บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณภาคเหนือ (ตุลาคม 2553)

ภาพดาวเทียม GOES-9

1/10/2553

2/10/2553

3/10/2553

4/10/2553

5/10/2553

6/10/2553

7/10/2553

8/10/2553

9/10/2553

10/10/2553

11/10/2553

12/10/2553

13/10/2553

14/10/2553

15/10/2553

16/10/2553

17/10/2553

18/10/2553

19/10/2553

20/10/2553

21/10/2553

22/10/2553

23/10/2553

24/10/2553

25/10/2553

26/10/2553

27/10/2553

28/10/2553

29/10/2553

30/10/2553

จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 พบว่าช่วงต้นเดือนประมาณวันที่ 2-4 ต.ค. มีกลุ่มเมฆปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีฝนค่อนข้างมาก หลังจากนั้นกลุ่มเมฆได้ลดปริมาณลง และกลับมาปกคลุมพื้นที่ภาคเหนืออีกครั้งในช่วงวันที่ 9-19 ต.ค. ซึ่งทำให้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัด เช่น เชียงราย กำแพงเพชร ลำปาง ตาก พิจิตร สุโขทัย พิษณุโลก เป็นต้น หลังจากนั้นกลุ่มเมฆลดลงค่อนข้างมาก ต่อมาในช่วงวันที่ 25-26 ต.ค.กลุ่มเมฆได้กลับมาปกคลุมพื้นที่ภาคเหนืออีกครั้ง หลังจากนั้นกลุ่มเมฆได้ลดปริมาณลงจนถึงสิ้นเดือน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพแผนที่อากาศ

1/10/2553

2/10/2553

3/10/2553

4/10/2553

5/10/2553

6/10/2553

7/10/2553

8/10/2553

9/10/2553

10/10/2553

11/10/2553

12/10/2553

13/10/2553

14/10/2553

15/10/2553

16/10/2553

17/10/2553

18/10/2553

19/10/2553

20/10/2553

21/10/2553

22/10/2553

23/10/2553

24/10/2553

25/10/2553

26/10/2553

27/10/2553

28/10/2553

29/10/2553


30/10/2553


จากภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่ามีร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนพาดผ่านบริเวณตอนกลางของประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดฝนตกค่อนข้างมากบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์พิษณุโลก รัศมี 240 กิโลเมตร

1/10/2553
17:25GMT

2/10/2553
14:25GMT

3/10/2553
13:25GMT

5/10/2553
09:25GMT

8/10/2553
17:25GMT

9/10/2553
12:25GMT

11/10/2553
09:25GMT

12/10/2553
01:25GMT

13/10/2553
22:25GMT

14/10/2553
01:25GMT

15/10/2553
03:25GMT

16/10/2553
04:25GMT

17/10/2553
17:25GMT

18/10/2553
17:25GMT

19/10/2553
17:25GMT

20/10/2553
16:25GMT

21/10/2553
17:25GMT


22/10/2553
12:25GMT


25/10/2553
20:25GMT


26/10/2553
02:25GMT

dBz

ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์พิษณุโลก รัศมี 240 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ พบว่าพื้นที่ภาคเหนือยังคงมีฝนตกต่อเนื่องจากเดือนที่แล้ว โดยมีฝนตกหนักต่อเนื่องในช่วงวันที่ 1-5 ต.ค. ,9-22 ต.ค. และ 25-26 ต.ค. โดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่างที่มีฝนค่อนข้างมาก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายวันจากสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา

3/10/2553
[12:00]

8/10/2553
[12:00]

12/10/2553
[00:00]

13/10/2553
[00:00]

14/10/2553
[12:00]

15/10/2553
[00:00]

16/10/2553
[00:00]

17/10/2553
[00:00]

19/10/2553
[00:00]

20/10/2553
[12:00]

21/10/2553
[00:00]

22/10/2553
[12:00]

23/10/2553
[00:00]

24/10/2553
[00:00]

26/10/2553
[12:00]

27/10/2553
[00:00]


จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่าในพื้นที่ภาคเหนือมีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างมาก โดยในวันที่ 3 ต.ค. และ 8 ต.ค. มีกลุ่มฝนกระจุกตัวมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดตาก ต่อมาในวันที่ 12 ต.ค. กลุ่มฝนกระจุกตัวในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างบริเวณจังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร วันที่ 13 ต.ค.กลุ่มฝนกระจายตัวครอบคลุมทางด้านตะวันออกและตะวันตกของภาค ในวันที่ 14-16 ต.ค. กลุ่มฝนกระจุกตัวกันมากบริเวณตะวันตกของภาค บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนและตาก วันที่ 17 ต.ค. กลุ่มฝนลดปริมาณลง และกลับมากระจุกตัวกันอีกครั้งในพื้นที่ตอนล่างของภาค และในวันที่ 20-11 ต.ค. กลุ่มฝนได้กระจายตัวถึงพื้นที่ตอนบนของภาค บริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน หลังจากนั้นกลุ่มฝนได้ลดปริมาณลง และกลับมากระจุกตัวอีกครั้งในวันที่ 26-27 ต.ค.

รายละเอียดเพิ่มเติม


แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายสัปดาห์จาก NASA

1/10/53[00Z]-8/10/53[00Z]

9/10/53[00Z]-16/10/53[00Z]

17/10/53[00Z]-24/10/53[00Z]

25/10/53[00Z]-31/10/53[00Z]

1/10/53[00Z]-31/10/53[00Z]
   
จากแผนภาพฝนสะสมของ NASA พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างมากในช่วงสัปดาห์ที่สองและสัปดาห์ที่สาม โดยกลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างมากบริเวณภาคเหนือตอนล่าง

แผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมรายเดือนสังเคราะห์จากข้อมูลฝนของสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา


ค่าเฉลี่ยเดือนตุลาคม
(2493-2540)



ตุลาคม 2553


ตุลาคม 2549



จากแผนภาพข้อมูลฝนสะสมช่วงเดือนตุลาคม พบว่าเดือนตุลาคม ปี 2553 พื้นที่ภาคเหนือมีฝนตกมากว่าเดือนตุลาคมของปี 2549 และมากกว่าค่าฝนเฉลี่ยเดือนตุลาคม จากค่าสถิติปี 2493-2540 โดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่างที่ปริมาณฝนมากกว่าปี 2006 และมากกว่าค่าเฉลี่ยค่อนข้างมาก โดยรายละเอียดฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศในพื้นที่ภาคเหนือที่มีปริมาณฝนค่อนข้างมากในเดือนตุลาคม 2553 เป็นดังตารางด้านล่าง

วันที่
สถานี
จังหวัด
ปริมาณฝน
สะสมรายวัน(มม.) 
29/10/2553
พะเยา พะเยา
98.50
27/10/2553
พิษณุโลก พิษณุโลก
93.80
พิจิตร พิจิตร
62.80
21/10/2553
แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน
128.00
เชียงใหม่ เชียงใหม่
78.60
ลำพูน ลำพูน
74.20
20/10/2553
ตาก ตาก
123.50
เขื่อนภูมิพล ตาก
100.90
สุโขทัย สุโขทัย
96.50
แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน
70.70
ดอยมูเซอ (1) ตาก
65.40
14/10/2553
เขื่อนภูมิพล ตาก
83.10
หมายเหตุ : สีแดง หมายถึง ข้อมูลฝนที่เกิน 100 มิลลิเมตร
สีส้ม หมายถึง ข้อมูลฝน 80-99 มิลลิเมตร

การเตือนภัยปริมาณฝนผ่านโทรศัพท์มือถือ (sms) จากระบบโทรมาตรขนาดเล็ก

วันเตือนภัย
เวลาเตือนภัย
ช่วงเวลาฝนสะสม
สถานที่
ปริมาณฝน (มม.)
ระดับการเตือนภัย
29/10/2010
9:00:00
ฝน08-09น.
ต.พบพระ จ.ตาก                    31.2
เฝ้าระวังสูงสุด
29/10/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.จุน จ.พะเยา                    98.5
เฝ้าระวังสูงสุด
27/10/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.หนองกะท้าว จ.พิษณุโลก                    93.8
เฝ้าระวังสูงสุด
26/10/2010
11:00:00
ฝน07-11น.
ต.วังทอง จ.พิษณุโลก                    77.6
เฝ้าระวังสูงสุด
26/10/2010
8:00:00
ฝน07-08น.
ต.ผาเลือด จ.อุตรดิตถ์                    35.8
วิกฤต
26/10/2010
8:00:00
ฝน06-07น.
ต.ผาเลือด จ.อุตรดิตถ์                    27.0
เฝ้าระวังสูงสุด
22/10/2010
10:00:00
ฝน09-10น.
ต.พระบาทวังตวง จ.ลำปาง                    39.0
เฝ้าระวังสูงสุด
22/10/2010
6:00:00
ฝน05-06น.
ต.วัดจันทร์ จ.พิษณุโลก                    38.0
วิกฤต
21/10/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.ห้วยผา จ.แม่ฮ่องสอน                  128.0
วิกฤต
20/10/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.สามเงา จ.ตาก                  100.9
วิกฤต
20/10/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.ตากออก จ.ตาก                  123.5
วิกฤต
20/10/2010
8:00:00
ฝนวานนี้
ต.ราวต้นจันทร์ จ.สุโขทัย                    96.5
เฝ้าระวังสูงสุด
20/10/2010
1:00:00
ฝน20/07-21/00น.
ต.ในเมือง จ.อุตรดิตถ์                    74.4
เฝ้าระวังสูงสุด
19/10/2010
23:00:00
ฝน07-23น.
ต.ระแหง จ.ตาก                    86.8
เฝ้าระวังสูงสุด
19/10/2010
17:00:00
ฝน17-18น.
ต.ระแหง จ.ตาก                    31.4
เฝ้าระวังสูงสุด
19/10/2010
1:00:00
ฝน19/07-20/01น.
ต.ระแหง จ.ตาก                  107.6
วิกฤต
16/10/2010
23:00:00
ฝน22-23น.
ต.แม่ระมาด จ.ตาก                    35.4
วิกฤต
16/10/2010
22:00:00
ฝน21-22น.
ต.แม่ระมาด จ.ตาก                    30.2
เฝ้าระวังสูงสุด
14/10/2010
8:00:00
ฝน07-08น.
ต.พระบาทวังตวง จ.ลำปาง                    41.0
วิกฤต
14/10/2010
8:00:00
ฝน07-08น.
ต.พระบาทวังตวง จ.ลำปาง                    39.6
เฝ้าระวังสูงสุด

ข้อมูลระดับน้ำล้นตลิ่งจากสถานีวัดระดับน้ำท่า กรมชลประทาน
ลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน

(W.4A)บ้านวังหมัน อ.สามเงา จ.ตาก
(ระดับตลิ่ง 6.03 ม.)

(P.17)บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์
(ระดับตลิ่ง 37.77 เมตร)

(N.67)สะพานบ้านเกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์
(ระดับตลิ่ง 27.4 เมตร)

(N.8A)บ้านบางมูลนาก อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร
(ระดับตลิ่ง 10.87 ม.)

(Y.16)บ้านบางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
(ระดับตลิ่ง 7.17 ม.)

(P.76)บ้านอีไฮต์ ต.ลี้ จ.ลำพูน
(ระดับตลิ่ง 5.4 ม.)
จากกราฟแสดงข้อมูลระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดน้ำท่ากรมชลประทาน พบว่ามีระดับน้ำล้นตลิ่งหลายจุด โดยเฉพาะในแม่น้ำยม ที่ระดับล้นตลิ่งค่อนข้างสูง

รายละเอียดเพิ่มเติม

ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
เขื่อนภูมิพล

ปริมาณน้ำไหลลงสะสม ต.ค.53 = 2,091.85 ล้าน ลบ.ม.
ไหลลงสูงสุด = 202.01 ล้าน ลบ.ม.วันที่ 23 ต.ค.53

น้ำเก็บกัก ณ 31 ต.ค. = 8,461 ล้าน ลบ.ม.(63%ที่ รนก.)
เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย.53 = 2,034 ล้าน ลบ.ม.
เขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำไหลลงสะสม ต.ค.53 = 535.15 ล้าน ลบ.ม.
ไหลลงสูงสุด = 40.51 ล้าน ลบ.ม.วันที่ 2 ต.ค.53

น้ำเก็บกัก ณ 31 ต.ค. = 7,781 ล้าน ลบ.ม.(82%ที่ รนก.)
เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย.53 = 401 ล้าน ลบ.ม.
เขื่อนแควน้อย

ปริมาณน้ำไหลลงสะสม ต.ค.53 = 222.52 ล้าน ลบ.ม.
ไหลลงสูงสุด = 12.63 ล้าน ลบ.ม.วันที่ 27 ต.ค.53

น้ำเก็บกัก ณ 31 ต.ค. = 780 ล้าน ลบ.ม.(101%ที่ รนก.)
เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย.53 = 79 ล้าน ลบ.ม.
เขื่อนกิ่วคอหมา

ปริมาณน้ำไหลลงสะสม ต.ค.53 = 60.42 ล้าน ลบ.ม.
ไหลลงสูงสุด = 10.91 ล้าน ลบ.ม.วันที่ 30 ต.ค.53

น้ำเก็บกัก ณ 31 ต.ค. = 198 ล้าน ลบ.ม.(116%ที่ รนก.)
เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย.53 = 30 ล้าน ลบ.ม.
ตารางและกราฟแสดงข้อมูลน้ำรายวันในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ

ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วมจาก GISTDA (คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)

ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2553 เวลา 06.19 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดเชียงรายและพะเยา ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2553 เวลา 06.19 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร และอุทัยธานี
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2553 เวลา 06.15 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลพบุรี และสุโขทัย ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2553 เวลา 18.31 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร และนครสวรรค์
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2553 เวลา 18.31 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-2 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2553 เวลา 18.26 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และสุโขทัย

แผนที่แสดงพื้นที่น้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือเปรียบเทียบช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน 2553 (คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพเต็ม)

กันยายน 2553

ตุลาคม 2553

พฤศจิกายน 2553

ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วมภาคเหนือ พบว่าเดือนตุลาคม 2553 ยังคงมีน้ำท่วมที่จังหวัดพะเยา(1,430 ไร่) เชียงราย(52,311 ไร่) อุตรดิตถ์(47,909 ไร่) สุโขทัย(337,383 ไร่) กำแพงเพชร(260,345 ไร่) พิษณุโลก(492,018 ไร่) พิจิตร(541,081 ไร่) และหากเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2553 พบว่าพื้นที่ภาคเหนือตอนบนพื้นที่น้ำท่วมลดน้อยลง ส่วนพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างมีพื้นที่น้ำท่วมเพิ่มมากขึ้น เช่น จังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก และพิจิตร และหากเทียบกับเดือนพฤศจิกายน พบว่าเดือนพฤศจิกายน ภาคเหนือตอนบนไม่มีน้ำท่วมแล้ว แต่ภาคเหนือตอนล่างยังคงมีน้ำท่วมขังอยู่ รายละเอียดแสดงตามตารางด้านล่าง

จังหวัด
กันยายน
ตุลาคม
พฤศจิกายน
พิจิตร   465,979      541,081   378,511
พิษณุโลก   365,730      492,018   320,082
สุโขทัย   305,670      337,383   292,439
กำแพงเพชร   162,149      260,345     28,926
เชียงราย   124,268        52,311           -  
อุตรดิตถ์     82,146        47,909     29,890
พะเยา     53,098         1,430           -  
เชียงใหม่      3,402              -             -  
แพร่     10,238              -             -  
ลำพูน      1,608              -             -  
ลำปาง      3,738              -             -  


ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำป่าทะลักซัดทางขึ้นเขื่อนแควน้อยพัง [ ข่าวสด : 28 ต.ค. 53 ]
เมื่อวันที่ 28 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกิดฝนตกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่คืนวันที่ 26-27 ตุลาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลากลงลำห้วยพู ปริมาณน้ำที่ไหลมามากได้ไหลท่วมถนนเส้นทางเข้าเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก ความแรงของน้ำได้เกาะเซาะไหล่ทางด้านซ้ายจนเป็นโพรงใหญ่ รถยนต์ที่สัญจรผ่านเข้าเขื่อนแควน้อยฯและอุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแควต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ขณะที่เจ้าหน้าที่ได้สำรวจความเสียหายเพื่อทำการซ่อมแซมเป็นการด่วนแล้ว

สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดพิษณุโลกขณะนี้ ยังคงมีน้ำท่วมขังในเขต ต.ดงประคำ อ.พรหมพิราม ที่น้ำจากอ่างเก็บน้ำซำบอน อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ยังคงไหลเข้าท่วมอย่างต่อเนื่อง และการระบายน้ำก็เป็นไปด้วยความล่าช้า เนื่องจากติดแนวคันคลองชลประทาน ที่กลายสภาพเป็นเขื่อนกักน้ำไว้ ส่วนที่ อ.บางระกำ ที่น้ำท่วมขังมาตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2553 นั้น ขณะนี้ปริมาณน้ำก็ยังท่วมขังเป็นวงกว้าง มีน้ำจากสุโขทัยและแพร่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะระบายน้ำท่วมลงสู่แม่น้ำน่านและแม่น้ำยมจนกลับสู่ในสภาพปกติได้ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน 2553

สรุปความเสียหายน้ำท่วมในจังหวัดพิษณุโลก มีบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบ ดังนี้ บ้านเรือนที่พักอาศัยเสียหายจำนวน 3,113 หลัง พื้นที่การเกษตร นาข้าว พืชไร่ พืชสวน ได้รับผลกระทบจำนวน 263,657 ไร่ บ่อปลาเสียหาย 1,171 บ่อ ถนนเสียหาย 99 สาย ฝายกักเก็บน้ำได้รับความเสียหาย 4 แห่ง วัดจำนวน 3 แห่ง โรงเรียน 1 แห่ง สะพาน 3 แห่ง บ่อน้ำ 16 แห่ง ยุ้งข้าว 1 หลัง  ราษฎรได้รับความเดือดร้อน  88 ตำบล 617 หมู่บ้าน 17,983 ครัวเรือน

--------------------------------------------------------------------------------------
พิจิตรช้ำ!น้ำป่าหลากผสมน้ำลุ่มน้ำยมท่วม 5 อำเภอ116 หมู่บ้านไร่นาเสียหายอื้อ [ มติชนออนไลน์ : 27 ต.ค. 53 ]

ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพิจิตรเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ว่า สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดพิจิตรโดยเฉพาะลุ่มน้ำแม่น้ำยมยังคงท่วมขังบ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตรในพื้นที่ 5 อำเภอประกอบด้วย  อำเภอสามง่าม   อำเภอโพธิ์ประทับช้าง  อำเภอบึงนาราง   อำเภอวชิรบารมี  อำเภอโพทะเล  116 หมู่บ้าน ไร่นาเสียหายกว่า 1 แสนไร่ โดยขณะระดับน้ำจากแม่น้ำยมขยับสูงขึ้นเนื่องจาก มีทั้งน้ำป่า และฝนตกต่อเนื่อง   ที่สถานีวัดน้ำ Y 5 อำเภอโพทะเล ระดับน้ำอยู่ 7.55  เมตร สูงกว่าจุดวิกฤติ 60 เซนติเมตร

ทางด้าน  นายเสมียน  น้อยอ่ำ   อายุ 60 ปี ชาวบ้านหมู่ที่ 8 ตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง  จังหวัดพิจิตร ได้เร่งซ่อมแซมเรือเพื่อนำไปใช้ในการสัญจร  และหาปลา เนื่องจากน้ำจากแม่น้ำยมยังคงท่วมขังและเพิ่มระดับสูงขึ้นกว่าเดิมเกือบ 50 เซนติเมตรในระยะเวลาเพียง 4 วันที่ฝนตกลงมา  ทำให้น้ำแม่น้ำยมที่เริ่มลดลงกลับเพิ่มระดับจนท่วมขังบ้านเรือนประชาชน  พื้นที่ทางการเกษตร และถนนภายในหมู่บ้านอีกครั้ง

--------------------------------------------------------------------------------------
เชียงรายยังเจอน้ำป่าช่วงต้นหนาว [ ผู้จัดการออนไลน์ : 27 ต.ค. 53]

รายงานข่าวจาก จ.เชียงราย แจ้งว่า แม้จะเริ่มมีอากาศหนาวเย็นลงแล้ว แต่บางพื้นที่ของเชียงราย ยังไม่พ้นภัยน้ำท่วม โดยล่าสุดได้เกิดเหตุน้ำป่าจากเทือกเขาดอยนางแล ที่ขนานกับถนนพหลโยธินสายเชียงราย-แม่จัน ไหลทะลักลงมาเข้าท่วมพื้นที่หมู่บ้านนางแลใน หมู่ 7 ต.นางแล อ.เมืองเชียงราย เมื่อวานนี้ (26 ต.ค.)อย่างหนัก หลังเกิดฝนตกบนเทือกเขาอย่างหนักติดต่อกันนานร่วม 5 ชั่วโมง
       
ทั้งนี้ น้ำป่าที่ไหลทะลักมีความเชี่ยวกราดและขุ่นพัดพาเอาเศษไม้ วัชพืชและดินโคลนมาด้วย ส่งผลทำให้ชาวบ้านจำนวนประมาณ 100 หลังคาเรือน ซึ่งพึ่งจะฟื้นตัวจากการถูกน้ำป่าทะลักเข้าท่วมในลักษณะเดียวกันจนบ้านเรือนเสียหายไปหลายหลังเมื่อประมาณ 1-2 เดือนก่อน ต้องกลับมาประสบกับเหตุการณ์เดิมอีกครั้ง
       
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า
น้ำป่าจากเทือกเขาได้ไหลลงสู่ลำน้ำและเข้าสู่เรือนประชาชนเป็นวงกว้าง โดยบางจุดระดับน้ำลึกกว่า 1 เมตร แต่ส่วนใหญ่จะลึกประมาณ 30-50 ซ.ม. แต่ก็สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน ที่ต้องเร่งขนย้ายทรัพย์ไว้บนที่สูงอย่างจ้าละหวั่น ส่วนข้าวของที่ขนย้ายไม่ทันก็ต้องปล่อยให้เสียหายไป
       
ด้าน นายภวัคร เลิศมุกดา นายอำเภอเมืองเชียงราย ได้พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย (ปภ.) จ.เชียงราย เร่งลงพื้นที่เพื่อเข้าช่วยเหลือชาวบ้านเป็นการเร่งด่วน โดยเฉพาะการขนย้ายข้าวของขึ้นไปไว้บนพื้นที่สูง รวมทั้งประเมินสถานการณ์และประกาศเตือนให้ราษฎรในบ้านางแลใน และข้างเคียงอีก 5 หมู่บ้าน ได้ระมัดระวังหรือผู้ที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือให้แจ้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้เพราะเกรงว่าน้ำป่าจะขยายวงกว้างเพราะยังคงมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องนั่นเอง


--------------------------------------------------------------------------------------
น้ำป่าเขาคลองลานหลากท่วมกำแพงเพชร [ สำนักข่าวไทย : 21 ต.ค. 53 ]

สถานการณ์น้ำท่วมกำแพงเพชรยังขยายวงกว้าง ล่าสุดน้ำป่าจากเทือกเขาไหลหลากเข้าท่วม อ.ขาณุวรลักษบุรี และคลองลาน ขณะที่รถไฟสายเหนือ-กทม.ทั้งเที่ยวขึ้นและล่องหยุดวิ่งทุกเส้นทาง

น้ำป่าจากเทือกเขาคลองลาน จ.กำแพงเพชร ไหลหลากเข้าท่วม ต.โค้งไผ่ อ.ขาณุวรลักษบุรี และหลายพื้นที่ของ อ.คลองลาน บางจุดระดับสูงประมาณ 2 เมตร ชาวบ้านหลายครอบครัวไม่สามารถออกจากบ้านได้ เนื่องจากถนนถูกน้ำท่วมสูง รวมทั้งไหลเชี่ยว และมีแนวโน้มเพิ่มระดับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรส่งเรือท้องแบนจำนวน 2 ลำ เข้าไปเคลื่อนย้ายสิ่งของและผู้ประสบภัยออกมาพักชั่วคราวริมถนน

ขณะที่จังหวัดแจ้งเตือนชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงและที่ราบลุ่ม เตรียมอพยพครอบครัวและขนย้ายสิ่งของไปอยู่ที่ปลอดภัย และเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ส่วนการสัญจรทางรถไฟ นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เส้นทางรถไฟจากสายเหนือมายัง กทม.และจาก กทม.ขึ้นสายเหนือทุกเส้นทางต้องหยุดการเดินรถ เพราะใน จ.ลพบุรี น้ำท่วมรางรถไฟสูงถึง 2.50 เมตร ส่วนสายอีสาน เส้นทางไป จ.หนองคาย ต้องหยุดให้บริการเดินรถเพราะน้ำท่วมกว่า 1.30 เมตร

---------------------------------------------------------------------------------
ทานน้ำไม่ไหว ลำปางวิกฤต จมบาดาล 1 เมตร [ ไทยรัฐ : 21 ต.ค. 53 ]
นายไกรวิทย์ ปัญญาชัย นายก อบต.แม่พริก จ.ลำปาง เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำผาวิ่งชู้ในเขตบ้านสันขี้เหล็ก หมู่ 10 ต.แม่พริก
อ.แม่พริก ทำท่าจะรับน้ำป่าที่ไหลลงมาลงในอ่างมากกว่า 10 ล้านลูกบาศก์เมตร มาตั้งแต่ 2-3 วันที่ผ่านมาแล้วจนกระทั่งตอนบ่ายของวันนี้ทางผู้รับเหมาสร้างเขื่อนบริษัทศรีสำโรงก่อสร้างจึงได้ตัดสินใจเจาะน้ำออกข้างสันเขื่อนกว้างประมาณ 5 เมตร
เพื่อระบายน้ำทิ้งก่อนที่สันเขื่อนดินเหนียวอัดแน่นจะรับน้ำไม่ไหว ภายหลังที่เจาะระบายน้ำทิ้งทำให้ชาวบ้านในเขตเทศบาลตำบลแม่พริก และอีก 3
หมู่บ้านของ ต.แม่พริกถูกน้ำที่ระบายออกจากอ่างเก็บน้ำไหลเข้าท่วมระดับสูงถึง 1 เมตร ทำให้ไร่จำนวนหลาย 1,000 ไร่ ถูกน้ำท่วมเสียหาย
ส่วนเครื่องใช้ในครัวเรือนไม่ได้รับความเสียหายเนื่องจากได้เตรียมตัวเก็บให้พ้นจากระดับน้ำ ตั้งแต่วันที่ 19 ต.ค. ที่ผ่านมาแล้ว ตลอดทั้งวันนี้ ทางเจ้าหน้าที่ของ อบต.แม่พริก และเจ้าหน้าที่จากเทศบาลแม่พริกได้ระดมฝ่ายกู้ภัยเตรียมพร้อมเพื่อเข้าช่วยเหลือชาวบ้านแล้วตลอด 24 ชั่วโมง แต่สถานการณ์ได้คลี่คลายไปบ้างแล้ว
เนื่องจากน้ำในอ่างเก็บน้ำได้ไหลออกมาจากอ่างจนเกือบหมดแล้ว ขณะนี้เหลือเพียงน้ำจากแม่น้ำวังที่ไหลผ่านในเขตเทศบาลแม่พริกได้หนุนเอ่อล้นขึ้นมาเสริมเท่านั้นทาง

ด้านนายสุรพล บุรินทร์ นายอำเภอแม่พริก กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมในเขตเทศบาลแม่พริกและหมู่บ้านใกล้เคียงเข้าสู่สถานการณ์ปกติแล้ว ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่อย่างใด ส่วนสัตว์เลี้ยง วัว ควาย เป็ด ไก่ หมู่ สนัข ทางเจ้าหน้าที่กู้ภัย ได้ช่วยเหลือชาวบ้านนำไปไว้ในที่สูงแล้ว และคาดว่าหากในระยะ 2-3 วันข้างหน้า ฝนไม่ตกลงมาเสริมอีก คาดว่าน้ำในอ่างก็จะไหลอ่อนและทางผู้รับเหมาจะได้เสริมซ่อมแซมตรงจุดที่เจาะ ซึ่งขณะนี้มีความกว้างถึง 5 เมตร และลึกถึง 10 เมตรสำหรับอ่างเก็บน้ำผาวิ่งชู้เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง
เริ่มต้นก่อสร้างตั้งแต่ต้นปี 2551 และมีกำหนดจะสร้างเสร็จในปลายปี 2554 นี้ ด้วยงบประมาณ 300 ล้านบาท แต่ขนาดนี้กำลังอยู่ในระหว่างก่อสร้างแต่ก็ต้องเจาะน้ำทิ้ง เพื่อแก้ไขสถานการณ์
ซึ่งปกติแล้วอ่างเก็บน้ำผาวิ่งชู้แห่งนี้บรรจุน้ำเพียง 600 ลูกบาศก์เมตร เท่านั้น แต่เมื่อมีฝนตกหนักตลอดเกือบสัปดาห์นี้ ทำให้น้ำป่าที่ไหนลงมาจากลำห้วยต่าง ๆ เข้ามาหนุนจนต้องเจาะน้ำทิ้งเพื่อรักษาสันเขื่อนเอาไว้ ส่วนความเสียหายจะได้ตรวจสอบเพื่อความชัดเจนอีกครั้งหนึ่งต่อไป เพื่อเตรียมการช่วยเหลือชาวบ้านอย่างเร่งด่วน


--------------------------------------------------------------------------------------
ภูมิพลจ่อระบายน้ำ เตือนริมน้ำปิงระวังตลิ่งพัง [ ไทยรัฐ : 21 ต.ค. 53 ]

เมื่อ วันที่ 20 ต.ค. ที่ถนนพหลโยธิน สายจังหวัดกำแพงเพชร-ตาก-เชียงใหม่ ช่วงตำบลลานดอกไม้ตก ถูกน้ำป่าไหลจากน้ำตกวังชะพลูเข้าท่วมระยะทางเกือบ 1 กิโลเมตร
เนื่องจากได้รับผลกระทบจากอิทธิพลจากพายุดีเปรส ชั่นอ่อนกำลังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้ในหลายพื้นที่ในจังหวัดกำแพงเพชรมีปริมาณฝนตกติดต่อกันหลายวันทำให้มี
น้ำป่าไหลผ่านตำบลวังชะพลู เข้าท่วมบ้านเรือน และไร่นาออกผ่านออกถนนพหลโยธิน สายจังหวัดกำแพงเพชร-ตาก-เชียงใหม่ นายวันชัย สุทิน ผู้ว่าฯกำแพงเพชร ได้ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางและให้แขวงการทางจังหวัดฯ นำกรวยและแผงเหล็กตั้งพร้อมป้ายบอกระดับน้ำท่วมและขอบเขตของถนน ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในการสัญจรทั้งขาขึ้นและขาล่อง ส่วนที่บนถนนสายพรานกระต่าย-สุโขทัย มีระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 30 เซนติเมตร เป็นระยะทางเกือบ 2 กิโลเมตร เจ้าหน้าที่ต้องนำป้ายที่เขียนข้อความว่า ข้างหน้ามีน้ำท่วมถนน
ให้ระมัดระวังอันตราย เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนระมัดระวังป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น น้ำที่ท่วมส่วนใหญ่จะท่วมพื้นผิวจราจร ทำให้สภาพจราจรการใช้รถใช้ถนนสัญจรไปมาบนถนน
สายกำแพงเพชร-สุโขทัยอยู่ในสภาวะที่ค่อนข้างติดขัด เนื่องจากน้ำป่าไหลจากบนเทือกเขาตากล้าในเขต อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร ไหลบ่าเข้าท่วมเขตเทศบาลตำบลพรานกระต่ายและตลาด อ.พรานกระต่าย ซ้ำรอบสอง
โดยระดับน้ำบนถนนในตัวอำเภอพรานกระต่าย ท่วมสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ขณะนี้ทางเทศบาลใช้รถดับเพลิงและเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่ ดังกล่าว

ทั้งนี้ ผู้ว่าฯกำแพงเพชร ได้ฝากเตือนผู้ใช้รถเดินทางสัญจรผ่านเส้นทางดังกล่าว แนะนำให้ลดความเร็ว เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ จากนั้นได้ลงพื้นที่เยี่ยมประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม เริ่มที่บ้านท่าเดื่อ ตำบลท่าขุนราม และบ้านศิลา ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง เดินทางไปต่อที่ ตำบลท่าไม้ ตำบลห้วยยั้ง อำเภอพรานกระต่าย พร้อมมอบข้าวสารอาหารแห้งให้กับผู้ประสบอุทกภัยที่มารับความช่วยเหลือในตำบล ดังกล่าวด้วย และได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและกำชับให้แต่ละอำเภอเร่งสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในครั้งโดยเร่งด่วนและให้รีบรายงานมายังจังหวัดเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป

วันเดียวกัน เมื่อเวลา 17.00 น. ผู้ว่าฯ กำแพงเพชร ได้ประกาศเตือนให้ประชาชนจังหวัดกำแพงเพชรที่อยู่ริมแม่น้ำปิงระวังน้ำ กัดเซาะตลิ่งพัง เนื่องจากเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก จะระบายน้ำออกจากเขื่อนและจะมีน้ำป่าไหลหลากจากหลายพื้นที่ ให้คอยเฝ้าระวัง อย่างใกล้ชิด


--------------------------------------------------------------------------------------
เกิดเหตุน้ำป่าในลำห้วยแม่ละเมา ไหลเอ่อล่นเข้าท่วม 5 หมู่บ้าน ใน ต.แม่กาษา อ.แม่สอด จ.ตาก [ กรมประชาสัมพันธ์ : 20 ต.ค. 53 ]

เกิดเหตุน้ำป่าในลำห้วยแม่ละเมา ไหลเอ่อล่นเข้าท่วม 5 หมู่บ้าน ใน ต.แม่กาษา อ.แม่สอด จ.ตาก บางแห่งมีระดับน้ำสูงกว่า 1.50 เมตร เบื้องต้นมีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายกว่า 200 ไร่
ฝนที่ตกติดต่อกันหลายวันในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ทำให้วันนี้(20 ต.ค.53) มีน้ำป่าจากภูเขา ไหลทะลักมาตามลำห้วยแม่ละเมา เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่หมู่ที่ 2 หมู่ 5 หมู่ 6 หมู่ 7 และหมู่ 8  ของ ต.แม่กาษา อ.แม่สอด จ.ตาก โดยเฉพาะทางเข้า-ออก หมู่บ้าน บริเวณคอสะพานในพื้นที่หมู่ที่ 5 ต.แม่กาษา ได้ถูกกระแสน้ำไหลตัดผ่าน ระดับน้ำสูงกว่า 1.50 เมตร ประชาชนไม่สามารถสัญจรไป-มา ได้ ต้องเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นที่อยู่ไกลกว่าแทน นอกจากนี้ระดับน้ำได้ไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรทั้งนาข้าว ไร่ข้าวโพด และไร่ถั่ว ใน 5 หมู่บ้าน  ได้รับความเสียหายกว่า 200 ไร่

นายนม เขียววงษ์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด กล่าวว่า ได้แจ้งเตือนชาวบ้านในพื้นที่ ผ่านเสียงตามสายในหมู่บ้านเป็นระยะ เพื่อให้ขนข้าวของหนีน้ำไว้ในที่สูง พร้อมจัดเวรยามคอยเฝ้าระวังระดับน้ำ และคอยให้ความช่วยเหลือชาวบ้านตลอด 24 ชั่วโมง ขณะเดียวกันได้ออกสำรวจความเสียหายในเบื้องต้น เพื่อรายงานให้ทาง อ.แม่สอด ทราบ เพื่อให้การช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบต่อไป

--------------------------------------------------------------------------------------
พิจิตรสั่งอพยพบ้านริมน้ำน่านหลังพบตลิ่งทรุด [ ผู้จัดการออนไลน์ : 14 ต.ค. 53 ]

วันนี้ (14 ต.ค.) นายณรงค์ศักดิ์ หอมมาลัย นายอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร เปิดเผยว่า ขณะนี้ที่บริเวณริมแม่น้ำน่านด้านฝั่งทิศตะวันตกบริเวณถนนเชิดชูน่านใต้ในเขตเทศบาลเมืองบางมูลนาก ได้เกิดแผ่นดินทรุดตัวเป็นแนวยาว 2 จุด รวมระยะทางกว่า 100 เมตร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีบ้านเรือนราษฎรปลูกสร้างอยู่ริมตลิ่งจำนวนมาก ตลอดแนวระยะทางประมาณ 400 เมตร โดยจุดอันตรายดินได้ทรุดตัว และส่งผลให้บ้านเรือนหลายหลัง พังลงไปกับสายน้ำ เนื่องจากเป็นบ้านเรือนที่สร้างยื่นเข้าไปในแนวของแม่น้ำน่าน และเป็นเขตของกรมเจ้าท่า

นอกจากนี้ ยังมีอีก 8 หลัง กำลังทรุดและพร้อมที่จะพังล้มครื่นลงในแม่น้ำได้ตลอดเวลา ดังนั้นขณะนี้จึงได้มีการประกาศให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่อันตราย และได้ขอให้ประชาชนทำการย้ายอพยพออกนอกบริเวณดังกล่าว และไปอาศัยยังที่พักชั่วคราวที่ทางราชการจัดไว้ให้และให้สำนักงานโยธาธิการเข้าตรวจสอบถึงความปลอดภัยต่อไป

อย่างไรก็ตาม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังห่วงทรัพย์สินและผูกพันกับบ้านเรือน จึงไม่ยอมอพยพตามที่ราชการขอร้อง ซึ่งเวลานี้จึงได้ประสานหน่วยกู้ภัยให้มาจัดเวรยามและพร้อมเข้าช่วยเหลือทันที หากมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น โดยเป็นห่วงว่าถ้ามีฝนตกลงมาอาจเกิดเหตุซ้ำเติมเกิดขึ้นอีก


--------------------------------------------------------------------------------------
3 หมู่บ้านแม่พริกลำปางถูกตัดขาดเหตุน้ำล้นอ่างผาวิ่งชู้ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 14 ต.ค. 53 ]

นายสุรพล บุรินทราพันธุ์ นายอำเภอแม่พริก นายไกรวิชญ์ ปัญญาชัย นายก อบต.แม่พริก ต.แม่พริก อ.แม่พริก จ.ลำปาง พร้อมด้วยผู้นำหมู่บ้าน นำรถแบ็กโฮ และเรือท้องแบน เข้าช่วยเหลือประชาชนใน 3 หมู่บ้าน เพื่อออกมายังอำเภอ หลังถนนข้ามบ้านห้วยขี้น ไปยังฝั่งของหมู่บ้านแพะดอกเข็ม ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 90 ซม.ทำให้ประชาชนใน 3 หมู่บ้าน คือ บ้านห้วยขี้นก ม.7 บ้านแพะดอกเข็ม ม.11 และ บ้านปางยาว ม.8 รวม 300 ครัวเรือน กว่า 1,000 คน ไม่สามารถเดินทางออกจากหมู่บ้านมายังฝั่งอำเภอแม่พริกได้ ผู้ป่วยที่ต้องเดินทางออกมารักษา เจ้าหน้าที่ต้องใช้รถแบล็คโฮและเรือลำเลียงแทน

สืบเนื่องจากมีฝนตกลงมาต่อเนื่องหลายวันในพื้นที่อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำผาวิ่งชู้ มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นจนล้นความจุของปริมาณกักเก็บในขณะนี้ คือ 6 ลบ.ม.เจ้าหน้าที่ต้องเร่งขุดทางระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำออกจากอ่าง ดังนั้น น้ำที่ออกจากอ่างจะต้องระบายออกสู่หมู่บ้านที่อยู่ท้ายน้ำอีก 4 หมู่บ้าน ซึ่งต้องประชาสัมพันธ์เตือนชาวบ้านทั้ง 4 หมู่บ้านให้เตรียมความพร้อม 24 ชั่วโมง หากปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทางด้านนายอำเภอแม่พริกและนายก อบต.แม่พริก ได้สั่งการให้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 10 เตรียมเรือท้องแบน สำรอง 2 ลำ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาวบ้านทั้ง 3 หมู่บ้านในการใช้ข้ามฝากเข้ามาในตัวอำเภอพร้อมสำรองไฟแสงสว่างบริเวณจุดข้ามฝากและให้เจ้าหน้าที่ อปพร.อบต.แม่พริก คอยดูแลความปลอดภัย 24 ชั่วโมงก่อน หาก ปริมาณน้ำลดลงเหลือประมาณ 30 ซม.จะนำเครื่องจักรเข้าทำคันดินเพื่อทำถนนข้ามฝากให้กับประชาชนต่อไป

ทางด้าน นายแดง คำภิระปาวงศ์ ผู้ใหญ่บ้านแพะดอกเข็ม กล่าวว่า ขณะนี้ทางชาวบ้านทั้ง 3 หมู่บ้านเดือดร้อนมาก เนื่องจากถูกตัดขาดจาดภายนอกไม่สามารถขับรถออกไปยังฝั่งอำเภอได้ เกษตรกรที่มีข้าวโพดก็ไม่สามารถนำออกไปจำหน่ายได้เกรงจะได้รับความเสียหาย จึงอยากให้ทางราชการเร่งดำเนินการทำถนนข้ามฝั่งให้เร็วที่สุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนก่อน

--------------------------------------------------------------------------------------
พายุถล่มสุโขทัย“บ้าน-โรงเรียน-เสาไฟฟ้า”พังยับ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 2 ต.ค. ]


รายงานข่าวจากสุโขทัย แจ้งว่า ได้เกิดมีพายุพัดถล่มในพื้นที่หมู่ 1 ต.ท่าฉนวน อ.กงไกรลาศ สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้มีบ้านเรือนราษฎร จำนวน 5 หลังคาเรือนได้รับความเสียหาย และเสาไฟฟ้ากว่า 20 ต้น หักโค่นพังลงมา รวมทั้งมีต้นไม้ขนาดใหญ่ หักโค่นล้มขวางถนนสายสุโขทัย-บางระกำ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องใช้เลื่อยไฟฟ้าตัดออก และเคลื่อนย้ายหลบข้างทาง เพื่อให้เส้นทางสามารถใช้สัญจรได้
       
นอกจากนี้ ยังพบมีอาคารเรียน ของโรงเรียนวัดท่าฉนวน ถูกลมพายุพัดหลังคาจนพังทั้งหลัง ทำให้เด็กนักเรียนชั้น ป.2 , ป.3 , ป.4 และชั้นอนุบาล 1 และ 2 ไม่สามารถเข้าเรียนได้ตามปกติ
       
อย่างไรก็ตาม นายจักริน เปลี่ยนวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อเตรียมให้ความช่วยเหลือต่อไปแล้ว




--------------------------------------------------------------------------------------

ชาวบ้านผวา “ดอยแม่สลอง” ดินทรุดยาว 300 เมตร [ ผู้จัดการออนไลน์ : 1 ต.ค. 53 ]
รายงานข่าวจาก จ.เชียงราย แจ้งว่า หลังเกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของ จ.เชียงราย ได้ส่งผลให้เกิดดินทรุดตัวในพื้นที่ดอยแม่สลอง เขตหมู่บ้านสันติคีรี หมู่ 1 ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของเชียงรายอีกแห่งหนึ่ง ที่เป็นพื้นที่เป้าหมายที่กลุ่มบริษัทสระบุรีถ่านหิน จำกัด ในเครืออิตัลไทย พยายามผลักดันให้รัฐบาลอนุมัติให้ลำเลียงถ่านหินลิกไนต์จากเหมืองเมืองก๊ก ประเทศพม่า ผ่านเข้ามาชายแดนด้านนี้ เพื่อขนส่งต่อไปที่สระบุรี
       
โดยการทรุดตัวของดินมีลักษณะเป็นทางยาวขนานไปกับถนนภายในหมู่บ้านเป็นระยะทางประมาณ 300 เมตร ส่งผลทำให้ชาวบ้านที่อยู่บริเวณดังกล่าวต่างตื่นตกใจ และออกมาดูรอยแตกร้าวของพื้นผิวถนนกันอย่างระมัดระวัง ซึ่งผลจากการทรุดตัวของดินดังกล่าวได้ทำให้สิ่งปลูกสร้างที่อยู่บริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหายหรือเสียการทรงตัวไป ขณะที่บ้านบางหลังก็เกิดการทรุดตัวลง หลังคาเอียงและกระจกแตกร้าว
       
 ล่าสุด นายวุฒิพงษ์ สวรรค์โชติ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แม่สลองนอก ได้ให้เจ้าหน้าที่ไปดูความเสียหายแล้ว ซึ่งพบว่าบ้านเรือนของประชาชนที่อยู่ใกล้กับจุดดินทรุดมากที่สุดจำนวน 8 หลัง จึงได้ให้ชาวบ้านขนข้าวของออกจากบ้านไปอาศัยอยู่กับญาติชั่วคราว เพราะอาจจะเกิดการทรุดตัว จนทำให้บ้านทรุดและก่อให้เกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ยังมีโรงแรม 1 แห่งที่อยู่ในจุดเสี่ยง จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ตรวจดูสภาพของดินทรุดอย่างละเอียด พบว่ามีความลึกของร่องลึกตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป และมีความกว้าง 10-20 ซม. แล้วแต่ภูมิประเทศ เนื่องจากบนดอยแม่สลองตั้งอยู่บนสันเขาที่มีถนนและบ้านเรือนเรียงรายไปตลอดแนว ขณะเดียวกัน ได้ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรมทรัพยากรธรณี เนื่องจากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ชาวบ้านเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อไปอีก และช่วงนี้ได้มีการนำป้าย “อันตรายห้ามเข้า” ไปติดยังจุดที่มีการทรุดตัวและแตกของดินหลายจุดเพื่อเตือนไม่ให้ประชาชนและรถที่สัญจรผ่านไปมาได้เข้าใกล้เพราะเกรงจะทรุดตัวลงไปอีก จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ที่จะเดินทางขึ้นไปตรวจสอบต่อไป


--------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • ผู้จัดการออนไลน์ : http://www.manager.co.th/
  • โพสต์ทูเดย์ : http://www.posttoday.com
  • เดลินิวส์ : http://www.dailynews.co.th
  • ข่าวสด : http://www.khaosod.co.th/
  • มติชน : http://www.matichon.co.th/matichon/
  • สำนักข่าวไทย : http://www.mcot.net/