บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ตอนล่าง ( ธ.ค. 48)

ภาพดาวเทียม GOES-9    

02/12/2005 : 23GMT

08/12/2005 : 07GMT

14/12/2005 : 21GMT


18/12/2005 : 22GMT


20/12/2005 : 21GMT


22/12/2005 : 17GMT

ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES-9 เพื่อติดตามสภาพอากาศ พบว่าในช่วงเดือนธันวาคม มีกลุ่มเมฆปกคลุมภาคใต้ของประเทศไทยตั้งแต่ช่วงต้นเดือนจนถึงปลายเดือน ทำให้เกิดฝนตกหนัก บริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะจังหวัด สงขลา ยะลา สตูล ปัตตานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


อุณหภูมิน้ำทะเล    

10/11/2005


15/11/2005


20/11/2005


25/11/2005


30/11/2005

5/12/2005

10/12/2005

15/12/2005

20/12/2005
้การวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพแสดงอุณหูมิผิวน้ำทะเลจัดทำโดย Ocean Weather Inc. จะพบว่า อุณหภูมิผิวน้ำทะเลในช่วงเดือนธันวาคมมีความแตกต่างจากเดือนพฤศจิกายนอย่างเห็นได้ชัด โดยจะสังเกตได้ว่าอุณหภูมิฝั่งอ่าวไทยจะเย็นลงเรื่อย ๆ ในขณะที่ฝั่งอันดามันไม่ได้ลดตามไปด้วย ทำให้อุณหภูมิผิวน้ำทะเลทั้งสองฝั่งทางตอนใต้ของประเทศไทยเกิดความแตกต่างกัน เป็นผลทำให้เกิดมวลอากาศและก่อใ้ห้เกิดฝนตกในบริเวณดังกล่าว


ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 

ความสูงของคลื่น      

2/12/2005


10/12/2005


15/12/2005

21/12/2005


2/12/2005


10/12/2005

15/12/2005

21/12/2005
การวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพความสูงและทิศทางของคลื่นทะเล จัดทำโดย Ocean Weather Inc. จากภาพจะสังเกตได้ว่าตลอดเดือนธันวาคม ทิศทางของคลื่นจะตรงเข้าทางตอนใต้ของประเทศไทย ทั้งทางฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย โดยเฉพาะด้านอ่าวไทย คลื่นจะตรงเ้ข้าสู่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตลอดแนว ด้วยทิศทางลมที่ปะทะเข้าหากันจากทั้งสองฝั่งทะเล ส่งผลให้เกิดการรวมตัวกันของกลุ่มเมฆในบริเวณที่เป็นพื้นดิน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดฝนตกหนักติดต่อกันในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 

แผนที่อากาศ  

3/12/2005


11/12/2005


15/12/2005

20/12/2005

รายงานจากภาพแผนที่อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในวันที่ 5 ธ.ค. มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ฝนตกหนักอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าและน้ำล้นตลิ่งได้ในบางพื้นที่ของ จ.ประจวบคีรีขันธ์ตอนล่าง ชุมพร และสุราษฎร์ธานี

ช่วงวันที่ 13-16 ธ.ค.มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ฝั่งตะวันออก ส่งผลให้ฝนตกมากขึ้นในภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ส่วนคลื่นลมในฝั่งอ่าวไทยสูง 2-3 เมตร

เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันที่ 19 ธ.ค. 48 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 700 กิโลเมตร ทางตะวันออกของปลายแหลมญวน ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 8.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 111.0 องศา ตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่า พายุลูกนี้จะเคลื่อนตัวเข้า สู่อ่าวไทยในวันที่ 20-21 ธ.ค. ละจะส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของภาคใต้ในช่วงวันที่ 21-23 ธ.ค.

ในวันที่ 21 ธ.ค. 48 ได้เกิดพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 200 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ของปลายแหลมญวน หรือที่ละติจูด 9.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ คาดว่าจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณปลายแหลมญวนและมีกำลังอ่อนลง ในวันที่ 21 ธ.ค. และจะเคลื่อนตัวลงสู่อ่าวไทยในวันเดียวกัน ช่วงวันที่ 22-23 ธ.ค. ทำให้ภาคใต้ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไปมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และคลื่นลมในทะเลอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นด้วย จะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร

วันที่ 22 ธ.ค. 48 หย่อมความกดอากาศต่ำได้ปกคลุมอ่าวไทยตอนล่าง ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ลงไปมีฝนฟ้า คะนองกระจาย 60% ของพื้นที่ สำหรับคลื่นลมในอ่าวไทยตั้งแต่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ลงไปมีกำลังแรงขึ้น คลื่นสูงประมาณ 2-4 เมตร

ส่วนในวันที่ 23 ธ.ค. 48 หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล มีฝนตกเกือบทั่วไปได้ในระยะ 1-2 วัน ส่งผลให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ราบลุ่มและที่ลาดเชิงเขาของพื้นที่เสี่ยงภัย และคลื่นลมในอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปและทะเลอันดามันมีกำลังแรง คลื่นสูง 2-4 เมตร

ในวันที่ 25 ธ.ค. 48 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ กำลังปานกลางพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย จะทำให้ฝนตกในภาคใต้ลดน้อยลง คลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ความสูงของคลื่นประมาณ 2 เมตร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม



ปริมาณฝนสะสม  

7/12/2005

9/12/2005

16/12/2005

17/12/2005
ภาพฝนสะสมรายวันจัดทำโดยสถาบันวิจัยทหารเรืออเมริกา จากภาพบริเวณพื้นที่สีฟ้าและสีเขียวแสดงปริมาณฝนสะสมรายวัน พบว่าในช่วงเดือนธันวาคม มีปริมาณฝนสะสมหนาแน่นบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนจนถึงช่วงกลางเดือนจะมีปริมาณฝนสะสมค่อนข้างมากและค่อย ๆ ลดจำนวนลงในช่วงปลายเดือน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ปริมาณฝนที่วัดได้จากสถานีตรวจวัดอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา  

3/12/2005

7/12/2005

9/12/2005

14/12/2005

17/12/2005

19/12/2005


23/12/2005

การติดตามปริมาณฝน ณ เวลา 7.00 น. โดยใช้สถิติของการกระจายตัวของน้ำฝนเพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม ประยุกต์ใช้ภาพตรวจอากาศด้วยเรดาร์ และ ค่าปริมาณฝนที่ตก ซึ่งตรวจวัดโดยสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยบริเวณวงกลมสีแดงหมายถึงพื้นที่ที่มีฝนตกหนัก พบว่า ในช่วงเดือนธันวาคม มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัด สงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง โดยมีปริมาณฝนสูงสุดในแต่ละวันดังนี้
02/12/2005 คอหงษ์ 87.2 มม.
07/12/2005 พัทลุง 96.4 มม. นครศรีธรรมราช 91.9 มม.
08/12/2005 นครศรีธรรมราช 95.7 มม. พัทลุง 80.4 มม.
09/12/2005 หาดใหญ่ 81.3 มม.
16/12/2005 สะเดา 88.3 มม.
19/12/2005 พัทลุง 91.4 มม.
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ข้อมูลปริมาณฝนรายวัน
จากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด-กระแสสินธุ์ ประจำเดือนธันวาคม 2548

วันที่

ปริมาณน้ำฝน (มม.)

1

115.8

2

109.2

3

1.3

4

0

5

23.6

6

62.0

7

88.7

8

98.0

9

73.8

10

79.7

11

8.0

12

19.2

13

27.6

14

214.0

15

218.5

16

178.0

17

42.2

18

162.3

19

0

20

0

21

69.5

22

36

23

0

24

0

25

10.2

26

17.2

รวม

1,654.8

 

ภาพเรดาร์กรมอุตุนิยมวิทยา (เรดาร์สงขลา)

12/12/2005 03:03

14/12/2005 22:03

16/12/2005 19:03

18/12/2005 04:03

21/12/2005 21:03

22/12/2005 05:03
ภาพเรดาร์ จากระบบเครือข่ายของกรมอุตุนิยมวิทยา พื้นที่สีเขียวและสีส้มหมายถึงบริเวณที่มีฝนตก จากภาพเรดาร์สงขลา จะพบว่า ช่วงเดือนธันวาคม บริเวณภาคใต้มีกลุ่มฝนเป็นจำนวนมากเป็นผลทำให้เกิดฝนตกหนักบริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะจังหวัด สงขลา ยะลา สตูล ปัตตานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง


ดูรายละเอียดเพิ่มเติม





ข้อมูลน้ำในเขื่อน  


ปริมาณน้ำเก็บกักเขื่อนบางลาง



รายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนบางลาง จ. ยะลา จะพบว่าตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณน้ำในเขื่อนได้เริ่มเพิ่มสูงขึ้น เรื่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนธันวาคมปริมาณน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกินระดับกักเก็บสูงสุดของเขื่อน





ข่าวจากหนังสือพิมพ์

น้ำท่วมภาคใต้ มีตายอีก 6 ศพ [ไทยรัฐ : 18 ธ.ค.48]

จ.นครศรีธรรมราช มีน้ำท่วมหนักในหลายอำเภอ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 5 ราย เส้นทางรถไฟจากหาดใหญ่-กรุงเทพฯ และนครศรีธรรมราช-กรุงเทพฯ สามารถเดินรถได้ตามปกติ เหลือเพียงเส้นทางตรัง-กรุงเทพฯ รถยังวิ่งไม่ได้ เนื่องจากมีน้ำท่วมทางรถไฟ ระหว่างสถานีที่วัง-สถานีกะปาง คาดว่าในวันที่ 18 ธ.ค. จะเดินรถได้ตามปกติ

จ.ตรัง ต.แหลมโตนด อ.ควนขนุน น้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัดไหลเข้าท่วมบ้านเรือนและถนนในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาว อ.ย่านตาขาว ในระดับสูง บางแห่งท่วมสูงถึงเอว ส่วนถนนสายตรัง-ปะเหลียน น้ำท่วมขาดเป็นช่วงๆ รถทุกชนิดไม่สามารถวิ่งผ่านได้

จ.สงขลา มีน้ำท่วมสูงใน อ.ระโนด อ.กระแสสินธุ์ อ.สทิงพระ อ.สิงหนคร อ.ควนเนียง อ.บางกล่ำ ส่วนตัวเมืองหาดใหญ่พื้นที่รอบนอกและชุมชนริมคลองอู่ตะเภามีน้ำไหลเข้าท่วมในระดับสูง

จ.ปัตตานี น้ำท่วมพื้นที่หลายหมู่บ้านของ อ.เมือง อ.หนองจิก อ.แม่ลาน และ อ.ยะรัง

จ.ยะลา น้ำท่วมพื้นที่ ต.บาลอ ต.อาซ่อง ต.จะกว๊ะ ต.เนินงาม อ.รามัน ถนนสายยะลา-เบตง ถูกน้ำกัดเซาะขาดบริเวณบ้านบารู หมู่ 3 ต.กรงปินัง อ.กรงปินัง รถไม่สามารถผ่านได้ ถนนสายบันนังสตา-ยะหา น้ำท่วมถนนขาดเป็นช่วงๆ การสัญจรกลายเป็นอัมพาต ส่วนเขตเทศบาลนครยะลา น้ำท่วมย่านตลาดเก่าและถนนวิฑูรอุทิศ สูงเกือบ 1 เมตร ราษฎรเดือดร้อนกว่า 5 พันหลังคาเรือน ถนนสายยะลา-หาดใหญ่ มีน้ำท่วมเป็นช่วงๆ ขณะที่น้ำในแม่น้ำปัตตานีที่ไหลผ่านเขตเทศบาลนครยะลา มีระดับสูงจนปริ่มตลิ่ง

จ.นราธิวาส น้ำท่วมหนักใน 3 อำเภอ คือ อ.บาเจาะ น้ำท่วมถนนเพชรเกษมขาดเป็น 3 จุด คือจุดแรกบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบาเจาะ จุดที่ 2 บริเวณบ้านยะลูตง ต.กาเยาะมาตี และจุดที่ 3 หน้า รพ.บาเจาะ อ.ยี่งอ น้ำท่วมขังบริเวณหน้าที่ทำการไปรษณีย์ ส่วน อ.รือเสาะ น้ำท่วมหนักหมู่ 1 ต.รือเสาะ เส้นทางรือเสาะ-ยะลา ถูกตัดขาด

จ.สตูล น้ำท่วมพื้นที่ อ.เมือง อ.ท่าแพ อ.ควนโดน และ กิ่ง อ.มะนัง มีผู้ประสบภัย 4,426 ครัวเรือน

 

ประเด็นร้อน : ฝนถล่ม-น้ำท่วม "เขตเศรษฐกิจใต้" วิกฤต [เดลินิวส์ : 20 ธ.ค. 48 ]

หลังจากเกิดฝนฟ้าถล่มภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ลงไปจนถึงจังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง จนถึงเวลานี้ประมาณ 15 วัน ทำให้เกือบทุกจังหวัดจมอยู่ใต้บาดาล บางจังหวัดถึงกับวิกฤติ ค่าเสียหายเบื้องต้นคาดว่า 1,000 กว่าล้านบาท

ล่าสุดเมื่อเวลา 04.00 น. ของวันที่ 18 ธ.ค. เกิดฝนตกหนักอีกระลอกใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ส่งผลให้น้ำจากคลองอู่ตะเภาฝั่งขวาทะลักเข้าท่วมเทศบาลนครหาดใหญ่ถนนนิพัทธ์อุทิศ 1, 2 และ 3 หลายพื้นที่น้ำท่วมสูงมากกว่า 1.5 เมตร อีกทั้งน้ำจาก อ.สะเดา เพทา จะนะ และนาทวี ยังไหลทะลักเข้ามาใน อ.หาดใหญ่ ที่สำคัญ “หาดใหญ่” เป็นเมืองที่คล้ายกับ “แอ่งกระทะ” น้ำจากพื้นที่อื่นจะไหลหลากลงมารวมกัน ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลันทันที
พื้นที่รอบนอกของ จ.สงขลา มีน้ำท่วมหนักมากที่สุดที่ อ.กระแสสินธุ์ โดยโรงพยาบาลกระแสสินธุ์ถูกน้ำทะลักไหลท่วมจนต้องอพยพผู้ป่วยออกนอกพื้นที่เป็นการด่วน ส่วนที่ อ.สะบ้าย้อยมีน้ำท่วมสูงในเขตเทศบาลถึง 1.5 เมตร บ้านเรือนในตำบลรอบนอกราว 500 หลังคาเรือนถูกตัดขาด

ในเขต ต.ธารคีรีและ ต.เขาแดง อ.สะบ้าย้อย ถูกภูเขาถล่มและน้ำท่วมได้รับความเสียหาย มีผู้เสียชีวิต 5 ราย

สถานการณ์น้ำท่วมใน 8 จังหวัดภาคใต้ ในภาพรวมถือว่าเริ่มคลี่คลายลง เบื้องต้นพบว่าชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนมีไม่ต่ำกว่า 4 แสนคน และจังหวัดที่น่าเป็นห่วงมากคือ จ.ยะลา ที่ยังมีน้ำท่วมสูง โดยเฉพาะ อ.เมือง และ อ.ยะหา ส่วนที่ จ.สงขลา โดยเฉพาะ อ.หาดใหญ่ แม้ว่าช่วงคืนที่ผ่านมาจะมีฝนตกและทำให้ช่วงเช้ามีน้ำท่วมขึ้นมาอีก แต่ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ว่าน้ำท่วมประมาณแค่ตาตุ่ม

ปภ.สรุปน้ำท่วม ยอดตาย 25 สูญ 600 ล้าน [ไทยรัฐ : 25 ธ.ค.48 ]

แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ระดับน้ำ จะลดลงจนเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว แต่ยังคงมีพื้นที่รอบๆ ทะเลสาบสงขลา และที่ราบลุ่มบางแห่ง ยังจมอยู่ใต้น้ำอีกหลายแห่ง ประกอบกับน้ำทะเลยังหนุนสูง จึงระบายออกไปไม่ได้ต้องรออีกระยะหนึ่ง ส่วนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับดูแลเรื่องที่อยู่อาศัย คาดว่ามูลค่าความเสียหายทั้งหมดจากอุทกภัยครั้งนี้ อยู่ที่ประมาณ 300-400 ล้านบาท

กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมในภาคใต้รวม 8 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 14-24 ธ.ค.ว่า มีพื้นที่ประสบภัยรวม 8 จังหวัด คือ สงขลา นครศรีธรรมราช ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง ตรัง ยะลา และสตูล มีประชาชนได้รับความเดือดร้อน 1.6 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 25 ราย แบ่งเป็น จ.สงขลา 13 ราย ตรัง 2 ราย ปัตตานี 1 ราย พัทลุง 3 ราย ยะลา 4 ราย นครศรีธรรมราชและสตูลจังหวัดละ 1 ราย และยังมีผู้สูญหายไปอีก 1 ราย ที่ จ.ยะลา มูลค่าความเสียหายประมาณ 600 ล้านบาท

สถานการณ์ น้ำท่วมใน จ.สตูล และนราธิวาสเข้าสู่สภาวะปกติ ส่วนอีก 6 จังหวัดที่เหลือยังมีน้ำท่วมขังในบางพื้นที่คือ จังหวัดสงขลายังมีน้ำท่วมขังใน 7 อำเภอ ได้แก่ อ.สทิงพระ อ.ระโนด อ.สิงหนคร อ.กระแสสินธุ์ อ.บางกล่ำ อ.รัตภูมิ และ อ.สะบ้าย้อย จังหวัดนครศรีธรรมราช มีน้ำท่วมขังอยู่ 9 อำเภอ คือ อ.ชะอวด อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.เชียรใหญ่ อ.หัวไทร อ.ปากพนัง อ.พระพรหม อ.ทุ่งใหญ่ อ.ถ้ำพรรณรา และเขต อ.เมืองนครศรีธรรมราช ที่ตำบลบางจากและ ต.ท่าไร่ ระดับน้ำสูงประมาณ 1.20 เมตร จังหวัดปัตตานียังคงมีน้ำท่วมขังเฉพาะในเขตรอบนอกของ อ.เมืองปัตตานี คือที่ตำบลตะลุโบะ ต.ปะกาฮารัง และ ต.บาราเฮาะ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50 เมตร ส่วนเขต อ.แม่ลาน หนองจิก ยะรัง และโคกโพธิ์ มีน้ำท่วมขังบริเวณที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำปัตตานีเป็นบางแห่ง

ในส่วนของจังหวัดพัทลุงยังมีน้ำท่วมขังใน 4 อำเภอ คือ อ.เขาชัยสน อ.บางแก้ว อ.ปากพะยูน และ อ.ควนขนุน เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ริมทะเลสาบสงขลา เป็นที่ราบลุ่มประกอบกับมีน้ำทะเลหนุนสูงทำให้ ไม่สามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลได้ ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.50-1.00 เมตร จังหวัดยะลายังมีน้ำท่วมขังใน 3 อำเภอคือ เขต อ.เมืองยะลา อ.ยะหา และ อ.รามัน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-0.50 เมตร ส่วนจังหวัดสุดท้ายคือ จ.ตรัง ยังคงมีน้ำท่วมขังในเขตพื้นที่ อ.เมืองตรัง บริเวณตำบลหนองตรุด โต๊ะหมิง บางรัก และนาท่ามเหนือ ระดับน้ำสูงประมาณ 20 ซม. และอำเภอกันตัง ในตำบลควนธานี ควนปริง โคกยาง ย่านซื่อและบางเป้า สูงประมาณ 0.50-0.80 เมตร

.............................................................................................



ข้อมูลอ้างอิง
  • ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th
  • เดลินิวส์ : http://www.dailynews.co.th