บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมพื้นที่ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ( สิงหาคม 2552)

ภาพดาวเทียม GOES-9


1/8/2009
13GMT


2/8/2009
12GMT

3/8/2009
10GMT

4/8/2009
14GMT

5/8/2009
16GMT

6/8/2009
16GMT

7/8/2009
19GMT

8/8/2009
17GMT

9/8/2009
10GMT

10/8/2009
09GMT

11/8/2009
12GMT

12/8/2009
09GMT

13/8/2009
12GMT

14/8/2009
11GMT

15/8/2009
12GMT

16/8/2009
11GMT

17/8/2009
13GMT

18/8/2009
10GMT

19/8/2009
11GMT

20/8/2009
11GMT

21/8/2009
12GMT

22/8/2009
12GMT

23/8/2009
12GMT

24/8/2009
11GMT

25/8/2009
12GMT

26/8/2009
11GMT

27/8/2009
11GMT


28/8/2009
12GMT


29/8/2009
11GMT

30/8/2009
12GMT

31/8/2009
11GMT
จากภาพถ่ายดาวเทียม GOES-9 ในช่วงเดือนสิงหาคม พบว่ามีกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ช่วงกลางเดือนจนถึงปลายเดือนลักษณะกลุ่มเมฆค่อนข้างหนามาก ทำให้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ เช่น จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพแผนที่อากาศ

1/8/2009

2/8/2009

5/8/2009

6/8/2009

7/8/2009

8/8/2009

9/8/2009

10/8/2009

11/8/2009

12/8/2009

13/8/2009

22/8/2009

23/8/2009

24/8/2009

25/8/2009

27/8/2009

30/8/2009

31/8/2009
จากภาพแผนที่อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา จะพบว่ามีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีฝนตกค่อนข้างมาก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา
เรดาร์เชียงใหม่        

เชียงใหม่
1/8/2009
19:22GMT

เชียงใหม่
6/8/2009
15:22GMT

เชียงใหม่
7/8/2009
01:22GMT

เชียงใหม่
10/8/2009
20:22GMT

เชียงใหม่
12/8/2009
13:22GMT

เชียงใหม่
13/8/2009
13:22GMT

เชียงใหม่
14/8/2009
14:22GMT

เชียงใหม่
15/8/2009
16:22GMT

เชียงใหม่
16/8/2009
19:22GMT

เชียงใหม่
17/8/2009
14:22GMT

เชียงใหม่
18/8/2009
14:22GMT

เชียงใหม่
19/8/2009
10:22GMT

เชียงใหม่
21/8/2009
23:22GMT

เชียงใหม่
22/8/2009
06:22GMT

เชียงใหม่
23/8/2009
15:22GMT

เชียงใหม่
29/8/2009
01:22GMT

เชียงใหม่
30/8/2009
17:22GMT

เชียงใหม่
31/8/2009
23:22GMT
เรดาร์สกลนคร รัศมี 240 กิโลเมตร        

สกลนคร
1/8/2009
09:38GMT

สกลนคร
2/8/2009
13:38GMT

สกลนคร
3/8/2009
21:38GMT

สกลนคร
4/8/2009
15:38GMT

สกลนคร
5/8/2009
09:38GMT

สกลนคร
6/8/2009
22:38GMT


สกลนคร
7/8/2009
11:38GMT


สกลนคร
8/8/2009
00:38GMT

สกลนคร
9/8/2009
23:38GMT

สกลนคร
10/8/2009
04:38GMT

สกลนคร
11/8/2009
10:38GMT


สกลนคร
12/8/2009
17:38GMT


สกลนคร
13/8/2009
14:38GMT

สกลนคร
14/8/2009
00:38GMT

สกลนคร
15/8/2009
11:38GMT

สกลนคร
16/8/2009
00:38GMT

สกลนคร
17/8/2009
01:38GMT

สกลนคร
21/8/2009
13:38GMT

สกลนคร
22/8/2009
19:38GMT

สกลนคร
24/8/2009
17:38GMT

สกลนคร
28/8/2009
22:38GMT

สกลนคร
29/8/2009
08:38GMT

สกลนคร
30/8/2009
15:38GMT

สกลนคร
31/8/2009
23:38GMT
เรดาร์อุบลราชธานี รัศมี 240 กิโลเมตร        

อุบลราชธานี
8/8/2009
06:40GMT

อุบลราชธานี
9/8/2009
05:40GMT

อุบลราชธานี
10/8/2009
00:40GMT

อุบลราชธานี
12/8/2009
23:40GMT

อุบลราชธานี
13/8/2009
14:40GMT

อุบลราชธานี
15/8/2009
06:40GMT
 

อุบลราชธานี
16/8/2009
23:40GMT

อุบลราชธานี
17/8/2009
02:40GMT

อุบลราชธานี
18/8/2009
01:40GMT

อุบลราชธานี
22/8/2009
17:40GMT

อุบลราชธานี
23/8/2009
12:40GMT

อุบลราชธานี
24/8/2009
13:40GMT

อุบลราชธานี
26/8/2009
18:40GMT

อุบลราชธานี
27/8/2009
17:40GMT

อุบลราชธานี
28/8/2009
08:40GMT

อุบลราชธานี
29/8/2009
17:40GMT

อุบลราชธานี
30/8/2009
19:40GMT

อุบลราชธานี
31/8/2009
19:40GMT


ข้อมูลจากเครือข่ายภาพเรดาร์เชียงใหม่ สกลนครและอุบลราชธานีของกรมอุตุนิยมวิทยา รัศมี 240 ก.ม. พบว่ามีกลุ่มฝนค่อนข้างมาก เป็นผลทำให้เกิดน้ำท่วม

รายละเอียดเพิ่มเติม
เชียงใหม่ สกลนคร อุบลราชธานี


ปริมาณฝนสะสม

1/8/2009
00am

2/8/2009
12am

2/8/2009
00am

4/8/2009
12am

5/8/2009
00am

6/8/2009
12am

7/8/2009
00am

8/8/2009
12am

9/8/2009
00am

10/8/2009
12am

11/8/2009
12am

12/8/2009
12am

13/8/2009
12am

14/8/2009
00am

15/8/2009
12am

16/8/2009
12am

17/8/2009
12am

18/8/2009
00am

19/8/2009
12am

20/8/2009
00am

21/8/2009
12am

22/8/2009
12am

23/8/2009
12am

24/8/2009
12am

25/8/2009
12am

26/8/2009
00am

27/8/2009
12am

28/8/2009
12am

29/8/2009
00am

31/8/2009
00am
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสมของสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา พบว่ามีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันอย่างต่อเนื่องในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะช่วงวันที่ 13-14 ส.ค. และ 22-31 ส.ค. ที่กลุ่มฝนกระจุกตัวกันค่อนข้างหนาอย่างต่อเนื่อง

รายละเอียดเพิ่มเติม

     
 
 
จากแผนภาพแสดงปริมาณฝนสะสม 7 วัน ในเดือนสิงหาคม จะเห็นได้ว่าบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกลุ่มฝนกระจายตัวค่อนข้างมากในช่วงสัปดาห์ที่สองและสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ส่วนภาคเหนือมีกลุ่มฝนกระจุกตัวกันเป็นพื้นที่เล็ก ๆ  


ปริมาณฝนจากสถานีตรวจวัดกรมอุตุนิยมวิทยา

6/8/2009

7/8/2009

8/8/2009

10/8/2009

11/8/2009

12/8/2009

13/8/2009

14/8/2009

15/8/2009

17/8/2009

21/8/2009

22/8/2009

23/8/2009

27/8/2009

28/8/2009

29/8/2009

30/8/2009

31/8/2009

ข้อมูลฝนสะสมรายวันจากสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเห็นได้ว่า ช่วงต้นเดือนมีฝนค่อนข้างมากในพื้นที่จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน และตาก และ่ช่วงกลางเดือนจนถึงปลายเดือนมีฝนตกกระจายตัวกันค่อนข้างมากทั้งสองภาค โดยปริมาณฝนที่ตรวจวัดได้ แสดงดังตารางด้านล่าง

วันที่
สถานี
ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. (มม.)
1/8/2009 น่าน                   50.4
เชียงราย                   47.0
ทุ่งช้าง (2)                   30.1
4/8/2009 ร้อยเอ็ด (1)                   46.8
ร้อยเอ็ด                   31.5
6/8/2009 เชียงราย                   57.7
เชียงราย (1)                   57.5
น่าน                   42.7
ลำปาง (1)                   41.5
แม่สะเรียง                   38.0
7/8/2009 นครพนม                   91.4
เชียงราย                   45.5
เชียงราย (1)                   40.9
นครพนม (1)                   38.1
แม่สอด                   33.4
หนองคาย                   33.0
8/8/2009 แม่สอด                   66.8
ดอยมูเซอ (1)                   35.8
10/8/2009 ทุ่งช้าง (2)                   54.4
นครพนม (1)                   32.7
11/8/2009 สุรินทร์                   52.8
12/8/2009 โกสุมพิสัย                   78.5
กมลาไสย (2)                   67.4
นครพนม                   52.0
เลย                   34.6
13/8/2009 ตากฟ้า                   83.7
อุบลราชธานี                   65.3
พิษณุโลก                   61.4
บัวชุม (2)                   56.2
ขอนแก่น                   55.6
นครสวรรค์                   50.7
ท่าวังผา (2)                   36.3
บุรีรัมย์                   36.2
นครพนม (1)                   32.5
14/8/2009 ทุ่งช้าง (2)                   89.6
ท่าวังผา (2)                   50.9
เชียงราย                   31.8
15/8/2009 ท่าวังผา (2)                   88.5
สกลนคร (1)                   60.1
บัวชุม (2)                   45.9
16/8/2009 นครพนม (1)                   53.0
เชียงใหม่                   31.6
17/8/2009 อุบลราชธานี (1)                   53.1
ตากฟ้า                   50.8
ชัยภูมิ                   45.9
สกลนคร (1)                   43.4
พะเยา                   41.6
อุตรดิตถ์                   35.1
นางรอง (2)                   32.0
ลำปาง (1)                   30.7
18/8/2009 ตากฟ้า                   40.3
19/8/2009 นครสวรรค์                   30.1
21/8/2009 แพร่                   77.5
นครพนม (1)                   45.2
นางรอง (2)                   33.5
22/8/2009 อุบลราชธานี                 130.9
สอท.ท่าตูม*                   73.2
หนองคาย                   65.2
อุบลราชธานี (1)                   59.3
ร้อยเอ็ด                   54.3
ชัยภูมิ                   50.8
เชียงราย (1)                   36.5
กมลาไสย (2)                   34.5
นครราชสีมา                   32.4
แม่สะเรียง                   32.3
ร้อยเอ็ด (1)                   31.9
ลำปาง (1)                   30.6
23/8/2009 เชียงราย (1)                   81.1
วิเชียรบุรี                   56.3
อุดรธานี                   34.2
ชัยภูมิ                   34.0
24/8/2009 สกลนคร                   33.0
อุตรดิตถ์                   31.5
ชัยภูมิ                   30.8
27/8/2009 สกลนคร                   65.0
ตาก                   58.2
สกลนคร (1)                   36.5
เลย                   33.5
พิษณุโลก                   30.6
28/8/2009 ตากฟ้า                   40.7
แม่สะเรียง                   39.7
ปากช่อง (1)                   30.2
29/8/2009 ท่าพระ (1)                   59.9
30/8/2009 แม่สะเรียง                   86.5
เขื่อนภูมิพล                   79.5
นครราชสีมา                   77.8
อุบลราชธานี                   60.6
ชัยภูมิ                   54.9
แม่สอด                   52.0
ร้อยเอ็ด                   45.4
สุรินทร์                   38.0
ร้อยเอ็ด (1)                   38.0
กำแพงเพชร                   33.1
ดอยมูเซอ (1)                   30.7
ตาก                   30.1
31/8/2009 นครสวรรค์                   68.1
กำแพงเพชร                   59.3
เขื่อนภูมิพล                   57.9
ชัยภูมิ                   52.5
พิษณุโลก                   51.3
แม่สะเรียง                   49.9
น่าน                   48.8
อุตรดิตถ์                   39.9
วิเชียรบุรี                   36.2
ดอยมูเซอ (1)                   32.5
โชคชัย (2)                   30.3

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม



ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เขื่อนลำปาว

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เขื่อนน้ำพุง

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เขื่อนสิรินธร
ภาคเหนือ

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เขื่อภูมิพล

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เขื่อนแม่งัด

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เขื่อนกิ่วลม

จากกราฟแสดงปริมาณไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะพบว่าจากการที่มีฝนตกค่อนข้างมากทำให้ปริมาณน้ำไหลลงอ่างในแต่ละเขื่อนเพิ่มปริมาณสูงขึ้น โดยในวันที่ 10 ส.ค. ปริมาณน้ำไหลลงเืขื่อนแม่งัด อยู่ที่ 3.89 ล้าน ลบ.ม. ในวันที่ 14 ส.ค. ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนลำปาว น้ำพุง และน้ำอูน อยู่ที่ 45.18 , 5.09 และ 6.17 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับ ในวันที่ 18 ส.ค. ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสิรินธร และเขื่อนสิริกิติ์ อยู่ที่ 50.43 และ 55.96 ล้าน ลบ.ม. และในวันที่ 27 ส.ค. ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนภูมิพล อยู่ที่ 48.33 ล้าน ลบ.ม.

รายละเอียดเพิ่มเติม

ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม (คลิ๊กที่ภาพเพื่อแสดงภาพใหญ่)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2522 เวลา 18.06 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดสกลนคร หนองคาย และอุดรธานี ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2522 เวลา 05.47 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และ อุบลราชธานี
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2522 เวลา 18.02 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดนครพนม ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2522 เวลา 18.02 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2522 เวลา 18.14 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดหนองคาย และอุดรธานี    
ภาคเหนือ
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2522 เวลา 16.15 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง และ ลำพูน ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2522 เวลา 16.15 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดเีชียงราย เชียงใหม่ และ แม่ฮ่องสอน
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2522 เวลา 16.11 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ พะเยา ลำปาง และ ลำพูน ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2522 เวลา 16.11 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดแพร่ และ ลำปาง
ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2522 เวลา 16.11 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดสุโขทัยและอุตรดิตถ์ ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT-1 บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2522 เวลา 16.11 น. แสดงพื้นที่น้ำท่วมบริเวณบางส่วนของจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และ พะเยา


รายงานด้านความเสียหาย

สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 4-10 สิงหาคม 2552)
     สาเหตุการเกิด ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักในระหว่างวันที่ 6-7 สิงหาคม 2552 เนื่องจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ประกอบกับร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เป็นเหตุให้ประชาชนประสบความเดือดร้อน สิ่งสาธารณประโยชน์ พื้นที่การเกษตร และทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหาย
      พื้นที่ประสบภัย 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย รวม 9 อำเภอ 1 เทศบาล 35 ตำบล 235 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,596 ครัวเรือน 6,470 คน อพยพ 100 ครัวเรือน 310 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 1 หลัง เสียหายบางส่วน 13 หลัง พื้นที่การเกษตร 11,337 ไร่ บ่อปลา 62 บ่อ ถนน 36 สาย สะพาน/คอสะพาน 5 แห่ง ผนัง/ฝาย 10 แห่ง ท่อระบายน้ำ 50 แห่ง และร้านค้าแผงลอย 9 คูหา แยกเป็น
          1) อำเภอดอยหลวง เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมในพื้นที่ 1 ตำบล ได้แก่ ตำบล โชคชัย (หมู่ที่ 1,3,12) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 163 ครัวเรือน 694 คน นาข้าว 40 ไร่ ถนน 1 สาย ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
          2) อำเภอเวียงชัย เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลดอนศิลา (หมู่ที่ 8,9,13,15,16) ตำบลผางาม (หมู่ที่ 1-14) และตำบลเมืองชุม (หมู่ที่ 5,8,9,10) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 425 ครัวเรือน 1,350 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 1 หลัง นาข้าว 1,950 ไร่ ถนน 5 สาย สะพาน/คอสะพาน 2 แห่ง ท่อระบายน้ำ 17 แห่ง
          3) อำเภอแม่ลาว เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมในพื้นที่ 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลโป่ง แพร่ (หมู่ที่ 5-8) ตำบลจอมหมอกแก้ว (หมู่ที่ 1,3,8,9,10) ตำบลดงมะตะ (หมู่ที่ 1-3) ตำบลป่าก่อดำ (หมู่ที่ 1,2,3,6,7,9,10) และตำบลบัวสลี (หมู่ที่ 2-5,7,9) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 71 ครัวเรือน นาข้าว 924 ไร่ บ่อปลา 18 บ่อ ถนน 3 สาย
          4) อำเภอเชียงแสน เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้เกิดดินเลื่อนไหลทับร้านค้าแผงลอยขายของริมทาง และเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 1 เทศบาล 5 ตำบล ได้แก่ เทศบาลตำบลเวียง (หมู่ที่ 2,3) ตำบลเวียง (หมู่ที่ 1,4-9) ตำบลศรีดอนมูล (หมู่ที่ 1,3,5-10,12) ตำบลบ้านแซว (หมู่ที่ 1-15) ตำบลแม่เงิน (หมู่ที่ 1-10,12) และตำบลป่าสัก (หมู่ที่ 1-13) ร้านค้าแผงลอย ขายของริมทาง (หมู่ที่ 1 ตำบลเวียง) เสียหาย จำนวน 9 คูหา ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 20 ครัวเรือน 80 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 11 หลัง ความเสียหายอื่นๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ
          5) อำเภอแม่ฟ้าหลวง เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลเทิดไทย (หมู่ที่ 4) ตำบลแม่สลองใน (หมู่ที่ 1,13,14,20,21) และ ตำบลแม่ฟ้าหลวง (หมู่ที่ 4) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 23 ครัวเรือน 116 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 2 หลัง ความเสียหายอื่นๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ
          6) อำเภอแม่สรวย เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขังในพื้นที่ 1 ตำบล ได้แก่ ตำบลวาวี (หมู่ที่ 17,18) น้ำได้กัดเซาะถนนและดินสไลด์ขวางถนนในหมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 100 ครัวเรือน 700 คน โดยเบื้องต้นราษฎรได้นำกระสอบทรายไปถมถนนในหมู่บ้านที่ขาด และ อบต. วาวีนำรถเกรดดินออกจากถนน สามารถสัญจรไปมาได้แล้ว
         7) อำเภอแม่จัน เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขังในพื้นที่ 9 ตำบล ได้แก่ ตำบลป่าตึง (หมู่ที่ 5,11,16,17,19) ตำบลป่าซาง (หมู่ที่ 3,4,13) ตำบลศรีค้ำ (หมู่ที่ 3,5,6,8) ตำบลแม่คำ (หมู่ที่ 1,3-9,11,13) ตำบลแม่ไร่ (หมู่ที่ 3,4) ตำบลจอมสวรรค์ (หมู่ที่ 1,10) ตำบลจันจว้า (หมู่ที่ 1-11) ตำบลจันจว้าใต้ (หมู่ที่ 3,7,8,9,12) และตำบลข้าวเปลือก (หมู่ที่ 1-11,13,14) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 190 ครัวเรือน 480 คน คอสะพาน 1 แห่ง ความเสียหายอื่นๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ และได้มีการอพยพราษฎร หมู่ที่ 1,4 ตำบลแม่คำ จำนวน 90 ครัวเรือน ไปยังที่ปลอดภัย
         8) อำเภอเมืองเชียงราย เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่ยาว (หมู่ที่ 1,7,11,12,13,15) ตำบลแม่ข้าวต้ม (หมู่ที่ 4,5,8,9,10,12,15,18,19,20) ตำบลนางแล (หมู่ที่ 1,6,9,11,14,15,16) ตำบลแม่กรณ์ (หมู่ที่ 1-6) และ ตำบลป่าอ้อดอนชัย (หมู่ที่ 5,10,11,20) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 53 ครัวเรือน 243 คน ถนน 9 สาย บ่อปลา 44 บ่อ พนังกันน้ำ/ฝาย 3 แห่ง ท่อระบายน้ำ 1 แห่ง นาข้าว 3,623 ไร่
          9) อำเภอเวียงเชียงรุ้ง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งก่อ (หมู่ที่ 1,4,6,7,8,11,13,15) ตำ บลดงมหาวัน (หมู่ที่ 1,4,5,6,7,8,9,10) และตำ บลป่าซาง (หมู่ที่ 1,3,4,5,6,7,9,10,11,12,13,15,16) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,100 ครัวเรือน 4,400 คน นาข้าว 4,800 ไร่ ถนน 18 สาย สะพาน 3 แห่ง ฝาย 7 แห่ง ท่อระบายน้ำ 32 แห่ง
     การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนเรือท้องแบน 10 ลำ ถุงยังชีพ 1,500 ชุด หน่วยทหาร นพค.35 สนับสนุนกำลังพลช่วยเหลือราษฎรในการขนย้ายสิ่งของ และอพยพไปในที่ปลอดภัยจำนวน 310 คน พร้อมกับนำเครื่องจักรกลเข้าดำเนินการซ่อมแซมในจุดที่ถนนถูกน้ำกัดเซาะ และเปิดเส้นทางที่ดินถล่มปิดขวางการจราจรแล้ว และจะได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือจากเงินทดรองราชการ (งบ 50 ล้านบาท) ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป
อนึ่ง มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก โดยรองประธานมูลนิธิฯ (ศาสตราภิชาน นายแพทย์พิชิต สุวรรณประกร) ได้นำถุงยังชีพพระราชทาน จำนวน 650 ชุด ไปมอบให้แก่ราษฎรที่ประสบภัยในพื้นที่อำเภอแม่จัน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2552 ดังนี้ 1) หมู่ที่ 7,9,11,13 ตำบลแม่คำ จำนวน 200 ชุด 2) หมู่ที่ 2,3,7,8,9 ตำบลจันจว้า จำนวน 450 ชุด
     สถานการณ์ปัจจุบัน ระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ยกเว้นยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรที่ลุ่มต่ำบางพื้นที่ของอำเภอแม่จัน และอำเภอเชียงแสน

สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 11-17 สิงหาคม 2552)
     สาเหตุการเกิด เกิดฝนตกหนักในระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม 2552 เนื่องจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ประกอบกับร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้มีฝนตกหนัก เกิดน้ำท่วม ฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เป็นเหตุให้ประชาชนประสบความเดือดร้อน สิ่งสาธารณประโยชน์ พื้นที่การเกษตร และทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหาย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้แจ้งเตือนไปยังจังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
     พื้นที่ประสบภัย 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน ลพบุรี และจังหวัดลำปาง รวม 4 อำเภอ 1 เทศบาล 8 ตำบล 13 หมู่บ้าน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายประมาณ 1,000 ไร่ แยกเป็น
          1) จังหวัดน่าน เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอท่าวังผา เขตเทศบาล ตำบลท่าวังผา จำนวน 3 หมู่บ้าน (หมู่ที่ 3,4,5) และที่อำเภอปัว 1 ตำบล ได้แก่ ตำบลเจดีย์ชัย (หมู่ที่ 1,2,8) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 50 ครัวเรือน ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
          2) จังหวัดลพบุรี เกิดฝนตกหนักในเขตอำเภอเมืองวัดได้ 164.9 มม. ทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร และชุมชนในอำเภอเมือง ในพื้นที่ตำบลเขาสามยอด ท่าแค เขาพระงาม ทะเลชุบศร ถนนใหญ่ ท่าศาลา ท่วมพื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.25 - 0.50 ม. สถานการณ์ปัจจุบัน ระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
          3) จังหวัดลำปาง เกิดฝนตกหนักในเขตอำเภอวังเหนือวัดได้ 85.0 มม. ทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมตำบลบ้านใหม่ สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
     การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เบื้องต้น และเร่งสำรวจเพื่อให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงิน ทดรองราชการ ฯ (งบ 50 ล้านบาท) ต่อไป

ที่มา : สรุปสถานการณ์สาธารณภัยประจำสัปดาห์ (ตัดมาเฉพาะบางส่วน) ของ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย



ข่าวจากหนังสือพิมพ์

--------------------------------------------------------------------------------------

นครพนมปิดเรียน น้ำท่วมหนัก เร่งระบายน้ำ [ไทยรัฐ : 1 ส.ค. 52 ]

เมื่อเวลา 08.00 น. วันนี้ (1 ส.ค.) หลังจากตลอดคืนที่ผ่านมา มีฝนตกลงมาอย่างหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหนัก ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม ระดับน้ำสูงกว่า 50 เซนติเมตร ถนนเกือบทุกสาย ยกเว้นสายหลัก โดยเฉพาะบริเวณถนนสายอภิบาลบัญชา กลางตัวเมืองนครพนม ถูกน้ำท่วมขังตลอดสาย สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน บริเวณตลาดสด และร้านค้า ไม่สามารถขายของได้ ต้องนำกระสอบทรายวางกั้นน้ำเข้าท่วมบ้านเรือน ร้านค้า ทำให้รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ขณะที่รถบางคัน มีน้ำเข้าเครื่องยนต์ จนได้รับความเสียหาย ส่วนตำรวจสั่งปิดถนน ป้องกันน้ำไหลทะลักเข้าบ้านเรือน และร้านค้า

นอกจากนี้ ในส่วนของโรงเรียน ในตัวเมืองนครพนม มีโรงเรียนเทศบาล 3 แห่ง และวิทยาลัยสารพัดช่างนครพนม ต้องปิดการเรียน การสอนชั่วคราว เนื่องจากถูกน้ำท่วม โดยนายนพวัชร สิงห์ศักดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม พร้อมด้วยนายนิวัต เจียวิริยบุญญา นายกเทศมนตรีเมืองนครพนม ได้นำเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เตรียมเครื่องมือ รถสูบน้ำ และกระสอบทราย เข้าให้การช่วยเหลือ เร่งติดตั้งสูบน้ำเพื่อให้ไหลระบา ยลงสู่แม่น้ำโขง ทำให้ระดับน้ำตามถนนบางสายลดระดับแล้ว

นายนพวัชร กล่าวว่า ขณะนี้ จังหวัดได้ประสานกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง เข้ามาดูแลช่วยเหลือชาวบ้าน ในเขตเทศบาล ที่ได้รับความเดือดร้อน จากน้ำท่วมขัง โดยเร่งสูบน้ำระบายลงสู่แม่น้ำโขง คาดว่า จะสามารถแก้ไขได้ เพราะระดับน้ำโขงยังห่างจากจุดวิกฤติ ทั้งนี้ จากการตรวจวัดปริมาณน้ำฝน ของสถานีอุตุนิยมวิทยานครพนม ช่วงเช้าที่ผ่านมา ถือว่าอยู่ในระดับสูงมาก โดยวัดได้ 160 มิลลิเมตร จึงเกิดน้ำท่วมขัง นอกจากนี้ จังหวัดยังเตรียมพร้อมวางแผนกำชับเจ้าหน้าที่ จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ ช่วยเหลือป้องกันการเกิดน้ำท่วม ทุกพื้นที่ ร่วมกับศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุกอำเภอ พร้อมเตือนประชาชนเฝ้าระวัง

ด้านนายนิวัต กล่าวว่า หลังจากมีฝนตกต่อเนื่อง จนเกิดน้ำท่วมขัง เจ้าหน้าที่ได้ระดมติดตั้งเครื่องสูบน้ำ นำอุปกรณ์กระสอบทราย เข้าช่วยเหลือชาวบ้าน คาดว่า จะควบคุมสถานการณ์ได้ เพราะระดับน้ำโขงยังไม่วิกฤติ ทำให้ระบายน้ำจากตัวเมืองออกได้เร็ว พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เตรียมพร้อมตลอดเวลา


--------------------------------------------------------------------------------------
ฝนถล่มดินไหลเข้าร้านค้าสามเหลี่ยมทองคำ [ เดลินิวส์ : 7 ส.ค. 52 ]

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (7ส.ค.) เมื่อคืนที่ผ่านมาเกิดฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ส่งผลให้ดินบนดอยภูข้าว อ.เชียงแสน อุ้มน้ำไม่ไหว ไหลเข้าปิดหน้าร้านค้าบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังริมถนนแม่สาย-เชียงแสน บ้านสบรวก หมู่ 1 ต.เวียง อ.เชียงแสน ได้รับความเสียหายกว่า 10 คูหา ล่าสุด เจ้าหน้าที่เร่งเข้าช่วยเหลือแล้ว ส่วนระดับน้ำในแม่น้ำสาย เพิ่มสูงอยู่ที่ 2.30 เมตร เลยจุดวิกฤตที่ 1.90 เมตร และเริ่มล้นตลิ่งเข้าท่วมร้านค้าริมแม่น้ำสาย ย่านตลาดสายลมจอย เขตเทศบาลตำบลแม่สาย และถนนสายลมจอย-เกาะทราย บริเวณใต้สะพานมิตรภาพไทย-พม่า ซึ่งสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงราย ประกาศเตือนราษฎรในพื้นที่เสี่ยงภัยที่ราบลุ่ม และลาดเชิงเขา ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหล.

--------------------------------------------------------------------------------------
เชียงราย-น้ำท่วมแม่จันลดระดับแล้ว [ ครอบครัวข่าว : 9 ส.ค. 52 ]

สถานการณ์น้ำท่วมในอำเภอแม่จันลดระดับลงแล้ว ขณะที่ ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน ยังคงมีน้ำท่วมขัง คาดไม่เกิน 2 วัน จะเข้าสู่ภาวะปกติ

ชาวบ้านศรีดอนแก้ว ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ที่มีบ้านเรือนติดกับแม่น้ำคำ ที่ไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนกว่า 200 หลังคาเรือน ยังคงเดินลุยน้ำเข้าออกหมู่บ้าน ถึงแม้ระดับน้ำจะลดลงบ้างแล้ว แต่การระบายน้ำไปด้วยความล่าช้า อาจเป็นเพราะปริมาณน้ำกกมีมาก ทำให้น้ำคำที่ไหลลงแม่น้ำกกช้าตามไปด้วย ทั้งนี้ ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน ถือว่าเป็นพื้นที่สุดท้ายที่รองรับน้ำจากแม่น้ำคำ ที่ไหลมาจาก ต.แม่คำ ต.จันจว้า ต.จันจว้าใต้ อ.แม่จัน ที่บ้านเรือนประชาชนถูกน้ำท่วมอย่างหนักไปก่อนหน้านี้

ขณะที่น้ำที่ท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ อ.แม่จัน ขณะนี้ระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว โดยชาวบ้านส่วนใหญ่เริ่มทำความสะอาดบ้านเรือน ขณะที่โรงเรียนแม่คำฝั่งหมิ่น เตรียมให้นักเรียนช่วยกันทำความสะอาดห้องเรียน ในวันพรุ่งนี้

ด้านสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย รายงานการสำรวจพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมในช่วงระหว่างวันที่ 6-8 สิงหาคม 2552 พบว่าพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมทั้งหมดจำนวน 8 อำเภอ 33 ตำบล 183 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 1,478 ครัวเรือน 5,261 คน ส่วนพื้นที่ทางการเกษตร และสาธารณประโยชน์อยู่ระหว่างสำรวจตัวเลขที่ชัดเจน สำหรับน้ำท่วมครั้งนี้ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ต.แม่คำ และ ต.จันจว้า อ.แม่จัน เพราะเป็นพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ


--------------------------------------------------------------------------------------

น้ำท่วมฉับพลัน"นครพนม-มุกดาหาร" เทศบาลเร่งระบายลงสู่ลำโขง [ ผู้จัดการออนไลน์ : 10 ส.ค. 52 ]

ฝนที่ตกหนักตั้งแต่เมื่อคืนนี้ใน จ.นครพนม ทำให้เกิดน้ำท่วมขังถนนหลายสายในเขตเทศบาลเมืองนครพนม ระดับน้ำสูงประมาณ 50 เซนติเมตร สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ต้องสัญจรไปมา ขณะที่เทศบาลเมืองนครพนมกำลังเร่งสูบน้ำระบายลงสู่แม่น้ำโขง ส่วนที่ จ.มุกดาหาร มีน้ำท่วมขังบนถนนพิทักษ์พนมเขต ถนนยุทธพัฒน์ และบางจุดบนถนนชยางกูร ระดับน้ำสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร รถเล็กไม่สามารถผ่านได้ ส่งผลให้การจราจรติดขัดในถนนบางสาย ขณะที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขง วันนี้วัดได้ 9.10 เมตร เพิ่มจากเมื่อวานนี้ 30 เซนติเมตร มีการเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขงใน อ.ดอนตาล ว่านใหญ่ และ อ.เมือง ให้ระวังน้ำเอ่อเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มในระยะนี้

--------------------------------------------------------------------------------------

น้ำท่วมเชียงราย ยังวิกฤติ พันหลังคาจมน้ำ [ ไทยรัฐ : 10 ส.ค. 52 ]

ผู้ว่าฯ เชียงราย ออกตรวจน้ำท่วม อ.พญาเม็งราย บ้านกว่า 1,000 หลังคาเรือน ที่ถูกน้ำท่วมยังวิกฤติ มีน้ำท่วมขังกว่า 1 เมตร ชาวบ้านอาศัยถนนเป็นที่พัก ...

เมื่อคืนที่ผ่านมา วันนี้ (10 ส.ค.) นายสุเมธ แสงนิ่มนวล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมเจ้าหน้าที่หน่วยบรรเทาสาธารณภัย นั่งเรือออกตรวจเยี่ยมบ้านเรือนราษฎร ที่ถูกน้ำท่วมใน ต.แม่เปา และ ต.พญาเม็งราย ในอ.พญาเม็งราย ซึ่งบ้านเรือนกว่า 1,000 หลัง ถูกน้ำท่วม ซึ่งเป็นจุดที่ยังวิกฤติมีน้ำท่วมขังกว่า 1 เมตร ประชาชนต้องนำทรัพย์สินออกมาวางกองบนถนน และกางเต็นท์เป็นที่พัก ขณะที่พระสงฆ์ของวัดบุญวาทย์ ต้องย้ายขึ้นไปจำวัดบนชั้น 2 ของกุฏิ และใช้เรือสัญจรไปมา

ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดจังหวัดเชียงราย ได้กำชับเจ้าหน้าที่ให้จัดเวรยามดูแลทรัพย์สินของประชาชน ที่วางอยู่บนถนน เพื่อป้องกันกลุ่มมิจฉาชีพฉวยโอกาสาขโมยของ และให้ฝ่ายปกครองเตรียมพร้อมกำลังพล เครื่องจักรกล ช่วยเหลือประชาชนทันทีหากระดับน้ำเพิ่มสูง

--------------------------------------------------------------------------------------

เผยน้ำท่วมเชียงรายรอบแรกปี 52 เสียหายแล้ว 10 ล้าน [ ผู้จัดการออนไลน์ : 10 ส.ค. 52 ]

สรุปผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม 8 อำเภอ 33 ตำบล 183 หมู่บ้านของเชียงราย สร้างความเสียหายกว่า 10 ล้าน ขณะที่ผู้ว่าฯ ควงนายก อบจ.ลงพื้นที่แจกเครื่องอุปโภค บริโภคแก่ชาวบ้านผู้ประสบภัย วันนี้ (10 ส.ค.) นายสุเมธ แสงนิ่มนวล ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย และ นางรัตนา จงสุทธนามณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)เชียงราย ได้นำถุงยังชีพจำนวนกว่า 1,000 ชุด เข้าแจกจ่ายให้กับประชาชนใน อ.พญาเม็งราย เพื่อเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ส่วนที่เหลือให้ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละพื้นที่เร่งนำงบประมาณเข้าช่วยเหลือ หากไม่เพียงพอก็ให้เสนอมาจังหวัดเพื่อจัดงบประมาณฉุกเฉินที่มีอยู่ 50 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือต่อไป องค์การบริหารส่วนตำบล

 

--------------------------------------------------------------------------------------

ท่วมนครพนม จมบาดาล อ่วมรอบ10ปี [ ไทยรัฐ : 10 ส.ค. 52 ]

เขตเทศบาลนครพนม จมอยู่ใต้บาดาล หลังฝนตกหนักตลอดทั้งคืน ส่งผลน้ำท่วมหนักสุด ในรอบ 10 ปี ระดับน้ำสูง 50 เซนติเมตร ชาวบ้านเดือดร้อนหนัก ...

เมื่อเวลา 08.00 น. วันนี้ (10 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่จังหวัดนครพนม หลังจากตลอดคืนที่ผ่านมา ได้มีฝนตกลงมาอย่างหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหนักในเขตเทศบาลเมืองนครพนม เกือบทุกสาย ยกเว้นสายหลัก โดยตามถนนสายต่างๆ มีระดับน้ำสูง 50 เซนติเมตร สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านบริเวณตลาดสด ร้านค้า ไม่สามารถขายของได้ โดยทางเทศบาล ร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง ต้องเร่งนำรถเครื่องสูบน้ำมาติดตั้ง ซ่อมทางระบายน้ำโดยเร่งด่วน ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำยังไม่ลด และยังมีฝนตกหนักต่อเนื่อง ถือเป็นการท่วมหนักที่สุดในรอบ 10 ปี


--------------------------------------------------------------------------------------

ฝนตกหนักน้ำท่วม อ.ท่าวังผา - ปัว จังหวัดน่าน [ www.nan2day.com : 15 ส.ค. 52 ]


วันนี้ 15 สิงหาคม 2552  เวลา 12.00 น. ได้เกิดเหตุน้ำป่าหลากเข้าท่วม 4 หมู่บ้าน ในพื้นที่ตำบลท่าวังผา อ.ท่าวังผา จ.น่าน หลังฝนตกหนักตลอดทั้งคืนที่ผานมา ทำให้ลำน้ำสาขาน้ำยาว และลำน้ำน่าน มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนส่งผลให้อ่างเก็บน้ำห้วยธนู  ในพื้นที่ตำบลท่าวังผา  อ.ท่าวังผา  ที่อยู่บริเวณด้านหลังโรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม รองรับน้ำไม่ไหวจนล้นทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร  และพื้นที่การเกษตร  ในพื้นที่ ตำบลท่าวังผา ได้แก่ บ้านเหี๊ยะ ม .1  ,บ้านอาฮาม ม.3 , บ้านวังว้า ม.5   และบ้านหัวดอย และ ตำบลป่าคา ที่บ้านสบสาย รวมกว่า  50 หลังคาเรือน  โดยน้ำได้ไหลทะลักเข้าทว่มบ้านเรือนสูงถึงระดับเอวชาวบ้านได้เร่งช่วยกันขนย้ายข้าวของ เครื่องใช้ไฟฟ้าหนีน้ำกันโกลาหล    และกระแสน้ำยังได้ไหลทะลักเข้าท่วมถนนสายหลักสี่เลน ท่าวังผา-ปัว  โดยระดับน้ำสูงอยู่ที่ 50 เซนติเมตร  ทำให้การจราจรติดขัดเป็นอัมพาต  เจ้าหน้าที่ตำรวจและกู้ภัยต้องเข้าควบคุมการจราจรบนท้องถนน  โดยให้รถยนต์ใช้เส้นทางเลี่ยงหรืออ้อมไปอีกเส้นทางหนึ่งเพื่อลดการแออัก

นอกจากนี้ยังมีน้ำป่าหลากในพื้นที่บ้านนาวงศ์  และ บ้านเจดีย์ชัย ต.ปัว อ.ปัว จ.น่าน ซึ่งเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เร่งประสานหน่วยงานในพื้นที่เข้าช่วยเหลือชาวบ้านพร้อมเร่งสำรวจความเสียหาย

ด้านนายธวัช  เพชรวีระ  หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน  หลังได้เข้าสำรวจพื้นที่น้ำท่วม เปิดเผยว่า  ขณะนี้ได้ประสานจังหวัดทหารบกน่าน  ,ตชด 325 ,ป้องกันอำเภอท่าวังผา ,และมิสเตอร์เตือนภัย เข้าช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการช่วยเหลือและประเมินความเสียหาย ซึ่งคาดว่าอีกประมาณ 3 ชั่วโมง ระดับน้ำจะเริ่มลดลงสู่ภาวะปกติ  แต่อย่างไรยังประกาศเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เนื่องจากว่าบนท้องฟ้ายังคงปกคลุมด้วยเมฆฝน และได้ให้เจ้าหน้าที่โดยเฉพาะกู้ภัยและมิสเตอร์เตือนภัย เฝ้าระวังสถานการณ์ 24 ชั่วโมง ซึ่งหากมีฝนตกหนักลงมาอีกและเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ถึงขั้นรุนแรง ก็พร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือหรืออพยพชาวบ้านไว้ในที่ปลอดภัยได้อย่างทันท่วงที

--------------------------------------------------------------------------------------


น่านจมบาดาลน้ำท่วมชาวบ้านขนของหนี [ เดลินิวส์ : 15 ส.ค. 52 ]

วันนี้ (15 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำท่วม น้ำเอ่อไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ ต.ท่าวังผา อ.ท่าวังผา จ.น่าน  เนื่องจากเกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก และอ่างเก็บน้ำห้วยธนู ไม่สามารถรับน้ำได้ ส่วนบริเวณถนนสายท่าวังผา-ปัว รถยนต์ไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ เนื่องจากระดับน้ำท่วมสูงถึง 50 ซม. อย่างไรก็ตามที่บ้านนาวงศ์ และบ้านเจดีย์ชัย อ.ปัว เกิดน้ำท่วมขังเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ชาวบ้านต้องรีบเก็บข้าวของหนีน้ำไปอยู่ในที่สูง ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังระดมกำลังเข้าไปช่วยเหลือแล้ว.







--------------------------------------------------------------------------------------

เมืองเกินร้อยฝนถล่มหนักถนนเลียบริมฝั่งแม่น้ำพังยับ [ เดลินิวส์ : 21 ส.ค. 52 ]

นายมังกร ยนต์ตระกูล นายก อบจ.ร้อยเอ็ด นำเจ้าหน้าที่จากกองช่าง ของ อบจ.ร้อยเอ็ด ออกสำรวจถนนริมฝั่งแม่น้ำชี หลังได้รับร้องเรียนจากชาวบ้านในตำบลนาเลิง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ว่าถนนลาดยางเลียบริมฝั่งแม่น้ำชีระหว่างบ้านผักกาดหญ้า-บ้านไชยวาน พังถล่มลึกกว่า 5 เมตร ยาวประมาณ 100 เมตร และอีกจุดอยู่ถัดกันไปถนนพังถล่มยาวกว่า 150 เมตร หลังเกิดฝนตกหนักในพื้นที่เมื่อหลายวันที่ผ่านมา ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากสัญจรไปมาลำบากและหวั่นเกิดอันตรายในเวลาค่ำคืน ซึ่งทราบว่าถนนดังกล่าวเป็นถนนสายบ้านแห่-นาเรียง อยู่ในความรับผิดชอบของทางหลวงชนบทร้อยเอ็ด และอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของ อบต.นาเลิง ที่ยังไม่มีงบประมาณในการซ่อมแซม และถ้าหากปรับปรุงใหม่จำเป็นจะต้องใช้งบประมาณจำนวนหลายล้านบาท ชาวบ้านจึงต้องหวังพึ่ง อบจ.ในการสนับสนุนงบประมาณในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นไปก่อน
   
นายมังกร ยนต์ตระกูล นายก อบจ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า ขณะนี้ อบจ. ร้อยเอ็ด ได้รับการประสานจาก ส.จ.ในพื้นที่ ว่ามีถนนริมฝั่งแม่น้ำชีหลายจุดที่เกิดการพังทลายเช่นที่ ต.พนมไพร อ.พนมไพร ถนนพังเสียหายกว่า 300 เมตร ถนนริมฝั่งแม่น้ำชีที่ตำบลผักแว่น อ.จังหาร ที่ตำบลนางาม อ.ทุ่งเขา หลวง และถนนริมฝั่งแม่น้ำยังช่วงบ้านเหล่าน้อย อ.เสลภูมิ อีกกว่า 600 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันแก้ปัญหา เบื้องต้น อบจ.ร้อยเอ็ด ได้นำเครื่องจักรเข้าไปซ่อมแซมให้สามารถใช้สัญจรไปมาได้ชั่วคราวก่อน เพราะถ้าหากเกิดฝนตกหนักน้ำชีเอ่ออาจพัดถนนขาดทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมข้าวกล้าในนาของชาวบ้านเสียหายหนักแน่นอน ขณะเดียวกันก็จะได้เตรียมเสนอจัดงบประมาณในการปรับปรุงในระยะยาวต่อไป
   
ด้านนายดำริ วชิโรดม ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า ขณะนี้ระดับน้ำในลำน้ำที่สำคัญโดยเฉพาะแม่น้ำชียังอยู่ในระดับต่ำกว่าตลิ่งมาก แม้ฝนจะตกหนักเมื่อหลายวันก่อนจึงยังไม่น่าเป็นห่วงยกเว้นฝนตกหนักบริเวณตอนเหนือของภาคและเกิดน้ำท่วม นั่นถึงจะมีผลต่อแม่น้ำชีซึ่งอยู่ในตอนล่างและเป็นพื้นที่รับน้ำ แต่อย่างไรก็ตามจังหวัดได้ประกาศเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงให้เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันอยู่เป็นระยะ ๆ.

--------------------------------------------------------------------------------------

แพร่- น้ำป่าทะลัก 3 ตำบล ในเขตเมืองน้ำท่วมถนนหลายสาย [ ครอบครัวข่าว : 22 ส.ค. 52 ]

จากการที่จังหวัดแพร่เจอฝนตกหนักตั้งแต่เวลา 21.00 น ของวันที่ 21 สิงหาคม ไปจนถึง วันที่ 22 สิงหาคม 2552 ที่ไม่มีเค้าว่าจะหยุดตก และตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณน้ำป่าที่ไหลจาก ลำห้วยแม่แขม,แม่สาย จากยอดเขา ได้ไหลลงมาสู่เชตตำบลป่าแดง,ตำบลช่อแฮ อ.เมืองแพร่ และ เขตตำบ้านกวาง อ.สูงเม่น ทำให้ เกิดน้ำท่วมไร่นาของชาวบ้านเสียหายไปแล้วร่วม 200 ไร่ และฝายกักเก็บน้ำบ้านโป่งศรี หมู่ที่ 4 บ้านถิ่น อ.เมืองแพร่จำนวน 2 แห่งพังเสียหาย มีน้ำทะลักล้น เข้าสู่หมู่บ้าน ที่ส่อเค้าว่าจะพังลงในไม่ช้า ทำให้ ชาวบ้านต่างเตรียมขนย้าย สิ่งของขึ้นในที่สูง และที่ บ้านนาคูหา ต.สวนเขื่อน มีปริมาณน้ำฝนตกหนักถึง 150 มิลิเมตร และบนยอดเขาในแถบเดียวกันมีปริมาณน้ำฝนตกหนัก เกิน 70 มิลลิเมตร
 

ซึ่งทางจังหวัดแพร่ได้สั่งให้เฝ้าระวังระดับน้ำตลอด 24 ชั่วโมง จากปริมาณน้ำป่าที่ไหลจากลำห้วยแม่แขม แม่สาย ได้ไหลเข้าสู่เขตอำเภอเมืองแพร่ประกอบกับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามีปริมาณมาก ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในเขตเมือง ถนนหลายสายติดขัด รถเล็กบางแห่งไม่สามารถผ่านไปมาได้ บางแห่งน้ำท่วมถนนสูงถึง 50 เซนติเมตร ซึ่งหากฝนยังไม่หยุดตกต่อไป ในวันนี้ จะเกิดน้ำป่าท่วมอีกหลายอำเภอ



--------------------------------------------------------------------------------------

อุบลฯ-อุตุฯ ภาคอีสานเตือนปลายเดือนนี้ฝนตกหนักทั่วทุกพื้นที่ [ ครอบครัวข่าว : 23 ส.ค. 52 ]

อุตุฯ ภาคอีสาน จ.อุบลราชธานี ประกาศเตือนตลอดช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้ จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ประชาชนพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมรับมืออุทกภัยน้ำท่วม และน้ำป่าไหลหลาก

ที่ จ.อุบลราชธานี ด้านศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคอีสาน จ.อุบลราชธานี พยากรณ์สภาพอากาศประจำวันนี้ ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งในระยะนี้

ขณะสภาพอากาศทั่วไปของภาคอีสาน ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดมุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ และนครราชสีมา โดยการตรวจวัดความเร็วลมตะวันตกเฉียงใต้ มีความเร็ว 10-30 กม./ชม.

สำหรับผลกระทบด้านการเกษตร ในช่วงวันที่ 23 – 24 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 24 - 27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณที่มีฝนตกอาจทำให้เกิดสภาพน้ำขัง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรกหากมีความจำเป็นควรสวมรองเท้าบูท เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู ส่วนสัตว์เลี้ยงเกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะโดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ เพื่อป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย

--------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง
  • ครอบครัวข่าว : http://www.krobkruakao.com
  • ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย ปภ.: http://61.19.54.137/public/
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • เดลินิวส์ : http://www.dailynews.co.th
  • ผู้จัดการออนไลน์ : http://www.manager.co.th
  • ข่าวน่าน : http://www.nan2day.com