บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2551

ภาพดาวเทียม GOES-9


1/
10/2008
1
2GMT


2/10/2008
1
2GMT

3/10/2008
1
2GMT

4/10/2008
1
2GMT

5/10/2008
1
2GMT

6/10/2008
1
2GMT

7/10/2008
07GMT

8/10/2008
1
2GMT

9/10/2008
23GMT

10/10/2008
1
2GMT

11/10/2008
1
8GMT

12/10/2008
1
2GMT

13/10/2008
1
2GMT

14/10/2008
23GMT

15/10/2008
1
2GMT

16/10/2008
14
GMT

17/10/2008
09GMT

18/10/2008
1
2GMT

19/10/2008
13
GMT

20/10/2008
1
2GMT

21/10/2008
1
1GMT

22/10/2008
1
2GMT

23/10/2008
1
3GMT

24/10/2008
1
5GMT

25/10/2008
1
2GMT

26/10/2008
1
2GMT

27/10/2008
1
1GMT

28/10/2008
1
1GMT

29/10/2008
1
2GMT

30/10/2008
08GMT

31/10/2008
09GMT

1/11/2008
1
1GMT

2/11/2008
1
2GMT

3/11/2008
1
1GMT

4/11/2008
1
1GMT

5/11/2008
1
4GMT

6/11/2008
1
2GMT

7/11/2008
1
1GMT

8/11/2008
1
1GMT

9/11/2008
1
1GMT

10/11/2008
1
1GMT

11/11/2008
1
1GMT

12/11/2008
1
2GMT

13/11/2008
1
1GMT

14/11/2008
1
1GMT

15/11/2008
1
1GMT
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 จะเห็นได้ว่าในช่วงเดือนตุลาคม มีกลุ่มเมฆปกคลุมบริเวณอ่าวไทย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกค่อนข้างมาก หลังจากนั้นพอเข้าช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน กลุ่มเมฆที่ปกคลุมตั้งแต่ตอนบนถึงตอนกลางของประเทศได้ลดต่ำลง และได้เริ่มมีกลุ่มเมฆค่อนข้างมาในบริเวณภาคใต้่ โดยเฉพาะช่วงวันที่ 6-12 พฤศจิกายน ที่มีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ภาคใต้ค่อนข้างหนา เป็นผลทำให้เกิดฝนตกหนักในบริเวณดังกล่าว

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพแผนที่อากาศ

1/10/2008

2/10/2008

3/10/2008

4/10/2008

5/10/2008

6/10/2008

7/10/2008

8/10/2008

9/10/2008

10/10/2008

11/10/2008

12/10/2008

13/10/2008

14/10/2008

15/10/2008

16/10/2008

17/10/2008

18/10/2008

19/10/2008

20/10/2008

21/10/2008

22/10/2008

23/10/2008

24/10/2008

25/10/2008

26/10/2008

27/10/2008

28/10/2008

29/10/2008

30/10/2008

31/10/2008

1/11/2008

2/11/2008

3/11/2008

4/11/2008

5/11/2008

6/11/2008

7/11/2008

8/11/2008

9/11/2008

10/11/2008

11/11/2008

12/11/2008

13/11/2008

14/11/2008

15/11/2008
       
จากภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าในช่วงวันที่ 1-6 ตุลาคม มีร่องความกดอากาศต่ำ หรือ ร่องฝน พาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นร่องความกดอากาศได้เคลื่อนต่ำลงสู่บริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกในช่วงวันที่ 7-8 ตุลาคม และได้สลายตัวไปในวันต่อมา และในช่วงปลายเดือนตุลาคมจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน ประมาณวันที่ 10 พฤศจิกายน ได้เกิดร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านบริเวณภาคใต้่ทุกวัน ทำให้มีฝนตกหนักรวมถึงเกิดน้ำท่วมในหลายบริเวณ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา

พิษณุโลก
1/10/2008
13:25GMT

พิษณุโลก
2/10/2008
23:25GMT

พิษณุโลก
3/10/2008
01 :25GMT

พิษณุโลก
4/10/2008
17:25GMT

พิษณุโลก
5/10/2008
13:25GMT

พิษณุโลก
6/10/2008
23:25GMT

พิษณุโลก
7/10/2008
00:25GMT

พิษณุโลก
8/10/2008
01:25GMT

พิษณุโลก
9/10/2008
11:25GMT

พิษณุโลก
10/10/2008
07:25GMT


พิษณุโลก
11/10/2008
16:25GMT


พิษณุโลก
12/10/2008
09:25GMT


พิษณุโลก
13/10/2008
23:25GMT

พิษณุโลก
14/10/2008
00 :25GMT

พิษณุโลก
15/10/2008
11:25GMT

พิษณุโลก
16/10/2008
09:25GMT

พิษณุโลก
17/10/2008
16:25GMT

พิษณุโลก
18/10/2008
17:25GMT

พิษณุโลก
19/10/2008
10:25GMT

พิษณุโลก
20/10/2008
23:25GMT

พิษณุโลก
21/10/2008
13:25GMT

พิษณุโลก
22
/10/2008
12:25GMT

พิษณุโลก
23
/10/2008
19:25GMT

พิษณุโลก
24
/10/2008
10:25GMT

พิษณุโลก
25
/10/2008
18:25GMT

พิษณุโลก
26/10/2008
00:25GMT

พิษณุโลก
27
/10/2008
11:25GMT

พิษณุโลก
28/10/2008
00:25GMT

พิษณุโลก
29/10/2008
21:25GMT

พิษณุโลก
30
/10/2008
17:25GMT

พิษณุโลก
31/10/2008
19:25GMT

พิษณุโลก
1
/11/2008
11:25GMT

พิษณุโลก
2
/11/2008
01:25GMT

พิษณุโลก
3
/11/2008
22:25GMT

พิษณุโลก
4
/11/2008
11:25GMT

พิษณุโลก
5
/11/2008
14:25GMT

พิษณุโลก
6
/11/2008
08:25GMT

พิษณุโลก
7
/11/2008
11:25GMT

พิษณุโลก
8
/11/2008
11:25GMT

พิษณุโลก
9
/11/2008
01:25GMT

พิษณุโลก
10/11/2008
17:25GMT

พิษณุโลก
11/11/2008
11:25GMT

พิษณุโลก
12/11/2008
11:25GMT

พิษณุโลก
13/11/2008
17:25GMT

พิษณุโลก
14/11/2008
17:25GMT

พิษณุโลก
15/11/2008
14:25GMT

ระยอง
1/10/2008
00:03GMT

ระยอง
2/10/2008
23:03GMT

ระยอง
3
/10/2008
08:03GMT

ระยอง
4
/10/2008
10:03GMT

ระยอง
5
/10/2008
10:03GMT

ระยอง
6
/10/2008
10:03GMT

ระยอง
7
/10/2008
09:03GMT

ระยอง
8
/10/2008
08:03GMT

ระยอง
9
/10/2008
09:03GMT

ระยอง
10/10/2008
04:03GMT

ระยอง
11/10/2008
17:03GMT

ระยอง
12/10/2008
00:03GMT

ระยอง
13/10/2008
21:
03GMT

ระยอง
14/10/2008
00:03GMT

ระยอง
15/10/2008
10:03GMT

ระยอง
16/10/2008
13:
03GMT

ระยอง
17/10/2008
00:03GMT

ระยอง
18/10/2008
23:03GMT

ระยอง
19/10/2008
00:03GMT

ระยอง
20
/10/2008
06:03GMT

ระยอง
21
/10/2008
01:03GMT

ระยอง
22
/10/2008
05:03GMT

ระยอง
23
/10/2008
10:03GMT

ระยอง
24
/10/2008
23:
03GMT

ระยอง
25
/10/2008
05:03GMT

ระยอง
26/10/2008
23:03GMT

ระยอง
27
/10/2008
05:03GMT

ระยอง
28
/10/2008
05:03GMT

ระยอง
29/10/2008
23:03GMT

ระยอง
30/10/2008
11:03GMT

ระยอง
31
/10/2008
01:03GMT

ระยอง
1/11/2008
05:03GMT

ระยอง
2
/11/2008
05:03GMT

ระยอง
3
/11/2008
11:03GMT

ระยอง
4
/11/2008
05:03GMT

ระยอง
5
/11/2008
17:03GMT

ระยอง
6
/11/2008
21:03GMT

ระยอง
7
/11/2008
06:03GMT

ระยอง
8
/11/2008
08:03GMT

ระยอง
9
/11/2008
03:03GMT

ระยอง
10/11/2008
00:03GMT

ระยอง
11/11/2008
05:03GMT

ระยอง
12/11/2008
13:03GMT

ระยอง
13/11/2008
13:03GMT

ระยอง
14/11/2008
14:03GMT

ระยอง
15/11/2008
20:03GMT

ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์ของกรมอุตุนิยมวิทยารัศมีครอบคลุมพื้นที่ตอนบนของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย เรดาร์พิษณุโลก และเรดาร์ระยอง (เรดาร์แต่ละตัวรัศมีครอบคลุมพื้นที่ 240 กม.) พบว่าภาพถ่ายจากเรดาร์พิษณุโลกแสดงให้เห็นถึงในช่วงวันที่ 1-8 ตุลาคม มีกลุ่มฝนค่อนข้างหนาแน่นอย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นกลุ่มฝนได้สลายตัวไป และกลับมาอีกครั้งในช่วงปลายเดือนตุลาคมจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน และภาพถ่ายจากเรดาร์ระยองแสดงให้เห็นว่าในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้อนเดือนพฤศจิกายนมีกลุ่มฝนค่อนข้างมากบริเวณอ่าวไทย ภาคตะวันออก และครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เรดาร์พิษณุโลก
เรดารระยอง


ปริมาณฝนสะสม

1/10/2551
00am

2/10/2551
12am

3/10/2551
12am

4/10/2551
00am

5/10/2551
12am

6/10/2551
00am

7/10/2551
12am

8/10/2551
12am

9/10/2551
00am

10/10/2551
00am


11/10/2551
00am


12/10/2551
12am

13/10/2551
00am

14/10/2551
12am

15/10/2551
00am

16/10/2551
00am

17/10/2551
12am

18/10/2551
00am

19/10/2551
12am

20/10/2551
12am

21/10/2551
12am

22/10/2551
12am

23/10/2551
00am

24/10/2551
12am

25/10/2551
12am

26/10/2551
00am

27/10/2551
12am

28/10/2551
12am

29/10/2551
00am

30/10/2551
00am

31/10/2551
00am

1/11/2551
12am

2/11/2551
00am

3/11/2551
12am

4/11/2551
12am

5/11/2551
00am

6/11/2551
00am

7/11/2551
00am

8/11/2551
00am

9/11/2551
12am

10/11/2551
12am

11/11/2551
00am

12/11/2551
12am

13/11/2551
00am

14/11/2551
00am

15/11/2551
00am
       

รายงานจากแผนภาพฝนสะสมรายวันจัดทำโดยสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่าในช่วงวันที่ 1-9 ตุลาคม บริเวณตอนบนและตอนกลางของประเทศมีฝนเกาะกลุ่มเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นได้สลายตัวลง และได้มีกลุ่มฝนค่อย ๆ รวมตัวขึ้นใหม่อีกครั้งในช่วงปลายเดือนตุลาคม ในบริเวณภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมถึงภาคใต้่ โดยเฉพาะช่วงวันที่ 25-26 ตุลาคม ที่มีกลุ่มฝนค่อนข้างมากบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้ตอนบน และในวันที่ 29 ตุลาคม มีกลุ่มฝนรวมตัวค่อนข้างหนาตั้งแต่ด้านทิศตะวันตกของประเทศ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ตลอดแนวไปถึงภาคตะวันออก และในช่วงวันที่ 7-11 พฤศจิกายน มีกลุ่มฝนค่อนข้างมากในบริเวณภาคใต้

รายละเอียดเพิ่มเติม

คลิกเพื่อแสดงภาพใหญ่
ปริมาณฝนสะสมระหว่างวันที่ 1-15 กันยายน 2551

คลิกเพื่อแสดงภาพใหญ่
ปริมาณฝนสะสมระหว่างวันที่ 16-30 กันยายน 2551
คลิกเพื่อแสดงภาพใหญ่
ปริมาณฝนสะสมระหว่างวันที่ 1-15 ตุลาคม 2551
คลิกเพื่อแสดงภาพใหญ่
ปริมาณฝนสะสมระหว่างวันที่ 16-31 ตุลาคม 2551
คลิกเพื่อแสดงภาพใหญ่
ปริมาณฝนสะสมระหว่างวันที่ 1-15 พฤศจิกายน 2551
 
รายงานแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมจาก NASA พบว่าในช่วงต้นเดือนกันยายนบริเวณตอนบนของประเทศมีฝนเกาะกลุ่มอยู่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา พื้นที่ภาคกลาง บริเวณจังหวัด ลพบุรี นครสวรรค์ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมถึงภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี โดยปริมาณฝนสะสมอยู่ที่ประมาณ 240-360 มิลลิเมตร

หลังจากนั้น ในช่วงปลายเดือนกันยายนกลุ่มฝนได้ลดน้อยลงเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ โดยยังคงมีฝนตกบ้างในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก บริเวณจังหวัด เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ตราด ปราจีนบุรี โดยปริมาณฝนสะสมโดยภาพรวมไม่เกิน 240 มิลลิเมตร ต่อมาในช่วงต้นเดือนตุลาคม กลุ่มฝนได้ลดปริมาณลงอีกอย่างต่อเนื่องเกือบทั่วทั้งประเทศ โดยยังคงมีฝนเกาะกลุ่มในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา โดยปริมาณฝนสะสมไม่เกิน 180 มิลลิเมตร ยกเว้นบริเวณจังหวัดกระบี่และพังงา ที่มีปริมาณฝนสะสมประมาณ 240 มิลลิเมตร

ในช่วงปลายเดือนตุลาคม ปริมาณฝนได้เพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งทางด้านทิศตะวันตกและบริเวณภาคใต้่ ส่วนพื้นที่อื่น ๆ ปริมาณฝนลดน้อยลง ต่อมาในช่วงต้อนเดือนพฤศจิกายน ตอนบนของประเทศปริมาณฝนลดลงค่อนข้างมาก ตรงข้ามกับภาคใต้ที่มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยปริมาณฝนอยู่ในระหว่าง 360-420 มิลลิเมตร โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ที่มีปริมาณฝนมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ

ปริมาณฝนจากสถานีตรวจวัดกรมอุตุนิยมวิทยา
 
วันที่
สถานี
ปริมาณฝนสะสม
24 ชม.
26/10/2008 ราชบุรี (1)                    141.30
10/11/2008 เกาะสมุย                    140.30
10/11/2008 นครศรีธรรมราช (1)                    140.00
31/10/2008 พลิ้ว                    130.10
31/10/2008 เกาะลันตา                    129.30
7/11/2008 ปัตตานี                    119.60
19/10/2008 เพชรบุรี                    118.30
14/11/2008 นราธิวาส                    116.80
12/11/2008 สงขลา                    111.60
11/10/2008 นครศรีธรรมราช                    111.10
19/10/2008 ชลบุรี                    107.20
9/11/2008 สงขลา                    106.40
1/11/2008 สุโขทัย                    102.90
31/10/2008 จันทบุรี                    102.50
30/10/2008 เกาะสีชัง                      99.40
25/10/2008 สตูล                      93.50
25/10/2008 นครศรีธรรมราช (1)                      89.10
11/11/2008 นราธิวาส                      86.70
11/10/2008 น่าน (1)                      84.50
1/10/2008 จันทบุรี                      84.20
11/11/2008 เกาะลันตา                      83.70
12/11/2008 สวี (1)                      82.40
7/10/2008 โกสุมพิสัย                      81.50
22/10/2008 ตะกั่วป่า                      80.90
12/11/2008 พัทลุง                      79.40
30/10/2008 ภูเก็ต                      79.20
7/10/2008 กำแพงเพชร                      78.60
22/10/2008 สตูล                      77.80
21/10/2008 หนองคาย                      74.80
29/10/2008 ระนอง                      73.10
31/10/2008 กบินทร์บุรี (2)                      71.40
30/10/2008 สตูล                      71.20
31/10/2008 สกลนคร                      70.20
8/11/2008 เกาะสมุย                      69.60
1/10/2008 เขื่อนภูมิพล                      69.10
27/10/2008 กำแพงเพชร                      69.10
1/11/2008 ห้วยโป่ง (1)                      68.10
9/11/2008 บางนา (1)                      67.70
11/11/2008 ชุมพล                      67.60
25/10/2008 ตรัง                      67.50
11/10/2008 ท่าวังผา (2)                      67.40
6/11/2008 พิษณุโลก                      67.00
9/11/2008 นครศรีธรรมราช (1)                      66.30
31/10/2008 วิเชียรบุรี                      66.10
20/10/2008 ท่าเรือกรุงเทพฯ                      65.80
13/10/2008 พิษณุโลก                      65.70
13/11/2008 นครศรีธรรมราช                      65.40
23/10/2008 พลิ้ว                      65.30
5/11/2008 สุพรรณบุรี                      65.20
16/10/2008 ยะลา                      65.10
12/11/2008 ชุมพล                      65.00
26/10/2008 คลองใหญ่                      64.20
21/10/2008 ปัตตานี                      63.70
8/10/2008 ปากช่อง (1)                      62.40
29/10/2008 กาญจนบุรี                      62.00
23/10/2008 อุบลราชธานี (1)                      61.40
5/11/2008 กาญจนบุรี                      60.20
11/11/2008 ระนอง                      59.80
30/10/2008 ตะกั่วป่า                      59.30
17/10/2008 สนามบินภูเก็ต                      58.60
31/10/2008 นครสวรรค์                      58.60
21/10/2008 แม่สะเรียง                      58.40
24/10/2008 นราธิวาส                      58.30
31/10/2008 ปากช่อง (1)                      58.10
9/11/2008 นครศรีธรรมราช                      57.50
31/10/2008 สกลนคร (1)                      57.10
22/10/2008 สนามบินภูเก็ต                      57.00
2/11/2008 แพร่                      56.60
1/10/2008 ตากฟ้า                      56.30
23/10/2008 ลำพูน                      56.20
26/10/2008 จันทบุรี                      55.30
3/11/2008 มุกดาหาร                      55.00
11/11/2008 สงขลา                      54.70
17/10/2008 เพชรบุรี                      54.20
20/10/2008 ศูนย์สิริกิตต์                      54.20
1/10/2008 ลพบุรี                      53.70
2/10/2008 ฉะเชิงเทรา (1)                      53.60
2/11/2008 หนองคาย                      53.60
1/10/2008 ตาก                      53.00
5/11/2008 นางรอง (2)                      52.90
28/10/2008 เขื่อนภูมิพล                      52.80
21/10/2008 ลำพูน                      52.30
5/10/2008 แม่ฮ่องสอน                      52.20
31/10/2008 บางนา (1)                      51.50
11/10/2008 กำแพงเพชร                      51.00
27/10/2008 ตาก                      51.00
13/10/2008 ตรัง                      50.80
26/10/2008 กาญจนบุรี                      50.60
2/10/2008 พิจิตร                      50.40
2/11/2008 แม่สอด                      50.30
4/10/2008 อรัญประเทศ                      50.10

รายงานข้อมูลฝนสะสมจากสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายน พบว่าปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมง สูงสุด อยู่ที่สถานี ราชบุรี(1) ในวันที่ 26 ตุลาคม โดยมีปริมาณฝน 141.30 มิลลิเมตร รองลงมาคือ สถานีเกาะสมุยและสถานีนครศรีธรรมราช(1) โดยมีปริมาณฝน 140.30 และ 140 มิลลิเมตร ตามลำดับ

สถานี
1-15 ต.ค.
สถานี
16-31 ต.ค.
สถานี
3-15 พ.ย.
สุโขทัย       259.00 เกาะลันตา       427.30 เกาะสมุย        512.40
กำแพงเพชร       185.90 ตะกั่วป่า       357.40 สงขลา        416.00
นครศรีธรรมราช (1)       185.80 สตูล       352.90 นครศรีธรรมราช (1)        367.80
ศูนย์สิริกิตต์       161.00 พลิ้ว       304.20 นครศรีธรรมราช        348.30
นครศรีธรรมราช       149.00 เพชรบุรี       293.10 สวี (1)        305.90
เชียงราย (1)       141.20 ระนอง       268.10 นราธิวาส        297.00
พิจิตร       139.80 สวี (1)       229.50 ปัตตานี        238.30
พิษณุโลก       137.30 จันทบุรี       223.30 ชุมพล        205.70
ฉะเชิงเทรา (1)       131.40 เกาะสีชัง       219.00 พัทลุง        200.70
วิเชียรบุรี       129.20 ตรัง       215.50 โกสุมพิสัย        143.10
สตูล       119.00 ภูเก็ต       215.20 ยะลา        137.10
แม่ฮ่องสอน       115.20 แหลมฉบัง       214.70 คอหงษ์ (1)        131.60
ทองผาภูมิ       109.60 ราชบุรี (1)       214.40 สุราษฎร์ธานี        103.10
ตรัง       106.20 ห้วยโป่ง (1)       204.10 พิษณุโลก        102.90
เพชรบุรี       105.90 สนามบินภูเก็ต       200.90 เกาะลันตา          97.30
ตาก       105.80 สงขลา       200.70 ท่าพระ (1)          95.90
น่าน (1)       102.50 ศูนย์สิริกิตต์       198.90 หาดใหญ่          95.40
ท่าเรือกรุงเทพฯ       100.60 ตาก       198.50 ขอนแก่น          95.00
ท่าวังผา (2)         98.00 นครศรีธรรมราช (1)       196.00 สุรินทร์          94.10
โชคชัย (2)         97.60 ท่าเรือกรุงเทพฯ       189.30 หนองคาย          91.60
ปากช่อง (1)         97.60 กำแพงเพชร       185.70 กาญจนบุรี          89.20
อุตรดิตถ์         95.60 คลองใหญ่       179.80 เชียงราย          85.90
หาดใหญ่         89.60 เขื่อนภูมิพล       174.80 ระนอง          85.50
พะเยา         86.30 ลำพูน       168.20 กมลาไสย (2)          82.90
เพชรบูรณ์         84.30 กาญจนบุรี       168.10 บางนา (1)          79.30
ตะกั่วป่า         82.00 นครสวรรค์       164.20 ปทุมธานี (1)          77.40
อรัญประเทศ         80.40 ปัตตานี       164.10 สนามบินภูเก็ต          76.40
อุบลราชธานี (1)         76.00 ชลบุรี       160.90 เขื่อนภูมิพล          76.00
กมลาไสย (2)         75.00 พัทยา       156.40 สุพรรณบุรี          75.30
นครสวรรค์         74.60 กำแพงแสน (1)       156.20 ตะกั่วป่า          73.00
เขื่อนภูมิพล         73.00 อู่ทอง (1)       152.90 จันทบุรี          71.00
หนองพลับ (1)         72.70 ระยอง       150.20 สอท.ท่าตูม*          70.30
อู่ทอง (1)         72.30 กบินทร์บุรี (2)       149.50 อุดรธานี          69.00
เชียงราย         71.40 หนองพลับ (1)       145.10 นางรอง (2)          68.50
ห้วยโป่ง (1)         70.30 เชียงใหม่       141.50 แพร่          67.90
นครราชสีมา         69.20 ทองผาภูมิ       138.10 มุกดาหาร          62.80
พัทลุง         69.20 อุตรดิตถ์       138.00 แม่สอด          59.90
พระแสง (2)         68.50 นครศรีธรรมราช       125.30 สกลนคร (1)          59.50
ร้อยเอ็ด (1)         68.20 บางนา (1)       121.00 อุตรดิตถ์          57.40
บางนา (1)         67.90 อุบลราชธานี (1)       117.80 อรัญประเทศ          57.10
ราชบุรี (1)         67.80 อรัญประเทศ       114.60 ร้อยเอ็ด          55.40
ตากฟ้า         66.60 ฉะเชิงเทรา (1)       114.30 พลิ้ว          54.00
นราธิวาส         63.80 ปากช่อง (1)       113.50 กำแพงเพชร          51.80
แม่สะเรียง         63.20 เชียงราย       113.40 สะเดา (2)          49.90
กาญจนบุรี         62.80 ปทุมธานี (1)       110.60 นครราชสีมา          49.10
สุรินทร์         61.80 นราธิวาส       109.10 สตูล          48.30
อุบลราชธานี         59.20 ชัยภูมิ       108.70 บุรีรัมย์          48.10
ลำพูน         58.70 ตากฟ้า       108.30 หนองพลับ (1)          48.00
ปทุมธานี (1)         58.20 นางรอง (2)       104.70 นครพนม (1)          47.00
คอหงษ์ (1)         57.50 หาดใหญ่       103.40 ห้วยโป่ง (1)          46.80
หนองคาย         56.90 ปราจีนบุรี       102.70 ตาก          46.40
เลย (1)         56.70 หนองคาย       102.10 ร้อยเอ็ด (1)          45.40
ศรีสะเกษ (1)         53.30 ทุ่งช้าง (2)       101.40 ศรีสะเกษ (1)          44.90
ลพบุรี         52.00 ชัยนาท       101.30 นครสวรรค์          44.50
แม่สอด         50.60 ชุมพล       100.20 วิเชียรบุรี          44.40
ทุ่งช้าง (2)         50.40 แม่ฮ่องสอน         99.00 พัทยา          42.90
สกลนคร (1)         49.80 พระแสง (2)         98.60 ท่าเรือกรุงเทพฯ          42.80
หล่มสัก         49.20 เชียงราย (1)         93.80 ฉวาง (2)          42.40
ท่าพระ (1)         48.20 ประจวบคีรีขันธ์         92.10 พระแสง (2)          39.40
ยะลา         46.60 แม่สะเรียง         91.40 กบินทร์บุรี (2)          38.70
ฉวาง (2)         45.40 วิเชียรบุรี         86.80 ประจวบคีรีขันธ์          38.40
เกาะสมุย         45.10 คอหงษ์ (1)         86.20 สกลนคร          35.30
พลิ้ว         43.90 น่าน (1)         86.00 เลย          35.10
สนามบินภูเก็ต         43.60 โชคชัย (2)         83.80 พะเยา          34.80
กบินทร์บุรี (2)         43.30 สกลนคร         82.30 คลองใหญ่          34.10
สุพรรณบุรี         40.80 ลพบุรี         80.90 แม่สะเรียง          33.90
นครพนม (1)         38.80 พัทลุง         80.50 หัวหิน          33.00
ชัยนาท         38.30 อุดรธานี         80.00 เชียงราย (1)          32.10
เกาะลันตา         37.90 หัวหิน         77.00 ระยอง          32.10
ปัตตานี         36.90 อยุธยา (1)         77.00 ชัยภูมิ          32.00
กำแพงแสน (1)         36.20 พิจิตร         69.50 ทองผาภูมิ          31.80
นางรอง (2)         35.40 นครราชสีมา         67.60 ศูนย์สิริกิตต์          31.50
สวี (1)         34.70 สุพรรณบุรี         67.50 อุบลราชธานี          30.60
เชียงใหม่         33.20 เกาะสมุย         66.50 เพชรบูรณ์          30.50
สุราษฎร์ธานี         30.90 แม่สอด         64.80 ราชบุรี (1)          30.40
ร้อยเอ็ด         30.80 สกลนคร (1)         62.10 สุโขทัย          28.50
มุกดาหาร         30.00 บัวชุม (2)         61.90 ชลบุรี          25.90
บุรีรัมย์         29.60 สุราษฎร์ธานี         61.30 ลำพูน          25.30
หัวหิน         29.30 บุรีรัมย์         60.20 เพชรบุรี          24.60
อุดรธานี         28.00 น่าน         59.00 ทุ่งช้าง (2)          24.30
ระนอง         28.00 ฉวาง (2)         58.80 เกาะสีชัง          23.40
นครพนม         26.40 พะเยา         58.40 โชคชัย (2)          23.20
สกลนคร         25.90 ยะลา         54.20 อู่ทอง (1)          22.30
บัวชุม (2)         25.70 สะเดา (2)         51.20 แหลมฉบัง          22.30
ปราจีนบุรี         25.30 สุรินทร์         46.10 อุบลราชธานี (1)          22.30
ชลบุรี         25.00 ท่าวังผา (2)         42.50 ท่าวังผา (2)          21.50
สงขลา         23.70 อุบลราชธานี         42.00 เชียงใหม่          20.60
น่าน         22.30 เลย         41.30 ฉะเชิงเทรา (1)          19.00
ชุมพล         22.30 ขอนแก่น         41.00 ชัยนาท          18.90
แหลมฉบัง         21.70 พิษณุโลก         37.30 พิจิตร          15.80
พัทยา         21.60 ร้อยเอ็ด         35.80 กำแพงแสน (1)          14.70
สอท.ท่าตูม*         18.60 เพชรบูรณ์         34.70 ลพบุรี          14.00
ประจวบคีรีขันธ์         16.50 ร้อยเอ็ด (1)         34.60 ตรัง          13.60
ชัยภูมิ         15.70 ท่าพระ (1)         31.40 น่าน          10.90
ขอนแก่น         12.30 สอท.ท่าตูม*         30.20 หล่มสัก            9.70
คลองใหญ่           9.40 สุโขทัย         28.60 ปากช่อง (1)            8.30
ระยอง           7.70 กมลาไสย (2)         23.30 ปราจีนบุรี            7.40
แพร่           7.30 โกสุมพิสัย         19.30 นครพนม            7.30
อยุธยา (1)           5.90 ศรีสะเกษ (1)         16.70 แม่ฮ่องสอน            6.50
จันทบุรี           4.90 หล่มสัก         12.90 น่าน (1)            3.40
เกาะสีชัง           3.90 แพร่           8.50 อยุธยา (1)            1.00
จากตารางแสดงปริมาณฝนสะสมทุก ๆ ครึ่งเดือนตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน พบว่าช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนตุลาคม มีฝนมากบริเวณตอนเหนือและตอนกลางของประเทศ ต่อมาในช่วงครึ่งเดือนหลังของเดือนตุลาคมปริมาณฝนได้ครอบคลุมในหลายพื้นที่มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้ที่มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ต่อมาในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ปริมาณฝนบริเวณตอนบนของปรเทศลดน้อยลง แต่บริเวณภาคใต้ได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของภาคใต้

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดน้ำท่า
วันที่ / สถานี
ปริมาณน้ำไหลผ่าน (ลบ.ม./วินาที)
C.2
นครสวรรค์
C.13
ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา
C.29
บางไทร
1-ต.ค.
1,610
1,568
1,949
2-ต.ค.
1,606
1,603
1,941
3-ต.ค.
1,598
1,620
1,962
4-ต.ค.
1,610
1,603
2,141
5-ต.ค.
1,630
1,603
1,976
6-ต.ค.
1,662
1,638
1,963
7-ต.ค.
1,638
1,648
2,014
8-ต.ค.
1,646
1,648
1,982
9-ต.ค.
1,715
1,655
1,897
10-ต.ค.
1,729
1,685
1,777
11-ต.ค.
1,702
1,648
1,646
12-ต.ค.
1,693
1,543
1,588
13-ต.ค.
1,693
1,480
1,613
14-ต.ค.
1,684
1,343
1,613
15-ต.ค.
1,679
1,360
1,586
16-ต.ค.
1,670
1,326
1,540
17-ต.ค.
1,634
1,260
1,555
18-ต.ค.
1,582
1,190
1,534
19-ต.ค.
1,542
1,170
1,433
20-ต.ค.
1,470
1,112
1,341
21-ต.ค.
1,398
1,056
1,396
22-ต.ค.
1,334
938
1,327
24-ต.ค.
1,256
909
1,231
25-ต.ค.
1,242
874
1,164
26-ต.ค.
1,322
951
1,141
27-ต.ค.
1,442
1,151
1,112
28-ต.ค.
1,638
1,377
1,246
29-ต.ค.
1,982
1,703
1,382
30-ต.ค.
2,043
1,840
1,556
31-ต.ค.
2,116
1,799
1,640
1-พ.ย.
2,105
1,851
1,786
2-พ.ย.
2,105
1,873
1,918
3-พ.ย.
2,220
1,970
2,037
4-พ.ย.
2,375
2,117
2,102
5-พ.ย.
2,398
2,290
2,232
6-พ.ย.
2,381
2,374
2,292
7-พ.ย.
2,335
2,382
2,330
8-พ.ย.
2,317
2,394
2,300
9-พ.ย.
2,271
2,386
2,300
10-พ.ย.
2,208
2,378
2,272
11-พ.ย.
 2,151
2,378
 2,193
12-พ.ย.
2,105
2,330
2,146
13-พ.ย.
2,026
2,218
2,146
14-พ.ย.
1,966
2,101
2,076

รายงานข้อมูลระดับน้ำรายวันจากสถานีตรวจวัดระดับน้ำของกรมชลประทานจะพบว่าในช่วงปลายเดือนตุลาคมจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน ปริมาณน้ำไหลผ่านได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดของสถานี C.2 จังหวัดนครสวรรค์อยู่ที่ 2,398 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 5 พฤศจิกายน ส่วนสถานี C.13 ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท มีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดอยู่ที่ 2,394 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 8 พฤศจิกายน และสถานี C.29 อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดอยู่ที่ 2,330 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 7 พฤศจิกายน


ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

ปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนภูมิพล

ปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนป่าสัก

ปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนแม่งัด

ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์

ปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนจุฬาภรณ์


ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง


ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำมูลบน

ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล

จากกราฟแสดงปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จะเห็นได้ว่า ปริมาณน้ำในอ่างฯ ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนเป็นต้นมา โดยอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำกักเก็บเกิน 90% ที่ รนก. คือ อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัด อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ อ่างเก็บน้ำเขื่อนจุฬากรณ์ อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำพระเพลิง อ่างเก็บน้ำเขื่อนมูลบน และอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ส่วนอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน แต่ยังไม่ถึง 90% ที่ รนก.

รายละเอียดเพิ่มเติม


ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม (คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)
7 พ.ย. 51
22 ต.ค. 51
15 ต.ค.
14 ต.ค.
6 ต.ค.

ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2551 เวลา 18.22 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดชัยนาท นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สิงหบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง และอุทัยธานี
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2551 เวลา 18.22 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดชัยนาท นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สิงหบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง และอุทัยธานี

ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT-5 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2551 เวลา 10.25 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนครสวรรค์
ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT-5 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2551 เวลา 10.25 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนครสวรรค์
ข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-5 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2551 เวลา 10.20 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และ อุทัยธานี
ข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-5 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2551 เวลา 10.20 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และ อุทัยธานี
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2551 เวลา 18.23 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรีและอ่างทอง
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2551 เวลา 18.23 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรีและอ่างทอง
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2551 เวลา 06.12 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี และสิงห์บุรี
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2551 เวลา 06.12 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี และสิงห์บุรี
  ข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-5 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2551 แสดงพื้นที่น้ำท่วม บริเวณบางส่วนของจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และ สุโขทัย
ข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-5 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2551 แสดงพื้นที่น้ำท่วม บริเวณบางส่วนของจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และ สุโขทัย
ข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-5 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2551 เวลา 10.20 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายกและปราจีนบุรี
ข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-5 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2551 เวลา 10.20 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายกและปราจีนบุรี
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2551 เวลา 18.23 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี และสิงห์บุรี
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2551 เวลา 18.23 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี และสิงห์บุรี
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2551 เวลา 06.12 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2551 เวลา 06.12 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
  ข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-5 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2551 เวลา 10.20 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนครปฐม พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี
ข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-5 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2551 เวลา 10.20 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนครปฐม พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2551 เวลา 18.23 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และ สุโขทัย
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2551 เวลา 18.23 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และ สุโขทัย
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2551 เวลา 06.12 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2551 เวลา 06.12 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์
    ข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-5 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2551 เวลา 10.20 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-5 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2551 เวลา 10.20 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
   

ข้อมูลด้านความเสียหาย

สถานการณ์น้ำท่วม  วันที่ 12 พฤศจิกายน  2551
       จากสถานการณ์อุทกภัยเนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมภาคกลางของประเทศไทย และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกตามแนวร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้มีฝนตกชุก และฝนตกหนักต่อเนื่องในบางพื้นที่โดยเฉพาะในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 31 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2551 จากภาวะดังกล่าวทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก อีกทั้งยังเป็นเหตุให้ระดับน้ำในแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำชี มีระดับสูงขึ้น ทำให้กรมชลประทานได้ระบายน้ำท้ายเขื่อนในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน และพื้นที่การเกษตรที่อยู่ติดกับริมฝั่งของแม่น้ำในหลายจังหวัด เช่น จังหวัดตาก สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ชัยภูมิ มหาสารคาม ซึ่งจากการติดตามรายงานของกรมส่งเสริมการเกษตร สถานการณ์น้ำของกรมชลประทาน สื่อต่างๆ  และสถานการณ์ในพื้นที่ของสำนักเศรษฐกิจการเกษตรเขต  สรุปได้ดังนี้
      1. พื้นที่ประสบภัย  พื้นที่ประสบภัย  20 จังหวัด ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง  ลำพูน แพร่ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท  อ่างทอง สิงห์บุรี  พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ราชบุรี ชัยภูมิ สกลนคร ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์  มหาสารคาม และนครราชสีมา
      2. พื้นที่เสียหายทางการเกษตร พื้นที่เสียหายทางการเกษตรส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาข้าวที่อยู่ในที่ลุ่มติดริมฝั่งแม่น้ำซึ่งได้รับผลกระทบค่อนข้างมากโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ข้าวจมอยู่ในน้ำทำให้ผลผลิตที่อยู่ในระยะที่เริ่มจะเก็บเกี่ยวเสียหาย อีกทั้งเกษตรกรบางส่วนเร่งทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อหนีน้ำ ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่มีคุณภาพ และขายได้ไม่ได้ราคาเพราะมีความชื้นสูง ซึ่งในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมจะเป็นช่วงที่มีเก็บเกี่ยวผลผลิตมากที่สุด ส่วนสถานการณ์ในภาคกลางได้แก่ในจังหวัดอ่างทอง และ    พระนครศรีอยุธยา เกษตรกรส่วนใหญ่ได้ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตไปก่อนเกิดน้ำท่วมเรียบร้อยแล้ว ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อย   ส่วนพืชไร่ที่เสียหายส่วนใหญ่ได้แก่  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และพืชสวน ได้แก่ กล้วย
จากการรายงานเบื้องต้นเฉพาะในพื้นที่  11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และราชบุรี มีน้ำท่วมเนื้อที่การเกษตรประมาณ 291,652 ไร่ แยกเป็นนาข้าว  197,125  ไร่  พืชไร่ 84,955 ไร่ และพืชสวน 9,572 ไร่ ซึ่งเพิ่มเติมจากข้อมูลเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 51จำนวน 73,544 ไร่ ทั้งนี้ สศก.ได้วิเคราะห์จากสถานการณ์แล้วคาดว่ามีเนื้อที่การเกษตรเสียหายสิ้นเชิงประมาณ  16,153 ไร่ แยกเป็นนาข้าว 11,586 ไร่ พืชไร่ 4,385 ไร่ พืชสวน 182 ไร่ เนื้อที่การเกษตรเสียหายบางส่วน 44,511 ไร่  แยกเป็นนาข้าว 31,038 ไร่ พืชไร่ 12,848 ไร่ พืชสวน 625 ไร่ และเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมแต่ผลผลิตไม่ได้รับความเสียหายประมาณ 230,988 ไร่ โดยจังหวัดที่มีเนื้อที่เสียหายมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชรเสียหายประมาณ  27,675   ไร่
      3. มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจจากผลผลิตการเกษตรเสียหาย
ในเบื้องต้นคาดว่ามีมูลค่าเสียหายประมาณ  120 ล้านบาท แยกเป็นข้าว  88  ล้านบาท  พืชไร่  30 ล้านบาท และพืชสวน 2  ล้านบาท  โดยที่จังหวัดกำแพงเพชรได้รับความเสียหายมากสุด ประมาณ  51  ล้านบาท

ทั้งนี้ สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดอื่นๆ และภาคใต้ที่ได้เกิดอุทกภัยตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย. 51 ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพร และสุราษฎร์ธานีอยู่ในระหว่างสำรวจความเสียหาย โดยยังไม่ได้รับรายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง ศสส. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป


รายงานพื้นที่ประสบอุทกภัยด้านการเกษตร ปี 2551
ข้อมูล ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม-11 พฤศจิกายน 2551

ที่
จังหวัด
เนื้อที่เสียหาย
มูลค่าเสียหาย
สิ้นเชิง
บางส่วน
(ไร่)
(ไร่)
(บาท)
รวม 9 จังหวัด 16,153 44,511 120,546,591
ภาคเหนือ 6จว. 11,292 34,000 84,240,368
1
ลำปาง 33 144 275,123
2
อุทัยธานี 3,425 10,354 26,145,253
3
กำแพงเพชร 6,919 20,756 51,731,228
4
ตาก 915 2,746 6,088,764
ภาคกลาง 4จว. 4,575 9,273 33,282,263
1
พระนครศรีอยุธยา 2,037 4,082 9,228,759
2
อ่างทอง 24 72 309,313
3
ชัยนาท 2,257 4,520 20,924,263
4
สิงห์บุรี 257 600 2,819,929
ภาคตะวันตก 1จว. 286 1,238 3,023,960
1
ราชบุรี 286 1,238 3,023,960
หมายเหตุ จังหวัดเชียงใหม่ และลำพูนมีพื้นที่การเกษตรประสบภัยน้ำท่วมแต่คาดว่าไม่มีเนื้อที่เสียหายสิ้นเชิง
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร       

ข้อมูลด้านความเสียหายจากแหล่งอื่น
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1.สรุปสถานการณ์สาธารณภัยประจำเดือนตุลาคม 2551
2.สรุปสถานการณ์สาธารณภัยระหว่างวันที่ 4-10 พฤศจิกายน 2551

ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------

สถานการณ์น้ำท่วมที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก [ ฝ่ายข่าวสวท.พิษณุโลก : 8 ต.ค. 51 ]

สถานการณ์น้ำท่วมที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำเริ่มลดลงพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายกว่า 10,000 ไร่ นายกิตติพงษ์ สิริสานนท์ นายอำเภอบางระกำ จ.พิษณุโลก กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอบางระกำขณะนี้ แม่น้ำยมที่ท่วม ต.ชุมแสงสงครามและ ต.บางระกำ และระดับน้ำได้ลดระดับลง ขณะนี้ลดไปแล้ว 20 ซม. อย่างไรก็ตามระดับน้ำที่ จ.สุโขทัยมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น คาดว่า 3-4 วันนี้น้ำจากจังหวัดสุโขทัยจะไหลมาถึง อ.บางระกำ จะทำให้บริเวณพื้นที่ดังกล่าวมีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น นายอำเภอบางระกำกล่าวถึง สถานการณ์น้ำท่วมในเขต อ.บางระกำได้รับผลกระทบ 6 ตำบล 25 หมู่บ้านพื้นที่การเกษตร 18,530 ไร่ สาย ส่วนใหญ่เป็นนาข้าว บ่อปลา 348 บ่อ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 477 ครอบครัว ถนนลูกรังภายในหมู่บ้านถูกน้ำท่วม 33 สำหรับสถานการณน้ำท่วมในเขตพื้นที่ อ.บางระกำที่จะเข้าสู่ภาวะปกตินั้น ขึ้นอยู่กับการระบายน้ำจาก อ.บางระกำที่จะระบายลงสู่แม่น้ำน่านปริมาณมากน้อยเพียงใด

--------------------------------------------------------------------------------------

พายุถล่มซัด 170 หลังคาเรือนพังยับ [ BEC News : 30 ต.ค. 51 ]

ที่จังหวัดระยองได้เกิดลมพายุพัดอย่างรุนแรงทำให้บ้านเรือน
เกือบ 200 หลังคาเรือนได้รับความเสียหาย ทางการต้อง
นำเต็นท์มาตั้งให้ชาวบ้านได้พักอาศัยเป็นการชั่วคราวก่อน

โดยเมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา ได้เกิดลมพายุพัดอย่างรุนแรงกระหน่ำใน
พื้นที่ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ส่งผลให้บ้านเรือน
ประชาชน 170 หลังคาเรือนในชุมชนตลาดลาว เขตเทศบาลตำบล
มาบตาพุด ได้รับความเสียหาย ทั้งหลังคาปลิวหาย ต้นไม้ล้มทับ
เสาไฟล้มทับจนบ้านพัง ข้าวของปลิวกระจัดกระจาย เสียหายเป็น
จำนวนมาก

ซึ่งจากการตรวจสอบหลังเกิดเหตุพบว่ามีบ้านที่ได้รับความเสียหายถึงขนาดเข้าพักอาศัยไม่ได้เลย 140 หลังคาเรือน
ส่วนอีก 30 หลังเสียหายบางส่วน นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บตามร่างกายเล็กน้อย อันเนื่องจากถูกสิ่งของ
หล่นใส่ อีก 6 คน ชาวบ้านในบริเวณดังกล่าวบอกว่า ช่วงเวลาที่เกิดเหตุมีลมพายุพัดอย่างรุนแรง เหมือนพายุหมุน
เพียงไม่กี่นาทีบ้านเรือนประชาชน ต้นไม้ เสาไฟ และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ พังราบเป็นหน้ากลอง โดยที่ชาวบ้านตั้งตัว
ไม่ทัน หลังจากนั้นก็มีพายุฝนตกหนักตามมา

ล่าสุดทาง นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองได้สั่งการให้ป้องกันภัยจังหวัด นำเต๊นท์ไปตั้งที่
บริเวณชุมชนตลาดลาวแล้ว เพื่อให้ประชาชนได้เข้าพักอาศัยได้ก่อน เนื่องจากมีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน
ไร้ที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก พร้อมกันนี้ก็ให้นำอาหาร น้ำดื่ม เข้าไปแจกจ่าย รวมทั้งให้เจ้าหน้าที่เข้าไปเคลียร์พื้นที่
และทำการซ่อมแซมบ้านเรือนให้กับผู้ประสบภัยด้วย สำหรับสภาพอากาศที่จังหวัดระยองขณะนี้ยังคงปกคลุมไป
ด้วยเมฆฝนและมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง (30/10/51)

--------------------------------------------------------------------------------------

กำแพงเพชร-สรุปสถานการณ์น้ำท่วมกำแพงเพชร [ BEC News : 30 ต.ค. 51 ]

ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เรียกประชุมนายอำเภอ 8 อำเภอ สรุปความเสียหายจากอุทกภัย 8 อำเภอ 45 ตำบล
ได้รับผลกระทบ ถนน ฝาย พืชเกษตรเสียหายรวม เกือบ 63
ล้านบาท จากที่จังหวัดกำแพงเพชร ได้เกิดอุกทกภัยขึ้นตั้งแต่เมื่อวันที่ 25
ตุลาคม ที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับผลกระทบจากย่อมความกดอากาศ
ต่ำในอ่าวไทยตอนบน ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนประชาชน สิ่งสาธารณประโยชน์
วัดโรงเรียน สถานีอนามัย พืชผลทางการเกษตรและทำให้ราษฎรได้
รับความเดือดร้อนเป็นวงกว้างกินพื้นที่ 8 อำเภอ มีปริมาณฝนมากที่สุดวัดได้ 107 มิลลิเมตร ตั้งแต่เกิดเรื่อง นาย
วันชัย อุดมสิน ได้ออกตรวจเยี่ยมราษฎร พร้อมสั่งการให้มีการช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ และได้สั่งการให้
มีการเฝ้าระวังภัยพิบัติตลอด 24 ชั่วโมง ที่ห้องประชุม กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ศูนย์ราชการจังหวัดกำแพงเพชร นายวันชัย อุดมสิน ผู้ว่า-
ราชการจังหวัดกำแพงเพชร ได้ประชุมร่วมกับรองผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอเมืองกำแพงเพชร นายอำเภอ
คลองขลุง นายอำเภอปางศิลาทอง นายอำเภอโกสัมพีนคร นายอำเภอคลองลาน นายอำเภอขาณุวรลักษบุรี
นายอำเภอพรานกระต่าย และอำเภอลานกระบือ และส่วนราชการระดับอำเภอ ของจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อสรุป
ความเสียหาย และสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทั้ง 8 อำเภอ

โดยนายอำเภอของแต่ละอำเภอได้ชี้แจงว่าขณะนี้ระดับน้ำที่ท่วมอยู่ได้ลดลงเป็นลำดับแล้ว เนื่องจากในพื้นที่ที่ถูก
น้ำท่วมทั้งหมดเป็นดินทรายน้ำสามารถซึมผ่านได้ดี ท่วมขังได้ไม่นาน ส่วนที่ยังคงท่วมขังอยู่ก็เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำเท่านั้น พื้นที่ความเสียมีดังนี้ อ.คลองขลุง 6 ตำบล อ.คลองลาน 3 ตำบล 68 หมู่บ้าน อ.ขาณุวรลักษบุรี 11 ตำบล อ.
โกสัมพีนคร 3 ตำบล 43 หมู่บ้าน อ.เมืองกำแพงเพชร 10 ตำบล 29 หมู่บ้าน อ.ปางศิลาทอง 3 ตำบล อ.พราน
กระต่าย 6 ตำบล และ อ.ลานกระบือ 2 ตำบล รวมทั้งสิ้น 8 อำเภอ 45 ตำบล

ขณะเดียวกันทางชลประทานกำแพงเพชร ได้ประสานไปยังเขื่อนภูมิพลจังหวัดตาก เพื่อลดการปล่อยน้ำ ของเขื่อน
ลงจากปกติ 6 ล้านลูกบาตรเมตรต่อวัน ให้เหลือพียงวันละ 1 ล้านลูกบาตรเมตร ทั้งนี้เพื่อระบายน้ำจากคลองสาขา
ต่างๆลงสู่แม่น้ำปิงได้เร็วยิ่งขึ้นช่วยลดปัญหาความสูญเสีย ล่าสุด นายวิญญู ภักดีอักษร ป้องกันจังหวัดกำแพงเพชร
ได้สรุปสถานการณ์อุทกภัยจังหวัดกำแพงเพชร ว่า ด้านสิ่งสารณประโยชน์ ถนนเสียหาย 214 สาย ฝาย 3 แห่ง
สะพาน 6 แห่ง ด้านการเกษตร นาข้าว 63,585 ไร่ พืชไร่ 16,605 ไร่ พืชสวน 935 ไร่ ด้านประมงมีบ่อปลาเสียหาย
65 บ่อ รวมมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 62,802,260 บาท (30/10/51)

--------------------------------------------------------------------------------------

นครสวรรค์- น้ำท่วมชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน [ BEC News : 30 ต.ค. 51 ]

สถานการณ์น้ำยังหน้าห่วง ล่าสุดน้ำเหนือไหล่บ่าลงแม่น้ำ เจ้าพระยา สมทบกับน้ำจากบึงบอระเพ็ดทะลักเข้าท่วม 2
ชุมชนในเขตเทศบาล ส่งผลให้ชาวบ้านกว่า 200 หลังคาเรือนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ล่าสุดเจ้าหน้าที่
เทศบาลได้น้ำเต็นท์มากลางให้ชาวบ้านาศัยชั่วคราว พร้อมกับแจกจ่ายข้าวสารอาหารแห้งเป็นการเบื้องต้นแล้ว
จังหวัดนครสวรรค์ สถานการณ์น้ำท่วมยังคงหน้าห่วง หลายพื้นที่ในจังหวัดนครสวรรค์ กำลังประสบกับปัญหาน้ำท่วมหนัก อย่างชาวบ้านที่ ชุมชนบางปอง ในเขตเทศบาลนคร นครสวรรค์ และ
ต.แควใหญ่ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ กว่า 200 หลังคาเรือน ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพขนของหนีน้ำขึ้นมาอาศัยอยู่บนที่สูง เนื่องจากน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบกับน้ำ
ในบึงบอระเพ็ดได้ไหลเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนของชาวบ้าน ซึ่งล่าสุดเจ้าหน้าที่เทศบาลนครนครสวรรค์ก็ได้อำนวย
ความสะดวกให้ด้วยการนำเต็นท์มากลางไว้ให้บริการชาวบ้าน เพื่อกันแดด กันฝนชั่วคราวในเบื้องต้นแล้ว
ขณะที่นายสมเดช ตั้งจิตตถาวรกุล สมาชิกสภาจังหวัดนครสวรรค์ ได้ออกสำรวจความเสียหาย พร้อมทั้งเตรียม
ข้าวสารอาหารแห้ง รวมทั้งน้ำดื่ม และยาสามัญประจำบ้าน ออกแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน (30/10/51)

--------------------------------------------------------------------------------------

อุบล-น้ำท่วมยังไม่คลี่คลายประชาชนเครียดส่งรพ.100ราย [ BEC News : 29 ต.ค. 51 ]

สถานการณ์น้ำท่วมที่อุบลราชธานี ยังไม่คลี่คลาย น้ำในแม่น้ำมูลยังเอ่อสูงท่วมขังบ้านเรือนราษฎรเสียหาย 2,350 กว่า
ครัวเรือน อพยพขึ้นมาอาศัยสร้างเพิงพักพิงชั่วคราวที่สูง นาน 2 เดือนเศษแล้ว ปริมาณน้ำในแม่น้ำมูลที่อุบลราชธานี ยังน่าห่วง ระดับยังคงที่ 8.20
เมตร ซึ่งอยู่ในขั้นวิกฤติ โดยไม่มีท่าทีจะลดระดับลงและต้องใช้เวลานานหลายเดือน เนื่องจากในระยะนี้ยังคงมีฝนตกประกอบกับมี
น้ำเหนือไหลลงมาสมทบตลอดเวลา

จากปริมาณน้ำดังกล่าวได้เอ่อไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรที่อาศัยริมฝั่งแม่น้ำมูลในเขตอำเภอเมือง อำเภอวาริน-
ชำราบ กว่า 10 ชุมชนถูกน้ำท่วมขังสูง 1-2 เมตร การสัญจรไปมาต้องพายเรืออย่างเดียว ทำให้ประชาชนได้รับความ
เดือนร้อนต้องทิ้งบ้านเรือน อพยพหนีน้ำขึ้นมาอาศัยสร้างเพิงพักพิงชั่วคราวที่ทางเทศบาลจัดไว้ให้ กว่า 2,350 ครัว
เรือน ยาวนาน 2 เดือนกว่าแล้ว ส่งผลให้ประชาชนหลายคนเริ่มเจ็บป่วยสุขภาพจิตแย่ลง วิตกกังวลบางรายมีอาการ
เครียดหนัก ทางเทศบาลต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์(จิตเวช)เพื่อทำการรักษา เกือบ 100 ราย

--------------------------------------------------------------------------------------

กรุงเก่า-จมบาดาล! ฝนถล่มนํ้าเหนือบ่า [ ไทยรัฐ : 4 พ.ย. 51 ]

สถานการณ์น้ำท่วมหลายพื้นที่ภาคกลางยังจมอยู่ใต้บาดาล โดยผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 3 พ.ย. ว่า ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงวันละ 40 ซม. เนื่องจากระดับน้ำในเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ บ้านเรือน เรือกสวนไร่นา และโบราณสถานในพื้นที่ อ.บางบาล อ.เสนา อ.บางปะอิน อ.บางไทร อ.ผักไห่ อ.บางซ้าย และ อ.พระนครศรีอยุธยา ถูกน้ำท่วมเป็นวงกว้าง ชาวบ้านพากันเดือดร้อนอย่างหนัก ขณะที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ออกประกาศเตือนประชาชนที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย ให้เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้น ในวันที่ 5-6 พ.ย.นี้

นายปรีชา กมลบุตร ผวจ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า รู้สึกเสียใจกับพี่น้องชาว อ.ผักไห่ และ อ.บางบาล ที่ถูกน้ำท่วมเป็นรอบที่ 3 ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้หลายหน่วยงานคิดว่าเดือนพฤศจิกายนจะไม่มีฝนแล้ว แต่ก็ยังพบว่ามีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้เขื่อนเก็บน้ำไว้ไม่ได้ ต้องเร่งระบายน้ำออกเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา เลยทำให้ท้ายเขื่อนถูกน้ำท่วมหนักอีก วันเดียวกัน นายดิสธร วัชโรทัย ประธานกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำสิ่งของพระราชทานมามอบให้กับชาวบ้านผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ.บางบาล 500 ชุด และพื้นที่ อ.ผักไห่ 700 ชุด

ที่ จ.อ่างทอง หลังเขื่อนเจ้าพระยาเร่งระบายน้ำ ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนน้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนในพื้นที่หมู่ 2 ต.โผงเผง อ.ป่าโมก ฉับพลัน บางพื้นที่ระดับน้ำสูงราว 50 ซม. ชาวบ้านพากันขนย้ายข้าวของหนีน้ำกลางดึก ขณะที่คันดินกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาท้องที่หมู่ 8 ต.โผงเผง เกิดทรุดตัวเป็นทางยาวเกือบ 100 เมตร ชาวบ้านพากันผวาดผวาอย่างหนัก เพราะล่าสุดน้ำทะลักท่วมพื้นที่ ต.โผงเผง เป็นวงกว้าง 7 หมู่บ้านแล้ว ส่วนเขต อ.เมืองอ่างทอง น้ำเอ่อล้นตลิ่งทะลักท่วมพื้นที่หมู่ 1 ต.จำปาหล่อ ชาวบ้านกว่า 40 หลังคาเรือน ต้องขนข้าวของและสัตว์ เลี้ยงขึ้นไปไว้บนถนนชลประทานสายอ่างทอง-ป่าโมก กันโกลาหล

ด้าน จ.ชัยนาท พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาถูกน้ำท่วมหลายแห่ง ทางจังหวัดประกาศเตือนให้ชาวบ้านระวังอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ขณะที่นายพงศ์ศักดิ์ อรุณวิจิตรสกุล ผอ.ส่วนจัดสรรน้ำและบำรุงรักษา ชป.12 จ.ชัยนาท เผยว่า เนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ตั้งแต่ 31 ต.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีฝนตกหนักในพื้นภาคเหนือ โดยเฉพาะแม่น้ำปิง จ.ตาก และ จ.กำแพงเพชร มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาที่ จ.นครสวรรค์ จะเพิ่มสูงสุด ระหว่างวันที่ 4-5 พ.ย.นี้

ขณะที่ จ.นครสวรรค์ ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น 73 ลบ.ม./วินาที ส่วนแม่น้ำปิงปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น 30 ซม. ส่งผลให้น้ำทะลักท่วมขยายวงกว้างขึ้น ทางเทศบาลนครนครสวรรค์ออกประกาศเตือนไปยังชุมชนต่างๆ ที่อยู่ในที่ลุ่มริมแม่น้ำปิง และแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เตรียมพร้อมขนย้ายทรัพย์สิน สิ่งของโดยทันที เนื่องจากมีฝนตกหนักในจังหวัดภาคเหนือติดต่อกันหลายวัน ทำให้ มีน้ำป่าไหลรวมกันในแม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน และแม่น้ำเจ้าพระยา อาจทำให้มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างกะทันหัน  

ส่วน จ.กำแพงเพชร หลังมีฝนตกติดต่อกันหลาย วัน ส่งผลให้น้ำป่าไหลทะลักลงแม่น้ำปิง และแม่น้ำสาขา จนระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองต่างๆเพิ่มสูงขึ้น และเอ่อล้นเข้าท่วมหลายพื้นที่ โดยเฉพาะ ต.โกสัมพีนคร อ.โกสัมพีนคร ถูกน้ำท่วมเป็นวงกว้าง 5 หมู่บ้าน ถนนทางเข้าหมู่บ้านหลายสายถูกน้ำท่วมสูง เช่นเดียวกับพื้นที่ ต.ลาน ดอกไม้ อ.เมืองกำแพงเพชร มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมหนัก 3 หมู่บ้าน โรงเรียนบ้านเกาะน้ำโจน หมู่ที่ 4 ต.ลานดอกไม้ จมอยู่ใต้บาดาล ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร ต้องปิดเรียนไม่มี กำหนดทางจังหวัดเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยเต็มที่ 

นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ในหลายพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ส่งผลทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำปิง ในเขตจังหวัดตาก และกำแพงเพชร เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นอีก ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำมากตามไปด้วยในช่วง วันที่ 4-5 พ.ย.นี้ จึงมอบหมายให้กรมชลประทาน เร่งดำเนินมาตรการในการบริหารจัดการน้ำที่จะไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในเกณฑ์ที่เหมาะสม และไม่เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ภาคกลาง นอกจากนี้ยังได้สั่งให้ประสานขอความร่วมมือหน่วยงานในแต่ละจังหวัด จัดส่งเครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังโดยเร็วที่สุด คาดว่าหากปริมาณน้ำฝนไม่ตกลงมาเพิ่ม จะทำให้ระดับน้ำกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์ข้างหน้า

ด้าน พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยว่า มอบหมาย พล.ต.ท.วัชรพล ประสานราชกิจ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.ต.วรเทพ เมธาวัฒน์ รองโฆษก สั่งการให้ตำรวจที่เกี่ยวข้องหามาตรการรองรับช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ประสานสถานีตำรวจจัดชุดอำนวยความสะดวกด้านการจราจร ชุดช่วยเหลือผู้ประสบภัย ชุดชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ออกให้การช่วยเหลือและรักษาความสงบเรียบร้อยแก่ประชาชน สนับสนุนการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน นำรถยนต์และเรือท้องแบน ช่วยขนย้ายผู้ประสบภัย สิ่งของและรับ-ส่งประชาชนในพื้นที่ประสบภัย ประสานกับทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์อุทกภัยอย่างต่อเนื่อง 

ทางด้านภาคใต้หลายจังหวัดทั้ง นครศรีธรรมราช พัทลุง และชุมพร ได้ออกประกาศเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย  ระวังน้ำป่าทะลักท่วมฉับพลัน และดินโคลนถล่ม หลังกรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศว่า ช่วงเดือนพฤศจิกายน ร่องความกดอากาศต่ำจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคใต้ รวมทั้งอิทธิพลพายุเขตร้อนจากมหาสมุทร แปซิฟิกด้านตะวันตก เคลื่อนตัวผ่าน ซึ่งจะส่งผลให้มีฝนตกชุกหนาแน่นในบริเวณดังกล่าว

--------------------------------------------------------------------------------------

ึ้นํ้าภาคกลางขยายวง อยุธยาปิดร.ร. 25 โรง [ ไทยรัฐ : 6 พ.ย. 51 ]

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลางได้ขยายวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากน้ำเหนือไหลทะลักลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 5 พ.ย. น้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ได้ระบายลงมาด้วยความเร็ว 2,560 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำน้อย และแม่น้ำลพบุรี ที่ไหลผ่านพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ล้นตลิ่งท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล เสนา มหาราช บางปะอิน บางไทร ผักไห่ และ อ.พระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะ อ.เสนา น้ำจากแม่น้ำน้อย ไหลเอ่อท่วมศูนย์การค้าย่านธุรกิจของอำเภอ ระดับน้ำสูงกว่า 60 เซนติเมตร วัดและโรงเรียนหลายแห่งถูกน้ำท่วมสูง ชาวบ้านต้องใช้ไม้ทำสะพานใช้สัญจรไปมา

นางปลิดา กุลรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 (สพท.พระนครศรีอยุธยา เขต 2) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำเหนือไหลหลากลงมายังพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มแม่น้ำน้อย ซึ่งมีโรงเรียนอยู่ในเขตความรับผิดชอบจำนวน 185 โรง ใน อ.บางปะอิน บางบาล บางไทร และ อ.เสนา มีบางโรงเรียนถูกน้ำท่วมสูง เด็กนักเรียนไม่สามารถเดินทางเข้าเรียนหนังสือได้ตามปกติ โดยก่อนหน้านี้ทาง สพท.พระนครศรีอยุธยา เขต 2 ได้สั่งปิดโรงเรียนไปแล้วจำนวน 9 โรง แต่ปริมาณระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังคงมีระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีโรงเรียนในเขตความรับผิดชอบทั้งหมดถูกน้ำท่วมสูง จึงได้มีคำสั่งสั่งปิดโรงเรียนรวมทั้งหมด 25 โรง ถ้าระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังสูงขึ้นอีกจะต้องสั่งปิดเพิ่มตามความจำเป็น

ที่ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี น้ำได้ล้นทะลักท่วมบ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นวงกว้าง 6 ตำบล 1 เทศบาล โดย น.ส.สมคิด คำวิจิตร์ นายก อบต.ประศุก เปิดเผยว่า น้ำได้ท่วมบ้านเรือนราษฎรที่อาศัยริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้ง 7 หมู่บ้าน จำนวน 800 หลังคาเรือน ประชาชนต้องพากันมากางเต็นท์อาศัยอยู่บนคันคลองชลประทานเป็นการชั่วคราว ขณะเดียวกัน นายวิชัย ไพรสงบ ผวจ.สิงห์บุรี และนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสิงห์บุรี ได้นำเครื่องอุปโภคบริโภค 400 ชุด มาแจกจ่ายให้ประชาชนที่ประสบภัยใน ต.ทับยา บริเวณที่ทำการ อบต.ทับยา

ส่วนที่ จ.อ่างทอง ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ยังคงเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง กระแสน้ำได้ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ อ.เมืองอ่างทอง ที่ ต.จำปาหล่อ จนจมมิดเกือบหมดทั้งตำบล เหลือเพียงหมู่ 7 ซึ่งตั้งอยู่อีกฝั่งถนน ส่วนที่ หมู่ 4 ต.บ้านแห ถูกน้ำท่วมมิด ระดับน้ำสูง 1-2 เมตร ชาวบ้านที่มีบ้านชั้นเดียว ต้องขนย้ายข้าวของออกมาพักอาศัยริมถนนหลวง ส่วนที่บ้านรอ ต.บางแก้ว เขตเทศบาลเมืองอ่างทอง เมื่อช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา กระแสน้ำได้กัดเซาะใต้คันเขื่อนทะลักเข้าท่วมพื้นที่ ต้องระดมเจ้าหน้าที่นำกระสอบทรายไปสร้างคันกั้นน้ำอย่างเร่งด่วน

นายชัย สุวพันธุ์ นายกเทศมนตรีเมืองอ่างทอง เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งว่ามีน้ำไหลทะลักลอดท่อที่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งศูนย์ราชการและ รพ.อ่างทอง เนื่องจากระดับน้ำสูงกว่าพื้นดิน 1 เมตร จึงสั่งการให้ เจ้าหน้าที่เทศบาลนำกระสอบทรายอุดขวางท่อเอาไว้ และสร้างคันดินสูงกว่า 2 เมตร ล้อมรอบ รพ.อ่างทอง ถึง 3 ชั้น พร้อมทั้งนำเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่มาติดตั้งเพื่อสูบน้ำออกป้องกันไม่ให้น้ำทะลักเข้าท่วมโรงพยาบาล 

ส่วนที่ ต.โผงเผง อ.ป่าโมก ซึ่งระดับน้ำท่วมสูงกว่า 1.50 เมตร นายศุทธนะ ธีวีระปัญญา ผวจ.อ่างทอง เข้าตรวจเยี่ยมกำลังทหารจากหน่วยทหารพัฒนาพื้นที่ 11 สำนักงานพัฒนาภาค 1 จ.กาญจนบุรี และทหารกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 11 รักษาพระองค์ จ.ลพบุรี จำนวน 30 นาย ที่ลงมาให้ความช่วยเหลือประชาชนสร้างคันกั้นน้ำ จากนั้นจึงเข้าตรวจเยี่ยมประชาชนหมู่ 5 ที่ถูกน้ำท่วมสูงร่วม 2 เมตร ชาวบ้านต้องขนข้าวของออกมาเก็บไว้บนถนน ขณะที่นายสมชาย อนะวัชกุล นายอำเภอป่าโมก ได้ระดมกำลัง อปพร. ร่วมกันทหารสร้างคันกั้นน้ำล้อมรอบที่ว่าการอำเภอป่าโมก เพื่อป้องกันน้ำทะลักเข้าท่วมที่ว่าการอำเภอ และได้ให้ เจ้าหน้าที่เร่งขนย้ายทรัพย์สินของทางราชการขึ้นไปไว้ในที่สูง เพื่อป้องกันความเสียหายแล้ว เนื่องจากระดับน้ำวันนี้สูงกว่าพื้นดิน 50 เซนติเมตร และได้รับรายงานว่าทางเขื่อนชัยนาทยังปล่อยน้ำเพิ่มขึ้นจนคันกั้นน้ำอาจจะพังทลายลงได้

ด้านสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.สุพรรณบุรี นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ ผวจ.สุพรรณบุรี เปิดเผยว่าระดับน้ำที่ท่วมพื้นที่ อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง และ อ.เมืองสุพรรณบุรี ก็ยังคงสูงขึ้น ซึ่งได้รับรายงานจากโครงการชลประทานสุพรรณบุรี ว่าแนวโน้มระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีนยังเพิ่มสูงขึ้น เฉพาะที่ประตูโพธิ์พระยา ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนอยู่ที่ระดับ 5.38 เมตร เกือบสูงเท่ากับถนนหน้าวัดไชนาวาส ในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านประตูระบายน้ำโพธิ์พระยา 117.85 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขอให้ประชาชนและเกษตรกรที่อยู่บริเวณริมฝังแม่น้ำท่าจีนเฝ้าระวังระดับน้ำที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้สั่งการให้นายเกิดชัย ธัญวัฒนกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานสุพรรณบุรี ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด  

ส่วนที่ จ.นครสวรรค์ พื้นที่ อ.บรรพตพิสัย น้ำเหนือที่ไหลมาตามแม่น้ำปิงได้ล้นตลิ่งท่วมพื้นที่ 13 ตำบล 2 เทศบาล 118 หมู่บ้าน พื้นที่การเกษตรเสียหายเกือบ 3 แสนไร่ ย่านการค้าตลาดเจริญผล ตลาดธีระชัยเมืองใหม่ และที่ว่าการอำเภอบรรพตพิสัย ระดับน้ำสูง 30 ซม.-1 เมตร นอกจากนี้น้ำป่าจาก อ.ลาดยาว ได้ไหลท่วม ต.บ้านแก่ง อ.เมืองนครสวรรค์ พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 2,000 ไร่ โดยเฉพาะหมู่ 3 บ้านวังยาง ได้รับความเสียหายมากที่สุด บ้านเรือน 193 หลังคา น้ำท่วมสูงเฉลี่ย 50 ซม.-1 เมตร ทางเข้าหมู่บ้านระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร รถยนต์ไม่สามารถผ่านได้ ส่วนที่น้ำตกแม่เรวา แก่งลานนกยูง และเกาะแก่งใหญ่ อ.แม่วงก์ ประกาศปิดไม่ให้ประชาชนเข้าไปเพื่อระวังน้ำป่าเป็นเวลา 5 วัน รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 12 อำเภอ 65 ตำบล 484 หมู่บ้าน 53,689 ครอบครัว พื้นที่การเกษตรเสียหาย 284,796 ไร่ บ่อปลา 70 บ่อ ถนน 262 สาย 

ที่ จ.ชัยนาท นายพงศ์ศักดิ์ อรุณวิจิตรสกุล ผู้อำนวย การส่วนจัดสรรน้ำและบำรุงรักษา ชป.12 เขื่อนเจ้าพระยา เผยว่า ระดับน้ำที่ไหลจากนครสวรรค์ มายังเขื่อนเจ้าพระยา ยังคงทรงตัวอยู่ที่ 2,404 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระบายน้ำทิ้งท้ายเขื่อน 2,350 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะทำให้พื้นที่ที่อยู่ท้ายเขื่อนและต่ำจะมีน้ำท่วมขัง

--------------------------------------------------------------------------------------

ี่

ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • BEC News : http://www.becnews.com