนักเรียนชั้น ม.1 - ม.3 และชุมชนบ้านสวนตาลล่าง น้ำท่วมบริเวณสามแยกและบ้านเรือนสูงกว่า 50 เซนติเมตร ซึ่งทางเทศบาลเมืองน่านได้ใช้เครื่องสูบน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว ทั้ง 4 เครื่อง เร่งสูบน้ำออกน้ำน่าน ตลอด 24 ชั่วโมง
       
        ขณะที่อำเภอภูเพียง ตรงข้ามเขตเทศบาลเมืองน่าน กระแสน้ำ ได้เข้าท่วมบ้านท่าล้อ บ้านแสงดาว ตำบลฝายแก้ว และบ้านน้ำลัด ตำบลท่าน้าว ที่ตำบลนาปัง น้ำเข้าท่วมถนนผ่านหมู่บ้านใช้การไม่ได้ รวมถึงสะพานพัฒนาภาคเหนือข้ามลำน้ำน่านที่บ้านท่าล้อ กับเขตเทศบาลเมืองน่าน และสะพานข้ามน้ำน่านด้านบ้านท่าลี่เขตเทศบาลเมืองน่าน และบ้านศรีบุญเรือง ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง ไม่สามารถใช้การได้เนื่องจากน้ำได้ไหลเข้าท่วมแล้ว
       
        นอกจากนั้น หมู่บ้านในตำบลเรือง ตำบลสะเนียน ตำบลไชยสถาน ตำบลถืมตอง น้ำเข้าท่วมบ้านกว่า 200 หลังคาเรือน พร้อมไร่นา ไร่ข้าวโพด กว่า 5,000 ไร่ ถูกน้ำท่วมตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา ทำความเสียหายจำนวนมาก
       
        ส่วนสาเหตุหลักของการเกิดน้ำท่วมเขตเทศบาลครั้งนี้ เกิดจากลำน้ำห้วยลี่ไหลเข้ามาจากพื้นที่เหนือเทศบาลที่มีการสร้างถนนบายพาสขวางทางน้ำ โดยทำเป็นร่องระบายน้ำหันเข้ามาทางพื้นที่เทศบาลเมืองน่าน จึงเหมือนเป็นการบังคับน้ำให้ไหลเข้ามาในเมือง
       
        ขณะที่ระดับน้ำจากลำน้ำน่าน ที่บริเวณสถานีวัด N1 น้ำกาดแลง สะพานพัฒนาภาคเหนือ เมื่อเวลา 08.00 น. วัดได้ 6.91 เมตร ทำให้น้ำเข้าท่วมชุมชนริมน้ำน่านแล้ว โดยเฉพาะชุมชนบ้านพวงพยอม ชุมชนบ้านท่าลี่ ประชาชนและนักเรียนต้องใช้เรือเข้าออกหมู่บ้าน


--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำป่าซัด เชียงราย ฝายแตก! ม.ราชภัฏ จมบาดาล [ ข่าวสด : 14 ก.ย.53 ]
เมื่อวันที่ 13 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานภัยธรรมชาติ ทั้งพายุฝนพัดถล่มและน้ำป่าซัดท่วมฉับพลัน ในจ.เชียงราย ว่า ตลอดคืนวันที่ 13 ก.ย. เกิดเหตุฝนตกกระหน่ำต่อเนื่อง ส่งผลให้น้ำป่าจากเทือกเขาดอยนางแล ทะลักเข้าท่วมในหลายพื้นที่ของ ต.บ้านดู่ ต.นางแล และ ต.แม่ข้าวต้ม อ.เมือง ซึ่งตั้งอยู่ติดกับเชิงเขาและมีถนนพหลโยธินตัดผ่าน และน้ำป่าจากเทือกเขาไหลเข้าท่วมชุมชนหมู่บ้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะพื้นที่ 10 หมู่บ้านของ ต.นางแล พบมีบ้านเรือนราษฎรถูกน้ำท่วมกว่า 500 หลังคาเรือน ระดับน้ำลึกตั้งแต่ 30-50 ซ.ม. สะพานข้ามแม่น้ำนางแลเชื่อมระหว่างหมู่บ้านนางแลไปยังหมู่บ้านลิไข่ขาด เป็นเหตุให้ชาวหมู่บ้านลิไข่ ซึ่งอยู่ชั้นในถูกตัดขาดจากโลกภายนอก

นอกจากนั้น น้ำป่ายังไหลเข้าท่วมถนนพหลโยธิน ตั้งแต่หน้าตลาดบ้านดู่ ต.บ้านดู่ และสามแยกบ้านเด่น ต.นางแล โดยเฉพาะบริเวณแยกหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ทำให้ตำรวจต้องปิดการจราจรไป 2 ช่องจราจร และจัดให้รถแล่นสวนกันทางฝั่งที่ไม่ถูกน้ำท่วมขังมาก ทำให้การจราจรติดขัดอย่างหนักเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร ผู้สัญจรผ่านไปมาและนักศึกษาที่เข้าไปเรียนมหาวิทยาลัยได้รับความเดือดร้อนถ้วนหน้า ประกอบกับฝายกั้นน้ำห้วยพลู ตั้งอยู่ ต.ท่าสุด ซึ่งเป็นอ่างขนาดเล็กไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำป่าที่ทะลักลงมาจึงแตกทะลักซ้ำเติมปริมาณน้ำที่เข้าท่วมพื้นที่อีก

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ส่วนความคืบหน้าสถานการณ์น้ำท่วมตัดขาดถนนทางขึ้นดอยวาวี เขตหมู่บ้านทุ่งพร้าว หมู่ 8 ต.วาวี อ.แม่สรวย ทำให้ชาวบ้านบนดอยวาวีกว่า 20,000 ครัวเรือนเดือดร้อน ต้องใช้เส้นทางอ้อมออกไปไกลกว่า 30 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมกับโลกภายนอกและขนส่งข้าวโพดลงมาพื้นราบไม่ได้ ล่าสุด เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถซ่อมแซมถนนให้กลับมาใช้งานได้ดังเดิม เพราะถนนอยู่บนไหล่เขาที่ถูกกัดเซาะอย่างต่อเนื่องเป็นทางยาวร่วม 100 เมตร ขณะที่ด้านล่างเป็นเหวลึก

-------------------------------------------------------------------------------------
สกลฯ ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติอุทกภัยทั้งจังหวัด 18 อำเภอ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 14 ก.ย. 53 ]
     
        สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสกลนคร ได้แจ้งเตือนประชาชนชาวจังหวัดสกลนคร ทั้ง 18 อำเภอ ให้ระมัดระวังอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก รวมถึงน้ำท่วมฉับพลันในช่วงนี้ หลังสถานีอุตุนิยมวิทยาตรวจพบร่องความกดอากาศต่ำ ประกอบกับตรวจพบพายุดีเปรสชัน หรือพายุโซนร้อน จะพาดผ่านบริเวณอีสานตอนบน และในห้วง 2-3 วันที่ผ่านมาจากร่องมรสุม ส่งผลให้ปริมาณฝนในเขตพื้นที่จังหวัดสกลนครในหลายอำเภอมีปริมาณสูงขึ้นมาก เช่น ที่อำเภอพังโคน และอำเภอโพนนาแก้ว เมื่อคืนนี้วัดได้ถึง 100 มิลลิเมตร ทำให้ชาวบ้านในบริเวณอำเภอดังกล่าวได้รับผลกระทบน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
       
        ล่าสุด จังหวัดสกลนครได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อุทกภัยทั้ง 18 อำเภอแล้ว ได้รับรายงานว่าพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายนั้น มีกว่า 84,558 ไร่ แยกเป็นพื้นที่ไรนา 67,130 ไร่ อื่นๆ 17,428 ไร่
       
        นอกจากนั้นยังมีถนนหนทางที่เสียหายอีกเป็นจำนวนมาก โดยในส่วนของถนนลูกรังเสียไปแล้ว 685 สาย เขื่อนฝายขนาดเล็กเสียหาย 11 แห่ง รวมถึงถนนลาดยางในความรับผิดชอบของทางหลวงชนบท องค์การบริหารส่วนจังหวัด ทางหลวงแผ่นดินก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน โดยตอนนี้อยู่ในขั้นการสำรวจความเสียอยู่


-------------------------------------------------------------------------------------
เมืองอุบลฯฝนถล่มน้ำท่วมบ้าน [ ผู้จัดการออนไลน์ : 13 ก.ย. 53 ]
        เมื่อกลางดึกมีฝนตกอย่างหนักในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน เพราะระบบท่อระบายน้ำมีขนาดเล็ก ทำให้น้ำเอ่อไหลท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ตามซอยสองฝั่งถนนชยางกูร ต.ในเมือง ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เพราะเป็นพื้นที่ลุ่ม เมื่อเกิดฝนตกไม่นาน น้ำจะเอ่อไหลท่วมบ้านพักอาศัยเป็นประจำ โดยในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีน้ำท่วมแล้ว 3-4 ครั้ง
       
        นายประดิษฐ์ รักษา อายุ 37 ปี พักอยู่บ้านเลขที่ 24 ซ.ชยางกูร 30 ถ.ชยางกูร กล่าวว่า เวลาฝนตกจะมีน้ำไหลท่วมขังบ้านเป็นประจำ แต่ปีนี้น้ำท่วมหนัก และท่วมเร็วมาก แม้ฝนตกไม่ถึงชั่วโมง ทำให้นอนตาไม่หลับ เพราะต้องคอยขนย้ายทรัพย์สินหนีน้ำ จึงขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมาลอกท่อระบายน้ำ หรือวางท่อให้มีขนาดใหญ่ เพื่อแก้ความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่สองฝั่งถนนชยางกูร ซึ่งเป็นถนนสายเศรษฐกิจของจังหวัดด้วย
       
        ด้านสถานการณ์น้ำท่วมชุมชนสองฝั่งแม่น้ำมูล ระดับน้ำแม่น้ำมูลยังทรงตัว และประชาชนที่อพยพหนีน้ำท่วมจำนวน 250 ครอบครัว ยังอาศัยอยู่ในจุดอพยพที่ราชการจัดให้ ส่วนสภาพอากาศศูนย์อุตุนิยมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุบลราชธานี ระบุว่า ระหว่างวันที่ 13-14 ก.ย. มีฝนตกหนักร้อยละ 70-80 ของพื้นที่
       
-------------------------------------------------------------------------------------
อ่างเก็บน้ำแตก ท่วมเชียงราย 5หมู่บ้านหนัก [ ไทยรัฐ : 13 ก.ย. 53 ]
เมื่อกลางดึกของคืนวันที่ 13 กันยายน ได้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของ จ.เชียงราย ติดต่อกันนานกว่า 5 ชั่วโมง โดยเฉพาะในเขต อ.เมือง  ส่งผลให้มีน้ำป่าจากเทือกเขาดอยนางแลและลำน้ำนางแล ไหลทะลักเข้ามาท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่ทางการเกษตรในหมู่ที่ , 6 , 7 , 8 , 13 และหมู่ที่  14 ใน ต.นางแล อ.เมืองเชียงราย กระแสน้ำที่พัดมาอย่างแรงได้พาเอาดินโคลนเข้าทับถม บ้านเรือน รถยนต์ บ่อปลา ถนน โดนกระแสน้ำและดินโคลนไหลปิดทับได้รับความเสียหายจำนวนมาก และบริเวณบ้านนางแลใน หมู่ 7 มีบ้านเรือนราษฎรของชาวไทยภูเขา 3 หลัง อาคารสำนักงานพัฒนาสังคมบนพื้นที่สูงและอาคารโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 1 หลัง โดนน้ำพัดพังเสียหายทั้งหลัง นอกจากนี้ยังมีสะพานคอนกรีตขนาดยาว 10 เมตร กว้าง 5 เมตร ที่บ้านลิไข่ โดนกระแสน้ำพัดคอสะพานจนขาดไม่สามารถสัญจรไปมาได้

ต่อมาเวลาประมาณ 09.00 น.ปรากฏว่าอ่างเก็บน้ำห้วยพลู ซึ่งเป็นอ่างดินเก็บน้ำไว้สำหรับทำประปาหมู่บ้านของบ้านห้วยพลู ต.ท่าสุด อ.เมืองเชียงราย ที่รองรับน้ำฝนไว้จำนวนมากไม่ไหวได้เแตกทำให้น้ำไหลทะลักเข้าเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎรกว่า 5 หมู่บ้านของ ต.ท่าสุด ซึ่งกระแสน้ำได้ไหลลงที่ลุ่มและผ่านมายัง ต.นางแล และต.บ้านดู่ ทำให้บ้านเรือนของราษฎรของทั้ง 3 ตำบลถูกน้ำท่วมร่วม 1,000 หลัง ซึ่งบางจุดระดับน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร รวมถึงย่านชุมชนที่ตลาดสดบ้านดู่ นอกจากนี้ถนนพหลโยธินสายเชียงราย-แม่จัน บริเวณสามแยกบ้านเด่น ต.นางแล และบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ต.บ้านดู่ เป็นถนน 6 ช่องทางจราจรถูกน้ำท่วมสูง ทางเจ้าหน้าที่ต้องทำการปิดเส้นทางจราจรด้านที่มุ่งหน้าไปยัง อ.แม่จัน เพราะน้ำท่วมขังสูงกว่า 80 ซม.

น้ำป่าที่ไหลหลากครั้งนี้ถือว่ามากเป็นประวัติการณ์ในรอบหลายสิบปี โดยพบว่ามีบ้านเรือนของราษฎรใน 10 หมู่บ้าน บ้านเรือนของราษฎรกว่า 500 หลังคาเรือนและพื้นที่ทางการเกษตรถูกกระแสน้ำและดินโคลนพัดได้รับความเสียหาย ซึ่งในจำนวนนี้มีอย่างน้อย 3 -4 หลังที่ถูกน้ำพัดเสียหายทั้งหลัง ขณะเดียวกันยังมีสัตว์เลี้ยงอาทิไก่ เป็ดและสุกรสูญหายอีกเป็นจำนวนมาก เนื่องมาจากกระแสน้ำไหลทะลักมาแรงและรวดเร็ว ส่งผลให้คอสะพานคอนกรีตของหมู่บ้านลิไข่ ขาด 1 แห่ง จึงทำให้ให้ชาวบ้านกว่า 80 ครอบครัวถูกตัดขาดจากโลกภายนอก

น้ำป่าดอยนางแลที่หลากเข้าท่วมบ้านเรือนครั้งนี้มาจากสาเหตุที่ปริมาณน้ำฝนนั้นมากกว่าปกติ ทำให้ลำห้วยนางแลซึ่งมีสภาพตื้นเขินคับแคบและมีฝายกั้นน้ำขนาดเล็กของกรมชลประทานขวางทางน้ำ เมื่อดินโคลนและเศษไม้ไหลมาติดทำให้ไม่สามารถระบายได้ทัน


--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำท่วมสกลนครหนักพื้นที่เกษตรเสียหายกว่า 8.5 หมื่นไร่ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 12 ก.ย. 53 ]
        สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดสกลนครยังวิกฤต ทั้ง 18 อำเภอได้รับผลกระทบ ล่าสุดจังหวัดสกลนครประกาศพื้นที่ภัยพิบัติอุทกภัยทั้ง 18 อำเภอ เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน พร้อมแจ้งเตือนประชาชน ให้เฝ้าระวังน้ำไหลเอ่อท่วมบ้านเรือน ผู้ที่อาศัยริมทางน้ำไหล ควรขนย้ายเครื่องใช้ในบ้านเก็บไว้ที่สูง พร้อมหาสถานที่ไว้รองรับสัตว์
       
        โดยอำเภอที่สุ่มเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมฉับพลัน มีอำเภอเมือง , อ.โพนนาแก้ว , อ.โคกศรีสุพรรณ , อ. สว่างแดนดิน , อ.เจริญศิลป์ , อ.วานรนิวาส , อ.บ้านม่วง , อ.คำตากล้า ,และอ.อากาศอำนวย ขณะเดียวกันปริมาณน้ำในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ หรือ เขื่อนเก็บกักน้ำยังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้จำนวนมาก
       
        จุดที่น่าเป็นห่วงคือปริมาณน้ำที่หนองหาร อ.เมืองสกลนครนั้น ระดับน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีน้ำท่วมพื้นที่ทำการเกษตรริมน้ำหนองหาร ไร่นาได้รับความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง นอกจากนนี้ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมลำน้ำยาม ที่ไหลผ่านหลายอำเภอ ก็เสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วม โดยอ.อากาศอำนวย เสียหายมากที่สุด น้ำท่วมพื้นที่ทำการเกษตรเสียหายกว่า 5,000 ไร่ ถนนถูกตัดขาดระหว่างหมู่บ้าน ระดับน้ำลึกถึง 50 -70 เซนติเมตร รถเล็กไม่สามารถวิ่งผ่านไป-มาได้

        รายงานล่าสุดแจ้งว่า ผลจากภัยพิบัติอุทกภัยในพื้นที่ 18 อำเภอ มีพื้นที่การเกษตรเสียหายแล้วกว่า 84,558 ไร่ แยกเป็นพื้นที่ไร่นา 67,130ไร่ อื่นๆ 17,428 ไร่ พร้อมกันนี้ได้มีประกาศให้ประชาชนพื้นที่เสี่ยงภัย ระวังอันตรายจากภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกในระยะนี้



--------------------------------------------------------------------------------------
ผู้ว่าฯเชียงราย หนีตาย ถนนทรุดต่อหน้า [ ไทยรัฐ : 12 ก.ย. 53 ]

เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ จ.เชียงราย ตลอดคืนที่ผ่านมามีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง มีน้ำท่วมขังหลายอำเภอ โดยเฉพาะที่ อ.แม่สรวย ถนนสายแม่สรวย-วาวี บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 13 บ้านทุ่งพร้าว ต.วาวี ถนนลาดยาง ที่ลัดเลาะไปตามแม่น้ำสรวยถูกน้ำป่าไหลหลากลงมา ทำให้ถนนขาด และทรุดถล่มลงอย่างต่อเนื่องเพิ่มกว่า 100 เมตร ลึกประมาณ 20 เมตร ทาง อบต.วาวี จึงได้จัดเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) จำนวนหนึ่งนำเต้นท์ไปกางไว้ พร้อมกับนำเชือกฟางสีแดงไปกั้นถนนบริเวณที่ขาดทั้ง 2 ด้าน ตอนกลางคืนเจ้าหน้าที่ ชรบ. จะพากันเข้าเวรนำเอาเศษไม้แห้งมาก่อกองไฟไว้ เพื่อบอกจุดถนนขาด และป้องกันไม่ให้ชาวบ้านขับรถเข้ามาในบริเวณดังกล่าว พร้อมทั้งนำป้ายประกาศเตือนห้ามเข้าไปไว้บริเวณสามแยกดอยวาวีกับดอยช้างแล้ว

ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ทางหลวงชนบทได้นำเอารถแบ็กโฮ ไปขุดปรับบริเวณริมถนนขาด เพื่อเตรียมซ่อมแซมถนน ซึ่งอาจจะมีการสร้างสะพานข้ามไป ส่วนสะพานแบริ่งได้สั่งระงับไปก่อนเพราะถนนขาดกว้างเกินไป เกรงจะเกิดอันตรายได้ เนื่องจากถนนสายนี้ขาดส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และการเดินทางของประชาชนพื้นที่ ต.วาวี ดังนั้น ชาวบ้านจึงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยได้นำเอาเรือหางยาวติดเครื่องยนต์แล่นในแม่น้ำสรวยห่างจากถนนขาดไปประมาณ 200 เมตรไปบริการรับส่งชาวบ้านข้ามไปมาคิดค่าบริการเที่ยวละ 10 บาท โดยมีรถโดยสารประจำทางสายดอยวาวี-แม่สรวย จอดคอยรับผู้โดยสารทั้ง 2 ฝากถนนรวมทั้งชาวบ้านได้พากันขนข้าวโพดใส่เรือข้ามมาด้านเข้าตัว อ.แม่สรวย และเดินทางไป ต.วาวี

ต่อมา นายสุเมธ แสงนิ่มนวล ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย พร้อมด้วย นายเชษฐา โมสิกรัตน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงราย ได้เดินทางไปตรวจสอบถนนสายดังกล่าวที่ทรุดตัวลงได้รับความเสียหาย ขณะที่คณะของ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เดินสำรวจอยู่นั้น ดินทั้งสองฝั่งถนนนยังคงพังถล่มอย่างต่อเนื่องอย่างน่ากลัว จนทำให้ทั้งหมดต้องพากันวิ่งหนีกันอลหม่านไปอยู่ที่ปลอดภัย

--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำป่าถล่ม"พะเยา"อ่วม! ท่วมนาข้าวเสียหายนับพันไร่ [ แนวหน้า : 12 ก.ย. 53 ]
ที่จังหวัดพะเยา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสภาวะฝนตกหนัก มาตั้งแต่วันที่10 กันยายน ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร นาข้าว สวนพืชไร่ของประชาชนในพื้นที่ ตำบลหงส์หิน ตำบลทุ่งรวงทอง และตำบลลอ ในอำเภอจุนได้รับความเสียหาย

น้ำป่าไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนใน 9 หมู่บ้าน ประชาชนกว่า 10 ครัวเรือนต้องรีบอพยพหนีน้ำอย่างเร่งด่วน ขณะเดียวกันฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องได้พัดทำลายไร่ข้าวโพด นาข้าวกว่า 2,000ไร่ เสียหาย และจมอยู่ในน้ำ

ส่วนที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยาพบว่า สถานีขนส่งผู้โดยสารเชียงคำ หน้าสำนักงานเทศบาลตำบล เชียงคำ โรงพยาบาลเชียงคำ ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนและศูนย์ที่ตั้งของหน่วยงานราชการถูกน้ำเข้าท่วมสูงประมาณ 50-70 ซม. และน้ำในแม่น้ำลาวเอ่อสูงขึ้นท่วมถนนสายต่างๆ ในเมืองเชียงคำ และบริเวณหน้าโรงพยาบาลเชียงคำ-แยกทางเลี่ยงเมือง

ขณะที่จังหวัดพิษณุโลก หลายพื้นที่ยังได้รับผลกระทบปัญหาน้ำท่วมเช่นกัน โดยระดับน้ำส่วนใหญ่ยังทรงตัวอยู่ 2-3 เมตร โดยยังไม่มีท่าทีว่าจะลดลงสู่สภาวะปกติ ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย และสัตว์เลี้ยงเริ่มมีอาการเจ็บป่วย ชาวบ้านหมู่ 10 บ้านระหัน ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเภอเมืองพิษณุโลก กล่าวว่า ขณะนี้น้ำได้ท่วมขังมานานกว่า 2 สัปดาห์แล้ว ทำให้สุนัขพันธุ์บางแก้ว ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจประจำจังหวัด เริ่มมีอาการเครียด เนื่องจากต้องอยู่ในกรงรวมกันถึง 7 ตัว ตลอด 24 ชั่วโมง จนพบว่าบางตัวเริ่มเจ็บป่วย เพราะถูกยุงกัด ไม่สามารถเดินทางไปไหนได้ ต้องใช้เรือเป็นพาหนะเพียงอย่างเดียว


--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำป่าเขาค้อเอ่อท่วมถนนสายสระบุรี-หล่มสัก [ โพสต์ทูเดย์ : 10 ก.ย. 53 ]

จากการที่ได้เกิดฝนตกลงมาอย่างหนักติดต่อกันที่บนเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นเวลา 2–3 วัน ทำให้เกิดน้ำป่าจากเทือกเขาค้อไหลหลากลงมาเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรหมู่ที่ 1,2,4,8 และ 12 ตำบลท่าพล และอีกหลายชุนชนในเขตเทศบาลตำบลท่าพล อำเภอเมือง โดยระดับน้ำได้ท่วมสูงประมาณ 40-50 เซนติเมตร จนชาวบ้านต้องเร่งเก็บสิ่งของไว้บนที่สูง โดยเฉพาะถนนสายสระบุรี-หล่มสัก บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 237 – 238 หมู่ 8 ใกล้สี่แยกบ้านคลองมะนาว ตำบลท่าพล อำเภอเมือง ถูกน้ำท่วมสูงประมาณ 30 เซนติเมตร เป็นระยะทางยาวเกือบ 500 เมตร
 
ทั้งนี้ทำให้รถยนต์ที่สัญจรวิ่งผ่านไปมาเป็นไปด้วยความยากลำบาก รถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ โดยให้รถเล็กหันไปใช้ถนนสายนางั่ว-วังรู แทน ล่าสุดจนถึงขณะนี้ระดับน้ำได้เริ่มทรงตัว คาดว่าถ้าไม่มีฝนตกลงมาซ้ำอีก ภายใน 2-3 ชั่วโมง ระดับน้ำน่าจะลดลง และสถานการณ์คงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

--------------------------------------------------------------------------------------
แม่น้ำป่าสักเลยจุดวิกฤต เริ่มท่วมอยุํธยา [ สำนักข่าวไทย : 5 ก.ย.53 ]

นายวิทิต ปิ่นนิกร นายอำเภอท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมนายชโลม โปลิตานนท์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าเรือ พร้อมเจ้าหน้าที่กว่า 30 คน นำกระสอบทรายวางกั้นริมแม่น้ำป่าสัก รวมทั้งเร่งสูบน้ำท่วมผิวการจราจรในระดับ 30 เซนติเมตร บริเวณใต้สะพานจักรีท้ายตลาดเทศบาลตำบลท่าเรือ ช่วงเย็นวันนี้ (5 ก.ย.)  เนื่องจากแม่น้ำป่าสักที่ไหลผ่าน อ.ท่าเรือ มีปริมาณน้ำเอ่อสูง ขณะที่เขื่อนพระรามหก ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ ซึ่งเป็นเขื่อนรับน้ำป่าสักเปิดประตูระบายน้ำทุกบาน เพื่อระบายน้ำลงสู่คลองระพีพัฒน์

นายวิทิต กล่าวว่า แม่น้ำป่าสักมีน้ำสูงขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 3 ก.ย.เฉลี่ยวันละประมาณ 1 เมตร และวันนี้น้ำเลยจุดวิกฤตประมาณ 34 ซ.ม. อยู่ที่ระดับ 7.84 ม. ซึ่งน่าเป็นห่วง เนื่องจากน้ำเหนือเขื่อนมีปริมาณมาก ทำให้ต้องระบายแม่น้ำป่าสัก 400 ลบ.ม.ต่อวินาที และระบายน้ำที่รับมาจากชัยนาท อีก 100 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งน้ำทั้งหมดไหลลงสู่คลองระพีพัฒน์ และส่งผลต่อพื้นที่ อ.นครหลวง มีน้ำท่วมแล้วที่โรงเรียนใน ต.ท่าช้าง และแม่น้ำเจ้าพระยาก็สูงขึ้นเช่นกันท่วมวัดที่อยู่ริมน้ำ ส่วนหน้าวัดไชยวัฒนาราม โบราณสถานสำคัญมีการตั้งแนวบังเกอร์หมดแล้ว ระดับน้ำสูงขึ้นเหนือพื้นผิว 20 ซม. คาดว่ายังไม่ส่งผลกระทบ ขณะที่หมู่บ้านโปรตุเกตน้ำไหลเข้าบริเวณสถานที่จัดแสดงโครงกระดูก ซึ่งกรมศิลปากรได้เร่งสูบน้ำออกแล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำป่าเทือกเขาเอราวัณทะลักท่วมลพบุรี [ เดลินิวส์ : 4 ก.ย. 53 ]

วันนี้ 4 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ที่จังหวัดลพบุรี ฝนได้ตกมาติดต่อกันมา3-4 วันทำให้น้ำป่าจากเทือกเขาเอราวัณ จากเทือกเขาพระพุทธ ในตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมืองลพบุรี หลากเข้าท่วมถนนจอม พล.ป.เขตตำบลเขาสามยอด ติดต่อตำบลท่าศาลา สูงกว่า 50 ซ.ม. ระยะทางยาวกว่า 3 กิโลเมตรทำให้การคมนาคมบนถนนจอมพล ป.ติดยาว โดยเฉพาะที่ตลาดสดพันฉกาจน้ำท่วมสูงกว่า 50 ซ.ม ทำให้แม่ค้าขายสินค้าไม่ได้

ผู้สื่อรายงานอีกว่าเส้นทางถนนพหลโยธินจากวงเวียนพระนารายณ์ ถึงหน้าห้างแมคโคร ยาวกว่า 6 ก.ม.บนถนนเส้นนี้มีน้ำท่วมสูง 30-50 ซ.ม. ทั้งขาขึ้นและขาล่องน้ำป่า ที่หลากจากเทือกเขา เอราวัณ จากเทือกเขาพระพุทธ จากเทือกเขาหนีบบ่าเข้าท่วมบนถนนพหลโยธิน จากวงเวียนพระนารายณ์มุ่งหน้าออกทางสระบุรี โดยเฉพาะที่หน้าห้างคาร์ฟูร์ สาขา ลพบุรี น้ำท่วมสูงกว่า 50 ซ.ม.ทำให้บรรดาอาสาสมัครมูลนิธิต่างๆ เข้าไปช่วยบริการให้ความสะดวกการจราจรบนถนนพหลโยธิน

สำหรับหน้าห้างบิ๊กซี สาขาลพบุรีน้ำป่าหลากท่วมถนนพหลโยธินเป็นช่วงๆ โดยเฉพาะที่หน้าห้างบิ๊กซี น้ำท่วมสูงประมาณ 30 ซ.ม.ท่วมไปจนถึงทางแยกถนนเฉลิมพระเกียรติ เข้าโรงเรียนพระนารายณ์ น้ำท่วมสูงกว่า 50 ซ.ม.ยาวไปจนถึงหน้าห้างแมคโคร สาขาลพบุรีและ สามแยกนิคมสร้างตนเอง ที่น้ำป่าหลากมาแรงมากจากเทือกเขาจีนแล ล้นออกมาจากอ่างเก็บน้ำซับเหล็ก ไหลบ่ามาท่วมบนถนนพหลโยธิน ทำให้รถทั้งขาขึ้นและขาล่องติดกันยาวอีกรถบางคันดับทำให้ต้องเข็นหลบข้างทาง

--------------------------------------------------------------------------------------
โคราชอ่วม น้ำท่วมจม 300 หลังคาเรือน [ โพสต์ทูเดย์ : 3 ก.ย. 53 ]

ฝนตกหนักตั้งเมื่อตั้งแต่ 1 ก.ย.ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ต.หนองบัวศาลา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ทำให้ 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านหนองตะลุมปุ๊กหมู่ที่ 8  บ้านหนองตะลุมปุ๊กใหม่ หมู่ที่ 10  และบ้านหนองบัวศาลาหมู่ที่ 2 รวมกว่า 300 หลังคาเรือนต้องจมอยู่ใต้น้ำ โดยระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 50 เซนติเมตร จนถึง 1 เมตร

โดยเฉพาะที่หมู่บ้านจัดสรรจามจุรี ระดับน้ำท่วมสูงเกือบ 1 เมตร รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ไม่สามารถเข้าออกภายในหมู่บ้านได้ ผู้ที่อาศัยอยู่ภายในหมู่บ้านต้องจอดรถทิ้งไว้ริมถนนสาย ราชสีมา - โชคชัย ซึ่งอยู่ปากทางเข้าหมู่บ้าน ทางเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวศาลาต้องปิดถนน 1 เลนเพื่อใช้เป็นที่จอดรถให้กับประชาชน ส่งผลให้การจราจรติดกันอย่างมาก 

อย่างไรก็ตาม น้ำที่ไหลเข้าท่วมในพื้นที่ต.หนองบัวศาลา ในครั้งนี้ เป็นน้ำฝนที่ไหลจากพื้นที่ อ.ปักธงชัย และ อ.สูงเนินบางส่วน มารวมกันเนื่องจาก ต.หนองบัวศาลามีภูมิประเทศเป็นแอ่งกระทะอยู่ในที่ลุ่ม ส่งผลให้กลายเป็นพื้นที่รองรับน้ำที่ไหลมารวมกันและเกิดปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปีโดยปริมาณน้ำได้ไหลลงมารวมกันตั้งแต่เมื่อเวลาประมาณ 03.00 น. วันที่ 3 ก.ย. และกำลังเพิ่มปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

ล่าสุด ปริมาณน้ำได้ไหลข้ามถนนสาย ราชสีมา - โชคชัยเข้าท่วมวัดหนองตะลุมปุ๊กและโรงเรียนบ้านหนองตะลุมปุ๊ก จนทางโรงเรียนต้องประกาศหยุดเรียนกะทันหัน จนกว่าปริมาณน้ำจะเข้าสูงภาวะปกติ ขณะที่ทางอำเภอ และเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวศาลา ก็ได้เร่งนำกระสอบทรายเข้าให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในเบื้องต้นแล้ว พร้อมประสานไปยังสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา ให้เร่งส่งเรือท้องแบน และอุปกรณ์ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยมาสบทบอย่างเร่งด่วน 

ด้านจ.บึงกาฬ ระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นวัดระดับได้  11.90 เมตร  ประกอบกับมีน้ำเหนือไหลบ่าลงมาทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างเนื่องและไหลเข้าตามลำห้วยสาขานอกจากนี้น้ำโขงที่หนุนทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาก็ระบายลงสู่แม่น้ำโขงไม่ได้    จึงเออล้นลำห้วยเข้าท่วมนาข้าวที่กำลังงอกงามหลังจากปักดำได้ประมาณ 1 เดือนส่งผลให้นาข้าวของชาวบ้านดอนยม   บ้านคำหมื่น    บ้านคำแสน และบ้านห้วยเซือมเหนือ ที่ปลูกข้าวในที่ลุ่มริมห้วยได้รับความเดือดร้อนจากนาข้าวถูกน้ำท่วมถ้ายังมีฝนตกลงมาและน้ำโขงหนุนอยู่ข้าวที่จมอยู่ใต้น้ำนานๆ ก็จะยืนต้นตายแน่

เช่นเดียวกับที่ จ.กาฬสินธุ์ ปัญหาน้ำท่วมเริ่มทวีความรุนแรงและสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านหนักขึ้น  โดยเฉพาะที่อ.ฆ้องชัย   นาข้าวกว่า 5,500  ไร่ใน 3  ตำบล  ถูกน้ำท่วมเสียหายยับเยิน 

ที่ อ.ฆ้องชัย  เริ่มมีปัญหาน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างกินพื้นที่ใน 3  ตำบล  คือตำบลฆ้องชัยพัฒนา  ต.เหล่ากลาง  และต.ลำชี   โดยมี 8  หมู่บ้านที่ได้รับความเดือดร้อนหนัก   ทั้งนี้น้ำได้หลหลากเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรที่เป็นนาข้าวนาปีจมเสียหายเป็นบริเวณกว้างรวมทั้งสิ้นกว่า  5,500  ไร่   

ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • ผู้จัดการออนไลน์ : http://www.manager.co.th/
  • โพสต์ทูเดย์ : http://www.posttoday.com
  • เดลินิวส์ : http://www.dailynews.co.th